ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: [1] 2 3 ... 710
1  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “คลาสภาษาอังกฤษ” สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร.? เมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:29:53 am


บรรยากาศในห้องเรียนที่จัดการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5


“คลาสภาษาอังกฤษ” สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร? เมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ คนเรียนพูดอังกฤษไม่เป็น

หลายคนน่าจะพอคุ้นชื่อ แอนนา เลียวโนเวนส์ หรือ “แหม่มแอนนา” ครูสอนภาษาอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 4 กันบ้าง ยุคนั้นผู้เรียนส่วนใหญ่คือเจ้าจอมและพระราชธิดาในพระองค์ พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ทรงมีพระราชประสงค์ฝึกหัดคนเพื่อดูแลกิจการบ้านเมือง หนึ่งในนั้นคือต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จึงทรงตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวังขึ้น แล้ว คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ ส่วนคนเรียนก็พูดอังกฤษไม่เป็น

ดร. อาวุธ ธีระเอก เล่าในหนังสือ “ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕” (สำนักพิมพ์มติชน) ตอนหนึ่งว่า

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อราว พ.ศ. 2415 เมื่อ ฟรานซิส จอร์ช แพทเทอร์สัน ครูชาวอังกฤษเดินทางมาสยาม เพื่อเยี่ยมน้าชายคือ หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตันเอม) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างไว้เป็นครู และให้ตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษคู่กับโรงเรียนไทยที่มีอยู่เดิม

โรงเรียนภาษาอังกฤษนี้จัดสอนเจ้านายช่วงเช้า และสอนทหารมหาดเล็กช่วงบ่าย ตอนแรกก็คึกคัก มีนักเรียนมาเรียนกว่า 50 คน แต่ต่อมาส่วนใหญ่เลิกเรียนกลางคัน เจ้านายที่อายุมากหน่อยก็ออกไปทำราชการ ชั้นรองลงมาก็มักถึงเวลาผนวชเป็นสามเณร ส่วนทหารมหาดเล็กก็ต้องเรียนวิชาอื่นมาก จึงมาเรียนภาษาอังกฤษได้น้อยลง

ปีถัดมา นักเรียนจึงเหลือไม่ถึงครึ่ง และเริ่มลดลงเรื่อยๆ ซ้ำยังไม่มีนักเรียนใหม่มาเพิ่ม เมื่อถึงปีที่สามจึงเหลือเพียงนักเรียนเจ้านาย 5 พระองค์ และย้ายที่เรียนไปยัง “หอนิเพธพิทยา” ที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จากนั้นโรงเรียนก็เป็นอันเลิกไป เมื่อครูแพทเทอร์สันเดินทางกลับหลังครบสัญญา 3 ปี

@@@@@@@

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อต่างฝ่ายต่างพูดภาษาของอีกฝ่ายไม่เป็น

คำตอบคือ สมัยนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงทันเรียนภาษาอังกฤษกับ “แหม่มแอนนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่ล่าม พอแปลคำง่ายๆ ได้บ้าง คำศัพท์ที่เกินความรู้ก็ใช้พจนานุกรมที่เรียกว่า “หนังสืออภิธานศัพท์” เข้าช่วย

ผู้สอนใช้หนังสืออภิธานศัพท์ของหมอแมคฟาร์แลนด์ ที่แปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยชี้ให้นักเรียนดูความหมายในภาษาไทย ส่วนผู้เรียนใช้หนังสือ “สัพพะจะนะภาษาไทย” ของสังฆราชปัลเลกัวซ์ ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2397 (สมัยรัชกาลที่ 4) แปลคำภาษาไทยเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

ส่วนเนื้อหาและวิธีการสอน ผู้สอนสอนทั้งภาษาและเนื้อหาวิชาควบคู่กันไป โดยใช้หนังสือและแผนที่ฝรั่งเป็นหลัก วิชาเลขก็ใช้มาตราอังกฤษ ทั้งยังสอนให้รู้ความเป็นไปในต่างประเทศ และสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ เช่น เยอรมนีทำสงครามชนะฝรั่งเศส การเปลี่ยนระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หนึ่งในผู้ที่ทรงเล่าเรียนกับครูแพทเทอร์สัน เห็นว่าวิธีดังกล่าวไม่เพียงแต่ให้หัดแปลความ แต่ให้หัดพูด หัดอ่าน แนะให้เข้าใจความ เป็นประโยชน์ต่อพระองค์อย่างยิ่ง ทำให้ทรงใช้งานภาษาอังกฤษได้จริง

ตอนหลังเมื่อต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ภาษาของกันและกันมากขึ้น การใช้พจนานุกรมช่วยในการสื่อสารระหว่างกันก็ลดน้อยลงไป


อ่านเพิ่มเติม :-

    • แหม่มแอนนา เล่าเรื่องเจ้าจอมในพระปิ่นเกล้าฯ ส่วนใหญ่เป็นหญิงลาว ชี้ สวย-ละมุนกว่าไทย
    • ไฉน “แหม่มแอนนา” ปลื้ม “พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์” พระราชธิดาผู้สิ้นชีพในคุกหลวง
    • “ฮาเร็ม” ของ “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” จากบันทึกแหม่มแอนนา จริงหรือที่สภาพ “น่าเวทนานัก”






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132784
อ้างอิง : ดร. อาวุธ ธีระเอก. ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ :มติชน, 2560
2  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “วัดสามพระยา” บางขุนพรหม สามพระยานี้มีใครบ้าง.? เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:15:58 am
.

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ที่วัดสามพระยา (ภาพ : ข่าวสดออนไลน์)


“วัดสามพระยา” บางขุนพรหม สามพระยานี้มีใครบ้าง.?

วัดสามพระยา ตั้งอยู่ย่าน “บางขุนพรหม” กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ ที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้ คือ หลวงพ่อพระพุทธเกสร หลวงพ่อพระนั่ง และหลวงพ่อพระนอน วัดนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานนับร้อยปี สร้างโดยขุนนาง 3 พี่น้อง ที่มีตำแหน่งเป็น “พระยา” แล้ว 3 พระยาที่ว่านี้มีใครบ้าง?

วัดสามพระยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ “วัดขุนพรหม” ตั้งตามชื่อ ขุนพรหมรักษา (สารท) ตำแหน่งปลัดกรมทหารในขวา ขุนนางเชื้อสายมอญ ซึ่งเสียชีวิตด้วยไข้ป่าขณะรับราชการสร้างมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

หลังขุนพรหมรักษาสิ้นไปแล้ว หลวงวิสูตรโยธามาตย (ตรุษ) ตำแหน่งในกรมพระตำรวจ ผู้เป็นพี่ชาย จึงยกบ้านและที่ดินของขุนพรหมรักษาสร้างเป็นวัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้น้องชาย ให้ชื่อว่า วัดขุนพรหม บริเวณที่ตั้งวัดนี้ภายหลังเรียกกันว่า บางขุนพรหม

@@@@@@@

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดขุนพรหมอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ลูกหลานของขุนพรหมรักษา ได้แก่
   - พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง) ตำแหน่งเจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง
   - พระยาราชนิกุล (ทองคำ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และ
   - พระยาเทพอรชุน (ทองห่อ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมพระกลาโหม ได้ร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขุนพรหมขึ้นใหม่

เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ทั้งสามจึงพร้อมใจน้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และโปรดพระราชทานนามเป็นอนุสรณ์แก่ผู้บูรณปฏิสังขรณ์ คือ พระยาทั้ง 3 ท่าน ว่า “วัดสามพระยา”


อ่านเพิ่มเติม :-

   • ที่มาชื่อวัดชนะสงคราม และเรื่องเล่า “วังหน้าพระยาเสือ” ถวายเสื้อยันต์บูชาพระ
   • “พระแสงราวเทียน” ของ “วังหน้าพระยาเสือ” สมบัติชาติที่สูญหาย คืนสู่วัดมหาธาตุฯ
   • “วัดชัยชนะสงคราม” เจ้าพระยาบดินทรเดชา ขุนพลคู่พระทัยรัชกาลที่ 3 สร้างเพราะชนะสงครามอะไร






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132790

อ้างอิง :-
- ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551
- ข่าวสดออนไลน์. ขอพร “3 พระประธาน” มงคล-วัดสามพระยา.
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:10:23 am
.



ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล

ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล เพื่อเตือนใจอนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย ดึงคนเข้าวัด และเป็นโบสถ์เพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง

วันที่ 20 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนอินทนินงาม ริมถนนสายตรัง-ย่านตาขาว หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม ผุดไอเดียการทาสีโบสถ์ทั้งหลังด้วยสีธงชาติไทย ทั้งสีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน สื่อความหมายถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

และเพื่อเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย เป็นการปลุกใจให้รักชาติ และยังสามารถดึงคนเข้าวัดด้วยความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ทำนักท่องเที่ยวที่ผ่านไป-มาบนถนนสายดังกล่าว ต่างรู้สึกประทับใจ และแวะเวียนเข้ามาถ่ายภาพโพสต์ลงโซเชียลและเพจต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง




สำหรับโบสถ์หลังนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2555 มีขนาดความยาว 100 เมตร ความกว้าง 30 เมตร สูง 2 ชั้น ใช้เงินก่อสร้างไปแล้วกว่า 20 ล้านบาท แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 50 % ยังไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าและน้ำประปา เนื่องจากวัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น

ภายในเป็นลานกิจกรรม สำหรับให้เยาวชนและประชาชน ได้ใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ และมีพระประธานปางมารสะดุ้งองค์ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ น้ำหนัก 80 ตัน ที่มีดวงตาเป็นนิลสีดำประดิษฐานอยู่ส่วนบริเวณรอบโบสถ์จะมีการสร้างน้ำตก ให้น้ำไหลเวียนได้รอบโบสถ์ เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย






พร้อมกับการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนและสัตว์ เช่น กระรอก กระแต นก และหมาแมว โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคได้ที่ Fb วัดควนอินทนินงาม หรือที่พระครูปลัดเริงชัย หมายเลขโทรศัพท์ 085-8892403

ด้านพระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม กล่าวว่า ที่ตรังไม่มีวัดไหนมีโบสถ์สีธงชาติเต็มรูปแบบเหมือนของทางวัด ที่ตรังคงจะไม่มี ถ้ามีก็มีเฉพาะหลังคา ซึ่งของเราเป็นชั้นแบบสีธงชาติเลย ส่วนใครสนใจให้เปิดติดตามได้ในเน็ตซึ่งอาจจะขึ้นเบอร์วัด ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ของอาตมาคือ 085-8892403





ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8242208
20 พ.ค. 2567 - 15:35 น
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศร่วมกิจกรรม เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:41:43 am
.



“งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศร่วมกิจกรรม

“งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” ผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศ กว่า 3,500 รูป/คน เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 19

 “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67”  รัฐบาลพร้อมจัด “งานวิสาขบูชาโลก ปี 67” จัดกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลโลก ครั้งที่ 19 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2567

ล่าสุดวันนี้ 19 พฤษภาคม 2567 นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยกล่าวต้อนรับผู้นำศาสนาและพุทธศาสนิกชนจาก 73 ประเทศ กว่า 3500 รูป/คน ซึ่งเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมวิสาขบูชานานาชาติ วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่ 19 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา




นายพิชิตกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญสากลของโลก พร้อมสนับสนุนในทุกๆด้านอย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดงานในครั้งนี้ยิ่งใหญ่สมกับที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก โดยในปีนี้คณะสงฆ์ สมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และภาคีเครือข่าย

มีฉันทามติร่วมกันจัดงานวันวิสาขบูชาโลกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ภายใต้หัวข้อ “พุทธวิถีสู่การสร้างความไว้วางใจ และความสามัคคี”

    จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานนี้จะสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนและองค์กรชาวพุทธ ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับนานาชาติ.





Thank to : https://www.thansettakij.com/news/general-news/596444
ฐานเศรษฐกิจ | 19 พ.ค. 2567 | 16:40 น.
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แห่สาธุ "องค์ท้าววิรูปักษ์" หนึ่งเดียวระยอง สูง 15 ม. สองมือถือ "สิ่งสำคัญ" มีมน เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:15:14 am
.



แห่สาธุ "องค์ท้าววิรูปักษ์" หนึ่งเดียวระยอง สูง 15 ม. สองมือถือ "สิ่งสำคัญ" มีมนต์ขลัง

ศูนย์รวมความศรัทธา องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร หนึ่งเดียวในจังหวัดระยอง ทำพิธีพุทธาภิเษกสุดยิ่งใหญ่

วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 เมื่อเวลา 17.00 น. ที่วัดหนองตะแบก ต.ตาขัน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระเกจิจากวัดต่างๆ ในจังหวัดระยอง รวมถึงพุทธสานิกชน ได้เดินทางมาร่วมพิธี เบิกเนตร องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร หนึ่งเดียวในจังหวัดระยอง

บริเวณปรัมพิธี มีการจัดเรียง พานผลไม้ พวงมาลัยเครื่องเซ่นไหว้จัดไว้อย่างสวยงาม ด้านหน้าพุทธสานิกชนจุดธูป พร้อมกับท่องบทกราบไหว้ไม่ขาดสาย เมื่อมองไปเบื้องหน้าปรากฏ องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15เมตร มือซ้ายถือไม้เท้ามีพญานาคพัน มือขวาถือลูกแก้ว ช่วงองค์เศียรมีพญานาคแผ่ปกป้องรักษา ดูแล้วมีมนต์ขลัง เมื่อพิธีเริ่มขึ้น มีการจุดประทัดเสียงดัง พระสวดมนต์เริ่มพิธี

พระครูสุรภัทร โพธิคุน เจ้าอาวาสวัดหนองตะแบก ให้สัมภาษณ์ว่าที่มาที่ไปที่ทางวัดได้สร้างองค์ท้าววิรูปักษ์นั้น แรกเริ่มมีญาติโยมมาทำบุญแล้วพอกลับไป ได้ไปปรากฏนิมิตรว่าที่วัดมีพญานาคปกครองอยู่ เมื่อนำนิมิตรไปปรึกษาร่างทรงจึงแนะนำว่าต้องสร้างองค์ท้าววิรูปักษ์ไว้ที่วัด เพราะองค์ท้าววิรูปักษ์กับพญานาคคือสิ่งคู่กัน

สำหรับ องค์ท้าววิรูปักษ์ สูง 15 เมตร เมื่อตรวจสอบภายในพื้นที่จังหวัดระยอง พบว่ายังไม่เคยสร้างที่ไหนมาก่อน ทำให้ที่วัดหนองตะแบกเป็นองค์แรกและองค์เดียวในจังหวัดระยอง หากท่านใดมีโอกาสขอเชิญแวะเวียนไป ขอพรได้ที่วัดหนองตะแบก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง



ชมภาพทั้งหมดได้ที : https://www.sanook.com/news/9387782/gallery/





Thank to : https://www.sanook.com/news/9387782/
Sanook! Regional : สนับสนุนเนื้อหา | 19 พ.ค. 67 (13:48 น.)
6  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขอพรองค์พญาเพชรภัทรนาคราชอย่างไร ให้ปังพลิกชีวิต เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 06:11:09 am
.



ขอพรองค์พญาเพชรภัทรนาคราชอย่างไร ให้ปังพลิกชีวิต

พญานาคที่เป็นองค์นาคาธิบดี ที่ทรงมีฤทธานุภาพสูงส่งให้คุณกับมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หากใครรู้จักวิธีบูชาและขอพรอย่างถูกต้อง

องค์นาคราชที่เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 1 ใน 9 พระองค์ จริงๆในเมืองบาดาลมีกษัตริย์หลายพระองค์มากกว่า 9 แต่ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ที่มีพระบารมีสูง ทรงมีอยู่ 9 พระองค์ นาคาธิบดีเพชรภัทรนาคานาคราชเจ้าคือในทางอิทธิฤทธิ์แล้วพระองค์เป็นรองผู้อาวุโสทั้ง 4 คือ

    - องค์ปู่ภุชงค์นาคราช เป็นนาคราชประจำกายพ่อศิวะ
    - องค์มุจลินนาคราชเป็นพญานาคราชของเจ้าชายสิทธัตถะ ในภัทรกัปนี้เป็นองค์ที่ 4
    - องค์ศรีสุทโธนาคราชเป็นพญานาคประจำพระวรกายของท้าวสักกะหรือพระอินทร์
    - องค์ศรีสัตตนาคราช ราชาแห่งฝั่งลาวที่สร้างไว้ที่นครพนมที่เราไปกราบไหว้กัน เท่านั้น

นอกจากนี้พระองค์ยังมีความพิเศษกว่านาคราชอื่นๆ อย่างไร คือ เป็นพญานาค 9 เศียร มีพระวรกายสีทองมีเกร็ดเป็นแก้วใสดุจเพชรอัญมณี ไม่มีศาสตราวุธใดๆทำอันตรายพระวรกายท่านได้ เป็นองค์มหาจักรพรรดิ 1ใน 9 ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งนาคพิภพ 14 ชั้นบาดาล พระองค์มีแก้วดวงจิต แก้วจันทกานต์มีรัศมีที่กว้างไกลมากกว่าผู้อื่น, พระองค์เป็นบุตรขององค์อนันตนาคราช เกิดในตระกูลวิรูปักษ์โขนาคราช(ตาคือท้าววิรูปักษ์โขนาคราช

ซึ่งท่านเป็นเทวดานะ เทวดาที่ปกครองนาคราชพิภพ), พระองค์จุติเป็น โอปาติกะเทพ อยู่ในภูมิเทวดา(คือการเกิดแบบบารมีสูงสุด) กำเนิดจากเพชรนพรัตน์สร้อยพระศอ ของพระศิวะ มีความสามารถเก่งฉกาจระดับต้นๆทั้งสวรรค์และเมืองบาดาลรูปงามเพียบพร้อม (เรียกภาษามนุษย์ก็ รูปหล่อพ่อรวย ตัวเองก็รวย แถมยังเก่งมากความสามารถและบารมี โอ้ยอะไรจะครบเครื่องปานนี้)

@@@@@@@

พระองค์มีชายาทั้งหมด 6 พระองค์ด้วยกันองค์แรกคือพระนางการะเกด ซึ่งเป็นลูกสาวขององค์พระราชทานมาให้เป็นพระชายา แต่อยู่กันได้เพียง 1 สัปดาห์เพราะ พระนาง ขอลาไป บำเพ็ญศีลบารมี ซึ่งท่านก็เห็นดีด้วย เพราะพระองค์ก็มีใจศรัทธาในศาสนาอยู่แล้ว

องค์ที่ 2 พระนางสิรินาเทวีได้พระราชทานจากองค์อัมรินทร์ อยู่กันได้เพียงวาระหนึ่งก็ขอลาไปจำศีลที่สระอโนดาต

องค์ที่ 3 ชื่อพระนางนิรารุจีเป็นนาคี(คือสามัญชน) เหตุได้มาพบเพราะนางกำลังจะโดนครุฑจับกินแต่องค์เพชรภัทรได้เข้าไปช่วยไว้พระนางจึงถวายตัวเป็นบาตรบริจาริกา

องค์ที่ 4 ครีภัตราเทวีเป็นนางรำหลวงที่ท้าวสักกะ ประทานส่งพระนางมาช่วยงานองค์เพชรภัทร และได้เป็นพระชายาในที่สุด

องค์ที่ 5 เป็นกินรี ที่อาศัยแถบริมโขง เหตุเกิดเพราะกำลังโดนครุฑจับกินและพระองค์ก็ไปช่วยไว้ได้อีกเช่นกัน (คนนี้แหละคือชนวนขอเรื่องวุ่น นางแอบร้ายนะ มีวางแผนไว้แล้ว หาจังหวะสบโอกาสให้เจอครุฑและให้พระองค์มาเจอและช่วยนาง)

องค์ที่ 6 พระนางอัญญารินทร์ธสินีมหาเทวี องค์นี้เป็นองค์สุดท้ายและเป็นองค์ที่ปู่เพชรภัทรนาคราชทรงรักมากที่สุด รักด้วยใจเสน่หาและมั่นคงอย่างแท้จริง และเป็นธิดาของปู่ภุชงค์และแม่ย่าศรีปรางตาล


@@@@@@@

เหตุการณ์ชุลมุนวุ่นวายเพราะ 4 หญิง 1 ชายย่อมเกิดปัญหาและทำให้พระนางอัญญารินทร์ต้องเสียชีวิต และด้วยองค์เพชรภัทรนาคราชทรงมีใจรัก ในพระนางอัญญารินทร์จึงไม่รักใครอีก ขอออกไปทรงบำเพ็ญเพียรบารมี 500 ปี จนสำเร็จเป็นพระโสดาบันและตามหาดวงจิตของพระนางจนทุกวันนี้(รายละเอียดอื่นๆแอดจะมาเล่าให้ฟังในภายหลัง)

ดูความมีเสน่ห์ต้องตาต้องใจท้วมท้นเหลือเกิน ใครบูชาดีๆก็ได้สิ่งนี้ไปด้วย ผู้ใหญ่ก็เมตตาเอ็นดู ให้นู้นให้นี่ ให้กระทั่งพระธิดาอันเป็นที่รักของตนเองเพื่อมาเป็นชายา(ดูเอาเถอะ) ความสามารถ ความเก่งกาจก็มากขนาดที่ครุฑยังแพ้ แสดงว่าด้านความแคล้วคลาดปลอดภัยได้อีกแล้วหนึ่ง เพราะพระวรกายท่านเป็นแก้วเป็นเพชร สิ่งที่ไม่ดีจะเข้ามาทำร้ายไม่ได้ ผู้ที่บูชาท่านก็เช่นกันจะได้พรด้านนี้ด้วย ขอพรท่านในเรื่องนี้คุณไสย หมู่มารไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ เรื่องเงินทอง โชคทรัพย์สิน ขาดเรื่องนี้ได้ยังไง เนื่องด้วยท่านเป็นกษัตริย์แห่งนาคพิภพเจ้าแห่งสมบัติใต้บาดาลผู้ที่ขอพรจะได้พรด้านนี้ด้วย

เรามาดูกันถึงเรื่องจะขอพรอย่างไรองค์ปู่เพชรภัทรนาคราชโปรดคนนิสัยอย่างไรปฏิบัติอย่างไรและจะมอบพรตามคำอธิษฐานให้สำเร็จดั่งใจกับบุคคลที่ปฏิบัติเช่นนั้น

คือท่านชอบคนที่รักษาศีลข้อ 3 อย่างเคร่งครัดเพราะท่านมีกรรมทางด้านความรักมีใจรักมั่นคงกับพระนางอัญญารินทร์ ใครก็ตามที่มีกรรมเรื่องความรักและคนที่รักษาศีลข้อ 3 และหมั่นทำนุบำรุงรักษาพระพุทธศาสนา และบูชาขอพรองค์เพชรภัทรนาคราชด้วยจิตศรัทธา มีโอกาสที่จะสมหวังเรื่องความรักสูงมาก เรื่องรักที่ไม่ดีจะไม่เข้ามายุ่ง ได้พบแต่รักที่ดี และสมหวัง

นอกจากนี้ ก่อนที่จะไปไหว้ขอพรท่าน ให้เราถือศีลกินมังสวิรัติ 3 วันเป็นอย่างน้อยก่อนไป เพื่อเป็นการชำระล้าง รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ ท่านชอบบบบบ แล้วพรที่ขอจะสมดั่งประสงค์ เน้นย้ำเรื่องความรัก(ต้องไม่เกินบารมีบุญที่เคยสร้างมาในอดีตและตนเองต้องรักษาการปฏิบัติตามที่แอดได้บอกไปข้างต้นด้วยนะ ถ้าทำไม่ได้แนะนำ บูชาองค์อื่นเลย ไม่เช่นนั้นนอกจากไม่ได้สิ่งที่ขอแล้วยังอาจจะโดนโทษจากท่านด้วย






Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/279731/
Horosociety199 : สนับสนุนเนื้อหา | 18 พ.ค. 67 , (07:00 น.)
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี : นตฺถิ ตณฺหาสมา นที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 08:15:48 am
.



แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี  : นตฺถิ ตณฺหาสมา นที
โดย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวไว้แปลความว่า “แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี” คือ ไม่มีแม่น้ำใดที่จะกว้างใหญ่ไพศาลปราศจากขอบเขตเสมอด้วยตัณหา

    ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยาก แบ่งออกเป็นสาม คือ
    กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย
    ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากมี อยากเป็น
    วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไม่มี ไม่เป็น

แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามประการแล้วย่อมจะเห็นว่าครอบคลุมไปกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตไม่ได้จริงๆ ไม่มีเพียงความอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเท่านั้น ยังมีความอยากมีอยากเป็น และความอยากไม่มี ไม่เป็นอีกด้วย อันสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจนั้น มีอยู่เต็มไปทั้งโลกก็ว่าได้ ความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจจึงเต็มไปทั้งโลกเช่นกัน

ดังนั้นจึงพึงเห็นได้ว่า แม้เพียงตัณหาอย่างเดียวคือกามตัณหา ก็มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนักแล้ว เกินกว่าแม่น้ำใดๆ ทั้งหมดแล้ว เมื่อรวมภวตัณหาและวิภวตัณหาเข้าด้วย ก็ย่อมจะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาลเกิน กว่าจะประมาณขอบเขตได้

@@@@@@@

พระพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ความอยากละได้ยากในโลก” แม้พิจารณาก็ย่อมจะเห็นตามความจริงนี้ ความอยากในกามคือ สิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเป็นสิ่งละได้ยากแน่นอน แม้พิจารณาความรู้สึกในใจตนของแต่ละคนก็ย่อมจะเห็นจริง ไม่มีปุถุชนใดจะสามารถละความอยากในกามได้ ไม่ในเรื่องนั้นก็ในเรื่องนี้ ย่อมมีความอยากได้ด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ความอยากมีอยากเป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนคนใดที่สามารถละความอยากมีอยากเป็นได้อย่างง่ายดาย

ทุกคนลองพิจารณาใจตนเองให้เห็นความอยากมีอยากเป็นในใจตน แล้วลองพยายามละความอยากมีอยากเป็นนั้นดู ก็ย่อมจะเห็นว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ยากยิ่ง และสำหรับคนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งยังไม่สามารถจะพยายามทำเสียอีกด้วย มีแต่เพลิดเพลินติดอยู่กับกามตัณหานั้น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนใดสามารถละได้อย่างง่ายดาย

ความอยากมีอยากเป็น กับความอยากไม่มีไม่เป็นนั้น จะกล่าวว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็เกือบได้ เมื่ออยากมีสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมอยากไม่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกัน หรือเมื่อเป็นอย่างหนึ่งก็ย่อมอยากไม่เป็นอีกอย่างหนึ่ง  เหมือนเช่นอยากเป็นคนรวยก็ย่อมอยากไม่เป็นคนจน หรืออยากมีเงินก็ย่อมอยากไม่ไม่มีเงิน เป็นเช่นนี้นั่นเอง ความอยากทั้งสองนี้คือ ภวตัณหาและวิภวตัณหา จึงเรียกได้ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน




แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมจะเห็นว่าเป็นความเกี่ยวเนื่องกันชนิดไม่อาจแยกออกจากกันได้ ทำลายข้อหนึ่งข้อใดได้พร้อมกันทุกข้อ ดังนั้น แม้เห็นโทษของตัณหา ก็ไม่เป็นการบกพร่องที่จะจับข้อหนึ่งข้อใดในใจตนขึ้นพิจารณาหาอุบายทำลายถอนรากถอนโคน ไม่จำเป็นต้องสับสนวุ่นวาย จับข้อนั้นขึ้นพิจารณาพุ่งตรงไปที่ตัณหาข้อหนึ่งข้อใดในสามประการดังกล่าวแล้วก็ได้

กามตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ก็คือ ภวตัณหาอยากมีอยากเป็นนั่นเอง คืออยากได้อยากมีของคนทั้งหลาย ก็ต้องเป็นไปในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากได้ไม่อยากมีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจ ซึ่งกล่าวอีกอย่างก็กล่าวว่า อยากไม่ได้ไม่มีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้ เพราะฉะนั้น แม้จะทำลายตัณหาก็เพียงพิจารณาใจของตนให้เห็นชัดว่ามีความปรารถนาต้องการอย่างไร เพราะนั่นคือ กามตัณหาต้นสายของภวตัณหาและวิภวตัณหา พิจารณาให้เห็นแล้วก็ทำลายเสีย ดับเสีย

ทำไมจึงสมควรดับตัณหาแม้ตั้งปัญหานี้ขึ้น ก็อาจตอบได้ง่ายๆ ว่าเพราะตัณหาเป็นเหตุแห่งความดิ้นรนกระเสือกกระสนไปไม่รู้หยุด มีความเหน็ดเหนื่อยนักหนา ดับตัณหาเสียได้ก็จะหยุดความดิ้นรนได้ หายเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยาก ได้คำตอบนี้แล้ว ผู้มาบริหารจิตควรตั้งคำถามต่อไป ว่าตนมีความต้องการอย่างไร กระเสือกกระสนไป ไม่รู้หยุดเพื่อสนองตัณหาเช่นนั้นหรือ หรือต้องการหยุดสงบอยู่อย่างสบายใจ ก็จะได้คำตอบที่ตรงกันทุกคน จะเกิดกำลังใจ เพียรดับตัณหาด้วยกันทุกคน






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
อ้างอิง : สมเด็จพระญาณสังวร. “พุทธศาสนสุภาษิต.” ศุภมิตร. มีนาคม – เมษายน ๒๕๓๒, หน้า ๒๗-๒๙
ที่มา : เฟซบุ้ค เล่าเรื่อง..วัดบวรฯ
https://www.facebook.com/100069144534492/posts/971387536602284/
8  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:44:11 am
.



เณรน้อย 8 ขวบ สอบผ่าน สวด "ปาติโมกข์" รวดเดียวจบใน 55 นาที

"สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ" วัย 8 ขวบ สอบผ่านโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบในเวลา 55 นาที

วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จัดโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสามเณรเข้าร่วมโครงการ 72 รูป มาจากทั้ง 4 ภาค 17 จังหวัด ระหว่างเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2567



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก "โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์-วัดตะโก" แสดงความยินดีกับสามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุเพียง 8 ขวบ วัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ซึ่งได้สอบผ่านเป็น "สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์" โดยใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

อาจารย์ผู้สอบทาน พระมหาใจ เขมจิตโต (ป.ธ.9) ประธานดำเนินโครงการฯ เริ่มสอบเวลา 06.05 น. สอบจบเวลา 07.01 น. ใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที ท่องจบวันที่ 27 เม.ย.2567

นอกจากนี้ยังมี สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี วัดโมลีโลกยาราม สามเณรอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ที่สอบบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เข้าร่วมโครงการในปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยสอบผ่านโครงการนี้แล้ว โดยสอบผ่านเป็นรูปที่ 22 ใช้เวลาสอบ 50 นาที ท่องจบวันที่ 22 เม.ย. 2567 เริ่มสอบเวลา 08.35 น. สอบจบเวลา 9.25 น.



สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ


"ปาติโมกข์" คืออะไร.?

ปาติโมกข์ คือ คัมภีร์เป็นที่รวมพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นพุทธอาณาสำหรับพระสงฆ์ คือ ศีล 227 ข้อ ของภิกษุ และ ศีล 311 ข้อ ของภิกษุณี โดยมีพระพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์สวดในที่ประชุมสงฆทุกกึ่งเดือน เรียกว่า สวดพระปาติโมกข์

สำหรับเนื้อหาปาติโมกข์ เป็นภาษาบาลี ทบทวนศีลภิกษุ 227 ข้อ โดยเมื่อพระรูปทำหน้าที่ กำลังสวดพระปาติโมกข์ จะมีพระอีกรูป ทำหน้าที่ทบทวน คัมภีร์ปาติโมกข์เล่มใหญ่ ตัวหนังสือใหญ่ พิมพ์แบบพับเปิดต่อกันได้ตลอดเล่ม โดยขนาดเล่มใหญ่ทั้งหนา ความยาวไม่นับกันเป็นตัวอักษร แต่นับกันด้วยเวลาที่ใช้สวด สวดอย่างเร็ว ต่อเนื่องไม่ขาดตอน ราวหนึ่งชั่วโมง



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก





Thank to : https://www.thaipbs.or.th/news/content/340081
17 พ.ค. 67 11:02
9  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:30:08 am
.



ชื่นชม สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที

เป็นที่ชื่นชมไม่น้อย กับเรื่องของ สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุ 8 ขวบ จากวัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ที่ สอบผ่านเป็นสามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดโดยวัดตะโก ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ซึ่ง สามเณรวัย 8 ขวบรูปนี้ สามารถสอบผ่าน ใช้เวลาในการสอบ 55 นาที ตั้งแต่เริ่มสอบเวลา 06.05 – 07.01 น. โดยมีคนเข้าไปชื่นชมจำนวนไม่น้อย














ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4580698
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 12:49 น.   
10  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศน.จัดวิสาขบูชาอาเซียน กระชับสัมพันธ์ไทย-ลาว ด้วยมิติทางศาสนา เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:24:18 am
.



ศน.จัดวิสาขบูชาอาเซียน กระชับสัมพันธ์ไทย-ลาว ด้วยมิติทางศาสนา

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นายชัยพล  สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนา (ศน.) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว (อ.พ.ส.)จัดโครงการจัดงานสัปดาห์ “วิสาขบูชาอาเซียน เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับประเทศอาเซียน ในมิติพระพุทธศาสนา” จ.หนองคาย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ จ.หนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว อย่างยิ่งใหญ่ในฐานะวันสำคัญสากลของโลก

ซึ่งจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สปป. ลาว และมีเครือข่ายพระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ผู้นำศาสนาสมเด็จพระสังฆราช สปป.ลาว และเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย  ร่วมส่งเสริมสัมพันธไมตรีในมิติพุทธศาสนา ซึ่งการร่วมจัดวิสาขบูชากับพระและชาวลาวที่วัดพระธาตุหลวง เสียงจันทน์ เป็นโอกาสดี เพราะต่างก็เป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีการทำบุญตักบาตร ไหว้พระ ทอดผ้าป่าบำรุงพุทธศาสนา เวียนเทียนในฝั่งลาว

รวมทั้งกิจกรรมทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนาของสปป.ลาว  ณ วัดพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ วัดศรีเมือง และวัดองค์ตื้อมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศานิกชนไทยที่ข้ามมากราบไหว้ด้วยความศรัทธา รวมถึงเยี่ยมชมตลาดวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นของลาว ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม




“นอกจากทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว รับฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2567 ยังมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดทำแผนการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมด้านศาสนาของประเทศอาเซียน ร่วมกับศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว ณ วัดพระธาตุหลวง  ซึ่งอยู่บนแนวคิดใช้ศาสนาเชื่อมความสัมพันธ์ ภายใต้โครงการศาสนิกสัมพันธ์ทางศาสนาของอาเซียน 

ซึ่งจะขับเคลื่อนในมิติหลากหลาย ทั้งกิจกรรมร่วมกันทางศาสนา การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒธรรม  การส่งเสริมท่องเที่ยววัดโพธิ์ชัย ฝั่งไทย และข้ามไปวัดพระธาตุหลวง ลาว รวมถึงขยายผลกิจกรรมตักบาตรริมโขงให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยว  ปัจจุบันมีหลายวัดในจังหวัดริมโขงจัดกิจกรรม อาทิ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี เลย“ นายชัยพล กล่าว






อธิบดีศน. กล่าวต่อว่า งานสัปดาห์วิสาขบูชาอาเซียนไทย-ลาว จะกระชับความสัมพันธ์ประชานสองประเทศที่เป็นบ้านพี่เมืองน้อง  เกิดการไปมาหาสู่กันโดยใช้มิติพุทธศาสนานำทาง การทำบุญตักบาตรในวันและเทศกาลสำคัญต่างๆ เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทางศาสนาแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พระสงฆ์ไทย-ลาว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน  เกิดงานและกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านศาสนาของอาเซียน ซึ่งมองว่า ภาคอีสานของไทยมีศักยภาพด้านวิปัสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา จะเป็นพื้นที่สำคัญจัดกิจกรรมวิปัสนาครั้งใหญ่ภายในปีนี้






ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4581583
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 17:18 น.   
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 08:21:49 am
.



อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส
     
ร่างกายที่เราต้องใช้อยู่ทุกวัน ในการประกอบภารกิจการงาน มีความจำเป็นจะต้องชำระล้างให้สะอาดด้วยน้ำ ฉันใด  จิตใจก็เช่นกัน จำเป็นต้องชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการเจริญภาวนา ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทเจริญภาวนา อยู่ในหนทางสายกลาง  ให้เราเห็นความสำคัญของการฝึกฝนใจว่า ใจที่ผ่องใส ย่อมเป็นเหตุแห่งความสุข ใจที่ผ่องใสเป็นทางมาแห่งมหากุศล เป็นเครื่องนำสัตวโลกทั้งหลายไปสู่สุคติภูมิ และนำทุกชีวิตไปสู่เป้าหมายอันสูงสุด คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน
     
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในสุมนสูตรว่า   
    “ยถาปิ จนฺโท วิมโล    คจฺฉํ อากาสธาตุยา
     สพฺเพ ตารคเณ โลเก    อาภาย อติโรจติ ฯ     
     ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งหลาย ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งหลายในโลก ด้วยการให้ ฉันนั้น”
     
มนุษย์ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ ต่างก็ปรารถนาความสุขและความสำเร็จในชีวิต อยากเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ สมบัติทั้ง ๓ นี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยบุญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง อย่างน้อยผู้นั้นต้องเริ่มต้นด้วยการให้ คือต้องสามารถเอาชนะความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจให้ได้เสียก่อน เปรียบเสมือนดวงจันทร์ เมื่อพ้นจากเมฆหมอกมาได้ ย่อมปรากฏความสว่างไสว ใจที่หลุดพ้นจากกระแสแห่งความตระหนี่ ก็เช่นเดียวกัน จะใสสว่างเหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศล และสามารถดึงดูดมหาสมบัติที่จะบังเกิดขึ้นได้โดยง่าย 
     
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า  แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้ก็จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงคราวที่บุญส่งผล ก็จะส่งผลเกินควรเกินคาด แม้ตัวเราก็จะอัศจรรย์ในตัวเอง

     
@@@@@@@

*ดังเช่นเรื่องของสามเณรอรหันต์ ที่ในอดีตชาติเคยยากจนมาก่อน แต่ด้วยอานิสงส์ที่ทำบุญชนิดทุ่มสุดใจ เพราะเห็นคุณค่าของบุญยิ่งชีวิต ทำให้บุญลิขิตได้มาเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐี

___________________   
*มก. เล่ม ๔๑ หน้า ๒๕๙

ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมีความกรุณามาโปรดมหาเสนพราหมณ์ เพราะปรารถนาจะให้อริยทรัพย์อันประเสริฐ ติดตัวเขาไปในสังสารวัฏ จึงไปบิณฑบาตหน้าบ้านของพราหมณ์บ่อยๆ พราหมณ์เห็นพระสารีบุตรแล้วคิดว่า “ทรัพย์สมบัติในบ้านของเราไม่มีเลย เครื่องไทยธรรม ที่พอจะใส่บาตรพระก็ไม่มี” จึงไม่กล้าออกมาพบพระเถระ ได้แต่หลบหน้าอยู่ในบ้าน
     
วันหนึ่ง พระเถระก็ได้ไปที่บ้านของพราหมณ์อีก เผอิญเช้าวันนั้น พราหมณ์ได้ข้าวปายาสมาถาดหนึ่งกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบอีกผืนหนึ่ง พอท่านเห็นพระเถระบิณฑบาตผ่านมา ก็คิดว่า
    “ขณะนี้ไทยธรรมของเรามีพร้อม ศรัทธาของเราก็เต็มเปี่ยม เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ก็อยู่ตรงหน้าแล้ว ฉะนั้นเราควรถวายทานแก่พระเถระในวันนี้แหละ” 
    จึงนิมนต์พระเถระให้รับบาตร แล้วน้อมถวายข้าวปายาสลงในบาตรของพระเถระ ด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง
     
ขณะที่พราหมณ์ถวายข้าวไปได้ครึ่งหนึ่ง พระเถระก็ปิดบาตร พราหมณ์จึงกล่าวว่า “ขอท่านอย่าได้อนุเคราะห์กระผมเพียงแค่ชาตินี้เลย ท่านโปรดอนุเคราะห์กระผมในภพชาติเบื้องหน้าด้วยเถิด”  ว่าแล้วก็ถวายอาหารจนหมดถาด พร้อมกับผ้าสาฎกอีกหนึ่งผืน นับตั้งแต่วันนั้น พราหมณ์ก็ตามนึกถึงบุญใหญ่ที่ตนเองได้ทำแบบทุ่มสุดใจเรื่อยมา

     


ด้วยผลแห่งทานบารมีที่ได้ทำบุญถูกทักขิไณยบุคคล เมื่อละโลกไปแล้ว บุญก็ส่งผลให้พราหมณ์ไปเกิดในตระกูลอุปัฏฐากพระเถระ ในเมืองสาวัตถี  ในวันที่ท่านเกิด พวกญาติได้นิมนต์พระเถระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทันทีที่เด็กน้อยได้เห็นพระเถระ ก็ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนได้เกิดมาในตระกูลของมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ก็เพราะอาศัยพระเถระรูปนี้  วันนี้นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐที่จะได้ถวายทานแก่พระเถระอีก 
     
พอพวกญาติจะอุ้มเข้าไปหาพระเถระ เด็กน้อยจึงใช้นิ้วมือเกี่ยวผ้ากัมพลไว้ไม่ยอมปล่อย ญาติเห็นอาการนั้น จึงอุ้มเด็กเข้าไปหาพระเถระพร้อมผ้ากัมพล พอเข้าไปถึงเบื้องหน้าพระเถระ เด็กน้อยก็ปล่อยผ้าให้ตกลงแทบเท้าท่าน  พวกญาติจึงหยิบผ้าผืนนั้นขึ้นมาถวายพระเถระ แล้วพากันตั้งชื่อเด็กน้อยนั้นว่า “ติสสะ” เหมือนชื่อเดิมของพระเถระก่อนที่จะบวช
     
ต่อมาเมื่อติสสะอายุได้เพียง ๗ ปี บุญในตัวของเขาก็เต็มเปี่ยม เห็นทุกข์ภัย ในการเกิดบ่อยๆ จึงขอบวชเป็นสามเณรอยู่กับพระสารีบุตรเถระ  ฝ่ายบิดามารดาก็ไม่ได้ขัดข้องทั้งยังมีจิตยินดีและอนุโมทนา จึงพาไปหาพระสารีบุตรที่วัด 

พระเถระได้ถามเพื่อทดสอบกำลังใจว่า
    “การบรรพชาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน เธอจะอดทนต่อความลำบากได้หรือ” 

ติสสะตอบด้วยความมั่นใจว่า
    “กระผมอดทนได้ และจะทำทุกอย่างตามที่พระอาจารย์สั่งสอน” พระเถระจึงรับเป็นอุปัชฌาย์บวชให้
     
เมื่อออกบวชแล้ว สามเณรได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ด้วยอานิสงส์ ที่เคยถวายทานแด่พระสารีบุตรเถระด้วยความเคารพ โดยไม่มีความตระหนี่ติดค้างอยู่ในใจ ทำให้ชาวเมืองเกิดความรักและศรัทธาในตัวสามเณรมาก จึงชักชวนกันมาถวายทานกันมากมาย

     
@@@@@@@

ในช่วงฤดูหนาว สามเณรได้เห็นเหล่าภิกษุนั่งผิงไฟด้วยความหนาวสั่น จึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งพันรูปเข้าไปบิณฑบาตในเมือง แล้วแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการผ้ากัมพลสำหรับพระภิกษุเพื่อห่มกันหนาว ขณะนั้น มีชายคนหนึ่งเห็นว่า การทำทานไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้ทรัพย์หมดไป เขาจึงเที่ยวป่าวประกาศ ห้ามชาวพระนครไม่ให้มาทำบุญ แต่ด้วยบุญกุศลที่สามเณรได้ทำไว้ดีแล้ว ทำให้ชาวเมืองที่ได้เห็นสามเณรและพระภิกษุจำนวนนับพันรูป เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น ต่างก็ช่วยกันบอกบุญรวบรวมผ้ากัมพลจนครบทั้งหนึ่งพันผืนมาถวายสามเณรได้อย่างอัศจรรย์
     
สามเณรติสสะจึงเป็นที่รักของหมู่พระภิกษุทั้งหลาย และถึงแม้จะมีลาภเกิดขึ้น มีบริวารห้อมล้อมมากมาย แต่สามเณรก็มิได้ยึดติดในสิ่งเหล่านั้น ท่านได้หาโอกาสไปบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าตามลำพัง ตั้งใจปฏิบัติจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
     
เราจะเห็นได้ว่า ชีวิตนี้เราลิขิตเอง เทวดาหรือพรหมไม่สามารถมาลิขิตแทนเราได้ เราปรารถนาจะให้ชีวิตเป็นเช่นไร ก็อยู่ที่เราจะเลือกเดินเอง วิสัยของนักปราชญ์บัณฑิตนั้น แม้จะพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ ท่านก็ไม่ประมาท เพลิดเพลินอยู่เพียงแค่นั้น ยังคงมุ่งหวังจะทำกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป เพื่อให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ที่แท้จริง
     
พวกเรานักสร้างบารมีก็เช่นเดียวกัน ต้องตั้งมั่นในคุณความดี เพื่อสั่งสมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าได้ย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะบุญที่เราทำ จะเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุนให้เราสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากเรายังต้องสร้างบารมีกันเรื่อยไป สร้างกันเป็นทีมใหญ่จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อช่วยเหลือทั้งตัวเองและมวลมนุษยชาติ ให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต คือให้เข้าถึงพระธรรมกายเหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในอิริยาบถใด จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็อย่าลืมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นแหล่งแห่งบุญกุศล เอาบุญใสใสจากการทำใจให้หยุดนิ่ง  เป็นบุญพิเศษที่จะเป็นเหตุให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้  ดังนั้นให้ทุกๆ ท่านตั้งใจหยุดนิ่งกันให้ดี ให้เห็นดวงธรรมชัดใสสว่าง เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน
     




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
URL : https://buddha.dmc.tv/dhamma/11499
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วิธีทำ “ข้าวมธุปายาส” แจกสูตร-ส่วนผสม รับวันวิสาขบูชา เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 07:31:45 am
.



วิธีทำ “ข้าวมธุปายาส” แจกสูตร-ส่วนผสม รับวันวิสาขบูชา

แจกสูตร พร้อมส่วนผสม “ข้าวมธุปายาส” หรือ “ข้าวทิพย์” รับวันวิสาขบูชา ตามความเชื่อที่ว่าหากใครได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขสวัสดี

“ข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยมักคุ้นหูกันว่า “ข้าวทิพย์” ถือเป็นอาหารในตำนานพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวิสาขบูชา เนื่องจากก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้รับข้าวที่หุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดาหลังพระองค์ตัดสินใจเดินทางสายกลางแทนการบำเพ็ญทุกรกิริยา

ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำบุญด้วย “ข้าวมธุปายาส” ในวันวิสาขบูชา และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



ข้าวมธุปายาส

โดยเชื่อว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขและบุญกุศลมาให้แก่ตน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี หรือมีสุขภาพดีและสมองปลอดโปร่ง

วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้นำสูตรและเคล็ดลับการทำข้าวมธุปายาสมาฝากทุกคนกัน

ส่วนผสมข้าวมธุปายาส

    1. ข้าวสาร/ข้าวเหนียว
    2. ถั่วดำ/ถั่วแดง/ถั่วแปบ/ถั่วลิสง
    3. งาดำ/งาขาว/งาหอม
    4. น้ำตาลทราย/น้ำตาลปีบ
    5. น้ำอ้อย
    6. มะพร้าวแห้งสำหรับทำน้ำกะทิ
    7. น้ำเปล่า สำหรับคั้นกะทิ
    8. นมสด/นมกระป๋อง
    9. น้ำอ้อยสด
   10. น้ำตาลสด
   11. น้ำผึ้งแท้

วิธีทำข้าวมธุปายาส

    1. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ลงไปแช่ให้พองตัว
    2. ขูด มะพร้าว ให้เพียงพอ แล้ว คั้นกะทิ เตรียมไว้
    3. นำ ถั่ว และ งา มาล้างให้สะอาด
    4. อุ่นกระทะร้อน หม้อ หรือเตาอั้งโล่
    5. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ที่แช่จนพองตัวแล้วมาซาวน้ำให้สะเด็ด เสร็จนำไปนึ่งต่อจนสุก
    6. เมื่อกระทะร้อน ให้เท น้ำกะทิ ลงไป คนจนเดือดแล้วนำ น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และ นม เทลงไป
    7. เมื่อกวนจนน้ำตาล น้ำอ้อยละลายได้ที่แล้ว ให้นำ ข้าวสุก ลงไปคน เพื่อให้ข้าวและกะทิเข้ากันอย่างดี ต่อมาให้ใส่ ถั่ว งา ต่างๆ ลงไป กวนสลับกันไปมาเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นกระทะ เพราะไม่เช่นนั้นข้าวมธุปายาสจะไม่อร่อยเท่าที่ควร
    8. กวนจนได้ที่แล้ว ให้เทลงไปใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


ข้าวมธุปายาส


คำกล่าวถวายข้าวมธุปายาส

โดยส่วนมากแล้วชาวบ้านในแต่ละชุมชนมักจะมารวมตัวกันประกอบพิธีทำข้าวมธุปายาส ซึ่งจะมีสาวพรหมจารีเป็นผู้กวนข้าว หรือมีคนผู้สูงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีล เป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในการประกอบพิธีกรรม จะมีการกล่าวคำถวายข้าวมธุปายาสไปด้วย สามารถดูได้ที่ลิงก์นี้ (คลิก)

ทั้งนี้หากใครที่อยากทำข้าวมธุปายาสเองเพื่อนำไปทำบุญด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ หรืออยากไปร่วมประกอบพิธีก็ทำได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากจะทำเพื่อนำไปกินเอง เป็นอาหารสุขภาพ ข้าวมธุปายาสนี้ก็ถือเป็นอาหารที่อุดมประโยชน์จากข้าว ธัญพืช ถั่ว และนม





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223817
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,13:24 น.


 :25: :25:

การกล่าว คำถวาย ข้าวมธุปายาส

สมภารเจ้าอาวาสหรือปู่อาจารย์ เป็นผู้แทนศรัทธาประชาชนกล่าวคำถวาย ศรัทธาประชาชนที่มาร่วมถวายประณมมือตั้งปณิธานตามปรารถนา ปู่อาจารย์กล่าวเป็นคำร่าย ที่คนโบราณได้รจนาไว้ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

โย สันนิสินโน วรโพธิมูเล มารัง สะเสนัง มหันติ๋ง วิชะโย สัมโพธิมาคัจฉิวะ อนันตะญาโน โย โลกกุดตะโม ตัง ปะนะมามิ

พุทธัง ตัง ปะนะมามิ ธัมมัง ตัง ปะนะมามิ สังฆัง ตัง ปะนะมามิ คุณสาครันตัง นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง นะมามิ สังฆัง มุนิราชะสาวะกัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สุณัณตุ โภนโต เทวทัสสะโน อนุโมทะนามิมัง เอกุนปัญญาสะวจัตตา ปิณฑานิ ยาวะ เทวะปริสายะ วิโนทยา มะยะ กาตานีติ

    สาธุ โอกาสะ  ข้าแต่สะหรี่สัพพัญญู
    พระพุทธเจ้า  ตนสร้างโพธิสมภาร
    มานานว่าได้สี่สูงขัย  ปลายแสนมหากัปป์
    จึงจักได้ตรัส  ผญาสัพพัญญู
    นั่งเหนือแท่นแก้ว  แทบเค้าไม้มหาโพธิรุกขา
    มีหมู่อะระหันตาสาวะกะเจ้าตั้งแปด  นั่งแวดล้อมเป็นบริวาร
    ดูรุ่งเรื่องงามเป็นมหามังคละอันประเสริฐ  ล้ำเลิศกว่านระและเทวา
    บุคคลผู้ใดมีศรัทธาสักการะบูชา  ด้วยข้าวน้ำโภชนาหาร
    แลข้าวตอกดอกไม้ทังมวล  ก็จึงจักได้พ้นจากทุกข์แล้วได้เถิงสุข
    อันมีในชั้นฟ้าและเมืองคน  มีเนรพานเจ้าเป็นยอด เที่ยงแท้ดีหลี
   
    บัดนี้หมายมี  สมณศรัทธาและมูลศรัทธา
    ผู้ข้าทั้งหลาย  ชุตนชุองค์ชุผู้ชุคน
    ก็ได้ตกแต่งพร้อมน้อมนำมา  ยังข้าว ๔๙ ก้อน
    และปานิยังน้ำกิน  เอามารูปนาตั้งไว้
    ในสมุขีกลางคลอง  ส่องหน้าแห่งองค์
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อสวะซวาง
    วางเวนเคนหื้อเป็นทาน  แก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จุ่งจักอว่ายหน้า  ปฏิคคาหกะรับเอา
    ยังข้าว ๔๙ ก้อน  และปานิยังน้ำกิน
    พยัญชนะของไขว่  ทั้งหลายมวลถ้วนฝูงนี้ แท้ดีหลี
    ด้วยผู้ข้าจักวางเวน  ตามพระบาลีว่า

    สารโอกาสะ มะยัมภันเต  อิมานิ ปถมัง
    โพธิบังงังกัง ทุติยัง  อะนิมิสสะกัง
    ตะติยัง จังกมะเสฏฐัง  จตุตถัง รัตนฆะรัง
    ปัญจะมัง อัชชะปาลัญจะ  ฉัฏฐมุจจลินกัญจะ สัตตะมัง ราชายะตะนัง

    เอกัสมิง ฐาเน เอเตสัตตเหยัตตกัง วโรพุทโธ วสิ
    เอกนปัญญาสะ นวจัตตาพิสะ สัพพะหิตัง

    ติรัตนพุทธะ จุฬะมณี สิงกุตตะระ บุปผาลาชา
    ติรัตนพุทธะ ธัมมะ สังฆะ

    มหาโพธิ จุฬะมณี สิงกุตตะระ สรีระธาตุ
    ศิริวิหาระ สัจจะคันธะ สมันตา คุตตะ
    สะยัง ภาชนัง ฐเปตวา มัณฑะเร ติรัตตะนัส

    ทุติยัมปิ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ
   
    ตติยัมปิ สาธุโอกาส มะยังภันเต ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ

อิทัง โน เอกูนะปัญญาสะ นวจัตตาฬีสะ สัมมาสัมพุทธัสสะ อยัง มหาปูชโก อนุกัมปัง อุปทายะ ทีฆะรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานายะปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

@@@@@@@

เสร็จแล้วนำเอาข้าวมธุปายาส เข้าประเคนพระประธานเป็นเสร็จพิธี

ข้าวมธุปายาสนี้ เรียกว่าข้าวทิพย์ ประชาชนเชื่อกันว่าหากใครได้รับประธานจะมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี จึงนิยมแบ่งกันรับประทาน หากเด็กๆ ได้รับประธาน ก็จะทำให้ผิวพรรณน่ารัก มีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง นิยมทำเป็นประเพณีตราบเท่าทุกวันนี้


 :96: :96: :96:

หมายเหตุ : ไม่ยืนยันความถูกต้อง ห้ามนำไปอ้างอิง ผู้รู้ช่วยตรวจสอบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง





ขอบคุณที่มา : https://www2.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=2172&filename=index
13  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:27:35 am
.



ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา

รู้ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่นางสุชาดาถวายพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ แม้จะมีเรื่องแก้บนมาเกี่ยว แต่ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

อาหารหนึ่งชนิดที่เกี่ยวพันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกลายเป็นประเพณีที่ผู้คนมักทำถวายในเทศกาลสำคัญ ที่เราอยากพามารู้จักในวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 คือ “ข้าวมธุปายาส” แต่ทำไมถึงต้อง “ข้าวมธุปายาส” วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้รู้กัน

@@@@@@@

ประวัติข้าวมธุปายาส

“ข้าวมธุปายาส” นั้นมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเดือนเพ็ญวิสาขะหรือวันเพ็ญเดือนหก

พระองค์ได้รับข้าวหุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดา ภรรยาของคฤหบดีเมืองมคธนำมาถวายเพื่อการบูชาเทพยดา ณ ต้นโพธิพฤกษ์

โดยมีความเป็นมาเกิดขึ้นเมื่อครั้นวันหนึ่ง ภรรยาของคฤหบดีในเมืองราชคฤห์ ปรารถนาอยากได้บุตรชายไว้สืบสกุลสักคน เพราะแต่งงานหลายปีแล้วยังไม่มีบุตร เมื่อนางและภรรยาพากันไปอาบน้ำในแม่น้ำเนรัญชราได้เดินผ่านต้นศรีมหาโพธิพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขากว้างร่มใบหนา ใต้ร่มมีทรายขาวสะอาด ประดุจเงินดูแล้วน่านั่งนอนใต้ต้นไม้มาก

นางจึงมีความคิดว่าต้นไม้นี้น่าจะมีเทพารักษ์สิงสถิตอยู่แน่นอน เมื่อคิดดังนั้นนางจึงเข้าไปกราบที่โคนต้นไม้ แล้วพูดว่า “ข้าแด่เทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธิฤทธิ์ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไม้นี้ ดิฉันขอความกรุณาจากท่านช่วยดลบันดาลให้มีบุตรสักคนเถิด เพื่อจะให้เขาสืบสกุลต่อไป ข้าแต่เทวะหากท่านให้ดิฉันสมปรารถนาแล้ว ดิฉันจะนำเอาข้าวมธุปายาสมาแก้บนสังเวยท่านเป็นสัจกิริยา”

เมื่อนางอธิษฐานเสร็จ กลับไปอยู่กับสามีไม่นานก็ตั้งครรภ์  เมื่อครบกำหนดนางก็คลอดลูกเป็นผู้ชายมีลักษณะงดงามสมส่วนตามลักษณะผู้มีบุญ เมื่อคลอดลูกโดยสวัสดิภาพและมีความสมบูรณ์อย่างนี้ นางสุชาดารำลึกถึงคำอธิษฐานที่นางได้ขอกับเทพยดา จึงทำการหุงข้าวมธุปายาส ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ถั่ว งา น้ำตาล น้ำผึ้ง มะพร้าว เป็นต้น ทำอย่างประณีตแล้วใส่ถาดทองประดับด้วยดอกไม้อย่างสวยงามเดินทางออกจากบ้านพร้อมด้วยทาสีมุ่งสู่ต้นโพธิพฤกษ์

ขณะนั้นพระพุทธเจ้ามีดำริว่าจะบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู้ ณ ต้นโพธิพฤกษ์และประทับนั่งโคนต้นไม้หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก นางสุชาดาและนางทาสีมาถึงได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นรุกขเทพเจ้าจำแลงเพศ เกิดความเลื่อมใสจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวายแก้สัจกิริยาท่านได้บนบานไว้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสขอบคุณต่อนาง และบอกแก่นางว่าพระองค์ท่านมิได้เป็นเทพยดา แต่เป็นมนุษย์คือเป็นกษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม นางสุชาดาทราบเรื่องแล้ว ก็กราบถวายบังคมลากลับบ้านเรือนของตน

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำเอาข้าวจากถาดมาทรงทำเป็นก้อนๆ นับจำนวนได้ 49 ก้อน ให้เป็นเครื่องรำลึกถึงวันที่ทรงบำเพ็ญทุกกิริยา เสวยข้าวมธุปายาส 49 ก้อนนั้นหมดแล้ว ทรงนำถาดไปทรงอธิฐานในแม่น้ำเนรัญชรา และทรงอธิฐานว่าถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป

เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยรำลึกถึงพระพุทธองค์และเหตุการณ์สำคัญนี้ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำข้าวมธุปายาสในวันวิสาขบูชา เกิดเป็น “ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันคุ้นหูว่า “ประเพณีกวนข้าวทิพย์” โดยเชื่อกันว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำความสุขสวัสดีและบุญกุศลแก่ตน



ข้าวมธุปายาส


“ข้าวมธุปายาส” ความหมายเดียวเรียกได้หลายชื่อ

ข้าวมธุปายาสมีชื่อหลายชื่อที่นิยมเรียกกัน แตกต่างกันในท้องถิ่นและประเทศต่างๆ ส่วนมากปรากฏชื่อคือ

    • ข้าวมธุปายาส - ข้าวหุง หรือกวนด้วยน้ำผึ้ง
    • ข้าวยาคู - ข้าวต้มที่ใส่เกลือและน้ำตาล ทำเป็นชนิดเค็มและชนิดหวาน
    • ข้าววิตู - ข้าวกวนด้วยน้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา ทำเป็นผงและก้อน
    • ข้าวกระยาสารท - ข้าวกวนด้วย น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา แปะแซ ทำเป็นก้อน เป็นแผ่น นิยมมีในงานเทศกาลอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนในประเพณีเดือน 10 ของภาคกลาง
    • ข้าวกระยาทิพย์/ข้าวทิพย์ - ข้าวที่กวนด้วยพิธีกรรม ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา น้ำนม ทำให้เป็นก้อนโดยให้หญิงพรหมจารีกวน ถือว่าเป็นข้าวศักดิสิทธิ์ ใครได้รับประทานย่อมจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความสุขสวัสดีตลอดไป
    • ข้าวซอมต่อหลวง - ข้าวมธุปายาสของชาวไทยใหญ่ นิยมกวนข้าวนี้เมื่อเดือนยี่เหนือถวายพระพุทธในตอนเช้ามืด เรียกว่า “ต่างซอมต่อหลวง”
    • ข้าวพระเจ้าหลวง - การเรียกชื่อข้าวมธุปายาสของชาวภาคเหนือ นิยมถวายในคราวเทศกาลใหญ่ๆ เช่น เดือนยี่เป็ง เดือนสี่เป็ง เดือนแปดเป็ง เป็นต้น โดยมากจะกวนข้าวในรั้วราชวัตรและให้หญิงพรหมจารี หรือผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีลห้า ถึงศีลแปดเป็นผู้กวนในพิธีนั้น ถวายพระพุทธตอนเช้า เรียกว่าใส่บาตรข้าวพระเจ้าหลวง

@@@@@@@

ความสำคัญของการถวายข้าวมธุปายาส

การถวายข้าวมธุปายาส มีความสำคัญดังนี้

    • เป็นการปฏิบัติตามพุทธประเพณี
    • เป็นการบูชาพระเจ้าในวันเพ็ญเดือนยี่ เดือนสี่และวิสาขบูชา
    • เป็นการรำลึกถึงวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • เป็นการสร้างสามัคคีในกลุ่มชน เนื่องจากมีการประกอบพิธีกรรมด้วย
    • เป็นการเรียนรู้ในการทำขนมหรือข้าวมธุปายาส
    • เป็นการถวายผลิตผลที่คนในท้องถิ่นช่วยกันสร้างขึ้นมา
    • เป็นการอนุรักษ์ประเพณีและศิลปะที่บรรพบุรุษสร้างไว้ยืนยงอยู่ตลอดไป



รูปภาพพระ เนื่องในวันวิสาขบูชา


ข้าวมธุปายาสถวายเป็นพุทธบูชาได้เมื่อไร

ในประเทศไทยนอกเหนือจากวันวิสาขบูชาข้าวมธุปายาสยังนิยมถวายในงานเทศกาลสำคัญๆ หลายคราวด้วยกัน คือ
          1. ประพฤติยี่เป็ง
          2. ประเพณีเดือนสี่
          3. ประเพณีปอยหลวง

ทำไมต้องมีประเพณีข้าวมธุปายาส

ในงานประเพณีสำคัญๆ ชาวบ้านหลายชุมชนจะนิยมกวนข้าวมธุปายาสเพื่อสร้างเสริมศรัทธาแก่ประชาชนผู้มาร่วมงาน และทางวัดจะนิยมแจกจ่ายข้าวมธุปายาสแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงกัน เพื่อสร้างความสุขสวัสดีและความสามัคคีให้เกิดในกลุ่มชนด้วย

ข้าวมธุปายาสจึงถือเป็นเครื่องระลึกถึงการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของวันวิสาขบูชา ด้วยเหตุนี้ในช่วงใกล้เทศกาลดังกล่าวจึงอยากชวนให้ทุกคนระลึกถึงไปพร้อมกัน






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง และ มหาลัยราชภัฏเทพสตรี
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223760
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,10:24น.
14  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่งคืน “โกลเด้นบอย” สมบัติชาติ ถึงไทย 20 พ.ค. 67 หลังถูกลักลอบขายต่างประเทศ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:08:11 am
.



ส่งคืน “โกลเด้นบอย” สมบัติชาติ ถึงไทย 20 พ.ค. 67 หลังถูกลักลอบขายต่างประเทศ

“โกลเด้นบอย” (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ อายุราว 900-1,000 ปี ในพิพิธภัณฑ์ฯ สหรัฐอเมริกา ส่งคืนถึงไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังทีมงานคนไทยใช้เวลาทวงคืนมายาวนาน พร้อมจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานพระนคร “กรมศิลปากร” เตรียมระดมผู้เชี่ยวชาญศึกษาเพิ่ม เพราะเป็นความรู้ใหม่ประวัติศาสตร์ไทย



นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น ที่จัดแสดงอยู่ใน The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา จะส่งคืนให้ไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. 67 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และจะมีกระบวนการผ่านการตรวจสอบของกรมศุลกากร จากนั้นจะนำมาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ



จากนั้นจะมีการแถลงข่าวในวันอังคารที่ 21 พ.ค. 67 ถึงความสำเร็จในการนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญกลับคืนมาจากต่างประเทศได้ และมีการให้ความรู้กับประชาชน หลังจากนั้น “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น จะเปิดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

โบราณวัตถุทั้ง 2 ชิ้น เมื่อสหรัฐฯ ส่งคืนมายังไทยแล้ว ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะ “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) จะเป็นความรู้ใหม่ทางวิชาการของไทย จึงต้องศึกษาทั้งส่วนผสม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหล่อและขึ้นรูปแบบโบราณ




ทั้งนี้ จากข้อมูลเดิมระบุว่า (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ มีอายุราว 900-1,000 ปี พิพิธภัณฑ์ฯ ในสหรัฐอเมริกา ที่ส่งคืนไทย ถือเป็นจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์สำคัญของ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” เชื่อมโยงกับพื้นที่ราบสูงโคราช แต่การทวงคืนครั้งนี้เกือบจะหลุดมือ โชคดีที่นักโบราณคดีไทยไปเจอชุมชนที่ขุดค้นพบ ชี้รอยตำหนิสำคัญ ทำให้อเมริกายอมส่งคืนไทย ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญในการทวงคืนชิ้นอื่นๆ ที่ถูกขโมยไป

สอดคล้องกับข้อมูลที่ไทยรัฐออนไลน์ เคยสัมภาษณ์ ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี หนึ่งในทีมติดตามทวงคืนวัตถุโบราณ กล่าวว่า โบราณวัตถุ 2 ชิ้น ที่ The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งคืนให้ไทย เกือบไม่ได้คืน เนื่องจากหาหลักฐานไปยืนยันไม่ได้ในช่วงแรก ขณะที่กัมพูชามีคณะทำงานทวงคืนที่ติดตามอยู่ตลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้นำเสนอกับกรมศิลปากร และได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ไปหาข้อมูลนำไปยืนยันกับสหรัฐอเมริกา




ประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่รู้จักในชื่อ Golden Boy มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปี มีความสูง 129 ซม. เป็นวัตถุโบราณชิ้นสำคัญที่กัมพูชาพยายามนำหลักฐานมายืนยันกับสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นวัตถุโบราณที่มีความงดงาม แต่ไทยก็หาหลักฐานไปยืนยันจนพบว่าเคยมีการขุดค้นพบ Golden Boy อยู่ในปราสาทโบราณ กลางชุมชนบ้านยางโป่งสะเดา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เมื่อเห็นรูปภาพ ก็ระบุชัดเจนว่ามีครอบครัวหนึ่งในชุมชนเป็นผู้ขุดค้นพบเมื่อปี 2518




จากนั้นได้ขายประติมากรรมสัมฤทธิ์ Golden Boy ให้กับพ่อค้าวัตถุโบราณชาวต่างชาติ ราคา 1 ล้านบาท หลังขายได้ช่วงปี 2518 ทั้งหมู่บ้านจัดงานฉลองใหญ่ 3 วัน 3 คืน สิ่งนี้ทำให้มีพยานบุคคลในหมู่บ้านที่เกิดทันยุคนั้น ระบุได้ถึงการขายโบราณวัตถุดังกล่าว ดังนั้นเรื่องเล่านี้ทำให้คนในหมู่บ้านจำได้แม่น

                                           




Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2786363
17 พ.ค. 2567 , 12:09 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > THE ISSUE > ไทยรัฐออนไลน์
บทความโดย : ไทยรัฐออนไลน์ / ทีมข่าวเจาะประเด็น
15  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อุตรดิตถ์จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" ครั้งที่ 69 ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 05:58:36 am
.



อุตรดิตถ์จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" ครั้งที่ 69 ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

จ.อุตรดิตถ์ จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" หนึ่งเดียวในโลกแห่งแรกในไทย ครั้งที่ 69 เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัด ที่จัดช่วงสัปดาห์วิสาขบูชา รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ค. 67

เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่  16 พฤษภาคม 2567 ที่บริเวณวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รอง ผวจ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วย นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และนายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รอง นายก อบจ.อุตรดิตถ์ ร่วมแถลงข่าว การจัดงานประเพณี “อัฏฐมีบูชา”

ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกและแห่งแรกในประเทศไทย ต่อเนื่องมาปีนี้เป็นครั้งที่ 69 ที่พร้อมยกระดับให้มีความยิ่งใหญ่ ประจำปี 2567 เริ่มงานวันที่ 22-30 พฤษภาคมนี้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทอผ้าห่มองค์พระบรมธาตุ สักการะหลวงพ่อพระประธานเฒ่า โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ร่วมงานดังกล่าว

นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า สำหรับงานประเพณีอัฏฐมีบูชา เป็นงานประเพณีสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสัปดาห์วิสาขบูชาและอัฏฐมีบูชา ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และสืบสานประเพณีอัฏฐมีบูชาให้คงอยู่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา




นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย ได้มีการจัดงานอัฏฐมีบูชา การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจำลอง ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อแน่นเป็นเจ้าอาวาส

หลังจากหลวงพ่อแน่นมรณภาพ มิได้มีการจัดงานนี้อีกเลย จวบจนราวปีพุทธศักราช 2502 พระครูสถิตพุทธคุณ เจ้าคณะตำบลทุ่งยั้งในสมัยนั้น ได้เห็นความสำคัญของวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวเมืองทุ่งยั้งได้ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ จึงได้ชักชวนคณะศรัทธา อุบาสก อุบาสิกา ริเริ่มฟื้นฟูประเพณีอัฏฐมีบูชา ของชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวต่อว่า ชาวบ้านทุ่งยั้งที่มีความรู้ในการจักสานพระพุทธเจ้าจำลอง จะร่วมกันสานองค์พระฯ ด้วยไม้ไผ่ ประทับในท่าสีหไสยาสน์ ขนาด 9 ศอก นุ่งห่มด้วยจีวร พร้อมบรรจุในโลงแก้ว และจัดสร้างเมรุมาศจำลอง โดยการใช้ไม้ไผ่ 6 ต้น นำมาเป็นโครงสร้าง ประดับตกแต่งด้วยกระดาษฉลุลายสวยงาม




จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอเชิญนักท่องเที่ยว มาร่วมเที่ยวงานประเพณีอัฏฐมีบูชา ครั้งที่ 69 ซึ่งในปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี ภายในงาน เชิญร่วมทอผ้าห่มพระบรมธาตุ เชิญร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุ ด้วยน้ำสรงพระราชทาน การเวียนเทียนวิสาขปุรณมี ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม และชม ชิม ช็อป เลือกซื้อสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ในตลาดวิถีชมชุนคนทุ่งยั้ง พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตอาหารและมรดกภูมิปัญญา การร้อยพวงดอกไม้ การร่วมบุญร่วมกุศลในพิธีห่มผ้าพระบรมธาตุ การถวายสลากภัต

ไฮไลต์สำคัญในพิธีเปิดงานในวันที่ 22 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา ชมการรำถวายพระบรมธาตุ 999 คน และเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุร่วมกัน พร้อมกับชมแสงสีเสียงมินิ “ตำนานเมืองทุ่งยั้งและเวียงเจ้าเงาะ” และในวันสุดท้ายของงานวันอัฐมีบูชา 30 พฤษภาคม เชิญชมขบวนแห่ทางศิลปวัฒนธรรม ขบวนเครื่องสักการะและขบวนเทิดพระเกียรติ จาก 9 อำเภอ ร่วมสรงน้ำและห่มผ้าพระบรมธาตุ

พร้อมกันนี้ ชมการแสดง แสง สี เสียง “พิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง” รวมถึงเลือกซื้อเลือกหาทุเรียนหลงหลินลับแลมาทานได้ตลอดช่วงงาน ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปร่วมงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวในโลก งานประเพณีอัฐมีบูชาจังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 69 อย่าลืมพร้อมใจกันแต่งชุดขาว ไปร่วมงานประเพณีอัฐมีบูชา ในวันที่ 22-30 พฤษภาคม 2567 ที่วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์.







Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2786396
17 พ.ค. 2567 ,14:30 น. | ข่าว > ทั่วไทย > เศรษฐกิจท้องถิ่น > ไทยรัฐออนไลน์
16  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สาธยายธรรม กับ สวดมนต์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.? เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 06:31:03 am
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682




 :25: :25: :25:

กระทู้แนะนำ : สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
https://www.madchima.org/forum/index.php?topic=34116.0
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 ที่ปฏิบัติธรรม เรียนรู้เจริญสติ สงบทั้งกาย วาจา ใจ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 06:10:39 am
.



5 ที่ปฏิบัติธรรม เรียนรู้เจริญสติ สงบทั้งกาย วาจา ใจ

สติ คือ พื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง นำมาซึ่งปัญญาอันแตกฉาน แม้เป็นนามธรรมที่ง่ายต่อการเข้าถึง แต่ก็กลายเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน

วิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันพระใหญ่ที่สำคัญต่อชาวพุทธอย่างมาก คงจะดีไม่น้อยหากได้เจริญสติทำใจให้สงบ พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในวันข้างหน้า ที่เราก็ไม่รู้เลยว่าจะมีปัญหาดาหน้าเข้ามามากน้อยเพียงใด

เคยคิดไหมว่าทำไมเวลาคนมีปัญหาหรืออยากดึงสติ จะต้องไปบวช จนวัดกลายเป็นหลุมหลบภัยทางโลกที่คนมักจะไปมากที่สุด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบรรยากาศที่สงบเหมาะแก่การฝึกกำหนดรู้ ปัจจุบันนอกจากวัดแล้วยังมีสถานที่ปฏบัติธรรมที่สร้างขึ้นเฉพาะให้เราได้แสวงแสงแห่งธรรม ใครรู้สึกว่าช่วงนี้จิตฟุ้งซ่าน จดพิกัดพีพีทีวีเอามาฝากไว้เลย!





เช็กลิสต์ 8 ข้อเตรียมตัวก่อนไปปฏิบัติธรรม

   1. การแต่งกาย ผู้หญิง ควรใส่เสื้อสีขาว (ไม่รัดรูป คอไม่กว้าง) ผ้าถุงสีขาว ส่วนผู้ชาย ควรใส่เสื้อสีขาว กางเกงขายาวสีขาว
   2. ผ้าห่ม / ถุงนอน / เครื่องนอนส่วนตัว
   3. เครื่องใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ (ผ้าเช็ดตัว สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ฯลฯ)
   4. รองเท้าแตะ รองเท้าฟองน้ำ เพื่อสะดวกในการเดิน
   5. ไฟฉาย
   6. ยากันยุง
   7. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
   8. ปล่อยวางความเครียด เตรียมร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจให้สงบพร้อมปฏิบัติธรรม

@@@@@@@

5 สถานที่ปฏิบัติธรรม รู้เท่าทันจิตที่เปลี่ยนแปลง



เสถียรธรรมสถาน


เสถียรธรรมสถาน บางเขน จ.กรุงเทพฯ และ หุบเขาโพธิสัตว์ จ.เพชรบุรี

    "ทำให้ทุกพื้นที่ของการภาวนาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ อย่างรู้ ตื่น และเบิกบาน ผ่านวิถีชีวิตของหุบเขาโพธิสัตว์" แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ที่ เสถียรธรรมสถาน มีกิจกรรมการปฏิบัติธรรมมากมายให้เลือกตามความสนใจ ไม่ว่าจะมาเดี่ยวหรือกลุ่ม หรือครอบครัว แต่ที่แนะนำสำหรับคนที่เวลาน้อย เหมาะกับ กิจกรรม Spiritual Trip

เพื่อเติมเต็มกายใจ กับ 1 วันในเสถียรธรรมสถาน ด้วยการปฏิบัติภาวนากับวิถีชีวิตอันหลากหลายเพื่อการเดินทางสู่โลกภายในตนเอง เติมเต็มจิตวิญญาณให้สัมผัสถึงชีวิตที่สุขง่ายใช้น้อย เพียงรู้จักการมีสติในลมหายใจและการเคลื่อนไหว

และในวันวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 ที่เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาฏิบัติบูชาเพื่อน้อมถวามแด่ผู้มีพระภาคเจ้าอีกด้วย

เปิดทุกวันเวลา 9.00 น. – 16.00 น.
โทร : 02 519 1119 
Email : sdsweb.webmaster@gmail.com



วัดธารน้ำไหล หรือ สวนโมกขพลาราม


สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล จ.สุราษฎร์ธานี

สวนโมกขพลาราม หรือชื่อเรียกทางการว่า “วัดธารน้ำไหล” ถือเป็นสถานปฏิบัติธรรมชั้นแนวหน้าของเมืองไทยเป็นแหล่งบ่มเพาะเรียนรู้พระพุทธศาสนา ที่มีผู้ศรัทธามากแห่งหนึ่ง ด้วยภายในอาณาบริเวณของสวนโมกข์ มีความร่มรื่น สงบ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม กล่อมเกลาจิตใจและศึกษาพระพุทธศาสนา

เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
ที่อยู่ : วัดธารน้ำไหล 68/1 หมู่ 6 ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร : 0-7743-1597, 0-7743-1661-2
เว็บไซต์ : suanmokkh



วัดป่านานาชาติ


วัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี

วัดป่านานาชาติเป็นวัดสายวิปัสสนากรรมฐาน และยึดปฏิปทาพร้อมทั้งข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นวัดป่านานาชาติเน้นการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แนะนำชีวิตบรรพชิตให้ชาวต่างชาติ ทั้งยังใช้ภาษาอังกฤษในการอบรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดป่านานาชาติ การทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นจึงแปลเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาบาลี

เปิดทุกวัน เวลา 06.00 - 18.00 น.
ที่อยู่ : บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
โทร : 089-9494559
เว็บไซต์ : www.watpahnanachat.org



สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์


สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จ.กรุงเทพฯ

สถานปฎิบัติธรรมใจกลางกรุงเทพตั้งอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหารที่เก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา รอบด้วยสถานที่สำคัญ อาทิ วัดพระแก้ว สนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดินทางสะดวก เป็นสถานที่ที่สัปปายะ เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม (ปิดวาจา)

ศูนย์ปฎิบัติฯ สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีความสนใจ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลการันตีเป็นสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นพ.ศ. 2556 และ รางวัลศูนย์วิปัสสนาดีเด่นของกรุงเทพประจำปี 2566

ที่อยู่ : 3 ถนน ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร : 022226011 หรือ 022236878
เว็บไซต์ : watmahathat.com



วัดร่ำเปิง จ.เชียงใหม่


วัดตโปทาราม (ร่ำเปิง) จ.เชียงใหม่

    “กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติเยอะ” 

สถานที่ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 สำหรับพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างประเทศ สนใจมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันอย่างมากมาย นอกจากนี้วัดนี้เป็นแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา อีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก

วันเวลาติดต่อ

- ลงทะเบียนเข้าปฏิบัติธรรมที่สำนักงานแม่ชี (สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายหญิง) หรือสำนักสงฆ์ (สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายชาย) เวลา  7.00 น. ทุกวัน (ยกเว้น วันพระ)
- พิธีรับพระกรรมฐาน และรับศีล 8 เวลา 8:00 น. ของทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)
- พิธีลาศีล 8 (กลับบ้าน) และรับศีล 5 เวลา 6:00 น. (หลังทำวัตรเช้า) ของทุกวัน

ที่อยู่ : วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เลขที่ 1 หมู่ 5 ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
เว็บไซต์ : https://www.watrampoeng.com/






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี Mahathatu Temple Bangkok
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/224001
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 16 พ.ค. 2567 ,16:22 น.
18  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รวม “3 หลักธรรมเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา” คำสอนที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 05:40:01 am
.



รวม “3 หลักธรรมเกี่ยวกับวันวิสาขบูชา” คำสอนที่ชาวพุทธควรปฏิบัติ

“วันวิสาขบูชา” วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ และยังเกิดเป็นหลักธรรมคำสอนให้ชาวพุทธได้ยึดถือปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน

“วันวิสาขบูชา” ในปี 2567 นี้ ตรงกับวันพุธที่ 22 พฤษภาคม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงอยู่เสมอ เพราะได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และนั่นทำให้เกิดเป็น “หลักธรรมคำสอน” ที่สำคัญ และสามารถนำมาเผยแผ่ต่อชาวพุทธ เพื่อเป็นแนวทางในการยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข

มาศึกษาหลักธรรมเหล่านี้ กับ “3 หลักธรรม ในวันวิสาขบูชา”





3 หลักธรรมในวันวิสาขบูชา

1. ความกตัญญู ความกตัญญูหรือการรู้คุณคน มาคู่กับคำว่า “กตเวที” หมายถึง การตอบแทน การมีความกตัญญูกตเวที ส่งผลให้ครอบครัวมีความสุข และทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น เพราะความกตัญญู ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่อย่างเดียว แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคุณครูและศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น





2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

  • ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ทำให้เกิดความทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การแก่ เจ็บ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ รวมถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก
  • สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ ซึ่งส่วนใหญ่ของปัญหา เกิดจาก “ตัณหา” ได้แก่ ความอยากได้ อยากมี อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
  • นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้
  • มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาอันเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความรำลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)
   
3. ความไม่ประมาท คือ การมีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำ พูด หรือคิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติ คือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท และความประมาทจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูล : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง , มูลนิธิอุทธยานธรรม ,  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223949/amp
โดย : PPTV ONLINE | 13:41 น. , 16 พ.ค. 2567
19  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮาสองฝั่งโขง! ขุดพบพระประธานโบราณริมโขง เชื่อเป็น “พระเจ้าตนหลวง” เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 05:28:09 am
.



ฮือฮา..สองฝั่งโขง.! ขุดพบพระประธานโบราณริมโขง เชื่อเป็น “พระเจ้าตนหลวง”

โซเชียลฮือฮา! ขุดพบพระประธานโบราณขนาดใหญ่ริมแม่น้ำโขง ชาวลาวเชื่อเป็น “พระเจ้าตนหลวง” โปรดปวงชนให้อยู่เย็นเป็นสุข

จากกรณีชาวบ้านเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว พบพระพุทธรูปเก่าแก่ หลายองค์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่โขง ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประเทศไทย เมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดปรากฎว่ามีการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพิ่มอีกองค์

โดยเฟซบุ๊ก “ขัตติยะบารมี ขัตติยะ” ได้โพสต์ภาพการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ พร้อมระบุว่า “กำลังกู้องค์พระเจ้าตนหลวงเพื่อนำขึ้นมาโปรดปวงชนมวลมนุษย์ให้อยู่เย็นเป็นสุข” นอกจากนั้นยังแสดงความเห็นอีกว่าพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นองค์พระประธาน

อย่างไรก็ตามหลังจากโพสต์ดังกล่าว ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กทั้งชาวลาวและชาวไทยเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พากันชื่นชมความสวยงามของพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว










Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/224006
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 16 พ.ค. 2567 ,19:14น.
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย" เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 11:31:27 am
.



บันทึกประกอบ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑

ผู้เขียนนี้มานึกว่า เมื่อครั้งทําบุญครบ ๑ ปี อุทิศ โยมคุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ในวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๖๒ ได้พิมพ์หนังสือ จารึกบุญ จารึกธรรม เป็นธรรมทานที่ระลึก สําหรับปีที่ ๒ นี้ ก็ควรจะพิมพ์หนังสือธรรมทานเช่นนั้น อีกทั้งมาคํานึงว่า ถัดจากวันทําบุญครบ ๑ ปีในวันที่ ๘ ก.พ. นั้น รุ่งขึ้นวันที่ ๙ ก.พ. ก็จะเป็นวันทําบุญประจําปีของครอบครัวอารยางกูร อุทิศโยมบิดา-มารดา และพี่น้อง ตามปกติตัวผู้เขียนเองนี้จะไม่ได้ไปร่วมอยู่ในงานพิธีทั้งสองนั้น แต่ ก็เป็นธรรมดาที่ปรารถนาจะให้มีหนังสือธรรมทาน และคราวนี้ ถ้าได้เรื่องที่เหมาะมาพิมพ์ ก็จะเป็นหนังสือธรรมทานสําหรับงานทั้งสองต่อกัน

เวลานั้น วันงานใกล้เข้ามาแล้ว พอดีได้จังหวะมองเห็น file "สวดมนต์ฯ” ซึ่งพระครูประคุณสรกิจ (การุณย์ กุสลนนฺโท) เพิ่งส่งมาให้ใหม่ๆ อันเป็นบท คัดลอกถอดเสียงเป็นตัวหนังสือ ซึ่งทีมงานจิตอาสาของชมรมกัลยาณธรรม มี ทพญ. อัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ เป็นประธาน ได้จัดทําส่งต่อกันมาให้ผู้เขียนนี้ที่ เป็นผู้พูดเรื่องนั้น ตรวจทาน เพื่อนําลงพิมพ์ในวารสารโพธิยาลัย

ตัวผู้เขียนเอง เนื่องจากปัญหาสภาพปอดที่เสียหายมาก เกินกว่าครึ่ง ทํางานไม่ได้ นอกจากในพิธีอุปสมบทที่วัดญาณเวศกวันเอง ซึ่งเป็นกิจอัน จําเป็นแล้ว ก็มิได้มีการพูดคุยสนทนากับหรือแก่ที่ประชุม คณะ หรือหมู่คน มา นานนักหนาแล้ว เว้นแต่ต้องพูดคุยเป็นการภายในกับพระวัดญาณเวศกวันบ้าง ในบางโอกาส และมีโอกาสหนึ่งโอกาสเดียวซึ่งได้กลายเป็นเรื่องค่อนข้างประจํา คือ การไปที่วัดนั้นในวันกลางเดือนและวันสิ้นเดือน แล้วยามค่ําหลังสวด ปาติโมกข์ ได้พูดคุยกับพระแบบง่ายๆ สบายๆ ในเรื่องเบ็ดเตล็ด แล้วก็มีโยมที่ สนใจมาฟังบ้าง จนไปๆ มาๆ เหมือนว่าได้กลายเป็นรายการหนึ่ง เรียกว่า เกร็ดความรู้ธรรม เรื่อง "สวดมนต์ฯ" ที่ว่านั้น ก็เป็นคําพูดคุยของผู้เขียนใน โอกาสอย่างนี้ เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน ๒ (๙ มกราคม ๒๕๖๓)

@@@@@@@

ได้มองเห็นว่า การสวดมนต์เป็นกิจที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันเป็น ประจํา และเด่นในความนิยม จึงควรรู้เข้าใจกันให้ดี เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง และให้เกิดมีผลที่ดี บทถอดเสียงเป็นตัวหนังสือนั้นก็ไม่ยืดยาวนัก แค่ ๑๓ หน้า ถ้าตรวจทานจัดปรับต้นฉบับเสร็จ งานทางด้านวารสารโพธิยาลัยก็จะ ลุล่วงไป และก็จะได้หนังสือสําหรับงานบุญที่ปรารภนั้นด้วยพร้อมกัน เป็นอันตกลงและเริ่มทํางาน แต่ประจวบว่าเวลานั้น อีกด้านหนึ่ง เป็น ช่วงกาลที่เพิ่งได้เริ่มที่จะต้องรอฟังและปฏิบัติตามคํากําหนดและนัดหมาย

ของคุณหมอและโรงพยาบาล เพราะเพิ่งผ่านการตรวจและพิสูจน์ว่าผู้เขียนนี้ เป็นโรคมะเร็ง แม้ว่าจะทํางานหนังสือไปตามปกติ แต่เมื่อผ่านการตรวจและ พิสูจน์โรครู้แน่ชัดแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาที่ยืดเยื้อยาวนาน มาก เมื่อผู้เขียนอยู่ห่างไกล บางทีก็ต้องไปนอนในโรงพยาบาล ถึงแม้ไม่ต้อง นอนพัก แค่เดินทางไปกลับก็หมดเวลาค่อนวัน แทนที่จะทํางานหนังสือได้ ๑๐ ชม. ก็เหลือทําได้ ๑-๒ ชม. หรือไม่ได้เลย พร้อมกันนั้น เรื่อง "สวด มนต์” นั้น เมื่อตรวจไป ก็เขียนขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ก็ไม่ทันที่จะได้ พิมพ์เป็นเล่มหนังสือเพื่อแจกในงานวันที่ ๘ และ ๙ กุมภาพันธ์

ถึงแม้ไม่ทันการอย่างที่คิดหมาย ก็ตกลงใจว่าจะทําหนังสือนั้นให้ เสร็จเป็นบุญกิริยาเนื่องในงานพิธี โดยเป็นธรรมทานตามหลังงาน อันน่าจะ มีผลได้ยืดยาวยืนนาน แล้วคราวนี้ยิ่งต้องเร่งรัดจริงจังเต็มที่ ให้หนังสือเสร็จไม่ล่าช้าหลังงานนานเกินไป จึงเป็นวาระที่ยิ่งต้องระดมทํางานนั้นเต็มแรงมากขึ้น

ที่จริง ตั้งแต่เริ่มตรวจเติมต้นฉบับหนังสือนี้ ก็ได้หยุดวางงานหนังสือ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องจากภายนอกทั้งหมด เช่น แม้แต่มีหลายท่านขอพิมพ์ หนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ จะทํานั่นทํานี่กับหนังสือธรรมนั้นนี้ ก็ต้องขอให้รอก่อน จึงมีเรื่องค้างรอวันอยู่ไม่น้อย

@@@@@@@

ในขณะเดียวกัน มาถึงเวลานี้ ทางด้านโรงพยาบาล การรักษาผู้อาพาธ บําบัดมะเร็ง ก็เข้าสู่ช่วงตอนสําคัญ ต้องเข้าไปนอนพักใน รพ. เกือบครึ่ง เดือน เพื่อรับการฉายรังสีอย่างเข้มข้น หรือเต็มอัตรา ก็จึงมุ่งว่าในช่วงเวลา
นั้น จะทํางานหนังสือได้มาก หนังสืออาจจะเสร็จในคราวนี้

แต่ถึงเวลาจริง ใน รพ. ก็ทํางานหนังสือได้ไม่มากอย่างที่คาด เพราะ เวลาที่โปร่งโล่งมีน้อย สภาพร่างกายที่ติดขัดต่างๆ ก็กลายเป็นเครื่องขัดถ่วง ด้วย และฝ่ายดูแลรักษาก็บอกให้พักให้มาก อิริยาบถนั่งก็เป็นการกดทับ อวัยวะที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยง จึงออกจาก รพ. ศิริราช มาโดยงานยังไม่จบ

จากโรงพยาบาล ที่คุณหมอ ทั้งเจ้าของเรื่อง และที่ผ่านเข้ามาในเรื่อง พร้อมทั้งพยาบาลและเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน ได้สละเวลาให้เรี่ยวแรงกําลังทํา ปฏิบัติการทางแพทย์ และดูแลอย่างเต็มที่ ด้วยน้ําใจปรารถนาดีจริงจัง จบการบําบัดรักษาไปอีกขั้นตอนหนึ่ง ออกไปพักรับผลการบําาบัดในชนบท รอเวลานัดหมายของคุณหมอต่อไป ปรากฏว่าร่างกายทรุดโทรมอ่อนเปลี้ยเกินคาดหมาย ได้ความว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการฉายรังสีนั้นเป็นธรรมดา

ในที่พักถิ่นชนบทนั้น งานตรวจชําระทําต้นฉบับหนังสือเดินหน้าไป มิได้ช้า จาก ๑๓ หน้าบทถอดเสียงที่ได้รับ ขยายเป็น ๓๖ หน้า แล้วจัดทํา เป็นเล่มหนังสือได้ ๘๘ หน้า เสร็จในวันเพ็ญกลางเดือน ๔ ตรงกับ ๘ มีนาคม ๒๕๖๓ หลังงานทําบุญ ๑ เดือนพอดี คือออกจาก รพ.มาได้ ๘ วัน เป็นอันจบเนื้องาน แต่ตกลงทํางานแถมผนวกท้ายไว้ด้วย คือ มงคลสูตร พร้อมทั้งค่าแปลภาษาไทย

คราวนี้เห็นว่าควรให้ความสําคัญแก่คําแปล ในแง่ที่จะให้เข้าใจง่าย และใช้สวดได้ด้วย พอดีว่ากองอุปถัมภ์พระอาพาธที่ รพ. ซึ่งมีอาผา (คือคุณ บุบผา คณิตกุล) เป็นผู้นํา พร้อมด้วยจูน (คุณศศิธร ศรีโสภา) เมื่อถอน กําลังมากลับคืนถิ่นที่สหปฏิบัติและค่ายอารยาภิวัทธน์ ซึ่งอาดา (คุณกานดา อารยางกูร) ตั้งหลักอยู่ ก็พร้อมกันอุปถัมภ์พระอาพาธต่อ

@@@@@@@

ชาวถิ่นชาวค่ายนี้ มีชีวิตที่คุ้นชินกับการสวดมนต์และการอบรมสั่งสอนธรรมอยู่แล้ว พอพูดถึงการสวดคําแปลมงคลสูตร ก็สนใจ รวมทั้งผู้ที่ห่วงใยตามดูแลในระยะอาพาธคราวนี้ ได้แก่ ดร.อัมรินทร์ จันทนะศิริ ดต.มงคล รัตนะรองใต้ และผู้อยู่ประจําคือ นายวิชัย ปะโคทัง ก็ช่วยกันอ่าน คําแปลและทดลองสวด พระครูสังฆวิจารณ์ (พงศธรณ์ เกตุญาโณ) ซึ่งดูแล อยู่ใกล้ชิด นอกจากช่วยสะสางภาระทั่วไปแล้ว ก็ช่วยอ่านช่วยฟังคําแปลนี้ จริงจังด้วย ทําให้ได้ขัดเกลาค่าแปลนั้น จนถือเป็นอันยุติไปคราวหนึ่งก่อน

เป็นอันได้นํามงคลสูตร พร้อมทั้งคําแปล มาเติมท้ายได้เป็น ภาคผนวก เมื่อนับส่วนหน้าที่เพิ่มเข้าไปให้ครบลักษณะหนังสือด้วย รวมเป็น ๑๐๑ หน้า ตั้งชื่อหนังสือว่า สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย ได้สําเร็จเสร็จการ ในวันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๖๓

บันทึกนี้เขียนบอกไว้เพื่อให้ท่านที่ติดค้างอยู่ ไม่ว่าที่วัดก็ตาม ที่อื่นใด นอกวัดก็ตาม ซึ่งมีกิจมีงานมีเรื่องราวเกี่ยวข้องไปถึงผู้เขียนนี้ ที่ต้องรออยู่ กับความเงียบเหมือนเรื่องหายไป จักได้เข้าใจว่า งานทําหนังสือ สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย นี่เอง ได้กักกันเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในความเงียบงัน และ เมื่อรู้เข้าใจแล้วคงจะมีจิตผ่อนคลาย ปลงความติดค้างใจให้หมดหายไป

แบบปกหนังสือมี ๒ ท่าน ที่ได้เอื้อเฟื้อออกแบบให้ท่านละ ๑ แบบ คือ แบบที่ ๑ โดย อาจารย์เถกิง พริ้งพวงแก้ว และแบบที่ ๒ โดย คุณสาธิต โยคเสนะกุล ซึ่งได้จัดทําให้พร้อมไว้นานแล้ว ตั้งแต่ก่อนวันทําบุญในเดือนกุมภาพันธ์ ขออนุโมทนาไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างมาก

ขออนุโมทนาทุกท่านทุกนามที่ได้มีน้ําใจเป็นบุญช่วยเกื้อกูลในด้านต่างๆ โดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ทําให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสําเร็จเป็นธรรมทานสมหมาย

                                        สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
                                              ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓






ขอยุติการนำเสนอ บทธรรมจากหนังสือ "สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) ไว้แต่เพียงแค่นี้ ขอขอบพระคุณที่ติดตาม 

 st11
21  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย" เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 10:52:36 am
.



ผนวก : มงคล ๓๘
ในวงเล็บ (...) เป็นคําอธิบาย ไม่ต้องสวด

คาถาที่ 1.
    ๑. เว้นคนพาล ไม่คบหา
    ๒. เสวนาบัณฑิตชน
    ๓. บูชาคนที่ควรเชิดชู
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 2.
    ๔. อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
    ๕. บ่มเพาะความดีเป็นทุนไว้แต่ต้น
    ๖. ตั้งตนไว้ถูกทางอย่างมั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 3.
    ๗. เล่าเรียนทรงความรู้ให้เชี่ยวชาญ
    ๘. มีวิชาชีพวิชาช่างที่ชํานาญพร้อมไว้
    ๙. มีวินัยที่ได้ฝึกเป็นอย่างดี
  ๑๐. มีถ้อยวจีที่พูดได้งดงาม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 4.
  ๑๑. บําารุงมารดาบิดาด้วยกตัญญู
  ๑๒. ใส่ใจเลี้ยงดูบุตรธิดา
  ๑๓. เกื้อหนุนภรรยาให้สมเป็นคู่ชีวิต
  ๑๔. ทํากิจการงานไม่คั่งค้างสับสน
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 5.
  ๑๕. ให้ปันแก่คนทั้งหลาย (มิให้มีใครถูกทอดทิ้ง)
  ๑๖. มั่นในหลักธรรมจรรยา
  ๑๗. มีใจน่าพาสงเคราะห์ญาติ
  ๑๘. ไม่ขาดกิจกรรมดีงามบําเพ็ญประโยชน์
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 6.
  ๑๙. งดเว้นจากความชั่ว
  ๒๐. คุมตัวจากของมึนเมา
  ๒๑. เร่งเร้าตัวไม่ประมาทในธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 7.
  ๒๒. มีคารวะให้ความสําคัญสมควรแก่คุณค่า
  ๒๓. กิริยาวาจาอ่อนโยนสุภาพ ไม่กระด้างถือตน
  ๒๔. สันโดษด้วยลาภผลที่มีตามธรรม(พอใจลาภผลแต่ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตนโดยชอบธรรม)
  ๒๕. สํานึกกตัญญูรู้ค่าของผู้มีคุณความดี
  ๒๖. จัดให้มีเวลาฟังธรรมหาความรู้
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 8.
  ๒๗. เป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทน
  ๒๘. เป็นคนที่พูดกันง่าย
  ๒๙. ไปพบพระเพื่อเจริญธรรมเจริญปัญญา
  ๓๐. จัดเวลาสากัจฉาถกปัญหาถูกธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 9.
  ๓๑. มีตบะห้ามใจไม่มัวเมามุ่งมั่นทําหน้าที่
  ๓๒. มีชีวิตดีงามดําเนินในอริยมรรคา
  ๓๓. มีปัญญาเห็นอริยสัจถึงความจริงของชีวิต
  ๓๕. สัมฤทธิ์ที่หมายได้ประจักษ์แจ้งนิพพาน
        นี้เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 10.
  แม้จะถูกโลกธรรมผ่านกระทบ
  ๓๕. ก็มีใจสงบได้ไม่หวั่นไหว
  ๓๖. มีใจชื่นสบายไร้โศกศัลย์
  ๓๗. มีจิตผ่องใสไร้ธุลีละอองควัน
  ๓๘. และจิตนั้นเกษมศานต์มั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

(คาถาที่ 11. สรุปท้ายมงคล ๓๘)
   "เหล่าเทวะมนุษย์ได้กอปรมงคลเช่นนี้ เป็นผู้ที่ไม่ปราชัยในทุกสถาน จะถึงความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นั่นคือ อุดมมงคลของเทวะมนุษยชน เหล่านั้นแล"


@@@@@@@

มงคลสูตร

คาถาที่ 1.
๑. อเสวนา จ พาลานํ   ๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 2.
๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ   ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 3.
๗. พาหุสจฺจญฺจ ๘. สิปฺปญฺจ   ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 4.
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ   ๑๒-๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 5.
๑๕. ทานญฺจ ๑๖. ธมฺมจริยา จ   ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ                 เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 6.
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา   ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ     เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 7.
๒๒. คารโว จ ๒๓. นิวาโต จ   ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ๒๕. กตญฺญุตา
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 8.
๒๗. ขนฺตี จ ๒๘. โสวจสฺสตา   ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา              เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 9.
๓๑. ตโป จ ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ   ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 10.
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ   ๓๕. จิตฺตํ ยสฺส. น กมฺปติ
๓๖. อโสกํ ๓๗. วิรชํ ๓๘. เขมํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

(คาถาที่ 11.)
เอตาทิสานิ กตฺวาน  สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ  ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ

(ยังมีต่อ..)
22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย" เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 10:14:53 am
.



ตอน ๕ : ไม่ลืมสาธยาย ไปให้ถึงมงคลที่สูงสุด



 :25: :25: :25:

ปากสวดมนต์ ใจคนต้องไปถึงสาธยาย

ก. สาธยาย เป็นแก่นสารของการสวดมนต์

ได้บอกแล้วแต่ต้นๆ ว่า การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่น แกนสาระของมัน ก็คือ การสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคําของ พราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคําพูดของเขานั้น เราหมายถึง พุทธพจน์ คือคําตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่ง เป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

(ในยุคหลังพุทธกาลนานมา ได้รวมเอาบทสวดที่พระเถระ พระอาจารย์ในสมัยต่อๆ มา แต่งขึ้นใหม่ เพิ่มเข้าไปด้วย แต่บท สวดที่เพิ่มเข้าไปเหล่านั้น โดยปกติจะเป็นจําพวกคําอวยชัยให้พร หรืออนุโมทนา หรือไม่ก็เป็นคําสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย)

ที่ว่าสาธยาย ก็คือ มีสติจําได้ระลึกนึกถึงจับยกนําเอาข้อมูล ความรู้ (ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบอกบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรง ตามลําดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทํางานของการสาธยาย

เมื่อสติจับเอาข้อมูลข้อธรรมนํามาเสนอต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ ก็เป็นหน้าที่ของปัญญาที่จะพิจารณาพินิจพิจัยสอบสวนฟั้นเฟ้นตรวจตราให้รู้เข้าใจเรื่องนั้นธรรมนั้น จนถึงขั้นที่มองเห็นว่า จะนําไปใช้แก้ไขปัญหา หรือทําประโยชน์อะไร อย่างไรต่อไป

จะเห็นว่า การสาธยายนี้ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ โดยมีปัญญามาสืบสานให้การปฏิบัติธรรมดําเนินไป จึงมีการทํางานของ ธรรมสําคัญ ๒ อย่าง คือ สติ และปัญญา (เรียกชื่อให้เข้ากับ ลักษณะการทํางานในที่นี้ว่า “ธรรมวิจัย”) ซึ่งเป็นธรรมองค์นําใน โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ทําให้การสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรม

ตามที่ว่านี้ จะเห็นว่า สาธยายนี่แหละเป็นเนื้อใน เป็นตัวแท้ ตัวจริงของการสวดมนต์ ส่วนการสวดเป็นแค่ลักษณะอาการใน การเปล่งเสียง โดยมุ่งเน้นในแง่ที่ว่าจะเปล่งเสียงออกมาให้เป็น ทํานองอย่างไร ทําอย่างไรจะให้เสียงไพเราะเสนาะน่าฟัง นี่คือ เหมือนว่าการสวดเป็นเปลือกสวยงามห่อหุ้มการสาธยายไว้อีกชั้นหนึ่ง

ทีนี้ ถ้าใจมัวมุ่งไปที่การเปล่งเสียงจะเอาทํานองและเสียง ไพเราะเข้าว่า ไปๆ มาๆ ก็เลยไม่มีสติที่จะนึกถึงการสาธยาย มีแต่ การสวดมนต์ที่ไม่มีสาธยาย สวดไปเรื่อย แต่ไม่นึกไม่รู้ว่าบทสวด ถ้อยคําที่ตัวสวดนั้นบอกอะไร เป็นเรื่องอะไร ท่านสอนอะไรไว้ ยิ่ง ถ้าเป็นสวดมนต์หมู่ ก็พากันชื่นชมเพลินใจไปเรื่อยๆ กับสุ่มเสียง จังหวะทํานอง จนบางทีเคลิบเคลิ้ม กลายเป็นเหมือนเอาการ สวดมนต์มากล่อม เลยหลับไปบ้าง หลับๆ ตื่นๆ บ้าง

การสวดมนต์ที่ทําให้มีใจชื่นชมสงบสบายเพลินไปกับการสวดนั้น ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง โดยช่วยให้จิตใจพ้นออกมาจาก อารมณ์ร้ายอันเป็นข้าศึก เช่นเรื่องที่กังวล กลุ่ม เครียด วุ่นวายใจ ต่างๆ ให้ใจนั้นย้ายมาจับอยู่กับการสวดมนต์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไร้ โทษ (รวมทั้งช่วยเตรียมจิตนําการเจริญสมาธิ และการช่วยให้นอน หลับได้)

แต่ความดีที่ว่านั้น เป็นคุณค่าข้างเคียง เป็นประโยชน์พลอย ได้ ที่ไม่จริงจังยั่งยืน ข้อสําคัญคือเสียหลัก ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ พื้นฐานว่า ทุกคนจึงเป็นอยู่อย่างมีสติ ท่านให้มีสติอยู่กับตัว โดยมีปัญญาที่จะดูแลปกครองตัวเองให้ก้าวดําเนินไปตลอดเวลา ให้ดีได้ เราจึงต้องฝึกตัวอยู่เสมอให้มีสติอย่างนั้น

ยิ่งในกรณีนี้เป็นการสาธยาย ซึ่งเป็นการใช้สติอย่างเด่นชัด พ่วงด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งที่สาธยาย มองเห็นทางที่จะใช้จะปฏิบัติ คือการที่จะก้าวออกสู่ปฏิบัติการให้มีผลเป็นประโยชน์สมจริง เป็นการก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ ถ้าสวดมนต์กันแล้วกลายเป็นอยู่กับความเพลิดเพลิน เคลิบเคลิ้ม ก็กลายเป็นการอยู่อย่างขาดสติ กลายเป็นชีวิตแห่งความประมาท

นี่แหละ ดังที่ว่าแล้ว จึงยอมได้แค่ให้เป็นช่วงพักช่วงคั่น เมื่อจิตได้ย้ายเปลี่ยนอารมณ์พ้นเรื่องร้ายเรื่องวุ่นวายมาพอสงบได้แล้ว ก็ต้องเดินหน้าตามหลักต่อไป โดยมีสติ ใช้ปัญญา ที่จะออกสู่ ปฏิบัติการ (ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม) ในความเป็นจริงของชีวิตต่อไป

@@@@@@@

ข. สวดมนต์ที่ดี ขึ้นมาเป็นวิธีแสดงธรรม

ในเรื่องการสวดมนต์นี้ ได้เล่าไว้ข้างต้นแล้วว่า พระพุทธเจ้า ทรงห้ามพระภิกษุมิให้ขับร้องด้วยเสียงร้องเพลง (คีตสร) อย่าง ชาวบ้าน ซึ่งมีการเอื้อนยาวยืดยาดขึ้นลงวูบวาบ ทําให้อักขระ ผิดเพี้ยนเสียหาย และมีโทษหลายอย่าง แต่ทรง “อนุญาต สรภัญญะ" ซึ่งเราแปลกันว่าทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ

สรภัญญะ แปลตามศัพท์ว่า การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง (สเรน (ธมุม) ภณ) แต่เสียงในที่นี้ หมายถึงเสียงที่ตั้งใจบรรจง เปล่งออกมาอย่างเป็นทํานองเสนาะรื่นไพเราะ เราจึงเรียกว่าสวด

ท่านกําชับว่า การใช้เสียงที่ดีกล่าวธรรม คือสรภัญญะนี้ เป็น การกล่าวเรียงบทให้ชัดค่าชัดความทุกบทพยัญชนะไม่ตกหล่นขาดหาย และไม่คละกัน ถ้อยคํารับต่อทอดกันไปอย่างกลมกลืน ไม่ทําให้อักขระผิดพลาดคลาดเคลื่อน ว่าตรงลงตัว ไม่คลุมเครือ ให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ครบสมบูรณ์ กลมกล่อม ไพเราะ แต่ไม่มีวิการ (อาการผิดแปลกหรือไม่เหมาะสม) ดํารงสมณสารูป พาให้ชวนฟังชวนจํา พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปิติ

ทําไมท่านจึงกําชับในเรื่องความถูกต้องแม่นยําชัดเจน ก็ เพราะเนื้อตัวที่แท้ข้างในของสรภัญญะก็คือการสาธยาย นี่คือให้ สรภัญญะเป็นเปลือกงดงามมาห่อหุ้มเนื้อในอันแท้ที่ดีจริง

เป็นอันว่า สรภัญญะเป็นวิธีสวด หรือวิธีกล่าวธรรมอย่างเป็น ทํานองไพเราะ และท่านก็บอกไว้ด้วยว่า วิธีสวดสรภัญญะนั้นมี ๓๒ ทํานอง แต่ทํานองเหล่านั้นเวลานี้จะไปหาฟังที่ไหนได้ครบหรือ แม้แต่สักกระผีก ดังนั้น เมื่อรู้หลักที่ท่านกําชับไว้นั้นแล้ว ผู้ที่ถนัด ก็ อาจจะคิดสรรทํานองสวดขึ้นมาใหม่ให้สวดกันได้ดีตามหลักนั้น

การสวดสรภัญญะดีทั้งเปลือกและได้เนื้อที่แท้อย่างนี้ ท่าน จึงนิยมให้ใช้สรภัญญะนั้นในการแสดงธรรม ซึ่งสมตาม ความหมายของสรภัญญะที่ว่า “การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง” เอา เสียงสื่อธรรม คือ ใช้เสียงเป็นเครื่องกล่าวธรรมแสดงธรรมสอนธรรม

ตามที่ว่านี้ ท่านจึงจัดการสวดสรภัญญะนี้เป็นวิธีแสดงธรรม อย่างหนึ่ง เช่นที่เคยยกมาให้ดูข้างต้นแล้ว ในชุด ๔ คือ ปทภาณ, ธรรมกถา, สรภัญญะ และปัญหาวิสัชนา ทําให้เรามีทางเลือกใน การแสดงธรรมเรียนธรรมสอนธรรม เช่น แทนที่จะกล่าวบรรยาย อธิบายธรรมด้วยถ้อยคํา ที่เรียกว่า “ธรรมกถา” ก็สวด “สรภัญญะ”

เอาเสียงที่ตั้งใจเปล่งออกไปอย่างประณีตบรรจง ด้วยจิตเมตตา และ เคารพธรรม อันชัดเจนเรียบรื่น กลมกลืน สม่ําเสมอ เป็นทํานอง ไพเราะ นุ่มนวล ชวนฟัง มาเป็นสื่อ เพื่อนําธรรมที่มีอยู่เป็นหลัก ที่ร้อยเรียงไว้ดีแล้ว เป็นคาถา พระสูตร เป็นต้น ออกไปให้ถึงใจของผู้สดับ

มิใช่แค่นั้น ทางเลือกยังมีอีก เช่นที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้ ที่ว่า เมื่อ จะฟังจะเรียนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระสรภาณขึ้นมาสวด สรภัญญะ กล่าวคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบทตั้งนําไว้ เสร็จ แล้ว ก็นิมนต์พระธรรมกถูกขึ้นมาบรรยายอธิบายคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบททั้งนั้น ที่เรียกว่า “สรภาณธรรมกถา”

บอกเล่ามายืดยาว ก็มาลงที่จุดย้ําว่า ถ้าเราสวดมนต์กัน และเห็นแก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ก็อย่าลืมสวดให้ถูกทาง ที่จะเป็นการสาธยายคําสอนของพระองค์

เมื่อให้เป็นการสาธยาย ก็ต้องมีสติระลึกนึกได้ว่า ตรงที่เรา สวดอยู่นี่ พระองค์ตรัสเรื่องอะไร ตรัสว่าอย่างไร แล้วก็สํารวจ ตรวจดูตัวเองไปด้วยว่า เรารู้เข้าใจได้ปฏิบัติธรรมที่พระองค์ตรัสนี้หรือเปล่า

@@@@@@@

ค. ปฏิบัติธรรมด้วยสาธยาย ก้าวไปในวิถีของปัญญา

พระและโยมสวดมนต์กันบ่อย สวดกันเป็นประจํา สวดกัน เป็นกิจวัตรเลยทีเดียว ถ้าสวดมนต์ถูกต้องตามหลักที่ว่ามา คือมี การสาธยายเป็นเนื้อใน ก็จะได้ปฏิบัติธรรมสําคัญอยู่เป็นประจําไม่ว่างเว้น และก็จะมีความเจริญงอกงามในธรรมกันอย่างจริงจังแล้ว ก็จะนํามาซึ่งความเจริญมั่นคงของพระพุทธศาสนา และความ เจริญแพร่หลายแห่งประโยชน์สุขของประชาชนยั่งยืนยาว

ที่ว่าการสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรมสําคัญนั้น ก็อย่างที่พูด มาย้ําแล้วย้ําอีกว่า พอเริ่มสาธยาย ก็คือสติมาทํางาน การสาธยาย จึงเป็นการฝึกสติ เจริญสติ และฝึกความจําด้วย และที่สติทํางานก็ คือเอาข้อมูลมานําเสนอต่อปัญญา ที่จะได้วิจัย นี่คือธรรมองค์นํา ทั้งสองของโพชฌงค์ ๗ แล้วองค์อีก ๕ ก็มาเข้ากระบวน รวมทั้ง สมาธิด้วย (วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) เมื่อองค์ทั้ง ๗ พร้อมดี ก็สัมฤทธิ์โพธิ คือบรรลุมรรคผล

พระพุทธเจ้าตรัสเรียกการสาธยายธรรมอย่างถูกต้องได้ผล ว่าเป็น วิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ คือเหตุแห่งวิมุตติ) แหล่งที่ 4 ดังความว่า (องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๖/๒๓)

    "ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทําการสาธยายธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น...เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็เกิด ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ก็เกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายก็ ผ่อนคลายสงบ เธอมีกายผ่อนคลายสงบแล้ว ก็ได้เสวยสุข เมื่อมี สุข จิตก็มั่นแน่วเป็นสมาธิ"

    "ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ) อย่างที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ก็หลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป หรือว่าเธอก็จะบรรลุโยคเกษมอันสูงสุด (นิพพาน) ที่ยังไม่ได้บรรลุ"


พระมหาสาวกที่เผยแผ่ธรรมสั่งสอนประชาชนทําให้ พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมั่นคงและดํารงพระศาสนาให้ยืนยงอยู่ได้ จนถึงพระที่เป็นหลักในการดํารงอยู่ของสังฆะ คือ ส่วนรวมและผู้บริหารหมู่คณะทั่วๆไป มีและควรมีคุณสมบัติสําคัญอย่าง หนึ่ง คือเป็นพหูสูต ดังที่พระอานนท์เป็นเอตทัคคะในบรรดาพระพหูสูต (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๙/๓๒) และผู้ที่เป็นพหูสูตทั่วๆไป ก็เป็นผู้มีทุนภายในอันทําให้พร้อมด้วยโอกาส ที่จะก้าวไปถึงจุดหมายแห่งการบรรลุธรรม

ผู้เป็นพหูสูต มีคุณสมบัติ ๕ อย่าง (เช่น องฺ.ทสก.๒๔/๑๗/๒๕)  คือ
    ๑. ได้สดับมาก (พหุสสุตา)
    ๒. ทรงไว้แม่น (ธตา, ฉบับอักษรพม่าเป็น ธาดา)
    ๓. บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัดเจน (วจสา ปริจิตา)
    ๔. มองเห็น สว่างใจ (มนสานุเปกขิตา)
    ๕. ใช้ปัญญาแทงทะลุได้ทั่วตลอดเหตุผล จนถึงความจริง (ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา)

ข้อ ๓. นั้นท่านอธิบายว่า ก็คือสาธยายนี่แหละ (เช่น ม.อ.๒/๑๕๙ : วจสา ปริจิตาติ...วาจาย สชฺฌายิตา) ดังนั้น ผู้เป็นพหูสูต จึงมีแหล่ง วิมุตติ (วิมุตตายตนะ) อย่างที่ ๓ อยู่ในตัว (บอกไว้แล้วข้างบน)

ที่ว่านี้ก็ตรงกับที่พระมหากัจจายนะบอกไว้ในคัมภีร์เปฎโก-ปเทส (เนตฺติ-เปฏก.๓๖๖) ว่า วาสา ปริจิตา (บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัด เจน) นี้ เป็นวิมุตตายตนะ คือแหล่งวิมุตติ ที่ ๒ และที่ ๓

ที่พูดมามากมายนี้ ให้เห็นแล้วว่าการสวดมนต์คืออะไร มี ความหมาย และความมุ่งหมายอย่างไร อยู่ตรงไหนในระบบและ กระบวนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

อย่างน้อยมีแง่เน้นว่า อย่าเผลอใช้การสวดมนต์เป็นแค่เครื่องมือแก้ปัญหาจิตใจ (ยอมให้เป็นที่ผ่อนพักใจให้ได้หลบพ้น ทุกข์ภัยเพียงชั่วคราว เป็นช่วงต่อหรือเปลี่ยนผ่าน แต่ถ้าเผลอติด เพลิดเพลินไป จะไถลเลยลงไปกลายเป็นคนเฉื่อยชาจมอยู่ใน ความประมาท และขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในธรรม) แต่จะต้องเดินหน้าต่อไปในวิถีทางของปัญญา ที่จะพาให้ถึงจุดหมายที่แท้

ผู้ที่สวดมนต์ถูกต้องตามหลักการสาธยายเข้าในหลักที่จะ เป็นพหูสูต พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลดีติดตัวไปเป็นอานิสงส์ในกาลเวลายาวไกล กล่าวคือ ธรรมที่สดับต่อเนื่องมาและได้สาธยาย จนคล่องทรงไว้แม่นชัดเป็นอย่างกระแสภวังค์ แม้ว่าเมื่อถึงมรณ กาลตายไปโดยไม่มีสติ แต่ในภพใหม่นั้น บทธรรมที่ได้สดับ ได้
สาธยายคล่องแม่น และได้พินิจไว้ ก็จะแจ่มชัดขึ้นมาแก่ตัวเขา ถึงแม้จะมีเหตุเตือนให้ได้สตินั้นมาล่าช้า แต่เขาจะเป็นผู้บรรลุคุณ วิเศษ (ฌาน จนถึงนิพพาน) ได้เร็วพลันฉับไว (เรื่องนี้ ท่านที่สนใจ พึ่งอ่านดูใน องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๙๐/๒๕๑; องฺ.อ.๒/๒๙๙, ๔๑๑)





ก่อนอื่นใด พึงสวดมนต์ ที่ทํามงคลให้แก่ชีวิต

ก. สวดมนต์ จะให้ได้สาธยาย หลายคนบอกไม่ไหว

“สวดมนต์” ที่พระไทยพื้นถิ่นพื้นบ้าน และชาวชนบททั่วๆ ไป รู้จักกันมาแต่โบราณ ซึ่งได้ยินทั่วไปในงานมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองพระใหม่ และงานฉลองต่างๆ มากมาย คือพระปริตร ที่รู้จักกันว่าเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานาน ถ้าเป็นงานมงคลสามัญ ก็สวดเจ็ดตํานาน ถ้าเป็นงานพิเศษใหญ่ๆ ก็อาจจะสวดสิบสองตํานาน

ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ได้บอกรายชื่อ และนํามาแสดงรายการให้ดูครบหมดแล้ว

ทีนี้ ที่วัดทั้งหลาย ถึงแม้ไม่ใช่ในงานพิธี ก็มีการสวดมนต์กัน เป็นประจําทุกวัน เรียกว่าทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ํา (ทําวัตรเย็น ก็ได้) พูดกันเป็นสามัญว่า ทําวัตรสวดมนต์ โดยไหว้พระด้วยการสวดคํา สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเป็นหลักก่อน แล้วสวดมนต์บทต่างๆทยอยไป

เมื่อกี้นี้ได้บอกว่า "สวดมนต์" เป็นถ้อยคําที่เราหยิบคําของ พราหมณ์ที่เขาใช้กันมาก่อน เรานํามาใช้เพื่อสื่อเรื่องราวใหม่ของ เราให้คนที่อยู่มาเก่าเข้าใจพอจับเค้าได้ แต่เราใช้แบบล้อคําของเขา คือเราต้องให้คนเข้าใจความหมายของเราที่ต่างจากของเขา

ขอทบทวนว่า มนต์/มนตร์ของพราหมณ์ หมายถึงคัมภีร์พระเวท คําศักดิ์สิทธิ์ ใช้สื่อกับเทพเจ้า อ้อนวอนเทวดา แสดงฤทธิ์ เสก สาป ด่า แช่ง ทําร้ายเช่นสะกดคนอื่น เป็นต้น

“มนต์” นี้แม้จะนํามาใช้ในพระพุทธศาสนาแบบเทียบเคียง ดังว่านั้น ก็ใช้น้อยนัก ในคัมภีร์ทั้งหลายพูดถึงมนต์ ก็มุ่งไปที่ พราหมณ์ และเมื่อนํามาใช้ทางพุทธ ก็ให้หมายถึงพุทธพจน์คํา ตรัสคําสอนของพระพุทธเจ้า

คําสอนที่เทียบใกล้กับมนต์ ก็คือปริตรที่ว่าแล้ว ซึ่งบ่อยครั้ง เรียกว่า "พุทธมนต์” แต่ปริตรของพุทธไม่ให้กิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการสาปแช่งทําร้ายใครๆ แต่เป็นการอ้างสัจจะ อ้างธรรม เป็นอํานาจที่จะปกป้องคุ้มครองตัวเองและคนที่พึ่งดูแลรักษา

ทีนี้ ก็ได้บอกว่า การสวดมนต์ที่ถูกต้องของชาวพุทธนี้ มีตัว แท้ตัวจริงอยู่ที่การ “สาธยาย” เวลาว่าไปสวดไป ต้องมีสติระลึกนึก ได้นึกทันถ้อยคําเนื้อความที่ตัวสวด และมีปัญญารู้เข้าใจสิ่งที่สวด นั้น แล้วโยงออกมาสู่การใช้การปฏิบัติ

พอถึงตรงนี้ หลายคนบอกว่าไม่ไหว เพราะคําสวดเป็นภาษา บาลี ที่ไม่รู้ความหมาย แล้วก็สวดและฟังกันมาเรื่อยๆ เปื่อยๆ แสน นาน ไม่ได้นึกไม่ได้ใส่ใจเนื้อความ (ถึงเวลานี้ แม้แต่แค่รับศีล ก็ว่า เรื่อยเปื่อยให้จบๆ ไปเท่านั้นเอง) นี่ก็คือฟ้องถึงความเสื่อมที่ปล่อย ปละละเลยกันมาจนจะหมดโดยไม่รู้ตัว

นี่อะไรกัน บอกว่าเป็นชาวพุทธ แต่ไม่รู้เลยว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

เอาละ ก็มองในแง่ว่าเห็นใจ บทที่สวดนั้นมากมายนัก จะให้ สวดด้วยสติและรู้เข้าใจทั้งหมด ก็ไม่ไหว แต่จะมัวอยู่กันในความ ประมาท ปล่อยเรื่อยเปื่อยเรื่อยไป ก็คือจะหมด น่าจะเริ่มฟื้นเอา ส่วนที่เป็นแก่นเป็นแกนขึ้นมา ตั้งหลักให้ได้ก่อน

ตั้งหลักอย่างไร เอาที่พระปริตร ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสอง ตํานานนี่แหละ ถึงจะมากมาย แต่ท่านมีระบบให้ไว้ ถ้าเราเข้าใจ ระบบของบทสวดมนต์นั้น ก็จับแกนได้ แล้วก็ตั้งหลักขึ้นมา

@@@@@@@

ข. ทําไม จะสวดปริตร ต้องสวดมงคลสูตรนําหน้า

ขอทบทวนให้สังเกตว่า ในรายชื่อปริตร ที่จัดเป็นระบบเป็นชุด ไม่ว่าเจ็ดตํานาน หรือสิบสองตํานานนั้น ขึ้นต้นด้วยมงคลสูตร เป็นข้อแรก คือ มีมงคลสูตรนําหน้า

ข้อที่แปลกไม่น้อย คือ มงคลสูตรนี้ ไม่เป็นปริตร ไม่เรียกว่า ปริตร แต่เอามานําหน้าขึ้นก่อนปริตรทั้งหมดทั้งชุด และทุกชุด

ท่านจัดตั้งวางเป็นระเบียบแบบแผนในการเจริญพระพุทธมนต์ว่า เมื่อจะสวดพระปริตร ไม่ว่าชุดใด ต้องสวดมงคลสูตร นําหน้าก่อน (ทั้งทีมงคลสูตรไม่เป็นปริตร)

ยิ่งกว่านั้น ในเวลาสวด ถ้ามีเวลาน้อยหรือเร่งรัด อาจจะเว้น ไม่สวดบางปริตรในชุดนั้นๆ ก็ได้ แต่ต้องสวดมงคลสูตร

นี่เป็นความสําคัญพิเศษของมงคลสูตร ที่รวมเข้ามานําหน้าในชุดปริตร ทั้งที่ไม่เป็นปริตร

เรื่องนี้จะอธิบายอย่างไร ที่จริงก็ได้อธิบายไว้นิดหน่อยก่อนนี้ แล้ว ที่นี่จะอธิบายไม่ให้ยืดยาว

บอกแล้วว่า ปริตรนั้นเป็นบทสวดเพื่อคุ้มครองป้องกัน โดยมี อานุภาพต่างๆ กัน เป็นด้านๆ บทหนึ่งก็ใช้เพื่อคุ้มครองป้องกัน ด้านหนึ่ง เช่น

โมรปริตร ใช้สวดในเวลาเช้าที่จะออกจากถิ่นจาก บ้าน (และเย็นค่ำที่กลับเข้าบ้านเข้าถิ่น) ให้ไปหากินโดยสวัสดี

ขันธปริตร (บางทีเรียก อหิราชปริตร) ใช้สวดแผ่เมตตาผูก มิตรกับเหล่าพญางู ๔ ตระกูล เป็นต้นไป มีอานุภาพป้องกันงูร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง

โพชฌงคปริตร ใช้สวดให้คนเจ็บไข้ฟังช่วยให้หายโรค (ปริตรอย่างโพชฌงค์นี้ ที่จริงแสดงหลักธรรมสําคัญยิ่ง ดังที่ว่าเป็นองค์ของการตรัสรู้ แต่สําหรับคนทั่วไปซึ่งมองที่เรื่องราวว่า พระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกบางรูป สดับการสวดโพชฌงค์แล้วหายอาพาธ ก็จับมาใช้กันในความหมายที่เป็นปริตร) อย่างนี้เป็นต้น

ทีนี้มาดูมงคลสูตร ที่ว่าไม่เป็นปริตร ไม่ใช้สวดเพื่อป้องกันแก้ โรคแก้ภัยอะไร แต่สําคัญมาก คือใช้สวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต ทําชีวิตให้ดีงามเป็นมงคล ตรงนี้ดูให้ดี

ที่เราสวดปริตรเพื่อปกป้องรักษาตัวนั้น ชัดอยู่แล้วว่าสิ่ง สําคัญคือชีวิต ซึ่งเป็นเนื้อตัวของเรา เราจึงปกป้องรักษาชีวิตที่เป็น ตัวเรานั้นให้พ้นโรคพ้นภัย การป้องกันภัยเป็นเรื่องด้านนั้นด้านนี้ และชั่วครั้งชั่วคราว แต่ชีวิตที่เราจะป้องกันรักษานี่สิเป็นสิ่งที่เรา จะต้องดูแลทําให้ดีตลอดเวลา และชีวิตที่ดีที่เลิศประเสริฐนั่นแหละ จึงควรแท้แก่การที่จะปกป้องรักษา (ชีวิตที่ร้ายที่ไม่ดีบางทีก็เลยไม่ น่าจะป้องกันรักษาด้วยซ้ํา)

นี่แหละเป็นความสําคัญของมงคลสูตร คือ มงคลสูตรสวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต เพื่อทําชีวิตคือตัวเรานี้เอง ให้ดีมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นชีวิตที่ดีเลิศประเสริฐ ที่มีคุณค่าควรแก่การที่จะ ให้พระปริตรนั้นนี้มาปกปักรักษา พูดง่ายๆ ว่าทําชีวิตนี้ให้ดีมี คุณค่าเสียก่อนสิ แล้วจึงไปเรียกหาปริตรนั้นนี้มาคุ้มครองรักษา นี่แหละมงคลสูตรจึงต้องมานําหน้าปริตรทั้งหมด

@@@@@@@

ค. ได้มงคลสูตรไว้บทเดี๋ยวนี้ ก็มีฐานมั่นที่จะก้าวไปถึงจุดหมาย

มงคลสูตรมีธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะสร้างมงคลอันสูงสุดให้แก่ ชีวิตครบทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนตลอด เราก็มาตั้งเป้าที่ชีวิตของ ตัวๆ นี้ แล้วก็เรียนรู้ธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะทําให้ชีวิตของเราได้มงคล ครบทั้ง ๓๘ ประการ

อย่างที่ว่านี้ มงคลสูตรแสดงธรรมครบทั้งหมด ตั้งแต่สําหรับเด็กไปจนถึงผู้เฒ่าชรา ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติธรรมไปจนบรรลุนิพพาน แม้จะบอกไว้เป็นหลักกว้างๆ แต่ก็เป็นระบบที่จะแยกย่อยไปโยง กับธรรมข้อย่อยมากมายที่ทรงแสดงไว้ในที่อื่นๆ พูดง่ายๆว่า ครอบคลุมธรรมทั้งหลายได้ทั้งหมด จึงเชื่อมถึงบรรดาปริตรด้วย

ในตอนท้ายที่จะจบมงคลสูตรนี้เอง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ผู้ ที่สร้างมงคล ๓๘ ที่พระองค์ตรัสไว้นี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ ทุกสถาน ประสบความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นี่คือเท่ากับได้ ปริตรทั้งหลายมารวมครอบคลุมไว้ทุกประการ

การที่ท่านวางแบบแผนไว้ว่า เมื่อจะสวดพระปริตรทั้งหลาย ให้สวดมงคลสูตรนําก่อนนั้น น่าจะชวนให้นึกโยงไปถึงหลักทั่วไป ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ในธรรมวินัยนี้ มีอนุบุพสิกขา คือ การศึกษาตามลําดับ อนุบุญกิริยา คือการกระทําตามลําดับ อนุปุพปฏิปทา คือการปฏิบัติตามลําดับ (เช่น ขุ.อุ.๒๕/๑๑๘/๑๕๕) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องไป ไม่ใช่จะปฏิบัติข้ามขั้นตอนให้บรรลุถึงนั่นถึงนี้ ได้ปุบปับ เหมือนมหาสมุทรซึ่งตามปกติจะลาดลุ่มลึกลงไปๆ ไม่ฮวบฮาบอย่างลงเหว

ดังที่ว่าแล้ว มงคลสูตรมีข้อปฏิบัติครบถ้วน และพระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงไว้เป็นขั้นตอนตามลําดับ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบสูงสุด ทุกคนต้องไม่ประมาทในธรรม การสวดมงคลสูตรจึงเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรม ตรวจดูการปฏิบัติของตนให้ครบให้ถูกต้องสมควร เช่น ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะเจริญสมถวิปัสสนาให้แจ้งปรมัตถ์ ก็ต้องไม่ละเลยการเจริญประโยชน์ขั้นตาเห็นเป็นทิฏฐธัมม์ให้พร้อม ให้ดีไว้ เช่น บํารุงมารดาบิดา เลี้ยงดูบุตรธิดา เกื้อกูลภรรยา ทํา กิจการงานเข้มแข็งให้สําเร็จผลดี เป็นต้น

เมื่อรู้ตัวเห็นว่า อย่างน้อยเฉพาะหน้าเวลานี้ จะไม่สามารถ สวดมนต์มากมายได้ตามหลักให้ถึงแก่นแท้ที่เป็นการสาธยาย ก็ จับเอาแค่มงคลสูตรนี้แหละ ให้ได้เป็นหลักเป็นแกนไว้ มนต์บทอื่นๆ ก็สวดไปเท่าที่เคยได้ ยอมไปก่อน นี่คือ

    ๑. สวดมนต์ทุกครั้ง จะมีบทอื่นๆ อะไรบ้าง ก็ไม่ว่า แต่ต้องมี มงคลสูตร เป็นบทนําาอันเอกเสมอไป นี่คือว่าตามแบบแผนอยู่แล้ว)
    ๒. ถึงตอนสวดมงคลสูตรนั้น ต้องให้ได้ตามหลักจริงๆ คือให้ มีเนื้อแท้ที่เป็นการสาธยาย โดยมีสติระลึกได้นึกถึงทันทุกคําทุก ความที่เปล่งออกมา พร้อมด้วยปัญญารู้เข้าใจความหมายของคํา ความเหล่านั้น

    แล้วก็สํารวจตรวจสอบตัวเองว่าได้สร้างมงคลข้อนั้นๆ หรือยัง พร้อมทั้งมองเห็นธรรมเพื่อสร้างมงคลที่ตนจะตั้งใจปฏิบัติให้เกิดขึ้นต่อไป

@@@@@@@

เมื่อสวดมงคลสูตรได้สมจริงไว้บทหนึ่ง เป็นหลักเป็นแกน อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งมงคลสูตรนี้เป็นฐานที่มั่นไว้ แล้วต่อไป เมื่อเก่งขึ้น จะขยายไปเลือกบทอื่นๆ ที่จะสวดให้ครบเต็มตามหลักอย่างนี้ เพิ่มขึ้นไปๆ ก็ได้ และก็จะดี

ที่จริงก็แสนจะชัดอยู่แล้วว่า มงคลสูตรนี้ เป็นบทสวดมนต์ พื้นๆ ที่พระทั้งเมืองไทยสวดกันทั่วไป ทุกคนได้ฟัง ทั้งที่วัด ในบ้าน ทุกครั้งที่ทําบุญงานมงคล เพียงแต่ได้ยินผ่านๆ กันไป ไม่ได้สังเกต ไม่ได้ใส่ใจ

จะเป็นการดีงามเลิศประเสริฐแค่ไหน ถ้าทุกรูปทุกนามที่เป็นพุทธิกชนคนไทย ไม่ว่าพระหรือโยม ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สวด มงคลสูตรนี้ ได้ถูกต้องตามหลักของการสาธยาย (พร้อมทั้งมีใจรัก ที่จะปฏิบัติด้วย) ให้อันนี้เป็นจุดรวม เป็นฐานร่วมหนึ่งเดียวกัน ก็จะทําให้พระพุทธศาสนาในสังคมไทยมีฐานที่มั่นชัดด้วย

(ไม่ควรให้มีใครในที่ไหนๆ พูดได้ว่า คนพุทธไทยนั้น แต่มงคลสูตร สวดมนต์บทแรก ก็ไม่รู้เรื่อง)

คิดว่าได้พูดมามากนักหนาพอแก่การแล้ว ก็ว่ากันเท่านี้ก่อน

ท้ายนี้ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้มีฉันทะที่จะสวดมงคลสูตรให้เป็น หลักเป็นแกน และตั้งเป็นฐานที่มั่นไว้ อย่างที่ว่าแล้ว จึงนําเอา มงคลสูตรนั้น ทั้งคาถาภาษาบาลี และคําแปลภาษาไทยมาลงผนวกท้ายไว้

(ยังมีต่อ..)
23  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กมฺมุนา วตฺตตีโลโก | “วัฏจักรแห่งชีวิต” มี 10 ขั้นตอน เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 07:09:06 am
.



กมฺมุนา วตฺตตีโลโก | “วัฏจักรแห่งชีวิต” มี 10 ขั้นตอน

การศึกษาว่าด้วย “วิทยาศาสตร์สุขภาพ” ไม่ว่าจะเป็นสายทางโลกหรือสายทางธรรมไม่ได้แตกต่างกันเท่าใด หากวิเคราะห์ดูแล้ววงจรชีวิตของคน หรือที่ว่าด้วย “ชีวิต” หนี “กฎแห่งธรรมชาติ” ไม่พ้น ในวงจรชีวิตภาษาธรรมะ เวลาที่เราไปวัด โดยเฉพาะงานศพ ตอนสวดพระอภิธรรมจะพบเห็นตาลปัตรของพระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นสวดพระอภิธรรมว่า “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น” หรือจะเข้ากับ “ไตรลักษณ์” ที่ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว “วัฏจักรแห่งชีวิต” มี 10 ขั้นตอน

1. เกิด : เป็นช่วงที่เด็กทารกอยู่ในครรภ์มารดา ช่วงเวลา 9 เดือน เมื่อครบกำหนดคลอดออกมาดูโลก ด้วยอวัยวะครบ 32 ประการ มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 2,500-3,500 กรัม

2. เด็ก : เป็นช่วงอายุ 0-12 ปี เป็นเด็กอ่อน มารดาโอบอุ้มเลี้ยงดู กระตุ้นพัฒนาการให้มีสติปัญญาอารมณ์เข้ากับสังคมได้ดี เข้าเรียนวัยก่อนอนุบาล อนุบาล ประถมศึกษา เรียนรู้กล่อมเกลาจากครูอาจารย์

3. หนุ่ม : เป็นช่วงอายุทีนเอจ (Teenage) อายุ 13-19 ปี เด็กเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประมาณอายุ 17-18 ปี

4. รับปริญญา ประมาณอายุ 17-18 ปี เข้าเรียน “มหาวิทยาลัย” อีก 4-6 ปี ก็จะจบปริญญา ประมาณอายุ 21-24 ปี ได้รับความรู้ประสบการณ์จากอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อนๆ

5. เข้าทำงาน หรือได้รับการศึกษาประสิทธิ์ประสาทปริญญาแล้ว ไปสมัครงานเข้าทำงาน ไม่ว่าจะทำธุรกิจที่บ้านเอง รับราชการ เป็นลูกจ้างร้านค้า รัฐวิสาหกิจ มีเงินเดือนหารายได้เป็นของตัวเอง

6. แต่งงาน : พอมีเงินมีหลักมีฐาน พอมีรายได้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ก็จะพบคู่ คู่รัก คู่เพื่อน ช่วงวัย 25-35 ปี หากดวงสมพงศ์ก็จะเข้าประตูวิวาห์ตามกรอบวัฒนธรรมประเพณี มีหลักฐานของชีวิตตามที่พ่อแม่คาดหวังจากลูกทุกคนที่เป็นบัณฑิต มีครอบครัว เป็นหลักเป็นฐาน

7. เลี้ยงลูก : ครอบครัวที่อบอุ่นสมหวังคือการมี “ทายาท” ไว้สืบตระกูลเป็นชายก็ได้หญิงก็ดี เป็นลูกที่เกิดมาสมบูรณ์ครบทุกประการ เราทั้งสองที่เป็นคู่สามีภรรยาก็จะมีสถานะเป็น “คุณพ่อคุณแม่” ของลูกซึ่งจะเข้าวงจรที่เรา “จุติ” มาเกิดจากท้องพ่อ-แม่ของเรา และเลี้ยง “ลูก” ของเราให้เจริญเติบโต ฟูมฟักกล่อมเกลาเหมือนกับปู่ย่า ตายาย ที่คลอดและเลี้ยงเรามาอย่างน้อยก็ให้ดีเท่าหรือดีกว่าพ่อแม่ที่คลอด เลี้ยงเรามาพร้อมกับฐานะให้ “มั่นคง มีกิน มีใช้ ตามสมควร” เป็นรากฐานให้ลูก ช่วงนี้ก็จะอายุ 35-50 ปี

8. แก่ชรา : หากเรามีลูก 1-2 คน ท่านหากินอายุล่วงเข้า 50-60 ปีขึ้นไป เข้าสู่วัยทอง เข้าสู่วัยชรา หน้าที่นอกจากทำมาหากิน เราต้องดูแลสุขภาพกายและจิตของเรา เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย อารมณ์ เลี่ยงอบายมุขทั้งปวงด้วย ก็จะไม่ป่วยไข้และอายุยืนยาวในที่สุด

9. เจ็บป่วย : ด้วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึง 70-80 ปี ดูแลสุขภาพ “3อ 3ลด” จากที่กล่าวแล้วควรจะต้องตรวจเช็กสุขภาพกายใจทุกปี ปีละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะการเกิดโรคไม่ติดต่อ คือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจิตประสาท โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ เพราะเราสามารถจะป้องกันได้ด้วย “3อ 3ลด” แต่ด้วยเรื่องสังขารหนีไม่พ้น เรื่อง “การเจ็บป่วย” ด้วยวัยอันควรตามฐานะย่อมต้องเกิดแต่กว่าจะเกิดก็ขอให้อายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป และจะเข้าสู่บันไดข้อที่…

10. ตาย : ซึ่งเป็นบันไดขั้นสุดท้ายที่ทุกคนต้องถึงหลักชัยในชีวิตของทุกๆ คน พึงจะต้องถึงแน่ๆ แต่ขอให้จบชีวิตด้วย “ความสุขที่ได้บังเกิด อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี”




    ⦁ “วิถีทางแห่งชีวิต” ทางธรรมะ กล่าวว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนดับไปเป็นธรรมดา”

    ⦁ เราเกิดมาจากไหนใครไม่รู้ จะไปสู่แห่งไหนใครไม่เห็น จะตายเช้าหรือสาย บ่ายหรือเย็น ไม่มีเว้นทุกคนจนปัญญา แต่ว่าชีวิตที่เกิดมาจะเป็น “คนหรือมนุษย์”

    ⦁ “คน” เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นอยู่เหมือนสัตว์ทั้งหลาย คือ มีการกิน การนอน การกลัว การสืบพันธุ์

ส่วน “มนุษย์” นั้นสูงกว่า “คน” เพราะมีธรรมของมนุษย์ คือมี “เบญจศีล เบญจธรรม” มนุษย์มีความหมาย 2 อย่าง คือ
   1. ผู้มีใจสูง (มโน อุสฺโส อัสฺสาติ, มนุสโส)
   2. ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (หิตาหิตํ มนติชานาติ มนุสฺโส)
 
   ดังคำกลอนที่ว่า
  “เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง  เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
   ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน  ยอมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
   คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก  จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
   ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย  ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอย”


@@@@@@@

“คนกับกรรม” : คนทำความดีได้ง่าย แต่ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย แต่กลับทำดีได้ยาก แต่ที่ได้กล่าวเบื้องต้นแล้วว่า “คนกับมนุษย์” นั้นต่างกัน

   ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งที่ว่า มนุษย์ คือ สัตว์โลกที่มีจิตใจสูง มีเหตุผลมี “ศีลธรรม”
   ส่วนคน เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจต่ำ ไม่มีศีลธรรม ไม่มีเหตุผล
   คำว่า “มนุษยธรรม” จึงแปลว่า “ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์” ที่สมบูรณ์ทั้งร่ายกายและจิตใจ เมื่อพัฒนาจิตใจจาก “คน” ขึ้นมาเป็น “มนุษย์” ได้ก็ถือเป็น “คนดี” นั่นเอง

คำว่า “กรรม” เป็นคำกลางๆ แปลว่า “การ กระทำ” ทำดี เรียกว่า “กรรมดี” หรือ “กุศลกรรม” ทำชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว” หรือ “อกุศลกรรม” ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วนี้ทำได้หรือเกิดได้ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ (คิด)

ตัวอย่างง่ายๆ : เรารับประทานอาหาร เป็น “กรรม” กรรมอิ่มเป็นผลของกรรม คือ “วิบากของการรับประทาน” แล้วเราอิ่มก็เป็นของเรา คนอื่นจะอิ่มแทนเราไม่ได้ จึงเป็นกฎตายตัวเลยว่า ใครก็ตามที่ “ทำกรรม” แล้ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมเสมอ

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้และให้คิดอยู่เสมอว่า “เรามีกรรมเป็นของของตน จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม จะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ”

หรืออาจกล่าวได้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นี้เป็นกฎความจริงธรรมดา ที่จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เราปลูกต้นมะม่วงก็จะออกผลมาเป็นมะม่วง จะเป็นผลทุเรียนไปไม่ได้

มีผู้คิดอย่างพาลว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” นั้นอยากจะบอกว่านั่นไม่จริงหรอก คนที่พูดอย่างนี้ เพราะเขาทำความดีไม่เป็น ไม่เข้าใจว่าการทำดีนั้นจะต้องให้มี 3 ดี คือ “ถูกดี ถึงดี และพอดี”

ถูกดี : ก็คือ ทำดีให้ถูกกาลเทศะให้ถูกจังหวะ และพอเหมาะพอควร
ถึงดี : ก็คือ ทำดียังไม่ทันถึงดี ก็เบื่อหน่ายท้อแท้ เกียจคร้าน เลิกทำดีเสียแล้ว
พอดี : ก็คือ บางคนทำดีเกินพอดี ล้ำหน้าเพื่อนฝูง เอาเด่นเอาดังคนเดียว อย่างนี้จะดีได้อย่างไร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ทำดีต้องใจบริสุทธิ์”




    ⦁ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้นิมิต หลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้วเมื่อ 100 ปีกว่า กล่าวว่า

     “ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าเอาตัวไม่รอด
      เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้ บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ภพหน้า
      หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า…”


นี่คือคำเทศน์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อนึ่ง เรามักจะได้ยินได้ฟังเสมอว่า การทำบุญให้ทานจะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์ 6 ประการ คือ

    1. ก่อนให้มีใจผ่องใสชื่นบาน
    2. เมื่อกำลังให้จิตใจผ่องใส
    3. เมื่อให้แล้วก็มีความยินดีไม่เสียดาย
    4. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดราคะ
    5. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดโทสะ
    6. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดโมหะ

นั่นคือ ถ้าหากเรา “คิด พูด ทำ” ด้วยการทำ “กรรมดี”
    ไม่ฆ่าสัตว์ คนอายุยืน
   “ไม่เบียดเบียนสัตว์” สุขภาพดี
   “อดทนไม่โกรธ” ผิวพรรณดี
   “ไม่ริษยาคนอื่น” มีเดชานุภาพมาก
   “บริจาคทาน” มีสมบัติมาก
   “อ่อนน้อม” มีตระกูลสูงศักดิ์
   “คบแต่บัณฑิต” มีปัญญามาก
“ผลการทำกรรมดี ย่อมได้ผลดีตามมา” นั่นคือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”

    @@@@@@@

ท้ายสุดขอฝากแฟนๆ มติชนทุกท่าน ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวให้ปลอดจากโรคไวรัสโควิด-19 ด้วยหลัก 5 ประการ คือ

    1. เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ตัวเราเองให้ครบ อย่าลืม “3อ” ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อารมณ์ดี 3ลด : ลดอ้วน ลดละเหล้า ลดละบุหรี่
    2. ใส่ Mask 100% ทุกที่ทุกเวลา
    3. กินร้อนช้อนส่วนตัว อาหารจานเดียว แยกกันทาน
    4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ แอลกอฮอล์
    5. สังเกตตัวเอง ถ้ามีอาการไข้หวัด ไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา หายใจขัด รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ไงเล่าครับ

                                            ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร
                                                   อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข






ขอบคุณที่มา : https://www.matichon.co.th/article/news_2905914
วันที่ 26 สิงหาคม 2564 -12:33 น. | ผู้เขียน : วิชัย เทียนถาวร
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพรหมที่ยังมีลมหายใจ เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 06:46:00 am
.



พระพรหมที่ยังมีลมหายใจ
คอลัมน์ทำมาธรรมะ โดย ราชรามัญ

ผมเคยไปเป็นวิทยากรที่โรงเรียนวิถีพุทธปัญญาประทีป ในอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา อยู่ติดกับสำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี พอทราบว่ามีพระเถระรูปสำคัญอย่างท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ ปยุตฺโต)​ และท่านพระอาจารย์ชยสาโร พำนักจำวัดอยู่ ยิ่งทำให้หัวใจพองโตยิ่งนัก

พระอาจารย์ชยสาโร เคยพบท่านครั้งแรกสมัยผมเป็นนักเขียนในนิตยสารโลกทิพย์ ไปกราบท่าน สนทนากับท่านที่วัดป่านานาชาติ เป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง ที่อุบลราชธานี ขณะนั้นท่านเป็นประธานสงฆ์ หรือ เจ้าอาวาส ที่นั่นมีแต่พระภิกษุชาวยุโรป อเมริกา และทั่วโลกจำวัดศึกษาปฏิบัติธรรม จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว...

วันนี้พระอาจารย์ชยสาโร พระป่าสายหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเป็นพระราชาคณะชั้นรอง ที่พระพรหมพัชรญาณมุนี ก็ต้องเรียกท่านด้วยความเคารพว่า ท่านเจ้าคุณ จึงเหมาะแก่กาลเทศะยิ่ง

ท่านเป็นพระที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่ธรรม และมีปฏิปทาที่งดงามเพียบพร้อมศีลและธรรม ท่านอธิบาย เรื่องภาวะอารมณ์ของการปฏิบัติธรรม ในแต่ละช่วงแต่ละตอนได้อย่างละเอียดมากกว่าที่ตำราเขียนไว้ เพราะทุกถ้อยคำล้วนมาจากประสบการณ์จริงที่ท่านได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

@@@@@@@

ครั้งหนึ่งเคยกราบเรียนถามท่านว่า มาศึกษาธรรมะ นั่งสมาธิภาวนาแบบนี้ เคยพบเทวดาบ้างไหม ถามครั้งแรกท่านก็ยิ้มน้อยๆ แต่ไม่ตอบ ถามครั้งที่ 2 ท่านก็นิ่งเฉย พอถามครั้งที่ 3 ท่านก็เลยเบาๆว่า

"เป็นธรรมดาของนักปฏิบัติ"

การถาม เป็นการที่ผมอยากรู้จริงๆ ว่าเทวดาจะมาหาแต่พระไทยหรือไม่ ปรากฏว่า จากคำตอบของท่านก็ทำให้อนุมานทราบได้ว่า เทวดานั้น มิได้เลือก ว่าเป็นพระไทยหรือพระต่างประเทศ ถ้ามีปฏิปทางดงามยิ่ง ก็จะเกิดความเคารพศรัทธาคอยดูแลปกป้อง ให้รอดปลอดภัย ในการดำรงสมณะเพศ

อีกสิ่งหนึ่งที่ บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน คือท่านเป็นพระที่มากด้วยความเมตตา ความกรุณาเต็มหัวใจ ท่านมองโลกมองบุคคลทั้งหลาย ด้วยพึงอาศัยหลักแห่งธรรมในเชิงกุศล หรือพูดง่ายๆ ว่าท่านเป็นคนที่มีแนวคิด ทัศนคติไปในเชิงบวก โดยมีหลักธรรมสอดแทรกในการพิจารณาอยู่ตลอดเวลา




แม้ว่าท่านจะได้รับการแต่งตั้งมีสมณศักดิ์ แต่ปฏิปทาในการปฏิบัติตามแนวทางวัดป่าของท่านนั้นก็ไม่เคยเปลี่ยน เคยฟังท่านอธิบายอารมณ์ภาวนาสมาธิ เรื่องฌาน 4 นี่ฟังเป็นของง่ายไปเลยแต่ความจริงต้องใช้ขันติบารมีในการปฏิบัติมากพอควร
 
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสกับตนเอง เมื่อคราวพบท่านที่วัดป่านานาชาติครั้งนั้น นั่งใกล้ๆ ท่านแล้วสามารถสัมผัสกระแสไอเย็นปีติพัดผ่านทุกซอกของหัวใจได้อย่างชนิดที่มีน้ำตาซึมขณะได้ฟังธรรมร่วมกับญาติธรรมคนอื่นๆ

พอท่านนำภาวนาไปสัก 40 นาที เมื่อถึงเวลาพัก ครั้นพอท่านลืมตาขึ้น แววตาของท่านใสเป็นประกายดุจเพชรมีน้ำนัยตาเออใส คล้ายพระอริยสงฆ์เพิ่งออกจากสมาบัติธรรม 

จำได้ติดตากับภาพ... หลังท่านฉันกังหันแล้ว (ฉันข้าวมื้อเดียว) เป็นการฉันรวมในบาตร คือ เดินตักอาหารที่ญาติธรรมถวายตักใส่บาตร ทั้งคาวแลหวานและผลไม้รวมกันในบาตร เมื่อฉันแล้วล้างบาตรเอง เก็บผ้าปูอาสนะเอง มีผ้าขาวมาช่วยบางครั้ง

ผ้าขาว คือ ผู้ถือศีลแปดเป็นชาวต่างชาติ ก่อนจะบวชธรรมเนียมพระสายหลวงพ่อชาจะให้เป็นผ้าขาวก่อนเพื่อดูจริตนิสัย และฝึกฝนอบรมอุปนิสัยแห่งนักบวชก่อน ก่อนที่จะบวชให้
 
@@@@@@@

วันนี้ท่านเป็นพระราชาคณะที่รองสมเด็จ ราชทินนามว่า พระพรหมพัชรญาณมุนี ท่านเป็นดุจพระพรหมที่มีลมหายใจอันอุดมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตามคำสอนแห่งพรหมวิหารสี่ ขององค์พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นหน่อเนื้อแห่งโพธิธรรม ที่เกิดในแผ่นดินที่เจริญด้วยวัตถุ วิทยาศาสตร์ ในสหราชอาณาจักร แต่ทว่าจิตวิญญาณมุ่งมั่นในด้านพุทธธรรม นับได้ว่า วาสนาบารมีธรรมของท่านแต่เก่าก่อนย่อมพอดีพอธรรมอย่างสุดที่จะหาคำใดเทียบเคียงได้

ใครมีโอกาสได้กราบสักการะท่าน มักจะได้รับธรรมะสมควรแก่ตนเสมอ เพราะท่านมักซ่อนกายหลีกเร้นศึกษาปฏิบัติธรรม พระดีพระแท้แบบนี้นับวันจะหายากครับ





Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/596120
16 พ.ค. 2567 | 04:30 น.
25  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดประวัติ พระธรรมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรองคนใหม่ เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 06:39:01 am

.



เปิดประวัติ พระธรรมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรองคนใหม่

พระธรรมพัชรญาณมุนี หรือพระอาจารย์ชยสาโร ได้รับการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม โปรดสถาปนาให้พระธรรมพัชรญาณมุนี ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคนใหม่ มีประวัติอย่างไร

@@@@@@@

ประวัติ พระธรรมพัชรญาณมุนี

พระธรรมพัชรญาณมุนี หรือพระอาจารย์ชยสาโร มีชื่อเดิมว่า ฌอน ไมเคิล ชิเวอร์ตัน เกิดบนเกาะไอล์ออฟไวท์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2501 ในปี 2521 ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อชา (ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร) ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2523 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน 2523 ได้อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อครบการฝึกตนเป็นพระนวกะ 5 พรรษาแล้ว พระอาจารย์ชยสาโรได้ออกธุดงค์และปลีกวิเวกจนถึงช่วงเข้าพรรษาปี 2529 ท่านจึงเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านอยู่ที่วัดป่านานาชาติเป็นส่วนใหญ่โดยรับหน้าที่เป็นรองเจ้าอาวาส

ตลอดระยะเวลาหลายปีหลังจากนั้น ท่านได้สลับหมุนเวียนระหว่างช่วงเวลาในการปลีกวิเวกและการปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งในคณะสงฆ์ ระหว่างนี้ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์อาวุโสในการเขียนเรียบเรียงชีวประวัติของหลวงพ่อชา ซึ่งท่านตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า ‘อุปลมณี’ ในปี 2540 ท่านได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติจนถึงสิ้นปี 2545

ตั้งแต่ต้นปี 2546 พระอาจารย์ชยสาโรได้ปลีกวิเวกมาพำนักอยู่ที่อาศรมชนะมาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และพร้อมไปกับการมุ่งต่อกิจส่วนตัวของท่าน พระอาจารย์ยังนำปฏิบัติธรรมให้ญาติโยมเป็นระยะๆ ที่สถานที่ปฏิบัติธรรมบ้านบุญ รวมถึงมีบทบาทในการนำหลักการพัฒนาชีวิตวิถีพุทธเข้าสู่ระบบการศึกษา

@@@@@@@

พระอาจารย์ชยสาโรได้เขียนหนังสือธรรมะทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้มากมาย โดยจำนวนหนึ่งมีการนำไปแปลเป็นภาษาอื่นๆ งานเขียนภาษาอังกฤษชิ้นล่าสุดของท่าน คือ ‘Stillness Flowing’ เป็นงานชิ้นสำคัญซึ่งบันทึกชีวประวัติและคำสอนของหลวงพ่อชาโดยละเอียด

ในปี 2554 พระอาจารย์ชยสาโรได้รับมอบปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ในสาขาวิชาธรรมนิเทศจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และในปี 2562 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระราชพัชรมานิต จากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี 2563 ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพพัชรญาณมุนี และได้รับพระราชทานสัญชาติไทย ทั้งนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) ได้เมตตาตั้งนามสกุลภาษาไทยให้ว่า 'โพธานุวัตน์' และในปี 2564 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมพัชรญาณมุนี

ล่าสุด วันที่ 13 พ.ค. 2567 พระธรรมพัชรญาณมุนี ได้รับการโปรดสถปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึก ในหิรัญบัฏว่า พระพรหมพัชรญาณมุนี ศรีวิปัสสนาธุราจารย์ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ วิสิฐสีลาจารดิลก สาธกธรรมวิจิตร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ สถานพํานักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป






Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2785292
13 พ.ค. 2567 18:31 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ > ไทยรัฐออนไลน์
ข้อมูลอ้างอิง : มูลนิธิปัญญาประทีป
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดประวัติ หลวงปู่ศิลา ตำนานภาพปิดทองหลังพระของจริง เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2024, 06:20:07 am
.



เปิดประวัติ หลวงปู่ศิลา ตำนานภาพปิดทองหลังพระของจริง

เปิดประวัติ หลวงปู่ศิลา ตำนานภาพปิดทองหลังพระของจริง ลูกศิษย์ลูกหาหลั่งไหลเข้ากราบวันละนับหมื่นคน

เฟซบุ๊กเพจ ศรัทธาบารมี หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้แชร์เรื่องราวตำนานปิดทองหลังพระ โดยระบุว่า "ครั้งหนึ่งมีผู้ศรัทธาท่านหนึ่ง เห็นภาพหลวงปู่ศิลาในเฟซบุ๊ก ไม่รู้จักหลวงปู่มาก่อน คิดว่าหลวงปู่ท่านละสังขารแล้ว แต่เกิดปิติศรัทธา

จึงบนบานกับภาพในเฟซนั้นในสิ่งที่ตนทุกข์ใจอยู่ว่า หากสำเร็จจะไปปิดทองรูปเหมือนหลวงปู่ที่วัด ปรากฏว่า ทุกอย่างผ่านพ้นได้ตามคำบนประสงค์ จึงสุ่มเดามาที่วัด ซึ่งยุคนั้นที่วัดไม่มีรูปเหมือนหลวงปู่เลย มีแต่องค์จริงท่านนั่งอยู่บนกุฏิสองผัวเมียจึงขอโอกาสแก้บนโดยการปิดทอง หลวงปู่ก็เมตตา

ที่วัดพระธาตุหมื่นหินและธรรมอุทยาน จึงมีรูปหล่อหลวงปู่ไว้ให้ท่านปิดทอง เชิญทุกท่านกราบขอพร ปิดทองตามอัธยาศัย ขอบารมีหลวงปู่คุ้มครองให้ทุกท่านมีโชคลาภ อำนาจ วาสนา เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ประสบสิ่งอันพึงปรารถนาทุกทิพาราตรีกาลเทอญ"

เรื่องนี้นับเป็นหนึ่งในเรื่องที่ลูกศิษย์ของหลวงปู่ศิลา หรือ หลวงปู่มหาศิลา แชร์ในเรื่องของความศรัทธา ปาฏิหาริย์ต่างๆ ซึ่งหลวงปู่มีเมตตากับประชาชนที่เข้ามากราบไหว้




โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลาสิริจันโทบ้านแกเปะ ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ศิษยานุศิษย์ พุทธศาสนิกชนได้เข้าร่วมพิธีถวายกุฏิพระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลาสิริจันโท)

โดยมีนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการจากหลายหน่วยงานร่วมจุดธูปเทียนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นพระสงฆ์ได้สวดเจริญพระพุทธมนต์และเจริญชัยมงคลคาถาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมงาน

โดยหลวงปู่ศิลาสิริจันโท ได้มอบให้พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ (ชัยชุตินธโร) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน (ธ) เป็นตัวแทนกล่าวโอวาทธรรมเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งมีใจความหนึ่งว่า

“เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ดีพอแฮงแล้วหละ ได้พบพระพุทธศาสนาก็เป็นของดีพอแฮงแล้วหละ ได้รู้แจ้งทางโลกทางพรหมโลกทางสวรรค์จนฮอดพระนิพพานพู้นหละกะ เป็นของดีแล้วหละ ให้ปฏิบัติเอาให้หมั่นทำบุญทำทาน ให้หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล”

หลวงปู่ศิลาสิริจันโท ยังได้เป่าสังข์แสดงพลังว่ายังแข็งแรงดีอยู่ ทำให้ลูกศิษย์ต่างสาธุขอให้องค์หลวงปู่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เผยแผ่พุทธศาสนาและบารมีให้ลูกศิษย์ลูกหาได้พึ่งพาอาศัยบารมีหลวงปู่นานๆ ด้วย





ประวัติหลวงปู่มหาศิลา

หลวงปู่พระมหาศิลาสิริจันโทมีนามเดิมชื่อ ศิลา นิลจันทร์ เกิดเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2488 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา ปัจจุบันอายุ 78 ปี เป็นบุตรของนายแก่น และนางน้อย นิลจันทร์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อครั้งอายุ 15 ปี ณ วัดธาตุประทับ และอุปสมบทสังกัดมหานิกายเมื่อปี พ.ศ.2509 ณ วัดบูรพาภิราม จ.ร้อยเอ็ด โดยพระสิริวุฒิเมธี (เจ้าคณะ จ.ร้อยเอ็ด สมัยนั้น)

หลวงปู่พระมหาศิลาศึกษาปริยัติอย่างมุ่งมั่นจนสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 6 ประโยครับพัดเปรียญกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เมื่อปี พ.ศ.2515 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และได้รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนที่ รร.วัดนิคมคณาราม จ.ร้อยเอ็ด และรับหน้าที่เป็นพระที่สวดปาฏิโมกข์ในการลงอุโบสถของคณะสงฆ์ตลอดมา

เมื่อแตกฉานด้านปริยัติแล้ว หลวงปู่พระมหาศิลาได้จาริกแสวงบุญปลีกวิเวกไปหลายจังหวัด เช่น จ.อุดรธานี จ.หนองคาย จ.ชัยภูมิ ได้เดินธุดงค์ป่า ณ ภูเขา อ.สังคม จ.หนองคาย สู่ภูเขาควาย สปป.ลาว ในปี พ.ศ.2517 เดินทางไปกับหลวงพ่อบ้านชาติ วัดบ้านชาติ จ.ร้อยเอ็ด (มรณภาพแล้ว) ได้พบกับครูบาอาจารย์มากมาย เช่น หลวงปู่ทองมาถาวโร, หลวงปู่มหาบุญมีสิรินธโร, หลวงปู่ลีกุสลธโร และเป็นสหธรรมมิกกับครูบาอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงพ่อสมานธัมรักขิตโต, หลวงปู่หนูอินทวัณโณ, หลวงปู่สมสิทธิ์รักขิสีโล, หลวงปู่ล้อมสีลสังวโร




หลวงปู่พระมหาศิลาได้ร่ำเรียนวิปัสนาและเรียนอักษรธรรมลาว อ่านหนังสือจากใบลานอีสานได้อย่างแตกฉาน และได้ศึกษาคัมภีร์ใบลานสายสมเด็จลุนจาก สปป.ลาว หลายฉบับศึกษาจนแตกฉาน

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา หลวงปู่พระมหาศิลาได้ปลีกวิเวกหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นป่าช้าร้างหลายแห่ง จนหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีสะอาดซึ่งเคารพนับถือท่านมากได้กราบนิมนต์ท่านมาจำพรรษาที่วัด โดยหลวงปู่ประสงค์จะปลีกวิเวก ณ สวนสงฆ์บ้านแกเปะ เหล่าศิษยานุศิษย์จึงร่วมกันสร้างกุฏิถวายหลวงปู่ศิลาได้จำพรรษาตลอดมา

พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม ได้มีความเลื่อมใสในองค์หลวงปู่ได้นิมนต์ท่านขึ้นไปร่วมงานพุทธาภิเษกพระกริ่งวัดสุทัศน์ฯ และหลายวัดในภาคอีสานจะกราบอาราธนาหลวงปู่ไปร่วมปรกแทบทุกงาน เนื่องจากเหล่าศิษยานุศิษย์ได้ประจักษ์แก่สายตาเรื่องพุทธาคมวัตรปฏิบัติ ความเมตตา ความสันโดษ และเรื่องญาณหยั่งรู้ที่ท่านสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างน่าอัศจรรย์






Thank to :-
ภาพจาก : facebook ศรัทธาบารมี หลวงปู่ศิลา สิริจันโท
URL : https://www.amarintv.com/article/detail/64721
Powered by amarintv | 14 พ.ค. 67
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฤดูฝนนี้ไทยจะเป็นอย่างไร หากเอลนีโญกำลังจากไป และลานีญากำลังจะมาแทน เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2024, 06:52:08 am
.



ฤดูฝนนี้ไทยจะเป็นอย่างไร หากเอลนีโญกำลังจากไป และลานีญากำลังจะมาแทน

Summary

  • โลกร้อนขึ้นจนหลายคนสัมผัสได้อย่างชัดเจนและกำลังมาพร้อมภัยธรรมชาติที่กำลังกระทบไปทั่วโลก
  • ปัจจุบันองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) คาดการณ์ว่าเอลนีโญจะสิ้นสุดในช่วงนี้จนถึงเดือนมิถุนายน และจะเปลี่ยนเป็นปรากฏการณ์ลานีญาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม
  • โอกาสที่ปรากฏการณ์ลานีญาเข้ามาแทนเอลนีโญจึงเป็นที่น่าเป็นห่วงว่ารัฐไทยจะมีแผนรับมืออย่างไรกับพายุฝนและน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงฤดูฝนที่กำลังใกล้เข้ามาในอีกไม่ช้า
   


 :96: :96: :96:

โลกร้อนขึ้นจนหลายคนสัมผัสได้อย่างชัดเจนและกำลังมาพร้อมภัยธรรมชาติที่กำลังกระทบไปทั่วโลก ซึ่งไม่กี่เดือนมานี้ หลายคนอาจเห็นข่าวคราวที่น่าผวากับภัยธรรมชาติในหลายประเทศ เช่น น้ำท่วมดูไบเพราะฝนตกหนักที่สุดในรอบ 75 ปี และเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดที่อินโดนีเซียและคำเตือนว่าจะเกิดสึนามิ

หลังจากเมื่อปีที่แล้วสำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) จะมีความรุนแรงมากในช่วงสิงหาคม 2566-มีนาคม 2567 และจะลดลงไปสู่ระดับอ่อนถึงปานกลางในพฤษภาคม 2567 ซึ่งถ้าเอลนีโญปรับระดับเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปี 2567 ก็อาจยาวนานยืดเยื้อไปถึงปี 2568

แต่ปัจจุบันองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) กลับคาดการณ์ว่าเอลนีโญจะสิ้นสุดในช่วงนี้จนถึงเดือนมิถุนายน และจะเปลี่ยนเป็นปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม

หากใครยังจดจำกันได้ ลานีญา (La Niña) เคยเกิดขึ้นในไทยมาแล้ว และเป็นสาเหตุน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 ช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและฝนตกหนัก




ส่วนเอลนีโญเป็นผลตรงกันข้ามคือทำให้ประเทศไทยขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง เนื่องจากทิศทางกระแสลมทำให้กระแสน้ำอุ่นไปทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่งผลให้ฝั่งอเมริกาใต้ฝนตกมากขึ้น ซึ่งความรุนแรงของเอลนีโญและลานีญาจะแตกต่างออกไปในแต่ละปี เช่น เมื่อปี 2020 ก็เกิดปรากฏการณ์ลานีญา แต่มีกำลังอ่อนทำให้ฝนตกหนักกว่าปี 2019 เท่านั้น

แต่เนื่องด้วยวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเมื่อปี 2023 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ปี 1850 และกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การพยากรณ์เป็นไปอย่างยากลำบาก อีกข้อสำคัญคือการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิไม่ได้ขึ้นอยู่กับการพยากรณ์เอลนีโญและลานีญาทำให้การคาดเดาผลกระทบอาจเป็นไปได้ยากในสภาพอากาศที่แปรปรวนหนักขึ้นเรื่อยๆ

โอกาสที่ปรากฏการณ์ลานีญาจะเข้ามาแทนเอลนีโญจึงเป็นที่น่าเป็นห่วงว่ารัฐไทยจะมีแผนรับมืออย่างไรกับพายุฝนและน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงฤดูฝนที่กำลังใกล้เข้ามาในอีกไม่ช้า



ประเทศไทยจะกระทบหนักแค่ไหน.?

หากประเทศไทยเกิดลานีญาย่อมมีผลกระทบแน่นอน ซึ่งผลคาดการณ์เดือนเมษายน 2024 ของ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมอุณหภูมิสูงกว่าปกติ และปริมาณฝนมีค่าใกล้เคียงกับค่าปกติ แต่จะมีฝนตกชุกบริเวณภาคกลางตอนล่าง และฝั่งตะวันตกของภาคอีสาน

อีกทั้งยังคาดว่า จะเกิดปรากฏการณ์เอนโซ (ENSO : El Niño-Southern Oscillation) หรือสภาวะที่เป็นกลาง หมายความว่าเป็นช่วงที่ทั้งเอลนีโญและลานีญาไม่ได้มีพลังอยู่ ซึ่งก็คือในช่วงนี้ที่สภาวะเอลนีโญกำลังอ่อนลงและเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน หลังจากนั้นมีโอกาสถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2024




นอกจากนี้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเขตศูนย์สูตรก็เริ่มเย็นลงในเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เป็นผลต่อเนื่องจากเอลนีโญที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม องค์กรทั่วโลกยังคงบอกว่าสถานการณ์ตอนนี้ยังคงต้องติดตามต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด ซึ่งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) แนะนำว่าควรสังเกตการใช้แบบจำลองในการคาดการณ์ เพราะบางแบบจำลองตามฤดูกาลมีประสิทธิภาพต่ำ

สิ่งสำคัญคือ เอลนีโญและลานีญาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศโลกและท้องถิ่น การประเมินแนวโน้มต้องคำนึงถึงผลกระทบ และปัจจัยทางสภาพอากาศอื่นๆ ในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย

แม้พยากรณ์จากหลายสำนักจะคาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เรายังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเมื่อสภาพภูมิอากาศยากจะคาดเดาขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมแผนรับมือจึงเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวพวกเราทุกคน และความประมาทต่อสภาพภูมิอากาศในยุคโลกรวน อาจนำไปสู่หายนะที่ไร้หนทางแก้ก็เป็นได้






ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : thehill.com , climate.copernicus.eu , media.bom.gov.au
URL : https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/104388
Thairath Plus › Nature Matter › Environment | 25 เม.ย. 67 | creator : ณัฏฐ์นรี เฮงสาโรชัย 
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ที่เที่ยวสายบุญ Unseen ภูเก็ต วัดพระทอง ไหว้พระผุด หนึ่งเดียวของไทย เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2024, 06:28:18 am



ที่เที่ยวสายบุญ Unseen ภูเก็ต วัดพระทอง ไหว้พระผุด หนึ่งเดียวของไทย

ที่เที่ยว ในภูเก็ต ไม่ได้มีแค่ทะเลและบรรดาเกาะที่สวยงาม ครั้งนี้เราพาขึ้นบก ไหว้พระผุด ที่วัดพระทอง ที่เที่ยวสายบุญ Unseen หนึ่งเดียวของไทยที่หลายคนยังไม่รู้จัก




วัดพระทอง หรือ วัดพระผุด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มองภายนอกอาจดูเหมือนวัดพุทธทั่วไป แต่ภายในวัดมีพระพุทธรูปประดิษฐานในรูปแบบที่แตกต่างไปจากที่อื่น นั่นคือ พระผุด พระพุทธรูปองค์ใหญ่แต่โผล่พ้นผืนดินเพียงครึ่งองค์เท่านั้น ส่วนเรื่องราวความเป็นมานับว่าน่าสนใจมากทีเดียว






ประวัติวัดพระทอง

วัดพระทอง เดิมที่ตั้งวัดเป็นที่นา มีน้ำไหลผ่าน มีลำคลอง มีทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงโด กระบือ ชาวเมืองถลางในสมัยนั้นเรียกทุ่งนี้ว่า "ทุ่งนาใน" น้ำในลำคลองไหลมาจากน้ำตกโตนไทรเทือกเขาพระแทว มีหมู่บ้านบ่อกรวดและหมู่บ้านนาใน อยู่สองข้างลำคลอง ต่อมาทุ่งนาในมีคนอยู่อาศัยมากขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านนาใน" จนถึงปัจจุบัน

วัดพระทองตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.2328 ต่อมาในปี พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศเป็นพระบรมโอรสาธิราช ได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดพระทอง" วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 ตุลาดม 2523 เขคพระราชทานวิสุงคามสีมา อยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารพระทอง(พระพุด) กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร วัดมีเนื้อที่ 35 ไร่ 68 ตารางวา









ประวัติหลวงพ่อพระทอง (พระผุด)

มีคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ในจังหวัดภูเก็ต เล่าว่า เมื่อสมัยสองพันปีเศษ ตระกูลเจ้าเมืองจีน (เซี่ยงไฮ้) ได้หล่อองค์พระด้วยทองคำ เดิมมีชื่อว่า "กิมมิ่นจ้อ" ต่อมาเซี่ยงไฮ้ได้พ่ายแพ้สงครามแก่ชนชาติทิเบต ชาวทิเบตจึงนำองค์หลวงพ่อลงเรือมาทางทะเลผ่านมาทางมหาสมุทรอินเดีย เพื่อนำกลับประเทศทิเบต ระหว่างการเดินทางเกิดพายุพัดทำให้เรือล่มบริเวณชายฝั่งแถบจังหวัดพังงาเรือและองค์หลวงพ่อจึงจมลงทะเล

ด้วยเวลาที่ยาวนานเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ทำให้บริเวณที่เรือจมเกิดเป็นแผ่นดินขึ้น คือเกาะภูเก็ตในปัจจุบัน ต่อมาชั้นดินบริเวณองค์หลวงพ่อเกิดทรุดตัวลงเนื่องจากอยู่ใกล้ลำคลอง องค์หลวงพ่อจึงผุดขึ้นมาให้เห็นเพียงพระเกตุมาลา สูงประมาณ 1 ศอก คนจีนเรียกว่า "พู่ฮุก" ส่วนองค์พระนั้นยังดงอยู่ใต้ดินจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจึงได้หล่อองค์พระพุทธรูปครึ่งองค์สวมองค์พระทอง (พระผุด) ไว้

@@@@@@@

ตำนานเรื่องเล่า พระผุดศักดิ์สิทธิ์

มีตำนานเล่าต่อกันมาด้วยว่า แต่เดิมบริเวณที่พบองค์หลวงพ่อพระทองที่เป็นทุ่งนานั้น ได้เกิดพายุพัด ฝนตก น้ำท่วม วันหนึ่งหลังจากฝนหยุดแล้ว ได้มีเด็กชายคนหนึ่งนำกระบือไปเลี้ยงยังทุ่งนาใน เด็กหาที่ผูกเชือกกระบือใกล้ริมลำคลองไม่ได้ แต่พบเห็นสิ่งหนึ่งลักษณะเหมือนไม้แก่นอยู่ใต้โคลนตม จึงได้นำเชือกกระบือไปผูกไว้ ต่อมาเด็กคนดังกล่าวกลับมาบ้านได้เกิดเจ็บป่วยเป็นลมลัมตายในเวลาเช้านั้นเอง และกระบือที่ผูกไว้ก็ตายไปเช่นเดียวกัน

พอตกกลางคืน พ่อของเด็กชายฝันว่าเด็กได้นำเชือกกระบือไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูปทองคำที่จมอยู่ในดิน เช้าวันต่อมาพ่อของเด็กและชาวบ้านจึงได้นำน้ำไปล้างขัดถู จึงพบว่าที่ผูกเชือกเป็นพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป ชาวบ้านจึงได้แห่กันกราบไหว้บูชาและแจ้งให้เจ้าเมืองทราบ เจ้าเมืองได้สั่งการให้ขุดพระพุทธรูปขึ้นมาเพื่อบูชา แต่ขุดอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ด้วยเกิดเหตุอาเพศ เช่น ตัวต่อ ตัวแตน มาทำร้ายผู้ชุด จึงได้สั่งให้จัดทำสถานที่กราบไหว้บูชาไว้แทน โดยมุงหลังดาเพื่อบังแดดบังลมไว้ก่อนที่จะมีการตั้งวัดขึ้นในเวลาต่อมา

ปัจจุบันพระผุดเป็นองค์พระพุทธรูปปิดทองเหลืองอร่ามสวยงาม แม้ผุดขึ้นมาจากพื้นเพียงครึ่งองค์ แต่เป็นที่เคารพของชาวพุทธในพื้นที่เป็นอย่างมาก

นอกจากการกราบสักการะพระผุดแล้ว ที่วัดแห่งนี้ยังมี พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง ที่เก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ตในยุคแรก ๆ ให้ชมอีกด้วย







วัดพระทอง หรือ วัดพระผุด

    ที่ตั้ง : หมู่ที่ 7 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
    เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชม : 08.00-17.30 น.
    โทร : 076 274126
    พิกัด : https://maps.app.goo.gl/PjZGKNYAA1GZbKNy5

ชมภาพทั้งหมดได้ : https://www.sanook.com/travel/1447739/gallery/





Thank to : https://www.sanook.com/travel/1447739/
Uranee Th. : ผู้เขียน | 13 พ.ค. 67 (15:28 น.)
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “พระพรหมเสนาบดี” ย้ำพระธรรมทูต ต้องรักษาวินัยตามแบบคณะสงฆ์ไทย เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2024, 06:20:31 am
.



“พระพรหมเสนาบดี” ย้ำพระธรรมทูต ต้องรักษาวินัยตามแบบคณะสงฆ์ไทย

"พระพรหมเสนาบดี" เปิดประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก พร้อมนำคณะสงฆ์ไทยร่วมงานเฉลิมฉลองวิสาขบูชา ที่ไต้หวัน

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ มอบหมายให้ พระพรหมเสนาบดี เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา กรรมการ มส. เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคา ในฐานะรองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปที่ 1 ไปเป็นประธานการประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก (UTEA) สมัยสามัญครั้งที่ 2/2567 ที่วัดพระธรรมกายไทเป กรุงนิวไทเป สาธาณรัฐจีน (ไต้หวัน)

โดยมีพระธรรมทูตไทยจากสมัชชาสงฆ์ไทยในญี่ปุ่น สหภาพพระธรรมทูตไทยในยุโรป สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ โอเชียเนีย อินโดนีเชีย แอฟริกา วิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) และผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เข้าร่วมประชุมจำนวน 100 รูป/คน เมื่อวันที่ 10 -13 พ.ค.




ทั้งนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้มีสารแสดงธรรมคติ ในการประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก (UTEA) สมัยสามัญครั้งที่ 2/2567 ว่า งานพระธรรมทูตนั้น เป็นมรดกธรรมที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดประทานไว้ให้แก่พุทธบริษัท ซึ่งได้มอบหน้าที่อันสำคัญ คือ การบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อการเกื้อกูลแก่พหุชนเป็นอันมาก พร้อมทั้งสามารถเป็นหลักใจ และเป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และสาธุชนนานาอารยประเทศ เป็นเครื่องหล่อหลอมความสามัคคี เพิ่มพูนความดีเป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรม จริยธรรมของสังคม เป็นศูนย์รวมแห่งวิถีชีวิตของพุทธบริษัท การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในต่างประเทศนั้น

นอกจากจะเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังจะต้องนำเอาศิลปวัฒนธรรม ภาษา และประเพณีไปเผยแพร่อีกด้วย และส่งเสริมการสร้างสันติภาพด้วยสันติธรรม พระธรรมทูตจึงเป็นผู้สร้างสันติภาพโดยแท้ ในโอกาสนี้ ขอย้ำจริยาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ให้พึงตระหนักในสมณภาวะ คือ การใช้สติ และปัญญา ให้สมดุลกัน หมายถึงเราอาจจะรู้ทุกอย่าง แต่ก็ไม่สู้รู้ตัวว่า เรามีภาวะ ฐานะ หน้าที่ของตน เป็นอะไร การวางตน การปฏิบัติหน้าที่ผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ เสียสละ รับฟัง ให้โอกาสผู้น้อย ผู้ปฏิบัติ ด้วยความเคารพและซื่อสัตย์ สุจริต อุดมด้วยสามัคคีธรรม น้อมนำบนพื้นฐานแห่งสาราณียธรรม ย่อมยังให้เกิดแต่ประโยชน์ไม่มีโทษ




พระพรหมเสนาบดี กล่าวสัมโมทนียกถาเปิดการประชุม ว่า พระธรรมทูตมีหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รักษาพระธรรมวินัย อีกทั้งเป็นผู้นำวัฒนธรรมไทยสู่นานาชาติ เมื่อดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างประเทศซึ่งมีความแตกต่างด้านศาสนาและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงควรรักษาน้ำใจของคณะสงฆ์ ชุมชนชาวพุทธนานาชาติ และผู้นำศาสนาในประเทศนั้นๆ ขณะเดียวกันก็ให้รักษาพระธรรมวินัยในแบบพระสงฆ์ไทย เพื่อแสดงถึงวิถีชาวพุทธที่พระพุทธองค์ทรงให้แนวทางไว้ เพื่อเผยแผ่หลักพุทธธรรมคำสอนให้กว้างไกลในนานาชาติ ในการทำงานฝ่ายมหานิกาย เรามีบูรพาจารย์ที่เป็นต้นแบบให้เดินตาม

อาทิ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ), สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ, เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ องค์ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ต่างยึดพระวินัยเป็นหลัก ยึดความเป็นเถรวาท บูรณาการในการทำงานกับทุกภาคส่วน แต่มีเป้าหมายร่วมกัน การทำงานเผยแผ่ในต่างประเทศต้องไม่ทำให้เสียวินัยและเสียมารยาท




พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร. ในฐานะผู้แทนของ มจร. กล่าวว่า มจร. โดยวิทยาลัยพระธรรมทูต มีหน้าที่ในการฝึกอบรมพระธรรมทูตปีละ 120 รูป เพื่อส่งไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทย ปัจจุบันมีการอบรมพระธรรมทูตไปแล้วจำนวน 30 รุ่น



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระพรหมเสนาบดี รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ยังได้นำพระธรรมทูตไทย พร้อมกับคณะสงฆ์และคณะภิกษุณีชาวไต้หวันเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวิสาขบูชาที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยมี ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นประธาน และมีชาวไต้หวันกว่า 20,000 คนเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองวัน The Buddha’s Day เมื่อที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่มณฑลพิธีอนุสรณ์สถานเจียงไคเช็ค กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ด้วย



ทั้งนี้ สำหรับสหภาพพระธรรมทูตไทยในเอเชียตะวันออก (UTEA) ประกอบด้วยวัดสมาชิกใน 5 ประเทศ คือ จีน เกาหลี มองโกเลีย เวียดนาม และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) โดยมีวัดจำนวน 14 วัด มีพระสงฆ์จำพรรษาประมาณ 45 รูป ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กับประชาชนชาวไทยและผู้ที่สนใจทั่วไป ขณะที่ในส่วนของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีคนไทยอาศัยอยู่จำนวนประมาณ 100,000 คน มีวัดไทยจำนวน 6 วัด





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3426336/
13 พฤษภาคม 2567 , 11:13 น. , การศึกษา-ศาสนา
30  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จิตประภัสสร | อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2024, 07:06:05 am
.



จิตประภัสสร | อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ

จิตคืออะไร.? จิต คือ สิ่งที่คิดถึงเรื่องราว ดังคํานิยามที่ว่า อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ จิตคือ ธรรมชาติที่คิดถึงอารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่จิตคิด 5 ประการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์(จินตภาพ) เมื่อจิตคิดถึงสิ่งใดก็ตาม จะประกาศเปิดเผยสิ่งนั้นให้ปรากฏในโลก

ถ้าโลกนี้ไม่มีจิตสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ก็ไม่ถูกรับรู้ สิ่งเหล่านี้มีก็เหมือนไม่มี เช่น ต้นหญ้าไม่รู้ว่าตัวเองอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินไม่รู้ว่ามีภูเขา ภูเขา ไม่รู้ว่ามีลําธารอยู่ข้างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในความลับดํามืด เพราะ ไม่มีการรับรู้ซึ่งกันและกัน แต่เพราะโลกนี้มีจิต ความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ จึงถูกประกาศเปิดเผยออกมา

จิตจึงเหมือนแสงไฟส่องสว่างโลกนี้ จิตคิดไปทางใด โลกก็ถูก เปิดเผยในทิศทางนั้น เช่นเดียวกับเวลาที่เราขึ้นเฮลิคอปเตอร์ในคืนเดือนมืด เฮลิคอปเตอร์บินอยู่เหนือภูเขา เราฉายไฟสปอตไลต์ลงบน ยอดเขา แสงไฟสปอร์ตไลต์พุ่งไปที่ใด ที่นั่นก็ถูกเปิดเผยให้ปรากฏออกมา จิตเหมือนกับแสงไฟสปอตไลต์นี้ ท่านจึงเรียกว่า ประภัสสร แปลว่า ส่องแสงสว่าง

@@@@@@@

ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
   "ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐํ"
    แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตประภัสสร แต่จิตนั้นแลถูกอุปกิเลสที่จรมา ทําให้เศร้าหมอง


จิตได้ชื่อว่าประภัสสร เพราะส่องสว่างให้สิ่งต่างๆ ในโลกปรากฏ จิตเหมือนแสงไฟฉายที่สาดส่องไปในความมืดมิดแล้วเปิดเผย สิ่งต่างๆ บางครั้งแสงไปอาจเปลี่ยนสีไปตามสีของกระจกที่ครอบดวงไฟ ถ้ากระจกสีเขียว แสงไฟจะเป็นสีเขียว และสิ่งที่ถูกเปิดเผยก็จะ เป็นสีเขียวตามสีของแสงไฟ ถ้ากระจกครอบสีแดง แสงไฟจะมีสีแดง และภาพของสิ่งที่ถูกเปิดเผยก็จะเป็นสีแดงเช่นกัน ถ้ากระจกสีขาวสดใส แสงก็จะประภัสสรผ่องใส ภาพที่แสงไฟไปกระทบก็ไม่ถูกบิดเบือน

จิตของคนเช่นเดียวกับดวงไฟฉาย กิเลสต่างๆ เหมือนกับกระจกสีที่ห่อหุ้มดวงไฟนั้น จิตที่มีความโลภห่อหุ้มก็จะมองแต่สิ่งที่ น่าปรารถนาน่าอยากได้ จิตที่มีความโกรธห่อหุ้มก็มักจับผิดคนอื่น จิตที่มีกิเลสห่อหุ้มจะไม่สามารถเปิดเผยสิ่งต่างๆ ให้ปรากฏตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับดวงไฟที่มีกระจกครอบเป็นสีเขียว แสงไฟจึงเป็นสีเขียว และทําให้สิ่งต่างๆ ปรากฏเป็นสีเขียวไปด้วย

จิตของปุถุชนที่ถูกกิเลสห่อหุ้ม มักบิดเบือนภาพที่ปรากฏให้ต่างจากความเป็นจริง เมื่อเรามองใครสักคน เรามักตัดสินเขาไปตามอํานาจกิเลสว่าสวยหรือไม่สวย น่ารักหรือน่าชัง ถูกชะตาหรือไม่ถูกชะตา

@@@@@@@

นี่แสดงว่า เราไม่ได้มองเขาตามความเป็นจริง เราปรุงแต่งไปตามอํานาจกิเลส สิ่งที่ปรุงแต่ง จิตมีทั้งฝ่าย และฝ่ายเลว นักอภิธรรมเรียกสิ่งที่ปรุงแต่งจิตว่า เจตสิก ดังคํานิยามที่ว่า เจตสิกนิยุตต์ เจตสิก ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากับจิต เรียกว่า เจตสิก ซึ่งมีจํานวน ๕๒ ชนิด มีทั้งฝ่ายดี ฝ่ายเลว และฝ่ายเป็นกลาง

จิตของปุถุชนมองโลกต่างจากจิตของพระอรหันต์ ปุถุชนมักมองโลกด้วยเจตสิกฝ่ายไม่ดีจึงปรุงแต่งเป็นรักชอบหรือเกลียดชังไปตามสถานการณ์ ภาพของโลกที่จิตมองจึงถูกบิดเบือน แต่พระอรหันต์ ผู้ตัดกิเลสได้ขาด ไม่มีการปรุงแต่งเป็นชอบหรือชัง ทั้งนี้เพราะท่าน รู้เห็นตามความเป็นจริง (ยถาภูติ ปชานาติ)

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ท่านพาหิยะทารุจีริยะว่า
    “พาหิยะ ในกาลใดเมื่อท่านเห็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังสักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบสักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้สึกแต่ว่ารู้ ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มี ในกาลใดท่านย่อมไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

    จิตปุถุชนประกอบด้วยเจตสิกทั้งฝ่ายดี(กุศล) และฝ่ายเลว(อกุศล)
    เจตสิกฝ่ายอกุศลที่สําคัญคือ โลภะ โทสะ และโมหะ
    ตัวโมหะนี้ คือ อวิชชา เป็นหัวหน้าของกิเลสทั้งหลาย
    เจตสิกฝ่ายกุศลที่สําคัญ ก็คือ อโลภะ อโทสะ และปัญญา
    เจตสิกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีต่อสู้ แย่งชิงพื้นที่ในจิตมนุษย์
    เราเรียกเจตสิกฝ่ายดีว่า "คุณธรรม" หมายถึง คุณสมบัติที่ดีในจิต
    และเรียกเจตสิกฝ่ายไม่ดีว่า "กิเลส"





กิเลส ๓ ชั้น

กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ตามปกติจิตนี้ประภัสสร ผ่องใสตามธรรมชาติ แต่ต้องเศร้าหมองเพราะมีกิเลสเข้ามาแปดเปื้อน กิเลสมี ๓ ชั้น คือ อนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส และวีติกกมกิเลส

๑) อนุสัยกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอน นอนอยู่ก้นบึ้งส่วนลึกของจิต กิเลสชั้นนี้มักไม่ปรากฏเด่นชัด ท่านจึงเปรียบอนุสัยกิเลส เหมือนตะกอนที่นอนอยู่กันตุ่มน้ำ ในที่มีตะกอน นอนอยู่กันตุ่มนั้น น้ำในตุ่มมีลักษณะใสข้างบน แต่เมื่อใครไปกวนเข้า ตะกอนข้างล่างจะฟุ้งขึ้นมา น้ำก็จะขุ่น

จิตก็เหมือนกัน เมื่อยังไม่ถูกอารมณ์ภายนอกมากระทบ จิตจะสงบอยู่ได้ อนุสัยกิเลสก็ไม่ฟุ้ง จิตก็ดูบริสุทธิ์และประภัสสรผ่องใส เหมือนความใสของน้ำในตุ่มก่อนที่ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมา เมื่อจิตถูกอารมณ์ยั่วยวน อนุสัยที่เป็นตะกอนจะฟุ้งขึ้น จิตก็ขุ่นมัว

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า จิตประภัสสรผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสจรมากระทบ ในที่นี้จิตประภัสสรยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ แต่ดูบริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกิเลสตกตะกอนนอนอยู่ในส่วนลึก เมื่อมีอะไรมากวนกิเลสส่วนนี้ให้ฟุ้งขึ้นมา จิตก็เศร้าหมอง

      อนุสัยกิเลสมี ๓ ชนิด คือ
      ก. ราคานุสัย คือ เชื้อแห่งความกําหนัดหรือความอยากได้
      ข. ปฏิฆานุสัย คือ เชื้อแห่งความชัง
      ค. อวิชชานุสัย คือ เชื้อแห่งความหลง

๒) ปริยุฏฐานกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างกลางที่กลุ้มรุมจิต ให้อยู่ไม่เป็นสุข ได้แก่ อนุสัยกิเลสที่ถูกกวนให้ฟุ้งขึ้นมาในระดับหนึ่ง นั่นคือ
     - ราคานุสัยฟุ้งออกมาเป็นราคะ
     - ปฏิฆานุสัยฟุ้งออกมาเป็นโทสะ และ
     - อวิชชานุสัยฟุ้งออกมาเป็นโมหะ

กิเลส ๓ กองนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เปรียบเหมือนโจรปล้นใจ ทําให้หาความสงบไม่ได้ เช่น เราถูกยั่วให้โกรธ  ความโกรธเป็นโทสะที่ทําให้หงุดหงิด จนนอนไม่หลับ

นี้คือ ปริยุฏฐานกิเลสที่ปล้นความสงบใจ ถ้าควบคุมไว้ได้ก็เพียงแต่อึดอัดกลัดกลุ่ม มีสภาพเช่นเดียวกับน้ำเดือด ที่มีตะกอนหมุนวนอยู่ภายในหม้อน้ำ แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ กิเลสก็กระฉอกออกมา เป็นเหตุให้ประกอบกรรมชั่วต่างๆ กลายเป็นกิเลสชั้นที่ ๓

๓) วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบที่ควบคุมไม่ได้ จึงกระฉอกออกมา ทําการล่วงละเมิดศีลธรรม ข้อนี้หมายความว่า เมื่อ ราคะมีกําลังแรงขึ้นกลายเป็นอภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น เมื่อโทสะมีกําลังแรงขึ้นก็กลายเป็นพยาบาท คือ คิดทําร้ายผู้อื่น ลําพังโทสะยังไม่คิดทําร้ายใคร เป็นแค่ความขัดเคืองอยู่ในใจ เมื่อใดโมหะมีกําลังแรงมากขึ้น ก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดเป็นชอบ เช่น ความเห็นผิด ๑๐ ประการดังได้กล่าวข้างต้น

อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็น วีติกกมกิเลส คือ เป็นกิเลสที่จะทําให้ล่วงละเมิดศีลธรรมทางกายและทางวาจา พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกิเลสที่กระฉอกออกมาแปดเปื้อนรบกวนคนอื่น










ขอบคุณที่มา :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
ข้อธรรม : หนังสือ ปลดบ่วงชีวิต พิชิตกรรม โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ยกมาแสดงบางส่วน หน้าที่ ๓๗-๔๓ , จาก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปลดบ่วงชีวิต พิชิตกรรม” บรรยายเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ อาคารเรียน มจร. วัดศรีสุดาราม ในกิจกรรมเสริมหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย รุ่นที่ ๓
31  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘พญาคันคาก’ ยกทัพรบแถน จุดกำเนิด ‘บุญบั้งไฟ’ ทำไมต้องจุดขึ้นฟ้า..? เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:55:29 am
.



ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เล่าสุดมันส์ ‘พญาคันคาก’ ยกทัพรบแถน จุดกำเนิด ‘บุญบั้งไฟ’ ทำไมต้องจุดขึ้นฟ้า..?

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ที่ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และนายสุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ในเครือมติชน ร่วมถ่ายทำรายการ ‘ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว’ ตอน ‘คางคกยกรบ คันคากหักแถน บั้งไฟขอฝน’

นายสุจิตต์ กล่าวว่า คำว่า ‘คันคาก’ เป็นภาษาลาว หมายถึงคางคก พิพิธภัณฑ์พญาคันคากเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง ‘พญาคันคาก’ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก บริเวณใกล้เคียงกันยังมีประติมากรรมรูป ‘พญาแถน’ ซึ่งตนสงสัยว่าทราบได้อย่างไรว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ส่วนตัวแล้วในจินตนาการของตนเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ลักษณะเช่นนี้ นอกจากนี้ ลานโดยรอบยังมีพื้นที่สำหรับเรียนรู้ในด้านต่างๆ เมื่อไปเดินดู พบศาลาศูนย์วรรณกรรมยโสธร คำพูน บุญทวี ซึ่งตนเรียกว่า ‘บักคำพูน’ เจ้าของผลงาน ‘ลูกอีสาน’

“ผมว่าลูกอีสานคืองานชั้นเยี่ยม ซื่อ บริสุทธิ? ไม่ปรุงแต่ง กึ่งดิบ กึ่งสุก อร่อย เขียนจากหัวใจ” นายสุจิตต์กล่าว




จากนั้น นายสุจิตต์ กล่าวถึงวรรณกรรม ‘พญาคันคาก’ ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีการจุดบั้งไฟ ว่า คันคาก หรือ คางคกเป็นสัตว์ครี่งบก ครึ่งน้ำ มีความขัดแย้งกับพญาแถนบนฟ้าซึ่งไม่ยอมปล่อยน้ำให้ตกลงมาเป็นฝนเพื่อให้คนทำนา จึงตัดสินใจยกทัพขึ้นไปรบ มีรายละเอียดต่างๆ มากมาย

“ฝนคือเรื่องสำคัญ ไม่มีฝนอยู่ไม่ได้ เราอยู่ในเขตมรสุม ต้องตกต้องตามฤดูกาล อย่างไรก็คาม กลับมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำมานานเป็นพันปี” นายสุจิตต์กล่าว

นายสุจิตต์ กล่าวว่า เนื้อหาโดยสรุปในวรรณกรรม คือ พญาคันคาก ยกทัพขึ้นไปรบกับพญาแถน หลังจากไม่ยอมให้นาคทั้งหลายไปเล่นน้ำบนฟ้า ฝนจึงไม่ตก พญาคันคากจึงให้พญานาครวบรวมภูเขาทั้งหมดมากองรวมกันเพื่อต่อยอดให้ขึ้นไปถึงฟ้าหวังพบพญาแถน นอกจากนี้ ยังบอกปลวกให้ขนดินมาพอกภูเขา ระดมครุฑ ต่อ แตน มิ้ม ผึ้ง มอด มด สารพัดสัตว์มาพอกภูเขาร่วมด้วย จากนั้น พญาคันคากขึ้นหลังช้างเดินทางไปสู่ฟ้า พบพญาแถน เพื่อบอกกล่าวว่า ผู้คนอดอยากแร้นแค้น เพราะฝนไม่ตก สุดท้าย รบกัน พญาคันคากเป็นฝ่ายชนะ




“พญาคันคากบอกว่า แถนต้องรักษาหน้าที่ปล่อยน้ำฟ้าน้ำฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ไม่อย่างนั้นจะขึ้นมาบนฟ้าอีก พญาแถนถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าเมืองมนุษย์ต้องการน้ำตอนไหน พญาคันคากบอกว่า จะส่งสัญญาณให้พญาคันคากขึ้นมาบอก แล้วเล่นน้ำบนฟ้า พญาแถนตอบว่า กว่าพญานาคจะมาถึง เดี๋ยวช้าเกินไป เพราะฟ้าอยู่ไกล พญาคันคากบอกว่า จะให้พญานาคขี่บั้งไฟขึ้นมาอย่างไว พอได้ยินเสียงและเห็นบั้งไฟมีหัวพญานาคเมื่อไหร่ ให้ไขน้ำทำฝนหล่นสู่เมืองมนุษย์ทันที นี่คือที่มาประเพณีบุญบั้งไฟ” นายสุจิตต์ กล่าว

นายสุจิตต์กล่าวด้วยว่า การจุดบั้งไฟ สัมพันธ์กับชีวิตปกติของสามัญชนไม่ใช่เพียงชาวยโสธร ชาวอีสาน หรือคนไทย แต่รวมถึงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภาคผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับคำอธิบายในเรื่องดังกล่าวมากกว่านี้

สำหรับรายการในตอนดังกล่าว จะเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กมติชนออนไลน์, ข่าวสด, ศิลปวัฒนธรรม และยูทูปมติชนทีวี ในวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคมนี้ เวลา 20.00 น.
















ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_4570757
วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 16:28 น.   
32  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘เที่ยวมุกดาหาร’ แวะ ถ้ำโส้ม....พระใหญ่บนหน้าผา เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:48:58 am


.



‘เที่ยวมุกดาหาร’ แวะ ถ้ำโส้ม....พระใหญ่บนหน้าผา

‘เที่ยวมุกดาหาร’ ครั้งนี้ เมื่อเห็น ‘พระใหญ่บนหน้าผา’ ชวนให้สะดุดตา สะดุดใจ ฉุกคิดถึงสอนของพระพุทธองค์ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สู่ความสงบสุขได้บ้าง

ผมมีโอกาสได้ไปใช้ถนนสายใหม่ถนนหมายเลข 12 หรือ AH 12 (กาฬสินธุ์-คำชะอี)ที่ต่อไปถึง จังหวัดมุกดาหาร เป็นถนนที่เปิดใช้มาปีกว่าๆแล้ว เป็นถนนที่สวยมาก เป็นถนนคู่ขนานไป-กลับ ข้างละ 3 เลน(ถ้าจำไม่ผิด) ทิวทัศน์สองข้างทางสวยมากโดยเฉพาะช่วงใกล้ๆ กุฉินารายณ์ไปคำชะอี มีภูเขาสองฝั่งทาง เส้นทางสูงต่ำ   รถไม่มาก ขับรถเล่นเพลินๆ แต่หลายคนบ่นว่าไม่มีปั้ม ถนนเปิดใหม่ เข้าใจว่าคนที่อยากทำปั้มก็คงเตรียมหาที่หาทางอยู่ละครับ ไม่นานก็คงมี

จากกาฬสินธุ์ไปพอไปถึงแยกตรงบ้านนาไคร้ จะมีถนนที่มาจากกุฉินารายณ์มาเชื่อมรวมเป็นถนนเส้นเดียวกัน ช่วงนี้แหละวิวสวย เป็นถนนเส้นเดียวไปไม่เท่าไหร่ ก็จะแยกเป็นสองเส้นคู่ขนานกัน สายบนคือ สาย 12 ส่วนสายล่างคือถนนสายเก่า สาย 299 ให้ใช้ถนนสายล่างนี้ มันก็จะผ่านบ้านคำพอก ผ่านน้ำตกตาดโตน

จนกระทั่งไปถึงอำเภอหนองสูง ซึ่งถ้าตรงไปตามถนนสาย 299 เดิม ก็จะไปอำเภอคำชะอีไปบรรจบกับถนนสาย 12 นั่นเอง แต่ตรง ‘อำเภอหนองสูง’ นี้ เราจะใช้ถนนหมายเลย 2370 ซึ่งถนนเส้นนี้ จะไปทะลุออกอำเภอนิคมคำสร้อย แล้วก็ไปบรรจบถนนสาย 212 ซึ่งมาจากทางอำนาจเจริญ หรืออุบลฯ แล้วก็ไปจังหวัดมุกดาหารได้เช่นกัน 

ที่ต้องอธิบายเรื่องถนนตัดใหม่นี้ค่อนข้างมาก เพราะถ้าเราเผลอวิ่งไปบนถนนสายที่ตัดใหม่แบบขับเพลินๆ มันจะหลงไปไกลเลยครับ สมมติว่าเลยจุดที่เราจะแวะ แต่มันไม่มีทางเข้า ทางกลับรถอะไรไกลกันมาก ไม่มีชุมชน ไม่มีคนให้ถามทาง มีแต่สวนยางพารา เพราะชุมชนต่างๆ จะมาอยู่ริมถนนสายเก่า หมายเลข 299 กันหมด

ย้อนกลับมาที่ อำเภอหนองสูง อำเภอนี้เป็นอำเภอเล็กๆ บรรยากาศชนบท แต่ก็ไม่ได้ทุรกันดารอะไรถนนหนทางก็ดี ถนนสาย 2370 ที่เราจะใช้เดินทางนี้ จะผ่านหมู่บ้านในชนบท มีทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามมากโดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างดูเขียวขจี สดชื่น มีวิวทุ่งนา ภูเขาสองฝั่งทาง จนเข้าเขตเทศบาลตำบลบ้านเป้า ทางขวามือ(หรือด้านตะวันตกของถนน) 



ภาพที่สะดุดตา ย่านบ้านเป้า สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

ก็จะมี ภูเขาหินทราย สูง   หลังเขาแบนราบแบบภูเขาหินทรายทั่วไป   มีหน้าผาตัดตรง   และเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลาอยู่บนภูเขาสูง เป็นที่สะดุดตานัก จนต้องจอดรถดู   แล้วก็เหลือบไปเห็นป้าย วัดถ้ำโส้ม หรือ วัดถ้ำผาขาว  ถามชาวบ้านเพื่อความมั่นใจว่าใช่ไหม   พอชาวบ้านบอกว่าใช่  ผมก็ยังสงสัยว่า แล้วมันจะมีทางรถยนต์ขึ้นไปได้เหรอ ก็ในเมื่อมันสูงชันขนาดนั้น

“เข้าไปเถอะ  ขึ้นได้”

พอชาวบ้านให้ความมั่นใจ ผมก็เลี้ยวรถเข้าไปทันที ทางเข้าเป็นทางปูนเล็กๆสองข้างทางเป็นนาข้าวบ้าง สวนยางพาราบ้าง ดีที่พอมีทางแยก เขาจะมีป้ายบอกตลอด พอใกล้ไปถึงตีนเขา ทางจะเริ่มชันขึ้น ก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จนสุดทาง มีศาลาเล็กๆ มีห้องน้ำ เราก็รู้แล้วว่าเป็นเขตวัด ก็จอดรถ แล้วเดินเท้าไปตามทาง ซึ่งจริงๆก็เป็นถนนปูน แต่เขาไม่ให้รถขึ้น ให้เดินเท้าอย่างเดียว ทางก็ชันไปเรื่อยๆ หักศอกซ้ายขวา ไปมาจนไปเห็นอาคารสูงสร้างติดอยู่กับหน้าผานั่นแหละ จึงรู้ว่ามาถึงจนได้



ทางเข้าวัดถ้ำผาขาวหรือวัดถ้ำโส้ม ในเทศบาลตำบลบ้านเป้า


แม้ทางเขาจะมีหลายแยกแต่ ก็มีป้ายบอกตลอดทาง


สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างติดหน้าผาอย่างที่บอก  รูปทรงคล้ายป้อมค่ายที่เคยเห็นในอินเดีย   แต่จริงๆที่สร้างแบบนี้คงจะเป็นด้วยสถานที่บังคับ  เท่าที่เห็นมีอยู่ 2-3 ชั้น  และที่สำคัญ   กำลังอยู่ในการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จ ผมว่าทั้งหมดคงเสร็จไปแค่ 50 %  เท่านั้น โดยเฉพาะชั้นล่างนั้น กองวัสดุ อุปกรณ์ช่าง เครื่องไม้เครื่องมือระเกะระกะไปหมด  มีการแกะสลักผนังหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติด้วย แต่ยังไม่แล้วเสร็จ


ทางเดินขึ้นเขา ที่ห้ามนำรถยนต์ขึ้น เดินเท้าอย่างเดียว


อาคารที่เห็นบนภูเขาสูง ก็มาถึงจนได้

มีช่องทางเล็กๆแทรกเข้าไปยังบันได ที่นำพาขึ้นไปชั้นบน ซึ่งเป็นลานโล่ง ส่วนหนึ่งของลานมีหลังคาคลุม มีพื้นที่ยกสูงขึ้นมาหน่อยหนึ่ง มีโต๊ะหมู่บูชา ลานด้านนอก เปิดโล่ง มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และพระอัครสาวกซ้ายขวา แกะสลักไปบนหน้าผาหินทราย กลายเป็นว่าศาลาที่เห็น เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใช้แทนพระอุโบสถ โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธานของสถานที่


ชั้นล่าง ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงยังมีวัสดุอุปกรณ์มากมาย

ภูเขาที่เห็นนี้เป็นภูเขาลูกเดียวกันกับ ผาน้ำทิพย์’ หรือเจดีย์ชัยมงคล ในอำเภอหนองพอกของร้อยเอ็ดนั่นเอง เป็นภูขาลูกเดียวกันแบ่งแดนกัน ครึ่งหนึ่งอยู่ทางร้อยเอ็ด อีกครึ่งอยู่ทางมุกดาหาร


รูปแกะสลักที่หน้าผาหิน ในชั้นล่าง

เคยอ่านเจอว่าเหตุที่สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา นี้มาจากการที่เมื่อ มีนาคม 2544 กลุ่มตาลีบัน ในอัฟกานิสถาน ได้ระเบิดพระพุทธรูปที่เมืองบาบียัน ทิ้งอย่างไม่แยแส จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้คณะสงฆ์แห่ง วัดถ้ำโส้ม ร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาบนหน้าผาสูงดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้ว ยังมีการแกะสลักหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติต่างๆ อีกมากมาย บนหน้าผาในส่วนอื่นๆด้วย


ทางขึ้นสู่ชั้น ๒ ยังคงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ


ชั้น ๒ คือชั้นดาดฟ้า มีศาลาเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ แทนศาลา แทนอุโบสถ

สิ่งที่เป็นที่น่าชื่นชมจากลานหน้าพระพุทธรูปแกะสลักคือ ทิวทัศน์เบื้องล่าง ที่มองไปเห็นชุมชนใน ตำบลบ้านเป้า ภูเขาในเขตอำเภอหนองสูง ที่เป็นหลังแป ตามสไตล์ ภูเขาหินทราย ไกลๆออกไปคือแนวภูเขาใหญ่ใน เขตคำชะอี และต่อเนื่องกันไป  สวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างจะแลดูเขียวขจี สวยงาม มีสายลมพัดเอื่อยๆ เสียงนกร้อง เพลินเลยแหละ ชนิดที่ดูกี่ครั้ง ดูนานขนาดไหนก็ไม่เบื่อ ถ้าจะมีเสียอย่างเดียวก็คือ


ภาพแกะสลักทางศาสนาต่างๆ บนหน้าผาหินทราย

นักท่องเที่ยว...!

ถ้าทุกคนรู้ว่าไปเที่ยววัด แล้วไม่ส่งเสียงดัง ไม่กระโดดโลดเต้น ไม่ตะโกนชักชวนกันมามุมนั้นมุมนี้ ราวกับมองไม่เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนหน้าผา ไปเที่ยว ไปดู ก็ไปด้วยอาการสำรวม วัดเปิดให้เข้าเที่ยวชม ก็อย่าไปแสดงอากัปกริยาจนเลยเถิด ต้องคิดเสมอว่านี่คือวัด



ลานด้านบน เป็นเหมือนที่ประกอบพิธีกรรม  โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธาน

วัดค่อยๆก่อสร้างไปตามกำลังเงินที่ได้มาจากการทอดกฐินบ้าง ความคืบหน้าจึงเป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีจิตศรัทธาอยากก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ติดต่อไปที่วัดได้


ทิวทัศน์ที่สวยงามของตำบลบ้านเป้า และภูเขาทาง อ.หนองสูง-คำชะอี

ภาพศาลาหลังใหญ่ที่เห็นบนหน้าผาจากไกลๆ ,ภาพพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่อยู่บนหน้าผาเมื่อมองจากลานด้านหน้า น่าสะดุดตาสะดุดใจ ให้ผู้คนได้ฉุกคิด น้อมนำถึงคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ นำมาแนวทางในการดำเนินชีวิตไปสู่ความสงบสุขได้บ้าง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นได้คงไม่มีการซื้อนิพพานอย่างที่เป็นข่าวคราวในปัจจุบันแน่นอน

เที่ยววัดบ้าง จะได้สบายใจ...



ทิวทัศน์มุมสูงที่สวยงาม





ขอบคุณ : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1126285
By คมฉาน ตะวันฉาย / คอลัมน์ประเทศไทยใจเดียว | 11 พ.ค. 2024 เวลา 7:43 น.
33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โบสถ์จิ๋ววัดคูหาภิมุข(วัดควนถ้ำ) ขนาดเล็กสุดประเทศไทย กำลังเป็นที่สนใจ เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:29:17 am
.



โบสถ์จิ๋ววัดคูหาภิมุข (วัดควนถ้ำ) ขนาดเล็กสุดประเทศไทย กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป

เมื่อวันที่11 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนถ้ำในอดีตที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดคูหาภิมุขในปัจจุบันมีเจ้าอาวาสชื่อพระภักดี ฐิตธรรมโม วัดตั้งอยู่บนเขาควนถ้ำ บริเวณถนนอุดมธารา ต.ตะกั่วป่า จ.พังงาซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่า

สร้างในสมัยใด แต่คาดว่าสร้างในสมัยระหว่างรัชกาล 2-3 เนื่องจากปรากฎหลักฐานการขุดพบเงินพดด้วงและเงินเปอร์เชียใต้ฐานโบสถ์เก่าแก่ แล้วสร้างใหม่เป็นในปัจจุบันเป็นเพียงแค่อาคารวิหารเท่านั้น ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าวัดควนถ้ำ

ส่วนที่เป็นอาคารขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์จิ๋วที่เล็กที่สุดในประเทศไทยนั้น พระวรรณโณ แต่สกุล รองเจ้าอาวาส ซึ่งบวชพระมา 31 พรรษาแล้ว กล่าว เดิมที่ก่อนเป็นอาคารหลังนี้เป็นสถานที่ตั้งคล้ายกับศาลพระภูมิสร้างด้วยไม้มุงหลังคาเป็นสังกะสี ใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่เป็นชาวจีน ด้วยกาลเวลานับร้อยปีผ่านไปได้ผุพังไปตามกาลเวลา

ต่อมาวิญญานบรรบุรุษได้เข้าฝันลูกหลานว่าสถานที่เก็บกระดูกแห่งนี้บรรพบุรุษสถิตย์อยู่อย่างยากลำบาก ในฝันลูกหลานจึงขอให้ได้โชคได้ลาภจะสร้างเป็นอาคารหลังใหม่ให้ ต่อมาลูกหลานได้มีโชคลาภตามที่ขอจริง จึงได้นำเงินก่อสร้างเป็นอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.2513 (สร้างโดยนางฮวดบี๋) อุทิศให้บรรพบุรุษ รูปทรงคล้ายโบสถ์ที่มีขนาดเล็กจนชาวบ้านและผู้พบเห็นเรียกกันว่าโบสถ์จิ๋วในปัจจุบัน

ส่วนลูกนิมิตที่ขุดค้นพบจำนวน 8 ลูกที่มีลักษณะเป็นวงรีไม่เหมือนลูกทรงกลมในปัจจุบันที่ขุดพบใต้ฐานโบสถ์หลังเก่าคาดว่ามาจากการนำหินในถ้ำตามสถานที่ต่างๆแล้วนำมาฝังไว้ใต้อาคารโบสถ์หลังเก่านั่นเองและคาดว่าน่าจะมีอายุหลายร้อยปีใกล้เคียงกับอายุของการสร้างศาลพระภูมิสำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์จิ๋ว











 



ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4571275
วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 23:59 น.   
34  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เรื่องบังเอิญมีจริงไหม.? ทำไมเราเห็นอะไรซ้ำๆ อีกแล้ว.? จิตวิทยาของความบังเอิญ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 08:19:57 am
.



เรื่องบังเอิญมีจริงไหม.? | ทำไมเราเห็นอะไรซ้ำๆ อีกแล้ว.? | เข้าใจเหตุผลทางจิตวิทยาของความบังเอิญ

เคยไหม? เวลาเราซื้อกระเป๋าใบใหม่ พอหยิบใช้ก็จะเห็นคนใช้กระเป๋ายี่ห้อเดียวกัน ทรงเดียวกันกับเราเต็มไปหมด หรือตอนที่เรากำลังเล็งจะไปกินอาหารสักร้าน เข้าไอจีไปดูดันเห็นเพื่อนหลายคนลงรูปร้านอาหารนั้น กระทั่งตอนทำงาน เวลาที่เราเงยหน้าขึ้นจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็มักจะเห็นนาฬิกาบอกเวลาเดิมๆ ซ้ำๆ แบบไม่ตั้งใจ จนบางทีก็แอบนึกว่า ชีวิตคนเรานี่มันเป็นแหล่งรวมเรื่องบังเอิญชัดๆ

และไม่ใช่แค่เรื่องในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ตอนนี้มีปรากฏการณ์ใหม่ในโลกทวิตภพ ที่แฟนคลับวงที่มีตัวเลขต่อท้าย มักจะบังเอิญเจอตัวเลขเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ ราวกับว่านี่คือปาฏิหาริย์ระหว่างพวกเรา เช่น แฟนคลับวง NCT127 ก็มักจะเห็นเลข ‘127’ ในทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นซอยที่ขับรถผ่าน ค่าอาหารที่สั่ง วินาทีที่ติดไฟแดง หรือแม้กระทั่งฉากในละคร จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ที่ใครเจอเลข 127 ก็จะเก็บหลักฐานมาโพสต์ทวิตเตอร์ และเกิดเป็นแฮชแท็กโด่งดังอย่าง #ยังจะ127อยู่นั่น

มองเผินๆ แล้ว นี่อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญที่เราเห็นสิ่งเดิมๆ ซ้ำกันหลายครั้งจนเหมือนเป็นสัญญาณพิเศษ หรือในเชิงจิตวิญญาณก็มีคำอธิบายรองรับไว้เช่นกันว่าเป็นการเปิดพลังงานให้กลับมาสำรวจชีวิตตัวเองอีกครั้ง แต่ในอีกมุมหนึ่ง นี่อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะมีคำอธิบายเชิงจิตวิทยาที่อาจทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้เช่นกันว่า การบังเอิญเห็นอะไรซ้ำๆ สอดคล้องอย่างไรกับจิตใจของเรา




Synchronicity : เป็นเพราะความบังเอิญ ที่เพิ่มเติมคือมัน ‘พิเศษ’

เหตุผลข้อแรกที่เราจะหยิบยกมาอธิบายคือ มันเป็น ‘ความบังเอิญ’ จริงๆ ที่เราดันมาเจอเลขหรือสิ่งของซ้ำๆ แบบไม่ได้ตั้งใจ โดยคาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาได้อธิบายลักษณะของความบังเอิญนี้ผ่านเหตุการณ์ที่ว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยจับแมลงปีกแข็ง (scarab) ที่เป็นแมลงนำโชคในวัฒนธรรมอียิปต์ไว้ แล้วนำไปให้คนไข้ พอดีกับที่คนไข้เล่าว่า ตัวเองเพิ่งฝันว่าได้รับเครื่องประดับทองคำรูปแมลงดังกล่าว ทำให้คนไข้คนนั้นรู้สึกถึงความโชคดี และเปิดใจรับคำแนะนำในการรักษาจากจุงมากขึ้น

หลังจากเหตุการณ์นี้ จุงก็ได้ยืมคำอธิบายจากคัมภีร์อี้จิงในปรัชญาเต๋ามาอธิบายว่า ถ้าเราหมกมุ่นอยู่กับ ‘ความฝัน’ ของเรามากเท่าไร เราก็เสาะหา ‘ความบังเอิญ’ จากความฝันมากเท่านั้น และเนื่องจากคนเรามักหาความหมายให้ความฝัน ความบังเอิญนั้นๆ จึงมีความหมายขึ้นมา จุงจึงเรียกเหตุการณ์ที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า ‘Synchronicity’ ซึ่งแปลว่าความบังเอิญอันหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่มีความหมายกับผู้ประสบพบเจอเหตุการณ์นั้นๆ ด้วย

หากจะอธิบายให้ใกล้เคียงกับชีวิตเรามากขึ้น สมมติว่าเรากำลังอยากกินหมาล่า คิดวนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น แต่ยังไม่ทันได้พูด หรือแชตไปบอกใคร ทันใดนั้น เพื่อนสนิทก็ทักมาว่า ‘แก ไปกินหมาล่ากันไหม’ หรือเหตุการณ์ที่เราเงยหน้ามาเห็นตัวเลขซ้ำๆ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจมองหา แต่บังเอิญตัวเลขนั้นดันเป็นตัวเลขที่มีความหมายกับเรามากๆ

จุงยังได้อธิบายถึง Synchronicity อีกว่า ปรากฏการณ์นี้อาจอยู่นอกเหนือจากความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และเวลา ซึ่งเป็นที่มาของ ‘เหตุผล’ จากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ความบังเอิญที่อธิบายไม่ได้นี้เองจึงกลายมาเป็นจุดตั้งต้นในการศึกษาเหตุบังเอิญรูปแบบอื่นๆ เช่น เดจาวู หรือปรากฏการณ์ตรงข้ามอย่าง จาเมส์วู ซึ่งทำให้เราค้นหาความหมายเบื้องหลังเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะเกิดซ้ำกันระหว่างความฝันและความเป็นจริงไปด้วย




Visual Selective Attention: เพราะสมองตั้งใจ เลยทำให้เห็นแบบ ‘เหมือนบังเอิญ’

เหตุผลทางจิตวิทยาอีกอย่างหนึ่งที่เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์การความบังเอิญเหล่านี้ได้ คือ Visual Selective Attention  ที่เราจะเลือกเพ่ง ‘ความสนใจ’ กับบางสิ่งบางอย่างที่เราให้ความหมาย หรือให้ความสำคัญเท่านั้น จนเราไม่ได้โฟกัสสิ่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

หนึ่งในการทดลองของ Visual Selective Attention ที่ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ง่ายขึ้นคือ ‘กอริลล่าเอฟเฟ็กต์’ (Gorilla Effect) ซึ่งมาจากการทดลองที่ให้คนดูคลิปวีดิโอการรับ-ส่งลูกบอล โดยให้โจทย์ว่า คนที่ใส่เสื้อขาวส่งบอลกี่ครั้ง แต่ในคลิปวีดิโอดังกล่าว จะมีคนสวมชุดกอริลล่าเดินผ่านวงผู้เล่นบอลด้วย ผลปรากฏว่า อาสาสมัครที่เข้ารับการทดลองนี้ สามารถนับจำนวนครั้งที่คนใส่เสื้อสีขาวส่งบอลได้ แต่ไม่มีใครเห็นกอริลล่าที่เดินผ่ากลางวงเลย จึงอาจสรุปได้ว่า ถ้าเราโฟกัสการรับรู้ไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจทำให้เราหลุดโฟกัสอีกสิ่งได้

@@@@@@@

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเห็นเลข หรือสิ่งของแบบซ้ำๆ ล่ะ.?

นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองของมนุษย์มีการรับรู้ ‘รูปแบบ’ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ น้ำขึ้น-น้ำลง รวมไปถึงฤดูกาลต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจรูปแบบซ้ำๆ ได้ง่ายกว่าการรับรู้อื่นๆ มนุษย์จึงสามารถจดจำและมองหารูปแบบในชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วจนเป็นเหมือนความบังเอิญ ยิ่งถ้าเราให้ความหมาย หรือให้ความสำคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ก็อาจทำให้เราเห็นสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆ จนเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญไปด้วย

ง่ายที่สุดคือ เราอาจจะนึกถึง ‘Angel Number’ ตัวเลขนำโชค หรือชุดตัวเลขที่เรามักพบเจออยู่บ่อยๆ ซึ่งแต่ละชุดตัวเลขมีความหมายและสอดคล้องกับชีวิตแตกต่างกันไป แม้จะมีคำอธิบายทางจิตวิญญาณบอกว่า การพบเห็นชุดตัวเลขเดิมซ้ำๆ เป็นเสมือนสัญญาณจากสวรรค์ให้ทบทวนการกระทำและชีวิตของตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น แต่อีกแง่หนึ่ง การเห็นตัวเลข Angel Number บ่อยๆ นั้น อาจมาจากการรับรู้เลขเชื่อมโยงกับความหมายของตัวเลขในความรู้สึกเรา จนนำไปสู่การค้นหาความหมายของตัวเลขนั้นๆ ในเชิงจิตวิญญาณด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจเห็นได้ชัดคือ การรับรู้ของเรานำไปสู่การโฟกัสสิ่งที่ใกล้เคียงกับความทรงจำหรือประสบการณ์ของเรา คล้ายกับว่าเรากำลังดึงดูดสิ่งที่คล้ายคลึงกับเราเข้ามาในชีวิตเรามากขึ้น เช่น ถ้าเราเพิ่งออกรถใหม่เป็นรถไฟฟ้าสีขาว นั่นอาจทำให้คุณเห็นรถรุ่นเดียวกัน สีเดียวกันกับรถที่เราเพิ่งซื้อบ่อยขึ้นกว่าเดิม หรือหากเราเป็นคนที่กำลังวางแผนจะมีลูก เราก็อาจเห็นคนท้องบ่อยขึ้นกว่าเดิมจนดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ #ยังจะ127อยู่นั่น ที่กลายเป็นว่าไม่ใช่แค่แฟนคลับ NCT127 เท่านั้นที่สังเกตตัวเลขชุดนี้ในฐานะตัวเลขประจำวง แต่ยังรวมไปถึงคนอื่นๆ ที่ร่วมสังเกตตัวเลขนี้และแชร์ภาพลงในแฮชแท็ก จนกลายเป็นการสังเกตในระดับสังคม ที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างกันบนโลกโซเชียลไปด้วย




จากสิ่งที่เห็นโดย ‘บังเอิญ’ สู่เรื่องที่ ‘ตั้งใจ’ ใช้ในชีวิตจริง

อย่างที่บอกไปว่า เรามักจะมองหาสิ่งที่เหมือน หรือคล้ายกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ สิ่งของ หรือตัวเลขที่มีความหมายกับชีวิตของเรา ซึ่งอาจมาในรูปแบบของเรื่องบังเอิญที่ลึกๆ แล้วเกิดจากการที่สมองของเราตั้งใจ แล้วถ้าเราอยากลองเอาความบังเอิญเหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตของเราดูจริงๆ มันจะได้ไหมนะ?

มีแนวคิดทฤษฎีมากมายที่เป็นที่มาของการพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพฤติกรรม การเข้าไปสำรวจความคิดของตัวเองแล้วแปรรูปออกมาเป็นการกระทำ แม้กระทั่ง Law of Attraction หรือ ‘กฎแห่งแรงดึงดูด’ ที่เคยเป็นเทรนด์ในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งเริ่มต้นจากคอนเซ็ปต์ที่ว่า ความคิดในแง่บวกของเราจะเป็นพลังดึงดูดให้จักรวาลส่งพลังงานที่ดี และทำให้เจอสิ่งดีๆ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘Manifestation’ หรือการตั้งจิตมุ่งมั่นเพื่อดึงดูดพลังงานดีๆ ในชีวิต อาศัยการนึกถึงสิ่งที่เราต้องการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการมองหาตัวเลขซ้ำๆ หรือบังเอิญโฟกัสกระเป๋าแบบเดียวกับที่เราเพิ่งซื้อมา แต่ต่างกันตรงที่ Manifestation โฟกัสไปที่เรื่องของอนาคต 

แง่หนึ่งการโฟกัสสิ่งดีๆ ในชีวิตอาจต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานที่ดีก่อน Selective Attention จึงอาจนำมาประยุกต์ใช้กับการตั้งเป้าหมายและสร้างความสนใจกับเรื่องดีๆ ในชีวิตได้ เช่น เราอาจจะมองหาสกิลใหม่ๆ ในหน้าที่การงาน จึงอาจทำให้เราโฟกัสกับการพัฒนาตัวเองมากขึ้น เช่น หากเราต้องการโฟกัสการเขียนของเราให้ดีขึ้น เราก็อาจจะเห็นหนังสือพัฒนาการเขียน หรือจดจ่อกับการพัฒนางานเขียนมากขึ้น หรือถ้าขยับใกล้ตัวเข้ามาหน่อยอย่าง เราที่กำลังตั้งใจเก็บเงินซื้อกระเป๋าใบหนึ่ง ก็อาจจะเห็นกระเป๋ายี่ห้อนั้นบ่อยขึ้นมากๆ จนมีแรงฮึดสู้เก็บเงินเพื่อกระเป๋าใบนั้นมากขึ้น

นอกเหนือจากนี้ กฎแห่งแรงดึงดูดยังมีปรากฏการณ์หนึ่งที่สืบเนื่องจากการบังเอิญเจอสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ ที่เรียกว่า ‘Self-fulfilling Prophecy’ ซึ่งมีหลักการคือ ถ้าเราคิดว่ามันจะเกิดอะไร สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริง โดยเราจะมองหาข้อสนับสนุนให้สิ่งที่เราคิดเสมอ เช่น ถ้าเราคิดว่าวันนี้เป็นวันที่ดี เราก็มักจะมองหาสิ่งดีๆ ในชีวิต อย่างบังเอิญเห็นดอกไม้สวยๆ ระหว่างทางที่ไปทำงาน บังเอิญเจอแมวน่ารักระหว่างเดินเข้าซอย บังเอิญกลับถึงบ้านทันก่อนฝนจะตกห่าใหญ่ จากเหตุการณ์ที่เราบังเอิญสังเกตเห็นนี้ นำมาสู่วันดีๆ ที่เรายิ้มออกมาได้ และถ้าทุกๆ วันเราบังเอิญเจอเรื่องราวดีๆ อย่างนี้เสมอ มันก็จะพัฒนากลายเป็นรูปแบบของพฤติกรรมในชีวิตประจำวันไปได้ในที่สุด

ดังนั้น หากเราบังเอิญเจอตัวเลขซ้ำๆ สิ่งของซ้ำๆ หรือเหตุการณ์ซ้ำๆ ก็อาจไม่ได้เป็นเพราะความบังเอิญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะเราอาจจะกำลังโฟกัสอะไรสักอย่างโดยไม่รู้ตัว และถ้าสิ่งที่เรากำลังโฟกัสนั้นเป็นเรื่องดีๆ ในชีวิตที่ทำให้ยิ้มได้แล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล

เพราะฉะนั้นเราจะมองหาเลข 127 ต่อไปก็ได้ ในเมื่อมันทำให้เรายิ้มออกมาได้นี่นา


 




Thank to : https://thematter.co/lifestyle/why-we-see-things-again-and-again/225810
Posted On 10 May 2024 | Kewalin Thanomthong

อ้างอิงจาก :-
- psychologytoday.com
- pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- urbancreature.co

Graphic Designer : Krittaporn Tochan
Editorial Staff : Runchana Siripraphasuk
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้มาจากไหน เกี่ยวอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา” เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 07:34:13 am
.

ภาพประกอบเนื้อหา - จิตรกรรมฝาผนัง ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่


รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้มาจากไหน เกี่ยวอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา”


“รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” เป็น สำนวนไทย ที่ใช้กันมาเนิ่นนาน ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แปลความว่า “ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก.”

แล้ว “จั่ว” กับ “เสา” เกี่ยวอะไร และสำนวนไทยนี้ต้องการสอนอะไรกันแน่.?

ใน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม บทความ “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” ของ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ อดีตคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับสำนวนนี้ไว้อย่างละเอียดยิบ ซึ่งขอยกมาให้อ่าน ดังนี้

@@@@@@@

ศ. ดร. อุดม คาดว่า ความหมายที่ถูกบัญญัติไว้น่าจะเกิดจากการตีความของท่านผู้รู้ เพราะไม่มีคำไหนเลยที่เกี่ยวข้องกับความเจริญและความลำบาก และอาจจะเกิดจากการตีความว่า การหามจั่วนั้นน่าจะดีกว่าหามเสา เพราะจั่วเป็นเครื่องไว้ประกอบด้านบน ต่างจากเสาที่สามารถเลอะโคลนดินได้เพราะเป็นเครื่องล่างของบ้าน

หรืออาจจะคิดไปได้ว่า จั่วนั้นเบากว่าเสา ดังนั้น คนที่รักดีก็หวังจะหามจั่วเพื่อให้ตนเองสบาย ดีกว่าหามเสาหนัก ๆ

อย่างไรก็ตาม อดีตคหบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เห็นต่างจากข้อสันนิษฐานดังกล่าว เพราะแท้จริงแล้ว จั่วมีรูปลักษณ์เป็นสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ถือและขนย้ายลำบากกว่าเสานัก และยังให้เหตุผลอีกว่า…

    “บางท่านมองว่าจั่วนั้นเบากว่าเสา คนรักดีก็เลือกหามสิ่งที่เบา คนรักชั่วเท่านั้นที่เลือกหามสิ่งที่หนัก ใครก็ตามที่มีความคิดเช่นนั้นสังคมควรจะรวมกันตำหนิว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว และไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
     ถ้าเป็นไปได้ควรจะขจัดออกไปเสียจากสังคม เพราะเป็นคนเอาเปรียบเพื่อนฝูง คอยฉกฉวยโอกาสเลือกแต่สิ่งที่ง่าย ที่สบาย สังคมควรยกย่องบุคคลที่เสียสละ ไม่ใช่ยกย่องคนที่เห็นแก่ตัว การที่กล่าวเสาสกปรกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนโคลนนั้นก็ไม่เกี่ยวอะไรด้วยกับการใฝ่ชั่ว เสาใหม่ ๆ ก็ไม่มีโคลนเปรอะเปื้อนเหมือนจั่วเช่นกัน…”


@@@@@@@

แล้ว รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้ เกี่ยวข้องอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา” รวมถึง ต้องการสอนอะไรเรากันแน่.? นักวิชาการคนเดิมให้คำตอบไว้ดังนี้…

    “ความจริงแล้วคนโบราณท่านคิดลึกกว่านั้นมากนัก ท่านให้สำนวน รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา โดยมุ่งเน้นไปที่สัญลักษณ์มากกว่าความหมายตื้นอย่างที่ท่านผู้รู้บางท่านมอง เรารู้จักกันดีว่าคนโบราณใช้ งู เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย

     นอกจากนั้นแล้วในคำสุภาพที่พูดถึงเพศชายก็มี ม้า ปลาช่อน หอก ถ่อ เห็ดโคน ฯลฯ อันรวมถึง เสา ด้วย

     ฉะนั้นคำพังเพยนี้จัดว่าเป็นสุภาษิตสอนหญิงที่ดีเยี่ยม เพราะท่านหมายว่า จั่ว ซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และ เสา เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ในความที่ว่า รักดี ก็ให้รักนวลสงวนตัวดูแลจั่วไว้ให้ดี ถ้ารักชั่วก็ให้ริอ่านเอาเสาไปหามหรือคบชู้สู่ชาย ด้วยประการฉะนี้แล”


อ่านเพิ่มเติม :-

    • สำนวนไทย “สะโพกสุดเสียงสังข์” ชมความงามสตรี มีที่มาจากไหน?
    • ทำไมสำนวนไทยถึงใช้ “เกลือ” แทนความอึด ความทน? ทำไมต้องเป็นเกลือเค็มๆ?
    • สำนวนไทยใช้ “ปลากัด” ตำหนิผู้หญิงมารยา-จัดจ้าน แล้ว “กระต่ายแก่แม่ปลาช่อน” สื่ออะไร?





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 10 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_132343
36  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย" เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 10:20:57 am
.



ตอน ๔. ฟื้นสาระขึ้นมา รักษาหลักไว้



 :25: :25: :25:

สวดมนต์ไป ต้องได้ธรรมมา

ได้เล่าให้ฟังในเรื่องของการสวดมนต์พอให้เห็นความสําคัญว่า ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาของผู้รู้ เราก็ควรทําอะไรๆ กันด้วยความรู้ ไม่ใช่อยู่แค่สวด กันไปๆ จนกระทั่งไปๆ มาๆ กลายเป็นมนต์ของพราหมณ์

ข้อสําคัญอยู่ที่ว่า ต้องให้เป็นมนต์ที่โยงไปถึงหลักคําสอน ของพระพุทธเจ้า ให้รู้ถึงสาระ ได้ทั้งจิตใจ ไปถึงปัญญา ไม่ใช่อยู่ กันแค่ความรู้สึก

เวลานี้ เมื่อเราเพลินจนลืมไปว่า การสาธยายสวดมนต์เป็น ส่วนสําคัญของการเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ และเป็นกิจใหญ่ในการ รักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า เวลาเรามาสวดกันเป็นกลุ่ม บางทีก็ สวดกันเพียงเพื่อให้ทุกคนได้มีจิตใจสงบ นั่นก็ดีอยู่บ้าง แต่ไม่ควรพอใจแค่นั้น

มองดูสภาพปัจจุบัน ดูเหมือนมีแนวโน้มที่มุ่งจะจัดทําแต่งสรรการสวดให้ไพเราะชวนให้คนติดใจฟังติดใจจะสวดให้มากขึ้นๆ แล้วใจก็อยู่กับการที่จะสวดให้ไพเราะนั้น และจัดหาบทมาให้ได้ สวดให้มากๆ โดยไม่รู้เข้าใจไม่ได้นึกถึงสิ่งที่ตนกําลังสวดอยู่ ถ้าเพลินกันไปจนลืมนึกถึงการสาธยาย ไม่เอาใจใส่นึกถึงธรรมที่สวดกันเลย ก็จะกลายเป็นการเขวออกไปจากทางหรือไม่

ขอให้นึกถึงพุทธบัญญัติที่ทรงห้ามพระมิให้สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องเอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบ ซึ่งทําให้อักขระผิดเพี้ยน เสียหาย ใจเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมทั้งตัวเองและคนอื่น ชื่นชมตัวเอง ใจมัวแต่อยากทําเสียงให้เพราะให้ดีจนไม่อาจจะมี สมาธิ ใจไม่อยู่กับธรรมที่ตัวสวด แต่ทรงอนุญาตให้พระสวด “สรภัญญะ” ซึ่งคัมภีร์บอกว่ามีถึง ๓๒ ทํานอง มาถึงเมืองไทยสมัย นี้ ก็ยากนักที่จะไปหาผู้รู้จักทํานองเหล่านี้ได้ที่ไหน

ก็จับเอาที่สาระว่า การกล่าวธรรมด้วยเสียง หรือใช้เสียงสื่อ ธรรม คือเอาเสียงที่ดีที่เสนาะที่รื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม ให้เป็นทํานองคล่องชัดถนัดฟังง่าย โดยไม่ใช่แค่ปล่อยใจไปตามเสียง แต่มีสติว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงถ้อยคําบอกธรรมที่กําลังสวดอยู่นั้น มองเห็นเข้าใจความหมายของบทสวด ทั้งแต่ละคํา และสารัตถะ ใจความของบทสวดทั้งบทนั้น อย่างที่สวดกันอยู่นี้ ถ้ารู้เข้าใจ ก็ทําได้

@@@@@@@

ที่ว่า มีสติ ว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงตามทันบทธรรมแต่ละ ถ้อยคํา นี่คือ “สาธยาย

ที่ว่า สวดโดยเอาเสียงที่ดีที่เสนาะรื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม โดยว่าเรียงบทให้ชัดคําชัดความทุกบทพยัญชนะไม่คละกัน ครบ สมบูรณ์ กลมกล่อม ชวนฟังชวน นี่คือ “สรภัญญะ”

สาธยาย ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ มีสติเป็นตัวทํางานให้สําเร็จผล โดยระลึกระบุจัดเรียงข้อมูลเข้าที่เข้าลําดับของมัน ที่จะพิจารณารู้เข้าใจ นี้เป็นแกนของการสวด และเป็นส่วนของการปฏิบัติธรรม

สรภัญญะ เป็นการสาธยายนั่นแหละ แต่อาศัยทํานองและเสียงที่ไพเราะมาคุมกํากับไปในตัวให้ถ้อยคําต้องรับต่อทอดกันไป อย่างกลมกลืน ช่วยให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ชวนฟังชวน จ๋า พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปีติ

การสวดที่ดี จึงให้ได้ให้มีสาธยายเป็นแกน และเอาการใช้ เสียงมาช่วยเสริมกํากับ ถ้าทําได้อย่างนี้ ก็ได้ครบลักษณะการสวดที่ถูกต้อง

แม้แต่ในการสวดมนต์ของพราหมณ์ ท่านก็กล่าวไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ว่า "คายนวเสน สชฌาย์” คือ พวกพราหมณ์นั้นก็สวด มนต์ของเขา ด้วยการสาธยายโดยสวดเป็นทํานองขับร้องไป นี่คือ ถึงจะร้องเป็นเพลงอย่างไร ก็ต้องให้เป็นการสาธยายอยู่ในตัว ถ้า ชาวพุทธทําแค่นี้ไม่ได้ จะปฏิบัติและรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้อยู่ดีได้อย่างไร

เป็นอันว่า การสวดมนต์ที่ถูกที่ดี (คือสวดพุทธพจน์บทธรรม ตั้งแต่พระปริตรเป็นต้นไป) ได้ทั้ง ๒ อย่างไปพร้อมกัน คือได้ทั้ง “สาธยาย” ระลึกนึกรู้ธรรมที่กําลังสวดอยู่ โดยเป็นการฝึกสติไปด้วย และได้ทั้ง “สรภัญญะ” ที่ได้เสียงอันไพเราะเป็นทํานอง มาหนุนให้ ชัดเจนแม่นยําจําง่ายทั้งชวนใจให้มีปีติปราโมทย์ด้วย

(คนที่สาธยาย ก็คือระลึกนึกถึงจับยกเอาข้อมูลขึ้นมาระบุ เรียงลําาดับไปจนตลอด การ "สาธยาย” จึงเป็นการมีสติใช้สติ ดังที่ ตรัสไว้ในข้อ ๑ ของโพชฌงค์)

@@@@@@@

สวดมนต์ให้พอได้มาชุมนุมรวมใจพร้อมกัน

ถ้าจะสวดมนต์เอาแค่สวดให้ไพเราะชวนใจให้ซาบซึ้ง ก็พอจะ เหมาะที่จะใช้กับท่านที่มีสติสัมปชัญญะพร่องลงไป เช่นท่านที่เฒ่าชรา หรือผู้เจ็บไข้มากๆ โดยมุ่งไปที่จะให้เสียงและคําสวดมนต์โน้มนําใจของท่านให้สงบหรือเกิดอนุสติระลึกไปในทางของบุญกุศล เช่นนึกถึงพระพุทธรูป นึกถึงบรรยากาศในการที่ได้ไปทําบุญ นึกถึง บุญทั้งหลายที่ได้ทํา

แต่ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะที่เจริญได้ ไม่ว่าจะสวดอย่างไร ก็ ต้องให้มีสาธยายอยู่เป็นแกน ดังที่ว่ามา

การสวดมนต์อย่างที่ทําสืบๆ กันมานี้ เป็นการกระทําของ บุคคล คือแต่ละคนทํากิจของตนๆ ถึงจะมาสวดพร้อมกัน หรือ ประชุมพร้อมกันสวด แต่ละคนก็ทํากิจของตนๆ ในฐานะเป็นส่วน ร่วมของคณะหรือของที่ประชุม โดยมาประสานกัน จะว่าเป็นคณ สาธยาย ก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะระลึกรู้เข้าใจธรรม หรือตั้งใจว่าจะรักษาพุทธพจน์เอาไว้แต่อย่างใด สาระที่พอจะ ได้ ก็คือเป็นกายสามัคคี และเป็นจิตตสามัคคี อันนี้ก็เป็นความดีที่ เป็นพื้นฐานไว้ แต่ยังไม่ใช่เป็นตัวสาระ

ส่วนที่ว่าเมื่อสวดไปใจมาอยู่กับอารมณ์ที่ดีงามได้มีความ สงบสดชื่นรื่นใจห่างหายทุกข์ บางทีเกิดมีปีติปราโมทย์ นั่นก็เป็น บุญกิริยาดีอยู่ แต่ยังกึ่งหรือเสี่ยงต่ออกุศลที่จะเป็นความเสื่อม เสีย เมื่อกลายเป็นความติดเพลินสุขอยู่ในความเคลิบเคลิ้ม สมาธิก็ ไม่ไป สติก็ไม่มีที่จะตื่นจะทัน ปัญญาก็ไม่มารู้เข้าใจ เลยกลายไป เป็นชีวิตแห่งความประมาท มีสติขาดๆ พร่องๆ

การสวดมนต์อย่างที่ว่ามานั้น ถ้าจะว่าเป็นการสืบทอดมา ตามประเพณี ก็ไม่ถูกแท้ เป็นได้แค่ประเพณีที่เสื่อมจางรางเลื่อน ขาดด้วนจากสาระ (ที่เคยพอมีอยู่บ้าง)

การสวดมนต์อย่างที่สืบๆ กันมานั้น แม้จะเลือนรางจางสาระ ลงไป ก็ยังมีความหมายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเจริญกุศลหรือ การปฏิบัติธรรม เรียกได้ว่าเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะปฏิบัติ ธรรมหรือเจริญกุศลขั้นต่อไป ที่เป็นความมุ่งหมายอันแท้จริง

ตามประเพณีที่สืบจากเดิมนั้น ใช้การมาประชุมสวดมนต์ พร้อมกันนี้ เป็นการเตรียมตัวเพื่อกิจกรรม (บุญกิริยา) ที่สําคัญขั้นต่อไป

@@@@@@@

การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมคนที่มาประชุมหรือชุมนุมกันนั้น พูดให้เป็นภาษาชาวบ้านว่า รวมพล โดยเอาคนมา รวมกัน แล้วก็ รวมใจ ให้ใจของทุกคนที่มาชุมนุมกันนั้นสงบชื่น บานมองมุ่งไปที่จุดหมายอันเดียวกัน ใครมีเรื่องหงุดหงิดกังวล ฟุ้งซ่าน พอมาสวดมนต์ ก็สงบลงอย่างที่ว่าแล้ว แล้วก็รวมใจพร้อม ใจกับคนอื่นๆ มุ่งไปที่จุดมุ่งอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น

งานหรือกิจกรรมที่ว่าเป็นบุญกิริยาอะไรที่ผู้สวดมนต์มุ่งจะทําต่อไป นี่ก็คือการฟังธรรม ได้แก่ ธรรมสวนะ อันนี้มิใช่เป็นเพียง ว่าเรามีประเพณีที่ว่าสวดมนต์แล้วฟังธรรม แต่การฟังธรรมนั่น แหละเป็นตัวบุญกิริยาที่ทําให้เกิดประเพณีนี้

ธรรมสวนะ คือการฟังธรรมนี้ ที่ว่าเป็นบุญกิริยาสําคัญนั้น ก็ คือเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท ทั้งพระและโยม จะต้องเอาจริงเอาจัง

การที่เรามีพระพุทธเจ้า การที่ชาวบ้านมีพระสงฆ์ไว้ ความหมายแท้สุดสําคัญ ก็เพื่อให้เรา เพื่อให้ประชาชนชาวบ้านจะ ได้ฟังธรรม เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้รู้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร จะได้ทํา ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เจริญก้าวไปในการเรียนการรู้และการปฏิบัติธรรมต่อไป

ดังนั้น ตั้งแต่เดิมมาจึงจัดให้การฟังธรรมนี้เป็นกิจประจําวัน ของพระของโยม ถึงกับมีคําว่า “ธัมมัสสวนโฆสนา” คือการโฆษณาประกาศป่าวร้องให้รู้ทั่วกันถึงรายการฟังธรรม แต่กาลนาน ผ่านมา ชาวพุทธอ่อนแอลง เสื่อมถอยจากธรรมสวนะ ไม่รู้จักที่จะ ใส่ใจในเรื่องการฟังธรรม

ตั้งแต่ไม่รู้จักหน้าที่สําคัญของตนคือการฟังธรรมนี้แล้ว อะไรๆก็เลื่อนรางลงไป จะทําอะไรๆ ก็ไม่ทําด้วยความรู้เข้าใจ แล้วความ เสื่อมก็ตามมา จากยุคแรกแห่งการรักษาธรรมวินัย ก็กลายเป็นแค่ ยุคสมัยของการรักษาประเพณี แล้วประเพณีเองก็ค่อยๆ เลือนราง ลงไป ได้แค่รักษารูปแบบไว้ (รักษาขวดไว้ได้ แต่น้ําหรือยาหายไป บางทีกลายเป็นมีสุราเข้ามาแทน)

การสวดมนต์แล้วฟังธรรมนี้ มีเค้าความที่โยงกับเรื่องซึ่งจะ พูดถึงดังจะเห็นในข้อต่อไปข้างหน้าด้วย

@@@@@@@

เป็นอันว่า คนที่มาพร้อมกันสวดมนต์ด้วยกันนั้น ตระหนักรู้อยู่ว่า เบื้องหน้าต่อจากนี้พวกเราจะได้ฟังธรรม จากนั้น เมื่อญาติ โยมสวดมนต์พร้อมกัน ใจสงบพร้อมดีแล้ว พระก็แสดงธรรมให้ฟัง หรือมีการพูดธรรมต่อไป นี่คือไม่ใช่ว่าสวดมนต์แล้วก็จบคือเลิกกัน

งานหรือบุญกิริยาอีกอย่างหนึ่ง ที่ใช้การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะทําต่อไป ก็คือใช้การสวดมนต์เป็น การเตรียมจิตเพื่อการทําสมาธิ อย่างที่บอกแล้วว่า จิตใจของผู้ที่มา แต่ละคนๆ เมื่อมาถึงที่นั่น อยู่ในภาวะต่อเนื่องมาจากการถูก กระทบภายนอกที่ต่างๆ กันไป บ้างก็หงุดหงิดฟุ้งซ่าน บ้างก็ค้าง จิตติดอารมณ์โน่นนี่มา อะไรต่างๆ ทําให้ใจไม่พร้อม ก็มาสวดมนต์ ด้วยกัน เป็นทั้งรวมพล รวมคน รวมใจ ให้สงบนิ่งปลอดสิ่งรบกวน เข้าที่ พร้อมที่จะเจริญสมาธิให้ก้าวหน้า

แต่การทําสมาธินี่ที่จริงเป็นเรื่องการปฏิบัติภายในของแต่ละคนนั้นๆ เอง เขาอยู่ในที่ของเขา เขาก็สวดมนต์ในส่วนของตัวเอง เพื่อเตรียมจิตให้สงบพร้อมน้อมที่จะมั่นแน่วเป็นสมาธิ การชุมนุม สวดมนต์ด้วยกันเพื่อผลในการเจริญสมาธิจึงเป็นส่วนเสริมเพิ่มเข้ามา ไม่ใช่เป็นผลที่หมายตัวแท้ตัวจริง

การสวดมนต์ที่เป็นการปฏิบัติภายในของตัวบุคคลที่ควร สนับสนุนอย่างหนึ่ง คือสวดมนต์เพื่อช่วยให้นอนหลับ การสวด มนต์เพื่อนําการเจริญสมาธิและเพื่อแก้ปัญหานอนไม่หลับนี้ เป็น ประโยชน์จําเพาะทางจิตใจที่ระบุความมุ่งหมายแยกไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่มาสับสนปนเปกับวัตถุประสงค์ทั่วไปตามปกติของการสวดมนต์

รวมแล้ว ถ้าจะให้เข้าหลักแท้ ก็อย่างที่ว่า คือ ให้การสวดมนต์หมู่ตามต่อมาด้วยกิจกรรมที่เป็นบุญกิริยาใหญ่ อันให้ ประโยชน์ ที่ได้ทางจิตใจแล้วก็ได้ปัญญาด้วย ก็คือ การฟังธรรมนั่น แหละ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จะให้ได้ครบไปจบถึงปัญญา

นอกจากนั้น บางครั้งการชุมนุมสวดมนต์ด้วยกันพร้อมกันนี้ก็อาจใช้เป็นการเตรียมตัวให้สงบมั่นคงมั่นใจพร้อมเพื่อการทํากิจ สําคัญอย่างอื่น ตั้งแต่การรวมกําลังทํางานบุญของชาวบ้าน ไป จนกระทั่งถึงกิจการของบ้านเมือง

@@@@@@@

ในบ้านเมืองไทยสืบมาแต่สมัยก่อนโน้น มีวัดที่ชื่อว่า “ชนะสงคราม” อย่างที่กาญจนบุรี มีวัดชัยชุมพลชนะสงคราม วัดนั้น เป็นอย่างไร ตามเรื่องเก่าที่พอได้ทราบว่า ในยามที่พระมหากษัตริย์ ทรงเตรียมทัพออกศึก จะโปรดฯ ให้ทหารมาชุมพลคือมาประชุม พร้อมกันที่วัดนั้น ทําจิตใจให้สงบมั่น เป็นการได้รับพร ให้พร้อม ก่อนที่จะยกทัพออกไป จึงมีชื่อว่าวัดชัยชุมพลชนะสงคราม

ที่กรุงเทพฯ ก็มีวัดชนะสงคราม ซึ่งตามที่ทราบว่าเป็นวัดที่มี โบสถ์ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นที่ชุมนุมทหารได้เหมาะ หมายความว่า องค์ พระมหากษัตริย์ทรงไปรบชนะกลับมา ก็มารวมพลที่วัดชนะสงคราม ก่อนที่จะปล่อยแยกย้ายกันไป อันนี้พูดสั้นๆ ว่าเป็นการทําจิตให้ เข้าที่ ลงท้ายโดยมารวมกันในกุศล ให้ความสงบมาปิดท้ายจบ ความวุ่นวาย ให้พร้อมดีที่จะกลับไปดําเนินชีวิตในยามปกติต่อไป

ที่พูดมานี้ ว่าไปตามที่ได้ยินได้ฟังมาบ้าง ยังไม่ได้สอบสวน ค้นคว้าอะไร ดังนั้นท่านใดซึ่งใกล้ชิดที่ ใกล้ชิดเรื่อง และมีโอกาส ก็อาจจะนําเนื้อความที่หนักแน่นชัดเจนสักหน่อยมาบอกเล่ากัน

ทีนี้ ว่าถึงการรวมพลที่จะไปรบนั้น ก็หมายความว่าทาง บ้านเมืองได้เอาการสวดมนต์เป็นต้นนี้ ขยายไปใช้ประโยชน์ โดย ยกความสงบมั่นคงความพร้อมด้านจิตใจเป็นสําคัญขึ้นมา ให้ชีวิตมีฐานทางด้านบุญก่อน แล้วเรื่องไปรบจึงมาต่อในจิตที่เตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว

ถ้าไม่เตรียมให้พร้อมตีในด้านจิตใจ ทหารหรือคนที่จะไปรบ นั้นตื่นเต้น หลายคนก็หวาดผวา ใจไม่ดี บางคนก็คิดถึงครอบครัว ห่วงกังวลโน่นนี่ ใจฟุ้งซ่านไปต่างๆ ก็มาร่วมชุมพลที่วัดพร้อมกัน แล้วสวดมนต์ ใจจะได้สงบ นี่ก็คือรวมพล รวมคน รวมใจ ใจก็สงบ จากเรื่องทั้งหลาย มามองหมายมุ่งไปที่งานอันจะทําต่อไป และองค์พระจอมทัพก็อาจจะตรัสความนําใจนําปัญญา พามวลพลกายให้มีใจหนึ่งเดียวมุ่งไปยังจุดหมายของการรักษาบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาราษฎร์ ทีนี้ใจก็จะเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันมั่นสงบพร้อม ดังนั้น การสวดมนต์ก็จึงใช้แม้แต่ในเรื่อง ของทางการบ้านเมือง เรื่องก็เป็นมาทํานองนี้

ต้องพูดแทรกบอกไว้กันความเข้าใจผิดด้วยว่า หลายคนอาจ พูดว่า การทําอย่างนี้ก็เป็นการเอาสวดมนต์ เอาเรื่องพระเรื่องบุญไปใช้ในการรบราฆ่าฟันกันด้วยสิ

ขอให้เข้าใจตามหลักที่ได้พูดไปแล้วข้างต้นว่า การสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ อวยชัยให้พร หรือแม้แต่จะพรมน้ํามนต์ให้แก่ เหล่าทหาร แก่กองทัพนั้น ในพระพุทธศาสนา เป็นไปตามหลักของ ปริตร/ปริตต์/ปริตตาณะ คือเพื่อการคุ้มครองป้องกัน หรือปกปัก รักษา ให้ตนเองและหมู่ชนปลอดภัย มีความเกษมสวัสดี พ้นเลย จากนั้นไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของตัวคนนั้นๆ เองที่ไปคิดไปทํา การที่จะ ไปเข่นฆ่าทําร้ายใคร หรือจะไปมีโชคลาภร่ํารวยอะไรนั้น พระไม่ไป ยุ่งด้วย พระได้แต่อ้างอิงสัจจะอ้างอิงธรรมให้อํานวยความคุ้มครอง ให้มั่นคงปลอดภัย ปกป้องรักษาให้ได้ความสงบ มั่นใจหลักการนี้ออกมาเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติสอดคล้องกันในขอบเขตแค่นั้น

@@@@@@@

ทีนี้ว่าถึงในปัจจุบัน การชุมนุมสวดมนต์รวมพลรวมใจให้ สงบพร้อมมั่นคงมั่นใจแบบนี้ ก็น่าจะใช้ได้ดีกับกิจกรรมบุญกุศล ส่วนรวมต่างๆ เช่นให้ชาวบ้านมาชุมนุมสวดมนต์พร้อมด้วยกัน ก่อนที่จะรวมกําลังกันทํางานบุญบําเพ็ญประโยชน์ เช่นพัฒนา หมู่บ้าน พัฒนาชุมชนให้ทุกคนอยู่กันดีมีศีลมีธรรม

เป็นอันว่า ถึงแม้เราจะไม่ใช้การสวดมนต์ในความหมาย แบบเดิมในครั้งพุทธกาล คือ หนึ่ง ใช้ในการเรียนธรรมของตน สอง ใช้ในการรักษาพุทธพจน์ ก็เอาการสวดมนต์มาใช้ในการรวมพล รวมคน รวมใจ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะทํางานบุญหรือกิจกรรมที่ดี งาม เมื่อจะทําอะไรที่สําคัญ เราก็มารวมพลสวดมนต์กันให้ใจสงบ มั่นแน่ว แล้วก็เริ่มทําการที่คิดหมายไว้ ตัวคนก็จะพัฒนา งานของ ชุมชนก็จะได้ผลจริงจัง นี่ก็เล่าให้ฟังไว้

ข้อสําคัญคือ ในเรื่องนี้ ต้องจับให้ได้สารธรรม ที่จะทําการ สวดมนต์นั้นโดยมีปัญญารู้เข้าใจ และทําให้ได้ประโยชน์แท้ที่มุ่ง หมาย ไม่ใช่แค่สวดไปสวดมาว่าตามๆ กันไป จนกลายเป็นแย่กว่า สวดมนต์ของพราหมณ์ ได้แต่มัวเคลิบเคลิ้มเพลินๆ กันไป กลายเป็นว่าทําให้คนยิ่งเฉื่อยชาไปกันใหญ่ ดีไม่ดีก็เลยไถลลงไป อยู่ในความประมาท สติก็ห่างหาย ปัญญาก็ไม่มาฉายแสงนําทางให้

การเข้ามารวมกลุ่มชุมนุมกันสวดมนต์มากมายใช้เวลานานๆ ให้เคลิ้มจิตเคลิ้มใจอยู่กับใจของตัวได้ หายทุกข์หาย กังวลนั้น จะยอมให้ได้ก็สําหรับคนที่เจ็บไข้หนัก และท่านผู้เฒ่าชรา (และเด็กเล็กเด็กน้อย) ซึ่งไม่มีแรงกายแรงใจที่จะทําอะไรได้ มากกว่านั้น ให้ได้มีที่พึ่งจิตที่พักใจได้ชื่นชมชูกําลังให้ฟื้นคืนความ แจ่มใสขึ้นมา

แต่สําหรับคนทั่วไปที่ยังมีเรี่ยวแรง การสวดมนต์จะต้องเป็น แรงขับเคลื่อนให้เดินหน้าก้าวต่อไปกับสติและปัญญา ไม่ใช่เป็นแค่ที่พักใจให้มาติดเพลิน และไม่ใช่จะให้มาติดอยู่แค่การแก้ปัญหา จิตใจ แต่ต้องไปให้ถึงจุดหมายที่แท้แต่ดั้งเดิม คือมุ่งไปที่การมีสติ ที่จะได้เจริญปัญญา

สําหรับคนที่มีทุกข์สุมรุมล้อมจิตใจวุ่นวาย แล้วมาได้การ ชุมนุมกันสวดมนต์ เป็นที่หลบทุกข์ห่างปัญหา ได้มาชุบชูใจ สงบ ใจ หรือกล่อมใจให้พ้นเรื่องราววุ่นวายยุ่งใจไปได้คราวหนึ่งๆ ก็ให้รู้ ว่าเรื่องไม่ใช่จบแค่นั้น แต่ต้องให้การเข้ามาร่วมชุมนุมสวดมนต์นั้น เหมือนเป็นการหลีกปลีกตัวมาแวะสถานีบริการหยุดพักสักครู่เพื่อ ซ่อมเสริมเติมพลัง และได้เรียนรู้เสริมปัญญาที่จะออกไป ปฏิบัติการให้เก่งที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะได้รู้จักปรับแก้
พัฒนาการดําเนินชีวิตและกิจการงานให้ถูกต้องดีงามเป็นคุณประโยชน์แท้จริงหรือยิ่งขึ้นไป

เอาเป็นว่า การสวดมนต์นี้ ถ้าไม่ใช้ตามความหมายเดิม ๒ อย่าง คือ หนึ่ง ใช้ในการศึกษา สอง ใช้เพื่อรักษาพุทธพจน์ ก็ใช้ใน การเตรียมตัวทํางานทํากิจการบําเพ็ญบุญกิริยาที่ยิ่งขึ้นไป โดยทํา ให้มีใจสงบพร้อมมั่นแน่ว ถ้าทําได้ในทางนี้ ก็จะดีขึ้น

เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็ให้ได้ประโยชน์อย่างที่สามนี้




ต้องให้สวดธรรม มาย้ำเสริมแรงแสดง-สดับธรรม มิใช่ว่าสวดมนต์มาพาแสดงสดับธรรมให้ลับหาย

ที่พูดมายืดยาว ก็เพราะเกรงว่าที่ชาวพุทธชอบมาสวดมนต์ กันนี่ ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าสวดกันไปอย่างนั้นๆ สวดกันให้เพลิน สวดกันให้หลับไปเลยอะไรอย่างนี้ แล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ถ้าอย่างนั้น มันก็จะเข้าทางที่ใกล้เป็นพราหมณ์เข้าไปเต็มที่ หรืออาจจะแย่ยิ่งกว่าพราหมณ์ลงไปอีก

ทางหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้ผิดพลาดหลงทาง คือ ย้อนหลังไปดูการสวดมนต์ในการดําเนินชีวิตเป็นอยู่และทํากิจประจําวันของชุมชนชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน ในยุคสมัยที่สืบต่อจากพุทธกาลไม่นานไม่ห่างมากนักจากสมัยของพระพุทธเจ้า เฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่เห็นได้จากบันทึกในคัมภีร์ทั้งหลายว่าเป็นสภาพในกาลเวลาที่การเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ คือทั้งปริยัติและปฏิบัติ ยังหนักแน่นจริงจังตามพระธรรมวินัย เอาง่ายๆ ชัดๆ คือในยุคที่ฟื้นอรรถกถาขึ้นมาช่วยการศึกษาพระไตรปิฎก คือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐

ในคัมภีร์ต่างๆ แห่งยุคสมัยนั้น เมื่อท่านเขียนแสดงไขขยาย ความหลักธรรมวินัย ไปๆ ก็มีบ่อยๆ ที่ท่านเล่าเรื่องราวความ เป็นไปของพระพุทธศาสนาและชีวิตความเป็นอยู่ของพระสงฆ์กับทั้งเหล่าพุทธบริษัทแทรกไปด้วย ข้อความบางท่อนบางประโยคของท่าน ทําให้เรามองเห็นชีวิตความเป็นอยู่และกิจประจําวันของพระและโยมสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

มีข้อความเป็นคําบาลีคําหนึ่ง ซึ่งพูดถึงการทํากิจในชีวิตประจําวันของพระภิกษุ เมื่อพันห้าร้อยปีก่อนโน้น เป็นคํายาวมาก และในหลายคัมภีร์ยกขึ้นมาพูดอย่างเดียวกัน  (เช่น ปฏิสํ.อ.๑/๓๕๗ ; วิสุทฺธิ.๒/๒๒๒ ; วินย.ฏี.๓/๗๒)  ท่านเขียนว่า “ปทภาณธมฺมกถาสรภัญญปัญหา วิสสชชนรชนปจนจีวรสพพนโธวนาทีน” คือบอกว่า “ภิกษุทั้งหลายซึ่ง กําลังทํากิจต่างๆ) เช่น สวดบทภาณอยู่บ้าง แสดงธรรมกถาอยู่ บ้าง สวดสรภัญญะอยู่บ้าง ถาม-ตอบปัญหาอยู่บ้าง ย้อมจีวรอยู่บ้าง ต้มจีวรอยู่บ้าง เย็บจีวรอยู่บ้าง ซักจีวรอยู่บ้าง"

จะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ มีแต่เรื่องของการพูดธรรม สวดธรรม การเทศน์ การอธิบายธรรม ตอบปัญหาธรรม และน่าสังเกต ว่ากิจกรรมในการเล่าเรียนศึกษาสั่งสอนธรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรม สามัญในชีวิตประจําวันของพระสมัยนั้น เหมือนกับการซักจีวรเย็บ จีวรย้อมจีวร

ส่วนทางฝ่ายชาวบ้าน ท่านพูดถึงกิจกรรมเช่นว่า “เจติยวนทน ธมฺมสฺสวนกาลาทีสุ" บอกว่า "ในกาละต่างๆ เช่นเวลาไปไหว้พระ เจดีย์ (พระพุทธรูปก็เป็นเจดีย์ชนิดหนึ่ง) เวลาไปฟังธรรม เป็นต้น"

นี่คือบอกว่า หน้าที่ของชาวพุทธ ได้แก่ การพูดธรรม-ฟังธรรม หรือแสดงธรรม-สดับธรรม แล้วก็มีสวดธรรมมาช้อนเสริมเข้าไปให้ แสดงธรรม-สดับธรรมนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านชัดเจนจริงจัง กระชับสาระ และไพเราะเสนาะชวนฟัง คือสวดธรรมนั้นมาเป็น ช่องทางมาเป็นวิธีปฏิบัติในการแสดงธรรม ไม่ใช่มาแทนที่การแสดงธรรม

@@@@@@@

กิจของพระที่ท่านพูดถึงเมื่อกี้ ก็คือวิธีต่างๆ ในการพูดธรรม แสดงธรรม อธิบายธรรมนั่นเอง ดังนี้

    ๑. ปทภาณ คือ การสวดแสดงธรรมเรียงบท อย่างที่ได้พูด ข้างต้นแล้วว่า “ภาณ” เป็นคําหนึ่งที่แปลกันว่า “สวด” แต่ที่จริง ภาพนี้เป็นคําสามัญ แปลว่า “พูด” “ว่า” “กล่าว” นั่นเอง แต่เมื่อ พูด-ว่า-กล่าว เป็นทํานอง เราก็เรียกว่าสวด

แล้ว “ปทภาณ” กล่าวหรือสวดตัวบทเรียงบท คืออย่างไร “บท” หมายถึงคาถาหนึ่งๆ (อย่างที่ว่า สี่บาท เป็นคาถาหนึ่งบท) ก็ ได้ หมายถึงข้อธรรมหนึ่งๆ ก็ได้ ในที่นี้มุ่งเอาพุทธพจน์

“ปทภาณ” (จะพูดว่า ปทภาณะ หรือบทภาณ ก็ได้) คือการ ยกเอาพุทธพจน์ จะเป็นคาถา เป็นพระสูตร หรือคําตรัสบทหนึ่งๆ ก็ตาม ขึ้นมากล่าวมาสวด โดยอธิบายความหมายไปด้วยเรียงตามลําดับตัวบทนั้น

    ๒. ธรรมกถา คือ การกล่าวอธิบายบรรยายธรรมหรือพูด เรื่องธรรมอย่างกว้างๆ ทั่วๆ ไป ที่มักเรียกกันว่าเทศน์ หรือแสดง ธรรม และเรียกตัวผู้แสดงว่าธรรมกถูก

    ๓. สรภัญญะ คือ การกล่าวธรรมด้วยเสียงที่เสนาะไพเราะ ชัดเจนเป็นทํานองกลมกล่อมน่าฟัง (“สร” คือ เสียง + “ภัญญะ” คือ คําเดียวกับ ภณน, ภาณ) โดยยกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมาเปล่งเสียงกล่าวออกไป เรียกว่าสวดสรภัญญะ

   ๔. ปัญหาวิสัชนา (บางทีเรียกเต็มว่า ปัญหาปุจฉน-ปัญหาวิสัชนา เวลานี้นิยมเรียกว่า ปุจฉาวิสัชนา) คือ การถามปัญหา-ตอบปัญหา เป็นวิธีแสดงธรรมสอนธรรมที่ตรงกับความต้องการ และช่วยเสริมเติมเต็มให้แก่การแสดงธรรมอธิบายธรรมอย่างอื่นๆ

ย้ําว่า กิจสามัญอันสําคัญซึ่งเป็นหน้าที่ประจําตัวของชาวพุทธ คือการพูดธรรม-ฟังธรรม แสดงธรรม-สดับธรรม หรือสอน ธรรม-เรียนธรรม โดยมีการสวดธรรมเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการ แสดงธรรมนั้น อย่างน้อยการสวดธรรม ก็เป็นการสาธยายทบทวน ธรรมที่ได้แสดงได้สดับนั้น (มิใช่ให้การสวดเป็นกิจกรรมอะไรที่ ต่างหากออกไป จนกลายเป็นสวดมนต์เวียนวนเรื่อยไปให้ เคลิบเคลิ้มใจแค่ได้พักผ่อนได้เพลิดเพลิน)*

___________________________________
*ในข้อ ๑. บทภาณนั้น ถ้ายกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมากล่าวเป็นหลัก โดย ปรารถนาให้มีการอธิบายความหมาย แต่ยังไม่บอกความหมายไม่อธิบาย ก็ไม่เรียกว่า บทภาณ แต่เรียกว่า โอสารณา ; กิจกรรมของพระภิกษุในการแสดงธรรมสอนธรรม ยังมี อีกหลายอย่าง ซึ่งพึ่งใช้ตามกาลโอกาส เช่น อุปนิสินนกถา ปริกถา อนุโมทนาถา

@@@@@@@

เมื่อนักเทศน์ ได้นักสวด มาเข้าชุด

ในคัมภีร์ชั้นฎีกาแห่งหนึ่ง (สํ.ฏี.๑/๘๙) กล่าวถึงวิธีสวด-แสดง ธรรมไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ แม้จะไม่พบหลักฐานยืนยันในคัมภีร์ อื่น ก็น่าจะนํามาบอกไว้ เป็นวิธีปฏิบัติที่ชวนให้ติดตามรอฟังธรรม ไปให้ตลอด และทําให้รู้สึกว่าได้เนื้อหาสาระหนักแน่นจริงจัง

วิธีนี้คือ ให้พระนักสวดมาทําหน้าที่เข้าชุดกับพระนักเทศน์ โดยที่ว่า เมื่อพระ เมื่อโยม อยากฟังอยากรู้ต้องการเล่าเรียนศึกษา พุทธพจน์คําสอนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระนักสวดเข้ามายกเอา คาถา พระสูตร พุทธพจน์นั้นขึ้นมาสวดสรภัญญะ ตั้งเป็นหลักหรือ เป็นบทตั้งน่าไว้ก่อน

เมื่อพระนักสวดสรภัญญะ (เรียกว่า สรภาณ) สวดบทตั้งจบแล้ว ก็นิมนต์พระนักเทศน์ (คือ ธรรมกถึก) ขึ้นมาบรรยายอธิบาย คาถา พระสูตร พุทธพจน์ ที่พระสรภาณได้สวดตั้งเป็นหลักไว้ให้ แล้วนั้น อย่างละเอียดพิสดารให้ผู้ฟังรู้เข้าใจชัดเจน

วิธีที่นิมนต์พระนักสวด มาเข้าชุดกับพระนักเทศน์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สรภาณธรรมกถา

@@@@@@@

ทีนี้ ถ้าไม่มีหรือหาพระสรภาณนักสวดสรภัญญะ ไม่ได้ ก็อาจ ยักเยื้องปรับแปรในขั้นตอนนี้ได้ โดยที่ประชุมนั้นเองสวดคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่จะให้พระนักเทศน์ คือพระธรรมกถูกขึ้นมาอธิบายนั้น เป็นการชุมนุมสวดมนต์หรือสวดมนต์หมู่นําหน้าธรรมกถาของ พระนักเทศน์ หรือที่ประชุมจะตั้งตัวแทนขึ้นมาสวดก็ได้

ถ้าชาวพุทธชวนกันปฏิบัติให้ได้อย่างที่ว่ามานี้ ก็จะทําให้การ สวดมนต์เกิดมีประโยชน์สมตามธรรม และจะเป็นการช่วยกันฟื้นการสวดมนต์นั้นให้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามความหมายที่แท้จริง ให้การสวดเป็นส่วนร่วมอยู่ในบุญกิริยาแห่งธรรมสวนะและ ธรรมเทศนา ที่จะพาให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรมได้จริง

อย่างง่ายๆ ถ้าทําอย่างที่ว่ามานั้นก็ยังไม่ไหว ก็เอาแค่ว่า เมื่อใดมีการชุมนุมสวดมนต์ พระก็ใช้เป็นโอกาสที่จะสอนจะบอก ธรรมแก่ญาติโยมมากบ้างน้อยบ้าง พอให้ญาติโยมรู้เข้าใจธรรม เพิ่มขึ้นบ้าง ได้ครั้งละเล็กละน้อย ก็ยังพอสมให้ชื่อว่าได้ปฏิบัติตาม หลักที่ทําการสวดมนต์ให้เป็นส่วนแห่งบุญกิริยาข้อธรรมสวนะ(ธัมมัสสวนมัย บุญกิริยาวัตถุ) และพระก็ชื่อว่าได้ทําหน้าที่ของตนใน ฐานะเป็นผู้ให้ธรรม ในบุญกิริยาข้อธรรมเทศนา (ธัมมเทสนามัย บุญกิริยาวัตถุ) ไม่เป็นกิจกรรมที่เลื่อนลอย แต่มีพระที่เป็นผู้ให้ธรรมมิใช่แค่นำสวดมนต์

(ยังมีต่อ..)
37  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เข้าใจปรากฏการณ์ “มูเตลู” อะไรที่ทำให้บูม หลายคนหันไปพึ่งพิงไสยศาสตร์ เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 06:57:46 am
.



เข้าใจปรากฏการณ์ “มูเตลู” อะไรที่ทำให้บูม หลายคนหันไปพึ่งพิงไสยศาสตร์

ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ “มูเตลู” ในสังคมเมืองที่มีให้เห็นเพิ่มขึ้น ไขข้อสงสัยอะไรที่ทำให้ผู้คนหันไปพึ่งพิงไสยศาสตร์

ไสยศาสตร์แม้จะถูกมองว่าเป็นคู่ตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์อย่างสิ้นเชิง แต่ไฉนในช่วงสิบปีให้หลังมานี้ โลกของเรากลับเห็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวัตถุมงคลเพิ่มขึ้น รวมถึงมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หน้าใหม่ๆ ถือกำเนิดขึ้นมา เช่น ไอ้ไข่ ท้าวเวสสุวรรณ หรือครูกายแก้ว ที่เป็นประเด็กถกเถียงในสังคมตอนนี้

จนในโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ก็มีให้เห็นหลายเพจ หลายแชแนล “สายมู” ผุดขึ้นมามากมาย รวมถึงมีคอนเทนต์พาผู้สนใจเดินทางไปในโลกออนไลน์เพื่อสักการะสิ่งเคารพที่กำลังอินเทรนด์ต่างๆ ด้วย



ประชาชนแห่ทำพิธีหน้าลานเซ็นทรัลเวิล์ด

หรือแม้แต่กระทั่งในทีมฟุตบอลระดับโลกก็ยังมีผ้ายันต์ อีกทั้งการนำเสนอข่าว อาทิ เลขทะเบียนรถของนายกรัฐมนตรี หรือเรื่องราวแปลกๆ เช่น ปลาช่อนทอง จอมปลวก หรือรูปเหมือนพญานาค ก็มีให้เห็นในช่วงใกล้วันออกผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

ดังนั้นการที่ไสยศาสตร์งอกงามขึ้นในสังคมเมือง จึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น ที่ทำให้ผู้คนเข้าหาและหันไปพึ่งพิงไสยศาสตร์ และผู้คนกำลังแสวงหาอะไรในสังคมนี้!?

วันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจร่วมกันกับปรากฏการณ์นี้ใน “งานเสวนา เคลือบแคลง ย้อนแย้ง แสวงหา: ไสยศาสตร์ในวิถีเมือง” ในงานอักษรศาสตร์สู่สังคม ที่มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาช่วยคลายคำตอบให้หายข้องใจ

@@@@@@@

ไสยศาสตร์ตอบโจทย์ทางใจมนุษย์ทุกสมัย

ไสยศาสตร์อาจดูเป็นเรื่องลี้ลับ งมงาย หรือเรื่องโบราณล้าสมัย แต่ที่จริงแล้วหากมองให้ลึกลงไปจะเห็นว่า กลับกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์มนุษย์ทุกสมัยนับแต่โบราณมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปั่นป่วนโกลาหล

เดิมทีคนโบราณสมัยก่อนรัชกาลที่ 4 ไม่ได้มองไสยศาสตร์จำกัดอย่างปัจจุบัน พวกเขาไม่ได้มองว่าไสยศาสตร์เป็นเรื่องลี้ลับหรือมนต์ดำใดๆ เพียงแต่เป็นศาสนาและความเชื่อที่มีองค์ประกอบเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาร์ย ความวิเศษ

เพราะคำว่า “ไสยศาสตร์” หมายถึงการท่องมนต์และพิธีกรรม นอกจากนี้ยังรวมถึงการผสมผสานความเชื่อในท้องถิ่นเข้าไปด้วย

ส่วนหากจะพูดถึงความแตกต่างระหว่างไสยศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ก็ในแง่ระบบความคิดของมนุษย์ ก็ไม่ต่างกัน เพราะไสยศาสตร์เป็นภูมิปัญญา เป็นระบบความคิด ความเชื่อของมนุษย์ที่พยายามสร้างคำอธิบายให้กับสิ่งที่มนุษย์ไม่เข้าใจ เช่น ฝนตกฟ้าร้อง ทำให้เราเข้าใจโลกเข้าใจตัวเอง ตอบโจทย์อนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง และบางสิ่งที่เราอาจจะเข้าไปแก้ไขไม่ได้ ชุดความเชื่อทางไสยศาสตร์ทำให้เราคิดกับสิ่งเหล่านี้ได้

ดังนั้นแล้วไม่ว่าโลกสมัยใหม่จะผลักไสยศาสตร์ให้เป็นคู่ตรงข้ามกับพุทธศาสน์และวิทยาศาสตร์ แต่หน้าที่และความหมายของไสยศาสตร์ในพื้นที่ชีวิตและจิตวิญญาณของมนุษย์ก็ยังคงซ้ำเดิม ซ้ำในบริบทโลกยุคนี้ กลับทวีความสำคัญขึ้นอีก

     "แม้มนุษย์ในปัจจุบันจะมีความรู้และความเข้าใจเชิงเหตุผล มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเข้าใจความเป็นจริง แต่บางครั้งความจริงก็ไม่ตอบโจทย์ทางอารมณ์ เช่น ความเศร้า ความหวัง — ไสยศาสตร์ แม้จะไม่เมคเซ้นส์ แต่ก็ทำให้อุ่นใจ"



พระสทาศิวะ


ไสยศาสตร์ตัวช่วยรับมือโลกป่วน

สิ่งที่น่าทึ่งคือไสยศาสตร์เกิดขึ้นมากมายในยุคที่ปั่นป่วนมากที่สุด โดยมียุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ทางปรัชญา คือยุคหลังเมืองเอเธนส์ล่มสลายและก่อนโรมเอมไพร์จะก่อตั้งขึ้น ยุคนั้นทางปรัชญามองว่าเป็นยุคที่ยุ่งเหยิงและโกลาหลที่สุด แต่ในยุคนี้นี่เองกลับเกิดระบบความเชื่อเหนือธรรมชาติ (mysticism) มากมาย

นั่นหมายความว่าในยามที่บ้านเมืองปั่นป่วน ชีวิตไม่นิ่ง ผันผวนและมีความไม่มั่นคง มนุษย์จะเข้าหาสิ่งที่คิดว่านิ่งที่สุด เป็นหลักพึ่งพิงเพื่อที่จะสร้างความมั่นคงของชีวิต และพื้นที่ที่เผชิญกับความโกลาหลและปั่นป่วนที่สุดก็คือพื้นที่เมือง!

จึงไม่น่าแปลกใจที่พื้นที่เมืองในปัจจุบัน นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางวัตถุ เทคโนโลยี วิชาการความรู้และความหลากหลายทางวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมความเชื่อและวิถีปฏิบัติเชิงไสยศาสตร์ที่หลากหลายด้วย

@@@@@@@

ไสยศาสตร์เครื่องมือบริหารความเสี่ยงในชีวิตคนเมือง

“ไสยศาสตร์เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในชีวิตสังคมเมือง” จะพูดแบบนี้ก็คงไม่ผิด ในสภาพสังคมที่โกลาหล ดูมีความไม่มั่นคง และแน่นอน กลับทำให้คนหันไปหาที่พึ่งทางใจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ

    "แต่ก่อนไม่คิดว่า หมอ วิศวกร กลุ่มคนที่อาชีพดูมั่นคง จะให้ความสำคัญกับการดูดวงหรือเรื่องอะไรแบบนี้ แต่กลายเป็นว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ เหมือนกับว่ามันมีสิ่งที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจตอบได้ แม้คนที่ดูว่าสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจมั่นคงแล้ว ก็ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ความรู้สึกไม่มั่นคงในชีวิต มีสิ่งที่ไม่รู้ และไสยศาสตร์ก็อาจจะช่วยให้พวกเขาอยู่กับความไม่รู้และความไม่แน่นอนได้"

@@@@@@@

ไสยศาสตร์ผนึกความรู้สึกร่วมของชุมชน

มากกว่านั้น ไสยศาสตร์ยังมีบทบาทค่อนข้างมากและสำคัญกับสังคมชนบท เพราะกิจกรรมของไสยศาสตร์อยู่ในโลกพิธีกรรมและประเพณี ซึ่งโยงกับกลุ่มคนที่มีความเชื่อร่วมกัน ตอบโจทย์การดำรงอยู่ของชุมชม

อย่างไรก็ตามด้วยความที่ไสยศาสตร์เป็นเรื่องของพิธีกรรม ซึ่งสำคัญกว่าความเชื่อ บางความเชื่อ คนอาจไม่เชื่อเรื่องนั้นแล้ว แต่พิธีกรรมยังดำรงอยู่เป็นเครื่องมือยึดโยงคนในชุมชน

เช่น “พิธีกรรมแห่นางแมว” แม้จะยังมีพิธีกรรมนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าชุมชนและผู้ที่ที่ทำพิธีกรรมนี้จะเชื่อว่าแห่นางแมวแล้ว ฝนจะตก แต่พิธีกรรมช่วยตอบโจทย์สภาพจิตใจและความหวังร่วมของชุมชน

@@@@@@@

“มูเตลู” คำเรียกใหม่ ทำให้ไสยศาสตร์โมเดิร์น-ลดความน่ากลัว

ความที่เมืองเป็นแหล่งรวมความหลากหลายของผู้คนและวัฒนธรรม จึงเกิดชุดความเชื่อ วิถีปฏิบัติย่อย ๆ และวัตถุทางความเชื่อมากมายและหลากหลาย เทพเจ้าและผีตนใหม่ ๆ ปรากฎขึ้นเรื่อย ๆ ให้คนเมืองได้ชอปปิ้งตามสะดวกและตามใจปรารถนา มีทั้งเทพดั้งเดิมที่เป็นเทพเจ้าฮินดู จีน และพุทธ ผีโบราณและผีใหม่ ๆ ที่หลุดมาจากโลกการ์ตูนและวรรณคดี อย่างเช่นที่มีร่างทรงโดเรมอน ร่างทรงพ่อปู่ไจแอ้นท์ และร่างทรงผีเสื้อสมุทร

“การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและภูมิหลังอันหลากหลาย ซึ่งก็มีความเชื่อมีวิธีปฏิบัติบางอย่าง จิตวิญญาณติดมากับตัวเอง พอมาเจอกันในบริบทเมือง ย่อมนำไปสู่ผสมผสานก่อให้เกิดเป็นความเชื่อหรือวิถีปฏิบัติใหม่ ๆ ขึ้นมา นำไปสู่การเติบโตของความเชื่อหรือวิถีปฏิบัติทางจิตวิญญาณรูปแบบใหม่ ๆ”

นอกจากนี้ คนเมืองสมัยใหม่นิยมเรียกชุดความเชื่อเชิงไสยศาสตร์ว่า “สายมู” หรือ “มูเตลู” ทำให้เรื่องนี้ดูทันสมัยขึ้น ลดความลี้ลับหรือความมืดดำ (ดาร์ค)   

@@@@@@@

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เปิดพื้นที่ให้คนเข้าวงการมูเตลู

ไสยศาสตร์ มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ แต่แม้จะไม่เชื่อ คำพูดที่ว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ก็ช่วยเปิดพื้นที่ให้ไสยศาสตร์และความเชื่อเหนือธรรมชาติ อยู่ได้และขยายตัวในสังคม

    “คำพูดนี้ทำให้ความเชื่อใหม่ ๆ เข้าไปอยู่ในการรับรู้ของคนจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นกระแสของสังคมไปโดยปริยาย”

ในกรณีที่มีประเด็นถกเถียงทางความเชื่อในสังคม เช่น เกิดเทพหรือผีตนใหม่ ๆ หรือวิถีปฏิบัติใหม่ ๆ คำว่า “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” ก็ดูเหมือนจะช่วยเปิดพื้นที่ให้คนได้ทดลอง “ถ้าไม่เสียหาย ไม่ผิดกฎหมาย และศีลธรรม ก็น่าจะลองดู” และทำให้คนที่เชื่อและไม่เชื่อ อยู่ร่วมกันได้บนพื้นที่ของความเชื่อที่ต่างกัน





Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223437
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 9 พ.ค. 2567 ,16:24น.
38  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วันพืชมงคล 2567 เปิดความหมายเสี่ยงทาย ผ้านุ่งพระยาแรกนา-ของกินพระโค เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 06:47:39 am
.



วันพืชมงคล 2567 เปิดความหมายเสี่ยงทาย ผ้านุ่งพระยาแรกนา-ของกินพระโค

พืชมงคล 2567 วันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชวนค้นหาความหมายของอาหารพระโคทั้ง 7 สิ่งและผ้านุ่งพระยาแรกนาจะมีความหมาย คำทำนายเสี่ยงทายพยากรณ์อย่างไรไปดูกัน

วันพืชมงคล 2567 ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6) งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีซึ่งจัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญแก่เกษตรกรไทย

กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีการกำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น ๆ จะเป็นวันใดในเดือนหก หรือ เดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามที่เหมาะสมต้องตามประเพณีจึงให้จัดขึ้นในวันนั้น

สำหรับปีนี้ได้กำหนดให้ วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เป็นวันพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) อันเป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง




พระราชพิธีพืชมงคล 2567

เป็นพิธีทำขวัญพืชพรรณธัญญาหารที่พระมหากษัตริย์ทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของทั้งข้าว และพืชจำพวกงา มีพระสงฆ์มากระทำพิธีปลุกเสกเมล็ดพันธุ์พืช ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567

เป็นพระราชประเพณีที่องค์พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้นำพิธี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกรที่หวั่นภยันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเพาะปลูกให้มีศรัทธาและมั่นใจ ด้วยการบวงสรวงเทวดา ด้วยพิธีเสี่ยงทายทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำ สภาพดินฟ้าอากาศ เกษตรกรส่วนหนึ่งจึงถือเอาวันพืชมงคล คือ วันเริ่มต้นฤกษ์หว่านไถ

สัตยาธิษฐาน

การเสี่ยงทาย ทำนายความสมบูรณ์ของปริมาณน้ำฝน และการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ จากผ้านุ่งของพระยาแรกนา และอาหารของพระโค ดังนี้





คำเสี่ยงทายวันพืชมงคล 2567

ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบนั้นเป็นผ้าลายมีด้วยกัน 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ

ถ้าหยิบผ้าได้ 4 คืบ
    • พยากรณ์ว่า น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้างได้ผลไม่เต็มที่

ถ้าหยิบได้ผ้า 5 คืบ
    • พยากรณ์ว่า น้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

ถ้าหยิบได้ผ้า 6 คืบ
    • พยากรณ์ว่า น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่





การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ในวันพืชมงคล

ของกิน 7 สิ่งเลี้ยงพระโค มี ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ

ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด
    • พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา
    • พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า
    • พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควรธัญญาหารผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์

ถ้าพระโคกินเหล้า
    • พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับ ต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูล/ภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ฐานเศรษฐกิจ | 10 พ.ค. 2567 | 05:00 น.
URL : https://www.thansettakij.com/news/general-news/595609
39  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การตั้งสตรีหรือบุรุษมีศีล ให้เป็นใหญ่ในเรือน เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2024, 08:09:57 am
.



การตั้งสตรีหรือบุรุษมีศีล ให้เป็นใหญ่ในเรือน

พระพุทธเจ้าตรัสถึงแนวคิดเกี่ยวกับผู้บริหารหรือผู้นำที่ดีมีคุณธรรมศีลธรรม มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตระกูลหรือองค์กรหรือองค์การไว้ว่า

    “เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม ประชาชนชาวเมืองนั้น ก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข”

การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลให้รับผิดชอบงาน จึงต้องมีการกำหนดคุณสมบัติให้เหมาะสม

@@@@@@@

๑. แนวคิดการกำหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบงาน

พระพุทธองค์ตรัสถึง ผลกระทบด้านบวกของความมีศีล ที่มีต่อเสถียรภาพของตระกูลหรือองค์การว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

ตรัสว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น...

คนชอบนอนหลับในกลางวัน ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจำ ไม่สามารถครองเรือนได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยหนุ่มสาวที่ละทิ้งการงานโดยอ้างว่า เวลานี้หนาวเกินไป เวลานี้ร้อนเกินไป เวลานี้เย็นเกินไป เป็นต้น ส่วนผู้ใดทำหน้าที่ของบุรุษ ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข

ในสาธุสีลชาดก พราหมณ์ถาม พระโพธิสัตว์ผู้เป็นอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ว่า บรรดาคน ๔ คน คือ
    (๑) คนมีรูปงาม
    (๒) คนมีอายุ
    (๓) คนมีชาติสูง
    (๔) คนมีศีลธรรม
ท่านจะเลือกใครหนอ.? อาจารย์ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว กล่าวว่า ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล


@@@@@@@

๒. แนวคิดการแต่งตั้งและมอบหมายงาน

แนวคิดในการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง เช่น การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ การแต่งตั้งเจ้าอธิการต่าง ๆ และมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง หรือมอบหมายให้รับผิดชอบงานไว้อย่างชัดเจน

    ๒.๑ การแต่งตั้งอุปัชฌาย์ อาจารย์ และคุณสมบัติผู้ควรเป็นอุปัชฌา อาจารย์
    พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตอุปัชฌาย์ คือ ทรงแต่งตั้งมอบหมายพระอรหันตสาวกให้ดำรงตำแหน่งเป็พระอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยให้อุปสมบทคอยตักเตือนพร่ำสอนภิกษุเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทรงตั้งอาจารย์ เพื่อให้นิสสัยแก่อันเตวาสิกผู้อยู่อาศัยด้วย

ทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ไว้ว่า ภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌาย์ให้อุปสมบท ควรเป็นอาจารย์ให้นิสสัย ควรใช้สามเณรให้อุปัฏฐาก ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๖ ประการ คือ
    (๑) รู้จักอาบัติ
    (๒) รู้จักอนาบัติ
    (๓) รู้จักอาบัติเบา
    (๔) รู้จักอาบัติหนัก
    (๕) จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
    (๖) มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ และคุณธรรม ๑๐ ประการ

    ๒.๒ การตั้งเจ้าอธิการ และคุณสมบัติผู้ควรเป็นเจ้าอธิการ
    พระพุทธเจ้าได้ตั้งพระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการต่างๆ เพื่อช่วยรับภาระในกิจการงาน คณะสงฆ์ที่มีเพิ่มขึ้นตามการเจริญรุ่งเรืองและการขยายตัวขององค์กรสงฆ์ พร้อมทรงกำหนดคุณสมบัติสำหรับภิกษุผู้ควรดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น พระภัตตุทเทสก์ มีหน้าที่แจกภัตพระเสนาสน ปัญญาปกะ มีหน้าที่จัดเสนาสะที่พักอาศัย พระเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร พร้อมกำหนดคุณสมบัติไว้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น

         ๒.๒.๑ ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุเทเทสก์มีหน้าที่ในการแจกภัตหรือจัดกิจนิมนต์ กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องมีคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ
         (๑) ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
         (๒) ไม่ลำเอียงเพราะชัง
         (๓) ไม่ลำเอียงเพราะหลง
         (๔) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
         (๕) รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก

         ๒.๒.๒ ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระผู้ใช้สามเณร กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
         (๑) ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
         (๒) ไม่ลำเอียงเพราะชัง
         (๓) ไม่ลำเอียงเพราะหลง
         (๔) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
         (๕) รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้

    ๒.๓ การตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะกรรมการรับผิดชอบงาน
    ทรงตั้งพระสารีบุตรให้เป็นทูตประสานภิกษุชาววัชชีผู้บวชใหม่ประมาณ ๕๐๐ รูป นำกลับคืนสู่คณะสงฆ์ คราวพระเทวทัตชักชวนเข้าพวกทำลายสงฆ์ ทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุ ผู้ควรทำหน้าที่ทูต ไว้ว่า ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ
         (๑) รู้จักฟัง
         (๒) สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
         (๓) ใฝ่ศึกษา
         (๔) ทรงจำได้ดี
         (๕) เป็นรู้ได้เข้าใจชัด
         (๖) สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
         (๗) ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
         (๘) ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง(นี้) ควรทำหน้าที่ทูตได้

หลังพุทธปรินิพพานแล้ว สงฆ์ได้แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ด้วยวิธียัติทุติยกรรมวาจาที่พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบ

และคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๒ สงฆ์ประสงค์จะระงับอธิกรณ์เรื่องวัตถุ ๑๐ ประการของภิกษุชาวเมืองวัชชี จึงประชุมกัน และได้คัดเลือกภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป คือ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระอุชชโสภิตะ และพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป คือ พระเรวตะ พระสัมภูตสาณวาสี พระยสกากัณฑกบุตร และพระสุมนะ แล้วแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานเพื่อระงับอธิกรณ์





ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บทความ : แนวคิดพระพุทธศาสนา เพื่อการบริหารจัดการองค์การที่ดี อย่างมีเสถียรภาพ , โดย พระมหาวิศิต ธีรวํโส ผศ., ป.ธ.๙ , วารสาร พุทธจักร : ปีที่ ๗๗ ฉบับที่ ๖ [พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖] , หน้า ๙๗-๙๙
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การรู้จักประมาณในการบริโภค - ฉลาด เหมาะสม พอเพียง มีคุณค่า เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2024, 07:08:38 am
.



การรู้จักประมาณในการบริโภค - ฉลาด เหมาะสม พอเพียง มีคุณค่า

๑. แนวคิดการวางแผนใช้สอยโภคทรัพย์

พระพุทธเจ้าตรัสหลักการแบ่งโภคทรัพย์เพื่อการใช้จ่ายเรียกว่า โภควิภาค ทรงจัดสรรออกเป็น ๔ ส่วน คือ
    (๑) เอเกน โภเค ภุญฺยเชยฺย ส่วนหนึ่งใช้ ได้แก่ ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุงและทำประโยชน์
    (๒-๓) ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย สองส่วนใช้ประกอบการงาน ได้แก่ ใช้ลงทุนประกอบการงาน
    (๔) จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย ส่วนที่สี่เก็บไว้ใช้ยามมีอันตราย ได้แก่ เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น

ทรงวางแผนใช้โภคทรัพย์ที่หามาได้กำหนดเป็นแผนรายจ่ายได้ ๔ หมวดอย่างเหมาะสม คือ
    (๑) ใช้จ่ายเพื่อการบำรุงตนเอง มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาสกรรมกร คนรับใช้ มิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุขโดยชอบ
    (๒) ใช้จ่ายเพื่อการป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท
    (๓) ใช้จ่ายเพื่อการทำพลี ๕ อย่าง ได้แก่ การสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย ประกอบด้วยญาติพลี สงเคราะห์ญาติ อติพลี ต้อนรับแขก ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสียภาษีอากร เป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
    (๔) ใช้จ่ายเพื่อการบริจาคทำบุญกุศลในพระพุทธศาสนา ในสมณพราหมณ์ ผู้ทรงศีล

และทรงรับรองว่า บุคคลผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ตามแผนการที่กำหนดไว้นี้แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย คือ
    (๑) เจริญด้วยนาและสวน
    (๒) เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
    (๓) บุตรและภรรยา
    (๔) เจริญด้วยทาส กรรมกรและคนใช้
    (๕) เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า
    (๖) เจริญด้วยศรัทธา
    (๗) เจริญด้วยศีล
    (๘) เจริญด้วยสุตะ
    (๙) เจริญด้วยจาคะ
   (๑๐) เจริญด้วยปัญญา

ทรงสรรเสริญกามโภคีบุคคลคือ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงเลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ว่า เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้าสูงส่ง ล้ำเลิศ

๒. แนวคิดการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมพอเพียง

พระองค์ตรัสถึงคุณสมบัติของผู้ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมพอเพียง เพื่อสร้างความมั่งคั่งหรือรักษาความมั่งคั่งให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้นว่า จะต้องรู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ การรู้จักประมาณในการบริโภคนี้ แม้ในการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นเหตุให้มีอายุยืน ดำรงชีวิตอยู่ได้นาน

๓. แนวคิดการบริโภคคุณค่าแท้

พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของการรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอยว่า ต้องพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคใช้สอย ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์

และตรัสว่า ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ไม่อาจเสื่อม คือ ไม่อาจเสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา หรือมรรคและผล กล่าวคือ ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนาที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน

เมื่อถือเอาความตามแนวคิดนี้ ก็จะเห็นได้ว่า การใช้สอยอย่างรู้คุณค่าเน้นประหยัดที่สุดประโยชน์สูงสุด สามารถดำรงองค์การให้คงอยู่ได้ต่อไป ไม่มีล่มสลาย






ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บทความ : แนวคิดพระพุทธศาสนา เพื่อการบริหารจัดการองค์การที่ดี อย่างมีเสถียรภาพ , โดย พระมหาวิศิต ธีรวํโส ผศ., ป.ธ.๙ , วารสาร พุทธจักร : ปีที่ ๗๗ ฉบับที่ ๖ [พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖] , หน้า ๙๕-๙๖
หน้า: [1] 2 3 ... 710