ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มส.ออกระเบียบใหม่ ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด  (อ่าน 1353 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มส.ออกระเบียบใหม่ ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

รองโฆษกพศ. เผย มส. เห็นชอบร่างระเบียบว่าด้วย สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2558 ฉบับใหม่แทนฉบับพ.ศ.2543 ที่ไม่ครอบคลุม เพิ่มเกณฑ์คุณสมบัติ พร้อมตั้งคณะกรรมการดำเนินงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด มีอำนาจพิจารณาให้ตั้ง ยุบ ส่งเสริมตามนโยบายมส. หวังให้เกิดคุณภาพยิ่งขึ้น

วันนี้(22 ก.ย.)นายประดับ โพธิกาญจนวัตร รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) ได้ผ่านความเห็นชอบ ร่างระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ.2558 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ตรีแห่งพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 เพื่อดำเนินการปรับปรุงให้ระเบียบจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดมีความรัดกุมและมีทิศทางชัดเจนมากยิ่งขึ้นซึ่งแต่เดิมนั้น จะใช้ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพ.ศ.2543 ที่ยังไม่ครอบคลุมชัดเจน ดังนั้นทางมส.จึงเห็นว่าควรที่จะมีการออกระเบียบมหาเถรสมาคมในเรื่องดังกล่าวใหม่ให้การจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมเกิดคุณภาพมากยิ่งขึ้น


 :96: :96: :96: :96: :96:

นายประดับ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาระสำคัญในร่างระเบียบฉบับใหม่นี้มีเนื้อหาจำนวน 14 ข้อโดยได้เพิ่มเติมให้แต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการดำเนินงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแต่ละฝ่ายที่ชัดเจนประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ เป็นประธานที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค และรองเจ้าคณะภาคเป็นที่ปรึกษา เจ้าคณะจังหวัด เป็นประธานกรรมการ รองเจ้าคณะจังหวัด เป็นรองประธานกรรมการเจ้าคณะอำเภอ หรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 7 รูป/คน เป็นกรรมการผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด(พศจ.) เป็นกรรมการและเลขานุการโดยกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบ ยุบเลิกพร้อมกำกับดูแลและสนับสนุนให้สำนักปฏิบัติธรรม ดำเนินกิจกรรมตามนโยบายมส.

 :25: :25: :25: :25: :25:

รองโฆษกพศ. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการกำหนดคุณสมบัติสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่ชัดเจนไว้ 5 ข้อดังนี้
    1.เป็นวัดตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์
    2.มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่
    3.มีจำนวนพระวิปัสสนาจารย์เพียงพอ
    4.มีหลักสูตรปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมและ
    5.มีการดำเนินการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปี อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง

ที่สำคัญเมื่อมส.มีมติอนุมัติให้จัดตั้งแล้ว ให้พศ.ขึ้นทะเบียนและจัดสรรงบประมาณอุปถัมภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานที่สำคัญยังกำหนดให้สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดต้องทำรายงายผลการดำเนินงานประจำปีเสนอคณะกรรมการหากพบว่า ขาดคุณสมบัติ หรือกระทำไม่เหมาะสม อาจถูกพิจารณาให้ยุบเลิกได้

ทั้งนี้เมื่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชลงนามในระเบียบดังกล่าว ก็จะมีผลบังคับใช้ต่อไป


ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/349684
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ระเบียบนี้ เท่าที่ผมได้ไปศึกษาและอ่าน
 เห็นว่า การตั้งธรรมสถาน ของพระอาจารย์ จะทำได้ยากขึ้นอีก เพราะระเบียบ ระบุ ไว้ว่า ธรรมสถาน ที่ตั้งอาคาร มีเจดีย์ เป็นต้นนั้น ต้องเป็นวัดก่อน

   การที่พระอาจารย์ จะตั้งธรรมสถาน น่าจะยากเพิ่มขึ้น นะครับ อีกอย่าง ที่สำคัญ พระวิปัสสนาจารย์ นั้นต้องสอบด้วย และต้องมีจำนวน มากกว่า 5 รูป ต่อ 1 สถานที่ ต่อการอบรม วิปัสสนาครั้งละ 60-120 คน

    :character0029: :25: :s_hi:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา