ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้  (อ่าน 5177 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้


คนเราที่จะอยู่อย่างดีนี้ จะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง
ถ้าใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้า
ประสบประโยชน์สูง


แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็น ก็จะมีแต่ขาดทุน และประสบแต่ความทุกข์ และความเสื่อม
ฉะนั้น จะต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น


ญาติโยมเอ๋ย โปรดทราบไว้เถอะว่า
บุญกรรมนั้นมีจริง บาปกรรมนั้นมีจริง ยมพบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด

จดทุกวันคืออารมณ์ เรื่องจริงแน่ จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษ บันทึกเข้าไว้
ถ้าเราทำกรรมดี ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไป


วันนี้ อาตมาขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล

เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะด้วย การเจริญสติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม พิจรณาโดยปัญญา ตลอดกระทั่งยืน เดิน นั่ง นอน

จะคู้เหยียดขาทุกประการก็มีสติครบ รับรองได้เลยว่า ถ้าโยมทำถึงขึ้น ปิดประตูอบายได้เลย


เพราะเหตุใด เพราะกิเลสทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น โยมก็กำหนด
ขณะมีโลภะก็กำหนดโลภะ โลภะก็หายไป

จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะ ตายไปเป็นเปรต
กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก
มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตไว้มาก ตายไปกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน

แต่ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิไม่ต้องไป
ปิดประตูนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ



ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยย้อนกลับเป็นบุญกุศลให้แก่ญาติโยมทั้งหลาย

ประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายามก้าวหน้าผ่านอุปสรรคถึงฝั่งฟากคือพระนิพพาน

โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสนี้เทอญ


หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


มีชีวิตใหม่ เปลี่ยนถ่ายเลือดใหม่

ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔



หลวงปู่หล้าเขียนไว้ว่า รู้ตามความเป็นจริง ปฏิบัติตามความเป็นจริง สิ้นสงสัยตามความเป็นจริง ...

พวกเราทั้งหลาย อย่าได้นอนใจในวัฏสงสารเลย จงรีบหลุดพ้นตามคำสั่งของพระบรมศาสดาที่ว่า


" เมื่อพวกเธอทั้งหลาย ยังไม่มีญาณว่าพ้นทุกข์ โดยสิ้นเชิง พวกเธออย่าได้นอนใจนะ "

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงกล่าวไว้ว่า ...

ชีวิตนี้น้อยนัก ... แต่ ... ชีวิตนี้สำคัญนัก

เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อ เป็นทางแยก
จะไปสูง หรือ ไปต่ำ จะไปดี หรือ ไปร้าย

เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น

พึงสำนึกข้อนี้ให้ดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด


หลวงพ่อ พระครู ภาวนานุกูล ชูชัย ( วัดนาค บางปะหัน ) จะสอนเสมอๆว่า ..
ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รู้ลงไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อยู่กับมัน ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ดิ้นรนคิดเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ไม่แทรกแซงสภาวะ เมื่อวิปัสสนา( เห็นตามความเป็นจริง ) หรือ วิปัสสนาญาณ (เห็นแจ้ง ) เมื่อเขาจะเกิด เขาจะเกิดเอง จงขจัดความอยากที่เกิดขึ้นในจิตออกไปให้หมด


พระอาจารย์ปรีชา ( วัดนาค บางปะหัน ) ท่านสอนว่า
จงทำตัวเหมือนแมงมุม ที่กางใยดักเหยื่อ จงจับเหยื่อกินให้หมด


จงเป็นผู้มีความเพียรเจริญสติปัฏฐานกันเถิด

วันเวลานับวันจะล่วงเลยผ่านไปเรื่อยๆ
เราไม่อาจจะรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า วินาทีต่อไป เราจะมีโอกาสได้ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกหรือไม่


สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายความว่า บุคคลผู้ประสงค์จะฝึกจิต
ให้เกิดศิล สมาธิ ปัญญานั้น ต้องอาศัยสติเป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด
เพราะสติเป็นผู้ควบคุมกายกับใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สติ คอยควบคุมรูปกับนาม
ให้ดำเนินไปถูกทางที่เราต้องการ ดุจบุคคลเลี้ยงเด็กๆที่กำลังซุกซน
ต้องคอยดูแล ระมัดระวังอยู่เสมอ จะประมาทหรือเผลอมิได้ ทางนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๒๕ เป็นต้นไป
กับเล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๐๓ เป็นต้นไป


อินทรีย์ ๕

บรรดาอินทรีย์ ๕ นั้น ถ้าข้อหนึ่งมีกำลังมากเกินไป อินทรีย์นอกนั้นก็พึงทราบว่า
ไม่สามารถทำกิจของตนได้ แต่เมื่อว่าโดยพิเศษแล้ว นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมยกย่อง
สรรเสริญว่า สัทธากับปัญญาต้องเท่าๆกัน วิริยะกับสมาธิต้องเท่าๆกัน เพราะว่าคนที่มีสรัทธามาก
แต่มีปัญญาน้อยย่อมเลื่อมใสโดยลุ่มหลง คือ เลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ควรเลื่อมใส
ส่วนคนมีปัญญามากแต่มีสรัทธาน้อย ย่อมตกไปในฝ่ายเกเรย่อมเยียวยาได้ยาก
ดุจโรคที่เกิดจากยา ย่อมทำให้นายแพทย์เยียวยาได้ยากฉะนั้น

อันธรรมดากุศลย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่าย คือ เพียงจิตตุปปบาทเดียว ก็สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อจิตของบุคคลเป็นไปเร็วอย่างนี้ ถ้าใครไม่ได้ทำบุญ มีทานเป็นต้นไว้
ย่อมตกนรกได้โดยง่ายดายทีเดียว

เมื่อสัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิสม่ำเสมอกัน บุคคลนั้นย่อมเลื่อมใสในวัตถุที่ควรเลื่อมใสเท่านั้น
ถ้าบุคคลมีสมาธิกล้า มีความเพียรอ่อน ความเกียจคร้านย่อมครอบงำได้
เพราะสมาธิเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน

ถ้าบุคคลมีความเพียรกล้า มีสมาธิอ่อน ความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำได้ เพราะวิริยะเป็นไปใน
ฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน ส่วนสมาธิที่บุคคลประกอบด้วยความเพียร ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน
เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมผู้มุ่งหวังตั้งใจต่อมรรค ผล นิพพาน ต้องทำสัทธากับปัญญา
วิริยะกับสมาธิให้สม่ำเสมอกัน อินทรีย์ ๕ เสมอกันเมื่อใด อัปปนาก็เกิดได้เมื่อนั้น


สำหรับผู้ที่เคยเจริญสมถกรรมฐานมาก่อน สัทธาแก่กล้า จึงควร เพราะถ้าผู้นั้นเชื่ออยู่อย่างนั้น
จึงจักถึงอัปปนาได้ ส่วนสมาธิกับปัญญาเอกัคคตามีกำลังแก่กล้าจึงควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้ง
แทงตลอดพระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้

สำหรับผู้เจริญวิปัสสนา ปัญญาต้องมีกำลังแก่กล้าจึงจะควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้งแทงตลอด
พระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้

ส่วนสตินั้น ต้องการให้มีกำลังกล้า ในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตไว้ไม่ให้ตกไปอยู่ในความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
แห่งสัทธา วิริยะ ปัญญา ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน และรักษาจิตไว้ไม่ให้
ตกไปสู่ความเกียจคร้ายด้วยสมาธิ ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น สติจึงจำเป็นต้องปรารถนาในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
และเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินปรารถนาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น

อาศัยเหตุดังพรรณนามาฉะนี้ ท่านจึงตั้งคำถามและคำตอบไว้ว่า เพราะเหตุไร
สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่ระลึก
และสตินั้นมีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆเป็นลักษณะ คือเป็นเครื่องหมาย เป็นป้ายบอกให้รู้
มีความหลงไม่ลืม เป็นหน้าที่ มีการรักษาอารมณ์ไว้เป็นอย่างดี
เป็นผลปรากฏคือ มีหน้าที่มุ่งตรงต่ออารมณ์


จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๒ ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก

.....................................................

ละเหตุได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ความหมดกิเลสทั้งปวงเป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย

มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน ( ตามความเป็นจริง )
เหตุมี ผลย่อมมี ทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้นแล


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28295
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 06:26:29 pm โดย jaravee »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: โสฬสญาณ ( ญาณ ๑๖ )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 06:17:43 pm »
0
" เอกายโน อยํ ภิกเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ
สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฐานา "

" ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก
เป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อก้าวล่วงความเศร้าโศกปริเทวนาการ เพื่อดับทุกข์ทางกาย
ดับทุกข์ทางใจของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งพระนิพพาน
ทางนั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ "


" อิเมสํ โข พฺราหฺมณ จตุนฺนํ สติปฏฐานานํ อภาจิตตฺตา
อพหุลีกตตฺตา ตถาคตโตปรินพฺพุเต สทฺธมฺโม จิรฐิติโก โหติ "

" ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล
พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว "


" อิเมสํ โข พฺราหฺมณ จตุนฺนํ สติปฏฐานานํ ภาจิตตฺตา
พหุลีกตตฺตา ตถาคตโตปรินพฺพุเต สทฺธมฺโม จิรฐิติโก โหติ "

" ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลได้เจริญ ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล
พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว "


ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28295
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: โสฬสญาณ ( ญาณ ๑๖ )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 06:20:00 pm »
0
ปลูกอินทรีและพละ

กุศลธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า " อินทรีย และ พละ " นี้เป็นพลังทางจิต
ซึ่งมีอยู่ในตัวเรา และพร้อมที่จะปลุกให้ตื่นหรือเพาะให้งอกงาม แล้วนำมาใช้ประโยชน์
แก่ตนได้อย่างมหาศาล ท่านจำแนกกุศลธรรมเหล่านี้ไว้ ๕ อย่างเท่ากัน และเรียกชื่อต่างกันไป
ตามหน้าที่ว่า อินทรีย ๕ และ พละ ๕ ดังนี้

๑. ศรัทธา ความเชื่อเลื่อมใส

๒. วีริยะ ความเพียร

๓. สติ ความระลึกรู้

๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น

๕. ปัญญา ความรอบรู้

แต่แบ่งตามหมวด เรียกตามคำบาลี ดังนี้

อินทรีย ๕ _____ พละ ๕

๑. สัทธินทรีย _______ ๑. สัทธาพละ

๒. วีริยินทรีย _______ ๒. วีริยพละ

๓.สตินทรีย ________ ๓. สติพละ

๔. สมาธินทรีย _______ ๔. สมาธิพละ

๕.ปัญญินทรีย ________ ๕. ปัญญาพละ

คำว่า อินทรีย แปลว่า ความป็นใหญ่ มีหน้าที่ดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกัน
มิให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามารุกรานเขตแดนและรังแกผู้อยู่ใต้ความคุ้มครอง

อินทรีย เป็นธรรม มีหน้าที่ในการคุ้มครองป้องกันและปราบปรามอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้าม
ไม่ให้ล้ำเข้ามาในเขตอำนาจ และที่เรียกว่า " พละ "

" พละ " ธรรมเหล่านี้ เป็นหน่วยกำลังปลุกหรือเพาะให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นพละกำลัง ให้สามารถ
ทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง เป็นธรรมที่มีอนุภาพยิ่งใหญ่ สามารถปราบปรามข้าศึกคือ กิเลสอาสวะ
ตั้งแต่ขนาดย่อม จนถึงขนาดใหญ่ให้สงบราบคาบ เป็นขั้นตอน จนถึงหมดสิ้นไปได้
ซึ่งจะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง โดยตามลำดับตามญาณที่เกิดขึ้น

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โสฬสญาณ ( ญาณ ๑๖ )
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 06:27:32 pm »
0
แนะนำให้อ่านต่อ นะครับ

กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5700.0



ที่จริงเรื่องนี้ น่าจะติดหมุดนะครับ
บันทึกการเข้า

แก้ว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 10:06:43 am »
0
เห็นด้วยคะ ว่าเรื่องนี้ที่พระอาจารย์โพสต์ไว้ควร ติดหมุดคะ ที่จริงหาอ่านอยู่เช่นกันคะแต่จำชื่อกระทู้ไม่ได้คะ เรื่องนี้ถือได้ว่ามีเนื้อหาที่พระอาจารย์บรรยายเรื่องวิปัสสนา อย่างย่อไว้ด้วยนะคะ


ผู้ดูแล โปรดรับไว้พิจารณา ติดหมุดไว้ด้วยคะ  ขอบคุณคะ
 :c017:
 
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2012, 10:55:47 am »
0
ปิดอบายภูมิ ก็คือ พระโสดาบัน คะ

ดังนั้น วิธีการเป็นพระโสดาบัน ดีที่สุด ให้ทำความเข้าใจเรื่อง อริยสัจจะ 4 ประการ ให้เข้มข้น นะคะ

อันนี้จากคำสอนของพระอาจารย์คะ ส่วน มหาสติปัฏฐานกว้างเกินไปคะ

  พระสูตรบทแรก ชื่อ ว่า ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ควรอ่าน หลาย ๆ รอบ คะถ้าต้องการปิดอบายภูมิ นะคะ


 :58: :49:
 
บันทึกการเข้า