กรรมฐาน มัชฌิมา > ธรรมะสัญจร

ธรรมสัญจร ส่งท้ายปี 2558 และ ต้อนรับปี 2559 ตอนที่ 1

(1/3) > >>

ธัมมะวังโส:

 เดินมาสี่วัน สามคืน จึงจะถึงวัดพลับ ใช้เส้นทาง อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ธนบุรี
 การเดินก็เดินบ้างนั่งรถบ้าง วันแรกไปรถไฟลงที่ อยุธยา ก็ได้ไปหลาย กม. แล้ว จากนั้นก็เดินที่อยุธยา ชมกรุงเก่า ไปดูวัดท่าหอย และเดินออกมาทาง บางปะอิน สามโคก แวะไปเรื่อยเปื่อย แต่ช่วงนี้ ตัวแบตชาจ์ทชำรุด


  ที่นี่นอนร้อนเหงื่อแตก เลยนะ แต่ที่สระบุรี หนาวอยู่นะ

คืนแรก ที่วัดพลับ พักที่ คณะ 11 ได้การต้อนรับจาก พระอาจารย์กันย์ และ ท่าน ปัญญาปโชโต
คืนแรกที่ได้พัก นอนแบบสบายใจ แต่ เป็นเพราะว่า ไม่มีอุปกรณ์ อะไรติดตัว นอกจากกล้อง นาฬิกาก็ไม่มี จึงทำให้นอนคืนแรก เพียง สองชั่วโมง จากนั้น ลุกขึ้นแล้ว เดินจงกรม นั่งกรรมฐาน แผ่ทิศาผรณา ถึงเช้า จนกระทั่งออกเดินสำรวจวัดที่ตั้งใจไป คืนแรก กว่าจะกลับมาที่พัก จำวัตร ( นอน) ผ่านไปอีก 18 ชม.



บุญคืนแรก ได้นิมิตร ท่านให้สวดให้พรเทวดา บท อาทิยะสุตตะคาถา
ภุตตา โภคา ภัจจา วิติณณา อาปะทาสุ เม .....
มีคำแปล ดังนี้
โภคะทั้งหลาย อันเราได้บริโภคแล้ว บุคคลทั้งหลายที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาที่เจริญผล เราได้เห็นแล้ว อนึ่งพลีห้าประการเราได้ทำแล้ว ท่านผู้มีศีลสำรวมแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว บัณฑิตผู้ครองเรือน ปรารถนาโภคะเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว กรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งการเดือดร้อนในภายหลัง เราได้ทำแล้ว นรชนผู้จะต้องตาย นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ข้อความสื่อพรนี้คือ ให้เทวดา ที่อยู่ประจำรักษาสถานที่
เล่าเท่านี้ก่อน

ธัมมะวังโส:


   ตอนกลางคืน ที่นี่ สงัดดี ตั้งแต่ 21.30 น. จนถึง 05.45 น. ถึงจะเริ่มอึกทึกด้วยเสียงรถมอร์เตอร์โซค์อีกครั้ง
สำหรับคืนแรก นอนที่นี่ไม่มี นาฬิกา พอสักประมาณค่ำ ๆ ก็หลับ ตื่นอีกครั้งเจอ ท่านธีร์ เข้าห้องน้ำ ตั้งแต่นั้นก็ไม่ได้หลับ ยัน 20.00 น. อีกวัน เนื่องจากเข้าใจว่าที่ตื่นนั้นเวลา 04.00 น. เพราะไม่มีนาฬิกาให้ดู กลอนบทนี้ แต่งขึ้นตอนฟ้าสาง หลังจาก ฝึกกรรมฐาน ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็รู้อยู่ว่า นอนน้อยเพราะว่า เคยนั่งกรรมฐาน แผ่ทิศาผรณา ขั้นต่ำก็ 6 ชั่วโมง แต่นี้แผ่ทิศาเสร็จแล้วยังไม่อรุณ ยังมีเวลาเขียนบันทึกได้มากมายเลย


ต้องขอบคุณ ครูอาจารย์ที่ประสิทธิ์วิชากรรมฐานให้ ศิษย์ได้ ใช้ในการภาวนา

เสียงไก่บ้าน ขันขึ้นดัง แต่ตีหนึ่ง
ฉันคำนึง เหมือนเสียงเตือน ให้ขยัน
ลุกจากที่ นอนอันสุข อย่างเร็วพลัน
เรียนพระธรรม กรรมฐาน และทบทวน
เริ่มต้นด้วย เดินจงกรม ห้าสิบรอบ
ตามใจชอบ ด้วยท่วงท่า อย่างแข็งขัน
เดินกลับไป กลับมาอยู่ อย่างเร็วพลัน
เดินขยัน เดินเร็วด้วย พุทธกาย
เมื่อเดินครบ ไปมากลับ ห้าสิบรอบ
จึงประกอบ การนั่งลง ปลงสังขาร
รำลึกรู้ ดูอยู่ทั่ว ชอบด้วยญาณ
มองเห็นตาม ความหมาย ไร้ตัวตน
วานนี้มา ถึงถิ่น ดินแดนเก่า
ที่แก่เฒ่า ละสังขาร ตามประสงค์
สัมผัสธรรม ระลึกตาม เจตน์จำนงค์
ที่ดำรง คงอยู่ด้วย แต่กายา
เสียงดุเหว่า แจ้วเจื้อน ยามใกล้รุ่ง
รับอรุณ ที่เคลื่อนคล้อย เข้ามาหา
ปลุกชุมชน ที่หลับใหล พักกายา
ให้ตื่นมา รับอรุณ อย่างทุกวัน เอย

ธัมมะวังโส:


  สำหรับโปสเตอร์ภาพนี้ เป็นภาพที่อยู่บนหัวนอนเลย ได้กราบไหว้ อธิษฐานกรรมฐาน ทุกคืน ตลอดที่พักอยู่ปฏิบัติกรรมฐานเดียว คือ ออกทิศาผรณา เป็น สีมสัมเภท ทั้งนั่ง ยืน เดิน นอน


ปกตินอนก็ระลึก ถึงขรัวตาทอง อยากจะบูชารูปหล่อท่านกลับมาด้วย แต่ก็ยังไม่มีปัญญาหาปัจจัยในการนี้ได้ วันนี้ ก็ยังระลึกถึงท่านอยู่ เพราะรูปนี้เห็นประจำอยู่แล้ว

ธัมมะวังโส:

มา กทม. ก็หลายครั้ง หลายปี แต่ก็ผ่านวัดประยูร ทุกครั้งและก็ไม่เคยเข้าไปเหยียบย่างในวัดนี้ คราวนี้ถือโฮกาสเลยว่าจะไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ที่เจดีย์ นี้เสียหน่อย วันนี้สบโอกาสแล้ว


ตอนมาถึงไม่รู้สึกประทับใจเท่าไหร่ นัก เพราะเจดีย์ไม่ได้ใหญ่โตอย่างที่เคยเห็น และเดินประทักษิณ ก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไร เพียงแต่มีศรัทธาตั้งใจไว้
  ข้อสังเกต ก็คือ ก่อนที่จะได้เดินประทักษิณนั้น แดดร้อนเปรี้ยงเวลา 12.50 น. บ่าย ๆ นะ แต่พอเริ่มเดินประทักษิณ ก็มีเมฆมาบังแดดให้เดินสบาย ๆ


เก็บภาพไว้ให้ท่านทั้งหลายชม ทุกทิศ ที่เดินผ่าน ด้านนอก


มุมมองที่แหงนมองขึ้นไปทุกทิศ ก็จะคล้าย ๆ กัน


มุมมองที่แหงนมองขึ้นไปทุกทิศ ก็จะคล้าย ๆ กัน


มุมมองที่แหงนมองขึ้นไปทุกทิศ ก็จะคล้าย ๆ กัน


ตรงนี้เรียกว่าทางเข้าองค์เจดีย์ ด้านหน้า แต่จะเรียกว่าเข้ายังไม่ได้ เพียงแต่เป็นทางผ่าน กำแพงแก้วเท่านั้น


มองตรงกันข้ามก็เป็นศาลา ที่อยู่ใกล้กันด้านหน้า


มองออกไปทางซ้าย


มองออกไปทางขวา


เมื่อเข้าไปแล้วก็ยังไม่ได้ผ่าน แต่เข้าไปด้านซ้ายของอาคาร กราบสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ ส่วนนี้ก่อน

ธัมมะวังโส:

ภายในอาคารนี้ ก็มีการรวบรวม วัตถุที่ระลึกโบราณวัตถุ ไว้ให้ชม


ภายในอาคารนี้ ก็มีการรวบรวม วัตถุที่ระลึกโบราณวัตถุ ไว้ให้ชม


ด้านขวาของอาคารตรงกันข้ามกับพระบรมสารีริกธาตุ ก็เป็นที่ตั้งบูชาพระพุทธรูป


ส่วนใหญ่ ที่โชว์ หรือ จะทั้งหมดภายในอาคารก็จะเป็นพระเครื่อง แบบต่าง ๆ ส่วนสาระทางธรรมไม่เห็นข้อความ เพราะเห็นแต่ประวัติการก่อสร้าง แต่วัตถุประสงค์ หรือ คำจารึกไม่เห็นนะ อาจจะเพราะดูไม่ทั่ว


เดินออกจากอาคารเข้าไปภายใน ก็จะเห็นเจดีย์ใกล้ขึ้น ต้องแหงนมองแบบ 90 องศาก็จะได้ภาพแบบนี้


ตรงทางเข้า ก็จะมีพระพุทธรูป ให้จุดธูปเทียนไหว้บูชาก่อนทำประทักษิณภายใน ปกติแล้วเคยประทักษิณต้องเวียนขวา
 

เราก็เลยเดินเวียนขวาไป แต่ทางยามบอกว่า ให้ไปทางซ้าย อันนี้บอกไม่ทันเพราะพระอาจารย์ไปก่อน สรุปแล้วที่นี่ต้องเวียนซ้ายนะ


แต่ช่างเหอะ เราไม่ได้ยินเสียงยามเรียก มีแต่ท่านธีร์ ได้ยินองค์เดียว พระอาจารย์ เดินไปแล้วเพื่อขึ้นไปชมด้านบน


มองจากพระพุทธรูปย้อนกลับเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ส่วนหน้า


บรรยากาศข้างใน ตัดเสียงรบกวนภายนอกได้อย่างมีมนต์ขลัง เนื่องด้วยกำแพงแก้ว มีความสูง นะพอเข้าไปด้านในเหมือนอยู่ในห้อง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป