ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจ ๑๐๘ สุดยอดแห่งคาถา  (อ่าน 20743 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หัวใจ ๑๐๘ สุดยอดแห่งคาถา
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2013, 11:32:53 am »
0


หัวใจ ๑๐๘ สุดยอดแห่งคาถา
หลังเหรียญ'พ่อท่านซุ่น วิสุทฺธสีโล' วัดบ้านลานควาย
ชั่วโมงเซียน โดย อ.โสภณ

พระครูมงคลสุวรรณาภรณ์ หรือที่ชาวบ้านย่านถิ่นนิยมเรียกนามท่านสั้นๆ ว่า “พ่อท่านซุ่น วิสุทฺธสีโล” เจ้าอาวาสวัดมหิงษ์สุวรรณนิมิต หรือ วัดบ้านลานควาย ต.กอลำ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นพระมหาเถราจารย์ร่วมสมัยที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักพระธรรมวินัย จึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสในหมู่ชุมชนชาวไทยพุทธที่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบๆบริเวณวัดประมาณร้อยกว่าหลังคาเรือน และเป็นที่รักในหมู่ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่โดยรอบห่างออกไป

พ่อท่านซุ่น ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นที่ปลื้มปีติยินดีแก่ชาวพุทธบ้านลานควาย ศิษยานุศิษย์ และเพื่อนภิกษุ จึงได้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ ดังนี้คือ
    ๑.เหรียญปั๊มเสมาหลวงพ่อทวด
    ๒.เหรียญหล่อเสมาหลวงพ่อทวด
    ๓.เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อทวด และ
    ๔.พระปิดตาในครรถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารอเนกประสงค์ และบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดบ้านลานควาย

       ยันต์หลังเหรียญรุ่นแรก ด้านหลังเป็นยันต์รูปว่าว "นะ โม พุท ธา ยะ"
       ส่วนยันต์องค์พระที่อยู่กึ่งกลางรูปว่าว ใช้แทน องค์พระพุทธเจ้า
       ทั้งนี้ถ้าเป็นสายของเจ้าคุณนรฯ จะเขียนยันต์ไว้ในองค์พระด้วย คือ "อะ อุ มะ พะ คะ อะ"
       ซึ่งมีคาถา ๒ คือ หมายถึง
      "อะ อุ มะ" ด้านบนเป็นคาถาหัวใจพระไตรปิฎก
      ส่วน "พะ คะ อะ" ย่อมาจากฉายานามของสมเด็จพระพุฒาโฆษาจารย์ (เจริญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของเจ้าคุณนรนั่นเอง





     ด้านบนเป็นคาถาหัวใจพระไตรปิฎกครอบค้วยอุณาโลม ที่ว่า "มะ อะ อุ"
     ถ้าเป็นของพราหมณ์ จะใช้ว่า "มะ อุ อะ" หรือ "โอม"
     ด้านล่างเป็นคาถาหัวใจพระรัตนตรัย หรือ แก้ว ๓ ประการ ที่ว่า "อิ สวา สุ"

     เหรียญเสมาหน้าหลวงปู่ทวดหลังพ่อท่านซุ่น ด้านที่เป็นรูปหลวงปู่ทวดเป็นคาถาหลวงปู่ทวด
     ด้านขวาขององค์พระ อ่านว่า "นะ โม โพ ธิ สัต โต อา..."
     ส่วนด้านซ้าย อ่านว่า "...คัน ติ มา ยะ อิ ติ  ภควา"

ปกติแล้วเรื่องคำอธิบายของพระคาถานั้นไม่ค่อยมีใครกล้าอธิบาย เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดในการแปลความหมาย ทั้งนี้ถ้าแยกอธิบาย คาถาแต่ละตัวจะมีความหมายดังนี้
        "นะ โม" เป็นคาถา บทคารวะพระพุทธเจ้า
        "โพ ธิ สัต โต" หมายถึงหลวงปู่ทวด ซึ่งถือว่า เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง
        "อิ ติ" เป็นคาถา "หัวใจอิติปิโสรัตนมาลา" ซึ่งเป็นสุดยอดของพระคาถา พระเกจิใช้ลงกระหม่อมเป็นคงกระพัน ย่อมาจาก "อิ ติ อิฐ โถ สัพ พัญ ญุ ตะ ยา โณ อิ ฉัน โต อา สะ วะ คะ ยัง "
        "ภควา" เป็นคาถา "หัวใจพระพุทธเจ้าดำเนิน" ย่อมาจาก.....(ไม่มีข้อมูล/ผู้โพสต์)

 ans1 ans1 ans1

        ส่วนด้านหลังเป็นคาถาหัวใจ ๑๐๘ ซึ่งเป็นการรวมคาถา ๓ บท เข้าด้วยกัน คือ
        บทแรกเป็นคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์  หรือ แม่ธาตุใหญ่ที่ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ"
        บทที่ ๒. คาถาหัวใจธาตุ ๔ ซึ่งเป็นคาถาธาตุสิ่งมีชีวิตที่ว่า "นะ มะ พะ ทะ" หรือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั่นเอง ใช้ทางคงกระพัน ทั้งนี้จะนิยมบริกรรมหรือเขียนควงเป็น ๔ บท คือ
               ๑. นะ มะ พะ ทะ
               ๒. ทะ นะ มะ พะ 
               ๓. พะ ทะ นะ มะ  และ
               ๔. มะ พะ ทะ นะ
       บทที่ ๓. คาถาธาตุพระกรณี ที่ว่า "จะ พะ กะ สะ" ใช้ทางคงกระพัน ทั้งนี้จะนิยมบริกรรมหรือเขียนควงเป็น ๔ บท คือ
               ๑. จะ พะ กะ สะ 
               ๒. พะ กะ สะ จะ 
               ๓. กะ สะ จะ พะ และ
               ๔. สะ จะ พะ กะ





      อุปเท่ห์วิธีใช้ คาถายอดหัวใจ ๑๐๘ ได้มากมายสุดจะพรรณนา สารพัดจะใช้เถิด จะปลุกเสกหรือทำการใดๆ ก็ดี ทั้งทางอยู่คง ทางเมตตาใช้ได้ทั้งนั้น ท่านเปรียบเทียบเหมือนยาดำที่เข้าแทรกยาทุกขนาน ฉะนั้นเมื่อใช้คาถาบทใดๆ จะเป็นทางใดก็ตาม ให้เอายอดพระคาถานี้กำกับไปด้วยเสมอไป จะเกิดความขลังเหมือนใจนึก

       ส่วนยันต์ที่ปรากฏบนพระปิดตาในครรภ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็น หัวใจธาตุ ๔ ที่ ว่า "นะ มะ พะ ทะ" ซึ่งเป็นหัวใจของธาตุสิ่งมีชีวิต หากขาดตัวใดตัวหนึ่งชีวิตจะอยู่ไม่ได้ ปกติแล้วเรามักจะคุ้นกับคำว่า “ดิน น้ำ ลม ไฟ” คาถาบทนี้จะลงทุกครั้งที่มีการเขียนรูปสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ระหว่างการวาดภาพสัตว์ คน เทวดา เทพ รวงทั้งสงฆ์ การเขียนยันต์คาถาหัวใจธาตุ ๔ จะเรียกสูตร หรือบริกรรมว่า
              นะ กาโรโหติสัมพโว จงมาบังเกิดเป็นตัว นะ
              มะ กาโรโหติสัมพโว จงมาบังเกิดเป็นตัว มะ
              พะ กาโรโหติสัมพโว จงมาบังเกิดเป็นตัว พะ
              ทะ กาโรโหติสัมพโว จงมาบังเกิดเป็นตัว ทะ
 
       ทั้งนี้หากสังเกตให้ดีลายด้านองค์พระเป็นๆ เว้นตลอดทั้งองค์พระ เข้าว่า เป็นยันต์เฑาะว์ หรือ ตัว อุ หางยาว ซึ่งทั้ง ๒ ตัวต่างก็มีพุทธคุณไม่แพ้กัน ถ้าเป็นเฑาะว์ จะเน้นพุทธคุณด้าน คงกระพัน แต่ถ้าเป็น อุ จะมีพุทธคุณทั้ง เมตตา และมหาอุด อยู่ที่ว่าจะเรียกสูตรของแต่ละอาจารย์




พ่อท่านซุ่น วิสุทฺธสีโล

พ่อท่านซุ่น อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๙ ณ วัดบ้านลานควาย อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โดยมีหลวงพ่อพระครูวิจารณ์สาธุกิจ (พ่อท่านทอง) วัดตะเคียนทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณโสภิต (พ่อท่านหวาน) วัดมหิงษ์สุวรรณนิมิต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระครูกิตติคุณากร (พ่อท่านเพ็ง) วัดบุพนิมิต เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากครองผ้าเหลือง พ่อท่านซุ่นไม่ได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านลานควาย เนื่องจากญาติโยมบ้านปลักปรือ อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี มานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดปลักปรือ เพื่อพัฒนาวัดปลักปรือ พ่อท่านซุ่นจึงกลับไปจำพรรษาที่วัดปลักปรือ และได้พัฒนาเสนาสนะของวัดปลักปรือมากมาย เช่น สร้างอุโบสถ สร้างศาลาการเปรียญ ซ่อมแซมเสนาสนะเก่าๆ ให้คงสภาพมั่นคงและอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง ทำให้วัดปลักปรือมีความเจริญรุ่งเรือง

ในขณะที่พ่อท่านซุ่นจำพรรษาที่วัดปลักปรือนั้น ท่านได้ใช้เวลาว่างทั้งหมดเล่าเรียนการสวดมนต์ต่างๆ และการสวดอิติปิโสถอยหลัง ๑๐๘ นะเมตตา ๑๐๘ และ นะปิด ๑๐๘ เป็นต้น นอกจากนี้พ่อท่านซุ่นยังเล่าเรียนวิชาเขียนผงนะปถมัง และวิชาลบผงนะปถมัง จากพ่อท่านหวาน วัดบ้านลานควาย อีกด้วย

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ตามประวัติในความเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยใฝ่เรียนรู้ด้านวิทยาพุทธาคมของพ่อท่านซุ่นนั้นเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาว่า พ่อท่านซุ่นท่านได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ โดยตรงมาจาก “คุณพ่อยก โอชาอัมพวัน” ผู้ซึ่งเป็น “โยมพ่อ” ของท่านมาตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยเลยทีเดียว ซึ่งคุณพ่อยกผู้เป็นโยมพ่อของพ่อทานซุ่นนั้น นับได้ว่าเป็นอาจารย์ฆราวาสที่มีความเชี่ยวชาญวิชาอาคมแบบฉบับทางภาคใต้ (พ่อท่านหวาน วัดบ้านลานความก็ยังเคยได้ศึกษาวิชาอาคมจากโยมพ่อยก โอชาอัมพวันเช่นเดียวกัน) และสรรพวิชาต่างๆ จากผู้เรืองพระเวทวิทยาคมอีกหลายท่าน

หลังจากพ่อท่านหวาน ธมฺมปาโล มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ พ่อท่านซุ่นจึงย้ายจากวัดปลักปรือกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านลานควาย โดยได้พัฒนาวัดบ้านลานควาย (วัดมหิงษ์สุวรรณนิมิต) หลายอย่าง อาทิ สร้างอุโบสถหลังใหม่ ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะเก่าๆ ให้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นและทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองมาก สิ่งเหล่านี้นับเป็นเครื่องชี้ถึงการเสียสละส่วนตัวและการทำแต่สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์สำหรับชาวบ้านย่านละแวก ทำให้ชาวไทยพุทธในละแวกวัดบ้านลานควายต่างให้ความเคารพนับถือในตัวของพ่อท่านซุ่น และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขจนถึงทุกวันนี้


ขอบคุณข้อมูล และภาพ จาก "www.Pomkaew.com"
http://www.komchadluek.net/detail/20130805/165088/หัวใจ๑๐๘สุดยอดแห่งคาถาหลังเหรียญพ่อท่านซุ่นวิสุทฺธสีโล.html#.UgMa26xYxGp
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ