ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การกล่าววาจา ยุแยง ตะแคงรั่ว ผิดศีล มุสา หรือไม่คะ  (อ่าน 5766 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อในกลุ่มได้วิจารณ์ เรื่องการกล่าวคำยุแยง ตะแคงรั่ว อันนี้จัดเป็นมุสาวาท หรือไม่คะ

ทั้ง ๆ ที่เรื่อง ยุ ก็เป็นเรื่องจริง เช่น พี่เก่งจริง ทำงานเก่ง ไอเดียดี ( จริง ๆ  ) อีกคนเก่งสู้ พี่ไม่ได้ ไม่น่าจะได้ตำแหน่งนี้ นะคะ แสดงว่าเขาต้องประจบเจ้านาย ( ประจบจริง ๆ ) พี่น่าจะต้องทำอะไรสักอย่างนะคะ

 เป็นคำยุ แต่กล่าวคำจริง เจตนา ก็เพื่อให้พี่แก ฮึดสู้ กับเขาบ้าง

 การกล่าวอย่างนี้ จัดเป็น มุสาวาท หรือไม่คะ เพราะบางคนกล่าวว่า การกล่าวอย่างนี้เป็น มุสาวาท คะ

 :c017: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กำลังฟังเรื่อง ปูติมุขเปตร อยู่พอดีเลยคะ
 :88:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การทำบาปทางวาจา

         
          การทำบาปทางวาจา อกุศลกรรมที่เกิดทางวาจา ชื่อว่า วจีกรรม หรือ วจีทุจริต เป็นการกระทำความไม่ดีไม่งามทางวาจา ทำความเดือดเนื้อร้อนใจ ให้กับผู้อื่นและกับตนเอง ความทุกข์ก็จะติดตามมาเป็นเงาตามตัว การทำบาปทางวาจาทำได้ ๔ อย่าง คือ
           
๑. การพูดเท็จ (มุสาวาท)
          การพูดเท็จ ได้แก่ การพูดที่ไม่จริง มีเจตนาทำให้คนอื่นเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน จากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเอง หรือ ใช้ให้ผู้อื่นพูด เขียนเรื่องราว เขียนจดหมาย เขียนบัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ 

         
องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ 
๑. สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่จริง
๒. มีจิตคิดจะพูดเรื่องไม่จริง
๓. พยายามที่จะพูดไม่จริง
๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคำพูดนั้น

           
ผลของบาป 
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลอสุรกายหรือเดรัจฉาน เรียกว่าบาปนั้นให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)

           
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีก ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์และ พิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม เกิดมาทำให้ พูดไม่ชัด ฟันไม่เรียบ ปากมี กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร กลิ่นเหม็น ไอตัวร้อน ตาส่อน พูดไม่ชัดถ้อยชัดคำ ท่าทางไม่สง่างาม จิตใจรวนเร

 
           
๒. การพูดส่อเสียด (ปิสุณวาจา)
          การพูดส่อเสียด ได้แก่ การพูดที่ทำให้เขาแตกแยกกัน เป็นการพูดทำลายความ สามัคคีในหมู่คณะ ทำให้คนที่รักกันต้องเลิกล้างจากกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยหวัง ผลประโยชน์ของตน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เป็นต้น 

         
องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
 ๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก
๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก
๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก
๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด

       
ผลของบาป
          การทำบาปที่ครบองค์ประกอบ ๔ ประการ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือพูดส่อเสียดนั้นส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตลงจะไปเกิดใน อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย หรือเดรัจฉาน เรียกว่า บาปให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)

         
ถ้าขณะที่กำลังจะสิ้นชีวิต นึกถึงบุญ
บุญนั้นจะนำเกิดมาเป็นมนุษย์ ผลของบาปที่ทำไว้นี้ก็จะตาม มาให้ผลอีกทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณา อารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกบัณฑิตติเตียน มักถูกกล่าวหาโดยที่ไม่เป็นจริง จะเป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอ ๆ เรียกว่า บาปให้ผลใน ปวัตติกาล

 
           
๓. การพูดคำหยาบ (ผรุสวาจา)
          การพูดคำหยาบ ได้แก่ การด่าทอและการสาปแช่งต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่ถูกด่า เกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทำที่เกิดมาจากอำนาจของความโกรธความไม่พอใจ

           
องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี ๓ ประการ คือ
๑. มีความโกรธ
๒. มีผู้ถูกด่า
๓. มีการพูดกล่าววาจาสาบแช่งหรือด่าทอ

           
ผลของบาป
การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการนี้ จัดว่าเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ ถ้าผลของการทำบาป คือ การพูดคำหยาบส่งผล เมื่อสิ้นชีวิตสามารถนำเกิดใน อบายภูมิคือ นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน เรียกว่า ให้ผลใน ปฏิสนธิกาล (นำเกิด)

         
ถ้าบุญเก่านำเกิด เป็นมนุษย์
ทำให้ ได้เห็น ได้ยินได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ ที่ไม่ดีไม่งาม จะได้ยินได้ฟังแต่คำพูดที่ไม่ไพเราะไม่น่าพอใจ มีกายวาจาหยาบตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ เรียกว่า การให้ผลใน ปวัตติกาล(หลังนำเกิด)

           
ในกรณีที่บิดามารดา ครูอาจารย์
ดุด่าบุตรหลานหรือศิษย์ ก็เข้าในหลัก ๓ ประการเช่นเดียวกัน แต่ก็ถือว่ามีโทษน้อย เพราะไม่มีเจตนาร้ายแรงแต่อย่างใด แต่ถ้าบุคคลใดด่าว่าผู้มีอุปการะคุณ เช่น บิดามารดา ผู้มีอุปการะคุณอื่น ๆ หรือผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือแม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก

 
           
๔. การพูดเพ้อเจ้อ (สัมผัปปลาปะ)
          การพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ การพูดที่เหลวไหลไร้สาระถือว่าเป็นการพูดที่ทำลาย ประโยชน์ และความสุขของผู้ฟัง ที่จะต้องมาฟังคำพูด ที่ไม่มีสาระแก่นสารอะไร เช่นนี้ เช่น การพูดของนักร้อง นักแสดง นักประพันธ์ ที่ไม่มีคติธรรมอะไร สอดแทรกไว้

           
องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ
   ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ 
   ๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์


 ฯลฯ.........ฯลฯ...........
         

         
อ้างอิง
แบบบเรียนพระอภิธรรมมัตถสังคหะ  หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เน็ต       
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
http://www.buddhism-online.org/Section07A_02.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับคุณ ปุ้มครับ ยังเป็นกัลยาณมิตร ที่คอยดูแล ให้คำตอบเสมอนะครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE