ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดปงสนุกเหนือ ได้รับรางวัลดีเด่น(Award of Merit)จากยูเนสโก  (อ่าน 4917 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วัดปงสนุกเหนือ
กับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคแห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี ๒๕๕๑ได้รับรางวัลดีเด่น(Award of Merit)

รางวัลที่ได้รับ

ยูเนสโกมอบรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดก ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคแห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี ๒๕๕๑ เพื่อยกย่องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุก จังหวัด ลำปาง โดยโครงการอนุรักษ์มรดกดังกล่าวได้รับรางวัลดีเด่น(AwardofMerit)เผยเป็นวัด แรกของไทยที่ได้รางวัลนี้
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ได้รับรางวัลทรงคุณค่า (Award of Merit)
จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)
สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

ในโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโครงการที่มีการ อนุรักษ์อาคารไม้โบราณที่มีอายุกว่า 120 ปี อันทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ โดยคงสภาพเดิมเอาไว้ มากที่สุด และจูงใจให้เกิดโครงการบูรณะในที่อื่นๆต่อไป เพื่อให้ตระหนักในคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม ของชุมชน เป็นการอนุรักษ์และรักษาวัดของชาวล้านนา

ซึ่งมีการทำงานร่วมกันระหว่างพระสงฆ์กับชุมชน ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือท้องถิ่น และนักวิชาการ เพื่อบรรลุผลทางด้านประวัติศาสตร์ของชุมชนและท้องถิ่น คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดี ยกย่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรลัญจก์ บุณยสุ รัตน์ ที่ได้รับรางวัลทรงคุณค่านี้ รางวัล 2008 UNESCO Asia – Pacific Heritage Awards

ประวัติวัดปงสนุกเหนือ
                วัดปงสนก เป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ที่วัดปงสนุก ต.เวียงเหนือ อ.เมืองจ.ลำปาง ๕๒๐๐๐ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และฝังลูกนิมิตร เมื่อ พ.ศ. 3214 สันนิษฐานว่าวัดนี้คงสร้างขึ้นร่วมสมัยพระเจ้าอนันตยศเสด็จมาทรงสร้างเมือง เขลางค์ เมื่อพ.ศ. 1223
 
บริเวณวัดปงสนุกตั้งอยู่ติดกำแพงเมืองเขลางค์รุ่นที่ 2 ด้านใน จากการศึกษาสภาพสิ่งก่อสร้างเท่าที่ปรากฏปัจจุบัน มีอาคารสถานก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุด คือ เจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งปรากฏในบันทึกมีการบูรณะครั้งหลังประมาณ 120 กว่าปีมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นพยานวัตถุบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดสืบทอดกัน มาจากอดีต เป็นเวลาร้อยกว่าปีมาแล้ว

วัดปงสนุก เดิมมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ ตามหลักฐานที่พบจารึกอยู่ในที่ต่างๆ มีอยู่ 4 ชื่อ คือ วัดศรีจอมไคล วัดศรีเชียงภูมิ , วัดดอนแก้ว , วัดพะยาว (พะเยา) ชื่อวัดทั้งหมดที่พบดูจะมี 2 ชื่อ ที่เกี่ยวกับประวัติของบ้านเมืองในอดีตที่ผ่านมา คือ ชื่อวัดพะยาว (พะเยา) และชื่อวัดปงสนุก ด้วยเหตุการณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2364 ทางเมืองนครลำปางและเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพเข้าตีเมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสนได้สู้รบต่อต้านเป็นสามารถ


แต่สู้กำลังของเมืองลำปางและเชียงใหม่มิได้ เมืองเชียงแสนจึงแตก ทางกองทัพจึงได้กวาดต้องเอาชาวเชียงแสนลงมาสู่เมืองนครลำปาง ในชาวเมืองเชียงแสนเหล่านั้นได้มีชาวบ้านปงสนุก (เชียงแสน) รวมอยู่ด้วย ส่วนชาวเมืองพะเยา เจ้าฟ้าเมืองพะเยา ได้อพยพขาวพะเยาหนีข้าศึกพม่า คราวเมืองพะเยาแตกลงมาสู่นครลำปาง ในช่วงเวลาใกล้เคียง

ชาวเมืองทั้งสองจึงถูกจัดแบ่งให้อยู่ทางฝั่งเวียงเหนือของเมืองนครลำปาง โดยเฉพาะบริเวณวัดศรีเชียงภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองเชียงแสนและชาวเมืองพะเยา เมื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใหม่และไม่ทราบอนาคตของตนเอง แต่ก็ยังรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน จึงได้เอานามชื่อวัดและชื่อบ้านมาเรียกโดยชาวพะยาว (พะเยา) ก็เรียกวัดพะยาว บ้านพะยาว ชาวเชียงแสนก็เรียก วัดปงสนุก บ้านปงสนุก

(ปัจจุบัน วัดปงสนุกใน อ.เชียงแสน อันเป็นชุมชนเดิมของบ้านปงสนุกลำปาง ก็ยังมีอยู่ ตั้งอยู่บ้านหมู่ที่ 3 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นวัดโบราณมีอายุกว่า 500 ปี) สำหรับชาวพะเยา พอถึง พ.ศ. 2386 เจ้าหลวงมหาวงค์ ขึ้นไปตั้งเมืองพะเยา

เมื่อบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้ว ครูบาอินต๊ะจักร จึงได้อพยพชาวพะเยากลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอน คงเหลือชาวพะเยาที่ไม่ยอมกลับ ไม่นานนัก ตรงกันข้ามกับชาวปงสนุก ไม่มีการอพยพกลับไป ได้ยึดเอานครลำปางเป็นบ้านเกิดเมืองนอนที่สอง ดังนั้นชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านก็คงเหลือไว้เรียกขานกันเพียงชื่อเดียวว่า “ปงสนุก” ตราบเท่าทุกวันนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า วัดปงสนุก แยกเป็น 2 วัด ทั้งที่อาณาเขตก็ไม่กว้างขวางเท่าใด คือ วัดปงสนุกเหนือ และวัดปงสนุกใต้ สาเหตุที่แยกคงจะมาจากพระสงฆ์ สามเณรในอดีตจำนวนมาก จึงแบ่งกันช่วยดูแลรักษาวัด แต่ถึงอย่างไร ทั้ง 2 วัดนี้ก็ถือกันว่าเป็นวัดพี่วัดน้องอาศัยช่วยเหลือกันมาโดยตลอด
 
วิหารพระเจ้าพันองค์
        วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง เริ่มต้นจากความต้องการของชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง โดยใช้กระบวนคิดในการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น เอกชน ศิลปิน และนักวิชาการ เริ่มจากการศึกษาวิจัยทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชนเกี่ยวกับวิหารพระเจ้า พันองค์ วิหารโถงทรงมณฑปจตุรมุขแห่งสำคัญที่เคยประดับพระพิมพ์เนื้อชินกว่าหนึ่งพัน องค์รอบตัววิหาร

วิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุ ลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วย ลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา

รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจกแสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของ พระพุทธเจ้า



ลักษณะของวิหารพระเจ้าพันองค์

๑. ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับนั่งใต้
โพธิพฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้างนาคสิงห์
นกอินทรี

๒. กินรีประดับมุมคอของชั้นสอง

๓. เสาสี่เหลี่ยมประดับด้วยกาบรูปกลีบบัว

๔. ปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสี  ฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมร

พระพุทธรูป ๔ ทิศ หมายถึง  สร้างเป็นมุขโถง ๔ ทิศ  พระพุทธรูปหันพระพักตร์ออก ๔  องค์   
บนสันหลังคาเหนือมุขทั้ง ๔ สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลาย สื่อความหมายถึงดินแดนที่อยู่ของผู้คนรอบเขาพระสุเมรุ คือ

ทิศเหนือ                อุตตรกุรุทวีป
ทิศใต้                     ชมพูทวีป
ทิศตะวันออก       บุรพวิเทหทวีป
ทิศตะวันตก          อมรโคยานทวีป


ฐาน ชุกชี  หมายถึง  เขาพระสุเมรุส่วนกลางจักวาลที่ลายล้อมด้วยป่าและสัตว์หิมพานต์

วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา
ประเทศจีน

พระพุทธรูปไม้เป็นการสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชา สำหรับทำบุญและเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
ซึ่งคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้นั้น น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อ
เรื่อง โพธิพฤกษ์ หรือต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประทับนั่งตอนตรัสรู้ สมัยโบราณ
จะไม่มีพระพุทธรูปไว้ที่บ้าน

ยังมีรายละเอียดอื่นๆที่น่าสนใจ เชิญติดตามได้ที่
http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/index2.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 09:25:35 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ