ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นครคีรีวัน นครบาลี นามพระปัญจวัคคีย์ที่ปรากฏในมิลินทปัญหาและอรรถกถา  (อ่าน 1906 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นามพระปัญจวัคคีย์ที่ปรากฏในมิลินทปัญหาและอรรถกถามัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ (ตอนที่ 1)
______________________________________________________
เก ปน เต ปญฺจวคฺคิยา นาม ? เยเต –
...........ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺติ ¹
...........ยญฺโญ สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต
...........เอเต อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
...........ฉฬงฺควา มนฺตํ วิยากรึสุ. (ม. นิ. อฏฺฐ. 1.284)
...........โพธิสตฺตสฺส ชาตกาเล สุปินปฏิคฺคาหกา เจว ลกฺขณปฏิคฺคาหกา จ อฏฺฐ พฺราหฺมณา. เตสุ ตโย เทฺวธา พฺยากรึสุ – อิเมหิ ลกฺขเณหิ สมนฺนาคโต สมนฺนาคโต อคารํ อชฺฌาวสมาโน ราชา โหติ จกฺกวตฺตี. ปพฺพชมาโน พุทฺโธติ, พุทฺโธ ว โหตีติ. เตสุ ปุริมา ตโย ยถามนฺตปทํ คตา, อิเม ปน ปญฺจ มนฺตปทํ อติกฺกนฺตา. เต อตฺตนา ลทฺธํ ปุณฺณปตฺตํ ญาตกานํ วิสฺสชฺเชตฺวา อยํ มหาปุริโส อคารํ น อชฺฌาวสิสฺสติ, เอกนฺเตน พุทฺโธ ภวิสฺสตีติ นิพฺพิตกฺกา โพธิสตฺตํ อุทฺทิสฺส สมณปพฺพชฺชํ ปพฺพชิตา. เตสํ ปุตฺตาติ วทนฺติ. ตํ อฏฺฐกถาย ปฏิกฺขิตฺตํ.
...........เอเต กิร ทหรกาเลเยว พหู มนฺเต ชานึสุ. ตสฺมา เต พฺราหฺมณา อาจริยฏฺฐาเน ฐปยึสุ. เต ปจฺฉา อมฺเหหิ ปุตฺตทารชฏํ ฉฑฺเฑตฺวา น สกฺกา ภวิสฺสติ ปพฺพชิตุนฺติ ทหรกาเลเยว ปพฺพชิตฺวา รมณียานิ เสนาสนานิ ปริภุญฺชนฺตา วิจรึสุ.
...........ก็ใครที่ชื่อปัญจวัคคีย์นั้น. คือพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายพระสุบินและทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด ตามคาถาประพันธ์ว่า
...........ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺติ ¹
...........ยญฺโญ² สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต
...........เอเต อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
...........ฉฬงฺควา มนฺตํ วิยากรึสุ. (ม. นิ. อฏฺฐ. 1.284)
...........ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ รามะ ธชะ ลักษณะ โชติมันติ ยัญญะ สุโภชะ สุยามะ สุทัตตะ ใช้ฉฬังควมนต์พยากรณ์ (พระลักษณะ).
...........บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น ๓ คน พยากรณ์เป็น ๒ คติว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ อยู่ครองเรือน ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ออกบวชก็จะเป็นพระพุทธเจ้า. พราหมณ์ ๕ คน พยากรณ์คติเดียวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ จะไม่ครองเรือน จะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ๓ คนแรก ถือตามบทมนต์. ส่วน ๕ คนนี้ ก้าวล่วงบทมนต์. พวกเขาจึงสละของรางวัลเต็มภาชนะที่ตนได้มาแก่เหล่าญาติ หมดความสงสัยว่า พระมหาบุรุษนี้ จักไม่อยู่ครองเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว จึงบวชเป็นสมณะอุทิศพระโพธิสัตว์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกที่บวชเป็นบุตรของพราหมณ์เหล่านี้ดังนี้ก็มี. คำนั้นถูกคัดค้านโดยอรรถกถา. เล่ากันว่า พราหมณ์ ๕ คนนั้น เวลายังหนุ่มรู้มนต์มาก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงอยู่ในฐานะอาจารย์. ภายหลัง พราหมณ์เหล่านั้น คิดกันว่า พวกเราไม่อาจตัดคนที่เป็นบุตรภรรยาบวชได้ จึงบวชเสียในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มทีเดียว ใช้สอยเสนาสนะที่น่ารื่นรมย์เที่ยวกันไป.
________________
¹ เป็น จาปิ มนฺตี ก็มี
² ยัญญพราหมณ์ในที่นี้ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ

ดูประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะในhttp://www.palikanon.com/.../pali.../ay/annaa_kondanna.htm
Aññāta
He was the son of a very wealthy brahmin family of Donavatthu
near Kapilavatthu and was born before the Buddha. He came to be called by his
family name Kondañña. He was learned in the three Vedas, excelling in the
science of physiognomy.
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นามพระปัญจวัคคีย์ที่ปรากฏในมิลินทปัญหาและอรรถกถามัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ (ตอนที่ 2)
___________________________________________________
ในอรรถกถาชาดกขุททกนิกายกล่าวต่างออกไปว่า
...........โพธิสตฺตมฺปิ โข ปญฺจเม ทิวเส สีสํ นฺหาเปตฺวา นามคฺคหณํ
คณฺหิสฺสามาติ ราชภวนํ จตุชฺชาติกคนฺเธหิ วิลิมฺปิตฺวา ลาชปญฺจมกานิ
ปุปฺผานิ วิกิริตฺวา อสมฺภินฺนปายาสํ ปจาเปตฺวา ติณฺณํ เวทานํ ปารงฺคเต อฏฺฐสตพฺราหฺมเณ นิมนฺเตตฺวา ราชภวเน นิสีทาเปตฺวา สุโภชนํ โภเชตฺวา มหาสกฺการํ กตฺวา กึ นุ โข ภวิสฺสตีติ ลกฺขณาณิ ปริคฺคหาเปสุ. เตสุ –
...........ราโม ธโช ลกฺขโณ จาปิ มนฺตี
...........โกณฺฑญฺโญ จ โภโช สุยาโม สุทตฺโต
...........เอเต ตทา อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
...........ฉฬงฺควา มนฺตํ วิยากรึสูติ.
...........อิเม อฏฺเฐว พฺราหฺมณา ลกฺขณปริคฺคาหกา อเหสุ. ปฏิสนฺธิคฺคหณ-
ทิวเส สุปิโนปิ เอเตเหว ปริคฺคหิโต. เตสุ สตฺต ชนา เทฺว องฺคุลิโย อุกฺขิปิตฺวา เทฺวธา พฺยากรึสุ – อิเมหิ ลกฺขเณหิ สมนฺนาคโต อคารํ อชฺฌาวสมาโน ราชา โหติ จกฺกวตฺตี, ปพฺพชมาโน พุทฺโธติ, สพฺพํ จกฺกวตฺติรญฺโญ สิริวิภวํ
อาจิกฺขึสุ. เตสํ ปน สพฺพทหโร โคตฺตโต โกณฺฑญฺโญ นาม มาณโว
โพธิสตฺตสฺส วรลกฺขณนิปฺผตฺตึ โอโลเกตฺวา – อิมสฺส อคารมชฺเฌ
ฐานการณํ นตฺถิ, เอกนฺเตเนส วิวฏฺฏจฺฉโท พุทฺโธ ภวิสฺสตีติ เอกเมว องฺคุลึ อุกฺขิปิตฺวา เอกํสพฺยากรณํ พฺยากาสิ. อยญฺหิ กตาธิกาโร ปจฺฉิมภวิกสตฺโต ปญฺญาย อิตเร สตฺต ชเน อภิภวิตฺวา อิเมหิ ลกฺขณหิ สมนฺนาคตสฺส
อคารมชฺเฌ ฐานํ นาม นตฺถิ, อสํสยํ พุทฺโธ ภวิสฺสตีติ เอกเมว คตึ อทฺทส,
ตสฺมา เอกํ องฺคุลึ อุกฺขิปิตฺวา เอวํ พฺยากาสิ. อถสฺส นามํ คณฺหนฺตา
สพฺพโลกสฺส อตฺถสิทฺธิกรตฺตา สิทฺธตฺโถติ นามมกํสุ.
...........อถ เต พฺราหฺมณา อตฺตโน ฆรานิ คนฺตฺวา ปุตฺเต อามนฺตยึสุ –
ตาตา, อมฺเห มหลฺลกา, สุทฺโธทนมหาราชสฺส ปุตฺตํ สพฺพญฺญุตํ ปตฺตํ
มยํ สมฺภเวยฺยาม วา โน วา, ตุมฺเห ตสฺมึ กุมาเร สพฺพญฺญุตํ ปตฺเต ตสฺส
สาสเน ปพฺพเชยฺยาถาติ. เต สตฺตปิ ชนา ยาวตายุกํ ฐตฺวา ยถากมฺมํ
คตา, โกณฺฑญฺญมาณโว ว อโรโค อโหสิ. โส มหาสตฺเต วุฑฺฒิมนฺวาย
มหาภินิกฺขมนํ อภินิกฺขมิตฺวา อนุกฺกเมน อุรุเวลํ คนฺตฺวา รมณีโย วต อยํ
ภูมิภาโค, อลํ วติทํ กุลปุตฺตสฺส ปธานตฺถิกสฺส ปธานายาติ จิตฺตํ
อุปฺปาเทตฺวา ตตฺถ วาสํ อุปคเต มหาปุริโส ปพฺพชิโตติ สุตฺวา เตสํ
พฺราหฺมณานํ ปุตฺเต อุปสงฺกมิตฺวา เอวมาห สิทฺธตฺถกุมาโร กิร ปพฺพชิโต,
โส นิสฺสํสยํ พุทฺโธ ภวิสฺสติ, สเจ ตุมฺหากํ ปิตโร อโรคา อสฺสุ, อชฺช
นิกฺขมิตฺวา ปพฺพเชยฺยุํ, สเจ ตุมฺเหปิ อิจฺเฉยฺยาถ, เอถ, อหํ ตํ ปุริสํ
อนุปพฺพชิสฺสามีติ. เต สพฺเพ เอกจฺฉนฺทา ภวิตุํ นาสกฺขึสุ, ตโย ชนา
น ปพฺพชึสุ. โกณฺฑญฺญพฺราหฺมณํ เชฏฺฐกํ กตฺวา อิตเร จตฺตาโร ปพฺพชึสุ.
เต ปญฺจปิ ชนา ปญฺจวคฺคิยตฺเถรา นาม ชาตา.
...........จึงในวันที่ ๕ หลังจากที่ให้พระโพธิสัตว์สรงสนานพระเศียรแล้ว คิดกันว่า พวกเราจะขนานพระนาม ดังนี้แล้วจึงไล้ทาพระราชวังของหอมได้แก่จตุคันธชาติแล้วโปรยบุปผาอันมีข้าวตอกเป็นที่ห้าแล้วให้ปรุงข้าวปายาสที่ไม่เจือปนสิ่งใดๆ เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนผู้จบไตรเพทเข้าพระราชวังเลี้ยงภัตตาหารอย่างดีแล้วทำสักการะเป็นอันมาก ให้ทำนายพระลักษณะว่า จักเป็นประการไรบ้าง ในจำนวนพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น
...........ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ รามะ ธชะ ลักษณะ มันตี โกณฑัญญะ โภชะ สุยามะ สุทัตตะ ใช้ฉฬังควมนต์พยากรณ์ (พระลักษณะ).
...........พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนี้เท่านั้น ได้ [รับคัดเลือก] เป็นผู้ทำนายพระลักษณะ. ในวันถือปฏิสนธิทั้ง ๘ ท่านนี้ก็ได้ทำนายพระสุบินนิมิตด้วยเช่นกัน. ในจำนวน ๘ คนนั้น เจ็ดท่านชูสองนิ้วพยากรณ์เป็นสองแง่ว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้เมื่ออยู่ครองเรือนจะได้เป็นจักรพรรดิราช เมื่ออกบวชจะได้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้บอกสิริสมบัติแห่งจักรพรรดิราชทั้งหมด. ก็บรรดาพราหมณ์เหล่านั้นมาณพชื่อโกณฑัญญะโดยโคตรเป็นผู้หนุ่มกว่าพราหมณ์ทั้งหมด ได้แลเห็นความสำเร็จแห่งพระวรลักษณ์ของพระโพธิสัตว์จึงชูนิ้วมือขึ้นเพียงหนึ่งนิ้วได้พยากรณ์เป็นแง่เดียวว่า ฐานะและเหตุในการอยู่ครองเรือนของพระกุมารนี้หามีไม่ พระองค์เป็นผู้มีกิเลสเพียงดังเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วจักได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน. ก็ปัจฉิมภวิกสัตว์ผู้มีกฤษฎาธิการนี้ได้ครอบงำพราหมณ์ทั้ง ๗ คนที่เหลือด้วยปัญญาจึงได้เห็นเป็นคติเดียวเท่านั้นว่า ฐานะในการอยู่ครองเรือนของผู้ประกอบด้วยลักลักษณะเหล่านี้เป็นไปไม่ได้เลย พระองค์จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะอย่างนั้นจึงได้ชูขึ้นเพียงนิ้วเดียวพยากรณ์แล้วอย่างนี้. ลำดับนั้นเมื่อจะพากันขนานพระนามพระกุมารจึงขนานพระนามว่า สิทธัตถะ เหตุที่พระองค์ทรงสร้างความสำเร็จประโยน์แก่ชาวโลกทั้งปวง.
...........หลังจากนั้นพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้กลับไปสู่เรือนของตนแล้วเรียกบุตร
ทั้งหลายมาสั่งว่า นี่แน่ะ พ่อทั้งหลาย พวกเราแก่แล้ว จะทันจวบโอรสของ
มหาราชสุทโธทนะได้บรรลุสัพพัญญุตญาณหรือไม่ก็ตาม เมื่อพระกุมารนั้นบรรลุสัพพัญญุญาณแล้วให้พวกเจ้าบวชในศาสนาของพระองค์ ทั้ง ๗ คนนั้นดำรงอยู่ตราบกาลเท่าอายุแล้วก็ไปตายถากรรม เหลือเพียงโกณฑัญญมาณพเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อพระมหาสัตว์ทรงเจริญวัยเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ลุถึงตำบลอุรุเวลาโดยลำดับ ทรงเกิดความรู้สึกว่า “ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ปรารถนาความเพียร” จงทรงพักแรม ณ ตำบลนั้น ท่านได้ข่าวว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรของพราหมณ์เหล่านั้นแล้วแจ้งข่าวดังนี้ว่า ทราบว่าพระสิทธัตถกุมาออกผนวชแล้ว พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าพวกบิดาของพวกคุณยังมีชีวิตอยู่ คงจะพากันออกบวชในวันนี้ ถ้าพวกคุณประสงค์จะบวชไซร้ ก็เชิญมาเถิด เราจะบวชตามบุรุษนั้น. ชนทั้งหมดนั้นไม่อาจมีฉันทะเป็นอันเดียวกันได้ สามคนหาได้ออกบวชไม่ อีกสี่คนที่เหลือตั้งโกณฑัญญพราหมณ์ให้เป็นหัวหน้าออกบวชแล้ว. แม้ชนทั้ง ๕ นั้นมีนามปรากฏแล้วว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ.
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นครคีรีวัน..โดยหลวงพี่ วัดราชสิทธาราม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา