เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

ทศชาติชาดก (เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว)

<< < (2/5) > >>

ธุลีธวัช (chai173):
พระมโหสถชาดก (บำเพ็ญปัญญาบารมี)


ในเมือง มิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง

ซึ่งเมื่อคลอดออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝน

ที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไป

รักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ"

เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กใน

วัยเดียวกัน

       ครั้งหนึ่งมโหสถเห็น ว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึง

ขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตร

พิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่

มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ

อยู่ เสมอ

       ชื่อเสียงของมโหสถ เลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้า

วิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ

บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออก

สืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็น

อาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบ คนก็ ตอบว่า ผู้ออกแบบคือมโหสถ

บัณฑิต บุตรชายวัย 7 ขวบ ของสิริวัฒกะ เศรษฐี เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช พระองค์ตรัส

เรียก บัณฑิตทั้ง 4 มา ปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่ บัณฑิตทั้ง 4 เกรงว่ามโหสถจะได้ดี

เกินหน้าตนจึงทูลว่า ลำพังการออก แบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิต ขอให้รอดูต่อ

ไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่ ฝ่ายมโหสถนั้น มีชาวบ้านนำคดีความต่างๆ มาให้ตัดสินอยู่

เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า ชายเลี้ยงโคนอนหลับไป มีขโมยเข้ามาลักโค เมื่อตามไปพบ ขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของ

โค ต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ ไม่มีใคร ตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใคร จึงพากันไปหามโหสถ มโหสถถาม

ชาย เจ้าของโคว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ชายนั้นก็เล่าให้ฟัง มโหสถจึงถาม ขโมยว่า "ท่านให้โค

ของท่านกินอาหารอะไรบ้าง" ขโมยตอบว่า "ข้าพเจ้าให้กินงา กินแป้ง ถั่ว และยาคู" มโหสถถามชาย

เจ้าของโค ชายนั้นก็ตอบว่า"ข้าพเจ้าให้โคกิน หญ้าตามธรรมดา" มโหสถจึงให้ เอา

ใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำ โคก็สำรอกเอาหญ้าออกมา จึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริง พระ

เจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนัก แต่บัณฑิตทั้งสี่ก็

คอยทูล ทัดทานไว้เรื่อยๆ

       ทุกครั้งที่มโหสถแสดง สติปัญญาในการตัดสินคดี พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการ

ตั้งปัญหา ต่างๆก็ปรากฏว่า มโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เช่น เรื่องท่อนไม้ ที่เกลาได้เรียบเสมอกัน พระเจ้า

วิเทหราชทรงตั้งคำถามว่า ข้างไหนเป็นข้าง ปลายข้างไหนเป็นข้างโคน มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น

แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทาง ปลายลอยน้ำ เพราะน้ำหนักเบากว่าไม้ มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทาง

ไหน เป็นโคนทางไหนเป็นปลาย นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อีกเป็นอันมาก จนในที่สุดพระราชาก็

ไม่อาจทนรอตามคำ ทัดทานของ บัณฑิตทั้งสี่ อีกต่อไป จึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามา เข้าเฝ้า

พร้อมกับให้นำ ม้าอัสดรมาถวายด้วย

       มโหสถทราบดีว่าครั้ง นี้ เป็นการทดลองสำคัญ จึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดา และ ในวันที่ไปเฝ้าพระ

ราชา มโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัว เมื่อเข้าไปถึงที่ประทับ พระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่ อัน

สมควรแก่เกียรติยศ ครั้นเมื่อมโหสถเข้าไป สิริวัฒกะก็ลุกขึ้น เรียกบุตรชายว่า "

พ่อมโหสถ มานั่งตรงนี้เถิด" แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่ง มโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดา ผู้คนก็พากันมองดู

อย่างตำหนิ ที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดา มโหสถจึง ถามพระราชาว่า "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่ง

แทนที่บิดาใช่หรือไม่" พระราชาทรงรับคำ มโหสถ จึงถามว่า " ข้าพเจ้าขอทูลถามว่า

"ธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตร สำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ" พระราชา ตรัสว่า

"ย่อมเป็นอย่างนั้น บิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร" มโหสถทูลต่อว่า "เมื่อ

ข้าพเจ้ามาเฝ้า พระองค์มีพระกระแส รับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วย ใช่ไหมพระเจ้าค่ะ"

พระราชาทรงรับคำ มโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามา ต่อพระพักตร์ แล้วทูลว่า "เมื่อพระองค์

ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญ กว่าบุตร ลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดร หากพระองค์ทรงเห็น เช่นนั้นจริง ็โปรดทรงรับลานี้

ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะ เพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้ แต่ถ้าทรงเห็นว่า บุตรอาจดีกว่าบิดา ก็ทรงรับเอาม้า

อัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรด รับเอาบิดาของ

ข้าพเจ้าไว้ แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐ กว่าบิดา ก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้" การที่มโหสถกราบ

ทูลเช่นนั้น มิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดา แต่เพราะ ประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักใน ความเป็นจริงของโลก และ

เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้น คือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัส

แก่ สิริวัฒกะเศรษฐีว่า "ท่านเศรษฐี เราขอมโหสถไว้ เป็นราชบุตร จะขัดข้องหรือไม่"

เศรษฐีทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ มโหสถยังเด็กนัก อายุ เพิ่ง 7 ขวบ เอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อน

น่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาตรัสตอบว่า "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุ น้อยเลย มโหสถเป็นผู้มี

ปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่ จำนวนมาก เราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเรา ท่านอย่ากังวล ไป

เลย"

       มโหสถจึงได้เริ่มรับ ราชการกับ พระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมา ตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนัก มโหสถได้

แสดงสติปัญญา และความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ข้อขัดข้อง ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระ

ราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญา มโหสถ หรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายาม สร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถ อับจนปัญญา แต่มโหสถ

ก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป มิหนำซ้ำในบางครั้ง มโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้น รอดพ้นความอับจน

แต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณ ที่มโหสถกระทำแก่ตน กลับพยายามทำให้พระราชาเข้า พระทัยว่ามโหสถ

ด้อยปัญญา พยายามหาหนทางให้พระราชา ทรงรังเกียจมโหสถ เพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนัก เหมือนสมัย

ก่อน มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้ 16

ปี พระมเหสีของ พระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชาย ทรงประสงค์ จะหาคู่ครองให้ แต่มโหสถขอ

พระราชทานอนุญาตเดินทาง ไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเอง พระมเหสีก็ทรงอนุญาต

       มโหสถเดินทางไปถึงหมู่ บ้านแห่งหนึ่ง ได้พบหญิงสาวคนหนึ่ง เป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่ แต่ได้ยากจนลง

หญิงสาวนั้นชื่อว่าอมร มโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้า ไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนาง และได้ทดลอง สติ

ปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่า ในครั้งแรกที่พบกันนั้น มโหสถถามนางว่า "เธอชื่อ

อะไร" นางตอบว่า "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นแหล่ะ เป็นชื่อ

ของดิฉัน" มโหสถ พิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า "ความไม่ตายเป็นสิ่ง ไม่มีอยู่ในโลก

เธอชื่อ อมร ( ไม่ตาย ) ใช่ไหม" หญิงสาวตอบว่า "ใช่" มโหสถถามต่อว่า

"นางจะนำข้าวไปให้ใคร" นางตอบว่า "นำไปให้บุรพเทวดา"

มโหสถก็ ตีปริศนาออกว่า บุรพเทวดาคือเทวดา ที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา เมื่อมโหสถได้ทดลองสติ

ปัญญาและความประพฤติต่างๆของ นางอมรจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขอนางจาก บิดา มารดา พากลับ ไปกรุงมิถิ

ลา เมื่อไปถึงยังเมือง ก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดย มโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อน แล้วแต่งกายงดงามรออยู่ใน

บ้าน ให้คนพานางมาพบ กล่าวเกี้ยวพาราสีนาง นางก็ไม่ยินดีด้วย มโหสถจึงพอใจนาง จึงพาไปเฝ้าพระราชาและ

พระมเหสี พระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับ นางอมรต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้ง

มโหสถด้วยประการ ต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล แม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิด ขับไล่มโหสถออกจากวัง

มโหสถก็มิได้ขุ่นเคือง แต่ยังจงรักภักดี ต่อพระราชา พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า "เจ้าเป็นผู้มี

สติปัญญา หลักแหลมยิ่ง หากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้ เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา"

มโหสถทูลตอบว่า "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อม

จาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้

ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่

ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่

งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม"

ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใด มโหสถก็ สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้ง และมิได้ตอบแทน ความ

ชั่วร้าย ด้วยความชั่วร้าย แต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิต ทั้งสี่เสมอมา นอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่อง

ราว แก้ไขปัญหาต่างๆ มโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครใน ด้านต่างๆ ให้พร้อมเสมอด้วย และยังจัดผู้คน

ไปอยู่ตามเมืองต่างๆ เพื่อคอยสืบข่าวว่า จะมีบ้านเมืองใด มาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่

       มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า จุลนีพรหมทัต ครองเมือง อุตรปัญจาล ประสงค์จะทำสงครามแผ่ เด

ชานุภาพ จึงทรงคิด การกับปุโรหิตชื่อ เกวัฏพราหมณ์ หมายจะลวงเอากษัตริย์ ร้อยเอ็ดพระนครมา กระทำสัตย์

สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษ ให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่ม จะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ มโหสถ ได้ทราบความลับ

จากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าว จึงหาทางช่วย ชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้ โดยที่ กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่

พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลา เป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำ สัตย์สาบาน จึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลา มีเกวัฏ

พราหมณ์ เป็นที่ปรึกษาใหญ่ แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใด มโหสถ ก็รู้ทัน สามารถตอบโต้และแก้ไขได้ ทุกครั้ง

ไป ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญา ทำสงครามธรรมกับมโหสถ มโหสถออกไป พบ

เกวัฏพราหมณ์ โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วย แสร้งบอกว่า จะยกให้ พราหมณ์ แต่เมื่อจะส่ง ให้ก็วางให้ที่

ปลายมือพราหมณ์เกวัฏ เกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทัน แก้วมณีตกลงไป กับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วย

ความโลภ มโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ ผลักให้กระเด็นไป แล้วให้ทหารร้องประกาศว่า เกวัฏปราหมณ ์ก้มลงไหว้

มโหสถ แล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจ บรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ ก้มลงแทบ

เท้า แต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใด ก็เชื่อตามที่ ทหารของมโหสถป่าวประกาศ พากันกลัวอำนาจมโหสถ ถอย

หนีไปไม่เป็นกระบวน กองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป

       เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาท มโหสถอยู่ไม่รู้หาย จึงวางอุบายให้ พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้า

วิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรี และขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายา พระเจ้าวิเทหราชทรงมี ความยินดี จึง

ทรงตอบรับเป็นไมตรี พระเจ้าจุลนีก็ขอให้ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล มโหสถพยายาม ทูลคัดค้าน

พระราชาก็มิได้ฟังคำ มโหสถก็เสียใจว่าพระราชา ลุ่มหลงในสตรี แต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดี จึงคิดจะแก้อุบาย

ของพระเจ้าจุลนี มโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับ ให้พระราชในเมืองอุตรปัญจาล ก็ได้รับอนุญาต

มโหสถจึงให้ ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงาม และที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เป็นทาง เดินภายในอุโมงค์

ประกอบด้วยกลไกและประตูลับ ต่างๆซับซ้อนมากมาย เมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญ ให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จ

ไปยังอุตรปัญจาล ขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวัง รอที่จะอภิเษกกับ พระธิดาพระเจ้าจุลนี พระเจ้า

จุลนีทรงยก กองทหารมาล้อมวังไว้ มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้ว ก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปใน ปราสาทพระ

เจ้าจุลนี ทำอุบายหลอกเอาพระชนนี พระมเหสี พระราชบุตร และราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้น นั้น

แล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวัง ตรัสปรึกษา มโหสถ

มโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า "ข้าพระองค์ได้กราบทูล ห้าม มิให้ทรงประมาท แต่ก็มิได้ทรงเชื่อ พระราชบิดา

พระเจ้าจุลนี นั้น ประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลา การทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรม ย่อมนำความทุกข์มาให้ ธรรมดา

บุคคลผู้มี ปัญญา ไม่พึงทำ ไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีล ซึ่งเปรียบเสมือนงู ไว้วางใจ มิได้ย่อมนำความเดือด

ร้อน มาสู่ไมตรีนั้น ไม่มีทางสำเร็จผลได้" พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทาน ของมโหสถ

แต่แรก มโหสถจัดการนำพระเจ้า วิเทหราช ไปพบพระชนนี พระมเหสี และพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนี ที่ตน

นำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน แล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้ นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลา ส่วนตัวมโหสถ

เองอยู่ เผชิญหน้า กับพระเจ้าจุลนี เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมา ประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอกให้

ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอก ให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วย

พระราชวงศ์ ของพระเจ้าจุลนี พระราชาก็ทรงตกพระทัย เกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตราย มโหสถจึงทูลว่า ไม่

มีผู้ใด จะทำอันตราย แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและ อุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม

ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลัง ทรงเพลิดเพลิน มโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวง และหยิบดาบที่ซ่อนไว้ ทำทีว่าจะ ตัดพระ

เศียรพระราชา พระราชาตกพระทัยกลัว มโหสถจึงทูลว่า "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชา แต่

หากจะฆ่า ข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัย ข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้"

        พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวาย ก็ทรงได้สติ เห็นว่ามโหสถ นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญา

ประเสริฐแล้ว ยังเป็น ผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด พระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลา

ต่อพระเจ้าวิเทหราช และต่อมโหสถ มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลา จัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนี พระมเหสี

และ พระราชบุตร ของพระเจ้าจุลนีกลับมายัง อุตรปัญจาล ส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลา ในฐานะ พระ

ชายาพระเจ้า วิเทหราชต่อไป พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์ มโหสถ ทูลว่า

"ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราช สำนักของพระเจ้า วิเทหราช ผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์

แต่เดิม ไม่อาจจะไปอยู่ที่ อื่นได้หากเมื่อใด พระเจ้าวิเทหราชสวรรคต ข้าพระองค์จะไป อยู่เมืองอุตรปัญจกาล

รับราชการอยู่ในราชสำนัก ของ พระองค์" เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์ มโหสถก็ทำตามที่ ลั่น

วาจาไว้ คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนี และยังถูก กลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่า แต่มโหสถก็ เอา

ตัวรอดได้ทุกครั้ง มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความ

สุขุมรอบคอบ มิได้หลงใหล ในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มี ความ

รู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูก

ที่ควร

 
คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี

"ปัญญา อันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญา

ดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว"

www.sil5.net

fasai:
สาธุ ทำตามคำเรียกร้องของ สาว ๆ
อ่าน ง่าย ดี

 :25:

ธุลีธวัช (chai173):
พระภูริฑัตชาดก (บำเพ็ญศีลบารมี)


พระ ราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า "พรหมทัต"

ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี พระโอรสทรงดำรง ตำแหน่งอุปราช อยู่ต่อมาพระราชาทรงระแวงว่า พระ

โอรสจะคิดขบถ แย่งราชสมบัติ จึงมีโองการให้ พระโอรสออกไปอยู่ให้ไกลเสียจากเมือง จนกว่าพระราชา จะสิ้น

พระชนม์จึงให้กลับมารับราชสมบัติ พระโอรสก็ปฏิบัติ ตามบัญชา เสด็จไปบวชอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชื่อว่า

"ยุมนา" มีนางนาคตนหนึ่งสามีตาย ต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เกิดความ ว้าเหว่จนไม่อาจ

ทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้น มาจากน้ำ ท่องเที่ยวไปตามริมฝั่งมาจนถึงศาลาที่พักของพระราชบุตร นางนาค

ประสงค์จะลองใจดูว่า นักบวชผู้พำนักอยู่ในศาลานี้ จะเป็นผู้ที่บวชด้วยใจเลื่อมใสอย่างแท้จริงหรือไม่ จึงจัด

ประดับ ประดาที่นอนในศาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จาก เมืองนาค

       ครั้นพระราชบุตรกลับมา เห็นที่นอนจัดงดงาม น่าสบายก็ยินดีประทับนอนด้วยความสุขสบายตลอดคืน รุ่ง

เช้าก็ออกจากศาลาไป นางนาคก็แอบดู พบว่าที่นอน มีรอยคนนอน จึงรู้ว่านักบวชผู้นี้มิได้บวชด้วยความศรัธรา

เต็มเปี่ยม ยังคงยินดีในของสวยงาม ตามวิสัยคนมีกิเลส จึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่สาม พระ

ราชบุตรมีความสงสัยว่า ใครเป็นผู้จัด ที่นอนอันสวยงามไว้ จึงไม่เสด็จออกไปป่า แต่แอบดูอยู่บริเวณ ศาลานั่น

เอง เมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน พระราชบุตร จึงไต่ถามนางว่า นางเป็นใครมาจากไหน นางนาคตอบว่า นาง

เป็นนาคชื่อมาณวิกา นางว้าเหว่าที่สามีตาย จึงออกมา ท่องเที่ยวไป พระราชบุตรมีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า

หากนางพึงพอใจจะอยู่ที่นี่ พระราชบุตรก็จะอยู่ด้วยกับนาง นางนาคมาณวิกาก็ยินดี ทั้งสองจึงอยู่ด้วยกันฉันสามี

ภรรยา

       จนนางนาคประสูติโอรส องค์หนึ่ง ชื่อว่า "สาครพรหมทัต" ต่อมาก็ประสูติพระ

ธิดาชื่อว่า "สมุทรชา" ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต บรรดาเสนาอำมาตย์ ทั้งหลาย

ไม่มีผู้ใดทราบว่าพระราชบุตรประทับ อยู่ ณ ที่ใด บังเอิญพรานป่าผู้หนึ่งเข้ามาแจ้งข่าวว่า ตนได้เคยเที่ยวไป

แถบ แม่น้ำยมุนา และได้พบพระราชบุตรประทับอยู่บริเวณนั้นอำมาตย์ จึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตร

กลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่า จะไปอยู่ เมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่ นางนาคทูล

ว่า "วิสัยนาค นั้นโกรธง่ายและมีฤทธิ์ร้าย หากหม่อมฉันเข้าไปอยู่ในวัง แล้วมีผู้ใดทำให้โกรธ

เพียงหม่อมฉัน ถลึงตามอง ผู้นั้นก็จะ มอดไหม้ไป พระองค์พาโอรสธิดากลับไปเถิด ส่วนหม่อมฉัน ขอทูลลากลับ

ไปอยู่เมืองนาค ตามเดิม" พระราชบุตรจึงพา โอรสธิดากลับไปพาราณสีอภิเษกเป็นพระราชา อยู่มาวัน

หนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ เกิดตกใจกลัวเต่า ตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไป ทิ้งที่วันน้ำวนใน

แม่น้ำ ยมุนา เต่าจมลงไปถึงเมืองนาค เมื่อถูกพวกนาคจับไว้ เต่าก็ออก อุบาย บอกแก่ นาคว่า "

เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐ พระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายา ของท้าว

ธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นไมตรีกัน"

       ท้าวธตรฐทรงทราบก็ ยินดี สั่งให้นาค 4 ตนเป็นทูตนำ บรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับ

ตัว พระธิดามาเมืองนาค พระราชาทรงแปลกพระทัย จึงตรัสกับ นาคว่า "มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่า

พันธุ์กัน จะแต่งงานกัน นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้" เหล่านาคได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูลท้าวธตรฐว่า

พระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธุ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา ท้าวธตรฐทรงพิโรธ ตรัสสั่งให้ฝูงนาค ขึ้น

ไปเมืองมนุษย์ ไปเที่ยวแผ่พังพานแสดง อิทธิฤทธิ์อำนาจ ตามที่ต่างๆ แต่มิให้ทำอันตรายชาวเมือง ชาวเมืองพา

กันเกรงกบัวนาคจนไม่เป็นอันทำมาหากิน ในที่สุดพระราชาก็จำพระทัยส่ง นางสมุทรชา ให้ไปเป็นชายา ท้าว

ธตรฐ นางสมุทรชาไปอยู่เมืองนาคโดยไม่รู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐให้เหล่า บริวารแปลงกายเป็นมนุษย์

ทั้งหมด นางอยู่นาคพิภพด้วยความสุขสบาย จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ อยู่มา

วันหนึ่ง อริฏฐะได้ฟังนาคเพื่อนเล่นบอกว่า พระมารดาของตนไม่ใช่นาค จึงทดลองดูโดยเนรมิต กายกลับเป็นงู

ขณะที่กำลังกินนมแม่อยู่ นางสมุทรชาเห็นลูก กลายเป็นงูก็ตกพระทัย ปัดอริฏฐะตกจากตัก เล็บของนาง ไปข่วน

เอานัยน์ตาอรฏฐะบอกไปข้างหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมา นางจึงรู้ว่าได้ลงมาอยู่เมืองนาค

       ครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เติบโตขึ้น ท้าวธตรฐก็ทรงแบ่งสมบัติ ให้ครอบครองคนละเขต ทัตตะผู้เป็นโอรส

องค์ที่สองนั้น มาเฝ้าพระบิามารดาอยู่เป็นประจำ ทัตตะเป็นผู้มีปัญญา เฉลียวฉลาดได้ช่วยพระบิดาแก้ไข ปัญหา

ต่างๆอยู่เป็นนิตย์ แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเทวดา ทัตตะก็แก้ไขได้จึงได้รับการยกย่อง สรรเสริญว่า เป็นผู้ปรีชา

สามารถ ได้รับขนานนามว่า ภูริทัตต์ คือ ทัตตะผู้เรืองปัญญา ภูริทัตต์ได้เคยไปเห็นเทวโลก ว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์จึง

ตั้งใจว่า จะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดใน เทวโลก จึงทูล ขออนุญาตพระบิดา ก็ได้รับอนุญาต แต่ท้าว

ธตรฐสั่งว่า มิให้ออกไปรักษาอุโบสถนอก เขตเมืองนาค เพราะอาจ เป็นอันตราย ครั้นเมื่อรักษาศีลอยู่ในเมือง

นาค ภูริทัตต์ รำคาญว่าพวกฝูงนาคบริวาร ได้ห้อมล้อม ปรนนิบัติเฉพาะในตอนเช้าเท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ภูริทัตต์ก็

ขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่จอมปลวก ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา ภูริทัตต์ตั้งจิต อธิษฐานว่า แม้ผู้ใดจะต้องการ

หนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้ได้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์

       ครั้งนั้นมีนายพราน ชื่อ เนสาท ออกเที่ยวล่าสัตว์ เผอิญได้ พบภูริทัตต์เข้า สอบถามรู้ว่าเป็นโอรสของ

ราชาแห่งนาค ภูริทัตต์เห็นว่าเนสาทเป็นพรานมีใจบาปหยาบช้า อาจเป็น อันตรายแก่ตน จึงบอกแก่ พรานเนสา

ทว่า "เราจะพาท่าน กับลูกชาย ไปอยู่เมืองนาคของเรา ท่านทั้งสองจะมีความสุข สบายในเมือง

นาคนั้น" พรานเนสาทลงไปอยู่เมืองนาค ได้ไม่นาน เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์จึงปรารภกับภูริทัตต์ว่า

"ข้าพเจ้าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้อง แล้วจะออกบวช รักษาศีลอย่างท่านบ้าง"

ภูริทัตต์รู้ด้วยปัญญาว่าพรานจะเป็นอันตรายแก่ตน แต่ก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรดี จึงต้องพาพรานกลับไป เมือง

มนุษย์ พรานพ่อลูกก็ออกล่าสัตว์ต่อไปตามเดิม มีพญาครุฑตนหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้ว ทางมหาสมุทรด้านใต้ วัน

หนึ่งขณะออกไปจับนาคมากิน นาคเอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ ท้ายศาลาพระฤาษี จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้น

ครุฑ ฉีกท้องนาคกินมันเหลว แล้วทิ้งร่างนาคลงไป จึงเห็นว่า มีต้นไทรติดมาด้วย ครุฑรู้สึกว่าได้ทำผิด คือถอน

เอา ต้นไทรที่พระฤาษี เคยอาศัยร่มเงา จึงแปลงกายเป็นหนุ่ม น้อยไปถามพระฤาษีว่า เมื่อต้นไทรถูกถอนเช่นนี้

กรรมจะตก อยู่กับใคร พระฤาษีตอบว่า "ทั้งครุฑและนาคต่างก็ไม่มี เจตนาจะถอนต้นไทรนั้น

กรรมจึงไม่มีแก่ผู้ใดทั้งสิ้น"

       ครุฑดีใจจึงบอกกับพระ ฤาษีว่าตนคือครุฑ เมื่อพระฤาษี ช่วยแก้ปัญหาให้ตนสบายใจขึ้นก็จะสอนมนต์ชื่อ

อาลัมพายน์ อันเป็นมนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค ให้แก่พระฤาษี อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์ซึ่งเป็นหนี้ชาวเมืองมาก

มาย จนคิด ฆ่าตัวตาย จึงเข้าไปในป่า เผอิญได้พบพระฤาษี จึงเปลี่ยนใจ อยู่ปรนนิบัติพระฤาษีจนพระฤาษีพอใจ

สอนมนต์อาลัมพายน์ ให้แก่พราหมณ์นั้น พราหมณ์เห็นทางจะเลี้ยงตนได้ จึงลา พระฤาษีไป เดินสาธยายมนต์ไป

ด้วย นาคที่ขึ้นมาเล่นน้ำ ได้ยินมนต์ก็ตกใจ นึกว่าครุฑมา ก็พากันหนีลงน้ำไปหมด ลืมดวงแก้วสารพักนึกเอาไว้

บนฝั่ง พราหมณ์หยิบ ดวงแก้วนั้นไป ฝ่ายพรานเนสาทก็เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เห็นพราหมณ์เดินถือ ดวงแก้วมา จำได้

ว่าเหมือนดวงแก้วที่ภูริทัตต์ เคยให้ดู จึงออกปากขอ และบอกแก่พราหมณ์ว่า หากพราหมณ์ ต้องการอะไรก็จะหา

มาแลกเปลี่ยน พราหมณ์บอกว่าต้องการ รู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสาทจึงพา ไปบริเวณที่รู้

ว่า ภูริทัตต์เคยรักษาศีลอยู่ เพราะความโลภ อยากได้ดวงแก้ว

       โสมทัตผู้เป็นลูกชาย เกิดความละอายใจที่บิดาไม่ซื่อสัตย์ คิดทำร้ายมิตร คือภูริทัตต์ จึงหลบหนีไป

ระหว่างทาง เมื่อไปถึงที่ภูริทัตต์รักษาศีลอยู่ ภูริทัตต์ลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่า พราหมณ์คิดทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้

ถ้าพราหมณ์เป็น อันตรายไป ศีลของตนก็จะขาด ภูริทัตต์ปรารถนาจะรักษาศีล ให้บริสุทธิ์จึงหลับตาเสีย ขดกาย

แน่นิ่งไม่เคลื่อนไหว พราหมณ์ก็ร่ายมนต์อาลัมพายน์ เข้าไปจับภูริทัตต์ไว้กด ศีรษะอ้า ปากออก เขย่าให้สำรอก

อาหารออกมา และทำร้าย จนภูริทัตต์เจ็บปวดแทบสิ้นชีวิต แต่ก็มิได้โต้ตอบ พราหมณ์จับ ภูริทัตต์ใส่ย่ามตาข่าย

แล้วนำไปออกแสดงให้ประชาชนดูเพื่อหาเงิน พราหมณ์บังคับให้ภูริทัตต์แสดงฤทธิ์ต่างๆ ให้เนรมิตตัวให้ ใหญ่

บ้าง เล็กบ้าง ให้ขด ให้คลาย แผ่พังพาน ให้ทำสีกายเป็น สีต่างๆ พ่นไฟ พ่นควัน พ่นน้ำ ภูริทัตต์ก็ยอมทุกอย่าง

ชาวบ้าน ที่มาดูเวทนาสงสาร จึงให้ ข้าวของเงินทอง พราหมณ์ก็ยิ่งโลภ พาภูริทัตต์ไปเที่ยวแสดง จนมาถึงเมือง

พาราณสี จึงกราบทูล พระราชาว่าจะให้นาคแสดงฤทธิ์ถวายให้ทอดพระเนตร

       ขณะนั้นสมุทรชา ผิดสังเกตที่ภูริทัตต์หายไป ไม่มาเฝ้า จึงถามหา ในที่สุดก็ทราบว่า ภูริทัตต์หายไป พี่น้อง

ของภูริทัตต์ จึงทูลว่าจะออกติดตาม สุทัศนะจะไปโลกมนุษย์ สุโภคะไป ป่าหิมพานต์ อริฏฐะไป เทวโลกส่วนนาง

อัจจิมุข ผู้เป็นน้องสาว ต่างแม่ของภูริทัตต์ของตามไปกับสุทัศนะพี่ชายใหญ่ด้วย เมื่อติดตามมาถึงเมืองพาราณสี

สุทัศนะก็ได้ข่าวว่ามีนาค ถูกจับมาแสดงให้คนดู จึงตามไปจนถึงบริเวณที่แสดง ภูริทัตต์เห็นพี่ชาย จึงเลื้อยไข้าไป

หาซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า ของสุทัศนะแล้วจึงเลื้อยกลับไปเข้าที่ขัง ของตนตามเดิม พราหมณ์จึงบอกกับสุทัศนะ

ว่า "ท่านไม่ต้องกลัว ถึงนาคจะ กัดท่านไม่ช้าก็จะหาย" สุทัศนะตอบว่า

"เราไม่กลัวดอก นาคนี้ไม่มีพิษ ถึงกัดก็ไม่มีอันตราย" พราหมณ์หาว่าสุทัศนะ ดูหมิ่นว่า

ตน เอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า "เขียดตัวน้อยของเรานั้น

ยังมีพิษมากกว่า นาคของท่านเสียอีก จะเอามาลองฤทธิ์กันดูก็ได้" พราหมณ์ กล่าวว่าหากจะให้สู้กัน ก็

ต้องมีเดิมพันจึงจะสมควร สุทัศนะจึง ทูลขอพระราชาพาราณสีให้เป็นผู้ประกันให้ตน โดยกล่าวว่า พระราชาจะได้

ทอด พระเนตรการต่อสู้ระหว่างนาคกับเขียด เป็นการตอบแทน พระราชาก็ทรงยอมตกลงประกันให้แก่ สุทัศนะ สุ

ทัศนะเรียก นางอัจจิมุข ออกมาจากมวยผมให้คายพิษ ลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า "พิษของ

เขียดน้อยนี้แรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐ ราชาแห่งนาค หากพิษนี้หยดลง บนพื้นดิน พืชพันธุ์ไม้จะตาย

หมด หากโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนจะไม่ตกไป 7 ปี ถ้าหยดลงในน้ำสัตว์น้ำจะตายหมด" พระราชาไม่

ทราบจะทำอย่างไรดี สุทัศนะจึงทูลขอให้ ขุดบ่อ 3 บ่อบ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์

แล้วจึงหยดพิษลงในบ่อแรก ก็เกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ ลามไปติดบ่อที่สองและสาม จนกระทั่งยาทิพย์ไหม้

หมด ไฟจึงดับ พราหมณ์ตัวร้าย ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อ ถูกไอพิษจนผิวหนังลอก กลายเป็นขี้เรื้อน ด่างไปทั้งตัว จึงร้อง

ขึ้นว่า "ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะ ปล่อยนาคนั้นให้เป็นอิสระ" ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้น ก็

เลื้อยออกมาจากที่ขัง เนรมิตกาย เป็นมนุษย์ พระราชาจึงตรัสถามความเป็นมา ภูริทัตต์จึงตอบว่า

"ข้าพเจ้าและพี่น้องเป็นโอรสธิดาของท้าวธตรฐราชาแห่งนาคกับ นางสมุทรชา ข้าพเจ้ายอมถูกจับ

มา ยอมให้พราหมณ์ทำร้ายจน บอบช้ำ เพราะปราถนาจะรักษาศีล บัดนี้ข้าพเจ้าเป็น อิสระแล้ว จึงขอลากลับไป

เมืองนาคตามเดิม" พระราชาทรงดีพระทัยเพราะทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของ นางสมุทรชา น้องสาว

ของพระองค์ที่บิดายกให้แก่ราชานาคไป จึงเล่าให้ภูริทัตต์และพี่น้องทราบว่า เมื่อนางสมุทรชาไปสู่ เมืองนาค

แล้ว พระบิดาก็เสียพระทัย จึงสละราชสมบัติ ออกบวช พระองค์จึงได้ครองเมืองพาราณสีต่อมา

       พระราชาประสงค์จะให้ นางสมุทรชาและบรรดาโอรสได้ไป เฝ้าพระบิดา จะได้ทรงดีพระทัย สุทัศนะ

ทูลพระราชาว่า "ข้าพเจ้าจะ กลับไปทูลให้พระมารดาทราบ ขอให้พระองค์ ไปรออยู่ที่อาศรมของ

พระอัยกาเถิด ข้าพเจ้าจะพา พระมารดาและพี่น้องตามไปภายหลัง" ทางฝ่ายพรานเนสาท ผู้ทำร้ายภูริ

ทัตต์เพราะหวังดวงแก้ว สารพัดนึก เมื่อตอนที่พราหมณ์โยนดวงแก้วให้ นั้น รับไม่ทัน ดวงแก้วจึงตกลงบนพื้นและ

แทรกธรณีกลับไปสู่เมืองนาค พรานเนสาทจึงสูญเสียดวงแก้ว สูญเสียลูกชาย และเสียไมตรี กับภูริทัตต์ เที่ยว

ซัดเซพเนจรไป ครั้นได้ข่าวว่าพราหมณ์ผู้จับ นาคกลายเป็น โรคเรื้อนเพราะพิษนาค ก็ตกใจกลัว ปราถนา จะล้าง

บาป จึงไปยังริมน้ำยมุนา ประกาศว่า "ข้าพเจ้าได้ ทำร้ายมิตร คือ ภูริทัตต์ ข้าพเจ้าปราถนาจะ

ล้างบาป" พรานกล่าวประกาศอยู่ หลายครั้ง เผอิญขณะนั้น สุโภคะกำลังเที่ยวตามหาภูริทัตต์อยู่ ได้ยิน

เข้าจึงโกรธแค้น เอาหางพันขาพราน ลากลงน้ำให้จมแล้ว ลากขึ้นมาบนดินไม่ให้ถึงตาย ทำอยู่เช่นนั้นหลายครั้ง

พราน จึงร้องถามว่า "นี่ตัวอะไรกัน ทำไมมาทำร้าย เราอยู่เช่นนี้ ทรมาณเราเล่นทำไม"

สุโภคะตอบว่าตนเป็นลูกราชานาค พรานจึงรู้ว่าเป็นน้องภูริทัตต์ ก็อ้อนวอนขอให้ปล่อยและกล่าว แก่สุโภคะว่า

"ท่านรู้หรือไม่ เราเป็นพราหมณ์ ท่านไม่ควร ฆ่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์เป็นผู้บูชาไฟ เป็นผู้ทรง

เวทย์ และเลี้ยงชีพด้วยการขอ ท่านไม่ควรทำร้ายเรา" สุโภคะไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไร จึงพาพราน

เนสาทลงไป เมืองนาค คิดจะไปขอถามความเห็นจากพี่น้อง เมื่อไปถึงประตู เมืองนาค ก็พบอริฏฐะนั่งรออยู่

อริฏฐะนั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ ครั้นรู้ว่าพี่ชายจับพราหมณ์มา จึงกล่าวสรรเสริญคุณของพราหมณ์ สรรเสริญ

ความยิ่งใหญ่แห่งพรหม และกล่าวว่าพราหมณ์เป็นบุคคล ที่ไม่สมควรจะถูกฆ่า ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ การฆ่า

พราหมณ์ซึ่ง เป็นผู้บูชาไฟนั้นจะทำ ให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวง สุโภคะกำลังลังเลใจ ไม่ทราบจะทำอย่างไร

พอดีภูริทัตต์กลับมาถึง ได้ยินคำของอริฏฐะจึงคิดว่า อริฏฐะ นั้นเป็นผู้เลื่อมใสพราหมณ์ และการบูชายัญของ

พราหมณ์ จำเป็นที่จะต้องกล่าววาจาหักล้าง มิให้ผู้ใด คล้อยตามในทางที่ผิด

       ภูริทัตต์จึงกล่าวชี้ แจงแสดง ความเป็นจริง และในที่สุดได้กล่าวว่า "การบูชาไฟนั้น หาได้

เป็น การบูชาสูงสุดไม่ หากเป็นเช่นนั้น คนเผาถ่าน คนเผาศพ ก็สมควรจะได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บูชา ไฟยิ่งกว่า

พราหมณ์ หากการบูชาไฟเป็นสูงสุด การเผาบ้านเมืองก็คงได้บุญสูงสุด แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ หากการบูชายัญจะ

เป็นบุญสูงสุดจริง พราหมณ์ก็น่าจะเผาตนเองถวายเป็นเครื่องบูชา แต่พราหมณ์กลับ บูชาด้วยชีวิตของผู้อื่น เหตุ

ใดจึงไม่เผาตนเองเล่า" อริฏฐะกล่าวว่า พรหมเป็นผู้ทรงคุณยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างโลก ภูริทัตต์ตอบว่า

"หากพรหมสร้างโลกจริง ไฉนจึงสร้างให้โลก มีความทุกข์ ทำไมไม่สร้างให้โลกมีแต่ความสุข

ทำไมพรหม ไม่สร้างให้ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน เหตุใดจึงแบ่งคนเป็น ชั้นวรรณะ คนที่อยู่ในวรรณะต่ำ เช่น

ศูทร จะไม่มีโอกาสมี ความสุข เท่าเทียมผู้อื่นได้เลย พราหมณ์ต่างหากที่พยายาม ยกย่องวรรณะของตนขึ้นสูง

และเหยียดหยามผู้อื่นให้ต่ำกว่า โดยอ้างว่าพราหมณ์เป็นผู้รับใช้พรหม เช่นนี้จะถือว่าพราหมณ์ ทรงคุณยิ่งใหญ่ได้

อย่างไร" ภูริทัตต์กล่าววาจาหักล้างอริฏฐะด้วยความเป็นจริง ซิ่งอริฏฐะ ไม่อาจโต้เถียงได้ ในที่สุดภูริ

ทัตต์จึงสั่งให้ นำพรานเนสาทไปเสีย จากเมืองนาค แต่ไม่ให้ทำอันตรายอย่างใด จากนั้นภูริทัตต์ก็พา พี่น้องและ

นางสมุทรชาผู้เป็นมารดา กลับไปเมืองมนุษย์ เพื่อไป เฝ้าพระบิดา พระเชษฐาของนางที่รอคอยอยู่แล้ว เมื่อญาติ

พี่น้องทั้งหลายพากันแยกย้ายกลับบ้านเมือง ภูริทัตต์ขออยู่ที่ศาลากับพระอัยกา บำเพ็ญเพียร รักษาอุโบสถศีล

ด้วยความสงบ ดังที่ได้เคยตั้งปณิธานไว้ว่า "ข้าพเจ้าจะมั่นคงในการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ จะไม่ให้

ศีลต้องมัวหมอง ไม่ว่าจะต้องเผชิญความ ทุกข์ยากอย่างไร ข้าพเจ้าจะอดทน อดกลั้น ตั้งมั่นอยู่ ในศีลตลอด

ไป"

 
คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี

"ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่ง

นักแล้ว"


www.sil5.net

ธุลีธวัช (chai173):
พระจันทกุมารชาดก (บำเพ็ญขันติบารมี)



ในครั้ง โบราณ เมืองพารานสี มีชื่อว่า บุปผวดี มีกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าเอกราชา พระราชบุตรองค์ใหญ่

พระนามว่า จันทกุมาร ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช และ พราหมณ์ชื่อกัณฑหาล เป็นปุโรหิตในราชสำนัก

กัณฑหาล มีหน้าที่ตัดสินคดีความอีกตำแหน่ง แต่กัณฑหาลเป็นคน ไม่ยุติธรรม ไม่ซื่อสัตย์ มักจะรับสินบนจากคู่

ความอยู่เสมอ ข้างไหนให้สินบนมาก ก็จะตัดสินความเข้าข้างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง ผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมร้อง

โพนทนา โทษของกัณฑหาล ได้ยินไปถึงพระจันทกุมาร จึงตรัสถาม ว่าเกิดเรื่องอะไร บุคคลนั้นจึงทูลว่า

"กัณฑหาลปุโรหิต มิได้เป็นผู้ทรงความยุติธรรม หากแต่รับสินบน ก่อความ อยุติธรรมให้เกิดขึ้น

เนืองๆ" พระจันทกุมารตรัสว่า "อย่า กลัวไปเลย เราจะเป็นผู้ให้ ความยุติธรรมแก่

เจ้า" แล้ว พระจันทกุมารก็ทรงพิจารณาความอีกครั้ง ตัดสินไปโดย ยุติธรรม เป็นที่พึงพอใจแก่

ประชาชนทั้งหลาย ฝูงชนจึง แซ่ซ้องสดุดีความยุติธรรมของพระจันทกุมาร พระเจ้าเอกราชาทรงได้ยินเสียงแซ่

ซ้อง จึงตรัสถาม ครั้นทรงทราบจึงมีโองการว่า "ต่อไปนี้ ให้จันทกุมาร แต่ผู้เดียวทำหน้าที่ตัดสิน

คดีความทั้งปวงให้ยุติธรรม" กัณฑหาลเมื่อถูกถอดออกจากตำแหน่งหน้าที่ ก็เกิด ความเคียดแค้นพระ

จันทกุมาร ว่าทำให้ตนขาดผล ประโยชน์ และได้รับความอับอายขายหน้าประชาชน จึงผูกใจพยาบาทแต่นั้นมา

       อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าเอกราช ทรงฝันเห็นสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เห็นความผาสุกสวยงาม ความรื่นรมย์ ต่างๆ

นานา ในสรวงสวรรค์ เมื่อตื่นจากฝัน พระองค์ ยังทรงอาลัยอาวรณ์อยู่ และปรารถนาจะได้ไปสู่ ดินแดนอันเป็น

สุขนั้น จึงตรัสถามบรรดาผู้ที่พระองค์ คิดว่าจะสามารถบอกทางไปสู่เทวโลกให้แก่พระองค์ได้ กัณฑหาลได้

โอกาส จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่พระราชา ผู้ที่ประสงค์จะไปสู่สวรรค์ มีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นคือ ทำ

บุญให้ทาน และฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า" พระราชาตรัส ถามว่า "ฆ่าบุคคลที่ไม่ควรฆ่า หมายความว่าอย่าง

ไร" กัณฑหาลทูลตอบว่า "พระองค์จะต้องการกระทำการ บูชายัญด้วยพระราชบุตร

พระมเหสี ประชาชนหญิงชาย เศรษฐี และช้างแก้ว ม้าแก้ว จำนวนอย่างละสี่ จึงจะไป สู่สวรรค์ได้"

ด้วยความที่อยากจะไปเสวยสุขในสวรรค์ พระเจ้าเอกราชาก็ทรงเห็นดีที่จะทำบูชายัญตามที่กัณฑหาล ผู้มี จิต

ริษยาพยาบาททูลแนะ พระองค์ทรงระบุชื่อ พระราช บุตรพระมเหสี เศรษฐี ประชาชน และช้างแก้ว ม้าแก้ว ที่

จะ บูชายัญด้วยพระองค์เอง อันที่จริงกัณฑหาลประสงค์ร้าย กับพระจันทกุมารองค์เดียวเท่านั้น แต่ครั้นจะให้

บูชายัญ พระจันทกุมารแต่ลำพัง ก็เกรงว่าผู้คนจะสงสัย จึงต้องให้ บูชายัญเป็นจำนวนสี่ พระจันทกุมารผู้เป็นโอรส

องค์ใหญ่ ก็ทรงอยู่ในจำนวนชื่อที่พระเจ้าเอกราชาโปรดให้นำมาทำ พิธีด้วย จึงสมเจตนาของกัณฑหาล เมื่อช้าง

ม้า และบุคคล ที่ถูกระบุชื่อ ถูกนำมาเตรียมเข้าพิธี ก็เกิดความโกลาหล วุ่นวาย มีแต่เสียงผู้คน ร้องไห้คร่ำครวญ

ไปทั่ว พระจันทกุมารนั้น เมื่อราชบุรุษไปกราบทูลก็ทรงถามว่า ใครเป็นผู้ทูลให้พระราชาประกอบพิธีบูชายัญ

ราชบุรุษ ทูลว่ากัณฑหาล ก็ทรงทราบว่าเป็นเพราะความ ริษยาพยาบาทที่ กัณฑหาลมีต่อพระองค์เป็นสาเหตุ ใน

เวลาที่ราชบุรุษไปจับเศรษฐีทั้งสี่มาเข้าพิธีนั้น บรรดาญาติพี่น้องต่างพยายามทูลวิงวอนขอชีวิตต่อ พระราชา แต่

พระราชาก็ไม่ทรงยินยอม เพราะมี พระทัยลุ่มหลงในภาพเทวโลก และเชื่องมงายในสิ่งที่ กัณฑหาลทูล

       ต่อมาเมื่อพระบิดาพระ มารดาของ พระราชาเอง ทรงทราบก็รีบเสด็จมาทรงห้ามปรามว่า "

ลูกเอ๋ยทางไปสวรรค์ที่ต้องฆ่าบุตรภรรยา ต้องเบียด เบียนผู้อื่นนั้น จะเป็นไปได้อย่างไร การให้ทาาน การ งดเว้น

การเบียดเบียนต่างหาก เป็นทางสู่สวรรค์" พระราชาก็มิได้ทรงฟังคำห้ามปรามของพระบิดา พระมารดา

พระจันทกุมารทรงเห็นว่าเป็นเพราะ พระองค์เองที่ไปขัดขวางหนทางของคนพาลคือ กัณฑหาล ทำให้เกิดเหตุ

ใหญ่ จึงทรงอ้อนวอนพระบิดา ว่า "ขอพระองค์โปรดประทานชีวิต ข้าพเจ้าทั้งปวงเถิด แม้จะจอง

จำเอาไว้ก็ยังได้ใช้ประโยชน์ จะให้เป็น ทาส เลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า หรือขับไล่ไปเสียจากเมืองก็ย่อมได้ ขอประทาน

ชีวิตไว้เถิด" พระราชาได้ฟังพระราชบุตร ก็ทรงสังเวชพระทัยจน น้ำพระเนตรไหล ตรัสให้ปล่อย พระ

ราชบุตร พระมเหสี และทุกสิ่งทุกคนที่จับมาทำพิธี ครั้นกัณฑหาลทราบ เข้าขณะเตรียมพิธีก็รีบมาทูบคัดค้าน

และ ล่อลวงให้ พระราชาคล้อยตามด้วยความหลงใหลในสวรรค์อีก พระราชาก็ทรงเห็นดีไปตามที่กัณฑหาล ชัก

จูง พระจันทกุมารจึงทูลพระบิดาว่า "เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ อยู่ พระองค์โปรดให้พี่เลี้ยง นางนม

ทะนุ บำรุงรักษา ครั้นโตขึ้นจะกลับมาฆ่าเสียทำไม ข้าพเจ้าย่อมกระทำ ประโยชน์แก่พระองค์ได้ พระองค์จะ ให้

ฆ่าลูกเสีย แล้วจะอยู่กับคนอื่นที่มิใช่ลูกจะเป็นไปได้อย่างไร ในที่สุดเขาก็คงจะฆ่าพระองค์เสียด้วย พราหมณ์ที่

สังหาร ราชตระกูล จะถือว่าเป็นผู้มีคุณประโยชน์ได้อย่างไร พราหมณ์นั้นคือผู้เนรคุณ" พระราชาได้ฟัง

ก็สลดพระทัย สั่งให้ปล่อยทุกชีวิต ไปอีกครั้ง แต่ครั้นพราหมณ์กัณฑหาลเข้ามากราบทูล ก็ทรงเชื่ออีก พระจัน

ทกุมารก็กราบทูลพระบิดาว่า "ข้าแต่พระบิดา หากคนเราจะไปสวรรค์ ได้เพราะ การกระทำ

บูชายัญ เหตุใดพราหมณ์จึงมิทำบูชายัญ บุตรภรรยาของตนเองเล่า เหตุใดจึงได้ชักชวนให้คน อื่น

กระทำ"

       ในเมื่อพราหมณ์ก็ได้ ทูลว่า คนผู้ใดทำ บูชายัญเองก็ดี คนผู้นั้นย่อมไปสู่สวรรค์ เช่นนั้นควรให้ พราหมณ์

กระทำบูชายัญด้วยบุตรภรรยาตนเองเถิด" ไม่ว่าพระจันทกุมารจะกราบทูลอย่างไร พระราชา ก็ไม่ทรงฟัง บุคคล

อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง พระวสุลกุมารผู้เป็นราชบุตรของพระจันทกุมาร มาทูลอ้อนวอน พระเจ้าเอกราชาก็

ไม่ทรงยินยอมฟัง ฝ่ายกัณฑหาลเกรงว่าจะมีคนมาทูลชักจูงพระราชาอีก จึงสั่งให้ปิดประตูวัง และทูลเชิญพระ

ราชาให้ไป อยู่ในที่อันคนอื่นเข้าไปเฝ้ามิได้ เมื่อถึงเวลาทำพิธี มีแต่เสียงคร่ำครวญของราชตระกูล และฝูงชนที่

ญาติ พี่น้องถูกนำมาเข้าพิธี ในที่สุด นางจันทาเทวีผู้เป็นชายา ของพระจันกุมาร ซึ่งได้พยายามทูลอ้อนวอนพระ

ราชา สักเท่าไรก็ไม่เป็นผล ก็ได้ ติดตามพระจันทกุมารไป สู่หลุมยัญด้วย เมื่อกัณฑหาลนำถาดทองมาวางรอไว้

และเตรียมพระขรรค์จะบั่นคอพระจันทกุมาร พระนางจันทาเทวีก็เสด็จไปสู่หลุมยัญ ประนมหัตถ์บูชา และกล่าว

สัจจวาจาขึ้นว่า "กัณฑหาลพราหมณ์เป็น คนชั่วเป็นผู้มีปัญญาทราม มีจิตมุ่งร้ายพยาบาท ด้วยเหตุ

แห่งวาจาสัตย์นี้ เทวดา ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง จงช่วยเหลือเรา ผู้ไร้ที่พึ่ง ผู้แสวงหาที่พึ่ง ขอให้เราได้อยู่ร่วมกับ

สามีด้วยความสวัสดีเถิด ขอให้พระเป็นเจ้า ทั้งหลายจงช่วยสามีเรา ให้เป็นผู้ที่ศัตรูทำร้ายมิได้เถิด" เมื่อ

พระนางกระทำสัจจกริยา พระอินทร์ได้สดับ ถ้อยคำนั้น จึงเสด็จมาจากเทวโลก ทรงถือค้อนเหล็กมี ไฟลุกโชติ

ช่วง ตรงมายังพระราชา กล่าวว่า "อย่าให้เรา ถึงกับต้องใช้ค้อนนี้ประหารเศียรของท่านเลย มีใคร

ที่ ไหนบ้าง ที่ฆ่าบุตร ภรรยา และเศรษฐีคหบดีผู้ไม่มีความ ผิดเพื่อที่ตนเองจะได้ไปสวรรค์ จงปล่อยบุคคลผู้

ปราศ จากความผิดทั้งปวงเสียเดี๋ยวนี้" พระราชาตกพระทัยสุดขีด สั่งให้คนปลดปล่อยคน ทั้งหมดจาก

เครื่องจองจำ

       ในทันใดนั้นประชาชนที่ รุม ล้อมอยู่ก็ช่วยกันเอาก้อนหิน ก้อนดินและท่อนไม้ เข้าขว้างปาทุบตี

กัณฑหาลพราหมณ์จนสิ้นชีวิตอยู่ ณ ที่นั้น แล้วหันมาจะฆ่าพระราชา แต่พระจันทกุมารตรงเข้ากอด พระบิดาไว้ ผู้

คนทั้งหลายก็ไม่กล้าทำร้าย ด้วยเกรง พระจันทกุมารจะพลอยบาดเจ็บ ในที่สุดจึงประกาศว่า "เรา

จะไว้ชีวิตแก่พระราชาผู้โฉดเขลา แต่จะให้ครองแผ่นดิน มิได้" เราถอดพระยศพระราชาเสียให้เป็นคน

จัณฑาล แล้วไล่ออกจากพระนครไป จากนั้นมหาชนก็กระทำพิธีอภิเษกพระจันทกุมารขึ้น เป็นพระราชา ทรง

ปกครองบ้านเมืองด้วยความยุติธรรม เมื่องทรงทราบว่าพระบิดาตกระกำลำบากอยู่นอกเมือง ก็ทรงให้ความช่วย

เหลือพอที่พระบิดาจะดำรงชีพอยู่ได้ พระจันทกุมารปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ตลอดมาจนถึงที่สุดแห่ง

พระชนม์ชีพ ก็ได้เสด็จไปเสวยสุข ในเทวโลก ด้วยเหตุที่ทรงเป็น ผู้ปกครองที่ดี ที่ทรงไว้ซึ่ง ความยุติธรรม ไม่

หลงเชื่อ วาจาคนโดยง่าย และ ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อตรง
 

คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี

"เรื่อง อาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงใน

ทรัพย์และสุขของผู้อื่นก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้า เช่นกัน"
 
www.sil5.net

ธุลีธวัช (chai173):
พระนารทชาดก (บำเพ็ญอุเบกขาบารมี)


พระ ราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า อังคติราช ครองเมืองมิถิลา เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในทศพิธราชธรรม พระธิดา

ของพระเจ้าอังคติราชมีพระนามว่า รุจาราชกุมารี มีรูปโฉมงดงาม พระราชาทรง รักใคร่พระธิดา อย่างยิ่ง คืนวัน

หนึ่งเป็นเทศกาลมหรสพ ประชาชนพากัน ตกแต่งเคหสถานอย่างงดงาม พระเจ้าอังคติราช ประทับอยู่ท่ามกลาง

เหล่าอำมาตย์ในปราสาทใหญ่ ประดับประดาอย่างวิจิตรตระการ พระจันทร์กำลัง ทรงกลด เด่นอยู่กลางท้องฟ้า

พระราชาทรงปรารภ กับหมู่อำมาตย์ว่า "ราตรีเช่นนี้น่ารื่นรมย์นัก เราจะทำอะไรให้ เพลิดเพลินดี

หนอ" อลาตอำมาตย์ทูลว่า "ขอเดชะ ควรจะเตรียม กองทัพใหญ่ยกออกไปกวาดต้อน

ดินแดนน้อยใหญ่ ให้เข้า มาอยู่ในพระราชอำนาจพระเจ้าข้า" สุนามอำมาตย์ทูลว่า

"ทุกประเทศใหญ่น้อยก็มา สวามิภักดิ์อยู่ในพระราชอำนาจหมดแล้ว ควรที่จะ จัดการ เลี้ยงดู ดื่มอวยชัยให้

สำราญ และหาความ เพลิดเพลินจากระบำรำฟ้อนเถิดพระเจ้าข้า" วิชัยอำมาตย์ทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ เรื่องการระบำ ดนตรีฟ้อนร้องนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทอด พระเนตรอยู่แล้วเป็นนิตย์ ใน

ราตรีอันผุดผ่องเช่นนี้ ควรไปหาสมณพราหมณ์ผู้รู้ธรรม แล้วนิมนต์ ท่านแสดง ธรรมะจะเป็นการควรกว่าพระเจ้า

ค่ะ" พระราชาพอพระทัยคำทูลของวิชัยอำมาตย์ จึงตรัสถามว่า "เออ แล้วเราจะไปหา

ใครเล่าที่เป็น ผู้รู้ธรรม" อลาตอำมาตย์แนะขึ้นว่า "มีชีเปลือย รูปหนึ่ง อยู่ในมิคทายวัน

เป็นพหูสูตร พูดจาน่าฟัง ท่านคงจะช่วยขจัดข้อสงสัยของเราทั้งหลายได้ ท่านมีชื่อว่า คุณาชีวก" พระ

เจ้าอังคติราชได้ทรงฟังก็ยินดี สั่งให้เตรียม กระบวน เสด็จไปหาชีเปลือยชื่อคุณาชีวกนั้น

       เมื่อไปถึงที่ ก็ทรงเข้าไปหาคุณาชีวก ตรัสถาม ปัญหาธรรมที่พระองค์สงสัยอยู่ว่า บุคคลพึง ประพฤติธรรม

กับบิดา มารดา อาจารย์ บุตร ภรรยา อย่างไร เหตุใดชนบางพวกจึงไม่ตั้งอยู่ ในธรรม ฯลฯ คำถามเหล่านี้ เป็น

ปัญหาธรรม ขั้นสูงอันยากจะตอบได้ ยิ่งคุณาชีวกเป็นมิจฉา ทิฏฐิผู้โง่เขลาเบาปัญญาด้วยแล้ว ไม่มีทางจะ เข้าใจ

ได้ คุณาชีวกจึงแกล้งทูลไปเสียทางอื่นว่า "พระองค์จะสนพระทัยเรื่องเหล่านี้ไปทำไม ไม่มี

ประโยชน์อันใดเลยพระเจ้าข้า โปรดฟังข้าพเจ้าเถิด ในโลกนี้ บุญไม่มี บาปไม่มี ปรโลกไม่มี ไม่มีบิดา มารดาปู่

ย่า ตายาย สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเสมอกัน หมด จะได้ดีได้ชั่วก็ได้เอง ทานไม่มี ผลแห่งทาน ก็ไม่มี ร่างกายที่

ประกอบกันขึ้นมานี้ เมื่อตายไป แล้วก็สูญสลายแยกออกจากกันไป สุขทุกข์ก็สิ้นไป ใครจะฆ่า จะทำร้าย ทำ

อันตราย ก็ไม่เป็นบาป เพราะบาปไม่มี สัตว์ทุกจำพวก เมื่อเกิดมาครบ 84 กัปป์ก็จะบริสุทธิ์พ้นทุกข์ ไปเอง ถ้า

ยังไม่ครบ ถึงจะทำบุญทำกุศลเท่าไร ก็ไม่อาจบริสุทธิ์ไปได้ แต่ถ้าถึงกำหนด 84 กัปป์ แม้จะทำบาปมากมาย ก็

จะบริสุทธิ์ไปเอง" พระราชาได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า "ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านี้โง่เขลาจริงๆ

ข้าพเจ้ามัวหลงเชื่อว่า ทำความดี แล้วจะไปสู่สุคติ อุตส่าห์พากเพียร บำเพ็ญกุศลกรรม บัดนี้ข้าพเจ้าทราบแล้วว่า

บุญไม่มี บาปไม่มี ผลกรรมใดๆ ไม่มีทั้งสิ้น บุคคลจะบริสุทธิ์เองเมื่อถึงกำหนดเวลา แม้แต่ การฟังธรรมจากท่าน

อาจารย์ก็ หามีประโยชน์ อันใดไม่ ข้าพเจ้าขอลาไปก่อนละ"

       เมื่อเสด็จกลับมาถึง พระราชวัง พระเจ้า อังคติราชก็มีพระราชโองการว่า ต่อไปนี้พระองค์ จะไม่ปฏิบัติราช

กิจใดๆทั้งสิ้น เพราะการทั้งปวง ไม่มีประโยชน์ ไม่มีผลอันใด พระองค์จะแสวงหา ความเพลิดเพลินใน ชีวิตแต่

เพียงอย่างเดียว ไม่ อาทรร้อนใจกับผลบุญผลกรรมใดๆทั้งสิ้น จากนั้นก็เกิดเสียงเล่าลือไปทั้งพระนครว่า พระ

ราชากลายเป็นมิจฉาทิฐิ คือ หลงผิด เชื่อคำ ของชีเปลือยคุณาชีวก บ้านเมืองย่อมจะถึง ความเสื่อม หากพระ

ราชาทรงมีพระดำริดังนั้น ความนี้ทราบไปถึงเจ้าหญิง รุจาราชกุมารี ทรงร้อนพระทัยเมื่อทราบว่า พระบิดาให้รื้อ

โรงทาน ทั้งสี่มุมเมือง จะไม่บริจาคทานอีกต่อ ไป ทั้งยังได้ กระทำการข่มเหงน้ำใจชาวเมืองมากมายหลาย

ประการ ด้วยความที่ทรงเชื่อว่า บุญไม่มี บาปไม่มี บุคคลไปสู่สุคติเองเมื่อถึงเวลา เจ้าหญิงรุจาราชกุมารีจึงเข้าเฝ้า

พระบิดา ทูลขอ พระราชทานทรัพย์หนึ่งพัน เพื่อจะเอาไปทรงทำทาน พระบิดาเตือนว่า "ลูกรัก

ทานไม่มีประโยชน์ดอก ปรโลกไม่มี เจ้าจะไม่ได้ผลอะไรตอบแทน หากเจ้า ยังถือศีลอดอาหารวันอุโบสถอยู่ ก็

จงเลิกเสียเถิด ไม่มีผลดอกลูกรัก" รุจาราชกุมารีพยายามกราบทูลเตือนสติพระบิดา ว่า

"ข้าแต่พระชนก บุคคลกระทำบาปสั่งสมไว้ ถึงวัน หนึ่งเมื่อผลบาปเพียบเข้า บุคคลนั้นก็จะต้องรับผล แห่งบาปที่

ก่อ เหมือนเรือที่บรรทุกแม้ทีละน้อย เมื่อเต็มเพียบเข้า ก็จะจมในที่สุดเหมือนกัน ธรรมดาใบไม้ นั้นหากเอาไปหุ้ม

ห่อของเน่าเหม็น ใบไม้นั้นก็จะ เหม็นไปด้วย หากห่อของหอมใบไม้ นั้นก็จะหอม ปราชญ์จึงเลือกคบแต่คนดี หาก

คบ คนชั่วก็จะพลอย แปดเปื้อน เหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมทำให้แล่งศรแปดเปื้อนไปด้วย"

ราชกุมารีกราบทูลต่อว่า "หม่อมฉันรำลึกได้ว่า ในชาติก่อนได้เคยเกิดเป็นบุตรช่างทาง ได้คบหา

มิตรกับ คนชั่ว ก็พลอยกระทำแต่สิ่งที่ชั่วร้าย ครั้น ชาติต่อมาเกิดในตระกูลเศรษฐี มีมิตรดีจึงได้พลอย บำเพ็ญ

บุญบ้าง เมื่อตายไป ผลกรรมก็ตามมาทัน หม่อมฉันต้องไปทนทุกข์ทรมาณในนรกอยู่เป็นเวลา หลายชาติ หลาย

ภพ ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ต้องทน ทุกข์รำเค็ญมากมาย กว่าจะใช้หนี้กรรมนั้นหมด และผลบุญ เริ่มส่งผล จึงได้

มาเกิดในที่ดีขึ้นเป็นลำดับ อันผลบุญผลบาปย่อมติดตามเราไปทุกๆ ชาติ ไม่มีหยุด ย่อมได้รับผลตามกรรมที่ก่อ

ไว้ทุกประการ ขอพระบิดาจงฟังคำหม่อมฉันเถิด"

       พระราชามิได้เชื่อคำ รุจาราชกุมารี ยังคงยึดมั่น ตามที่ได้ฟังมาจากคุณาชีวก เจ้าหญิงทรงเป็น ทุกข์ถึงผล

ที่ พระบิดาจะได้รับเมื่อสิ้นพระชนม์ จึง ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า "หากเทพยดาฟ้าดินมีอยู่ ขอได้

โปรดมาช่วยเปลื้องความเห็นผิดของ พระบิดาด้วยเถิด จะได้บังเกิดสุขแก่ปวงชน" ขณะนั้น มีพรหมเทพ

องค์หนึ่งชื่อ นารท เป็นผู้มี ความกรุณาในสรรพสัตว์ มักอุปการะเกื้อกูลผู้อื่น อยู่เสมอ นารทพรหมเล็งเห็นความ

ทุกข์ของ รุจาราชกุมารี และเล็งเห็นความเดือดร้อนอันจะเกิด แก่ประชาชน หากพระราชาทรงเป็นมิจฉาทิฏฐิ จึง

เสด็จจากเทวโลกแปลงเป็นบรรพชิต เอาภาชนะ ทองใส่สาแหรกข้างหนึ่ง คนโทแก้วใส่สาแหรก อีกข้างหนึ่ง ใส่

คานทาน วางบนบ่าเหาะมาสู่ปราสาท พระเจ้า อิงคติราช มาลอยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ พระราชาทรงตกตะลึงตรัส

ถามว่า "ข้าแต่ท่าน ผู้มีวรรณะงามราวจันทร์เพ็ญ ท่านมาจากไหน"

นารทพรหมตอบว่า "อาตมาภาพมากจากเทวโลก มีนามว่า นารท"

พระราชาตรัสถามว่า "เหตุใดท่าน จึงมีฤทธิ์ลอยอยู่ในอากาศได้เช่นนั้น น่าอัศจรรย์"

นารทพรหมตอบว่า "อาตมาภาพบำเพ็ญคุณธรรม 4 ประการ ในชาติ ก่อนคือ สัจจะ ธรรมะ

ทมะ และจาคะ จึงมีฤทธิ์เดช ไปไหนได้ตามใจปรารถนา"

พระราชาตรัสว่า "ผลบุญมีด้วยหรือ ถ้าผลบุญมีจริงอย่างที่ท่านว่า ได้โปรดอธิบายให้

ข้าพเจ้าทราบด้วยเถิด"

พระนารทพรหมจึงอธิบายว่า "ผลบุญมีจริง ผลบาปก็มีจริง มีเทวดา มีบิดามารดา มีปรโลก มีทุก

สิ่งทุกอย่างทั้งนั้น แต่เหล่าผู้งมงายหาได้รู้ไม่"

พระราชาตรัสว่า "ถ้าปรโลกมีจริง ขอยืมเงิน ข้าพเจ้าสักห้าร้อยเถิด ข้าพเจ้าจะใช้ให้ท่าน ในโลก

หน้า"

พระนารทตอบว่า "ถ้าท่านเป็นผู้ ประพฤติธรรม มากกว่าห้าร้อยเราก็ให้ท่านยืมได้ เพราะเรารู้ว่าผู้

อยู่ใน ศีลธรรม ผู้ประพฤติกรรมดี เมื่อเสร็จจากธุระแล้ว ก็ย่อมนำเงินมาใช้คืนให้เอง แต่อย่างท่านนี้ตายไป แล้ว

ก็จะต้องไปเกิดในนรก ใครเล่าจะตามไปทวงทรัพย์คืนจากท่านได้"

       พระราชาไม่อาจตอบได้ จึงนิ่งอั้นอยู่ นารทพรหม ทูลว่า "หากพระองค์ยังทรงมีมิจฉาทิฏฐิ

อยู่ เมื่อสิ้น พระชนม์ ก็ต้องไปสู่นรก ทนทุกขเวทนาสาหัส ในโลกหน้าพระองค์ก็จะต้องชดใช้ผลบาปที่ได้ก่อไว้

ในชาตินี้" พระนารทได้โอกาสพรรณนาความทุกข์ ทรมานต่างๆ ในนรกให้พระราชาเกิดความสะพรึง

กลัว เกิดความสยดสยองต่อบาป พระราชาได้ฟังคำพรรณนา ก็สลดพระทัยยิ่งนัก รู้พระองค์ว่าได้ดำเนินทางผิด

จึงตรัสว่า "ได้โปรดเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้าด้วยเถิด บัดนี้ ข้าพเจ้าเกิดความกลัวภัยในนรก ขอท่าน

จง เป็นแสงสว่างส่องทางให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด โปรด สอนธรรมะให้แก่ข้าพเจ้าผู้ได้หลงไปในทางผิด ขอจง บอก

หนทางที่ถูกต้องแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด" พระนารทพรหมฤษีจึงได้โอกาสตรัสสอนธรรมะ แก่พระราชาอัง

คติราช ทรงสอนให้พระราชตั้งมั่น ในทาน ในศีล อันเป็นหนทางไปสู่สวรรค์เทวโลก แล้วจึงแสดงธรรมเปรียบร่าง

กายกับรถ เพื่อให้ พระราชาทรงเห็นว่า รถที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดี อันถูกต้องแล่นไปในทางที่เรียบรื่น มีสติ

เป็นประดุจปฏัก มีความ เพียรเป็นบังเหียน และมีปัญญาเป็นห้ามล้อ รถอันประกอบด้วยชิ้นส่วนอันดีนั้นก็จะแล่น

ไปใน ทางที่ถูกต้อง โดยปราศจากภัยอันตราย พระราชาอังคติราชทรงละมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด ละหนทาง

บาป นารถพรหมฤษีจึงถวายโอวาทว่า "ขอพระองค์จะละบาปมิต คบแต่กัลยาณมิตร อย่าได้ ทรง

ประมาทเลย" ในระหว่างนั้น พระนารทพรหม ฤษีได้อันตรธานหายไป พระราชาก็ทรงตั้งมั่นในศีล ใน

ธรรม ทรงเริ่มทำบุญทำทาน ทรงเลือกคบแต่ผู้ที่จะ นำไปในทางที่ถูกที่ควร เมื่อพระราชาทรงตั้งอยู่ใน ทศพิธ

ราชธรรม ประชาชนก็มีความสุข บ้านเมืองสงบ ร่มเย็น สมดังที่พระนารทพรหมฤษีทรงกล่าวว่า

"จงละบาปมิตร จงคบกัลยาณมิตร จงทำบุญละจากบาป ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเถิด"
 

คติธรรม : บำเพ็ญอุเบกขาบารมี

"สัตว์ โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำผิดบาปย่อมได้ชั่วช้าสามานย์

เป็นผลสนองตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีเลวแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย"



www.sil5.net

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว