ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อย่างไร ชือ่ว่า เราสร้าง วิหารทาน วิหารธรรม คะ ขอบคุณมากคะ  (อ่าน 5771 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างไร ชือ่ว่า เราสร้าง วิหารทาน วิหารธรรม  คะ ขอบคุณมากคะ
  คือบางครั้งฟังเพือนนักภาวนาด้วยกันว่า การสร้างวิหารทาน ไม่ใช่แค่การบริจาคทรัพย์ เพียงแค่ 100 - 200 บาท การทำอย่างนี้ถึงแม้ว่า จะเป็นบริจาคสร้างศาลา โบสถ์ วิหาร ก็ยังไม่ชื่อว่า สร้าง วิหารทาน คะผู้พูดกล่าวว่า การ สร้างวิหารทาน นั้นต้องเป็นเจ้าภาพคนเดียว และเป็นแรงทั้งหมดคะ วิหารทาน ในที่นี้หมายถึง โบสถ์ วิหาร เท่านั้น ใช่หรือไม่คะ

  ส่วน วิหารธรรม ยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ

  ขอความรู้ด้วยนะคะ

  :58: :c017: :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่า การสร้างวิหารทาน นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าภาพทั้งหมดคะ แค่เป็นส่วนหนึ่ง ก็พอคะสำหรับคนที่มีกำลังน้อยคะ กล่าวว่าเราก็เป็นบริวารของ เจ้าภาพใหญ่ ต้องยอมรับสภาพตามนั้นคะ
 
   ส่วนวิหารธรรม เป็นธรรมเครื่องที่ปรากฏในใจของพระอริยะคะ

  :58: :49:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน"

    แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่ การสร้างหรือร่วมสร้าง โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน "

    อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน



อ้างอิง
หนังสือ อานิสงส์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara68.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.baanmaha.com/community/thread45097.html





วิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่, ธรรมประจำใจ, ธรรมที่เป็นหลักใจในการดำเนินชีวิต

ผาสุวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย

สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
       1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
           โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
       2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
       3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
           เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
           เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
           เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
       4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;
       สุญตา ก็เขียน


สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
       สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
       สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔
       ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://image.ohozaa.com





     วิหารธรรม ๓ อย่าง
            ๑. ทิพยวิหาร        [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา]
            ๒. พรหมวิหาร     [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม]
            ๓. อริยวิหาร         [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯ



อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=11&A=4916&w=%C7%D4%CB%D2%C3%B8%C3%C3%C1
ขอบคุณภาพจาก http://i278.photobucket.com


    [๖๔๗] ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น กล่าว กะท่านพระเรวตะว่า ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก

         ร. ท่านเจ้าข้า บัดนี้ ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก
         ส. ได้ยินว่า บัดนี้ ท่านอยู่ด้วยวิหารธรรมตื้นๆ โดยมากวิหารธรรมตื้นๆนี้ คือเมตตา

         ร. ท่านเจ้าข้า แม้เมื่อก่อนครั้งผมเป็นคฤหัสถ์ได้อบรมเมตตามา
         เพราะฉะนั้น ถึงบัดนี้ ผมก็อยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมโดยมาก และผมได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว ท่านเจ้าข้า ก็บัดนี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรโดยมาก
         ส. ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ฉันอยู่ด้วยสุญญตาวิหารธรรมโดยมาก


         ร. ท่านเจ้าข้า ได้ยินว่า บัดนี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมของพระมหาบุรุษโดยมาก วิหารธรรมของพระมหาบุรุษนี้ คือ สุญญตสมาบัติ
         ส. ท่านผู้เจริญ แม้เมื่อก่อนครั้งฉันเป็นคฤหัสถ์ ได้อบรมสุญญตสมาบัติมาแล้ว เพราะฉะนั้น บัดนี้ ฉันจึงอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญตสมาบัติและฉันได้บรรลุพระอรหัตมานานแล้ว ฯ



อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=8013&Z=8044




๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร (๑๕๑)
    [๘๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า


     ดูกรสารีบุตร เธอมีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมากในบัดนี้ ฯ
     ท่านพระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ด้วยวิหารธรรม คือ สุญญตสมาบัติ แลเป็นส่วนมากในบัดนี้ ฯ


      [๘๓๘] พ. ดูกรสารีบุตร ดีละๆ เป็นอันว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรมของมหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษนี้ ก็คือ สุญญตสมาบัติ เพราะฉะนั้นแล สารีบุตร ภิกษุถ้าหวังว่าจะอยู่ด้ววิหารธรรมคือ สุญญตสมาบัติเป็นส่วนมาก ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า

      เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใดเที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุบ้างไหม

      ดูกรสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย

      ดูกรสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปใน
ประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้นๆเราไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลงหรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนืองๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ได้ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล ฯ



อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=10783&Z=10911
ขอบคุณภาพจาก http://travel.gongzstudio.com/


๙. อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิ
               
              ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
               ในบทเหล่านั้น คำว่า จากการหลีกเร้น คือ จากผลสมาบัติ.
               คำว่า ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโอภาส.
               จริงอยู่ ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติมีโอกาสที่ประสาททั้ง ๕ ตั้งอยู่ผ่องใส ผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.

               คำว่า ด้วยสุญญตวิหาร คือ ด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือ ผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์.
               คำว่า มหาปุริสวิหาร ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ.



อ้างอิง
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=837
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2012, 02:05:57 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างไร ชือ่ว่า เราสร้าง วิหารทาน วิหารธรรม  คะ ขอบคุณมากคะ
  คือบางครั้งฟังเพือนนักภาวนาด้วยกันว่า การสร้างวิหารทาน ไม่ใช่แค่การบริจาคทรัพย์ เพียงแค่ 100 - 200 บาท การทำอย่างนี้ถึงแม้ว่า จะเป็นบริจาคสร้างศาลา โบสถ์ วิหาร ก็ยังไม่ชื่อว่า สร้าง วิหารทาน คะผู้พูดกล่าวว่า การ สร้างวิหารทาน นั้นต้องเป็นเจ้าภาพคนเดียว และเป็นแรงทั้งหมดคะ วิหารทาน ในที่นี้หมายถึง โบสถ์ วิหาร เท่านั้น ใช่หรือไม่คะ

  ส่วน วิหารธรรม ยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะ

  ขอความรู้ด้วยนะคะ

  :58: :c017: :c017: :25: :25:

   
    การสร้างวิหารทาน จะสร้างคนเดียว หรือ สร้างกันหลายคน ก็เรียกว่า วิหารทาน
    วิหารทาน ไม่ได้หมายถึงสิ่งปลูกในพุทธศาสนาหรือในวัดเท่านั้น การสร้างอะไรที่เป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์ก็เรียกว่า วิหารทานเช่นกัน

    ส่วนเรื่องวิหารธรรม อ่านเอาเองนะครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ด้วยคะ ในที่สุดก็มีผู้ตอบให้อ่านแล้วนะคะ :25:
บันทึกการเข้า

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ อ่านชัดแจ้ง สมกับเป็นผู้ดูแลห้องนี้ ครับ ติดตามผลงานการโพสต์มาหลายปี ไม่ผิดหวังกับเนื้อหามาตลอด เมื่อไรจะออกหนังสือธรรมะสักเล่ม ครับ

  :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากคะ ในบอร์ดนี้ มีอยู่ สองสามท่าน ที่ตอบกระทู้ให้เสมอ และตอบอย่างดีด้วยคะ เคารพในน้ำใจด้วยคะที่นำธรรมทานมาแจกให้เป็น วิทยาทาน คะ เรื่องนี้พยายามค้นหาอยู่เหมือนกันแต่เวลาอ่าน ก็ สะเปะสะปะ ตอนค้นหาไป อ่านแล้วมีข้อความหลายที่ ยิ่งอ่านยิ่งยาว คะ

  ขอบคุณมากคะ

   :25: :c017: :58:
บันทึกการเข้า

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ กับ นักธรรม ผู้แจกธรรมประจำห้องนี้ นะครับ
ติดตามอ่าน บทความ และ กระทู้ มาตลอดครับ
สาธุ สาธุ  สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีเนื้อหา น่าสนใจนะครับ จะได้ไม่เข้าใจผิด เรื่อง วิหารทาน แล วิหารธรรมกันนะครับ
เดิมทีผมเข้าใจว่า วิหารธรรม ก็คือ หอพระไตรปิฏก ห้องสมุดธรรมะ ประมาณนี้เลยนะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า