ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การกำหนดรู้ กับ กำหนดศึกษา ลมหายใจ แตกต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 3153 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

การกำหนดรู้ กับ กำหนดศึกษา ลมหายใจ แตกต่างกันอย่างไร คะ

   thk56 ไม่ได้ถามผิดห้องนะคะ
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :08: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมไม่รู้ธรรมนะครับ คงตอบได้แต่แบบดำน้ำต้องรอพระอาจารย์และท่านผู้รู้มาตอบครับ ส่วนคำตอบของผมคงตอบพอให้กระทู้ไม่ตกหล่นไปครับดังน้

การกำหนดรู้นั้น เป็นการอาศัยสติพิจารณาลมหายใจที่เข้าออกว่าอยู่ในสภาวะใดในขณะนั้นเช่น กำลังหายใจเข้าหรือกำลังหายใจออก มีลักษณะอย่างไร คือ สั้น หรือ ยาว กระทบผ่านส่วนไหนบ้างเช่น ปลายจมูก หรือ หน้าอก หรือ นาภี เป็นต้น
ส่วนการกำหนดศึกษานั้นเป็นการดึงสัมปชัญญะ+สติให้เกิดปัญญารู้เห็นตามจริงในสภาพจริง ในธาตุลมที่พัดเข้า พัดออก พัดขึ้น พัดลง มีอาการเคลื่อนตัว ตรึงไหว เห็นในสภาพลมหายใจว่ามีสภาพอย่างไร ร้อน เย็น คือมีธาตุไฟร่วมอยู่ด้วย เป็นต้น เป็นการเข้าสู่วิปัสสนาด้วยอานาปานสติ

ผมเดาเอานะครับตอบแบบผู้ไม่รู้ต้องรอผู้รู้ท่านประสงค์จะอนุเคราะห์ไขข้อข้องใจนี้อีกทีครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2014, 04:02:09 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

การกำหนดรู้ กับ กำหนดศึกษา ลมหายใจ แตกต่างกันอย่างไร คะ

   thk56 ไม่ได้ถามผิดห้องนะคะ



 ans1 ans1 ans1

เรื่องนี้เกินปัญญาครับ การจะอธิบายอานาปานสติได้อย่างพิสดาร ต้องเป็นผู้รู้แจ้งในกรรมฐานกองนี้ แต่ไหนๆก็เข้ามาคุยในห้องนี้แล้ว ผมจะยกเอาเรื่องอานาปานสติ ที่แสดงไว้ในพระสูตรต่างๆ มาเปรียบเทียบให้ดู คีย์เวิร์ดของคำว่า อานาปานสติ น่าจะอยู่ที่คำว่า สติ อีกคำหนึ่งคือ สำเหนียก

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้

สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระ เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

หนูกบครับ...ความหมายของคำว่า สติ และ สำเหนียก น่าจะตอบคำถามของหนูกบได้ระดับหนึ่ง ความสงสัยที่ยังค้างคาอยู่ หนูกบต้องขวนขวาย ต้องอ่านและปฏิบัติให้เห็นและเข้าใจด้วยตัวเอง





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ว่าด้วยอานาปานสติ


     [๑๓๐๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน? คือ อานาปานสติ.

     [๑๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.?
     ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น


     :25: :25: :25:

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจเข้า


     :96: :96: :96:

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า


     :s_hi: :s_hi: :s_hi:

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

______________________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7593&Z=7619&pagebreak=0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)


    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า


     :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฯลฯ

______________________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    [๔๐๖] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า อย่างไร ฯ
    กายสังขารเป็นไฉน
    ลมหายใจออกยาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
    ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
    บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น

    ศึกษาอยู่ ลมหายใจออกสั้น ลมหายใจเข้าสั้น ลมที่บุคคลรู้แจ้งกองลมทั้งปวง
    หายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร
    บุคคลระงับ คือ ดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น

     :96: :96: :96:

    ศึกษาอยู่ ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย มีอยู่ เพราะกายสังขารเห็นปานใด
    บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ความไม่อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลง แห่งกาย มีอยู่เพราะกายสังขารเห็นปานใด

    บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจออก
    ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมหายใจเข้า ได้ทราบมาดังนี้ว่า

     :25: :25: :25:

    บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ไม่ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติก็ไม่ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ไม่ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายแม้จะเข้าแม้จะออกสมาบัตินั้นก็หามิได้ ได้ทราบมาดังนี้ว่า

    บุคคลศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
    ศึกษาอยู่ว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปาณสติก็ปรากฏ อานาปาณสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและย่อมออกสมาบัตินั้น


     st12 st12 st12

    ข้อนั้นเหมือนอะไร เหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาลเสียงดังย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง เมื่อเสียงดังค่อยลง ต่อมาเสียงค่อยก็เป็นไปภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงค่อย และเมื่อเสียงค่อยดับลง ต่อมาจิตย่อมเป็นไปในภายหลัง แม้เพราะนิมิตแห่งเสียงค่อยเป็นอารมณ์ ข้อนี้ก็เหมือนกันฉะนั้น

    ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อนตามที่หมาย นึกทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบ เมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่หยาบเบาลง
    ต่อมาลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด ย่อมเป็นไปในภายหลังตามที่หมาย นึก ทรงจำด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียด และเมื่อลมหายใจออกและลมหายใจเข้าที่ละเอียดเบาลงอีก
    ต่อมาจิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะความที่นิมิตแห่งลมหายใจออกลมหายใจเข้าที่ละเอียดเป็นอารมณ์
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลมก็ปรากฏ ลมอัสสาสะปัสสาสะก็ปรากฏ อานาปานสติก็ปรากฏ อานาปานสติสมาธิก็ปรากฏ และบัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าและออกสมาบัตินั้นๆ

______________________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4755&Z=4794&pagebreak=0   

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2014, 11:47:50 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56

บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การกำหนดรู้ ลมหายใจ เข้า ออก สามารถ กำหนดรู้ได้ด้วยวิธีการภาวนา อานาปานสติ มี 9 วิธี แต่ นิยม วิธีที่ 1 การกำหนด นับ เรียกว่า คณนา การนับจะทำให้กำหนด รู้ เข้าออก ยาว สั้น

  แต่ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาในปัจจุบัน ถูกลมหายใจ ครอบงำ จึง นับ ยาว สั้น ไม่ได้ ไหลไปกับลมหายใจ เข้าออก สั้น ยาว ซึ่งเพียงเกิดความรู้สึก ว่า ยาว สั้น เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการเข้าไปประจักษ์แจ้งด้วย สัมปชัญญะ ว่า ยาว หรือ สั้น

   ฟัง อานาปานสติ ตอนที่ 10 และปฏิบัติ ตาม ถ้ามีวาสนาในการภาวนาก็ได้ฟัง เปิดอยู่บ่อย ๆ

  การกำหนดรู้ด้วยสตินั้น พระพุทธเจ้า พระองค์กำหนดไว้เพียง 2 ขั้นเพราะเป็น ฐาน การภาวนา อานาปานสติ

  เจริญธรรม / เจริญพร

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ