ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ครูบาอุ่น อรุโณ  (อ่าน 4114 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ครูบาอุ่น อรุโณ
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 10:33:06 am »
0


ครูบาอุ่น อรุโณ ท่านเป็นคนกรุงเก่าโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๔๖๖ ที่ อ.มหาราช
จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ คำ โยมมารดาชื่อ เติม นามสกุลเดิมคือ กลิ่นเกษร มีพี่น้อง ๓ คน

ในวัยเยาว์ โยมบิดามารดาได้ส่งท่านเรียนหนังสือจนจบชั้น ม.๒ เมื่อมีอายุครบเกณฑ์ทหาร ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็น
ทหารบกในหน่วยปืนกลเล็ก (ป.ก.น.๑๑) ที่ อ.บางปะอิน อยู่ ๒ ปี

หลังจากปลดประจำการแล้ว มีอายุได้ ๒๔ ปี ในปี ๒๔๙๐ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปากคลอง ต.หัวไผ่
อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

โดยมี พระครูพรหมสมาจารย์ วัดประดู่ (ตะบอง) ต.ปากกระทุ่ง อ.มหาราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ช้อย
วัดปากคลอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสมุทร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "อรุโณ"

เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนนักธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและโทตามลำดับ

นอกจากนี้ท่านยังสนใจในด้านพุทธาคมและกัมมัฏฐาน จึงได้ไปฝากตัวเรียนวิชากับครูบาอาจารย์หลายรูป
ทั้งที่เป็น พระสงฆ์และฆราวาส

อาทิ หลวงตาบุญ เรียนวิชาคงกระพันชาตรี ครูโปร่ง เรียนด้านเมตตามหานิยม หมอปาน
เรียนวิชาแก้คุณไสยและปราบผี พระอาจารย์พัด เรียนด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ครูโล เรียนวิชาคงกระพัน
ครูรอด เรียนวิชาทำน้ำมนต์ พระอุปัชฌาย์เฟื่อง วัดหนองอึ่ง เรียนสูตรสนธิและกัมมัฏฐาน หลวงพ่อหน่าย
วัดบ้านแจ้ง เรียนวิชาทำตะกรุด และหลวงพ่อโอภาสี เรียนวิชากสิณไฟ

พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหันสังข์ ต.น้ำสังข์ อ.บางปะอิน อยู่จำพรรษาในฐานะ
เจ้าอาวาสได้ ๙ พรรษา

พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลอยู่อีก ๒ พรรษา

พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ รุ่นเดียวกับ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช

พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรท ี่ พระครูอรุณวรกิจ

ในช่วงที่ครูบาอุ่นอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก
เป็นพระอาจารย์ที่เข้มขลังในด้านเมตตามหานิยม

เมื่อครั้งอยู่ที่วัดปากคลอง ท่านได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระวัดปากบาง พระพิมพ์เล็บมือ พระพิมพ์ชินราช
พระพิมพ์สมเด็จ และเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่านไว้

เพราะการเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ทำให้มีชาวบ้านเข้าหาท่านไม่ขาดสาย ท่านเห็นว่า
โอกาสที่จะ ปฏิบัติธรรมหาความวิเวกทำได้ยาก

ในปี ๒๕๒๐ ท่านจึงได้ออกจากวัดปากคลอง มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ เพื่อที่จะหา สถานที่สงบปฏิบัติธรรม
โดยจุดมุ่งหมายของท่านจะมุ่งไปที่ จ.เชียงราย

จนกระทั่งได้พบวัดที่มีความสงบและ เป็นวัดที่พุทธบริษัท พระสงฆ์ และชาวบ้านร่วมกันปฏิบัติกัมมัฏฐาน
วัดนั้นคือ วัดป่าแดง ตั้งอยู่ใน หมู่บ้านป่าสักขวาง ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอสันกำแพง ท่านได้เข้าพำนักที่วัดป่าแดงตั้งแต่นั้น
ในฐานะพระลูกวัด เสมือนหลวงตารูปหนึ่ง มีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่ด้านหลัง
โดยไม่แพร่งพรายฐานะอันแท้จริงของท่านให้ใครทราบว่า ท่านเป็นถึงพระครูสัญญาบัตรมาก่อน
และมีชื่อเสียงโด่งดัง จากภาคกลางมาแล้ว

ต่อมา พระอธิการบุญมี เจ้าอาวาสรูปก่อนมรณภาพ คณะกรรมการวัดและศรัทธาชาวบ้าน
จึงพร้อมใจกันขอให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา

ถึงแม้ ครูบาอุ่น ท่านจะหลบลี้หนีหน้าญาติโยม เพื่อหาความสงบในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งชื่อเสียงค่อยๆ
ลบเลือนหายไปกับกาลเวลา

แต่เพชรก็ยังคงเป็นเพชร ชื่อเสียงของท่านเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้ง

เมื่อศิษย์ของท่านได้ทำ ปฏิทินรูปครูบาอุ่น ขึ้น เพื่อแจกในเทศกาลปีใหม่ ได้เกิดเหตุการณ์บังเอิญขึ้นคือ


ขณะที่ชาวบ้านกำลังเผากองขยะอยู่นั้น ปรากฏว่า มีแผ่นกระดาษไม่ไหม้ไฟอยู่แผ่นหนึ่ง เมื่อไปดูก็ปรากฏว่า
เป็น ปฏิทินรูปครูบาอุ่น

เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านจึงพากันแตกตื่นหาเก็บรูปปฏิทินใส่กรอบบูชากันเป็นการใหญ่ ชาวบ้านต่างพา
กันมากราบไหว้บูชาท่านจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

ในช่วงที่ครูบาอุ่นมาจำพรรษา ณ วัดป่าแดงนี้ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น อาทิ เหรียญรูปเหมือนรุ่น ๒
ในปี ๒๕๓๗ และผ้ายันต์นารายณ์กลืนจักร ต่อมาในปี ๒๕๔๔ ท่านได้จัดสร้าง พระปิดตารุ่นแรก ขึ้นพร้อมกับ
ล็อกเกต อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อหาทุนสร้างอุโบสถวัดป่าแดง

พระปิดตารุ่นแรกนี้ สร้างจากวัสดุมวลสารต่างๆ ที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้ อาทิ ผงพุทธคุณต่างๆ
ผงปถมังที่ท่าน ได้ลบผงเองเก็บไว้ ดินสังเวชนียสถานจากประเทศอินเดีย จากเขาคิชกูฏ ดินโป่ง ๗ โป่ง ดิน ๗
ป่าช้า และผงวิเศษอื่นๆ อีกมากมาย

ลักษณะของพระปิดตา เป็นรูปทรงกลมขนาดใกล้เคียงกับเหรียญ ๑๐ บาท ด้านหน้าเป็นรูปพระปิดตา
นั่งเต็มองค์บนก้อนเมฆ หมายถึงการหลุดพ้นจากโลกแห่งกิเลสทั้งปวง

ขอบรอบนอกเป็นลายกนกหลายชั้น มีดวงแก้ววงกลมอยู่ ๗ ดวง หมายถึงหัวใจพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ส่วนด้านหลัง
ตรงกลางเป็นรูปเทวดาและนางฟ้านั่ง พนมมืออำนวยพร

มีอักขระธรรมล้านนา เป็นบทพระคาถาทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม และโชคลาภ ล้อมอยู่ ๒ ชั้น
ใต้รูปเทวดามีอักษรอันเป็นชื่อของพระปิดตารุ่นนี้ว่า "ดีนักแล"
หมายถึงมีพุทธคุณดีทุกประการแล้วแต่อธิษฐาน

พระปิดตารุ่นนี้ ครูบาอุ่นได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา จัดสร้างเป็น ๒ พิมพ์ คือ
๑.พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ แบบฝังตะกรุด จำนวน ๑๐๐ องค์ แบบไม่ฝังตะกรุด จำนวน ๑,๐๐๐ องค์
๒.พระปิดตาพิมพ์เล็ก แบบฝังตะกรุด จำนวน ๒๐๐ องค์ แบบไม่ฝังตะกรุด จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์

ครูบาอุ่น มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๔ สิริรวมอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕

ในวันมรณภาพนั้น ได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์คือ ขณะที่ศิษยานุศิษย์และแพทย์ได้ช่วยกันตกแต่งสรีระ
ทำความสะอาดร่างและครองผ้าจีวรใหม่ให้กับท่าน

ปรากฏว่า ที่ศีรษะของครูบามีรอยนูนเล็กๆ เริ่มจากท้ายทอยและเพิ่มมากขึ้นๆ
ลักษณะเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเท่าๆ กัน

โดยรอยนูนนั้นชัดเจนมาก คล้ายๆ กับเศียรพระพุทธรูป อีกทั้งใบหูของท่านก็ยาวขึ้นด้วย

เป็นที่ปลื้มปีติแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๕๔๕ อันเป็นวันที่จะประกอบพิธีบรรจุสรีระของครูบาลงในหีบแก้ว
เหตุการณ์เดิมก็บังเกิดขึ้นอีก

นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังอ่อนนุ่มเหมือนคนนอนหลับไปเฉยๆ ไม่แข็งกระด้างเหมือนคนที่เสียชีวิตทั่วไป
และไม่มีกลิ่นเหม็น

ทั้งๆ ที่มรณภาพมาแล้วถึง ๒๕ วัน เป็นที่ประจักษ์ของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์จำนวนมาก

ขอบคุณที่มาเนื้อหา
http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=tofriend&id=257
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ครูบาอุ่น อรุโณ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 10:36:24 am »
0



ครูบาอุ่น วัดป่าแดง อริยสงฆ์แดนล้านนาที่มรณภาพแล้ว ศรีษะขึ้นรูปก้นหอย(เกศาพระเจ้า) ถึง 3 วาระจนเป็นข่าวโด่งดังทางสื่อ และเป็นที่ศรัทธาของลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างยิ่งครับ

ครูบาอุ่น อรุโณ ท่านเป็นคนกรุงเก่าโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๔๖๖ ที่ อ.มหาราช  จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ คำ โยมมารดาชื่อ เติม นามสกุลเดิมคือ กลิ่นเกษร มีพี่น้อง ๓ คน
ในวัยเยาว์ โยมบิดามารดาได้ส่งท่านเรียนหนังสือจนจบชั้น ม.๒ เมื่อมีอายุครบเกณฑ์ทหาร ได้ถูกเกณฑ์ไปเป็น ทหารบกในหน่วยปืนกลเล็ก (ป.ก.น.๑๑) ที่ อ.บางปะอิน อยู่ ๒ ปี
หลังจากปลดประจำการแล้ว มีอายุได้ ๒๔ ปี ในปี ๒๔๙๐ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดปากคลอง ต.หัวไผ่ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

โดย มี พระครูพรหมสมาจารย์ วัดประดู่ (ตะบอง) ต.ปากกระทุ่ง อ.มหาราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ช้อย วัดปากคลอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสมุทร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายา "อรุโณ"  เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนนักธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและโทตามลำดับ
นอกจากนี้ท่านยังสนใจในด้านพุทธาคมและกัมมัฏฐาน จึงได้ไปฝากตัวเรียนวิชากับครูบาอาจารย์หลายรูป ทั้งที่เป็น พระสงฆ์และฆราวาส

อาทิ...
หลวงตาบุญ           เรียนวิชาคงกระพันชาตรี
ครูโปร่ง                เรียนด้านเมตตามหานิยม
หมอปาน              เรียนวิชาแก้คุณไสยและปราบผี
พระอาจารย์พัด      เรียนด้านคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด
ครูโล                  เรียนวิชาคงกระพัน
ครูรอด                เรียนวิชาทำน้ำมนต์
พระอุปัชฌาย์เฟื่อง วัดหนองอึ่ง เรียนสูตรสนธิและกัมมัฏฐาน
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง เรียนวิชาทำตะกรุด
หลวงพ่อโอภาสี     เรียนวิชากสิณไฟ

พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหันสังข์ ต.น้ำสังข์ อ.บางปะอิน อยู่จำพรรษาในฐานะเจ้าอาวาสได้ ๙ พรรษา

พ.ศ.๒๕๐๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลอยู่อีก ๒ พรรษา

พ.ศ.๒๕๑๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ รุ่นเดียวกับ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช

พ.ศ.๒๕๑๘ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรท ี่ พระครูอรุณวรกิจ

ในช่วงที่ครูบาอุ่นอยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นพระอาจารย์ที่เข้มขลังในด้านเมตตามหานิยม

เมื่อ ครั้งอยู่ที่วัดปากคลอง ท่านได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระวัดปากบาง พระพิมพ์เล็บมือ พระพิมพ์ชินราช พระพิมพ์สมเด็จ และเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่านไว้
เพราะการเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มี ชื่อเสียงโด่งดัง ทำให้มีชาวบ้านเข้าหาท่านไม่ขาดสาย ท่านเห็นว่าโอกาสที่จะ ปฏิบัติธรรมหาความวิเวกทำได้ยาก

ในปี ๒๕๒๐ ท่านจึงได้ออกจากวัดปากคลอง มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ เพื่อที่จะหา สถานที่สงบปฏิบัติธรรมโดยจุดมุ่งหมายของท่านจะมุ่งไปที่ จ.เชียงราย

จนกระทั่งได้พบวัดที่มีความสงบและ เป็นวัดที่พุทธบริษัท พระสงฆ์ และชาวบ้านร่วมกันปฏิบัติกัมมัฏฐานวัดนั้นคือ "วัดป่าแดง" ตั้งอยู่ใน หมู่บ้านป่าสักขวาง ต.สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

ปัจจุบัน อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอสันกำแพง ท่านได้เข้าพำนักที่วัดป่าแดงตั้งแต่นั้นในฐานะพระลูกวัด เสมือนหลวงตารูปหนึ่ง มีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่ด้านหลัง
โดยไม่แพร่งพรายฐานะอันแท้จริงของท่านให้ใครทราบว่า ท่านเป็นถึงพระครูสัญญาบัตรมาก่อนและมีชื่อเสียงโด่งดัง จากภาคกลางมาแล้ว
ต่อมา พระอธิการบุญมี เจ้าอาวาสรูปก่อนมรณภาพ คณะกรรมการวัดและศรัทธาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันขอให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมา

ถึงแม้ ครูบาอุ่น ท่านจะหลบลี้หนีหน้าญาติโยม เพื่อหาความสงบในการปฏิบัติธรรม จนกระทั่งชื่อเสียงค่อยๆลบเลือนหายไปกับกาลเวลา
แต่ เพชรก็ยังคงเป็นเพชร ชื่อเสียงของท่านเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อศิษย์ของท่านได้ทำ ปฏิทินรูปครูบาอุ่น ขึ้น เพื่อแจกในเทศกาลปีใหม่ ได้เกิดเหตุการณ์บังเอิญขึ้นคือ
ขณะที่ชาวบ้านกำลังเผากองขยะอยู่นั้น ปรากฏว่า มีแผ่นกระดาษไม่ไหม้ไฟอยู่แผ่นหนึ่ง เมื่อไปดูก็ปรากฏว่าเป็น "ปฏิทินรูปครูบาอุ่น"
เมื่อ ข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านจึงพากันแตกตื่นหาเก็บรูปปฏิทินใส่กรอบบูชากันเป็นการใหญ่ ชาวบ้านต่างพากันมากราบไหว้บูชาท่านจนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว
ในช่วงที่ครูบาอุ่นมาจำพรรษา ณ วัดป่าแดงนี้ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น อาทิ เหรียญรูปเหมือนรุ่น ๒



ในปี ๒๕๓๗ และผ้ายันต์นารายณ์กลืนจักร ต่อมาในปี ๒๕๔๔ ท่านได้จัดสร้าง พระปิดตารุ่นแรก ขึ้นพร้อมกับล็อกเก็ต อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อหาทุนสร้างอุโบสถวัดป่าแดง

พระปิดตารุ่นแรกนี้ สร้างจากวัสดุมวลสารต่างๆ ที่ท่านได้เก็บรวบรวมไว้ อาทิ ผงพุทธคุณต่างๆผงปถมังที่ท่าน ได้ลบผงเองเก็บไว้ ดินสังเวชนียสถานจากประเทศอินเดีย
จากเขาคิชกูฏ ดินโป่ง ๗ โป่ง ดิน ๗ ป่าช้า และผงวิเศษอื่นๆ อีกมากมาย

ลักษณะ ของพระปิดตา เป็นรูปทรงกลมขนาดใกล้เคียงกับเหรียญ ๑๐ บาท ด้านหน้าเป็นรูปพระปิดตานั่งเต็มองค์บนก้อนเมฆ หมายถึงการหลุดพ้นจากโลกแห่งกิเลสทั้งปวง

ขอบรอบนอกเป็นลายกนกหลาย ชั้น มีดวงแก้ววงกลมอยู่ ๗ ดวง หมายถึงหัวใจพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ส่วนด้านหลังตรงกลางเป็นรูปเทวดาและนางฟ้านั่ง พนมมืออำนวยพร

มี อักขระธรรมล้านนา เป็นบทพระคาถาทางด้านแคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม และโชคลาภ ล้อมอยู่ ๒ ชั้นใต้รูปเทวดามีอักษรอันเป็นชื่อของพระปิดตารุ่นนี้ว่า "ดีนักแล"
หมายถึงมีพุทธคุณดีทุกประการแล้วแต่อธิษฐาน

พระปิดตารุ่นนี้ ครูบาอุ่นได้ปลุกเสกเดี่ยวตลอดพรรษา จัดสร้างเป็น ๒ พิมพ์ คือ
๑.พระปิดตาพิมพ์ใหญ่ แบบฝังตะกรุด จำนวน ๑๐๐ องค์ แบบไม่ฝังตะกรุด จำนวน ๑,๐๐๐ องค์
๒.พระปิดตาพิมพ์เล็ก  แบบฝังตะกรุด จำนวน ๒๐๐ องค์ แบบไม่ฝังตะกรุด จำนวน ๑๐,๐๐๐ องค์

ครูบาอุ่น มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๓ ธ.ค.๒๕๔๔ สิริรวมอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕
ใน วันมรณภาพนั้น ได้เกิดเหตุการณ์มหัศจรรย์คือ ขณะที่ศิษยานุศิษย์และแพทย์ได้ช่วยกันตกแต่งสรีระทำความสะอาดร่างและครองผ้า จีวรใหม่ให้กับท่าน

ปรากฏว่า ที่ศีรษะของครูบามีรอยนูนเล็กๆ เริ่มจากท้ายทอยและเพิ่มมากขึ้นๆลักษณะเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเท่าๆ กัน
โดย รอยนูนนั้นชัดเจนมาก คล้ายๆ กับเศียรพระพุทธรูป อีกทั้งใบหูของท่านก็ยาวขึ้นด้วย เป็นที่ปลื้มปีติแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมาก
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค.๒๕๔๕ อันเป็นวันที่จะประกอบพิธีบรรจุสรีระของครูบาลงในหีบแก้วเหตุการณ์เดิมก็บังเกิดขึ้นอีก
นอกจากนี้ร่างกายของท่านยังอ่อนนุ่มเหมือนคนนอนหลับไปเฉยๆ ไม่แข็งกระด้างเหมือนคนที่เสียชีวิตทั่วไปและไม่มีกลิ่นเหม็น
ทั้งๆ ที่มรณภาพมาแล้วถึง ๒๕ วัน เป็นที่ประจักษ์ของชาวบ้านและศิษยานุศิษย์จำนวนมาก

(ต้อง ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ที่ไม่มีรูปภ่ายประกอบ เดือนหน้าจะขึ้นเหนือ แล้วจะเอาภาพถ่ายมาฝากนะคะ   อดใจรอซักกะนิ๊ดส์นะจ้ะ พี่ๆน้องๆชาวบางพระ)

ที่มาช้อมูล   http://www.212cafe.com
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ครูบาอุ่น อรุโณ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:48:47 am »
0


ชอบคุณภาพจาก http://www.thaipr.net
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา