ธรรมะสาระ > ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด

รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ

<< < (3/5) > >>

อัจฉริยะ:
ยาวมาก ขอ บาย ก่อนครับ ตอนนี้ขอสั้น ๆ ก่อนครับ

ธรรมะ ปุจฉา:
ผู้ใดฉลาด จะนำเพียงแค่บางบทสั้นๆ ไปใช้ไปสวดก็ทำได้ มิต้องสวดทั้งหมด ก็สำริตผลที่สวดใช้ จักได้ใช้ชีวิตที่คร่องขึ้น  :25:

intro:
ขอบคุณมาก ๆ ครับ
 :c017:




ธรรมะ ปุจฉา:
นิทานพจน์

   การสวดมนต์หรือเจริญพระพุทธมนต์นั้นถือเป็นกิจจำเป็นอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชนที่จะต้องให้ความสำคัญพอๆ กับศาสนกิจอื่นๆ และมีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยเฉพาะพระสงฆ์จะต้องทรงจำพระสูตร พระปริตร คาถา ปาฐะต่างๆ ให้ได้มากพอสมควร เพื่อที่จะได้นำไปใช้โปรดศรัทธาญาติโยมในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เช่น ทำบุญต่ออายุ ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น จำต้องใช้บทสวดต่างๆ เหล่านี้ไปสวดสาธยายเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ทายกทายิกาและเคหะสถานบ้านช่อง  จึงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ปรากฏหลักฐานทางฝ่ายบาลีค่อนข้างมากแห่ง ดังนั้นพระสงฆ์จึงคู่กับกิจนิมนต์และเป็นกรณียะอย่างหนึ่งดังปรากฏทางพระวินัยว่า เมื่อรับนิมนต์แล้วไม่ไป เป็นปฏิสสวทุกกฏ (เป็นอาบัติ                  ทุกกฏเพราะรับคำ) ในระยะเริ่มแรกหรือมูลเหตุของการเจริญพุทธมนต์นั้น คงเนื่องมาจากการสาธยายธรรมของภิกษุทั้งหลาย ตามวัดวาอารามต่างๆ โดยมากเป็นไปในรูปแบบของการสาธยายพระกัมมัฏฐาน เช่น สาธยายอาการ ๓๒ ในร่างกาย เพื่อพิจารณาให้เห็นสิ่งปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น เป็นการกำหนดพิจารณาอารมณ์กัมมัฏฐานต่างๆ หรือเป็นการสาธยายพระพุทธพจน์เพื่อทรงจำไว้มิให้สูญหาย เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

พิธีกรรมจึงเกิดขึ้นในวัดก่อน ต่อมาจึงแผ่ขยายออกมานอกวัด เริ่มจาก           มีศรัทธาญาติโยมนิมนต์พระมาเลี้ยงที่บ้าน และเพื่อตอบแทนอุปการคุณของทายก      ทายิกาที่ให้การอุปถัมภ์บำรุง พระสงฆ์เองจำต้องมีสิ่งปฏิการะเป็นธรรมบรรณาการด้วยการกล่าวมงคล๑ หรือธรรมกถาบทหนึ่งหรือสองบทเป็นอย่างน้อย เพื่อให้เจ้าภาพอาจหาญ ร่าเริง บันเทิงในพระธรรมคำสอนและอิ่มเอิบในปุญญาวัจจมัยที่ได้บำเพ็ญ    ไปแล้วนั้นและเพื่อปลูกศรัทธาปสาทะของเจ้าภาพให้ยิ่งๆ ขึ้นไป  เบื้องแรกก็คงไว้ภาระให้เป็นหน้าที่ของพระสังฆเถระ(ประธานสงฆ์) หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งซึ่งได้  รับสังฆานุมัติ ทำหน้าที่สวดสาธยายเพียงรูปเดียวก่อน ต่อมาภายหลังจึงนิยมสาธยายพร้อมกันเป็นหมู่คณะ
   บทสวดต่างๆ นั้นเป็นภาษาบาลีหรือมคธพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ในสมัยพุทธกาลเป็นชาวมคธ หรือผู้ที่ไม่ใช่ชาวมคธก็เข้าใจภาษามคธเป็นอย่างดี  เพราะเป็นภาษากลางทางพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงใช้ในการประกาศศาสนธรรม ดังนั้นผู้ที่ฟังพระสวดจึงรู้ความหมายเป็นอย่างดีว่า พระท่านสวดอะไรบ้าง เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่ขยายเข้ามาในประเทศของเรา พระเถระทั้งหลายได้นำเอาธรรมเนียมปฏิบัตินี้มา            ใช้ด้วย แต่เนื่องจากบ้านเมืองเราเป็นปัจจันตประเทศ นอกเขตแดนชมพูทวีป มิได้ใช้ภาษาบาลีหรือมคธเหมือนอย่างชาวอินเดียโบราณ จึงไม่สามารถจะเข้าใจความหมายของบทสวดต่างๆ ที่เป็นภาษาบาลีได้ ยกเว้นเฉพาะแต่ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาเท่านั้น ภาษาบาลีจึงกลายเป็นของสำหรับกาลเทศไป เมื่อไม่รู้ความหมาย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมยกย่องว่า ภาษาบาลีหรือบทสวดบาลีเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นที่รวบรวมพระพุทธวจนะทั้งหมดเอาไว้นั่นเอง จึงนิยมนำมาใช้สวดสาธยายเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ต่อมาเมื่อมีผู้นิยมนับถือมากเข้าก็เลยกลายเป็นธรรมเนียมไป
   ปัจจุบันทางภาคเหนือมีพระภิกษุบางรูป และพุทธศาสนิกชนบางท่านมีอคติ           ต่อการทำวัตรสวดมนต์แปลด้วยคิดเห็นว่า เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาไทยแล้ว คำสวดต่างๆ ก็จะหมดพลังความขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ไป ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ต้องด้วย               องค์คุณของผู้สวดพระปริตร ๓ ประการคือ
๑.  สวดถูกอักขระ
   ๒. สวดให้ครบบริบูรณ์  ไม่ทำบทพยัญชนะให้ขาดตกบกพร่อง และ                           รู้ความหมายของบทสวดนั้นด้วย 
   ๓.  ตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาปรารถนาจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง๑    
   เช่นนี้แล้วพระปริตรจะไม่ทรงอานุภาพได้อย่างไร สำหรับข้าพเจ้านั้นไม่นิยมปฏิบัติ แต่ก็ไม่คัดค้านโดยให้เหตุผล ๓ ประการเช่นกันคือ
๑.    รู้ความหมายบทสวดดีอยู่แล้ว 
   ๒. จะต้องใช้เวลามากในการสาธยาย และ 
   ๓. ต้องการให้การสวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
   ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงแม้จะไม่รู้ความหมายที่พระท่านสวด แต่ถ้าตั้งใจฟังโดยสัจจเคารพและเลื่อมใสแล้วเชื่อได้เลยว่าจะต้องได้รับการคุ้มครองป้องกันโดยอานุภาพของพระปริตรอย่างแน่นอน ดังเช่น ค้างคาวห้าร้อยตัวฟังพระภิกษุสองรูปสาธยายพระอภิธรรมที่เงื้อมผาแห่งหนึ่งในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะ พอสิ้นชีวิตลงได้ท่องเที่ยวไปในระหว่างเทวโลกและมนุษย์โลกนับครั้งไม่ถ้วน ในชาติสุดท้ายได้มาเกิดเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล และได้ออกบวชจนสำเร็จเป็น                  พระอรหันต์หมดทุกรูป เป็นตัวอย่าง




ธรรมะ ปุจฉา:
บทสวดต่างๆ ที่พระสงฆ์นำมาใช้สวดสาธยายนั้นรวบรวมเอามาจากพระ                พุทธวจนะต่างๆ ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นส่วนมาก และเรียกว่า พระปริตรบ้าง                 พระสูตรบ้าง คาถาและปาฐะบ้าง นอกนั้นก็เป็นเถรภาษิตบ้าง เช่น อังคุลิมาลปริตร เป็นต้น เทวตาภาษิตบ้าง เช่น อาฏานาฏิยสูตร เป็นต้น เป็นบทสวดที่ครูบาอาจารย์ภายหลังแต่งขึ้นมาใหม่ และใช้สวดสืบต่อกันมาบ้าง เช่น โย จักขุมา, สัมพุทเธ เป็นต้น เกี่ยวกับการกำเนิดพระปริตรนั้นอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ได้เขียนไว้ในหนังสืออานุภาพพระปริตต์ของท่านไว้น่าฟังมากดังนี้ (อักขรวิธีใช้ตามต้นฉบับเดิม)
   เรื่องการนับถือพระปริตต์เป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์คงมีมาก่อนพุทธกาล             เช่น มีอ้างถึงการทำน้ำพระปริตต์ (ปริตฺตปาน) ทรายพระปริตต์ (ปริตฺตวาลุกา) และด้ายพระปริตต์ (ปริตฺตสุตฺต) ในเตลปัตตชาดก๑และมีผู้กล่าวว่าพระพุทธศาสนารับเอาแนวความคิดเรื่องพระปริตต์นี้มาจากรักษมนตร์ ในคัมภีร์อาถรรพเวท (อาถรฺวเวท) แล้วดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “ปริตฺตา”*แม้จะมีผู้โต้แย้ง ** แต่ในบางปริตต์ก็ยังนำเอาคำว่า “รกฺษ” มาใช้ในรูปคำบาลี


๑   ชาตกฏฺกถา, ทุติยภาค, น. ๒๓๖ – ๒๔๘   
*   Sacred Book of the Buddhists, Dialogues of the Buddha, part III, pp. 170, 186.
**   ปิยทัสสีเถระ ใน The  Book of Protection, pp. 11-12

ว่า  “รกฺขา” ควบคู่กับ “ปริตฺตา” เช่น กตา เม รกฺขา, กตา เม ปริตฺตา  “ข้าพเจ้าได้ทำการป้องกันรักษาแล้ว, ข้าพเจ้าได้ทำการคุ้มครองป้องกันแล้ว” หรือใช้แทนกัน เช่น  อยํ โข สา มาริส อาฏานาฏิยา รกฺขา “ดูก่อนสหายผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยารักขานั้นนี้แล” และคงรับเข้ามาเป็นแนวปฏิบัติ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะมีคำกล่าวถึงในคัมภีร์                 ภิกขุนีวิภังค์***ว่าพระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้นางภิกษุณีเรียนหรือบอกติรัจฉานวิชาใครเรียนหรือบอกต้องอาบัติ แต่ผู้เรียนและบอกพระปริตต์ เพื่อคุ้มครองป้องกันตัวไม่เป็นอาบัติ (รายละเอียดหาอ่านได้จากหนังสือเล่มนั้น)
   ปัจจุบันพระสงฆ์ทางภาคเหนือใน ๘ จังหวัดล้านนาประกอบด้วย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, น่าน, พะเยา, เชียงราย นิยมเจริญพระพุทธมนต์แบบพิสดารที่เรียกว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในพิธีมหามังคลาภิเษก อบรมสมโภช เฉลิมฉลองต่างๆ เช่น                   เบิกบายราศี พระเจดีย์ วิหาร อุโบสถที่สร้างใหม่ ยกช่อฟ้าใบระกา ผูกพัทธสีมา                  พุทธาภิเษกพระประธาน บวชต้นโพธิ์ หรือปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ตลอดจนถึงงานเทศกาลของวัด (งานประเพณีประจำปี) เป็นต้น ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ก็จะใช้บทสวดอย่างพิสดาร และเรียกการสวดในพิธีใหญ่นี้ว่า “สวดมนต์ตั๋น” คือสวดหมดทั้งบทขัดและบทสวด ไม่มีการตัดตอนหรือจะเรียกว่า สวดเต็มสูตร หรือเต็มอัตราก็ได้
   เกี่ยวกับคำว่า “สวดมนต์ตั๋น” นั้น เอาเฉพาะความหมายของคำว่า “ตั๋น” ก่อน                มีผู้รู้หลายท่านให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายไว้หลายนัยดังนี้
   ๑.คำว่า ตั๋น มาจากคำว่า ตันติ ในภาษาบาลีที่แปลว่า ระเบียบแบบแผน หรือเส้นด้าย ดังนั้นจึงควรเขียนใหม่ตามรูปศัพท์เดิมว่า  “มนต์ตันติ์”  เมื่อรวมกับคำว่า  สวด เป็น “สวดมนต์ตันติ์” จึงมีความหมายว่า การสวดอย่างมีระเบียบแบบแผน คือ สวดแบบมีจังหวะทำนองซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคเหนือตอนบน อย่างทางภาคกลางนิยมสวดเป็นทำนองสังโยคแบบช้าๆ เนิบนาบ แต่ทางล้านนาจะเน้นการสวด

***      อนาปตฺติ.....คุตฺตตฺถาย  ปริตฺตํ  ปริยาปุณาติ....วาเจติ. วินยปิฏก, ภิกขุนีวิภังค์ ๓
      น. ๑๗๗, ๑๗๘

แบบเร็ว ก็จะมีจังหวะและท่วงทำนองไปอีกแบบหนึ่ง และทำนองจังหวะของแต่ละจังหวัดก็จะแตกต่างกันออกไป อย่างเมืองน่านจะใช้จังหวะม้าย่ำไฟหรือ ม้าเหยียบไฟ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะการสวดแบบเร็วมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ชาวภาคกลางฟังพระทางเหนือสวดแล้วไม่รู้เรื่อง เพราะชินกับทำนองสวดของทางภาคกลางนั่นเอง หรือมีความหมายว่าการสวดที่ยืดยาวใช้เวลามาก โดยอุปมาด้วยความยาวของเส้นด้าย
   ๒. คำว่า ตั๋น ในที่นี้เป็นภาษาล้านนาตรงกับภาษาไทยกลางว่า ตัน นั่นเอง ดังนั้นจึงเขียนตามรูปศัพท์ได้ว่า “สวดมนต์ตัน” และออกเสียงตามภาษาล้านนาว่า                   “สวดมนต์ตั๋น” ซึ่งมีความหมายว่า การสวดโดยบรรจุบทสวดหรือพุทธมนต์ลงไปให้ครบหมดจนเกือบทุกสูตร หรือสวดเต็มที่นั่นเอง บางแห่งเรียกการสวดในลักษณะนี้ว่า            “สูตรตังลำ” คือสูตรทั้งลำหรือทั้งท่อน  มีคำกล่าวเกี่ยวกับการสวดในลักษณะทำนองนี้ว่า “ตั๋นผิ๊ตั๋นผิง” หรือ “เข้าเลิ้กเข้าเดิ้ก”  คือจะต้องชักมาสวดจนหมดไส้หมดพุงกันเลยทีเดียว ดังนั้น มนต์ตั๋นจึงมีลักษณะที่ไม่ตายตัว จะลดหรือเพิ่มบทสวดขึ้นอยู่กับประธานสงฆ์ผู้นำสวด
   ๓.  คำว่า ตั๋น มาจากคำว่า ตันตระ ซึ่งเอามาจากลัทธิตันตระของพราหมณ์ดังนั้นจึงควรเขียนใหม่ว่า “สวดมนต์ตันตร์” เกี่ยวกับความหมายตามลัทธิตันตระซึ่งออกมาจากอาถรรพเวท และมีผู้เพิ่มหลักการในคัมภีร์ฮินดูเข้ามาใหม่แบ่งออกเป็น ๔ ภาค คือ
   ๓.๑ ศรุติ  หมายถึง พระเวทที่ฤๅษีทั้งหลายรับทราบมาจากเทพเจ้า  เรียกยุคนี้ว่า
“สัตยยุค” หรือ “กฤตยุค” อันได้แก่ยุคทองหรือยุคที่ธรรมะสมบูรณ์เต็มที่
   ๓.๒ สมฤติ  หมายถึง ยุคความรู้ที่ฤๅษีทั้งหลายระลึกได้ สำหรับยุคนี้เรียกว่า                     “เตรดายุค” อันเป็นยุคที่ธรรมะเสื่อมลง ๑ ใน ๔
   ๓.๓ ปุราณะ หมายถึง นิยายเก่าแก่ที่ใช้เล่าเพื่อช่วยให้ผู้มีสติปัญญาเสื่อมลงกว่าเดิม เข้าใจหลักธรรมได้ดีกว่าเดิม เรียกยุคนี้ว่า “ทวาปรยุค” อันเป็นยุคที่ธรรมะเสื่อมลงครึ่งหนึ่ง
   ๓.๔ ตันตระ หมายถึง ปัญญาที่แผ่ไปเพื่อป้องกันอันตรายสำหรับ
“กลียุค”  คือ ยุคปัจจุบันอันเป็นยุคเสื่อม หรือยุคแห่งการทะเลาะวิวาท ซึ่งธรรมะเสื่อมลงไป ๓ ใน ๔ (การแบ่งยุคตามลัทธิฮินดูซึ่งไม่เหมือนศาสนาอื่น)

คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกาแสดงอายุของยุคทั้ง ๔ ไว้ดังนี้
   ตตฺร กตยุคสฺส มนุสฺสสงฺขฺยาย ปมาณํ อฏฺวีสติ สหสฺสาธิกานิ สตฺตรสวสฺส-                ลกฺขานิ. (กฤตยุคมีอายุประมาณ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   เตฺรตาย ฉนฺนวุติสหสฺสาธิกานิ ทฺวาทส วสฺสลกฺขานิ. (เตรดายุคมีอายุประมาณ ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   ทฺวาปรสฺส จตุสฏฺิสหสฺสาธิกานิ อฏฺ วสฺสลกฺขานิ. (ทวาปรยุคมีอายุประมาณ ๘๖๔,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   กลิสฺส พาตฺตึสสหสฺสาธิกานิ จตฺตาริ วสฺสลกฺขานิ. (กลียุคมีอายุประมาณ ๔๓๒,๐๐๐ ปีของมนุษย์)
   ภาษาบาลีคำว่า “ตัน” มาจาก  ตนฺ ซึ่งเป็นธาตุ (Verbal root)  แปลว่า “แผ่ไป”                (to strech, extend) ตระ เป็นปัจจัยใช้แทนคำว่า “ป้องกัน” หรือ “ช่วยให้ปลอดภัย” ดังนั้นสวดมนต์ตันตร์ หรือ สวดมนต์ตั๋นตร์ ตามนัยนี้จึงมีความหมายว่าสวดมนต์ที่          แผ่ไปเพื่อป้องกันอันตราย โดยนัยดังกล่าวเชื่อกันว่าสวดมนต์ตั๋นตร์เป็นบทสวดที่สามารถชำระล้างอุบาทว์จัญไรต่างๆ ได้ เมื่อนำไปสวดในสถานที่ใดจะทำให้เกิดสวัสดิมงคลขึ้นในที่นั้น
   ๔.   คำว่า ตั๋น ในที่นี้ตามทัศนะของข้าพเจ้า สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “สุตตันตะ” ซึ่งหมายถึง พระสูตรอันนับเข้าหนึ่งในสามของพระไตรปิฎก แยกออกเป็นสองคำคือ สุตตะ + อันตะ รวมกันเป็น สุตตันตะ  อันตะ เป็นเพียงสกัตถปัจจัยไม่มีความหมายอะไร ดังนั้นคำว่า สุตตะ กับ สุตตันตะ จึงมีความหมายอย่างเดียวกัน และคำว่า “สวดมนต์ตั๋น” ในที่นี้น่าจะมาจาก “สวดตั๋น” ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า                  “สูตรตั๋น” และคำว่า “สูตรตั๋น”  ก็เพี้ยนมาจากคำว่า “สุตตันตะ” อีกต่อหนึ่ง ส่วนคำว่า มนต์ เป็นคำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง ตามนัยนี้คำว่า สวดมนต์ตั๋น ควรเรียก “สูตตันต์” และออกเสียงตามสำเนียงล้านนาว่า “สูตตั๋นต์”
   คำว่า “สวด” นั้นเป็นคำที่ใช้ในภาษากลางเท่นั้น ภาษาล้านนาไม่มีใช้ แต่จะใช้คำว่า “สูตร” ซึ่งที่จริงควรเขียน “สูต” เพราะมาจากคำว่า สุตตันตะ หรือจะเขียน “สูด” ก็ได้ แต่ความหมายไปซ้ำกับกริยาที่แปลว่า ดม จึงเขียน สูตร หรือ สูต เสียดังนี้

เนื่องจาก ชาวไทยกลางกับล้านนาเวลาออกเสียงลิ้นไม่เหมือนกันจึงพูด สูด เป็น สวด ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับอิทธิพลการพฤทธิ์สระมาจากภาษาบาลีกล่าวคือ อุ อู เป็น โอ, โอ เป็น อว โดยนำมาดัดแปลงใหม่เพื่อให้เข้ากับลิ้นของตน จาก อุ อู เป็น โอะ โอ จาก โอะ โอ เป็น อัวะ อัว และไทยเผ่าต่างๆ นิยมออกเสียงต่างกัน เช่น คำว่า กำพุ้ง, กำพ้ง-                     กำโพ้ง, กำพ้วง (หมายถึง แมลงมุม) ในทางกลับกัน อัวะ อัว ก็อาจกลับเป็น โอะ โอ หรือ โอะ โอ ก็กลับเป็น อุ อู ได้เช่นกัน เหมือนคำว่า “หัว” ไทยบางเผ่าออกเสียง “โห” คำว่า “ห้วน” ในภาษาไทยกลาง ไทยเผ่าอื่นออกเสียงเป็น “หุ้น” นอกจากนี้ยังยักเยื้องไปเป็น หิ้น,เหี้ยน ได้อีก หรืออย่างคำว่า “ลง” “ข้น” ไทยบางเผ่าออกเสียง “ลุง” “ขุ้น” เป็นต้น
   ดังนั้น คำว่า สูต หรือ สูด ในภาษาล้านนาจึงกลายมาเป็น สวด ในภาษา                 ไทยกลาง และนำมาใช้เป็นคำกริยาหมายถึง ท่องบ่นสาธยาย ซึ่งคำว่า “สวด” ในภาษาไทยกลางน่าจะตรงกับคำว่า สวาธ (อ่านควบกล้ำ ไม่อ่านสะหวาด) ในภาษาล้านนา ซึ่งตัดเอามาจากคำว่า สวาธยาย (ดูวินิจฉัยคำว่า สวาธ - สังวาธ ในหนังสือล้านนาวินิจฉัยของข้าพเจ้า) หมายถึง สวดมนต์, ร่ายมนต์, ท่องมนต์ หรือเสกคาถา            ซึ่งทางล้านนามีที่ใช้ต่างกันดังนี้  ถ้าเป็นการสวดมนต์อย่างเจริญพุทธมนต์ ไม่เรียก สวาธ แต่เรียก สูตร หรือ ตั้งสูตร บางทีเรียก สูตรมังคละ หรือ สูตรมนต์ ซึ่งหมายถึงเจริญพุทธมนต์นั่นเอง แต่ถ้าเป็นสวดหรือท่องอย่างท่องมนต์คาถาจะเรียกว่า สวาธ ดังนั้นคำว่า “สวดมนต์ตั๋น”  จึงควรเรียกให้ตรงตามคำล้านนาเดิมว่า  “สูตรมนต์ตั๋น”
   ตามทัศนะของข้าพเจ้าๆ ให้น้ำหนักกับนิยามคำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ                      สูตรมนต์ตั๋น ข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๔ มากกว่าข้ออื่นๆ กล่าวคือ คำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ตามนัยข้อ ๒ นั้นมาจากคำว่า   สวดมนต์ หรือ สูตรมนต์ และคำว่า ตั๋น ซึ่งมีความหมายว่า ตัน สองคำรวมกัน และมีความหมายในตัวไม่ต้องแปล ส่วนตามนัยข้อที่ ๔ นั้น ทั้งสองคำนี้มาจากคำว่า สวดตั๋น หรือ สูตรตั๋น ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจาก        คำว่า สุตตันตะ (สุตฺตนฺต) ในภาษาบาลี ดังนั้นคำๆ นี้ควรจะเขียนให้ตรงกับรากศัพท์เดิมว่า สูตตันต์ หรือ ปรับปรุงใหม่ว่า สูตรตันต์ และออกเสียงตามสำเนียงล้านนาว่า สูตตั๋นต์  ซึ่งตามนัยที่ ๔ นี้ ค่อนข้างจะใกล้ความเป็นจริงอยู่มาก เพราะบทสวดต่างๆ ที่

พระสงฆ์ทางล้านนานำมาใช้สวดโดยมากจะมาจากพระสูตร หรือสุตตันตปิฎกทั้งสิ้น ต่อมาจึงเพิ่มคำว่า มนต์ เข้ามาในระหว่างกลางของคำจึงเป็น สูตมนต์ตั๋นต์ แล้วปรับปรุงใหม่เป็น  สูตรมนต์ตั๋นต์ ซึ่งหมายถึงการสวดหรือสาธยายธรรมตามแนวพระสุตตันตปิฎก แต่ถ้าพิจารณาตามนัยข้อ ๒ คำว่า สูตรมนต์ตั๋นตามความเข้าใจของคนทั่วไปก็น่าจะแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า ต้นตำรับของการสวดมนต์แบบพิสดารหรือยืดยาวนั่นเอง โดยให้ความหมายของคำว่า สูตร ในนี้หมายถึงตำรับ ซึ่งก็ออกจะใกล้ทางความเป็นจริงเช่นกัน เพราะปรากฏว่าพระสงฆ์ทางล้านนาจะท่องจำบทสวดมนต์ได้มากกว่าพระสงฆ์ภาคอื่นๆ  ส่วนคำว่า “สวด” นั้นเป็นคำไทยกลางที่เรายืมมาใช้ ซึ่งคำล้านนาเดิมเราใช้ “สูตร”  สรุปแล้วการสูตรมนต์ตั๋น ก็คือ การเจริญพุทธมนต์แบบพิสดารตามแบบฉบับของล้านนา ซึ่งเมื่อพิจารณาตามนัยทั้ง ๔ ข้อข้างต้นนั้น คำว่า สวดมนต์ตั๋น หรือ สูตรมนต์ตั๋น ก็จะเขียนได้ดังนี้
๑.   สวดมนต์ตั๋นติ์, สูตรมนต์ตั๋นติ์ (สูตมนต์ตั๋น) - การสวดหรือบทสวดที่มี               
แบบแผนหรือเป็นเอกลักษณ์
๒.   สวดมนต์ตั๋น, สูตรมนต์ตั๋น (สูตมนต์ตั๋น) - การสวดหรือบทสวดแบบครบ
เต็มสูตร
   ๓.   สวดมนต์ตั๋นตร์,  สูตรมนต์ตั๋นตร์ (สูตมนต์ตั๋นตร์) - การสวด หรือบทสวดที่แผ่ไปเพื่อป้องกันเหตุเภทภัยต่างๆ
   ๔.   สวดมนต์ตั๋นต์, สูตรมนต์ตั๋นต์ (สูตมนต์ตั๋นต์) หรือ สวดตั๋นต์, สูตตั๋นต์
      - การสาธยายธรรมตามแนวพระสุตตันตปิฎก หรือบทสวดที่นำมาจาก            พระสูตรต่างๆ
   และมีความหมายตามนัยทั้ง ๔ ข้อ ดังกล่าวมา แต่นิยมเขียนแบบสามัญทั่วไปว่า สวดมนต์ตั๋น, สูตรมนต์ตั๋น โดยตัดสะกดการันต์ข้างท้ายออกเสียตามรูปแบบการใช้อักขรวิธีของอักษรธรรมล้านนาเป็น สวฯดม฿น์ตฯตันฯ (สวดมนต์ตั๋น) และ สูต์ม฿น์ตฯตันฯ              (สูตรมนต์ตั๋น - สูตมนต์ตั๋น)  เฉพาะคำว่า สูตร (สูต) เป็นได้ทั้งคำนามและกริยา ที่เป็นคำนามหมายถึงบทสวด อนึ่งคำว่า สูตรมนต์ตั๋น

จะเรียกสั้นๆ ว่า มนต์ตั๋น ดังนี้ก็ได้ และสูตรมนต์ตั๋น๑ นี้น่าจะตรงกับสวดสิบสองตำนาน (สวดมนต์ใหญ่ หรือสวดมนต์ฉบับหลวง) ของทางภาคกลางนั่นเอง แต่มีจุดประสงค์ของการนำไปใช้ต่างกัน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สูตรมนต์หลวง๒  หรือ มังคละหลวง (มหามังคละปริตร)  ส่วนสวดเจ็ดตำนานนั้นเรียกว่า สูตรมนต์น้อย หรือสูตรมนต์ทั้ง ๕ (ปัญจมังคละปริตร) หรือบางทีก็เรียก มังคละ อย่างเดียว ดังปรากฏในคาถาอ้อผะหยาของล้านนาว่า              “เรียนสูตรมนต์น้อยหื้อได้หมดขวง เรียนสูตรมนต์หลวงหื้อได้หมดพร้อม” ดังนี้
   พูดถึงสูตรมนต์ทั้ง ๕ หรือ เจ็ดตำนานนั้นมีที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งคือ แต่เดิมพระสงฆ์ทางล้านนาคงจะสาธยายเพียง ๕ พระสูตร หรือ ๕ ปริตรเท่านั้น คือ เยสันตา, ยานี , กะระณี, ธะชัคคะ, วิปัสสิ ดังที่โบราณาจารย์ทางล้านนาได้ผูกเป็นคาถาหัวใจ         สูตรมนต์ทั้ง ๕ เอาไว้ว่า  เย ยา กะ ธะ วิ    
   อันมนต์ตั๋นนั้นถือว่าเป็นองค์คุณหรือภูมิชั้นของครูบาก็ว่าได้ หมายความว่าพระภิกษุรูปใดจะได้รับการแต่งตั้งหรือยอยกขึ้นเป็นครูบานั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติพิเศษหลายประการ พอสรุปได้ดังนี้

คุณสมบัติของครูบา

   ๑.    เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งด้วยพรรษายุกาล
   ๒.   มีศีลาจารวัตรเพียบพร้อมงดงามเป็นที่เคารพนับถือของศรัทธาสาธุชนทั่วไป
   ๓.   มีความรู้เชี่ยวชาญในบาลีอรรถกถาและคัมภีร์สัททาวิเสสเป็นต้น เรียกว่า
รู้อัตถะบาลีธรรม
   (แทรกกล่าว) เล่ากันว่าครูบาสมัยก่อนโน้นรู้ภาษาสัตว์ต่างๆ สามารถฟังเสียงร้องของนกกาเป็นต้น เข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้เล่าเรียนจบคัมภีร์สัททานก คัมภีร์ที่ว่า

๑   ต่อจากนี้จะใช้คำนี้ทั้งหมด ที่เรียกสวดมนต์ตั๋นนั้นอนุโลมให้ใช้ตามไทยกลาง ส่วนคำล้านนาเดิมคง
   ใช้สูตรมนต์ตั๋น
๒   ปัจจุบันเรียกพุทธมนต์หลวง แต่ชื่อนี้เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาใหม่
นี้อาจจะเนื่องด้วยบทมนต์ ผู้ที่รู้มนต์บทนี้เรียกว่า  “สัพพรวัญญู”  (รู้เสียงสัตว์ทั้งปวง)
ในสมัยพุทธกาลมีผู้ที่รู้มนต์บทนี้เหมือนกัน ได้แก่พระเจ้าพิมพิสาร ท่านยกสาธกมากล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบทเรื่องกุมภโฆสก การรู้เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ นี้ นับเนื่องในโลกวิสัย เป็นวิสัยที่ปุถุชนทั่วไปถึงแม้จะไม่ใช่กัลยาณปุถุชนก็ทำได้ 1 ถือเป็นคุณพิเศษทางโลก แสดงว่าครูบาในสมัยก่อนๆ ท่านศึกษาเจนจบในภูมิโลกเป็นอย่างดี บัดนี้คัมภีร์ดังกล่าวได้อันตรธานสาบสูญไปแล้ว แต่ถ้าหมายเอาพระอริยบุคคล                    ผู้แตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทา ถือว่าเป็นเรื่องพ้นโลกวิสัย  เพราะการรู้ภาษาสัตว์               ทั้งปวงนี้นับเข้าในนิรุตติปฏิสัมภิทา คือปัญญาที่แตกฉานในภาษาต่างๆ ตามที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามัคควัณณนาว่า๑  เทสภาสา  นาม  เอกสตโวหาร-กุสลตา, วิเสเสน ปน มาคธิเก โกสลฺลํ.  “ชื่อว่า เทสภาสา  คือ ฉลาดในโวหารร้อยหนึ่ง [พูดได้ร้อยกว่าภาษา] แต่โดยพิเศษคือช่ำชองในคำพูดของชาวมคธ”
   ภาษามคธหรือบาลีนั้นเป็นภาษาดั้งเดิมของสรรพสัตว์ (...สภาวนิยา มาคธิกาย  สพฺพสตฺตานํ มูลภาสาย 2 ปเภทคตํ  าณํ นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา.) เป็นสภาวนิรุตติ (ภาษาที่มีอยู่ตามปกติ) คือไม่แปรผัน เป็นภาษาสากลใช้ได้ทั่วทั้งจักรวาล ท่านเล่าเรื่องไว้ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคว่า
   เมื่อมารดาบิดาให้บุตรทารกนอนบนเตียงหรือตั่ง พูดอะไรๆ ก็ตาม เด็กก็จะทำตามสิ่งที่พูดนั้นๆ เด็กจะจดจำเอาภาษาของเขาทั้งสองว่า พูดอย่างนี้ๆ พอนานๆ ไปก็ จะเรียนรู้ภาษาทั้งหมดและพูดได้เอง ยกตัวอย่าง มารดาเป็นชาติทมิฬ บิดาเป็นชาติ      อันธกะ ถ้าเด็กฟังคำพูดข้างมารดาก่อนก็จะพูดภาษาทมิฬ ถ้าฟังข้างบิดาก่อนก็จะพูดภาษาอันธกะ ถ้าฟังพร้อมๆ กันไป ก็จะพูดได้ทั้งสองภาษา แต่เมื่อไม่ได้ฟังภาษา             ทั้งสองก็จะพูดภาษามคธ (เกี่ยวกับเรื่องนี้ดูตำนานพระธาตุหริภุญชัย ตอนพระเจ้าอาทิจจราช โปรดให้นำเด็กที่เกิดใหม่ ๗ วัน มาชุบเลี้ยงไว้ร่วมกรงกับอีกา เพื่อให้เรียนเอาภาษากา พอครบ ๗ ปีบริบูรณ์ ก็รู้ทั้งภาษากา ภาษาคน ในจามเทวีวงศ์และชินกาล-มาลีปกรณ์)

๑ ที่นำมาอ้างถัดจากนี้ในกรณีที่ไม่ได้บอกชื่อคัมภีร์ไว้ พึงทราบว่ามาจากคัมภีร์เดียวกันทุกแห่ง

อนึ่งคนที่เกิดในป่าทึบเป็นมนุษย์โทนคนเดียว ไม่มีเพื่อน๑ ทั้งไม่เคยสดับภาษาของมนุษย์มาก่อน เมื่อจะพูดก็พูดแต่ภาษามคธนี้เท่านั้น ซึ่งพูดได้ตามธรรมดาของตน ภาษามคธจึงเป็นภาษาสากล (สภาวนิรุตติ) ของจักรวาล ดังสาธกบาลีในปฏิสัมภิทา- มัคควัณณนาว่า นิรเย  ติรจฺฉานโยนิยํ  เปตฺติวิสเย  มนุสฺสโลเก เทวโลเกติ  สพฺพตฺถ มาคธิกา  ภาสา ว  อุสฺสนฺนา.  (ภาษามคธเท่านั้นใช้กันดื่นในนรก กำเนิดเดรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์โลก และเทวโลก)  และปัญญาที่แตกฉานในนิรุตติภาษานี้ท่านกล่าวว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่ (เอวมยํ  นิรุตฺติปฏิสมฺภิทา                           สทฺทารมฺมณา  นาม  ชาตา, น  ปญฺตฺติอารมฺมณา) หมายความว่าพอได้ยินเสียงก็กำหนดได้ว่าเป็นสภาวนิรุตติ และสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมีนามบัญญัติสำหรับเรียก เป็นต้นว่า นาย นาง หรือ สูง ต่ำ ดำ ขาว เหตุนี้กระมังท่านจึงกล่าวว่า สามารถฟังสำเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเข้าใจหรือรู้ภาษาสัตว์ทั่วไปได้ ซึ่งมิได้รวมไปถึงการหยั่งทราบวาระจิตของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่า  เจโตปริยยญาณ (ญาณกำหนดรู้จิตของสัตว์ทั้งหลาย) แต่ในสัตติคุมพชาดก วีสตินิบาต ปรากฏเรื่องของ
นกแขกเต้าสองตัวคือสัตติคุมพะ (พุ่มหอก) และปุปผกะ (ดอกไม้) สนทนากับโจร           พ่อครัวและพระเจ้าปัญจาละโดยใช้ศัพท์ว่า มนุสฺสภาสาย กเถสิ (พูดด้วยภาษามนุษย์) และ ปฏิสณฺารมกาสิ (ทำปฏิสันถาร) คนกับสัตว์คุยกันรู้เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นจินตนาการของผู้แต่งคัมภีร์ ที่ต้องการให้ตัวละครแสดงบทบาทมากกว่า เทียบได้กับการ์ตูนสมัยนี้นั่นเอง  เพราะคงไม่มีนกแสนรู้ตัวไหนสามารถเลียนสำเนียงและพูดภาษามนุษย์ได้จริงๆ ถ้าจะบอกว่าเป็นวิสัยของพระโพธิสัตว์ย่อมทำได้  ทว่านกอีกตัวหนึ่งนอกนี้ (คือสัตติคุมพะ) หาใช่พระโพธิสัตว์ไม่ จึงถือว่าพ้นวิสัย เรื่องนี้ชอบกลอยู่
   ผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงชั้นนี้ก็คือ ผู้ที่เล่าเรียนธรรมจบปิฎกกันไตร แตกฉานในภาษามคธ ซึ่งจะต้องศึกษาคัมภีร์สัททาวิเสส (ไวยากรณ์บาลี)3 เป็นพื้นฐาน จนเข้าใจช่ำชองถึงฝั่งแห่งภาษานี้ จึงจะแตกฉานในนิรุตติปฏิสัมภิทาได้ และการบรรลุปฏิสัมภิทานี้                 

๑     น่าจะเป็นโอปปาติกสัตว์ ซึ่งเกิดด้วยอุปปาทปฏิสนธิ อรรถกถาบอกว่าเป็นคนป่า ชะรอยจะตรงกับ
   ทาร์ซานของพวกฝรั่งกระมัง ?

มีได้เฉพาะในหมู่อริยสาวกเท่านั้นในหมู่ปุถุชนหามีไม่  (พหุมฺปิ  อุคฺคเหตฺวา  ปน   ปุถุชฺชนสฺส  ปฏิสมฺภิทาปฺปตฺติ  นาม  นตฺถิ, อริยสาวโก  โน  ปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต  นาม  นตฺถิ) นอกจากนี้ท่านยังจำแนกประเภทแห่งปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา (แตกฉานในอรรถ), ธัมมปฏิสัมภิทา (แตกฉานในธรรม), นิรุตติปฏิสัมภิทา (แตกฉานในภาษา)  และ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (แตกฉานในปฏิภาณ) แต่ละประเภทออกเป็น             ๒ ชั้น คือ เสขะ และ อเสขะ
    ในสมัยพุทธกาลผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาระดับอเสขภูมิ (ชั้นอเสขะ) มีหลายท่าน เช่น  พระสารีบุตรเถระ,  พระมหาโมคคัลลานเถระ, พระมหากัจจายนเถระ,พระ               โกฏฐิตเถระ เป็นต้น ส่วนผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาระดับเสขภูมิ (ชั้นเสขะ) ก็มีมาก เช่น พระอานนท์เถระ, จิตตคฤหบดี, ธัมมิกอุบาสก, อุบาลีคฤหบดี,  ขุชชุตตราอุบาสิกา      เป็นต้น (ดูอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค)
   เป็นไปได้ไหมว่าการที่ครูบาทั้งหลายในสมัยโบราณสามารถฟังสำเนียงเสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เข้าใจได้ เพราะท่านบรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา และอย่างน้อยต้องเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ชั้นโสดาบันขึ้นไป ถ้ายกเรื่องเล่าในตอนต้นนั้นเสียเป็นไปได้อีกหรือไม่ว่า พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงบรรลุปฏิสัมภิทาชั้นเสขะ เพราะพระองค์ทรงเป็นพระโสดาบัน แต่เมื่อว่าโดยพระชาติกำเนิด พระองค์ก็ทรงเป็นชาวมคธอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้ฉงน ในเมื่อภาษามคธเป็นสภาวนิรุตติ ไฉนชาวมคธทั่วไปจึงไม่รู้จักเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเล่า? มิเช่นนั้นคำที่กล่าวว่าสภาวนิรุตติมีเสียงเป็นอารมณ์จะมีประโยชน์อะไร? หรือว่าภาษามคธในชั้นหลังๆ ท่านเพิ่มนามบัญญัติเข้ามาจึงไม่จัดเป็นสภาวนิรุตติทั้งหมด ส่วนที่เป็นสภาวนิรุตติก็ยังคงอยู่ และเรียกว่า สุทธมาคธิกา (ภาษามคธบริสุทธิ์หรือภาษามคธล้วนๆ) แต่เมื่อพิจารณาความจากศัพท์ว่า                     สัพพรวัญญู ดูเหมือนหนึ่งจะเป็นตำราที่ว่าด้วยการทำนายทายทักมากกว่า เพราะตามเนื้อเรื่องมีอยู่ว่า  พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับเสียงของนายกุมภโฆสก ผู้ดีตกยากมีทรัพย์นับได้อ่านโกฏิ แต่ไม่กล้านำออกมาใช้ด้วยกลัวทางการจับไปสอบสวน หวั่นถูกตั้งข้อหาว่าเป็นโจร จึงปลอมตัวเป็นคนรับจ้าง ทำหน้าที่เป็นยามประจำรุ่ง คอยปลุกชาวเมืองให้ตื่นในเวลาเช้าตรู่ทุกวัน  หลังจากที่พระองค์ได้สดับเสียงของเขาก็ทรงรู้ได้ทันทีว่า เจ้าของเสียงปลุกเป็นคนมั่งมีโภคะ จึงตรัสบอกนางสนมที่เฝ้าอยู่ใกล้ๆ นางทราบดังนั้นจึงใช้ให้คนไปสืบดูได้ความว่า   ป็นเพียงคนกำพร้า เข็ญใจ จึงกราบทูลแก่พระราชา  ท้าวเธอก็ตรัสยืนยันอย่างเดิม ในที่สุดนางขันอาสาไปสืบด้วยตนเอง สุดท้ายความจริงก็ปรากฏ และเป็นจริงดังพระดำรัสทุกประการ (รายละเอียดหาอ่านได้จากธรรมบทภาคที่ ๒)
   ที่นำเรื่องคัมภีร์สัททานกมาเล่านั้น เป็นเพียงแต่ได้ยินคนแต่ก่อนเล่าให้ฟังสืบๆ กันมา ความจริงสัททานกในที่นี้ น่าจะได้แก่สัททาวิเสสนั่นเอง เนื่องจากมีการร่ำลือถึงกิตติศัพท์ของครูบารุ่นก่อนๆ ว่ารู้ภาษานกภาษากากันทั่วไปในดินแดนล้านนานี้  ก็เลยเรียกชื่อสัททาวิเสสเป็นสัททานกไปเสีย ดังนี้กระมัง?
   ๔.   มีความรู้ด้านอักษรศาสตร์สามารถเขียนอ่านอักษรธรรม ลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ และจารคัมภีร์ใบลานได้
   ๕.   มีความรู้ด้านนวกรรมและสถาปนิกตลอดถึงช่างฝีมือเช่น แกะสลัก                   ปั้นและหล่อพระพุทธรูป เป็นต้น
   ๖.   มีความรู้ด้านเวชกรรมหรือแพทย์แผนโบราณ
   ๗.   มีความรู้ด้านโหราศาสตร์ ดูฤกษ์งามยามดีต่างๆ เป็นต้น
   ๘.   ทรงวิทยาคุณแก่กล้าอาคมเวทย์มนต์ สามารถขจัดปัดเป่าบรรเทาทุกข์ร้อนของญาติโยมได้
   ๙.   มีความรู้ด้านประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พุทธาภิเษก เป็นต้น หรือเป็น              เจ้าพิธี
   ๑๐. มีความรู้เชี่ยวชาญในวิชาการแขนงอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุ

   คุณสมบัติพิเศษที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือ จะต้องมีภูมิความรู้ ทรงจำพระสูตรหรือ             บทสวดบาลีต่างๆ  (อันนับเข้าในข้อที่ ๓) ได้อย่างแม่นยำชำนาญจึงจะสมกับดีกรีครูบาที่ได้รับ  ภิกษุผู้เก่งสูตรเก่งเรียนจะได้รับการยกย่องนับถือและมีชื่อเสียงมาก ส่วนภิกษุผู้มีคุณสมบัติของความเป็นครูบาเพียบพร้อมแต่มักน้อยสันโดษ ฝักใฝ่ทางวิปัสสนาถือธุดงค์ และชอบอยู่ป่าเป็นวัตร จะได้รับการขนานนามที่พิเศษออกไปว่า “ครูบามหาป่า”
หรือ “มหาป่า”๑ ซึ่งคำนี้น่าจะเอามาจากคำบาลีว่า อรัญญวาสี หรือ วนวาสี ที่แปลว่า พระหนป่า หรือสายป่า คือ สายปฏิบัติ เทียบได้กับวิปัสสนาจารย์ในสมัยนี้นั่นเอง  แต่ครูบามหาป่ามีคุณสมบัติที่พิเศษกว่าก็ตรงที่ท่านเชี่ยวชาญทั้งปริยัติและปฏิบัติ (โดยมาก) และครูบามหาป่านี้บางทีก็เรียก “ครูบาศีลธรรม” บ้าง ถ้าหากอายุพรรษายังหนุ่มแน่นอยู่มักจะเรียก   “ตุ๊เจ้าศีลธรรม” หรือ “ศีลธรรม” อย่างเดียว  ไหนๆ เมื่อพูดถึงครูบาแล้วจะได้พรรณนาเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิปทาของครูบาในสมัยก่อน เพื่อประดับความรู้ไว้เป็นแนวทางการศึกษาค้นคว้าเท่าที่พอจะสืบค้นข้อมูลได้ ดังนี้
   เนื่องจากปัจจุบันมีพระสงฆ์หลายรูปสมมติตนขึ้นเป็นครูบาทั้งที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ หรือมิรู้จักองค์คุณของครูบาว่าเป็นอย่างไร หรือมีอะไรบ้าง ด้วยซ้ำไป เพียงเพราะหวังลาภยศชื่อเสียง จึงเน้นการสร้างศาสนวัตถุมากกว่าศาสนบุคคล ด้วยการชักชวนมหาชนให้เลื่อมใส แล้วแข่งขันกันสร้างวัดวาอารามเสียใหญ่โตโอ่อ่า เพื่อต้องการอวดบารมีกัน ต่างจากปฏิปทาของครูบารุ่นก่อนๆ อย่างสิ้นเชิง พร้อมกันนั้นก็มีคำค่อนแคะในหมู่ครูบาด้วยกันว่า “องค์โน้นเป็นครูบาจริง องค์นั้นเป็นครูบาอุปโลกน์ อะไรทำนองนั้น”  ไม่ทราบว่า เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ทั้งที่ยังไม่เคยมีการศึกษาค้นคว้า และกำหนดคุณสมบัติของครูบาอย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน ดังนั้น           คำว่า ครูบา จึงไม่คงพลังความขลังอีกต่อไป และต่อแต่นี้ไปจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นครูบาขึ้นมาใหม่ให้เป็นระบบมาตรฐาน เพื่อยกระดับศักยภาพของครูบาในยุคปัจจุบันให้ทัดเทียมกับครูบาในยุคอดีต ซึ่งผู้ที่จะเป็นครูบาได้นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติและองค์ความรู้หลายๆ ด้านดังที่กล่าวแล้ว
    ที่มีคำค่อนแคะกันว่า องค์นั้นองค์นี้ไม่ใช่ครูบาจริง ทั้งนี้คงเป็นเพราะยังไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “เถราภิเษก” คือ การรดน้ำสรงมุทธาภิเษกยอยกขึ้นเป็นครูบานั่นเอง (ทำนองอย่างพิธีราชาภิเษก) ซึ่งผู้ที่ได้ผ่านพิธียอยกมาแล้วเท่านั้นจึงจะถือว่าเป็นครูบาที่ถูกต้องอย่างแท้จริง  กลับกลายเป็นมีอัสมิมานะ ยึดติดกับลำดับชั้น

๑   มหาป่าที่มีชื่อเสียงหรือเคยได้ยินมาบ้างเช่น มหาป่าเกสระปัญโญ วัดไหล่หิน เกาะคา ลำปาง, มหาป่า
   กัญจนะวัดสูงเม่น แพร่,  มหาป่าชวนะ วัดเปา นาน้อย  น่าน เป็นต้น

ตำแหน่งไปก็มีมาก  เคยได้ยินมาบ้างเหมือนกันว่า  “ทุกวันนี้ครูบาจริงๆ มีเพียงไม่              กี่องค์เท่านั้น”   แต่ไม่ขอยืนยันว่า ใครพูด  เพราะจะกลายเป็นต่อความยาวสาวความยืด
เดี๋ยวเรื่องจะลุกลามใหญ่โตไป คำกล่าวข้างต้นนั้นส่งทั้งผลเสียและผลดีต่อแวดวง           ครูบา กล่าวคือ  พวกที่หวังยกย่องตนเองหรือครูบาอาจารย์ของตนให้เด่นกว่าผู้อื่น          จัดเข้าในประเภท อตฺตุกฺกํสนปรวมฺภนา หรือ ยกตนข่มท่าน ด้วยคิดเห็นว่าตนเองหรืออาจารย์ของตนเท่านั้นที่เป็นครูบาจริงๆ เพราะผ่านพิธีการแต่งตั้งยอยกขึ้นเป็นครูบามาแล้วนั่นเอง กลายเป็นหนักในพิธีกรรมไป ส่วนพวกที่วางตนเป็นกลางหรือที่เรียกว่า                 ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกฺขา เล่า?  ก็คิดเห็นไปอีกแบบหนึ่งกับคำค่อนแคะดังกล่าว ซึ่งตามประสงค์ของท่านคงหมายถึงครูบาที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานจริงๆ มีอยู่น้อยรูปนั่นเอง ครูบาในสมัยโบราณกับสมัยนี้จึงแตกต่างกันมาก เพราะสมัยก่อนท่านสร้างวัดด้วย เจริญเมตตาภาวนาด้วย ยกตัวอย่างครูบาศรีวิชัย เป็นต้น








นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว