ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถวายเงินพระผิดหรือไม่  (อ่าน 6136 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ถวายเงินพระผิดหรือไม่
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 10:13:42 am »
0
ไปอ่านเจอมาครับ คิดว่ามีเหตุผลดี ครับ

โยมถวายเงินให้พระผิดหรือไม่
ตอนนี้พูดตรงๆไม่ได้ว่า ผิดหรือถูก ถ้าผมพูดว่าถูกก็โดนตำหนิ ผมพูดว่าผิดก็โดนตำหนิแน่นอน อยากให้ทุกคนเอาหัวคิดตรึกตรองดูเจตนาทั้งผู้ให้และผู้รับตามเหตุและผล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ผมมีความคิดดังนี้ครับ..เงินนั้นเป็นสิ่งสมมุติใช่ไหมเงินนั้นไม่มีความหมาย เลยใช่ไหมหากมันซื้ออะไรไม่ได้ใช่ไหมครับมันมีความหมายเพราะมันสามารถ แปรสภาพเป็นอะไรก็ได้ ตามที่เราต้องการ หากเราเอาเงินนั้นให้พระนั้นผิด ในทุกกรณี ไม่ว่าเงินนั้นจะแปรสภาพเป็นอะไรก็ต้องว่าเรียกว่าเงินใช่ไหม เราเอาเงินนั้นแปรสภาพ เป็นสังฆทาน เป็นเครื่องใช้เป็นนม ข้าวปลาอาหาร เครื่องนุ่งห่ม อิฐหินปูนทราย จิปาถะ สิ่งนั้นก็มาจากเงินใช่ไหมในสมัยนี้เราจะเอาสิ่งของต่างๆมาได้ยังไง ถ้าไม่มีเงิน เราเดินไปหยิบเอานม ไม่จ่ายเงินได้ไหมครับ ของทุกอย่าง ต้องใช้เงินซื้อมาทั้งนั้น สิ่งของที่เราซื้อมานั้นนั้นก็คือเงิน ไม่เชื่อลองเอาของที่เราซื้อมาไปขายต่อซิ มันก็กลับมาเป็นเงินเหมือนเดิมไช่ไหมครับ พูดด้วยเหตุและผลนะครับ
หาก เป็นอย่างนี้ พระคงต้องอดข้าวนอนใต้ต้นไม้แน่นอน โยมจะต้องไปทำนา ปลูกผัก หาปลา มาเลี้ยงพระ แล้วการปลูกผัก หาปลา ทำนา ก็จะต้องไม่มีเงินมาเกี่ยวข้อง ปุ๋ยไม่ต้องใส่ เพราะต้องใช้เงินซื้อ
จะปฏิเสธ ว่า ของทุกอย่างไม่ใช่เงินนั้นไม่ได้ เพราะสามารถ นำไปขาย กลับมาเป็นเงินได้
การไม่รับเงินนั้น ก็ต้องไม่รับสิ่งของนั้นๆด้วย เพราะมันแปรสภาพมาจากเงิน แล้วมันยังสามารถ
แปรสภาพกลับมาเป็นเงินเหมือนเดิมได้ ทุกสิ่ง ล้วนใช้เงินทั้งสิ้น แม้แต่ข้าวที่เรากิน ก็ต้องซื้อปุ๋ย
ซื้อเมล็ดพันธ์ มีค่าใช้จ่าย ต้นทุน จะมาบอกว่า ข้าวนี้ไม่ใช่เงินไม่ได้ เพราะว่ามันสามารถแปรสภาพ
กลับมาเป็นเงินได้อีก ผมว่าดูที่เจตนาคนให้และคนรับดีกว่า คือให้แล้วไม่สงสัย คนรับ ก็ไม่สงสัย
ผู้ให้หากสงสัยในเงินหรือสิ่งของที่จะให้ ก็ไม่ต้องให้ ผู้รับหากสงสัยในสิ่งของที่จะรับ ก็ไม่ต้องรับ
พระบางองค์ ไม่รับเงิน โยมวางให้ตรงไหนก็ปล่อยวางไว้ตรงนั้น ผมว่าไม่ถูกต้องนะครับ
ขอโทษนะครับ เหมือนเราเอาเมียเราแก้ผ้า มัดมือ มัดปาก วางไว้หน้าบ้าน จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่าง
มันล่อตา พวกมิจฉาชีพ การที่จะเป็นสิ่งดี กลับมาสร้างบาป ให้คนขโมย บางครั้งเขาก็ไม่อยากขโมย
แต่มันง่าย ต่อการขโมยจึงต้องเอาไป สู้เราหยิบไปวางไว้ที่มิดชิดไม่ดีกว่าหรือ เงินทองที่
พระหยิบนั้น ก็ต้องไม่มีความสงสัยในการหยิบเลย ของสิ่งนี้มันแค่สิ่งสมมุติว่าเป็นเงินมีความจำเป็น
กับ ผู้คนเท่านั้นแต่มันไม่ใช่สิ่งจำเป็นและสำคัญสำหรับเราเลย ผมพูดถึงนิสัยพระที่ดีนะครับ ถ้าเจตนาดีอย่างนี้ จะผิดตรงไหนครับ ถ้าบอกว่าพระธรรมบัญญัติมาแล้วว่าผิด ให้เราก็ผิด ให้เพื่อคนอื่นก็ผิด แต่เจตนาไม่ผิดครับ หากสิ่งนี้ จะมีบางคน ไม่ชอบ ก็ขออภัยด้วยครับ ผมเพียงแต่อยากจะทำสิ่งดีๆ ก็เท่านั้นเองครับ มิได้ตำหนิ หรือว่าใครเลย พระธรรมคำสั่งสอนและความเชื่อนั้น มีและไปได้หลายๆทาง แต่จุดหมายนั้นก็ถึงเหมือนกันถึงแม้ว่าจะช้าไปบ้างดันไปตกนรกก่อนบ้าง เลยช้าไปหน่อย แต่สุดท้ายก็ได้ไปถึงเหมือนๆกันนั่นแหละครับ ขอบคุณทุกๆท่านครับ นานาจิตตัง!

จาก คุณ Wirut

อันที่จริงแล้วหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะ  ที่ยืดหยุ่นได้ ถามว่าการให้เงินพระนั้นผิดมัย  บาปมัย
เรื่อง นี้   สมมติว่าพระรับเงินจากโยม  แล้วเอาเงินของโยมไปช่วยเหลือคนยากจน  เอาเงินไปสร้างโบส  สร้างวิหาร  สร้างศาลา ให้เป็นที่พักอาศัยแก่ผู้คนที่เข้ามาในวัด   อย่างนี้ผิดมัย  โยมเป็นบาปมัย   
       ถ้าพูดถึงตามหลัก วิัันัย เปะ ๆ  พระถึงไม่ได้รับเองใช้ให้ผู้อื่นรับแทนและให้เก็บไว้ให้ด้วยจิตยังมีความ ยินดีก็ถือว่าผิดเหมือนกัน  ดังที่ตรัสว่า  ภิกษุรับเองก็ดี  ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี  หรือมีความยินดีในเงินและทองก็ดี  ต้องอาบัติ  การรับเงินผิดหรือไม่ผิดนั้นต้องดูบริบทและเจตนาทในสมัยนั้น  คือภิกษุจำนวนหนึ่งมีความโลภ แสวงหาทรัพย์ด้วยวิถีที่ไม่ใช่สมณะ  สร้างความเสื่อมเสียให้แก่หมู่สงฆ์  ก็เลยมีพุธบัญญัติข้อนี้ขึ้นมา
       แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังเคยรับเงินและทองไว้  กล่าวคือในสมัยหนึ่ง  นางวิสาขาได้ใส่เครื่องประดับมีค่า ๘๐ โกฏิ ก่อนเข้าเฝ้าพระองค์นางได้ถอดไว้  ตอนกลับนางเลยลืมไว้  ด้วยความที่นางนั้นชอบทำบุญให้ทาน นางจึงได้ถวายเครื่องประดับนั้นเข้าหมู่สงฆ์  พระพุทธเจ้าให้พระอานนท์จัดนำเครื่องประดับนั้นไปประกาศขายเพื่อนำมาสร้าง วิหาร จะเห็นว่าพระองค์เองก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินและทองเลย   
        การบัญญัติสิกขาบทข้อนี้นั้นเป็นอุบายอย่างหนึ่ง  เพราะปัญหาต่าง ๆ มากมาย ที่ทำให้พระต้องสูญเสียคุณงามความดีก็เพราะเงิน  เงินนั้นเป็นเหตุให้ผู้คนเกิดความโลภ เกิดความอยาก อยากได้นั้น  อยากได้นี่ ทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นอันปฏิบัติธรรม   แต่อันที่จริงแล้วทุกอย่างอยู่ที่ใจของเรา  อยู่ที่เจตนา  ผู้ที่จะเข้าใจได้ก็ต่อเมื่อได้บรรลุธรรมแล้ว
 ปัญหาหลายอย่างที่ผู้คนพา กันไปถามพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ไม่ตอบ เพราะตอบไปแล้วยิ่งก่อให้เกิดความสงสัย  ปัญหาไม่รู้จักจบสิ้น พระองค์ทรงหลีกที่จะตอบปัญหา  พระองค์กลับตรัสว่า ผู้ที่เข้าถึงกระแสธรรมแล้วจะเข้าใจเอง   การทำบุญไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทองนั้น ย่อมได้บุญอยู่แล้วโดยไม่ต้องสงสัย  มีหลักที่ว่า
         1.ทรัพย์ที่ได้มานั้นต้องบริสุทธิ์  ไม่ได้ลักขโมยเขามา
         2.ก่อนให้  ขณะให้  และหลังให้ก็มีจิตยินดี มีปีติ ความเอิบอิ่มใจ
         3. ผู้รับเป็นผู้อยุ่ในคุณธรรม  ถ้าผู้รับไม่มีคุณธรรมก็มุ่งเอาที่ถวายเข้าหมู่สงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุข  อานิสงส์ก็ถือว่าได้มากแล้ว  นอกจากนี้พระองค์ก็ยังตรัสพระวินัยโดยอนุโลมไว้ด้วย

       
โอวาท ครั้งสุดท้าย
    "อานนท์ ! เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลายอาจจะคิดว่า บัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง อานนท์เอย ! พึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ธรรม วินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง อย่าได้มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย"
             "อานนท์ ! อีกอย่างหนึ่ง คือสิกขาบัญญัติที่เราได้บัญญัติไว้เพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้อยู่ด้วยกัน อย่างผาสุก ไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สิกขาบทบัญญัติเหล่านั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์พร้อมใจกันจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ซึ่งขัดกับกาลกับสมัยเสียบ้างก็ได้ กาลเวลาล่วงไปสมัยเปลี่ยนไป จะเป็นความลำบาก  ในการปฏิบัติสิกขาบทที่ไม่เหมาะสมัยเช่นนั้น เราอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้
บัดนี้ พละกำลังของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหลืออยู่น้อยเต็มทีแล้ว ประดุจน้ำที่เทราดลงไปในดินที่แตกระแหงย่อมพลันเหือดแห้งหายไป มิได้ปรากฏแก่สายตา ถึงกระนั้น พระบรมโลกนาถก็ยังประทานปัจฉิมโอวาทเป็นพระพุทธดำรัสสุดท้ายว่า
               "ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่า สิ่งทั้งปวง มีความเสื่อมและความสิ้นไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาท เถิด"
   

นอกจากนี้แล้วยังมีหลัก   มหาประเทส ๔ ในการตัดสินอีกด้วย จะเห็นว่าในหลักมหาประเทศ ๔ นั้น ให้ภิกษุปฏิบัติให้เกื้อกูลศาสนาและการไม่ทำลายศรัทธาของมหาชนเป็นหลัก
       พระวินัยเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก  ถ้าศึกษาแล้วต้องศึกษาทุก  แง่ทุกมุม ศึกพระวินัยเล่ม ๒ เล่ม ไม่พอ พระวินัยมีก็เล่ม ต้องอ่านให้หมด  แล้วพระสุตตันมีก็เล่มต้องอ่านให้หมดเช่นกัน
        ทำไมต้องอ่านพระสุตตันด้วย  เพราะบางครั้งในพระวินัยนั้นดูเหมือนว่า ภิกษุต้องปฏิบัติเคร่งครัดมาก  แต่เมื่อมาอ่านในพระสุตตันตปิฎก การเคร่งครัดมากไปก็ไม่ได้หมายความว่าจะบรรลุธรรมได้
        ภิกษุบางท่าน ศรัทธาในพระศาสนา ศึกษาเฉพาะในส่วนพระวินัย ก็จะเกิดเคร่งครัดมาก ทำผิดนิดผิดหน่อยไม่ได้เลย พระแทบจะเป็นพระอิฐ พระปูน เพราะแค่ขยับก็ผิดแล้วศีล  ฉะนั้นพระเเทบจะทำอะไรไม่ได้เลย
        ยิ่งถ้าเป็นคนทั่วไป  คนธรรมดาแล้วไม่ควรที่จะไปศึกษาวินัยของพระ  เพราะถ้าศึกษาแล้ว  คนจะเสื่อมศรัทธาทันที
        ถ้าอยากทำศรัทธาให้เกิดต้องศึกษาพระสุตตันตปิฎก

จากคุณ surat-2527

จาก http://www.zone-it.com/185938

หัวข้อนี้มีการพูดกัน มากผู้พูดไม่ได้เข้าใจ วิถีชีวิตของสงฆ์จริง ๆ ครับ

   1.พระสงฆ์ บวชเรียน ต้องใช้ปัจจัย

   2.พระสงฆ์ อยู่ในที่กันดารห่างไกลจากบ้านผู้คน ในป่า ในเขา เสบียงภาวนา ก็ต้องใช้เงิน

   3.พระสงฆ์ นักเผยแผ่ธรรมะ เดินทาง จัดอบรมเข้าค่าย ให้คววามรู้แก่เยาวชน ก็ต้องใช้เงิน

   4.พระสงฆ์ ที่ทำหน้าที่ตามตำแหน่งต่าง ๆ ล้วนแล้วก็ต้องใช้เงิน

      เรื่องนี้มีตัวอย่าง พระสงฆ์เป็นเจ้าอาวาส ได้นิตยภัตร ประมาณ ไม่เกิน 1 พันบาท
      มีประชุมทุกเดือน ในเมือง ท่านต้องเดินทาง  มีการขอให้ดำเนินการสมทบทุน เรื่อง มูลนิธิ 6 มูลนิธิประจำปี มูลนิธิ ละ 2500 บาท ที่ระดับเจ้าอาวาส ( คิดดูครับว่า นิตยภัตรยังไม่พอเลย ) การส่งเสริมอบรม พระภิกษุสามเณรภายใต้การปกครอง อีก

   และยังมีอีกหลายสาเหตุ ผมบอกตรง ๆ ว่า พระพุทธศาสนา มีการสืบทอดตามระดับธรรม คือ จริยธรรม ศีลธรรม โลกุตรธรรม ถ้าคุณเลือกที่จะดำเนินการให้เป็นไปแนวไหน ก็ต้องดูด้วย

   ผมเห็นผู้ออกมาเผยแผ่เรื่องนี้ มีการเลือกปฏิบัติ แนะแนวทางซึ่งทำลายเศรษฐกิจ สร้างจิตคนให้เพ่งเล็งซึ่งเป็นการจับผิดพระสงฆ์ ทั่วประเทศ ซึ่งการจับผิดก็มองเพียงภายนอก ไม่ได้เข้าใจแก่นแท้จริง เรื่องที่ควรรีบด่วนคือการภาวนา รักษากุศลบถ 10 ต่างหากเป็นเรื่อง ที่อุบาสก อุบาสิกา อย่างเราควรจะกระทำ

  นานาจิตตัง พูดไปก็เถียงกันอีกครับ

   :67:
บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถวายเงินพระผิดหรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 11:11:49 am »
0
คิดว่า คนอ่านก็เข้าใจ คะ ที่บ้านเรา พ่อ แม่ ก็ทำบุญ ถวายเงินพระเป็นปกติ

หนูก็ทำบุญปกติ คะ เพราะเชื่อว่าเราได้บุญแล้ว ตรงนั้นคะ

ที่เหลือเป็นเรื่องของหน้าที่ของพระ สามเณร ท่านไปวิเคราะห์ของท่านต่อคะ บุญบาป เป็นเรื่องส่วนตัวนะคะ

 :67:
บันทึกการเข้า

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถวายเงินพระผิดหรือไม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 23, 2011, 11:42:24 am »
0
ถวายปัจจัยครับ ครับ ไม่ใช่ถวายเงิน เราถวายธนบัตร เพื่อ ให้พระคุณเจ้าไปแลกปัจจัย 4 มาเพื่อการภาวนาครับ

และส่งเสริม พระคุณเจ้า ที่เรียนศึกษาหลักธรรมด้วยครับ

 :93:
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ถวายเงินพระผิดหรือไม่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2011, 10:28:12 am »
0
ตอนนี้พระในประเทศไทย ก็น้อยลงอยู่แล้ว ต่อไปก็จะน้อยลงไปอีก เพราะแนวคิดที่ไม่เข้าใจวิุึถีชีวิตของสงฆ์

ในประเทศไทย น่าจะแย่นะ

  :smiley_confused1:

บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?