ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิชาวบ้าน : ทำไมต้องปฏิบัติสมาธิ.?  (อ่าน 984 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สมาธิชาวบ้าน : ทำไมต้องปฏิบัติสมาธิ.?
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2014, 10:12:32 am »
0




สมาธิชาวบ้าน : ทำไมต้องปฏิบัติสมาธิ.?

หลายคนมีคำถามว่า “ทำไมต้องปฏิบัติสมาธิ?” ที่เราต้องปฏิบัติสมาธิก็เพราะว่าถ้าเรานั่งเฉยๆ มันย่อมไม่มีวันรู้ธรรม เห็นธรรมได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีการอบรมมัน

ทั้งนี้ เนื่องด้วยเราไม่ได้เกิดมาเป็นพระพุทธเจ้า ที่สามารถตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ไม่ต้องมีผู้ใดมาสั่งสอน พระพุทธองค์นั้นสามารถรู้ธรรมเอง เห็นธรรมเอง และบรรลุธรรมเอง เพราะพระพุทธองค์เกิดมาด้วยธรรมชาติในการเกิดมาเพื่อตรัสรู้

ในเมื่อเราไม่สามารถที่จะรู้ได้เองว่า “สมาธิคืออะไร? และทำอย่างไร?” จึงจำเป็นที่เราจะต้องอบรมจิต และต้องมีครูบาอาจารย์มาช่วยอบรม สั่งสอน ชี้ทางให้ไปต่อจากบุญเก่า ยิ่งถ้าเราทำเยอะ มันก็จะเก็บไว้ในตัวของเรา พอเรามาเริ่มทำต่อ มันก็จะจำได้


 :25: :25: :25:

ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัดๆ ก็ดูอย่างการขี่ม้า จะขี่ม้าให้เป็นก็ต้องมีคนที่ขี่ม้าเป็นมาสอนเทคนิคให้แก่เรา ว่าต้องขี่อย่างไร ซึ่งอยู่ดีๆ เราคงรู้วิธีขี่ม้าขึ้นมาเองไม่ได้ เราก็ต้องไปเริ่มเรียนและทดลองปฏิบัติ พอเรียนปฏิบัติไปก็เริ่มรู้แนวทางรู้หลักการ มันก็เป็นไปได้ เป็นไปให้เรารู้ธรรม เห็นธรรม เมื่อปฏิบัติแล้วก็จะเข้าใจ

ใจมันเป็นเรื่องภายในของเรา มันไม่ใช่เรื่องทางกาย ดังนั้นเรื่องใจมันก็คงต้องมีวิธีการที่จะเข้าไปถึงมัน ซึ่งถ้าถามว่าง่ายไหม มันก็ไม่ง่าย เพราะในการทำสมาธิไม่ใช่ว่าจะสามารถรู้สมาธิหรือรู้จิตได้ในทันที แต่ถ้าจะว่าจะยากก็คงไม่ถึงกับยากเสียทีเดียว




อาศัยว่าเราเข้าใจ... ความเข้าใจของเราบวกกับการที่เรามีความเพียรในการปฏิบัติ มันก็จะช่วยให้เราสามารถเข้าไปถึงแก่นของสิ่งนี้ได้ หลายคนพอปฏิบัติไปก็จะเข้าใจและก็เห็นมัน แล้วก็เริ่มรู้ว่ามันมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ในตัวเรา สิ่งนั้นคือตัวรู้ ที่เรื่องราวต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะดีใจหรือจะเสียใจมันก็จะส่งไปที่คำว่า “รู้” นี้เอง
 
“รู้” เป็นตัวรับสิ่งทั้งหมดเอาไว้ ตาเห็นรูปว่าสวยไม่สวยมันก็ส่งไปที่ “รู้” นี้ หูได้ยินเสียงไพเราะหรือไม่ไพเราะ พอใจหรือไม่พอใจ ก็ส่งไปที่ “รู้” นี้อย่างเดียว ซึ่งถ้าเราค่อยๆ ตามไปก็จะค่อยๆ เห็นว่า “รู้” มันตั้งอยู่ตรงไหน?


 :96: :96: :96:

พอเราเห็นแล้วว่า “รู้” มันตั้งอยู่ตรงไหนแล้ว ก็ปฏิบัติไปแล้วก็ค่อยๆ สืบเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพบ “รู้” ชัดเจนแล้ว และปัญญาธรรมถึงจุดหนึ่งแล้ว เราก็ค่อยๆ มาแยก “รู้” นั้นออก ในที่สุดเราก็จะถอนความเป็นเจ้าของให้เพียงแค่รู้ว่าเราเคยเป็นเจ้าของสิ่งนั้น มันก็จะกลายเป็นเพียงธาตุรู้เฉยๆ และไม่มีเจ้าของอีกต่อไป

เมื่อเราปล่อยให้มันเป็นอิสระเมื่อไหร่ อวิชชาความยึดมั่นถือมั่นที่เราคิดว่าเราเป็นเจ้าของ “รู้” นั้นมันก็จะหมดไป วันนั้นก็ถึงสิ่งที่เป็นพระนิพพาน หมดสิ้นอัตตาตัวตน ของกู ตัวกู

พระนิพพานมันปล่อยวางลงนี้ ปล่อยวางความเป็นเจ้าของ พอ “รู้” ไม่มีเจ้าของแล้ว จิตไม่มีเจ้าของ วิญญาณไม่มีเจ้าของ มันก็ไม่มีอะไรไปยึดเหนี่ยวกรรมไว้ ไม่มีกรรมต่างๆ ที่มันยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของมัน แล้วมันก็หมดลง.
 


ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/030814/94043
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ