ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวลาที่ไม่สบายใจ.หรือ มีปัญหา เข้ามา รุ้สึกหัวใจมันเต้นเร็วมีวิธีแก้ไขหรือไม่คะ  (อ่าน 3274 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

จำเรียง

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาที่ไม่สบายใจ.หรือ มีปัญหา เข้ามา รุ้สึกหัวใจมันเต้นเร็วมีวิธีแก้ไขหรือไม่คะ

  คือสังเกตตนเอง เวลาเจอเรื่อง ที่รู้สึกกดดัน แล้ว รู้สึกหัวใจมันเต้นเร็ว เหมือนตื่นเต้น คะ
เป็นแล้วรู้สึกไม่ค่อยดี เลยคะ อยากทราบใครพอมีวิธีแก้ไข อาการอย่างนี้บ้างคะ ต้องทำอย่างไร คะช่วยแนะนำหน่อยคะ
 
  อาการที่เป็น คือ หัวใจเต้นเร็ว อึดอัด นอนไม่หลับ กินไม่ได้ ใจสั่น.... แถมทำให้เป็น คนหวาดระแวง ด้วยคะ

  เพื่อน ๆ แนะให้ไปเที่ยว ก็ไปแล้ว ไม่หาย คะ กลับมาก็เป็นอีก... คะ
  แต่จะสบายใจเวลา อยู่ กับ พ่อและแม่ มีความรู้สึกเหมือนว่า(  มีคนป้องกันภัยให้คะ ) แต่ชีวิตคนทำงานต่างจังหวัดด้วยแล้ว มาคนเดียวรู้สึก วังเวง ... และ ระแวงคะ

   :c017: :58:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพราะความกลัว นะครับ คนเราก็มีความกลัว เป็นธรรมดาครับ ดังนั้น
ความกลัวจะหมดไปได้ ก็ต้องมองเห็นความจริงได้ว่า ความกลัวนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่ากล้ว

 การที่ฃจัดความกลัว ได้ จัดได้ว่าเป็นระดับ ของ พระโสดาบัน นะครับ คือละสักกายทิฏฐิ ว่านี่เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา นะครับ

   ดังนั้นการที่จะละสักกายทิฏฐิได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ นะครับ เพราะต้องมีการฝึกฝน ศีล สมาธิ ปัญญา มาระดับหนึ่ง มีการสร้างบารมีมาแล้ว ด้วยไม่ใช่นึกจะละก็ละได้เลย ( อันนี้เป็นส่วนที่พระธรรมเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยาก )

    คิดว่า ฝึกนั่งกรรมฐาน เดินจงกรม ตามแบบกรรมฐาน ก็น่าจะบรรเทาได้ก่อนนะครับ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
- การแก้ไขโดยวิธี การเจริญวิปัสนา
      สภาพจิตที่รู้สึก อึดอัดใจ อัดอั้นใจ หวีดหวิวสั่นใจ และ ความรู้สึกทางกายที่คุณรับรู้ถึงการเต้นเร็วและแรงจนรู้สึกได้นั้น ทางธรรมเรียกว่าสภาพปรมัถธรรม มันคือ สภาพจริงที่เกิดขึ้นตจริงๆที่รับรู้ได้ทุกคน ทุกชาติ นี่ถือว่าเป็นข้อดีข้อหนึ่งที่ทำให้คุณรู้ในวิปัสนากัมมัฏฐาน หากจะแก้ในทางวิปัสนานั้น ให้คุณพิจารณารู้สภาพจิตและกายที่เกิดขึ้นนี้ไปเรื่อยๆ **โดยไม่ต้องให้ความหมายบัญญัติมันว่า สภาพความรู้สึกนี้คือความรู้สึกที่เรียกว่าอะไร เช่น โกรธ อยาก กลัว ไม่ชอบ** ให้แค่รู้ว่าสภาพแบบนี้มันเกิดขึ้นกับคุณเฉยๆ ไม่นานมันจะดับไปเอง เพราะเมื่อจิตคุณจดจ่ออยู่กับมัน สติและสมาธิจะเข้ามาแทรกแทนความปรุงแต่งนึกคิด
- การแก้ไขโดยวิธี ดับที่เหตุของทุกข์
      คุณต้องระลึกย้อนมองดูดังนี้ว่า
      1. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า สิ่งที่คุณไม่สบายใจ สิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์อยู่นั้น เพราะเรื่องอะไร สิ่งใดๆ
      2. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า ที่คุณไม่พอใจในสิ่งนั้น หรือ เรื่องนั้น นั่นเพราะมันขัดใจ ขุ่นเคืองใจกับสิ่งใดที่คุณต้องการและสำคัญมั่นหมายเอาไว้
      3. ทบทวนตรึกตรองเพื่อมองหาว่า คุณมีความ พอใจยินดี ใคร่ได้ ปารถนา กับสิ่งใดๆอยู่ มีสิ่งใดเป้นีท่ตั้งของจิตให้พอใจยินดีต่อสิ่งนั้นๆ
      4. เมื่อคุณรู้ สิ่งที่คุณพอใจยินดี ใค่ได้ปารถนา ตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจแล้ว ให้พึงพิจารณาเช้าใจดังนี้ว่า
          - ไม่มีสิ่งใดที่เป็นไปดั่งใจเราพอใจยินดี ปารถนาใคร่ได้ไปทุกอย่าง คนเรามีความผิดหวังไม่สมความปารถนาเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้
          - คนเรามีความพรัดพรากจากวิ่งอันเป้นที่รักที่พอใจทั้งหลายเป็นที่สุด ไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อม การดูแลรักษาของเรา หรือ กาลเวลาที่ล่วงเลยไป จะล่วงพ้นจากสิ่งนี้ไปไม่ได้
          - ดังนั้น เมื่อมีทั้ง 2 สิ่งข้างต้นที่เป็นสัจธรรมอันแท้จริงแล้ว เราทั้งหลายย่อมจะประสบพบเจอกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ที่พอใจยินดี ไม่ใคร่ได้ ไม่ต้องการ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน เป็นสิ่งที่แน่นอนและแท้จริงอยู่เป็นประจำทุกวัน อย่างหลีกเลียงให้พน้ไปไม่ได้
          - เพราะเราทุกต้องเจอสัจธรรมที่แท้จริงทั้ง 3 ข้อข้างต้นนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงควรทำให้ใจยอมรับในสภาพความเป้นจริงนี้ๆในชีวิตเสีบ ให้มองว่าเราต้องพบเจอเรื่องพวกนี้เป็นธรรมดาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วพึงลดละความติดข้องใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นเคืองใจใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ใจเราเสีย เพราะติดข้องใจไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆแก่เรานอกจากความเป้นทุกข์แก่ตนเอง จากนั้นให้พึงระลึกจิตให้เกิดความเป็นกุศลจิตเกิด ตั้งมั่นคงอยู่ในกุศล รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม เข้าสู่สภาวะเมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต มุทิตาจิต จนเข้าสู่ความวางใจกลางๆไม่ติดข้องใจสิ่งใดๆทั้งในสิ่งที่เราพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี แล้วความทุกข์จะไม่เกิดแก่คุณอีก

ศึกษาแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นได้ตาม Link นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

sanrak

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทุกท่านตอบ ได้อย่างมีสาระประโยชน์ มากเลย โดยเฉพา คุณ Admax ใส่ใจในการตอบมากเท่าที่อ่าน คะ

สาธุ สาธุ สาธุ

 
บันทึกการเข้า