ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากอ่านเรื่อง อุบาสิกา ที่บรรลุเป็นพระอนาคามี คะ  (อ่าน 3898 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หนูจำได้ว่า เมื่อ 2 ปีที่แล้ว หนูได้อ่านประวัติ ของอุบาสิกา ที่บรรลุพระอนาคามี ผู้สวดสาธยาย สูตร

เป็นทำนองสรภัญญะประมาณ 200 คาถาขึ้นไป

หนูจำชื่อไม่ได้ ใครรู้จักเรื่องของอุบาสิกาท่านนี้ โปรดนำมาให้หนูได้อ่านด้วยคะ

ขอบคุณล่วงหน้า

( โพสต์ไม่ผิดห้องนะคะ )
 :25: :25: :25: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมลไปถามพระอาจารย์มาครับ ท่านพระอาจารย์บอกมาว่า

 น่าจะเป็นอุบาสิกา นันทมาตา ที่กล่าว ปรายนสูตร  250 คาถาเป็นทำนอง สรภัญญะ

 ผมนำมาบอกไว้ก่อน เผื่อใครที่มีเรื่องนี้จะได้ช่วยกันโพสต์ เดี๋ยวคุณปุ้มจะปวดหัวอีก

 ช่วยกันแบ่งเบาบ้าง ครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหายัญญวรรคที่ ๕
๑๐. มาตาสูตร

               อรรถกถามาตาสูตรที่ ๑๐              
               มาตาสูตรที่ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอัตถุปปัตติเหตุเกิดแห่งเรื่องดังต่อไปนี้.
 
               ได้ยินว่า พระศาสดาทรงจำพรรษาปวารณาแล้ว ทรงละพระอัครสาวกทั้งปวงไว้ เสด็จออกไปด้วยหมายจะเสด็จจาริกในทักขิณาคิรีชนบท. พระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี วิสาขามหาอุบาสิกาและชนอื่นเป็นอันมาก ไม่สามารถจะให้พระศาสดาเสด็จกลับได้.


               ท่านอนาถปิณฑิกคฤบดีนั่งครุ่นคิดในที่ลับว่า เราไม่สามารถจะให้พระศาสดาเสด็จกลับได้.
               ลำดับนั้น นางทาสีชื่อปุณณา เห็นเข้าแล้วจึงถามว่า นายท่านมีอินทรีย์ไม่ผ่องใสเหมือนแต่ก่อน เป็นเพราะเหตุไรเจ้าคะ.

               ท่านคฤหบดีตอบว่า จริงสิ ปุณณา พระศาสดาเสด็จออกไปสู่ที่จาริกแล้ว ข้าไม่อาจทำให้พระองค์เสด็จกลับได้ ทั้งก็ไม่ทราบว่า พระองค์จะเสด็จกลับมาเร็วหรือไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าจึงนั่งครุ่นคิดอยู่.
 
               นางทาสีถามว่า ถ้าให้ดิฉันให้พระทศพลเสด็จกลับได้เล่า ท่านเศรษฐีจะทำอย่างไรแก่ดิฉันเจ้าคะ.


               ท่านคฤหบดีตอบว่า ข้าจะทำให้เจ้าเป็นไทสิ.
               นางทาสีไปถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า.
 
               พระศาสดาตรัสว่า เพราะเหตุที่เรากลับ เจ้าจักกระทำอะไรเล่า?
               นางทาสีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงทราบว่าข้าพระองค์เป็นคนอาศัยผู้อื่นเขา หม่อมฉันไม่อาจทำอะไรอื่นได้ แต่หม่อมฉันจักตั้งอยู่ในสรณะ รักษาศีล ๕.
               พระศาสดาตรัสว่า ดีละ ดีละ ปุณณา แล้วเสด็จกลับเพียงย่างพระบาทไปก้าวเดียวเท่านั้น เพราะความเคารพในธรรม.

 
               สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคารพในธรรม มีธรรมเป็นที่เคารพ.

               พระศาสดาเสด็จกลับเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร. มหาชนได้ให้สาธุการพันหนึ่งแก่นางปุณณา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมในสมาคมนั้น. สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว.
 
               ฝ่ายนางปุณณาอันเศรษฐีอนุญาตได้ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีแล้วบรรพชา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ตรัสเรียกพระสารีบุตรและมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เราออกจาริกไป ณ ทิศใด เราจะไม่ไปในทิศนั้น พวกเธอพร้อมบริษัทของเธอ จงไปจาริก ณ ทิศนั้น ดังนี้แล้วจึงส่งไป.

               คำอาทิว่า เอกํ สมยํ อายฺสมา สารีปุตฺโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะอัตถุปปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องนี้.

 
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬฺกณฺฎกี ได้แก่ผู้อยู่เมืองเวฬุกัณฏกะ.
               ได้ยินว่า ชาวเมืองเหล่านั้นพากันปลูกต้นไผ่รอบกำแพง เพื่อจะรักษากำแพงเมืองนั้น. เพราะเหตุนั้น เมืองนั้นจึงมีชื่อว่าเวฬุกัณฏกะนั่นแล.
               บทว่า ปารายนํ ความว่า ซึ่งธรรมอันได้โวหารว่าปารายนะ เพราะเป็นที่ดำเนินไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน.

               บทว่า สเรน ภาสติ ความว่า นันทมารดาอริยสาวิกานั่งในที่มีอารักขาอันเขาจัดแจงไว้ดีแล้ว บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น ให้ครึ่งราตรีผ่านล่วงไปด้วยกำลังแห่งสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วคิดว่า เราจักให้ราตรีที่เลือกเพียงเท่านี้ ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีเพียงไหน? แล้วกระทำความตกลงว่า จะให้ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีในธรรมดังนี้ แล้วนั่งบรรลุผล ๓ จึงกล่าวปารายนสูตรประมาณ ๒๕๐ คาถาโดยทำนองสรภัญญะอันไพเราะ

               บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงตรวจดูวิมานอันตั้งอยู่ในอากาศแล้ว ขึ้นสู่ยานนาริวาหนะ เสด็จออกไปโดยทางอันผ่านส่วนเบื้องบนปราสาทนั้น ได้ยินเสียง (ปารายนสูตร) แล้ว.

               บทว่า กถาปริโยสานํ อาคมยมาโน อฏฺฐาสิ ความว่า ท้าวเวสวัณมหาราชนั้น ครั้นตรัสถามว่า พนาย นั่นเสียงอะไร เมื่อยักขบริษัททูลว่า นั่นคือเสียงสวดโดยทำนองสรภัญญะของนันทมารดาอุบาสิกา ดังนี้แล้ว เสด็จลงรอคอยการจบเทศนานี้ว่า อิทมโวจ แล้วประทับยืนบนอากาศในที่ไม่ไกลนัก.
 
               บทว่า สาธุ ภคินิ สาธุ ภคินิ ความว่า ท้าวเวสวัณมหาราชตรัสว่า พี่ท่าน พระธรรมเทศนาท่านรับมาดีแล้ว กล่าวดีแล้ว เราไม่เห็นอะไรที่จะต่างกันระหว่างวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับที่ปาสา ณกเจดีย์ ตรัสแก่ปารายนิกพราหมณ์ ๑๖ คน และที่นี่ท่านกล่าววันนี้ คำที่นี่ท่านกล่าวว่า เป็นเสมือนกับพระดำรัสที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแล. เหมือนกับทองที่ขาดตรงกลาง เมื่อจะให้สาธุการจึงตรัสอย่างนั้น.

               บทว่า โก ปเนโส ภทฺรมุข ความว่า เพราะเสียงที่ดังถึงเพียงนี้ ก้องไปในที่ๆ มีอารักขาไว้ดังนี้.


               นันทมารดาอริยสาวิกาผู้บรรลุผล ๓ แล้ว ปราศจากความเกรงกลัว ปิดหน้าต่าง มีสีเหมือนแผ่นทองคำ กล่าวว่า พ่อปากดี พ่อปากงาม ท่านนี้เป็นใคร เป็นนาคหรือครุฑ เป็นเทวดา เป็นมารหรือเป็นพรหม ดังนี้แล้ว เมื่อจะกล่าวกับท้าวเวสวัณ จึงกล่าวอย่างนี้.
               บทว่า อหนฺเต ภคนิ ภาตา ความว่า ท้าวเวสวัณทรงสำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีว่าพี่ เพราะพระองค์เองเป็นพระโสดาบัน จึงตรัสว่า ภคินิ พี่ท่าน แล้วจึงสำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีนั้นนั้นว่าเป็นน้องของพระองค์อีก เพราะนางยังอยู่ในปฐมวัย แต่พระองค์แก่กว่า เพราะทรงมีพระชนมายุ ๙ ล้านปีแล้ว จึงตรัสเรียกพระองค์เองว่า ภาตา พี่ชาย.
 

               บทว่า สาธุ ภฺทรมุข ความว่า ท่านผู้มีภักตร์อันเจริญ การมาของท่านเป็นประโยชน์ เป็นความดี เป็นการมาดี. อธิบายว่า มาในฐานะที่เหมาะที่จะมาจริงๆ.
               บทว่า อิทํ เต โหตุ อาติเถยฺยํ อธิบายว่า ขอการกล่าวธรรมนี้แหละ จงเป็นบรรณาการอย่างดียิ่งสำหรับท่าน เพราะข้าพเจ้ามองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรให้แก่ท่านที่อันยวดยิ่งไปกว่านี้.

               คำว่า เอวญฺจ เม ภวิสฺสติ อาติเถยฺยํ ความว่า ท้าวเวสวัณนั้น ครั้นขอปัตติทานเพื่อตนอย่างนี้แล้วกล่าวว่า นี้เป็นสักการะเพื่อความเป็นพระธรรมกถึกของท่านแล้ว ทำยุ้ง ๑๒๕๐ ยุ้งเต็มด้วยข้าวสาลีแดง แล้วอธิษฐานว่า ขอข้าวสาลีเหล่านี้อย่าได้สิ้นไปตลอดเวลาที่อุบาสิกานี้ยังเที่ยวไปอยู่แล้วก็หลีกไป. ชนทั้งหลายไม่สามารถจะเห็นพื้นชั้นล่างของยุ้งตลอดเวลาอุบาสิกายังดำรงอยู่. ตั้งแต่นั้นมา จึงเกิดโวหารสำนวนขึ้นว่า เหมือนเรือนยุ้งของนันทมารดา.

               บทว่า อกตปาตราโส ได้แก่ ผู้ยังไม่บริโภคอาหารเช้า.
               บทว่า ปุญฺญํ ได้แก่ บุพพเจตนา เจตนาก่อนแต่ให้ทาน และมุญจนเจตนา เจตนาขณะให้ทาน.
               บทว่า ปุญฺญมหี ได้แก่ อปรเจตนา เจตนาภายหลังให้ทานแล้ว.
               บทว่า สขาย โหตุ ความว่า จงมีเพื่อประโยชน์แก่ความสุข เพื่อประโยชน์แก่ความเกื้อกูล. นันทมารดาอริยสาวิกาได้ให้ปัตติทานแก่ท้าวเวสวัณ ในทานของตนด้วยประการฉะนี้.
 
               บทว่า ปกรเณ ได้แก่ ในเหตุ.
               บทว่า โอกฺกสฺส ปสยฺห ได้แก่ คร่ามา ครอบงำแล้ว.
               บทว่า ยกฺขโยนิ ได้แก่ ความเป็นภุมมเทวดา.
               บทว่า เตเนว ปุริเมน อตฺตภาเวน อุทฺทสฺเสสิ ความว่า ภุมมเทพนั้นเนรมิตร่างกายให้เหมือนกับร่างกายเก่านั่นแล ประดับตกแต่งแล้ว แสดงตนบนพื้นที่นอน ในห้องอันประกอบด้วยศิริ.
 

               บทว่า อุปาสิกา ปฏิเทสิตา ความว่า แสดงความที่ตนเป็นอุบาสิกาอย่างนี้ว่า ฉันเป็นอุบาสิกานะดังนี้.
               บทว่า ยาวเทว แปลว่า เพียงใดนั่นแล.
               คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถานันทมาตาสูตรที่ ๑๐               

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=50



อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
มาตาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=1437&Z=1537



เนื้อความในพระไตรปิฎก อ่านเข้าใจง่ายกว่าในอรรถกถา

แต่มีเนื้อหายาวเกินไป หากต้องการอ่าน คลิกเข้าไปอ่านได้ตามลิงค์ที่ให้ไว้

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เมตตา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • ขอให้ทุกชีวิต จงเป็นแต่ผู้มีความสุข เถิด
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณนาตยา นับว่ามีพรสวรรค์ มากที่อ่าน แล้วมีความเพลิดเพลินกับเรื่องนี้

ส่วนตัวเรานั้น อ่านแล้ว ก็งงกับคำศัพท์ ที่ยกมามากมาย

อ้างถึง
นันทมารดาอริยสาวิกานั่งใน ที่มีอารักขาอันเขาจัดแจงไว้ดีแล้ว บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น ให้ครึ่งราตรีผ่านล่วงไปด้วยกำลังแห่งสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วคิดว่า เราจักให้ราตรีที่เลือกเพียงเท่านี้ ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีเพียงไหน? แล้วกระทำความตกลงว่า จะให้ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีในธรรมดังนี้ แล้วนั่งบรรลุผล ๓ จึงกล่าวปารายนสูตรประมาณ ๒๕๐ คาถาโดยทำนองสรภัญญะอันไพเราะ

 น่าจะใช่เรื่องนี้นะ อยากฟังรายละเอียดของคาถา ที่อุบาสิกา สาธยายเป็นทำนองสรภัญญะจัง

ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง

    ปารายนสูตร

   เดี๋ยวจะลองค้นใน กูเกิ้ล เพิ่มเติม

   แต่ยอมรับเลยว่า พระอาจารย์ ท่านรอบรู้จริงสามารถชี้นำได้ในเวลารวดเร็ว

   แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ พระอาจารย์ จึงไม่ตอบเอง หรือ มีเหตุผลอื่นที่พระอาจารย์ ไม่ค่อยจะตอบกระทู้

 :25: :25: :25:



บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อ้างถึง
แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ พระอาจารย์ จึงไม่ตอบเอง หรือ มีเหตุผลอื่นที่พระอาจารย์ ไม่ค่อยจะตอบกระทู้

พระอาจารย์ไม่มีเวลามานั่งพิมพ์ มากนะจ๊ะ อีกอย่างถ้าตอบหมดนั้น เป็นเรื่องลำบาก ทำให้ศิษย์ขาด ธรรมวิจยะ
ดังนั้น จึงไม่ได้ตอบ อีกอย่างปัญหา มีมากมาย ก็จริงอยู่

แต่ที่พระอาจารย์จะตอบจริง ๆ ต้องเป็นปัญหาที่ ขจัดกิเลส และทุกข์

ไม่ได้ตั้งคำถามแต่เพียงว่า แค่ได้ให้รับคำตอบ นะจ๊ะ

วันนี้วันธรรมมัสสวนะ เจริญธรรม กันมาก ๆ นะจ๊ะ

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ