ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:41:17 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:40:55 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:06:05 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



จิตประภัสสร | อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ

จิตคืออะไร.? จิต คือ สิ่งที่คิดถึงเรื่องราว ดังคํานิยามที่ว่า อารมฺมณํ จินฺเตตีติ จิตฺตํ จิตคือ ธรรมชาติที่คิดถึงอารมณ์ อารมณ์คือสิ่งที่จิตคิด 5 ประการ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์(จินตภาพ) เมื่อจิตคิดถึงสิ่งใดก็ตาม จะประกาศเปิดเผยสิ่งนั้นให้ปรากฏในโลก

ถ้าโลกนี้ไม่มีจิตสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ก็ไม่ถูกรับรู้ สิ่งเหล่านี้มีก็เหมือนไม่มี เช่น ต้นหญ้าไม่รู้ว่าตัวเองอยู่บนแผ่นดิน แผ่นดินไม่รู้ว่ามีภูเขา ภูเขา ไม่รู้ว่ามีลําธารอยู่ข้างๆ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในความลับดํามืด เพราะ ไม่มีการรับรู้ซึ่งกันและกัน แต่เพราะโลกนี้มีจิต ความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ จึงถูกประกาศเปิดเผยออกมา

จิตจึงเหมือนแสงไฟส่องสว่างโลกนี้ จิตคิดไปทางใด โลกก็ถูก เปิดเผยในทิศทางนั้น เช่นเดียวกับเวลาที่เราขึ้นเฮลิคอปเตอร์ในคืนเดือนมืด เฮลิคอปเตอร์บินอยู่เหนือภูเขา เราฉายไฟสปอตไลต์ลงบน ยอดเขา แสงไฟสปอร์ตไลต์พุ่งไปที่ใด ที่นั่นก็ถูกเปิดเผยให้ปรากฏออกมา จิตเหมือนกับแสงไฟสปอตไลต์นี้ ท่านจึงเรียกว่า ประภัสสร แปลว่า ส่องแสงสว่าง

@@@@@@@

ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
   "ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐํ"
    แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จิตประภัสสร แต่จิตนั้นแลถูกอุปกิเลสที่จรมา ทําให้เศร้าหมอง


จิตได้ชื่อว่าประภัสสร เพราะส่องสว่างให้สิ่งต่างๆ ในโลกปรากฏ จิตเหมือนแสงไฟฉายที่สาดส่องไปในความมืดมิดแล้วเปิดเผย สิ่งต่างๆ บางครั้งแสงไปอาจเปลี่ยนสีไปตามสีของกระจกที่ครอบดวงไฟ ถ้ากระจกสีเขียว แสงไฟจะเป็นสีเขียว และสิ่งที่ถูกเปิดเผยก็จะ เป็นสีเขียวตามสีของแสงไฟ ถ้ากระจกครอบสีแดง แสงไฟจะมีสีแดง และภาพของสิ่งที่ถูกเปิดเผยก็จะเป็นสีแดงเช่นกัน ถ้ากระจกสีขาวสดใส แสงก็จะประภัสสรผ่องใส ภาพที่แสงไฟไปกระทบก็ไม่ถูกบิดเบือน

จิตของคนเช่นเดียวกับดวงไฟฉาย กิเลสต่างๆ เหมือนกับกระจกสีที่ห่อหุ้มดวงไฟนั้น จิตที่มีความโลภห่อหุ้มก็จะมองแต่สิ่งที่ น่าปรารถนาน่าอยากได้ จิตที่มีความโกรธห่อหุ้มก็มักจับผิดคนอื่น จิตที่มีกิเลสห่อหุ้มจะไม่สามารถเปิดเผยสิ่งต่างๆ ให้ปรากฏตามความเป็นจริง เช่นเดียวกับดวงไฟที่มีกระจกครอบเป็นสีเขียว แสงไฟจึงเป็นสีเขียว และทําให้สิ่งต่างๆ ปรากฏเป็นสีเขียวไปด้วย

จิตของปุถุชนที่ถูกกิเลสห่อหุ้ม มักบิดเบือนภาพที่ปรากฏให้ต่างจากความเป็นจริง เมื่อเรามองใครสักคน เรามักตัดสินเขาไปตามอํานาจกิเลสว่าสวยหรือไม่สวย น่ารักหรือน่าชัง ถูกชะตาหรือไม่ถูกชะตา

@@@@@@@

นี่แสดงว่า เราไม่ได้มองเขาตามความเป็นจริง เราปรุงแต่งไปตามอํานาจกิเลส สิ่งที่ปรุงแต่ง จิตมีทั้งฝ่าย และฝ่ายเลว นักอภิธรรมเรียกสิ่งที่ปรุงแต่งจิตว่า เจตสิก ดังคํานิยามที่ว่า เจตสิกนิยุตต์ เจตสิก ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากับจิต เรียกว่า เจตสิก ซึ่งมีจํานวน ๕๒ ชนิด มีทั้งฝ่ายดี ฝ่ายเลว และฝ่ายเป็นกลาง

จิตของปุถุชนมองโลกต่างจากจิตของพระอรหันต์ ปุถุชนมักมองโลกด้วยเจตสิกฝ่ายไม่ดีจึงปรุงแต่งเป็นรักชอบหรือเกลียดชังไปตามสถานการณ์ ภาพของโลกที่จิตมองจึงถูกบิดเบือน แต่พระอรหันต์ ผู้ตัดกิเลสได้ขาด ไม่มีการปรุงแต่งเป็นชอบหรือชัง ทั้งนี้เพราะท่าน รู้เห็นตามความเป็นจริง (ยถาภูติ ปชานาติ)

ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ท่านพาหิยะทารุจีริยะว่า
    “พาหิยะ ในกาลใดเมื่อท่านเห็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังสักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบสักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้สึกแต่ว่ารู้ ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มี ในกาลใดท่านย่อมไม่มี ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"

    จิตปุถุชนประกอบด้วยเจตสิกทั้งฝ่ายดี(กุศล) และฝ่ายเลว(อกุศล)
    เจตสิกฝ่ายอกุศลที่สําคัญคือ โลภะ โทสะ และโมหะ
    ตัวโมหะนี้ คือ อวิชชา เป็นหัวหน้าของกิเลสทั้งหลาย
    เจตสิกฝ่ายกุศลที่สําคัญ ก็คือ อโลภะ อโทสะ และปัญญา
    เจตสิกทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีต่อสู้ แย่งชิงพื้นที่ในจิตมนุษย์
    เราเรียกเจตสิกฝ่ายดีว่า "คุณธรรม" หมายถึง คุณสมบัติที่ดีในจิต
    และเรียกเจตสิกฝ่ายไม่ดีว่า "กิเลส"





กิเลส ๓ ชั้น

กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทําให้จิตเศร้าหมอง ตามปกติจิตนี้ประภัสสร ผ่องใสตามธรรมชาติ แต่ต้องเศร้าหมองเพราะมีกิเลสเข้ามาแปดเปื้อน กิเลสมี ๓ ชั้น คือ อนุสัยกิเลส ปริยุฏฐานกิเลส และวีติกกมกิเลส

๑) อนุสัยกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างละเอียดที่ตกตะกอน นอนอยู่ก้นบึ้งส่วนลึกของจิต กิเลสชั้นนี้มักไม่ปรากฏเด่นชัด ท่านจึงเปรียบอนุสัยกิเลส เหมือนตะกอนที่นอนอยู่กันตุ่มน้ำ ในที่มีตะกอน นอนอยู่กันตุ่มนั้น น้ำในตุ่มมีลักษณะใสข้างบน แต่เมื่อใครไปกวนเข้า ตะกอนข้างล่างจะฟุ้งขึ้นมา น้ำก็จะขุ่น

จิตก็เหมือนกัน เมื่อยังไม่ถูกอารมณ์ภายนอกมากระทบ จิตจะสงบอยู่ได้ อนุสัยกิเลสก็ไม่ฟุ้ง จิตก็ดูบริสุทธิ์และประภัสสรผ่องใส เหมือนความใสของน้ำในตุ่มก่อนที่ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมา เมื่อจิตถูกอารมณ์ยั่วยวน อนุสัยที่เป็นตะกอนจะฟุ้งขึ้น จิตก็ขุ่นมัว

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า จิตประภัสสรผ่องใส แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสจรมากระทบ ในที่นี้จิตประภัสสรยังมีอนุสัยกิเลสอยู่ แต่ดูบริสุทธิ์ผ่องใส เพราะกิเลสตกตะกอนนอนอยู่ในส่วนลึก เมื่อมีอะไรมากวนกิเลสส่วนนี้ให้ฟุ้งขึ้นมา จิตก็เศร้าหมอง

      อนุสัยกิเลสมี ๓ ชนิด คือ
      ก. ราคานุสัย คือ เชื้อแห่งความกําหนัดหรือความอยากได้
      ข. ปฏิฆานุสัย คือ เชื้อแห่งความชัง
      ค. อวิชชานุสัย คือ เชื้อแห่งความหลง

๒) ปริยุฏฐานกิเลส หมายถึง กิเลสอย่างกลางที่กลุ้มรุมจิต ให้อยู่ไม่เป็นสุข ได้แก่ อนุสัยกิเลสที่ถูกกวนให้ฟุ้งขึ้นมาในระดับหนึ่ง นั่นคือ
     - ราคานุสัยฟุ้งออกมาเป็นราคะ
     - ปฏิฆานุสัยฟุ้งออกมาเป็นโทสะ และ
     - อวิชชานุสัยฟุ้งออกมาเป็นโมหะ

กิเลส ๓ กองนี้ คือ ราคะ โทสะ โมหะ เปรียบเหมือนโจรปล้นใจ ทําให้หาความสงบไม่ได้ เช่น เราถูกยั่วให้โกรธ  ความโกรธเป็นโทสะที่ทําให้หงุดหงิด จนนอนไม่หลับ

นี้คือ ปริยุฏฐานกิเลสที่ปล้นความสงบใจ ถ้าควบคุมไว้ได้ก็เพียงแต่อึดอัดกลัดกลุ่ม มีสภาพเช่นเดียวกับน้ำเดือด ที่มีตะกอนหมุนวนอยู่ภายในหม้อน้ำ แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ กิเลสก็กระฉอกออกมา เป็นเหตุให้ประกอบกรรมชั่วต่างๆ กลายเป็นกิเลสชั้นที่ ๓

๓) วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบที่ควบคุมไม่ได้ จึงกระฉอกออกมา ทําการล่วงละเมิดศีลธรรม ข้อนี้หมายความว่า เมื่อ ราคะมีกําลังแรงขึ้นกลายเป็นอภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น เมื่อโทสะมีกําลังแรงขึ้นก็กลายเป็นพยาบาท คือ คิดทําร้ายผู้อื่น ลําพังโทสะยังไม่คิดทําร้ายใคร เป็นแค่ความขัดเคืองอยู่ในใจ เมื่อใดโมหะมีกําลังแรงมากขึ้น ก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือ เห็นผิดเป็นชอบ เช่น ความเห็นผิด ๑๐ ประการดังได้กล่าวข้างต้น

อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ทั้ง ๓ อย่างนี้เป็น วีติกกมกิเลส คือ เป็นกิเลสที่จะทําให้ล่วงละเมิดศีลธรรมทางกายและทางวาจา พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกิเลสที่กระฉอกออกมาแปดเปื้อนรบกวนคนอื่น










ขอบคุณที่มา :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
ข้อธรรม : หนังสือ ปลดบ่วงชีวิต พิชิตกรรม โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ยกมาแสดงบางส่วน หน้าที่ ๓๗-๔๓ , จาก ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ปลดบ่วงชีวิต พิชิตกรรม” บรรยายเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ อาคารเรียน มจร. วัดศรีสุดาราม ในกิจกรรมเสริมหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาชีวิตและความตาย รุ่นที่ ๓

 4 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 09:17:23 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 04:32:58 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 6 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:55:29 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เล่าสุดมันส์ ‘พญาคันคาก’ ยกทัพรบแถน จุดกำเนิด ‘บุญบั้งไฟ’ ทำไมต้องจุดขึ้นฟ้า..?

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ที่ พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และนายสุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ในเครือมติชน ร่วมถ่ายทำรายการ ‘ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว’ ตอน ‘คางคกยกรบ คันคากหักแถน บั้งไฟขอฝน’

นายสุจิตต์ กล่าวว่า คำว่า ‘คันคาก’ เป็นภาษาลาว หมายถึงคางคก พิพิธภัณฑ์พญาคันคากเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่อง ‘พญาคันคาก’ ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่มาก บริเวณใกล้เคียงกันยังมีประติมากรรมรูป ‘พญาแถน’ ซึ่งตนสงสัยว่าทราบได้อย่างไรว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ส่วนตัวแล้วในจินตนาการของตนเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ลักษณะเช่นนี้ นอกจากนี้ ลานโดยรอบยังมีพื้นที่สำหรับเรียนรู้ในด้านต่างๆ เมื่อไปเดินดู พบศาลาศูนย์วรรณกรรมยโสธร คำพูน บุญทวี ซึ่งตนเรียกว่า ‘บักคำพูน’ เจ้าของผลงาน ‘ลูกอีสาน’

“ผมว่าลูกอีสานคืองานชั้นเยี่ยม ซื่อ บริสุทธิ? ไม่ปรุงแต่ง กึ่งดิบ กึ่งสุก อร่อย เขียนจากหัวใจ” นายสุจิตต์กล่าว




จากนั้น นายสุจิตต์ กล่าวถึงวรรณกรรม ‘พญาคันคาก’ ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีการจุดบั้งไฟ ว่า คันคาก หรือ คางคกเป็นสัตว์ครี่งบก ครึ่งน้ำ มีความขัดแย้งกับพญาแถนบนฟ้าซึ่งไม่ยอมปล่อยน้ำให้ตกลงมาเป็นฝนเพื่อให้คนทำนา จึงตัดสินใจยกทัพขึ้นไปรบ มีรายละเอียดต่างๆ มากมาย

“ฝนคือเรื่องสำคัญ ไม่มีฝนอยู่ไม่ได้ เราอยู่ในเขตมรสุม ต้องตกต้องตามฤดูกาล อย่างไรก็คาม กลับมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำมานานเป็นพันปี” นายสุจิตต์กล่าว

นายสุจิตต์ กล่าวว่า เนื้อหาโดยสรุปในวรรณกรรม คือ พญาคันคาก ยกทัพขึ้นไปรบกับพญาแถน หลังจากไม่ยอมให้นาคทั้งหลายไปเล่นน้ำบนฟ้า ฝนจึงไม่ตก พญาคันคากจึงให้พญานาครวบรวมภูเขาทั้งหมดมากองรวมกันเพื่อต่อยอดให้ขึ้นไปถึงฟ้าหวังพบพญาแถน นอกจากนี้ ยังบอกปลวกให้ขนดินมาพอกภูเขา ระดมครุฑ ต่อ แตน มิ้ม ผึ้ง มอด มด สารพัดสัตว์มาพอกภูเขาร่วมด้วย จากนั้น พญาคันคากขึ้นหลังช้างเดินทางไปสู่ฟ้า พบพญาแถน เพื่อบอกกล่าวว่า ผู้คนอดอยากแร้นแค้น เพราะฝนไม่ตก สุดท้าย รบกัน พญาคันคากเป็นฝ่ายชนะ




“พญาคันคากบอกว่า แถนต้องรักษาหน้าที่ปล่อยน้ำฟ้าน้ำฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ไม่อย่างนั้นจะขึ้นมาบนฟ้าอีก พญาแถนถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าเมืองมนุษย์ต้องการน้ำตอนไหน พญาคันคากบอกว่า จะส่งสัญญาณให้พญาคันคากขึ้นมาบอก แล้วเล่นน้ำบนฟ้า พญาแถนตอบว่า กว่าพญานาคจะมาถึง เดี๋ยวช้าเกินไป เพราะฟ้าอยู่ไกล พญาคันคากบอกว่า จะให้พญานาคขี่บั้งไฟขึ้นมาอย่างไว พอได้ยินเสียงและเห็นบั้งไฟมีหัวพญานาคเมื่อไหร่ ให้ไขน้ำทำฝนหล่นสู่เมืองมนุษย์ทันที นี่คือที่มาประเพณีบุญบั้งไฟ” นายสุจิตต์ กล่าว

นายสุจิตต์กล่าวด้วยว่า การจุดบั้งไฟ สัมพันธ์กับชีวิตปกติของสามัญชนไม่ใช่เพียงชาวยโสธร ชาวอีสาน หรือคนไทย แต่รวมถึงชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภาคผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับคำอธิบายในเรื่องดังกล่าวมากกว่านี้

สำหรับรายการในตอนดังกล่าว จะเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กมติชนออนไลน์, ข่าวสด, ศิลปวัฒนธรรม และยูทูปมติชนทีวี ในวันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคมนี้ เวลา 20.00 น.
















ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_4570757
วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 16:28 น.   

 7 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:48:58 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


.



‘เที่ยวมุกดาหาร’ แวะ ถ้ำโส้ม....พระใหญ่บนหน้าผา

‘เที่ยวมุกดาหาร’ ครั้งนี้ เมื่อเห็น ‘พระใหญ่บนหน้าผา’ ชวนให้สะดุดตา สะดุดใจ ฉุกคิดถึงสอนของพระพุทธองค์ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สู่ความสงบสุขได้บ้าง

ผมมีโอกาสได้ไปใช้ถนนสายใหม่ถนนหมายเลข 12 หรือ AH 12 (กาฬสินธุ์-คำชะอี)ที่ต่อไปถึง จังหวัดมุกดาหาร เป็นถนนที่เปิดใช้มาปีกว่าๆแล้ว เป็นถนนที่สวยมาก เป็นถนนคู่ขนานไป-กลับ ข้างละ 3 เลน(ถ้าจำไม่ผิด) ทิวทัศน์สองข้างทางสวยมากโดยเฉพาะช่วงใกล้ๆ กุฉินารายณ์ไปคำชะอี มีภูเขาสองฝั่งทาง เส้นทางสูงต่ำ   รถไม่มาก ขับรถเล่นเพลินๆ แต่หลายคนบ่นว่าไม่มีปั้ม ถนนเปิดใหม่ เข้าใจว่าคนที่อยากทำปั้มก็คงเตรียมหาที่หาทางอยู่ละครับ ไม่นานก็คงมี

จากกาฬสินธุ์ไปพอไปถึงแยกตรงบ้านนาไคร้ จะมีถนนที่มาจากกุฉินารายณ์มาเชื่อมรวมเป็นถนนเส้นเดียวกัน ช่วงนี้แหละวิวสวย เป็นถนนเส้นเดียวไปไม่เท่าไหร่ ก็จะแยกเป็นสองเส้นคู่ขนานกัน สายบนคือ สาย 12 ส่วนสายล่างคือถนนสายเก่า สาย 299 ให้ใช้ถนนสายล่างนี้ มันก็จะผ่านบ้านคำพอก ผ่านน้ำตกตาดโตน

จนกระทั่งไปถึงอำเภอหนองสูง ซึ่งถ้าตรงไปตามถนนสาย 299 เดิม ก็จะไปอำเภอคำชะอีไปบรรจบกับถนนสาย 12 นั่นเอง แต่ตรง ‘อำเภอหนองสูง’ นี้ เราจะใช้ถนนหมายเลย 2370 ซึ่งถนนเส้นนี้ จะไปทะลุออกอำเภอนิคมคำสร้อย แล้วก็ไปบรรจบถนนสาย 212 ซึ่งมาจากทางอำนาจเจริญ หรืออุบลฯ แล้วก็ไปจังหวัดมุกดาหารได้เช่นกัน 

ที่ต้องอธิบายเรื่องถนนตัดใหม่นี้ค่อนข้างมาก เพราะถ้าเราเผลอวิ่งไปบนถนนสายที่ตัดใหม่แบบขับเพลินๆ มันจะหลงไปไกลเลยครับ สมมติว่าเลยจุดที่เราจะแวะ แต่มันไม่มีทางเข้า ทางกลับรถอะไรไกลกันมาก ไม่มีชุมชน ไม่มีคนให้ถามทาง มีแต่สวนยางพารา เพราะชุมชนต่างๆ จะมาอยู่ริมถนนสายเก่า หมายเลข 299 กันหมด

ย้อนกลับมาที่ อำเภอหนองสูง อำเภอนี้เป็นอำเภอเล็กๆ บรรยากาศชนบท แต่ก็ไม่ได้ทุรกันดารอะไรถนนหนทางก็ดี ถนนสาย 2370 ที่เราจะใช้เดินทางนี้ จะผ่านหมู่บ้านในชนบท มีทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามมากโดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างดูเขียวขจี สดชื่น มีวิวทุ่งนา ภูเขาสองฝั่งทาง จนเข้าเขตเทศบาลตำบลบ้านเป้า ทางขวามือ(หรือด้านตะวันตกของถนน) 



ภาพที่สะดุดตา ย่านบ้านเป้า สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

ก็จะมี ภูเขาหินทราย สูง   หลังเขาแบนราบแบบภูเขาหินทรายทั่วไป   มีหน้าผาตัดตรง   และเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลาอยู่บนภูเขาสูง เป็นที่สะดุดตานัก จนต้องจอดรถดู   แล้วก็เหลือบไปเห็นป้าย วัดถ้ำโส้ม หรือ วัดถ้ำผาขาว  ถามชาวบ้านเพื่อความมั่นใจว่าใช่ไหม   พอชาวบ้านบอกว่าใช่  ผมก็ยังสงสัยว่า แล้วมันจะมีทางรถยนต์ขึ้นไปได้เหรอ ก็ในเมื่อมันสูงชันขนาดนั้น

“เข้าไปเถอะ  ขึ้นได้”

พอชาวบ้านให้ความมั่นใจ ผมก็เลี้ยวรถเข้าไปทันที ทางเข้าเป็นทางปูนเล็กๆสองข้างทางเป็นนาข้าวบ้าง สวนยางพาราบ้าง ดีที่พอมีทางแยก เขาจะมีป้ายบอกตลอด พอใกล้ไปถึงตีนเขา ทางจะเริ่มชันขึ้น ก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จนสุดทาง มีศาลาเล็กๆ มีห้องน้ำ เราก็รู้แล้วว่าเป็นเขตวัด ก็จอดรถ แล้วเดินเท้าไปตามทาง ซึ่งจริงๆก็เป็นถนนปูน แต่เขาไม่ให้รถขึ้น ให้เดินเท้าอย่างเดียว ทางก็ชันไปเรื่อยๆ หักศอกซ้ายขวา ไปมาจนไปเห็นอาคารสูงสร้างติดอยู่กับหน้าผานั่นแหละ จึงรู้ว่ามาถึงจนได้



ทางเข้าวัดถ้ำผาขาวหรือวัดถ้ำโส้ม ในเทศบาลตำบลบ้านเป้า


แม้ทางเขาจะมีหลายแยกแต่ ก็มีป้ายบอกตลอดทาง


สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างติดหน้าผาอย่างที่บอก  รูปทรงคล้ายป้อมค่ายที่เคยเห็นในอินเดีย   แต่จริงๆที่สร้างแบบนี้คงจะเป็นด้วยสถานที่บังคับ  เท่าที่เห็นมีอยู่ 2-3 ชั้น  และที่สำคัญ   กำลังอยู่ในการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จ ผมว่าทั้งหมดคงเสร็จไปแค่ 50 %  เท่านั้น โดยเฉพาะชั้นล่างนั้น กองวัสดุ อุปกรณ์ช่าง เครื่องไม้เครื่องมือระเกะระกะไปหมด  มีการแกะสลักผนังหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติด้วย แต่ยังไม่แล้วเสร็จ


ทางเดินขึ้นเขา ที่ห้ามนำรถยนต์ขึ้น เดินเท้าอย่างเดียว


อาคารที่เห็นบนภูเขาสูง ก็มาถึงจนได้

มีช่องทางเล็กๆแทรกเข้าไปยังบันได ที่นำพาขึ้นไปชั้นบน ซึ่งเป็นลานโล่ง ส่วนหนึ่งของลานมีหลังคาคลุม มีพื้นที่ยกสูงขึ้นมาหน่อยหนึ่ง มีโต๊ะหมู่บูชา ลานด้านนอก เปิดโล่ง มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และพระอัครสาวกซ้ายขวา แกะสลักไปบนหน้าผาหินทราย กลายเป็นว่าศาลาที่เห็น เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใช้แทนพระอุโบสถ โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธานของสถานที่


ชั้นล่าง ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงยังมีวัสดุอุปกรณ์มากมาย

ภูเขาที่เห็นนี้เป็นภูเขาลูกเดียวกันกับ ผาน้ำทิพย์’ หรือเจดีย์ชัยมงคล ในอำเภอหนองพอกของร้อยเอ็ดนั่นเอง เป็นภูขาลูกเดียวกันแบ่งแดนกัน ครึ่งหนึ่งอยู่ทางร้อยเอ็ด อีกครึ่งอยู่ทางมุกดาหาร


รูปแกะสลักที่หน้าผาหิน ในชั้นล่าง

เคยอ่านเจอว่าเหตุที่สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา นี้มาจากการที่เมื่อ มีนาคม 2544 กลุ่มตาลีบัน ในอัฟกานิสถาน ได้ระเบิดพระพุทธรูปที่เมืองบาบียัน ทิ้งอย่างไม่แยแส จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้คณะสงฆ์แห่ง วัดถ้ำโส้ม ร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาบนหน้าผาสูงดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้ว ยังมีการแกะสลักหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติต่างๆ อีกมากมาย บนหน้าผาในส่วนอื่นๆด้วย


ทางขึ้นสู่ชั้น ๒ ยังคงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ


ชั้น ๒ คือชั้นดาดฟ้า มีศาลาเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ แทนศาลา แทนอุโบสถ

สิ่งที่เป็นที่น่าชื่นชมจากลานหน้าพระพุทธรูปแกะสลักคือ ทิวทัศน์เบื้องล่าง ที่มองไปเห็นชุมชนใน ตำบลบ้านเป้า ภูเขาในเขตอำเภอหนองสูง ที่เป็นหลังแป ตามสไตล์ ภูเขาหินทราย ไกลๆออกไปคือแนวภูเขาใหญ่ใน เขตคำชะอี และต่อเนื่องกันไป  สวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างจะแลดูเขียวขจี สวยงาม มีสายลมพัดเอื่อยๆ เสียงนกร้อง เพลินเลยแหละ ชนิดที่ดูกี่ครั้ง ดูนานขนาดไหนก็ไม่เบื่อ ถ้าจะมีเสียอย่างเดียวก็คือ


ภาพแกะสลักทางศาสนาต่างๆ บนหน้าผาหินทราย

นักท่องเที่ยว...!

ถ้าทุกคนรู้ว่าไปเที่ยววัด แล้วไม่ส่งเสียงดัง ไม่กระโดดโลดเต้น ไม่ตะโกนชักชวนกันมามุมนั้นมุมนี้ ราวกับมองไม่เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนหน้าผา ไปเที่ยว ไปดู ก็ไปด้วยอาการสำรวม วัดเปิดให้เข้าเที่ยวชม ก็อย่าไปแสดงอากัปกริยาจนเลยเถิด ต้องคิดเสมอว่านี่คือวัด



ลานด้านบน เป็นเหมือนที่ประกอบพิธีกรรม  โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธาน

วัดค่อยๆก่อสร้างไปตามกำลังเงินที่ได้มาจากการทอดกฐินบ้าง ความคืบหน้าจึงเป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีจิตศรัทธาอยากก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ติดต่อไปที่วัดได้


ทิวทัศน์ที่สวยงามของตำบลบ้านเป้า และภูเขาทาง อ.หนองสูง-คำชะอี

ภาพศาลาหลังใหญ่ที่เห็นบนหน้าผาจากไกลๆ ,ภาพพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่อยู่บนหน้าผาเมื่อมองจากลานด้านหน้า น่าสะดุดตาสะดุดใจ ให้ผู้คนได้ฉุกคิด น้อมนำถึงคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ นำมาแนวทางในการดำเนินชีวิตไปสู่ความสงบสุขได้บ้าง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นได้คงไม่มีการซื้อนิพพานอย่างที่เป็นข่าวคราวในปัจจุบันแน่นอน

เที่ยววัดบ้าง จะได้สบายใจ...



ทิวทัศน์มุมสูงที่สวยงาม





ขอบคุณ : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1126285
By คมฉาน ตะวันฉาย / คอลัมน์ประเทศไทยใจเดียว | 11 พ.ค. 2024 เวลา 7:43 น.

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:29:17 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



โบสถ์จิ๋ววัดคูหาภิมุข (วัดควนถ้ำ) ขนาดเล็กสุดประเทศไทย กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป

เมื่อวันที่11 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนถ้ำในอดีตที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดคูหาภิมุขในปัจจุบันมีเจ้าอาวาสชื่อพระภักดี ฐิตธรรมโม วัดตั้งอยู่บนเขาควนถ้ำ บริเวณถนนอุดมธารา ต.ตะกั่วป่า จ.พังงาซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่า

สร้างในสมัยใด แต่คาดว่าสร้างในสมัยระหว่างรัชกาล 2-3 เนื่องจากปรากฎหลักฐานการขุดพบเงินพดด้วงและเงินเปอร์เชียใต้ฐานโบสถ์เก่าแก่ แล้วสร้างใหม่เป็นในปัจจุบันเป็นเพียงแค่อาคารวิหารเท่านั้น ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าวัดควนถ้ำ

ส่วนที่เป็นอาคารขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์จิ๋วที่เล็กที่สุดในประเทศไทยนั้น พระวรรณโณ แต่สกุล รองเจ้าอาวาส ซึ่งบวชพระมา 31 พรรษาแล้ว กล่าว เดิมที่ก่อนเป็นอาคารหลังนี้เป็นสถานที่ตั้งคล้ายกับศาลพระภูมิสร้างด้วยไม้มุงหลังคาเป็นสังกะสี ใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่เป็นชาวจีน ด้วยกาลเวลานับร้อยปีผ่านไปได้ผุพังไปตามกาลเวลา

ต่อมาวิญญานบรรบุรุษได้เข้าฝันลูกหลานว่าสถานที่เก็บกระดูกแห่งนี้บรรพบุรุษสถิตย์อยู่อย่างยากลำบาก ในฝันลูกหลานจึงขอให้ได้โชคได้ลาภจะสร้างเป็นอาคารหลังใหม่ให้ ต่อมาลูกหลานได้มีโชคลาภตามที่ขอจริง จึงได้นำเงินก่อสร้างเป็นอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.2513 (สร้างโดยนางฮวดบี๋) อุทิศให้บรรพบุรุษ รูปทรงคล้ายโบสถ์ที่มีขนาดเล็กจนชาวบ้านและผู้พบเห็นเรียกกันว่าโบสถ์จิ๋วในปัจจุบัน

ส่วนลูกนิมิตที่ขุดค้นพบจำนวน 8 ลูกที่มีลักษณะเป็นวงรีไม่เหมือนลูกทรงกลมในปัจจุบันที่ขุดพบใต้ฐานโบสถ์หลังเก่าคาดว่ามาจากการนำหินในถ้ำตามสถานที่ต่างๆแล้วนำมาฝังไว้ใต้อาคารโบสถ์หลังเก่านั่นเองและคาดว่าน่าจะมีอายุหลายร้อยปีใกล้เคียงกับอายุของการสร้างศาลพระภูมิสำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์จิ๋ว











 



ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4571275
วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 23:59 น.   

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 12:51:09 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
การเล่าเรื่องอย่างมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการนำเสนอข่าวสารที่โดนใจผู้ชม ผู้นำเสนอข่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมและกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจต่อเนื้อหาได้ด้วยการใช้การเล่าเรื่องตามอารมณ์ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะรายงานสถิติเกี่ยวกับความยากจนเพียงอย่างเดียว เรื่องราวข่าวอาจติดตามการเดินทางของครอบครัวที่กำลังดิ้นรน ทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงในระดับส่วนตัวได้ นอกจากนี้ การผสมผสานองค์ประกอบภาพ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิก สามารถปรับปรุงการเล่าเรื่องโดยมอบประสบการณ์ที่ดื่มด่ำยิ่งขึ้นให้กับผู้ชม การวิจัยพบว่าเครื่องช่วยการมองเห็นสามารถเพิ่มระดับการเก็บรักษาข้อมูลและการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก

ผลกระทบของการรายงานที่เป็นกลางต่อความน่าเชื่อถือของข่าวไม่สามารถกล่าวเกินจริงได้ การนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลาง โดยไม่ใส่อคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความไว้วางใจของผู้ฟัง ด้วยการให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องราวข่าว นักข่าวสามารถเสนอมุมมองที่รอบด้านซึ่งส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล การหลีกเลี่ยงกลวิธีเชิงโลดโผนและคลิกเบตก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการรักษาความน่าเชื่อถือของข่าวสาร พาดหัวข่าวที่เร้าใจหรือการกล่าวอ้างที่เกินจริงอาจสร้างความสนใจในระยะสั้น แต่ท้ายที่สุดอาจทำลายความไว้วางใจในแหล่งข่าวได้

การรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวถือเป็นความรับผิดชอบที่นักข่าวต้องยึดถือ การตรวจสอบแหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูลก่อนการรายงานถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องและแท้จริง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น โศกนาฏกรรมส่วนตัวหรือกิจกรรมทางอาญา การเคารพความเป็นส่วนตัวและการได้รับความยินยอมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือเป็นหลักปฏิบัติทางจริยธรรมที่ไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ นักข่าวต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำเสนอต่อผู้ชมด้วยความโปร่งใสเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือการแก้ไขใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับข่าว

URL : https://cmnnews.co




 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 11:27:38 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
การเล่าเรื่องอย่างมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการนำเสนอข่าวสารที่โดนใจผู้ชม ผู้นำเสนอข่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมและกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจต่อเนื้อหาได้ด้วยการใช้การเล่าเรื่องตามอารมณ์ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะรายงานสถิติเกี่ยวกับความยากจนเพียงอย่างเดียว เรื่องราวข่าวอาจติดตามการเดินทางของครอบครัวที่กำลังดิ้นรน ทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงในระดับส่วนตัวได้ นอกจากนี้ การผสมผสานองค์ประกอบภาพ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิก สามารถปรับปรุงการเล่าเรื่องโดยมอบประสบการณ์ที่ดื่มด่ำยิ่งขึ้นให้กับผู้ชม การวิจัยพบว่าเครื่องช่วยการมองเห็นสามารถเพิ่มระดับการเก็บรักษาข้อมูลและการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก

ผลกระทบของการรายงานที่เป็นกลางต่อความน่าเชื่อถือของข่าวไม่สามารถกล่าวเกินจริงได้ การนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลาง โดยไม่ใส่อคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความไว้วางใจของผู้ฟัง ด้วยการให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องราวข่าว นักข่าวสามารถเสนอมุมมองที่รอบด้านซึ่งส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล การหลีกเลี่ยงกลวิธีเชิงโลดโผนและคลิกเบตก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการรักษาความน่าเชื่อถือของข่าวสาร พาดหัวข่าวที่เร้าใจหรือการกล่าวอ้างที่เกินจริงอาจสร้างความสนใจในระยะสั้น แต่ท้ายที่สุดอาจทำลายความไว้วางใจในแหล่งข่าวได้

การรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวถือเป็นความรับผิดชอบที่นักข่าวต้องยึดถือ การตรวจสอบแหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูลก่อนการรายงานถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องและแท้จริง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น โศกนาฏกรรมส่วนตัวหรือกิจกรรมทางอาญา การเคารพความเป็นส่วนตัวและการได้รับความยินยอมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือเป็นหลักปฏิบัติทางจริยธรรมที่ไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ นักข่าวต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำเสนอต่อผู้ชมด้วยความโปร่งใสเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือการแก้ไขใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับข่าว


URL : https://cmnnews.co
textlinks : cmnnews.co





หน้า: [1] 2 3 ... 10