ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ปริยัติมากมี มานะมากมาย" ใครหนอ..มีหัวแต่ไม่มีหู.?  (อ่าน 1957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มานะเกิดเพราะปริยัติ
               
     ดังได้สดับมา พราหมณ์ ๕๐๐ คนเรียนจบไตรเพท ภายหลังได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช จึงออกบวชอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลยก็เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด

     เพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน จึงเกิดมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์ที่พระผู้มีภาคเจ้าตรัสไว้พลันทีเดียว เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสเรื่องอะไรๆ นอกเหนือจากลิงค์ ๓ บท ๔ และวิภัตติ ๗ ก็เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่เป็นเงื่อนงำ (ไม่เข้าใจ) สำหรับพวกเราย่อมไม่มี ดังนี้.

      :25: :25: :25: :25:

     ภิกษุเหล่านั้นไม่มีความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ไม่ไปฟังธรรมเป็นประจำบ้าง.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวารจิตนั้นของภิกษุเหล่านั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ยังถอนตะปูคือมานะไม่ได้ ก็ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งมรรคหรือผล ทรงกระทำมานะที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยการเล่าเรียนสุตะของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุเกิดเรื่อง จึงเริ่มการแสดงธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดในการแสดงมูลปริยายสูตรแห่งธรรมทั้งปวง เพื่อจะหักเสียซึ่งมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ดังนี้.


อ้างอิง : อรรถกถามูลปริยายสูตร
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=2#มานะเกิดเพราะปริยัติ




เหตุผลที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า
               
     บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระสัพพัญญุตญาณอันลึกซึ้งอย่างยิ่ง มีการหยั่งถึง ไม่พึงได้ด้วยปัญญาของคนเหล่าอื่น (ปัญญาคนเหล่าอื่นหยั่งรู้ไม่ถึง) จึงทรงประดับ
         ด้วยวาระของปุถุชน ๑ วาระ
         ด้วยวาระของเสขบุคคล ๑ วาระ
         ด้วยวาระของพระขีณาสพ ๔ วาระ (และ)
         ด้วยวาระของพระตถาคต ๒ วาระ
     รวมเป็นประดับด้วยวาระใหญ่ (สำคัญ) ๘ วาระ และในวาระ (ใหญ่)
     แต่ละวาระทรงประดับด้วยวาระในระหว่าง (วาระย่อย) ๒๔ วาระ มีวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น
     แล้วได้ตรัสพระสูตรทั้งหมด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ตอนจบคำเริ่มต้นจนกระทั่งถึงคำว่า ยาว อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ ด้วยปริยัติจำนวน ๒ ภาณวาร.

     ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสพระสูตรนี้อันประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ซึ่งไพเราะดุจเสียงของนกการเวก (และ) เป็นเช่นกับได้ทรงราดรดหทัยของชนด้วยน้ำอมฤต เพราะระรื่นหูอยู่อย่างนี้ (ภิกษุเหล่านั้นก็ยังมิได้ชื่นชมพระภาษิต).


      :25: :25: :25: :25:

     บทว่า น เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุ ํ ความว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมิได้อนุโมทนาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลย.
         ถามว่า เพราะเหตุไร?
         ตอบว่า เพราะไม่เข้าใจ.
         ว่ากันว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจเนื้อหาของสูตรนี้ ฉะนั้นจึงไม่ชื่นชม.

     จริงอยู่ ในสมัยนั้นพระสูตรนั่นแม้จะประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาอย่างนี้ สำหรับภิกษุเหล่านั้นได้เป็นเหมือนคนที่เขาเอาผืนผ้าหนาๆ ผูกปากไว้แล้วเอาของกินที่ถูกใจมาวางตรงหน้า (ไม่สามารถจะกินได้) ฉะนั้น.


        ask1 ans1 ask1 ans1

      ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาถึง ๔ อสงไขย แล้วได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เพื่อสอนคนอื่นให้เข้าใจธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมิใช่หรือ ไฉนพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยที่ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ (เนื้อหา) เล่า.?
      ตอบว่า คำตอบนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการวิจารณ์บทตั้งของสูตรนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ก็เพื่อหักรานมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ฉะนั้น ในที่นี้จึงไม่มีอะไรที่ต้องกล่าวซํ้าอีก.

      ก็แล ครั้นได้ฟังสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อหักรานมานะอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า ได้ยินว่า
      ปุถุชนมี (มิจฉาทิฏฐิ) ทิฏฐิเป็นแนวดำเนิน ย่อมหมายรู้ปฐวีนั้นนั่นแล
      ฝ่ายพระเสขะ พระอรหันต์ และพระตถาคตย่อมทราบอย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่งนี้เป็นอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้หมดมานะ เหมือนอสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้วฉะนั้น ด้วยระลึกได้ว่า เมื่อก่อนพวกเราย่อมรู้ทั่วถึงพระดำรัสอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างเร็วพลันทีเดียว
      แต่มาบัดนี้กลับไม่รู้ไม่เห็นที่สุดหรือเงื่อนแห่งมูลปริยายสูตรนี้เลย น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง (มีพระปัญญา) ที่ใครๆ ประมาณไม่ได้ ทรง (มีพระปัญญาที่ใครๆ ชั่งไม่ได้) ดังนี้แล้วได้พากันไปสู่ที่บำรุงพระพุทธเจ้า และไปฟังธรรมโดยเคารพ.





กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใดเล่าที่กินกาล.?
             
     ก็แลสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในธรรมสภาสนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พราหมณ์บรรพชิตเหล่านั้นมัวเมาแล้วด้วยความเมาในมานะ ยังถูกทำให้หมดมานะได้ด้วยมูลปริยายเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. และบัดนี้ภิกษุเหล่านั้นยังพูดคุยกันค้างอยู่.

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระคันธกุฏีไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในธรรมสภาด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมกับขณะนั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า
     ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ.
     ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลบอกเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งเที่ยวลำพองอยู่ด้วยมานะให้หมดมานะแล้วเหมือนกัน.
     จากนั้น เพราะเกิดเรื่องนี้เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานนี้มาเล่าว่า :-


      ans1 ans1 ans1 ans1

     ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เรียนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์และเกฏุภศาสตร์ และประเภทอักษรสมัยมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้ชำนาญในคัมภีร์ไวยากรณ์และมหาปุริสลักษณะ ในคัมภีร์โลกายัติ.

     พราหมณ์นั้นได้สอนมนต์ให้มาณพ ๕๐๐ คน. พวกมาณพที่เป็นคนฉลาดย่อมเรียนได้มาก จำได้เร็วและแม่นยำ มนต์ที่มาณพเหล่านั้นเรียนแล้วไม่เลอะเลือนเลย.
     แม้พราหมณ์นั้นก็มิได้หวงแหนวิชาเป็นเหมือนเทนํ้าลงไปในหม้อ ในมาณพเหล่านั้นเรียนศิลปะจนหมดแล้ว ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นดังนี้ว่า
     ศิลปะนี้เพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า.

     มาณพเหล่านั้นก็เกิดมานะขึ้นมาว่า
     อาจารย์ของพวกเราย่อมรู้สิ่งใด แม้พวกเราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้ แม้พวกเราก็เป็นอาจารย์ได้แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ขาดความเคารพทอดทิ้งวัตรในอาจารย์อยู่.
     อาจารย์ทราบแล้วคิดว่า เราจักทำการข่มมานะของมาณพเหล่านั้น.


      :96: :96: :96: :96: :96:

      วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นผู้มายังสถานที่บำรุงไหว้แล้วนั่งอยู่ว่า พ่อคุณทั้งหลายเอ๋ย อาจารย์จักถามปัญหากะพวกพ่อ (สักข้อหนึ่ง) พวกพ่อจะสามารถกล่าวแก้ได้ไหม?
      มาณพเหล่านั้นก็พากันรีบเรียนอย่างคนที่เมาการศึกษาว่า
      ถามเลย ท่านอาจารย์ ถามเลย ท่านอาจารย์.

      อาจารย์จึงกล่าวว่า
      กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใดเล่าที่กินกาล ได้เผาไหม้ตัณหาที่เผาไหม้สัตว์ไปด้วยได้?
      แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงแก้ปัญหานี้ซิ.
      มาณพเหล่านั้นคิดแล้วแต่ไม่รู้(คำตอบ) จึงได้พากันนิ่งเงียบ.
      อาจารย์จึงกล่าวว่า เอาละพ่อทั้งหลาย วันนี้กลับไปก่อน พรุ่งนี้ค่อย(มา)กล่าวแก้ ดังนี้แล้วส่งมาณพเหล่านั้นกลับไป.





ใครหนอ..มีหัวแต่ไม่มีหู.?

      มาณพเหล่านั้น (จากอาจารย์มาแล้ว) จับกลุ่มกัน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง (พิจารณาปัญหา) ก็ยังมองไม่เห็นเบื้องต้น ไม่เห็นเบื้องปลายแห่งปัญหานั้น.
      พวกเขาจึงได้พากันมาบอกอาจารย์ว่า พวกผมไม่เข้าใจความหมายของปัญหานี้เลย.

     เพื่อต้องการข่มมาณพเหล่านั้น อาจารย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
           พหูนิ นรสีสานิ โลมสานิ พฺรหานิ จ คีวาสุ ปฏิมุกฺกานิ โกจิเทเวตฺถ กณฺณวาติ ฯ
           ศีรษะของคนจำนวนมากมีผมดกและใหญ่อยู่บนคอในเขาเหล่านี้ ใครเล่าเป็นผู้มีหู

     คาถา(นี้) มีอธิบายว่า ศีรษะของคนจำนวนมากปรากฏอยู่ และศีรษะเหล่านั้นทั้งหมดก็มีผม ทั้งหมดเป็นศีรษะใหญ่ตั้งอยู่บนคอ แต่ว่ามือเอื้อมไม่ถึง เช่นเดียวกับผลตาล(ที่มือเอื้อมไม่ถึง) ฉะนั้น ศีรษะเหล่านั้นกับศีรษะเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างกัน.
     แต่ในที่นี้ อาจารย์กล่าวว่า โกจิเทว กณฺณวา ดังนี้ หมายเอาตนเอง.
     บทว่า กณฺณวา แปลว่า ผู้มีปัญญา.
     ก็ใครกันเล่าที่ไม่มีรูหู.?

      :91: :91: :91: :91:

     มาณพเหล่านั้นได้ฟังคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก (นั่ง)ก้มหน้านิ่งเอานิ้วมือขีดดิน.
     ลำดับนั้น อาจารย์เห็นว่ามาณพเหล่านั้นมีความละอายใจ แล้วจึงกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงเรียนเอาปัญหาเถิด ดังนี้แล้ว ได้แก้ปัญหา (ให้มาณพเหล่านั้นฟัง).

     บทว่า กาล ได้แก่ กาลมีอาทิอย่างนี้คือ เวลาก่อนอาหารบ้าง เวลาหลังอาหารบ้าง.
     คำว่า ภูตานิ นั่นเป็นชื่อเรียกสัตว์.
     กาลหาได้เคี้ยวกินเนื้อและหนัง เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายไม่.
     ที่แท้แลกลับทำให้อายุ วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นสิ้นไป ยํ่ายีความเป็นหนุ่มความเป็นสาว ทำความเป็นผู้ไม่มีโรคให้พินาศไป จึงเรียกว่า กิน คือเคี้ยวกิน.

     บทว่า สพฺพาเนว สหตฺตนา ความว่า และกาลเมื่อกินอยู่อย่างนั้น ย่อมไม่เว้นอะไรๆ ย่อมกินทั้งหมดทีเดียว และใช่ว่าจะกินแต่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ที่แท้แลยังกินตัวมันเองไปพร้อมกับตัวมันเอง(อีก)ด้วย
    (คือ)เวลาก่อนอาหาร(ผ่านไป) จะมาเป็นเวลาหลังอาหาร(อีก)ไม่ได้.

    ในเวลาหลังอาหารเป็นต้นก็มีนัยแบบนี้.





พระขีณาสพเป็นผู้กินกาล

     บทว่า โย จ กาลฆโส ภูโต นั่น เป็นชื่อเรียกพระขีณาสพ.
     ก็พระขีณาสพนั้นเรียกว่า ผู้กินกาล เพราะท่านกินปฏิสนธิกาลในภพต่อไปจนหมดสิ้นแล้วดำรงอยู่.
 
     บทว่า สภูตปจนึ ปจิ ความว่า ตัณหานี้ใดย่อมเผาสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งหลาย พระขีณาสพนั้นเผาตัณหานั้นด้วยไฟคือญาณ ได้แก่ ทำให้เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว.
    เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ภูตปจนึ ปจิ (แปลว่าเผาตัณหาที่เผาสัตว์).
    (ในคำว่า ปจนึ) บาลีเป็น ปชฺชนึ ก็มี. หมายความว่า ให้เกิด คือให้บังเกิด.


     st12 st12 st12 st12

    ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นเห็นเนื้อความของปัญหาปรากฏชัดตามคำแก้ของอาจารย์ เหมือนคนเห็นที่เรียบและที่ขรุขระในตอนกลางคืนด้วยแสงสว่างของประทีปพันดวง จึงคิดว่า บัดนี้พวกเราจักอยู่ร่วมกับอาจารย์ จนตลอดชีวิต ขึ้นชื่อว่าอาจารย์แล้ว เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็พวกเราเกิดความถือตัวว่า ได้ศึกษามามากจึงไม่รู้ความหมายของคาถาแม้เพียง ๔ บาท ขจัดมานะได้แล้ว (หันกลับ) มาทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาจารย์ ภิกษุเหล่านี้ได้เป็นมาณพ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งมีมานะจัดท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ให้หมดมานะ ด้วยประการฉะนี้.





ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุอรหัตตผล


     ก็ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังชาดกนี้แล้วคิดได้ว่า แม้เมื่อก่อนพวกเราก็ถูกมานะครอบงำแล้ว จึงขจัดมานะออกให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ เป็นผู้มุ่งหน้า(ปฏิบัติ)กรรมฐานที่เป็นอุปการะแก่ตน.

     ต่อมาคราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบทถึงเมืองไพศาลี แล้วประทับอยู่ที่โคตมกเจดีย์ ทรงทราบว่าภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงตรัสโคตมสูตรนี้ว่า

      :25: :25: :25: :25:

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราตถาคตแสดงธรรมมีเหตุ ฯลฯ
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนั้นแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ฯลฯ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทจึงเป็นสิ่งที่ควรทำตาม อนุสาสนีเป็นสิ่งที่ควรทำตาม
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ (สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ปฏิบัติดีแล้ว.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุก็ได้หวั่นไหวแล้ว.
     ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในเวลาจบ (พระสูตร) นั้นเอง.


      เทศนานี้ได้จบลงในที่นั่นด้วยอาการอย่างนี้แล.


อ้างอิง : อรรถกถามูลปริยายสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=1&p=5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2015, 09:28:14 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปริยัติมากมี มานะมากมาย" ใครหนอ..มีหัวแต่ไม่มีหู.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 22, 2015, 09:53:23 am »
0
 gd1  thk56  like1

 :88:  :58:

 :25:
บันทึกการเข้า

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปริยัติมากมี มานะมากมาย" ใครหนอ..มีหัวแต่ไม่มีหู.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 22, 2015, 06:58:43 pm »
0
เรื่องนี้ สอดคล้อง กับเรื่อง อัสมิมานะ ที่พระอาจารย์ ลงไปในวันนี้

  อัสสมิมานะ ได้เกิดแล้ว ได้เกิดแล้ว ว่า....
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=19189.0

  เนื้อหา และภาพ ในนี้เป็นที่น่าแปลกใจ ว่าใน เฟคไม่มี นะครับ พระอาจารย์ไม่ลงเนื้อหาและภาพ ในเฟคแบบเมื่อก่อนแล้ว ใช่หรือไม่ครับ ?

   st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปริยัติมากมี มานะมากมาย" ใครหนอ..มีหัวแต่ไม่มีหู.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 22, 2015, 09:55:30 pm »
0
 st12
       ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา