ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ  (อ่าน 4328 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Jiraiya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 115
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 10:42:20 am »
0
อ่านพบในหนังสือ ครับ เลยไม่ทราบว่ามีความหมายอย่างไรครับ
ขอผู้รู้ช่วย อธิบายให้ด้วยครับ ใช่หมายถึง นิพพาน หรือไม่ครับ

  :c017: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ซาบซึ้ง ถึงใจ ภาวนาเข้มข้น ไม่หวลคืนกลับ ดับแล้ว ดับจริง

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 05:23:20 pm »
0
เข้าใจแล้วว่า ทำไม ต้องมาถามเพราะผมลองเสริร์ช ใน กูเกิ้ล แล้วไม่มีศัพท์นี้นะครับ แม้ใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ก็ค้นอยู่หลายรอบไม่เจอครับ แต่แปลกผมกับไปพบเจอคำนี้ ใน พระไตรปิฏกฉบับจุฬา นะครับ

 โวกมนธรรม ก็คือ นิวรณ์ 5 ประการ ไม่ใช่หมายถึง นิพพาน นะครับ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 08:44:44 pm »
0
เยี่ยมมากครับ คุณสมพงษ์ ผมก็หาไม่เจอ งงๆอยู่

 อย่างไงก็ขอให้คุณสมพงษ์มาช่วยตอบกระทู้บ่อยๆนะครับ


  :s_good: :c017: :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2011, 08:45:12 am »
0
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๑.  มูลปริยายวรรค]
                    ๓.  ธัมมทายาทสูตร
 
               ความไม่สนใจศึกษาวิเวก
            [๓๑]    เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน    ท่านพระสารีบุตร    ได้เรียก
ภิกษุทั้งหลายในวิหารนั้นมากล่าวว่า    “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว    ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า    “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย    ด้วยเหตุ
เท่าไรหนอ    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก๑    สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษา
วิเวก    ด้วยเหตุเท่าไรหนอ    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก    สาวกทั้งหลาย
สนใจศึกษาวิเวก”
            ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า    “ท่านผู้มีอายุ    พวกกระผมมาจากที่ไกลเพื่อจะทราบ
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร    พวกกระผมขอโอกาส    ขอท่าน
พระสารีบุตรได้โปรดแสดงเนื้อความแห่งภาษิตนั้นเถิด    เพื่อภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟัง
แล้วจะทรงจำไว้ได้”
            ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า    “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย    ถ้าอย่างนั้น    พวกท่านจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี    กระผมจักกล่าว”
            ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า    “ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย    ด้วยเหตุเท่าไรหนอ    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก    สาวก
ทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก    สาวก
ทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก    ไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า
ควรละ    เป็นผู้มักมาก    เป็นผู้ย่อหย่อน๒    เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม๓    ทอดธุระ๔
 
๑ วิเวก(ความสงัด)  ในที่นี้หมายถึงวิเวก  ๓  ประการ  คือ  (๑)  กายวิเวก  สงัดกาย  (๒)  จิตตวิเวก  สงัดจิต
   (๓)  อุปธิวิเวก  สงัดกิเลส  (ม.มู.อ.  ๑/๓๑/๑๐๙)
๒ ย่อหย่อน  หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน  (ม.มู.อ.  ๑/๓๑/๑๑๐,  องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๕/๕๓)
๓ โวกกมนธรรม  ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์  ๕  ประการ  คือ  (๑)  กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)  (๒)  พยาบาท
   (ความคิดร้าย)  (๓)  ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)  (๔)  อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)

   (๕)  วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)  (ม.มู.อ.  ๑/๓๑/๑๑๐,  องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๕/๕๓)
๔ ทอดธุระ  ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์,  อนึ่ง  หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก  ๓  ประการ
   คือ  กายวิเวก  จิตตวิเวก  และอุปธิวิเวก  (ม.มู.อ.  ๑/๓๑/๑๑๐,  องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๕/๕๓)

ในปวิเวก๑    บรรดาภิกษุเหล่านั้น    ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ๒    ๓
ประการ    คือ    เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่    ๑    ว่า    ‘เมื่อพระศาสดาประทับ
อยู่อย่างมีวิเวก    สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก’    เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ
ที่    ๒    ว่า    ‘สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า    ควรละ’    และ
เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่    ๓    ว่า    ‘สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก    เป็นผู้ย่อหย่อน
เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม    ทอดธุระในปวิเวก’    ภิกษุผู้เป็นเถระเป็นผู้ควรถูก
ติเตียนโดยฐานะ    ๓    ประการนี้    บรรดาภิกษุเหล่านั้น    ภิกษุผู้เป็นมัชฌิมะ    ฯลฯ
ภิกษุผู้ป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ    ๓    ประการ    คือ    เป็นผู้ควรถูก
ติเตียนโดยฐานะที่    ๑    ว่า    ‘เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก    สาวกทั้งหลาย
ไม่สนใจศึกษาวิเวก’    เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่    ๒    ว่า    ‘สาวกทั้งหลายไม่ละ
ธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า    ควรละ’    เป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะที่    ๓    ว่า
‘สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก    เป็นผู้ย่อหย่อน    เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม    ทอดธุระ
ในปวิเวก’    ภิกษุผู้เป็นนวกะเป็นผู้ควรถูกติเตียนโดยฐานะ    ๓    ประการนี้
            ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย    ด้วยเหตุเท่านี้แล    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก
สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่สนใจศึกษาวิเวก
 
               ความสนใจศึกษาวิเวก
            [๓๒]    ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย    ด้วยเหตุเท่าไรหนอ    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
อย่างมีวิเวก    สาวกทั้งหลายสนใจศึกษาวิเวก    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง
มีวิเวก    สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก    ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดา
ตรัสว่า    ควรละ    ไม่เป็นผู้มักมาก    ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน    ไม่เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม
 
๑ ปวิเวก  หมายถึงอุปธิวิเวก  คือสภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์  ได้แก่  กาม  กิเลส  เบญจขันธ์  และ
   อภิสังขาร  กล่าวคือนิพพาน  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๕/๕๓)
๒ ฐานะ  ในที่นี้หมายถึงเหตุ  แท้จริง  คำว่า  ‘ฐานะ’  มีความหมาย  ๔  นัย  คือ  (๑)  อิสสริยะ  (ตำแหน่ง,
   ความเป็นใหญ่)  (๒)  ฐิติ  (เป้าหมาย,ที่ตั้ง)  (๓)  ขณะ(กาล)  (๔)  การณะ  (เหตุ)  ในที่นี้หมายถึงเหตุ  (ม.มู.อ.
   ๑/๓๑/๑๑๐)

ลองหาดูใน โปรแกรมพระไตรปิฏก ฉบับจุฬา แล้วหาเจอหลายอย่างคะ
ระบบ ตัดข้อความก็ทำได้ทันที ไม่ต้องแปลงไฟล์แบบฉบับมหามกุึฏ คะ

สนใจดาวน์โหลด ก็ที่ลิงก์ ด้านล่างนี้นะคะ

เครดิต จขกท ด้วยนะคะ

โปรแกรม พระไตรปิฏก ฉบับ มหาจุฬา เวอร์ชั่นที่ 1
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4916.0
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
โวกกมนะ หรือ โอกกมนะ...ใครผิดใครถูก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 11:28:59 am »
0
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค] ๓. ธัมมทายาทสูตร

ความไม่สนใจศึกษาวิเวก
[๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตร ได้เรียก
ภิกษุทั้งหลายในวิหารนั้นมากล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น
รับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุ
เท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก๑ สาวกทั้งหลายไม่สนใจศึกษา
วิเวก ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวกทั้งหลาย
สนใจศึกษาวิเวก”

ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกลเพื่อจะทราบ
เนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอท่าน
พระสารีบุตรได้โปรดแสดงเนื้อความแห่งภาษิตนั้นเถิด เพื่อภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟัง
แล้วจะทรงจำไว้ได้”

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว”

ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ด้วยเหตุเท่าไรหนอ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก สาวก
ทั้งหลายไม่สนใจศึกษาวิเวก เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างมีวิเวก

สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้สนใจศึกษาวิเวก ไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสว่า
ควรละ เป็นผู้มักมาก เป็นผู้ย่อหย่อน๒ เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม๓ ทอดธุระ๔

เชิงอรรถ :
๑ วิเวก(ความสงัด) ในที่นี้หมายถึงวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย (๒) จิตตวิเวก สงัดจิต
(๓) อุปธิวิเวก สงัดกิเลส (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๐๙)
๒ ย่อหย่อน หมายถึงยึดถือปฏิบัติตามคำสั่งสอนหย่อนยาน (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๓ โวกกมนธรรม ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ (๑) กามฉันทะ(ความพอใจในกาม) (๒) พยาบาท
(ความคิดร้าย) (๓) ถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) (๔) อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
(๕) วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)
๔ ทอดธุระ ในที่นี้หมายถึงไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์, อนึ่ง หมายถึงทอดทิ้งหน้าที่ในวิเวก ๓ ประการ
คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก (ม.มู.อ. ๑/๓๑/๑๑๐, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๕/๕๓)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า :๒๙ }
อ้างอิง http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd12.htm



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๓. ธรรมทายาทสูตร ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม


ปัญหาการไม่ตามศึกษาความสงัด
             [๒๓] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระสารีบุตรจึงเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรว่า ขอรับ ดังนี้.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก
ทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว สาวก
ทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไร?

             ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล ก็เพื่อจะทราบเนื้อ
ความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตร พวกกระผมขอโอกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิต
ข้อนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว
จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

             [๒๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสด็จ
อยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? ดูกรท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาเสร็จอยู่สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความ
สงัดตาม คือ พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรมเหล่านั้น เป็นผู้มัก
มาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสังกัด.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ ด้วยเหตุสามสถาน คือ อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่หนึ่งนี้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่สงัดแล้ว พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม อันวิญญูชนพึง
ติเตียนได้ด้วยสถานที่สองนี้ว่า พระศาสดาตรัสถึงการละธรรมเหล่าใด สาวกทั้งหลายไม่ละธรรม
เหล่านั้น อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยสถานที่สามนี้ว่า

สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระในความสงัด.
ภิกษุผู้เถระ อันวิญญูชนพึงติเตียนด้วยเหตุสามสถานเหล่านี้.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๓๘๕ - ๕๑๖.  หน้าที่  ๑๗ - ๒๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=385&Z=516&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=20



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
ธรรมทายาทสูตร ว่าด้วยทายาทแห่งธรรม

  [๒๔] ลําดับนั้น ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะแสดงเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงตําหนิความเป็นอามิสทายาท ตรัสไว้แล้วโดยอาการอย่างเดียวกันนั้นเองว่า แม้เธอทั้งหลายก็จะพึงถูกตําหนิ โดยความเป็นอามิสทายาทนั้น ดังนี้ โดยอาการ ๓ อย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าวคำนี้ว่า อิธาวุโส ฯเปฯ สาวกา วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ.

               ด้วยคำเพียงเท่านี้พระเถระได้กล่าวไว้แล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตําหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทอันใด แม้ท่านทั้งหลายก็จะพึงถูกตําหนิด้วยปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทนั้น. และพระเถระได้ถามคำถามใดด้วยตนเองว่า กิตฺตาวตา นุโข ฯปฯ นานุสิกฺขนฺติ.

               ความหมายแห่งคำถามนั้นแบบพิสดารเป็นอันพระเถระได้แจกแจงไว้ดีแล้ว.
               ก็แต่ว่า ความหมายนั้นมิได้พาดพิงถึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องถูกตําหนิด้วยเลย. เพราะพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้แล้วว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส ภวิสฺสามิ (แม้เราตถาคตก็จักถูกตําหนิด้วยความเป็นอามิสทายาทนั้นด้วย) เป็นพระดำรัสที่ถูกต้องแล้วของพระผู้มีพระภาคเจ้าเอง ซึ่งทรงประสงค์จะสงเคราะห์สาวก ไม่ใช่เป็นถ้อยคำของพระสาวก.

               แม้ในฝ่ายที่ดี (สุกกปักษ์) ก็นัยนี้.
               ในตอนนี้มีโยชนา (การประกอบความ) ลําดับแห่งอนุสนธิเท่านี้ก่อน.
               ส่วนการขยายความในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.
               บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส ความว่า เมื่อพระศาสดาผู้ทรงสงัดแล้วอย่างแท้จริงด้วยวิเวก ๓.
               บทว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ตามศึกษา คือไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์ซึ่งกายวิเวก.

               ก็ถ้าว่าพระเถระจะพึงกล่าวหมายถึงวิเวกทั้ง ๓ ไซร้ คำถามก็คงไม่มีเป็นพิเศษ เพราะว่าวิเวกในคำว่า วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ นี้เป็นฝ่ายแห่งคำพยากรณ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงกายวิเวกด้วยบทนี้ว่า (วิเวกํ นานุสิกฺขนฺติ) แสดงจิตตวิเวกด้วยบทว่า เยสญฺจ ธมฺมานํ และแสดงอุปธิวิเวกด้วยบทว่า พาหุลฺลิกา ดังนี้เป็นต้น.

               ในตอนนี้พึงทราบความโดยย่อดังพรรณนามาฉะนี้.
               ด้วยบทว่า เยสญฺจ ธมฺมานํ พระเถระกล่าวหมายเอาอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น โลภะเป็นบาป.

               บทว่า นปฺปชหนฺติ ได้แก่ ไม่ละทิ้ง. อธิบายว่า ไม่บําเพ็ญให้บริบูรณ์ซึ่งจิตตวิเวก.
               บทว่า พาหุลฺลิกา แปลว่า ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้หมกมุ่นด้วยปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า สาถลิกา เพราะนับถือศาสนาแบบย่อหย่อน.

               ในบทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกกมนะ เพราะเป็นเหตุให้ตกตํ่า ภิกษุเหล่านั้นนับว่าเป็นแนวหน้า (นำ) ด้วยการทำนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์นั้น.

อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=20&p=2#พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม



   ผมจะนำพระไตรปิฎกทั้งสองฉบับมาเปรียบเทียบเฉพาะจุดที่สำคัญว่า แตกต่างกันอย่างไร

ฉบับมหาจุฬา
ผู้มักมาก, เป็นผู้ย่อหย่อน ๒, เป็นผู้นำในโวกกมนธรรม ๓, ทอดธุระ ๔

ฉบับสยามรัฐ

ผู้มักมาก, ย่อหย่อน, เป็นหัวหน้าในการท้อถอย, ทอดธุระในความสงัด.

อรรถกถาฉบับสยามรัฐ
โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกกมนะ

        โวกกมนะ(มหาจุฬา) เทียบกับ โอกกมนะ(สยามรัฐ)


  จะเห็นว่า ทีี่่มาของนิวรณ์ มีความคล้ายกันมาก ต่างกันที่ตัว "ว" กับ "อ" ไม่รู้ใครผิดใครถูก
    :96: :96: :96: ;) :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2011, 11:40:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 11:43:04 am »
0
ต้องเทียบเคียง กับภาษา บาลี แล้วคะ
 ส่วนของ จุฬา และ สยามรัฐ จะมีเนื้อหาใกล้เคียงกัน

 ฉบับ มหามหามกุฏ เน้น อรรถกถา มาก จึงมีจำนวนเล่มมาก
ที่อ่านได้ง่าย เป็นฉบับ จุฬา และ สยามรัฐ

 แต่ทั้งหมดนั้น จะุยุติได้ ที่ฉบับภาษาบาลี คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โวกกมนธรรม คือ ธรรมอะไรครับ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2011, 12:15:35 pm »
0


   ผมได้ตรวจสอบคำที่สงสัยกับ พระไตรปิฎก ภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฏฐ จากเว็บ http://www.learntripitaka.com/ แล้ว
ตรงกับเว็บ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=20&p=2#พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม

คำที่ตรงกันก็คือ  โอกฺกมเน  ปุพฺพงฺคมา
ดังนั้น น้ำหนักความถูกต้อง น่าจะไปทางคำว่า โอกกมนะ มากกว่า โวกกมนะ

อ้างอิง
http://www.learntripitaka.com/
http://www.learntripitaka.com/Download.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ