ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ สมุทรปราการ 1 ใน 3 พระลอยน้ำ  (อ่าน 3943 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สถานที่ประดิษฐาน อุโบสถ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (วัดบางพลีใหญ่ใน) อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ


ลักษณะศิลปะ ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย



วัสดุ ทองสำริด



ขนาด หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ


ประวัติ ตามตำนานกล่าวว่า มีพระพุทธรูป 3 องค์ ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าใจว่าผู้คนสมัยอยุธยาอาราธนาลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบหนีข้าศึกและภัยสงคราม จากพม่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้แสดงอภินิหารลอยมาตามลำน้ำ และผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับจนเป็นที่โจษจันกันทั่วไป พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ลอยตามน้ำไปเรื่อยเมื่อผ่านที่ใดสถานที่นั้นก็จะมีชื่อเรียกเกี่ยวเนื่อง กับองค์พระ ต่อมาภายหลังพระพุทธรูปทั้งสามองค์ได้แยกย้ายกันไปประดิษฐานในที่ต่างๆ องค์หนึ่งได้รับการอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อีกองค์หนึ่งถูกอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา



สำหรับ พระพุทธรูปองค์สุดท้ายได้ลอยไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วลอยวกเข้ามาในลำคลอง สำโรง ชาวบ้านที่พบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วว่ามีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันอาราธนาให้ขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่พระพุทธรูปไม่ยอมขึ้น เผอิญมีชายปัญญาดีคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า คงเป็นด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธรูป แม้จะใช้ผู้คนจำนวนสักเท่าไรฉุดลากขึ้นฝั่งคงไม่สำเร็จเป็นแน่ ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์พระพุทธรูปไว้ แล้วใช้เรือพายฉุดให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมา จงหยุด ณ ที่นั้นเถิด”

เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องต้องกันดีแล้ว จึงพร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายล้วนๆ ช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลอง เรือที่ใช้ลากจูงมานั้นล้วนมีชื่อแปลกๆ เช่น ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่นๆ



พร้อมกันนั้นจัดให้มีละครเจ้ากรับรำถวาย และการละเล่นอื่นๆครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ...ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัด พลับพลาชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในทุกวันนี้ แพที่ผูกชะลอองค์ท่านก็เกิดหยุดนิ่งแม้พยายามออกแรงจ้ำและพายกันสักเท่าใด แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่ ชาวบ้านที่มากับเรือและชาวบางพลีถึงกับขนลุกซู่ เห็นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ต่างพากันก้มกราบนมัสการด้วยความเคารพ และพร้อมใจกันตั้งจิตอธิฐานว่า “ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด”



ช่าง เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เพียงใช้กำลังคนไม่มากนักก็สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้อย่างง่ายดาย ทำให้ราษฎรต่างแซ่ซ้องในอภินิหารเป็นอย่างยิ่ง และได้อัญเชิญท่านขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหาร แต่ต้องชะลอขึ้นข้ามฝาผนังวิหาร เพราะขณะนั้นหลังคาพระวิหารยังไม่มีและประตูวิหารก็เล็กมาก หลังจากนั้นท่านได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเรื่อยมา



ครั้น ต่อมาได้มีการรื้อพระวิหารอีก เพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลอองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน



ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโตในด้านรักษาผู้เจ็บป่วย เมื่อนำน้ำมนต์หลวงพ่อไปรักษาเพื่อเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าอาการเจ็บป่วยทุเลาลงจนหายเป็นปกติ แม้กระทั่งเหรียญหลวงพ่อโตที่ชาวบ้านนำมาห้อยคอบุตรหลานของตนก็เป็นที่ เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน เพราะมีเรื่องเล่าว่า เมื่อเด็กๆ พลัดตกน้ำกลับลอยได้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้นหลวงพ่อโตยังได้แสดงปาฏิหาริย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 กล่าวคือ องค์พระซึ่งเป็นทองสำริดกลับนิ่มดังเช่นเนื้อคน หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับพากันลงข่าวที่น่าอัศจรรย์ใจนี้ และมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศพากันมาชมบารมี ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ ทุกวันนี้ชาวบางพลีต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของหลวงพ่อโตที่คุ้ม ครองชุมชนบางพลีให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย ในขณะที่ชุมชนโดยรอบ อาทิ ตลาดบางบ่อ ตลาดจระเข้ ตลาดคลองด่าน ล้วนแต่ประสบกับอัคคีภัยมาแล้วทั้งนั้น



ประเพณี วัดบางพลีใหญ่ในได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองหลวงพ่อโต โดยมีงานสมโภชเป็นประจำทุกปี ดังนี้

1. งานปิดทองพระพุทธบาทจำลองและนมัสการหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงวันแรม 2 ค่ำ เดือน 3 รวม 3 วัน

2. งานนมัสการและปิดทองหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงวันแรม 2 ค่ำ เดือน 4 รวม 3 วัน

3. งานประเพณีรับบัวหรือโยนบัว และนมัสการหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 แต่เดิมตอนเย็นของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดคลองสำโรงจะอึกทึกไปด้วยเสียงดนตรีนานาชนิด ทั้งซอ ปี่ กระจับ โทน รำมานา โหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ ผู้คนก็จะร้องรำทำเพลง พายเรือไปตลอดทาง ใครรู้จักบ้านไหนก็จะแวะขึ้นเยี่ยมเยืยน เจ้าของบ้านก็จะเตรียมเหล้ายาปลาปิ้งไว้ต้อนรับ ถ้าดึกก็จะค้างที่นั่นเลย ต่อมาประเพณีได้เลือนหายไป อาจเพราะสภาพสังคมในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน พอถึงช่วง พ.ศ. 2478 – 2481 สมัยนายชื้น วรศิริ เป็นนายอำเภอ ได้รื้อฟื้นประเพณีรับบัวขึ้นมาใหม่ มีการแต่งเรือล่องมาตามคลองสำโรง ประชาชนชาวบ้านที่รออยู่ทั้งสองฝั่งคลองก็พากันโยนดอกบัวของตนลงไปที่เรือ แห่หลวงพ่อโตเพื่อเป็นการสักการะ นอกจากนี้ตลอดงานยังมีมหรสพเฉลิมฉลอง มีการเปิดตลาดนัด และประกวดพืชผักสวนครัว

4. งานทำบุญฉลองที่หลวงพ่อโตได้แสดงปาฏิหาริย์เนื้อนิ่ม กระทำในวันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2011, 08:47:37 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ