ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: [ชมภาพ] “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” แห่ง ลุ่มน้ำนครชัยศรี (๑)  (อ่าน 4377 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ช็อตแรก ถ่ายติดดวงเทพหลายดวง ราวๆ ๑๐ ดวง

ช็อตที่สอง แฟลชไม่ทำงาน แต่ยังถ่ายติดดวงเทพ

ช็อตที่สาม ชัดมาก ติดดวงเทพดวงใหญ่

ช็อตที่สี่ ถ่ายไม่ติดดวงเทพเลย สงสัยไหมครับ.?

ช็อตที่ห้า กลับมา..ถ่ายติดดวงเทพอีกครั้ง

ช็อตที่หก ก็ยัง...ถ่ายติดดวงเทพ

เมื่อครั้งไปกราบสักการะ “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
ณ วัดไร่ขิง (วัดมงคลจินดาราม) ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2015, 12:50:50 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหาริย์ : เล่าขานตำนานหลวงพ่อลอยน้ำ 5 พี่น้อง

มีตำนาน กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งมีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา ได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมาก ได้พร้อมใจกันตั้งสัจจะอธิษฐานว่า

    “เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยสัตว์ โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้ว ก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไป จนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน”

    ครั้นพระอริยบุคคลทั้งห้าองค์นี้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าสถิตอยู่ในพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ มีความปรารถนาจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้คนทางเมืองใต้ จึงพากันแสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ให้พระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาทางใต้ตามแม่น้ำสายหลักของภาคกลางทั้ง 5 สาย
    ชาวบ้านชาวเมืองตามริมฝั่งแม่น้ำเห็นพระพุทธรูปทั้งห้าองค์ลอยน้ำมาก็พากันเลื่อมใส จึงได้นำพระพุทธรูปเหล่านั้นขึ้นฝั่ง และอาราธนาให้ขึ้นสถิตอยู่ตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ำ


       ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

      ๑. พระพุทธรูปองค์แรก ลอยมาตามแม่น้ำบางปะกง แล้วขึ้นประดิษฐานอยู่ที่
      วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เรียกว่า “หลวงพ่อโสธร”

      ๒. พระพุทธรูปองค์ที่สอง ลอยมาตามแม่น้ำนครชัยศรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่
      วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง”
      ๓. พระพุทธรูปองค์ที่สาม ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่
      วัดบางพลีใหญ่ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เรียกว่า “หลวงพ่อโต”

      ๔. พระพุทธรูปองค์ที่สี่ ลอยมาตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่
      วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เรียกว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม”

      ๕. พระพุทธรูปองค์ที่ห้า ลอยมาตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่
      วัดเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เรียกว่า “หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา”


      st12 st12 st12 st12 st12

     ในขณะที่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 ลอยน้ำมานี้ ก็เพราะเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หล่อจากองค์พระพุทธรูป ชาวบ้านเองก็ต้องการจะรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงเอาปูนบ้าง รักดำบ้าง ไปพอกไว้ที่องค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดความมีค่าไว้จากข้าศึก

     แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้ไหวจึงขนย้ายพระพุทธรูปสำคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่ น้ำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทำลาย ด้วยน้ำหนักขององค์พระ เมื่อวางพระลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ จนผู้ที่พบเห็น ถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ำหนักมากจะสามารถจะลอยน้ำได้


     พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด ที่มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างประเทศหลั่งไหลมาเคารพสักการะมิได้ขาด


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://atcloud.com/stories/53077
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0








บรรยากาศหน้าพระอุโบสถวัดไร่ขิง คนเยอะมาก มีทั้งมาบนและแก้บน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บ้านดินนี้อยู่ติดกับแม่น้ำนครชัยศรี อยู่ในเขตวัดไร่ขิง





นำบรรยากาศภายในบ้านดินมาให้ชมครับ

        มีเอกชนรายหนึ่งสร้างบ้านดินให้กับวัดไร่ขิง อาจจะโฆษณาหรือประสัมพันธ์ อะไรก็แล้วแต่ ผมมองว่า นี่เป็นการส่งเสริมให้คนเข้าวัดได้ดีมากๆ และเท่าที่สังเกตหลายคนชอบมาก รวมทั้งผมด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2015, 01:19:41 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0








สวนหย่อมรอบๆบ้านดิน เป็นอะไรที่ถูกใจผมมากๆ สุขสดชื่นสมหวัง...ขอรับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





พยายามเก็บภาพหลายๆมุมมาให้ชม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 03, 2015, 01:53:26 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตำนานของ “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” แห่งแม่น้ำนครชัยศรี
วัดไร่ขิง (วัดมงคลจินดาราม) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


พุทธลักษณะ
   หลวงพ่อวัดไร่ขิง  เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะ ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อวัดไร่ขิง” อนุโลมตามชื่อวัด ตามตำนานกล่าวว่าหลวงพ่อทำด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ประทับนั่งปางมารวิชัยหรือปางชำนะมารแบบประยุกต์ หลวงพ่อวัดไร่ขิงมีลักษณะผึ่งผายคล้ายเชียงแสน  พระหัตถ์เรียวงามตามแบบสุโขทัย แต่พระพักตร์ดูคล้ายรัตน์โกสินทร์ ประดิษฐานเหนือฐานชุกชี มีขนาดกว้าง ๔ ศอก  ๒ นิ้ว  สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้ว

ความเป็นมา
     ตามตำนานกล่าวถึงการได้มาซึ่งหลวงพ่อวัดไร่ขิงว่าได้ถูกอัญเชิญมากจากกรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนนับถือมาก  ในวันที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากท่าน้ำที่หน้าวัดไร่ขิงตรงกับวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕  เป็นวันสงกรานต์  มีประชาชนมาชุมนุมกันมาก 


    ในขณะที่อัญเชิญหลวงพ่อวัดไร่ขิงขึ้นจากน้ำสู่ประรำพิธี  เกิดความมหัศจรรย์  แสงแดดที่แผดจ้ากลับพลันหายไป  ความร้อนระดุในวันสงกรานต์กลางเดือนห้า บังเกิดมีเมฆดำทะมึน ลมปั่นป่วน ฟ้าคะนองก้องในนภากาศ บันดาลให้ฝนโปรยลงมา ยังความเย็นฉ่ำใจทั่วหน้าทุกคนในที่นั้นเกิดความยินดี 

    พากันอธิษฐานจิต “ขอหลวงพ่อจักทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขดับความร้อนคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่เมทนีดลทำให้ชุ่มฉ่ำ  เจริญงอกงามด้วยธัญญาหาร”  และในบัดนี้ก็ปรากฏเป็นความจริงแจ้งประจักษ์ ว่าหลวงพ่อได้ดลบันดาลให้เกิดสภาพการณ์อย่างนั้นแก่ทุกคนที่ประพฤติธรรม 



หลวงพ่อวัดไร่ขิง ตามความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา
     เป็นพระพุทธเจ้าหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย  เป็นผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา มีความหมายอธิบายได้ ๒ ประการ คือ
     ประการที่ ๑ เป็นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์  ได้แก่เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  เป็นต้น มีต้นตระกูล เป็นมนุษย์  ได้เสด็จออกผนวชแสวงหาสัจจธรรม และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศพระศาสนาอยู่เป็นเวลา ๔๕ ปี  จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
    ประการที่ ๒  เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสดาเอกของโลก  ผู้บำเพ็ญบารมี  คือ คุณความดีต่าง ๆ โดยสมบูรณ์

     พระพุทธเจ้าให้ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่านยหินยานหรือเถรวาท  อย่างที่คนไทยส่วนมากนับถือและปฏิบัติ  พระพุทธเจ้าทรงเป็นมนุษย์  ไม่ใช่เทพหรือผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ  พระพุทธเจ้าแตกต่างจากคนทั่วไปในทางจิตใจและคุณสมบัติอันเป็นนามธรรม ในทางรูปธรรมพระองค์ทรงมีเนื้อหนังร่างกายที่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งธรรมชาติ  มีการเปลี่ยนแปลง เจ็บป่วย และแตกสลายได้เมื่อถึงเวลาเหมือนดังคนปกติทั่วไป



ในฑีฆนิกาย ปฏิกวรรค พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
     ความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ใช่อยู่ที่เนื้อหนังร่างกาย หากแต่อยู่ที่ธรรมะของพระองค์  ในที่นี้หมายเอาคุณธรรมทุกอย่างที่ทำให้พระองค์แตกต่างจากคนอื่น ให้สาวกของพระองค์ปฏิบัติตามธรรมะคำสั่งสอน ไม่ให้ยึดติดในพระวรกายภายนอกที่เป็นเนื้อหนังมังสาของพระองค์ 


    บุคคลที่มองเห็นคุณธรรมหรือเข้าใจหลักธรรมที่พระองค์ทรงสอน  สามารถนำเอาไปปฏิบัติจนเกิดผลในชีวิต  คนประเภทนี้แม้จะไม่เคยเห็นพระพุทธองค์  ก็ทรงตรัสว่าเป็นผู้ได้เห็นพระองค์  ดังพุทธภาษิตว่า  “ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา” 

    ในทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  เชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่มีอีกแล้ว การดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จะไม่อุบัติขึ้นมาอีก ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป  หากจะระลึกถึงพระพุทธเจ้า  ก็เพียงแต่ระลึกถึงคุณสมบัติหรือคุณธรรมของพระองค์ ๓ ประการ  คือ  พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ  และพระกรุณาคุณ 
    การบูชาสักการะพระพุทธเจ้าก็คือการรำลึกถึงคุณธรรมเหล่านี้ เพื่อน้อมใจให้เกิดศรัทธาวิริยะและความเบิกบานปิติที่จะปฏิบัติตามรอยบาทของพระพุทธองค์

 
พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน
      มีความศรัทธาว่าพระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นมนุษย์ธรรมดาจริงและเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับพระวรกายส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า นิรมาณกาย เท่านั้น เรียกอีกอย่างว่า มายาธรรม ที่จริงพระพุทธเจ้ายังมีพระวรกายส่วนอีก ๒ ส่วน คือ ธรรมกาย และสัมโภคกาย (ทิพยภาวะ)  เป็นพระกายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง


     เวลาที่พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานรำลึกถึงพระพุทธเจ้า นอกจากจะรำลึกถึงพระคุณแล้ว  ยังรำลึกถึงพระพุทธเจ้าในภาคสัมโภคกายบนสวรรค์ด้วย  เพราะมีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าที่อยู่บนโลกสวรรค์หรือแดนสุขาวดีพุทธเกษตร ยังคอยประทับรับฟังสุขทุกข์ของพุทธบริษัทอยู่ การบูชาพระพุทธเจ้าด้วยความรู้สึกเช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้เกิดความมั่นใจและอบอุ่นใจ มากกว่าการบูชาและปฏิบัติตามธรรมะของพระพุทธองค์เพียงอย่างเดียว



ความศักดิ์สิทธิ์
     หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเสียงเล่าลือกันจากปากต่อปากของประชาชนทั่วไป จากเหนือสู่ใต้ว่าหลวงพ่อมีอิทธิฤทธิ์และอภินิหารต่าง ๆ  มากมายเป็นอเนกประการ แต่ละคนที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ปรากฏแก่ตนเองเกือบทุกคน  หลวงพ่อพระเดชพระคุณ  พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสไร่ขิง องค์ปัจจุบันได้นำอภินิหารและอิทธิฤทธิ์ บางส่วนจากผู้ศรัทธาหลวงพ่อ มาบันทึกไว้ในหนังสือ ประวัติวัดและหลวงพ่อวัดไร่ขิง เช่น


   - หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีอภินิหารปิดทองไม่ติด ทั้ง ๆในแต่ละปีมีประชาชนมาปิดทองหลวงพ่อเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน
   - หลวงพ่อวัดไร่ขิง มีความศักดิ์สิทธิและอภินิหาร ในการป้องกันสิ่งต่าง ๆ ตามความรู้สึกของแต่ละคนที่ตั้งใจปรารถนา
   - น้ำมันและน้ำมนต์ของหลวงพ่อ รักษาโรคภัยต่าง ๆ ได้สมใจปรารถนา
   - หลวงพ่อวัดไร่ขิง ช่วยให้รอดพ้นจากความตาม เพียงแค่ตั้งจิตถึงหลวงพ่อ
   - หลวงพ่อวัดไร่ขิง ปิดตาขโมยได้ ป้องกันไฟไหม้
   - หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นทุกอย่างได้ตามแรงอธิษฐานของคนอยากให้เป็น

                                             
   
หลวงพ่อวัดไร่ขิง เป็นพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์
    ประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่า  หลวงพ่อวัดไร่ขิง คือ เจ้าอาวาสวัด ทีมีความขลัง มีความศักดิ์สิทธิ มีความเมตตา ในด้านเวทมนต์คาถา เสกเป่า ให้เกิดความแคล้วคลาด ความเหนี่ยว คงกะพันชาตรี ตามความปรารถนาของคน  เหมือนเกจิอาจารย์ดังทั่ว ๆ ไป


    หลวงพ่อพระเดชพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปัญญา อินฺทปญฺโญ)เป็น หลวงพ่อวัดไร่ขิง เหมือนกัน แต่เป็นเจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน เป็นพระมหาเถระผู้มีคุณลักษณะพิเศษ อันนำมาซึ่งกิตติศัพท์ที่ขจรไป ทั้งในพุทธจักรและอาณาจักร มีศีลาจารวัตรน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส หลวงพ่อมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เปี่ยมล้มด้วยพรหมวิหารธรรมและสังคหวัตถุธรรม

    หลวงพ่อเป็นพระนักศึกษา นักการบริหาร และเป็นนักพัฒนาตัวอย่าง ทุกงานที่หลวงพ่อทำเป็นงานระดับประเทศ ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนส่วนมาก หลวงพ่อคือ “เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งความเสียสละ” หลวงเสียสละโอกาส กำลังกาย กำลังปัญญา และกำลังทรัพย์ เป็นพระมหาเถระที่บำเพ็ญคุณประโยชน์ สร้างคุณูปการณ์แก่ชุมชน สังคม  และประเทศชาติไว้มากดังจะเห็นได้จากส่วนราชการที่เข้ามาอยู่ในความอุปถัมภ์ของหลวงพ่อ เป็นจำนวนมากเช่น

   - ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี (วัดไร่ขิง)
   - โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
   - โรงพยาบาลสามพราน (วัดไร่ขิง)
   - สมาคมชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
   - โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
   - โรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ)
   - วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม (วัดไร่ขิง)
   - สถาบันผู้บริหารการศึกษา (วัดไร่ขิง)
   - องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ขิง
   - สถานีตำรวจภูธรตำบลโพธิ์แก้ว
   - ไปรษณีย์วัดไร่ขิง
   - ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสามพราน (วัดไร่ขิง)
   - กองกำกับการวิทยาการเขต ๑๕

                           
                             
อานุภาพของหลวงพ่อวัดไร่ขิง
     ยิ่งใหญ่และแผ่ไปกว้างไกลเป็นที่ประจักษ์ชัดเป็นพุทธปฏิมาที่มีหมู่ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาพากันมาทุกวันไม่ขาดสาย บันดาลให้เกิดผลานิสงส์เป็นลาภสักการะมหาศาล สามารถอำนวยประโยชน์แก่การศึกษาสงเคราะห์และสาธารณะสงเคราะห์และอื่น ๆ นานัปประการ


     บวกกับมีหลวงพ่อเจ้าอาวาส เป็นพระมหาเถระที่เปี่ยมด้วยสีลสุตาทิคุณและพรหมวิหารธรรม ทำให้ประกาศเกียรติคุณของหลวงพ่อวัดไร่ขิงให้ยิ่งใหญ่ด้วยการบริจาค  ทำให้ประชาชนผู้ใหญ่ผู้น้อยของชาติมิใช่จะรู้จักหลวงพ่อวัดไร่ขิงแต่ความศักดิ์สิทธิ์อย่างเดียว แต่รู้จักหลวงพ่อวัดไร่ขิง ด้วยความสำนึกในฐานะผู้ให้ผ่านการบริหารการจัดการ และการดำเนินการอย่างชาญฉลาดรอบครอบของหลวงพ่อเจ้าอาวาส

    ซึ่งมิได้ครอบครองประโยชน์นี้ไว้ เพื่อความสุขเฉพาะวัดไร่ขิง  แต่ได้เฉลี่ยผลประโยชน์อันเกิดจากพุทธานุภาพนี้แผ่ไป เพื่ออุปถัมภ์การศึกษาและการสาธารณะ โดยหวังเพียงผู้รับจะรู้ถึงพระคุณของหลวงพ่อวัดไร่ขิงและคุณของพระพุทธศาสนา แล้วช่วยกันปกป้องรักษาไว้เพื่อเป็นมรดกของชาติชั่วนิรันดร์.

 
ขอบคุณข้อมูลจาก www.itti-patihan.com/ประวัติ-หลวงพ่อวัดไร่ขิง.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/,http://www.nkppao.go.th/,http://www.hamanan.com/,http://www.tripandtrek.com/



ตำนานหลวงพ่อวัดไร่ขิงนั้นจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา หรือที่เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีหลายตำนาน ดังนี้

  ตำนานที่ 1 ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก)ชาวเมืองนครชัยศรี ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตอำเภอสามพราน ได้เข้าไปในพระอุโบสถวัดไร่ขิง หลังจากกราบพระประธานแล้ว มีความเห็นว่าพระประธานมีขนาดเล็กเกินไป จึงบอกให้ท่านเจ้าอาวาสพร้อมชาวบ้านไปอัญเชิญมาจากวัดศาลาปูนฯ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวางลงบนแบบไม้ไผ่และนำล่องมาตามลำน้ำและอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ ตรงกับวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 วันสงกรานต์พอดี

    ตำนานที่ 2 วัดไร่ขิงสร้างเมื่อปีกุน พุทธศักราช 2394 ตรงกับปีสุดท้ายในรัชกาลที่ 3 ต้นปี ในรัชการที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก)ซึ่งเป็นชาวเมืองนครชัยศรี ในขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะที่ "พระธรรมราชานุวัตร" ปกครองอยู่ที่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้กลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิดของตนที่ไร่ขิง

    เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จแล้วจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูป สำคัญองค์หนึ่งจากกรุงเก่า ( จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ) มาเพื่อประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถแต่การสร้างยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ท่านได้มรณภาพเสียก่อน ส่วนงานที่เหลืออยู่พระธรรมราชานุวัตร(อาจ จนฺทโชโต) หลานชายของท่านจึงดำเนินงานต่อจนเรียบร้อย และบูรณะดูแลมาโดยตลอดจนถึงแก่มรณภาพ



    ตำนานที่ 3 ตามตำนานเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับมีพระพุทธรูปลอยน้ำมา 5 องค์ก็มี 3 องค์ก็มีโดยเฉพาะในเรื่องที่เล่าว่ามี 5 องค์นั้น ตรงกับคำว่า " ปัญจภาคี ปาฏิหาริยกสินธุ์โน " ซึ่งได้มีการเล่าเป็นนิทานว่า

    ในกาลครั้งหนึ่ง มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน ได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบัน มีฤทธิ์อำนาจทางจิตมากได้พร้อมใจกันตั้งสัตย์อธิฐานว่า เกิดมาชาตินี้จะขอบำเพ็ญบารมีช่วยให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ แม้จะตายไปแล้ว ก็จะขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้ได้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงพระนิพาน

    ครั้งพระอริยบุคคลทั้ง 5 องค์ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็เข้าไปสถิตในพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์จะมีความปรารถนาที่จะช่วยคนทางเมืองใต้ที่อยู่ติดแม่น้ำให้ได้พ้นทุกข์ จึงได้พากันลอยน้ำลงมาตามลำน้ำทั้ง 5 สาย เมื่อชาวบ้านตามเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำเห็นเข้า จึงได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ตามวัดต่างๆ มีดังนี้


        พระพุทธรูปองค์ที่ 1 ลอยไปตามแม่น้ำบางปะกง ขึ้นสถิตที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"
        พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปตามแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน)ขึ้นสถิตที่วัดไร่ขิงเมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
        พระพุทธรูปองค์ที่ 3 ลอยไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสถิตที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" แต่บางตำนานก็ว่า หลวงพ่อวัดบางพลีเป็นองค์แรกในจำนวน 5 องค์ จึงเรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี "
        พระพุทธรูปองค์ที่ 4 ลอยไปตามแม่น้ำแม่กลอง ขึ้นสถิตที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"
        พระพุทธรูปองค์ที่ 5 ลอยไปตามแม่น้ำเพชรบุรี ขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"



     ส่วนตำนานของเมืองนครปฐมนั้นเล่าว่า
     มีพระ 3 องค์ ลอยน้ำมาพร้อมกัน และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปยังบ้านศรีมหาโพธิ์ ซึ่งมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ จึงได้เรียกตำบลนั้นว่า "บางพระ" พระพุทธรูป 3 องค์ลอยไปจนถึงปากน้ำท่าจีนแล้วกลับลอยทวนน้ำขึ้นมาใหม่ จึงเรียกตำบลนั้นว่า "สามประทวน" หรือ "สัมปทวน"
     แต่เนื่องจากตำบลที่ชาวบ้านพากันไปชักพระขึ้นฝั่งเพื่อขึ้นประดิษฐาน ณ หมู่บ้านของตน แต่ทำไม่สำเร็จ ต้องเปียกฝนและตากแดดตากลมจึงได้ชื่อว่า "บ้านลานตากฟ้า" และ "บ้านตากแดด"


    ในที่สุดพระพุทธรูปองค์แรกจึงยอมสถิต ณ วัดไร่ขิงเรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
     ส่วนองค์ที่ 2 ลอยน้ำไปแล้วสถิตขึ้นที่วัดบ้านแหลมจังหวัดสมุทรสงคราม เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"   
     และองค์ที่ 3 ลอยตามน้ำไปตามจังหวัดเพชรบุรี แล้วขึ้นสถิตที่วัดเขาตะเครา เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"


ที่มา th.wikipedia.org/wiki/วัดไร่ขิง
ขอบคุณภาพจาก http://www.holidaythai.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เอ....รูปหัวใจ กับรูปใบโพธิ์ มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไรหนอ.?

ไอ้หนูคนนี้ กำลังแสดงอาการพอใจกับมุมนี้มากๆ ดูเหมือนจะไม่ยอมกลับบ้านซะแล้ว

สาวน้อยนางนี้ กำลังแอคชั่นอย่างร่าเริง


ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ทริปวัดไร่ขิงตอนแรก มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ

 thk56 :25: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ