ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การถวายผ้าบังสุกุล เวียน หน้างานศพ ได้บุญหรือไม่คะ  (อ่าน 15547 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1การถวายผ้าบังสุกุล เวียน หน้างานศพ ได้บุญหรือไม่คะ

  สงสัย คะ เพราะขึ้นไปวางกับเขาด้วย แต่ เห็นเขาไปขอมาจากพระที่ขึ้นไปบังสุกุล ด้วยคะ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

บังสุกุล ไม่ใช่ บังสกุล : คำวัด
โดย พระธรรมกิตติวงศ์

       การทำบุญต่ออายุ จะนิยมจัดงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด ส่วนใหญ่จะกระทำในวัยเบญจเพส คือ ๒๕ ปี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต หรือช่วงอายุกลางคน คือ ๕๐ ปี  เพราะถือว่าอายุยืนยาวมาได้ครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลองความยินดี รวมทั้งทำพิธี "บังสุกุลเป็น"
 
       คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น
 
      เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน
 
      ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า "บังสุกุล" เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์
 
      บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล
 
       พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม อธิบายให้ฟังว่า บังสุกุลไม่ใช่บังสุกุล
 
             บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น กองฝุ่น คลุก ฝุ่น เปื้อนฝุ่น
 
       บังสุกุล ใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดบาสายสิญจน์ หรือ ผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า บังสุกุล
 
             เรียกกิริยาที่พระชักผ้า หรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล
 
      ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะ หรือจากป่าช้ามาทำเป็นจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่า ผ้าบังสุกุล
 
      ปัจจุบันมักเขียนหรือพูดผิดเพี้ยนไปว่า บังสกุล ด้วยเหตุที่ว่าออกเสียงง่ายกว่าคำที่ถูกต้อง คือ บังสุกุล
 
      ทั้งนี้ จะมีอีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ มาติกา (อ่านว่า มาด-ติ-กา) แปลว่า หัวข้อ แม่บท
 
      มาติกา หมายถึง พระบาลีที่เป็นหัวข้อแม่บท เรียกว่า บทมาติกา
 
     เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า “กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา...” ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา
 
      มาติกา คำนี้ในงานศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือ พระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่น ที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า
 
     “๑๔.๐๐ น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20120309/124966/บังสุกุลไม่ใช่บังสกุล:คำวัด.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ประเพณีการทอดผ้าป่า

"การทอดผ้าป่า" เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด  คือ สามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือ ทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปี จะจัดให้มีการทอดผ้าป่า กี่ครั้งก็ได้เช่นกัน ผู้ปรารถนา จะทำเมื่อไรย่อมทำได้ ตามกำลังศรัทธา ซึ่งอาจจะผสมผสานหรือผนวกเข้ากับเทศกาลประเพณีประจำท้องถิ่นอื่นๆ ก็ได้  อีกทั้ง ยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับพระภิกษุที่จะรับผ้าป่าแต่อย่างใด

ผ้าป่าคืออะไร
คำว่า “ผ้าป่า”  มีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “ปังสุกุละ”  ภาษาไทยใช้คำว่า “บังสุกุล” หมายถึง ผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน หรือผ้าที่ประชาชนเขาไม่ใช้แล้ว นำไปทิ้งที่กองขยะ หรือผ้าที่เขาใช้ห่อศพ แล้วนำไปทิ้งไว้ในป่าช้า

    พระภิกษุที่ต้องการผ้ามาทำจีวรผลัดเปลี่ยน ก็ต้องไปหาผ้าบังสุกุล พอพบแล้วท่านก็จะชักผ้าบังสุกุลนั้นว่า 
    “อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้ เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า” แล้วนำผ้านั้นมาซัก ตัด เย็บ ย้อมทำเป็นจีวร เรียกว่า “บังสุกุลจีวร”


ผ้าป่าหรือผ้าบังสุกุล มี ๑๐ ประเภท ได้แก่
---ผ้าที่ตกที่ป่าช้า ๑
---ผ้าที่ตกที่ตลาด ๑
---ผ้าที่หนูกัด ๑
---ผ้าที่ปลวกกัด ๑
---ผ้าที่ถูกไฟไหม้ ๑
---ผ้าที่วัวกัด ๑
---ผ้าที่แพะกัด ๑
---ผ้าห่มสถูป ๑
---ผ้าที่เขาทิ้งในที่อภิเษก ๑
---ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา ๑



ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดา ยังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลาย รับคฤหบดีจีวร คือจีวรที่ชาวบ้านถวาย โดยเฉพาะพระภิกษุเหล่านั้น จึงต้องเที่ยวเก็บผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ

เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย พอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัด เย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบงหรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ทั้งนี้ การทำจีวร ของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้ว ในเรื่องพิธีทอดกฐิน

ภายหลังที่มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์อุปสมบท แก่กุลบุตรกุลธิดา ที่มีศรัทธาปสาทะ จะปฏิบัติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนานี้ เพื่อการพ้นทุกข์ พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ให้พระภิกษุผู้ให้อุปสมบท  บอกนิสสัย ๔  (คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔ อย่าง)  แก่ผู้ขออุปสมบท ที่เกี่ยวกับผ้าบังสุกุลนี้อยู่ ในข้อที่ ๒ ดังนี้


   "บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในข้อนั้นจนตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม)"

   ฉะนั้น จึงเห็นได้ว่า พระสงฆ์ย่อมต้องอาศัยผ้าบังสุกุล  เพื่อใช้นุ่งห่มจนตลอดชีวิต ผ้าบังสุกุลจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์ ในสมัยพุทธกาล ก็มีการทอดผ้าบังสุกุล ผู้ทอดผ้าบังสุกุลเป็นเทพธิดาองค์หนึ่ง ความปรากฏในธัมมปทัฏฐกถา ดังนี้



  ในวันหนึ่ง พระเทพธิดาถวายผ้า แก่พระอนุรุทธเถระ ผู้มีจีวรเก่าแล้วและเที่ยวแสวงหาจีวรในที่ทั้งหลาย  มีกองอยากเยื่อ เป็นต้น หญิงภรรยาเก่า ของพระเถระนั้นในอัตภาพที่ ๓  แต่อัตภาพนี้ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อ " ชาลีนี"  ในดาวดึงส์ภพ นางชาลินีเทพธิดานั้น  เห็นพระเถระ เที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่ จึงถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน  ยาว ๑๓ ศอก   กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า “ถ้าเราจักถวายโดยทำนองนี้ พระเถระจักไม่รับ”  จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อแห่งหนึ่งข้างหน้าของพระเถระนั้น

     ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่  โดยอาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้น จะปรากฏได้ พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้น นั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้ว ถือเอาด้วยคิดว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ” ดังนี้แล้วหลีกไป

    ต่อมา ครั้นชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาทั้งหลาย เห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์  ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าอันสมควรแก่สมณบริโภค ไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ตามป่า ป่าช้า หรือข้างทางเดิน หรือแขวนไว้ตามกิ่งไม้ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สะดวกในการแสวงหาผ้าบังสุกุล

    เมื่อพระภิกษุสงฆ์มาพบ เห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นผ้าจีวร ด้วยเหตุนี้กระมัง จึงเรียกผ้าในลักษณะนี้ว่า “ผ้าป่า” (ผ้าที่ชาวบ้านนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าหรือผ้าที่ห่อศพอยู่ในป่าช้า)



    แม้ในการทำบุญงานศพ ยังนิยมเอาผ้าไปทอดที่หีบศพ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น เรียกว่า "ชักผ้าบังสุกุล"  ถ้าหากมีการทอดผ้าจำนวนมาก ก็ยังนิยมเอาสายสิญจน์ผูกที่หีบศพ และยังโยงสายสิญจน์นั้นมาวางที่หน้าพระภิกษุสงฆ์ และทอดผ้าไว้บนสายสิญจน์เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ชักผ้านั้น ก็เรียกว่า "ชักผ้าบังสุกุล"

    ครั้นพระพุทธศาสนาแพร่หลายมากขึ้น หมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนที่สำคัญและเคร่งครัดมากผู้หนึ่ง ท่านเป็นทั้งหมอหลวงประจำราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ และเป็นหมอที่เคยถวายการรักษาพระพุทธเจ้าและพระสาวก

    ครั้งหนึ่ง หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชต  แห่งกรุงอุชเชนี แคว้นอวันตี จนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัล เป็นผ้าเนื้อสีทองอย่างดีสองผืน จากแคว้นกาสี ซึ่งเป็นผ้าเนื้อละเอียดมาก  คนธรรมดาไม่มีโอกาสได้ใช้ผ้าเช่นนี้  นอกจากพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น

   แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดีอย่างนี้ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์ จึงได้น้อมนำผ้านั้น ไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า “ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้”  พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ

   การที่หมอชีวกโกมารภัจ ได้พิจารณาเรื่องจีวรของพระภิกษุแล้ว กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้น  พระภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล  จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย ท่านหมอเห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้  จึงกราบทูลขอพร และได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า “ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ” และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษ คือ ความยินดีตามมีตามได้

   พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา และอนุโมทนาบุญ แก่หมอชีวกโกมารภัจ ผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ดำรงอยู่ในอริยภูมิ คือ พระโสดาบัน



    ดังนั้น การนำผ้าไปทอดไว้ในป่าอย่างแต่ก่อน จึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็น การนำผ้าป่าที่มีลักษณะดีกว่า ไปถวายโดยตรง หรือถ้ายังประสงค์จะรักษาประเพณีทอดผ้าป่า หรือประเพณีที่ให้พระภิกษุถือเอาเฉพาะผ้าบังสุกุลไว้ด้วย ก็นำไปทอดไว้ใกล้ ๆ สถานที่ ที่พระภิกษุอาศัยอยู่ เช่น วัดวาอาราม จนกระทั่งกลายมาเป็นประเพณีนำผ้าสำเร็จรูป เป็นสังฆาฏิ จีวร สบง ผืนใดผืนหนึ่ง หรือทั้งสามผืน ที่เรียกว่า "ไตรจีวร" พร้อมด้วยเครื่องบริวาร ไปทอดเป็นการกุศล สืบเนื่องต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ พิธีการทอดผ้าป่า ก็มีความเป็นมาด้วยประการละฉะนี้

   สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ด้วยทรงพระประสงค์ จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา


ประเภทของผ้าป่า
ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียวคือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น ๓ อย่าง คือ
    (๑)ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
    (๒)ผ้าป่าโยงกฐิน
    (๓)ผ้าป่าสามัคคี

(๑) ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าที่เจ้าภาพ จัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือ เมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียกว่า ผ้าป่าหางกฐิน หรือผ้าป่าแถมกฐิน
(๒) ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวมๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือ แห่ไปทอดตามวัดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่นํ้า จึงเรียกว่า ผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียวหรือหลายเจ้าภาพก็ได้
(๓) ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่างๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอด จะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัด อย่างสนุกสนาน บางที  จุดประสงค์ ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆ ฯลฯ



ผู้ประสงค์จะทอดผ้าป่าจะทำอย่างไร
การจองผ้าป่า สำหรับการจองผ้าป่านั้น ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาส ที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่า เป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
    ๑. ผ้า
    ๒. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า
    ๓. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง


การตั้งองค์ผ้าป่า เจ้าภาพองค์ผ้าป่าจะจัดหาผ้าสำหรับพระภิกษุมาผืนหนึ่ง อาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง ๓ อย่าง แล้วแต่ศรัทธา เพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้หนึ่งกิ่ง ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เช่น โอ่ง กระถัง เป็นต้น เพื่อให้กิ่งไม้อยู่คงที่ ไม่เอนไปเอนมา โดยจะใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบนํ้าฝน สมุด ดินสอ อาหารแห้ง ฯลฯ ใส่ในภาชนะนั้น สำหรับเงินหรือปัจจัย ปกตินิยมเสียบไว้กับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่านั้น


วันงานทอดผ้าป่า
    ในสมัยโบราณ ไม่มีต้องจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้
    แต่ในปัจจุบัน การทอดผ้าป่า นับว่าเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ต้องมีการจองผ้าป่าเพื่อแจ้งให้ทางวัด ทราบหมายกำหนดการ จะได้จัดเตรียมการต้อนรับ เมื่อถึงกำหนดก็จะมีการแห่แหนองค์ผ้าป่า มาด้วยขบวนเถิดเทิงกลองยาวหรือแตรวง เป็นที่ครึกครื้น สนุกสนาน ยิ่งถ้าเป็นผ้าป่าสามัคคีต่างเจ้าภาพ ต่างแห่มาพบกันที่วัด จนกลายเป็นมหกรรมย่อยๆ มีการละเล่นพื้นบ้าน หรือร่วมร้องรำทำเพลง ร่วมรำวง กันเป็นที่สนุกสนาน บางทีก่อนวันทอดก็จะให้มีมหรสพฉลองที่บ้านของเจ้าภาพ



ลำดับการทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่า เมื่อถึงวัดที่จะทอดแล้ว ก็จัดสถานที่ตั้งองค์ผ้าป่าและเครื่องบริวาร เช่น จัดตั้งไว้ข้างพระอุโบสถ เพื่อจะได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อจัดตั้งโดยนำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุลในขณะนั้น ก็ไม่ต้องกล่าวคำถวาย แต่ถ้ามีพระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ ลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ก็กล่าวคำถวายผ้าป่าพร้อมๆ กันดังนี้

คำบาลีถวายผ้าป่า
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
     อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


     คำแปล
     ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (๓ จบ)
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์โปรดรับซึ่งผ้าบังสุกุลจีวร กับทั้งบริวารเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

    เมื่อกล่าวคำถวายจบแล้ว พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับฉันทานุมัติ จากหมู่สงฆ์มาชักผ้าบังสุกุล และไวยาวัจกรของวัด จะมารับต้นผ้าป่าและเครื่องบริวารอื่นๆ ตลอดจนเงินหรือปัจจัยด้วย โดยพระสงฆ์รูปนั้น ก็กล่าวคำปริกรรมว่า
      “อิมัง ปังสุกุละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ” แปลเป็นใจความได้ว่า “ผ้าบังสุกุลผืนนี้เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกเป็นของข้าพเจ้า”


     ต่อจากนั้น พระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพและผู้ร่วมทอดผ้าป่าด้วยกัน ต่างก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพพการี เป็นต้น ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดผ้าป่าเพียงนี้

ข้อสำคัญในการทอดผ้าป่า คือ การทอดผ้าป่านั้นไม่เป็นการถวายแก่พระภิกษุที่เฉพาะเจาะจง ถ้านำไปถวายเฉพาะเจาะจงพระภิกษุรูปนั้นรูปนี้ ก็ไม่เป็นการทอดผ้าป่า คือไม่ใช่ทอดผ้าป่าบังสุกุล

     สำหรับในกรณีที่ไม่มีพระภิกษุมาชักผ้าบังสุกุล เมื่อจัดตั้งองค์ผ้าป่าและบริวารในสถานที่เหมาะแล้ว ก็ให้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ทราบว่า มีผ้าป่ามาทอดที่วัด แล้วก็หลีกไป



อานิสงส์ของการทอดผ้าป่า
    ๑. เป็นการสงเคราะห์พระสงฆ์ให้สะดวกด้วยปัจจัยสี่ หรือสิ่งที่จำเป็นในการครองสมณเพศ มีจีวร หรือผ้านุ่งห่ม เป็นต้น
    ๒. เป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อพระสงฆ์ได้รับความสะดวกตามสมควรก็จะได้เป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    ๓. ได้ชื่อว่าเป็นการถวายทานแด่ท่านผู้ทรงศีล ซึ่งนับเป็นการบูชาท่านผู้ทรงศีล-บูชาท่านผู้ควรบูชา และเป็นทานที่มีคุณค่าสูง
    ๔. เป็นการอบรมจิตใจของผู้บริจาคให้มีการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นหลักทางจิตใจของประชาชนในชาติสืบไป
    ๕. เป็นการส่งเสริมความมีสามัคคีธรรมของหมู่คณะ
    ๖. เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีความมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบไป


ขอบคุณข้อมูลจาก www.watkaokrailas.com/articles/41907068/igetweb-อานิสงส์ผ้าป่า.html
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/,http://www.dmc.tv/,http://i235.photobucket.com/,http://www.thaimtb.com/,http://www.weekendhobby.com/,http://www.oknation.net/,http://www.watpaknam.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2013, 09:59:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1การถวายผ้าบังสุกุล เวียน หน้างานศพ ได้บุญหรือไม่คะ

  สงสัย คะ เพราะขึ้นไปวางกับเขาด้วย แต่ เห็นเขาไปขอมาจากพระที่ขึ้นไปบังสุกุล ด้วยคะ

  thk56
     
    ans1 ans1 ans1
     
    คำที่ถูกต้อง คือ ผ้าบังสุกุล ไม่ใช่ "บังสกุล"
    คุณสุนีย์เก่งครับ เขียนถูกแล้ว การใช้ผ้าบังสุกุลเวียน ได้บุญแน่นอนครับ
    เพราะการที่พระท่านชักผ้าบังสุกุลนั้นมา ผ้านั้นจะเป็นสิทธิ์ของท่านทันที
    เมื่อเป็นสิทธิ์ของท่าน ท่านจึงสามารถให้ผ้าบังสุกุลนั้นกับใครก็ได้
    เมื่อมีผู้ได้รับผ้าบังสุกุลจากท่านไป แล้วนำไปทอดอีกครั้ง บุญก็จะตกเป็นของคนนั้นด้วย


ขอให้นึกถึงภาพในสมัยพุทธกาล พระนางปชาบดี น้าของพระพุทธเจ้าได้นำผ้าไปถวายพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้ารับแล้วก็ส่งต่อให้สาวก สาวกก็ส่งต่อกันไปตามลำดับๆจนถึงพระบวชใหม่รูปหนึ่งนามว่าอชิตะ
การกระทำแบบนี้ผลบุญจะตกอยู่กับหลายๆคน นับว่าเป็นกุศโลบายที่ยอดเยี่ยม

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2013, 10:35:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ