ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'พระหยกเชียงราย' ณ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย  (อ่าน 1904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'พระหยกเชียงราย' ณ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

วัดป่าญะ หรือป่าเยียะ เป็นชื่อเดิมของวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ถนนไตรรัตน์ ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่บริเวณนี้มีไม้ไผ่ชนิดหนึ่งคล้ายไผ่สีสุก ไม่มีหนามชาวบ้านนิยมนำไปทำคันธนู และหน้าไม้ คงจะมีมากในบริเวณนี้ชาวเชียงรายจึงเรียกว่า "วัดป่าเยียะ"

เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๗ ฟ้าผ่าเจดีย์วัดนี้จึงได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทองอยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออกบริเวณพระนาสิกจึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปสีเขียวที่สร้างด้วยหยก นั่นก็คือ พระแก้วมรกต ชาวบ้านจึงเรียกชื่อเสียใหม่ว่า "วัดพระแก้ว" หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐาน ณ เมืองต่างๆ ตามตำนานโบราณ (พระภิกษุพรหมราชปัญญา แต่งเป็นภาษาบาลีไว้เมื่อ พ.ศ.๒๒๗๒) ชื่อหนังสือรัตนพิมพวงศ์ พระนาคเสนเถระ เป็นผู้สร้างด้วยแก้วอมรโกฏิ ที่เทวดานำมาจากพระอินทร์มาถวาย ที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัจจุนบัน เมืองปัตนะ รัฐพิหาร อินเดีย)


 :96: :96: :96: :96: :96:

ต่อมาได้อัญเชิญไปประดิษฐานยังที่ต่างๆ ดังนี้
    ๑.เกาะลังกา ๒.กัมพูชา ๓.อินทาปัฐ (นครวัด)
    ๔.กรุงศรีอยุธยา ๕.ละโว้ (ลพบุรี)
    ๖.วชิรปราการ (กำแพงเพชร)
    ๗. เชียงราย (พ.ศ.๑๙๓๔-๑๙๗๙ ประดิษฐาน ๔๕ ปี)
    ๘. ลำปาง (พ.ศ.๑๙๗๙-๒๐๐๑ ประดิษฐาน ๓๒ ปี)
    ๙. เชียงใหม่ (พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๖ ประดิษฐาน ๘๕ ปี)
    ๑๐. เวียงจันทน์ (พ.ศ.๒๐๙๖-๒๒๑ ประดิษฐาน ๒๒๕ ปี)
    ๑๑.กรุงเทพมหานคร (พ.ศ.๒๓๒๑-ปัจจุบัน) ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ ได้รับพระราชทานนามว่า "พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร"

อย่างไรก็ตามในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๓ คณะสงฆ์หนเหนือนำโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม และอดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเชียงราย ได้จัดสร้างพระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล หรือพระหยกเชียงราย


 st12 st12 st12 st12 st12

พุทธลักษณะพระหยกเชียงราย เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะแบบเชียงแสน แกะสลักจากหินหยกชนิดที่ดีที่สุดของประเทศแคนาดา ปางสมาธิ ฐานเขียง พระโมลีเป็นต่อมกลม ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๙.๗ เซนติเมตร สูง ๖๕.๙ เซนติเมตร ฐานแกะสลักด้วยหินหยกสีเขียวเป็นรูปบัวสูงประมาณ ๑ ศอก เป็นฐานบัวศิลปะเชียงแสน เครื่องทรงสร้างด้วยอัญมณีและทองคำ เครื่องทรงแบบเชียงแสน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้ว จ.เชียงราย

สำหรับหินหยกที่นำมาแกะสลักเป็นพระแก้วในครั้งนี้ เป็นหินหยกชนิดที่ดีที่สุดของประเทศแคนาดา แกะสลักโดยโรงงานหยกวาลินนานกู จงจูลู มหานครปักกิ่ง เมื่อโรงงานหยกได้แกะสลักหินหยกเป็นพระพุทธรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้กราบอาราธนาสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ในฐานะประธานกรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ ได้เดินทางไปรับมอบพระพุทธรูปหยกที่มหานครปักกิ่ง เพื่ออัญเชิญมายังประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๔ และประกอบพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และมีพระมหาเถระ ๓๗ รูป นั่งปรกบริกรรม เจริญภาวนาในพิธี เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20141212/197561.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ