กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )

(1/16) > >>

arlogo:



ประเดิมธรรม วันแรก หลังจากอธิษฐาน เข้าพรรษา เมื่อวานนี้

  อิมัสสมิง อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ
 ข้าพเจ้าขออยู่ สถานที่นี้ ตลอด 3 เดือน ฤดูฝน

     ธรรมศึกษา เรื่องแรก คือ หยุด
    คำว่า หยุด ในภาษาตรง ๆ ใช้ คำว่า เว้น หรือ บวช ดังนั้นผู้ที่เป็นชาวพุทธไม่ใช่ว่าแต่จะเป็นพระ แม้ ผู้ครองเรือง ซึ่งเป็น พุทธบริษัท คือ อุบาสก และ อุบาสิกา ก็สามารถ อธิษฐานธรรมการเข้าพรรษาได้เช่นกัน แต่ไม่เกี่ยวกับวินัยสงฆ์ เพราะการอธิษฐาน กระทำเรื่องดี ๆ ที่มีคุณค่า เป็นบุญกุศล อธฺษฐานทำให้จริงจัง เพิ่มขึ้นในหนึ่งพรรษา ถึงแม้จำนวนเดือนจะไม่มาก แต่การอธิษฐานสร้างกุศล ก็จะทำให้ บุคคลนั้น ก้าวผ่านอุปสรรค ใหญ่ ๆ ได้ คนที่จะอธิษฐานทำอะไรที่เป็นกุศลขึ้นมาเป็นพิเศษนั้น ต้อง อาศัย สัจจะ ความจริงใจ จึงจะสำเร็จได้ ดังนั้น อธิษฐาน สร้างกุศลกันบ้าง สักสามเดือน จะเป็นบุญกุศลเสบียงแก่ตน

   เช่น อธิษฐานเลิกเหล้า เลิกบุหรี อันนี้คือ ละชั่ว ละสิ่งที่ทำลายสุขภาพ
        อธิษฐานทำบุญใส่บาตร ทุกวันสามเดือน อันนี้คือ สร้างความดี
        อธฺษฐานภาวนากรรมฐาน ทุกอาทิตย์สามเดือน อันนี้คือ เพิ่มคุณภาพความดี รักษาความดี
        อธฺษฐานเรียนศึกษาธรรม ฟังธรรม ตลอดสามเดือน อันนี้คือสร้างสัมมาทิฏฐิ
       
       และยังมีอีกมากมาย หลายเรื่องที่ท่านทั้งหลายสามารถอธิษฐาน
       ทำกันในช่วง 1 พรรษา ( 3 เดือนนี้ )

    ก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกท่าน ที่หมั่นสร้างกุศล ความดี ละจากอกุศล และสร้างใจให้ผ่องใส หมั่นเจริญวิปัสสนา ตามหลักธรรมในศาสนา ก็ขอให้ท่่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จ ด้วยกัทุกท่าน ทุกคนเทอญ

     สร้างกุศล บ่มนิสัย  ให้ผุดผ่อง
   เหมือนแว่นส่อง ถึงใจสวย ช่วยโลกหลาย
   หมั่นอบรม ฝึกปรือยิ่ง ทั้งใจกาย   
   เพื่อเป้าหมาย ละจาก  สงสาร เอย

 เจริญธรรม / เจริญพร
     



ภาพนี้ มีความหมาย ดี เห็นแล้วชอบ

  การปฏิบัติธรรม นับหนึ่ง หมายถึง เริ่มที่ตัวเอง เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอใคร แต่การนับหนึ่ง แน่นอนย่อมมีปอุปสรรคขวากหนาม เกิดขึ้นไปตามสภาวะด้วย บางครั้งอุปสรรค บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สาหัส แต่ผู้ที่นับหนึ่ง ต้องมีสัจจะ ต้องเป็นนักสู้ ไม่ท้อ ไม่ถอย ไม่หันหลัง

   อะไร คือ ความเจ็บปวดในการภาวนา
     การที่ แพ้ ต่อกิเลส โดยที่ไม่ได้ สู้ เลย ต่างหาก นั่นแหละคือ ความเจ็บปวด ทุกข์มากที่สุด
   
 
ไฟล์เสียง เชิญดาวน์โหลด ไปรับฟัง

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwOTh8YTY1Y2RhYTg3ZWY1OGZkODY0ZWU0MmNlNWZkMjVkZmZ8MzAyNTU=

ธัมมะวังโส:


   คุณธรรมพื้นฐาน และ ศรัทธา ( ความเชื่อ ) นั้นมีความจำเป็น ต่อ อริยมรรค

   ถ้าบุคคลที่หวังคุณธรรมเบื้่องสูง ในพุทธศาสนา นี้ เขาควรจะต้องพอกพูนศรัทธา ในพุทธศาสนาให้เหนียวแน่น คือ ไม่คลอนแคลน สัทธาที่ควรพอกพูน มี 4 ประการคือ

   
 1. กัมมสัทธา ( อ่านว่า กำ-มะ-สัด-ทา ) เชื่อกฏแห่งกรรม
   โดยการเชื่อว่า ถ้ามีเจตนาดี เป็นกุศล ย่อมทำให้มีความสุข ถ้ามีเจตนาไม่ดี เป็นอกุศล ย่อมทำให้เกิดทุกข์

2.วิปากสัทธา (อ่านว่า วิ-ปา-กะ-สัด-ทา ) เชื่อในผลของกรรม
    ว่ามีจริง เป็นจริง คนจะได้ทุกข์ หรือ สุข ก็เป็นผลมาจากกรรมที่ตนสร้างไว้ ไม่ใช่ใครบันดาลให้เป็นอย่างนั้น แต่เกิดจากผลกรรม ที่ตนได้กระทำไว้ ทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน

3.กัมมัสสกตาสัทธา ( อ่านว่า กำ-มัด-สะ-กะ-ตา-สัด-ทา )เชื่อว่าทุกคนที่มีสุข หรือ ทุกข์ นั้นมีกรรมเป็นของ ๆ ตน
   ที่สุข หรือ ทุกข์ เป็นเพราะว่าตนเอง เป็นผู้กระทำไว้ ไม่ใช่ต่อใครไปทำให้กันได้ หรือ ทำแทนกันได้

4.ตถาคตโพธิสัทธา ( อ่านว่า ตะ-ถา-คะ-ตะ-โพ-ทิ-สัด-ทา )เชื่อในการตรัสรู้ธรรม ของพระพุทธเจ้า ว่ามีจริง เป็นจริง
  เชือ่ในหลักธรรมคำสอนอันไปสู่ มรรค ผล และ นิพพาน นั้นทำได้จริง ๆ ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้โดยชอบแล้ว
นี่เป็นส่ิงที่ควร ศรัทธา 4 อย่าง

        พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
                          ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
                          ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
                          เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
                          คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
                          ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม
                          ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
                          ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
                          ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
                          เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
                          ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ



   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๗๑๐๒ - ๗๑๗๖.  หน้าที่  ๓๑๑ - ๓๑๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=7102&Z=7176&pagebreak=0



ภาพนี้ มีความหมาย เห็นแล้วชอบ

    ภาพสะท้อนของพระพุทธเจ้า ก็คือ สภาวะจิต ที่เป็นพุทธะ ของผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นเงา แม้ลึกลับก็สว่างไสว แม้เป็นเพียงเงา ก็ให้ความสุขจากกระแสนิพพาน เป็นเบื้องต้น ยามจะทุกข์ คับแค้น เจียนตาย แม้ด้วยการหมั่นนึกถึง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไว้สม่ำเสมอ ย่อมมี สุคติ โดยชอบ


nongyao:
 :25:สาธุ สาธุ สาธุ

ธัมมะวังโส:


สำหรับวันที่ 3 นี้คิดว่าท่านทั้งหลาย คงเตรียมใจ รักษาศรัทธา กันอย่างมั่นคง ในศรัทธา ที่นี้ก็เกิดปัญหาว่า แล้วอะไรเป็นกิจที่ควรทำในเบื้องต้น ในพุทธศาสนา นั่นสิ ถ้าไม่ศึกษามาก็ต้องงม กับการหาคำตอบ แต่ไม่ต้องหาแล้ว มีคำตอบให้แล้ว

    พุทธศาสนา เป็นศาสนา ของ คนมีปัญญา คือ ต้องมีความรู้ ในเหตุ และ ผล ซึ่งคนทั่วไปกล่าวว่า คนที่มีเหตุ และ ผล สมควรชื่อว่า มนุษย์ ที่นี้ มนุษย์ เป็นคนที่ทำอะไร ก็ต้องสูงกว่าคุณค่าของความเป็น มนุษย์ ดังนั้นการที่จะคิด พูด ทำ จึงเป็นเรื่องที่มี คุณและค่า สูงกว่าความเป็นมนุษย์

     อะไร เป็นสิ่งที่มี คุณค่า สูงกว่าความเป็นมนุษย์ ก็คือ ความเป็น เทวดา เทพ อันนี้พื้นฐานขั้นต่ำเลยนะ จนกระทั่งไปสู่ วิสุทธิเทพ คือ เป็นพระอรหันต์

     ดังนั้นสิ่งที่ชาวพุทธ ควรจะต้องใส่ใจ พื้นฐาน ก็คือ เทวธรรม
   
     เทวธรรม คือ คุณธรรม ของความเป็นเทวดา มี อยู่ 4 ประการ คือ สติ สัปชัญญะ หิริ โอตตัปปะ

     สติ สัมปชัญญะ มีความจำเป็นมากที่สุด เพราะเป็นคุณธรรมไปสู่ ธรรมขั้นสูงสุด
     ส่วน หิริ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรม พื้นฐาน ของพระโสดาบัน เพราะว่า ถ้า มีความเกรงกลัวต่อบาป และ ละอายต่อการทำบาย ย่อมไม่ถูกต้องอบาย หรือ ไปจุติในอบายภูมิ 4

     ดังนั้นท่านทั้งหลาย ควรใส่ใจ คุณธรรม ของเทวดา ให้มากเพื่อจะได้ประคองชีวิตให้มีภพชาติ ไม่ไปสู่ อบายภูมิ 4

         อบายภูมิ 4 มีอะไร
           1. เปตร ผู้ที่มักมาย ขาดความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ฉกชิง ลักทรัพย์ ทำร้ายต่อพระอริยะ เป็นต้น 
           2. สัตว์นรก ผู้ที่ประกอบ โลภะ โทสะ โมหะ ผิดศีล 5 เป็นต้น
           3. อสุรกาย สัตว์ที่เกิดมีร่างกายแปลกประหลาด บิดเบี้ยง ผิดรูป ผิดร่าง เกิดแต่กรรมที่ทำไม่ดีไว้ต่าง ๆ มีสภาพ กึ่งสัตว์ กึ่งคน พิกล พิการผิดจาก คน และ มนุษย์ เป็นที่น่าเวทนา แม้เกิดในภูมิ ก็เรียกว่า อสุรกาย อสุรกาย มีความหมาย ผู้มีกายลึกลับไม่กล้าแสดงตน ที่จริงมีอยู่มากมายเลยในโลกมนุษย์เราในปัจจุบัน
           4. สัตว์ดิรัจฉาณ ที่ไม่มีภูมิปัญญาในการเห็นธรรม บางครั้งก็มีอยู่ในคราบคนก็มาก จิตใจโหดเหี้ยม อำมหิต

      ใครได้เกิดในอบายภูมิ 4 ย่อมตั้งหลักในการสร้างความดี ได้ยาก เพราะความทุกข์ ความมือบอดจากปัญญาในการมองเห็นธรรม ดังน้น ผู้ที่เกิดในอบายภูมิ 4 จึงไม่เข้าใจในเรื่อง วิปัสสนา เลย

     ดังนั้น เทวธรรม มี สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หิริ ความละอายแก่อกุศล โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ถ้าปรากฏมีขึ้นแก่ผู้ใด ก็แสดงว่า ความเป็น เทวดา เริ่มมีแก่คนผู้นั้น จัดได้ว่าเป็นผู้ถึงคุณธรรม พื้นฐานในโลกนี้ แต่หากเป็นเทวดา ขั้นพระโสดาบัน ก็เป็น พระที่สำคัญลำดับแรก ในพระพุทธศาสนา

      ขอให้ท่านทั้งหลาย เจริญ เทวธรรม ให้มากเถิด
      เทวธรรม มีได้ เพราะศีล และ ศีลก็เป็นบาทฐาน ไปสู่ ภูมิขั้นสูง นั่นเอง


   เจริญธรรม /  เจริญพร



ภาพนี้มีความหมาย เห็นแล้วชอบใจ

     ในยามที่ทุกข์ ที่สุด ก็คือ ยามที่เราต้องการ เพื่อนมากที่ สุด แต่เพื่อนที่ดีที่สุด นั้นหาได้ยากมาก สำหรับผู้ภาวนากุศล สติ เป็นนิสัย ประจำเมื่อทุกข์เกิดขึ้น เพื่อนที่ดีที่สุด ก็คือ พระพุทธะ ที่ปรากฏขึ้นในใจนั่แหละเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ดังนั้น การกล่าวคำปฏิญญาณ ว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง ดังนั้นยามทุกข์ หาเพื่อนไม่ได้ ก็ต้องไม่ลืมพระพุทธเจ้า ผู้ใดที่หมั่นภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ย่อมจะเข้าใจในความหมายนี้ดี

 

     

ธัมมะวังโส:


สำหรับหัวข้อธรรม การศึกษาธรรมในวันนี้ คือ คำว่า ปัจจเวกขณะ

 ปัจจเวกขณะ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ แก่ทุกคน ไม่ใช่แค่ พระสงฆ์ แต่ ฆราวาส ผู้ครองเรือนก็ควรจะมีปัจจเวกขณะ

 ปัจจเวกขณะ หมายถึง การหมั่นพิจารณา ในที่นี้หมายเฉพาะ ปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค  พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระสาวก ด้วยการปัจจเวกขณ 2 ครั้ง คือ ก่อนใช้ และ หลังใช้

   ก่อนใช้ ใช้คำว่า ปฏิสังขาโยนิโสมนสิการ คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายก่อนใช้ ว่า ที่ใช้อยู่นี้ เพราะมีความจำเป็นต่อการใช้ คือปกปิดอวัยยวะ ป้องกันแดด ลมร้อน บำรุงร่างกายให้มีอัตตภาพ ไม่เป็นที่ทุกข์ และ ใช้รักษาโรคที่จำเป็น นี่พูดรว ๆ เลยนะ

   หลังใช้ ใช้คำว่า อัชชะมะยา เป็นต้น คือ ถ้าใช้ไปแล้ว หลงลืมสติ ขณะที่นึกขึ้นได้ตอนนี้ก็จะทำไว้ในใจอย่างแยบคาย ไม่หลงฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม ไม่ใช่เป็นไปเพื่อ ประดับ ตกแต่ง เพลิดเพลิน

   ดังนั้น ปัจจเวกขณะ นั้นมีไว้เพื่อขัดเกลากิเลส ที่มันมีอยู่ในเรื่อง ปัจจัย 4 ทำให้ผู้ที่มีกิเลสพอกพูน ไม่เกิดความสันโดษ มัวเมานั้น ได้คลายทิฏฐิ คลายความมัวเมา และ รู้จักแบ่งปัน แก่เพื่อนร่วมโลก

   คุณแห่งปัจจเวกขณะ นั้นยังมีอยู่มาก แต่ตัวฉันจะเข้ากรรมฐาน เลยไม่อยากพิมพ์มาก เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกัน

   เจริญธรรม / เจริญพร




   ภาพนี้มีความหมาย เห็นแล้วชอบ
 
    ภาพแสดงถึงเรื่อง ประเภทบุคคล คือ บัวสองเหล่า
     1. อุคติตัญญู บุคคล คนที่พร้อม สู่การบรรลุธรรม
     2. วิปจิตัญญู บุคคล  คนที่ต้องพากเพียรอีกสักนิด ก็พร้อมจะบรรลุธรรม

    เหล่าเทวดา ที่เป็นพระโยคาวจร ถึง พระอนาคามี ที่พร้อมจะบรรลุธรรม เมื่อได้สดับธรรม ที่สมควรแก่ ฐานะ ธรรมใดที่เทวดา รับฟังแล้วบรรลุธรรม พร้อมกับมนุษย์ ชื่อว่า ธรรมาภิสมัย ( ธรรมที่ไม่แสดงเจาะจง แก่เทวดา )
   
     

 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป