สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ธรรมะสัญจร => ข้อความที่เริ่มโดย: paisalee ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 05:12:59 pm



หัวข้อ: วัดเก่าแก่ ของสระบุรี มีประวัติเป็นเมืองเก่า ของสระบุรี
เริ่มหัวข้อโดย: paisalee ที่ พฤศจิกายน 30, 2010, 05:12:59 pm
ไปดูจิตรกรรมวัดจันทบุรี ที่อยู่ในเมืองสระบุรี

สงสัยไหมว่าชื่อวัดจันทบุรี แล้วทำไมไปอยู่ในจังหวัดสระบุรี

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96.jpg)

วัด จันทบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยไหน  เหตุที่ชื่อว่าวัดจันทบุรีสันนิษฐานได้ว่าชุมชมเก่าแก่ที่อยู่ล้อมรอบวัด แห่งนี้น่าจะเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3 ชื่อ "จันทบุรี" จึงน่าจะเป็นการตั้งชื่อตามเมืองเวียงจันทน์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนั่นเอง

ทุก วันนี้ถ้าเราจะไปชมความงามของพระอุโบสถแห่งนี้ อาจดูได้แต่เฉพาะด้านนอกเนื่องจากตัวอาคารชำรุดมาก  ผนังด้านหลังพระประธานแทบจะดีดตัวออกจากกัน เห็นเป็นรอยแยกอย่างเด่นชัด  อาคารหลังนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานโดยปิดตายรอการอนุรักษ์จากกรมศิลปากร 
(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.jpg)

รอยแตกร้าวของผนังหลังพระประธานด้านนอก

ลักษณะ ของพระอุโบสถเป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่นัก รูปทรงสอบขึ้นด้านบน มีงานปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยแบบจีนปรากฏให้เห็นที่บริเวณหน้าบัน  ไม่ปรากฏช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งคงรับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นอาคารแบบพระราชนิยมรูปแบบหนึ่งในสมัย รัชกาลที่ 3  ภายในเป็นอาคารโถง ไม่ปรากฏแนวเสา  มีงานปูนปั้นประดับกรอบประตูหน้าต่างแบบเดียวกันกับหน้าบัน

บริเวณ ภายในพระอุโบสถมีงานจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ  ซึ่งอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างชำรุดอย่างมาก  ร่องรอยของภาพเขียนเริ่มปรากฏราว 80 เซนติเมตรจากพื้นล่าง ที่น่าสนใจคือการเขียนลายผ้าม่านด้านหลังพระประธาน ลายดอกไม้ร่วง และเทพชุมนุม งดงามไม่แพ้ที่อื่นๆ 

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99_1.jpg)

จิตรกรรมภายในพระอุโบสถที่มีสภาพชำรุดอย่างมาก

เนื้อหา ในงานจิตรกรรมโดยทั่วไปเหมือนกับวัดอื่นๆ คือนิยมแสดงเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ เพื่อบอกเล่าคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติตอนออกบวช  มารผจญ ฯลฯ ชาดกที่นำมาเล่ามักอยู่ในกลุ่มทศชาติชาดก เช่น เตมียชาดก พระมหาชนกชาดก เป็นต้น 

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A_3.jpg)

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A_3.jpg)
พุทธประวัติตอนออกบวช หรือ มหาภินษกรมณ์

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81.jpg)

พระมหาชนกชาดก ที่ปรากฏเป็นภาพเรือแตกท่ามกลางมหาสมุทร โดยพระชนกได้รับการช่วยเหลือบริเวณมุมบนซ้ายของภาพ สังเกตวิธีการเขียนน้ำของคนโบราณที่เขียนเป็นลายเส้นแบบเกล็ดปลา

 

จิตรกรรม ที่นี่มักได้รับการอ้างอิงในการกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนหลากหลาย ชาติพันธุ์ในภาคกลางสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น ลาว จีน ไทยวน ไทสยาม ฯลฯ  ซึ่งทุกวันนี้แทบจะไม่ปรากฏเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ใด ๆ ให้เห็นอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ทรงผม ความเชื่อ สภาพบ้านเรือน ฯลฯ แม้กระทั่งภาษาพูด

(http://mblog.manager.co.th/uploads/2580/images/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%99.jpg)

ตัวอย่างชาวไทยวนกำลังเดิน ทางไปทำบุญที่วัด ที่ระบุว่าเป็นชาวไทยวนให้ดูการนุ่งซิ่นยาว และไว้ผมยาวมุ่นมวยที่ท้ายทอยซึ่งต่างจากชาวไทยสยาม

 

งาน จิตรกรรมแห่งนี้นอกจากจะมีประโยชน์ในการเล่าเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังมีคุณค่าในการบันทึกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยต้นรัตน โกสินทร์อีกด้วย 

ณ วันนี้ถ้าเผื่อมีใครผ่านไปผ่านมาแถวตัวเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ สระบุรี เห็นชื่อวัดแล้วก็อย่าแปลกใจ ให้รู้ไว้ว่ายังมีคนชาติพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายที่ร่วมกันเป็นชาวไทยทุกวันนี้ อย่างน้อยก็ชาวลาวเวียงจันทน์ ที่เป็นเพื่อนบ้านของเรานี่เอง

ที่มาครับ

http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-77507/ (http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-77507/)