ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดโพธิ์ วัดที่มีเจดีย์มากที่สุดในประเทศ [ชมภาพ]  (อ่าน 14566 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
แผนผังวัดพระเชตุพนฯ อย่างคร่าวๆ ขอบคุณภาพจาก commons.wikimedia.org/wiki/File:Watphomap.png

English : Map of Wat Po, Bangkok, Thailand
ไทย : แผนผังวัดพระเชตุพนฯ

    1. Phra Ubosot - พระอุโบสถ
    2. Ubosot-Wall (Kampaeng Kaeo) - กำแพงแก้ว
    3. Eastern Viharn - พระวิหารทิศตะวันออก
    4. Southern Viharn - พระวิหารทิศใต้
    5. Western Viharn - พระวิหารทิศตะวันตก
    6. Northern Viharn - พระวิหารทิศเหนือ
    7. Phra Prang - พระปรางค์
    8. Five Chedi on Single Base - พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว
    9. Phra Chedi Rai - พระเจดีย์ราย
  10. Phra Rabieng (Gallery) - พระระเบียง
  11. L-shaped Viharn - พระวิหารคด
  12. Model Hills - เขามอ
  13. Phra Maha Chedi Group - พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
  14. Phra Mondop (Library) - พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
  15. Library Pavillon (Museum) - พระวิหารทิศพระนาคปรก (ห้องจัดแสดงโบราณวัตถุ)
  16. Viharn of the Reclining Buddha - พระวิหารพระพุทธไสยาส
  17. Sala Kan Parien (Preaching Hall) - ศาลาการเปรียญ
  18. Misakawan Park (The Bodhi Tree) - สวนมิสกวัน
  19. Crocodile Pond - สระจระเข
  20. Belfry - หอระฆัง
  21. "Crowned" Gate with Chinese Stone Giants - ซุ้มประตูทรงมงกุฎ และ ตุ๊กตาจีน
  22. Thai Traditional Medical Science School - โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ และ การนวดแผนโบราณ
  23. Sala Rai (Multipurpose Pavillon) - ศาลาราย



วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (/พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม/) หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลก ในทะเบียนนานาชาติ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน




ประวัติ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" และภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระนโรดม โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย

พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า "วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน" และมีพระราชดำริว่า "ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ"



ขอบคุณภาพจาก http://www.watpho.com/


ข้อมูลทั่วไป

ชื่อ     :   วัดโพธิ์
ที่ตั้ง    :   2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภท  :  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
นิกาย    :   เถรวาท มหานิกาย
พระประธาน        : พระพุทธเทวปฏิมากร
พระพุทธรูปสำคัญ : พระพุทธไสยาส
วัดประจำรัชกาล   : ในรัชกาลที่ 1
จุดสนใจ    : วิหารพระพุทธไสยาส วิหารทิศฝั่งตะวันออก (วิหารพระโลกนาถ) และพระอุโบสถ
กิจกรรม    : นวดแผนไทย
การถ่ายภาพ    : ไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภายในอาคาร บางอาคารห้ามถ่ายภาพ ควรสังเกตป้าย
เว็บไซต์    : www.watpho.com


ขอบคุณข้อมูลและภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2015, 10:44:20 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

หลังจากชมพระนอนในพระวิหารพระพุทธไสยาสกันมาแล้ว ต่อจากนี้จะพาไปชม วิหารทิศและอุโบสถ

ภาพนี้ถ่ายมาจากพระวิหารพระพุทธไสยาส (หลังกล้องเป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส)

เดินลอดประตูมาอีกด้านหนึ่ง


ประตูด้านนี้ มีตุ๊กตาจีนเหมือนกับด้านพระวิหารพระพุทธไสยาส

4 ภาพบน ด้านหลังประตูคือ พระวิหารพระพุทธไสยาส
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ตุีกตาจีนแต่งตัวแบบฝรั่งที่เห็น คือ มาร์โคโปโล


สองภาพบน ด้านหลังประตูเป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส


ตุ๊กตาจีน

อีกหนึ่งเสน่ห์ของวัดโพธิ์ รูปสลักหินจีนทั้งหลายที่ตั้งประดับตามซุ้มประตูและที่ต่างๆ มีทั้งสลักจากหินและปูนปั้น หากเราพินิจพิจารณารูปปั้นรูปสลักจีนแต่ละรูปแบบแล้ว ย่อมทำให้รู้จักและเข้าใจต่อการที่ช่างไทยขนเอาเครื่องอับเฉาที่ใช้เป็นอุปกรณ์ถ่วงเรือสำเภาตอนขากลับจากการพาณิชย์นาวีที่ประเทศจีน แล้วนำไปตั้งประดับอย่างมีศิลปะ ประยุกต์เอารูปปั้นเหล่านั้นตั้งประดับดูเข้ากันได้ไม่ขัดตา

ถะ (เจดีย์ศิลปะจีน) ตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงชั้นนอกและชั้นใน รวม ๒๐ องค์

ลั่นถัน คือ ตุ๊กตาหินยืนท้าวเอวถืออาวุธ แต่งกายแบบงิ้ว เป็นขุนนางฝ่ายบู๊ เป็นนักรบ มือถืออาวุธ หน้าตาดุเหมือนจ้องมอง มีเสื้อเกราะรัดตัวอย่างทะมัดทะแมง บางรูปก็เหมือนทหารยืนประจำการอยู่ เป็นนักรบระดับขุนพล

ตุ๊กตาจีนแต่งกายแบบฝรั่ง เป็นรูปมาร์โคโปโล คือ ฝรั่งคนแรกที่เดินทางเข้าไปในประเทศจีน และเผยแพร่อารยธรรมตะวันตกให้แก่ชาวจีน มีอยู่ ๔ คู่ เป็นภาพสะท้อนของช่างจีน มองเห็นฝรั่งสมัยล่าอาณานิคมเป็นคนดุร้าย ก่อสงครามชิงเอาบ้านเมืองอยู่เนืองๆ



ตุ๊กตาจีนขุนนางฝ่ายพลเรือนหรือฝ่ายบุ๋น หน้าตาอมยิ้มนิดๆสวมหมวกทรงสูงมือข้างหนึ่งถือหนังสือ ข้างหนึ่งลูบหนวดเคราเหมือนกำลังครุ่นคิด สวมเสื้อคลุมยาวและรองเท้า มองเป็นคนภูมิฐาน เป็นนักปกครอง นักวางแผน และขุนนางแห่งราชสำนัก

ตุ๊กตาจีนนักปราชญ์หรือซิ่วจ๋าย หน้าตาอมยิ้มสบายๆสวมหมวกทรงสูงมีรอยพับ ใบหน้าเรียบ ไม่มีหนวดเครา เหมือนคนหนุ่ม แต่งตัวภูมิฐาน สวมเสื้อคลุมยาวพร้อมรองเท้า มือข้างหนึ่งถือพัด หรือถือหนังสือ ท่าทางเป็นคนมีความรู้

ตุ๊กตาจีนสามัญชน คนทำงาน ส่วนมากเป็นรูปชายไว้เครา ใส่หมวกฟาง มือข้างหนึ่งถือเครื่องมือทำงาน ถือจอบ ถือแห

ตุ๊กตาสาวจีน รูปปั้นแบบต่างๆส่วนมากมีหน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม มีทั้งรูปเกล้ามวยผมผูกผ้า และมีผ้าคลุมผมพลิ้วบาง สวมเสื้อคลุมยาวกรอมรองเท้า


สองภาพนี้ ด้านหลังกล้องคือ พระวิหารทิศเหนือ


ตุ๊กตารูปสิงโตคาบแก้ว รูปสลักสิงโตนิยมตั้งประดับที่เชิงบันได หรือหน้าประตูทางเข้าออกตามแต่ขนาด อ้าปากแยกเขี้ยว ในปากมีหินก้อนกลมเล็กๆสามารถเอามือสอดเข้าไปกลิ้งเล่นได้

หากคุณเป็นคนช่างสังเกต รูปสลักสิงโตนี้ ช่างสลักได้จัดทำไว้ ๒ เพศ ตัวเมียมีลูกเล็กๆ อยู่ที่ซอกอกและเท้าเป็นสัญลักษณ์ ตัวผู้อยู่ในท่าวางเท้ามีกงเล็บจับลูกแก้วหรือลูกโลกหรือสิ่งมงคลตามความเชื่อในคติจีน



รูปสลักและรูปปั้นศิลาแบบจีน นอกจากมีรูปลักษณ์เหมือนคนแล้ว ยังมีรูปกลอง รูปสัตว์ ช้าง มา ควาย ไก่ ลิง หมู ตั้งประดับตามลานบริเวณเขตพุทธาวาส บางแห่งอยู่ข้างสวนหินขนาดใหญ่เล็ก ทุกตัวนั้นไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนแห่งศิลปกรรมจีนเท่านั้น ยังบอกถึงฝีมือช่างสลัก ช่างปั้นว่ามีชั้นเชิงแฝงด้วยภูมิธรรม ภูมิปัญญา และปรัชญาอันลุ่มลึกไว้ด้วย
______________________________________________
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2015, 10:28:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

วันนี้  ครูอาจารย์  ไปภารกิจที่วัดราชสิทธาราม

       รวมทั้งคณะศิษย์สระบุรี ก็ไปกับพระอาจารย์งานนี้ด้วย

        ขากลับแวะ กราบพระใหญ่วัด เชตุพนวิมลมังคลาราม ด้วยครับ

         เดี๋ยวคงมีภาพมาให้ชมกันครับ

บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ผมเห็นเด็กนักเรียนฝึกรำไทย แล้วชื่นใจ เย็นใจจริงๆ ตอนหนุ่มๆไม่รู้สึกชอบรำไทย แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้ทำไมจึงชอบ
ผมเห็นคุณครูและลูกศิษย์คณะนี้อยู่หน้าวิหารคต ข้างศาลาแม่ซื่อ



ต้นโพธิ์ภายในวัดโพธิ์ น่าจะเป็นเพียงจุดเดียวที่เห็นพื้นดินและหญ้า ทีอาจเรียกได้ว่าเป็นบริเวณ
เพราะเกือบทั้งหมดของวัดโพธิ์ เป็นป่าคอนกรีต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 17, 2015, 09:11:20 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย

องค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว นามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร ได้ชะลอมาจากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑

พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒ นับเป็นพระมหารัชกาลที่ ๒



พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชถวายอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์

พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย กรุงศรีอยุธยา นามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

สมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยไว้ ๑ องค์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับรัชกาลที่ ๕ ว่า "พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้นท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่ พระองค์จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย" (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เรื่อง จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี)

_____________________________________
ที่มา http://www.watpho.com/historical.php



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
"พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" พระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ

เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1


"พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน" พระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2


พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ (กลาง) , พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน (ซ้าย) ,พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร (ขวา)



ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์มีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย

เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์โปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็นแบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา


ภาพนี้ถ่ายมาจาก วิหารพระพุทธไสยาส


_______________________________________________________________________
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี th.wikipedia.org/wiki/วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 17, 2015, 10:57:49 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธชินศรี พระประธานพระวิหารทิศตะวันตก


พระพุทธชินศรี
พระประธานพระวิหารทิศตะวันตก มุขหน้า

พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ    อุรคอาสนบัลลังก์
อุทธังทิศนาคปรก           ดิลกภพบพิตร


พระพุทธชินศรี หรือ พระนาคปรก พระประธานพระวิหารทิศตะวันตก เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า "พระนาคปรก" ดังปรากฏความใน "จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑ ว่า

"...พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์..."

พระพุทธรูปประธานในวิหารทิศตะวันตกมีเจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่าพระนาคปรก และทำพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบ แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรีจากสุโขทัยมาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป รัชกาลที่ ๔ จึงถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกบพิตร ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพุทธประวัติตอนนาคปรกนั่นเอง

 พระพุทธชินศรีอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน ๔ ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค ๗ เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง

ตามปกติแล้วพระพุทธรูปปางนาคปรกนิยมทำพระหัตถ์ในท่าสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางเหนือพระเพลาโดยพระหัตถ์ขวาวางบนพระหัตถ์ซ้าย แต่พระพุทธชินศรีกลับอยู่ในท่ามารวิชัย เป็นสิ่งที่อยู่นอกแบบแผนประเพณี ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่าเพราะขนดนาคกับพระพุทธรูปมิได้สร้างขึ้นครั้งเดียวกัน โดยขนดนาคทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ส่วนพระพุทธชินศรีสร้างขึ้นครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งเป็นยุคสมัยที่นิยมพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นโดยมิได้ตั้งใจให้เป็นพระพุทธรูปนาคปรกมาแต่แรก แต่ด้วยพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๑ ที่โปรดอัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานไว้เหนือขนดนาค จึงทำให้เกิดเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับอยู่บนขนดนาค

สำหรับในส่วนของนาคยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติมอีก กล่าวคือ คัมภีร์พุทธศาสนาต่างพรรณนาเหตุการณ์นี้ว่าพญานาคมุจลินท์ขนดกายล้อมองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ รอบ และแผ่พังพานปกป้องพระเศียร แต่ขนดนาคที่ปรากฏร่วมกันกับพระพุทธชินศรีกลับทำในลักษณะของบัลลังก์ให้พระพุทธองค์ประทับ มิได้ล้อมรอบ และพังพานนาคก็มิได้ปกเหนือพระเศียรอย่างมิดชิด แต่เหมือนแผ่อยู่เบื้องหลังมากกว่า แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับคัมภีร์พุทธศาสนา แต่นาคในลักษณะเช่นนี้ก็นิยมทำกันมาเนิ่นนานแล้ว และสร้างพลังศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ประหนึ่งว่าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหนือพญานาค แต่หากทำขนดนาคล้อมรอบ ๗ รอย และแผ่พังพานคุ้มกันอย่างมิดชิด อาจให้ความรู้สึกอึดอัดต่อผู้พบเห็น เพราะเสมือนว่าพระพุทธองค์กำลังถูกนาคทำร้าย

พระพุทธชินศรีมีรูปแบบตามอย่างพระพุทธรูปสุโขทัยสอดคล้องกันกับประวัติที่ระบุว่าอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย แต่ทั้งนี้ลักษณะบางประการโดยเฉพาะพระพักตร์ก็ดูละม้ายกับพระพุทธสมัยรัตนโกสินทร์อยู่บ้าง ชวนให้นึกถึงข้อมูลเอกสารที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปที่ชำรุดหักพังจากหัวเมืองต่างๆ คือ พิษณุโลก สวรรคโลก สุโขทัย ลพบุรี อยุธยา จำนวน ๑,๒๔๘ องค์ มาปฏิสังขรณ์ อาทิ ต่อพระศอ พระเศียร พระบาท พระหัตถ์ที่ชำรุดเสียหาย แปลงพระพักตร์ แปลงพระองค์ให้งดงาม อาจเป็นไปได้ว่าพระพุทธชินศรีก็เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่อัญเชิญมาในครั้งนี้ด้วย



พระพุทธปาลิไลย พระประธานในพระวิหารทิศเหนือ


พระพุทธปาลิไลย
พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร
สูง ๘ ศอกคืบ ๕ นิ้ว พระประธานในพระวิหารทิศเหนือมุขหน้า


พระป่าเลไลย หรือพระพุทธปาลิไลย เป็นประธานพระวิหารทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นใหม่ สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศเหนือ นอกจากนี้ยังสร้างรูปช้างถวายคนทีน้ำ และรูปลิงถวายรวงผึ้งอีกด้วย ดังปรากฏความในศิลาจารึกเรื่อง " จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ ๑" ว่า

"…พระพุทธรูปหล่อใหม่สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว ประดิษถานไว้ในพระวิหารทิศเหนือบันจุพระบรมธาตุ์ ถวายพระนามว่าพระป่าเลไลย มีช้างถวายคนทีน้ำมีวานรถวายรวงผึ้งแลผนังนั้นเขียนไตรย์ภูมมีเขาพระสุเมรุราชแลเขาสัตตะพันท์ทวีปทั้งสี่ แลเฃาพระหิมพานต์อะโนดาตสระแลปัญจะมหานัที..."

 ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการกล่าวถึง " พระป่าเลไลย" หรือ " พระพุทธปาลิไลย พระประธานใน พระวิหารทิศเหนือ วัดพระเชตุพน ไว้ใน " โคลงบอกด้านการปฏิสังขรณ์" กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เมื่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ไพหารอุดรด้านพระ  ปาลี ไลยนาง
     เนาน่งงเนอนศิขร   บาทห้อย
     กุญชรเชอดกุณธธาเรศ  แลฤา
     รูปหนึ่งพานรน้อ  เทิดผึ้งรวงถวาย ฯ


ต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามใหม่ว่า "พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุตติญาณบพิตร"



พระพุทธมารวิชัย พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก

พระพุทธมารวิชัย
พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ อัครพฤกษโพธิภิรมย อภิสัมพุทธบพิตร
หน้าตัก ๓ ศอกคืบ พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า

พระพุทธมารวิชัย หรือพระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก แต่พระกรชำรุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญลงมาปฏิสังขรณ์ด้วยนาก แล้วประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันออก มุขหน้า วัดเขาอิน หรือวัดเขาอินทร์เมืองสวรรคโลก เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่บนยอดเขาอินทร์ นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย บนฝั่งแม่น้ำยมฟากตะวันออก

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงตำแหน่ง "พระครูธรรมไตรโลกวัดเขาอินทร์แก้ว ในทำเนียบคณะสงฆ์ ของพระราชพงศาวดารเหนือว่า "…แลอันนี้คณะวัดมหาธาตุหนขวา ถ้าหาพระครูธรรมไตรโลกวัดเขาอินทร์แก้วได้ ให้พระครูยาโชด วัดอุทยานใหญ่ ขึ้นเป็นพระครูธรรมไตรโลกวัดเขาอินทร์แก้ว ถ้าหาพระครูธรรมเสนามิได้ ให้เอาพระครูธรรมไตรโลก เป็นพระครูธรรมเสนา ถ้าหาพระสังฆราชมิได้ ให้เอาพระครูธรรมเสนาเป็นพระสังฆราชวัดมหาธาตุ..."

การที่พระครูธรรมไตรโลกวัดเขาอินทร์ มีตำแหน่งรองจากพระสังฆราช และพระครูธรรมเสนา จึงแสดงให้เห็นว่าตำแหน่งพระครูธรรมไตรโลกเป็นตำแหน่งสมณศักดิ์ชั้นสูง และแสดงว่าวัดเขาอินทร์เป็นวัดที่มีความสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณสถานหัวเมืองสุโขทัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๕o ในครั้งนั้นได้เสด็จไปทอดพระเนตรวัดเขาอินทร์ด้วย ปัจจุบันภายในวัดเขาอินทร์มีโบราณสถานสำคัญคือพระเจดีย์ประธาน และพระวิหารก่อด้วยศิลาแลงเชื่อมกับพระเจดีย์ประธาน ผนังวิหารมีช่องลูกกรงหน้าต่างหรือช่องแสง ผนังด้านหน้าวิหารมีลายปูนปั้นน่าจะเป็นศิลปะสมัยเดียวกับลายปูนปั้นที่ผนัง พระวิหารวัดนางพญาในเมืองศรีสัชนาลัย ร่วมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ฐานพระอุโบสถก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้  ข้อมูลจากการบอกเล่า สันนิษฐานว่า พระพุทธรูปมารวิชัยน่าจะอัญเชิญมาจากพระอุโบสถวัดเขาอินทร์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามพระพุทธรูปประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหน้า และจารึกพระนามไว้ที่ฐานว่า "พระพุทธมารวิไชย  อไภยบรปักษ์  อัครพฤกษโพธิภิรมย อภิสัมพุทธบพิตร"



พระพุทธโลกนาถ พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก


พระพุทธโลกนาถ
พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมตวงศองคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร
สูง ๒๐ ศอก พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง


พระพุทธโลกนาถ หรือพระโลกนาถ มีพระนามเดิมว่า "พระโลกนาถสาศดาจารย์" เป็นพระพุทธรูปสำคัญ เดิมเคยประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ วัดในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระเชตุพน ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช น่าจะพร้อมกับการอัญเชิญพระพุทธรูป พระศรีสรรเพชญในราวปี พ.ศ.๒๓๓๒ แต่เนื่องจากมีสภาพที่น่าจะไม่ชำรุดมากนัก จึงมีการปฏิสังขรณ์บรรจุพระบรมธาตุแล้วประดิษฐานเป็นพระประธาน พระวิหารทิศตะวันออกมุขหลัง

 พระพุทธโลกนาถเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญในวัดพระเชตุวิมลมังคลารามที่มีหลักฐานเกี่ยวกับที่มาดั้งเดิมว่าอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงเก่า ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๔๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๓๑๐

พระพุทธโลกนาถ นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดังปรากฏหลักฐานว่า เจ้าจอมแว่น พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ กราบทูลความปรารถนาใคร่จะอธิษฐานขอบุตร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดให้สลักศิลาเป็นรูปกุมารกุมารีประดับไว้ที่ฝาผนังพระวิหาร และมีโคลงจารึกไว้กับรูปกุมารกุมารีว่า

    รจนาสุดารัตนแก้ว กุมารี หนึ่งฤา
    เสนอธิบายบุตรี ลาภได้
    บูชิตเชฐชินศรี เฉลาฉลัก หินเฮย
    บุญส่งจงลุได้ เสร็จด้วยดังถวิล
    กุมารหนึ่งพึงฉลักตั้ง ติดผนัง
    สถิตย์อยู่ทิศเบื้องหลัง พระไว้
    คุณเสือสวาดิหวัง แสวงบุตร ชายเอย
    เฉลยเหตุธิเบศร์ให้ สฤษดิแสร้งแต่งผล


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ถวายพระนามพระพุทธรูปประธานในพระวิหารทิศใหม่ และจารึกพระนามไว้ที่ผนังด้านหลังพระพุทธรูปว่า " พระพุทธโลกนารถ ราชมหาสมมุติวงษ์ องคอนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร" ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





พระระเบียง

พระระเบียง เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่สร้างล้อมรอบพระอุโบสถ มีอยู่ ๒ ชั้น ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อด้วยพระวิหารทิศอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญ และสร้างพระวิหารไว้ประจำสี่ทิศ

พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป  ๑๕๐ องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๔๔ องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ปัจจุบันทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสำริด มีพุทธลักษณะงดงามอร่ามตา เป็นพุทธศิลป์ในยุคสมัยต่างๆ เช่น สุโขทัย เชียงแสน ลพบุรี อู่ทอง และอยุธยา ตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯให้จารึกเพลงยาวกลอักษร เพลงยาวกลบท และตำราฉันท์ต่างๆอยู่ในกรอบศิลารวม ๑๐๐ แผ่น

สำหรับผู้ที่สนใจพุทธศิลป์เกี่ยวกับพระพุทธรูปที่พระระเบียงแล้ว เป็นส่วนที่เข้าไปเดินพินิจพุทธลักษณะ และศิลปะการสร้างสมัยต่างๆได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่สนใจ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อาจใช้เวลาไปเดินอ่านรอบพระระเบียงนี้ เมื่อได้ไปเดินอ่านและชมย่อมได้รับความรู้ทั้งด้านพุทธศิลป์และภาษาไทยชั้นยอดกว่าในตำราทีเดียว

________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




พระอุโบสถวัดโพธิ์ วันแรกที่ไป มีงานราชพิธี ไม่อนุญาตให้เข้าไป


พระอุโบสถ

พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมา หรือพระอุโบสถ เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด โดยสร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซุ้มจรณัมประจำประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วย ไม้แก่น ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่อง รามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง

พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑ ไว้ ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐาน พระมหาสาวก ๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ)

จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร) คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ใน กรุงและหัวเมือง สมัยรัชกาลที่ ๓ ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง

________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระพุทธเทวปฏิมากร
๙ หน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๔ นิ้ว พระประธานพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน

พระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมพระพุทธปฏิมาองค์นี้ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้า หรือวัดคูหาสวรรค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) โปรดเกล้าฯให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วโปรดเกล้าฯให้สร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯให้อันเชิญพระพุทธเทวปฏิมากรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ พร้อมทั้งยังได้ทรงถวายพระนามใหม่ว่า  "พระพุทธเทวปฏิมากร"

ครั้งถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามชำรุดทรุดโทรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนอีกครั้งหนึ่ง ในการนี้โปรดเกล้าฯให้ขยายขนาดพระอุโบสถให้ใหญ่ขึ้น รวมทั้งได้ก่อฐานพระประธานใหม่โดยได้ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นพระประธานดังเดิม แต่ได้หล่อรูปพระอรหันต์เพิ่มจากเดิมที่มีเพียง ๒ องค์ อีก ๘ องค์ รวมเป็นพระอรหันต์ ๑๐ พระองค์



เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เมื่อวันอังคาร เดือน ๖ แรม ๕ ค่ำ ปีกุน พ.ศ.๒๓๙๔ ครั้งนั้นได้เสด็จประทับ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นครั้งแรก จึงกลายเป็นพระราชประเพณีตั้งแต่นั้นสืบมาว่า เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยทางสถลมารค ต้องเสด็จประทับ ณ พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วทรงกระทำสักการบูชาพระพุทธเทวปฏิมากรสืบมาทุกรัชกาล


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลนั้นรับพระราชทานไปสักการบูชา  ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นๆสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ไม่มีใครพิทักษ์รักษาได้เชิญมาเป็นของหลวง ควรจะประดิษฐานไว้ให้มหาชนได้กระทำการบูชาโดยสะดวก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกบรรจุในกล่องศิลา แล้วเชิญไปบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จึงเป็นที่มาของการกำหนดให้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ดังความในเรื่อง "สถานที่ต่างๆซึ่งพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง" ความว่า



" ... ที่ในพระอุโบสถนั้น โปรดให้เชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไปบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ ให้มหาชนได้กระทำสักการบูชา ... "

นอกจากนี้ยังมีคำเล่าสืบต่อกันมาว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระอุณาโลมถวายพระพุทธเทวปฏิมากรในครั้งนั้นด้วย



_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/buddha.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ

     
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ยักษ์วัดโพธิ์ [ชมภาพ]
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 18, 2015, 10:06:03 am »
0

พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)

พระมณฑป หรือ (หอไตรจตุรมุข) รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนา เป็นสถาปัตยกรรมจตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บพระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กำเนิดรามเกียรติ์ ประเพณีรามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตำนานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกำเนิดท่าเตียน
_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php


ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์


ยักษ์ทางด้านซ้ายคือ พญาสัทธาสูร

พญาสัทธาสูร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 18, 2015, 10:22:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ยักษ์วัดโพธิ์ [ชมภาพ]
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มีนาคม 18, 2015, 10:19:18 am »
0

ซุ้มประตูทางเข้ามณฑปด้านขวาคือ ยักษ์พญาขร


ตำนานยักษ์วัดโพธิ์

สำหรับยักษ์ประจำวัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ "ยักษ์วัดแจ้ง" กับ "ยักษ์วัดโพธิ์" โดยมี "ยักษ์วัดพระแก้ว" เป็นผู้ห้ามทัพ

พญาขร


โดยตำนานนั้นมีอยู่ว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้ง ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง ๒ ตน เป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตน จึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น จึงราบเรียบกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย


พญาขร เปิดประตูถ่าย


ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ และให้ยักษ์วัดแจ้งทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหารวัดแจ้งเรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า "ท่าเตียน" เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการโปรดเกล้าฯให้รื้ออสูรเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูออก แล้วนำลั่นถันหรือตุ๊กตาศิลาจีนมาแทน กาลนี้ ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร จำนวน ๘ ตน ตั้งไว้ที่ทางเข้าหอไตรจตุรมุข (พระมณฑป) ตรงซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รื้อซุ้มประตูออกไป ๒ ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์อยู่เพียง ๒ คู่ คือ มัยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพญาขรกับสัทธาสูร อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนซุ้มประตูด้านที่รื้อไปนั้น เดิมเป็นทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ อินทรชิตกับสุริยภพ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงใต้



_______________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watpho.com/historical.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ด้านหลังซุ้มประตูเข้าพระมณฑปที่ด้านหน้ามีพญาขรกับสัทธาสูร (อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) มีภาพไก่

ศิษย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เก็บภาพมาให้ชม


ไดเร็กทอรีนี้อยู่ในบริเวณพระมณฑป
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0








 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ส่งท้ายด้วย "ภาพบรรยากาศยามบ่าย" หน้าวิหารพระพุทธไสยาส 
ทริปวัดโพธิ์มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตาม


 :25: thk56 :welcome:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ