ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทางสายกลาง หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 3482 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

teepung

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทางสายกลาง หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ครับ
  คือ เราต้องรับไว้ทั้งดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ ครับ ถึงจะเรียกว่า ทางสายกลางครับ

   :49: :13: :)
บันทึกการเข้า
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในความเห็นก็เป็นอารมณ์ที่อยู่.....ระหว่าง ....ความเป็นของคู่   เอาใจเราไว้กลางๆระหว่างความยึดถือกับไม่ยึดถือ ชอบไม่ชอบ ใช่ไม่ใช่   ความเป็นอนัตตา ไม่ยืนยัน ครูอาจารย์ว่าไว้  มีของคู่มากมายในไตรโลกธาตุนี้
   กลางๆ ไม่สูง ไม่ตํา
     เอาอย่างตัวอย่างที่ยกมานั่น
     เราขอคงรับฟังได้ แต่เอาใจเราไว้ที่กลางๆ

       ครูอาจารย์เคยเล่าว่าความเป็น อนัตตา ไม่มีในความเป็นของคู่

       ยกตัวอย่างคู่มีเป็นหมื่นเป็นแสนคู่ เช่น...
       ขาว ดํา
       คนดี คนชั่ว
       ครูอาจารย์บอกว่า ความเป็น อนัตตา ไม่มีมิตร และไม่มี ศัตรู
      เพราะถ้ามีมิตร ก็เหลือความรัก เเปลว่า สุขยังไม่ดับ
      เพราะถ้ามีศัตรู ก็เหลือความไม่ชอบใจ ความเกลียด แปลว่าทุกข์ยังไม่ดับ

       แปลว่ายังไม่ใช่อนัตตา

     ก็ลองยกตัวอย่างกันเอาเองก็แล้วกัน ในเรื่องของคู่มากมายทั้งหลายเหล่านั้น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 16, 2012, 10:03:09 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อีกข้อคิดหนึ่ง.......ที่ความเป็นอุเบกขาแห่งทางสายกลางในความเป็นจริง
      เคยสงสัยกันบ้างมั๊ย ทําไมพระพุทธองค์ จึงเสด็จดับขันธ์
      ตรงระหว่าง ออกจากฌานสี่กําลังจะขึ้นฌานห้า
         ใครชอบถอดรหัสในภาวนา
              ใครได้ฌานสี่สมาบัติแปดแล้วก็คงมีอุปกรณ์ค้นหา
    ฌานหนึ่งถึงสี่ สมถะรูปกรรมฐาน(รูปกาย)
    ฌานห้าถึงแปด ฌานอุเบกขา วิปัสสนา อรูปกรรมฐาน(นามกาย)
    ส่วนคําตอบไม่มี เพราะครูอาจารย์ ท่านบอกไบ้ให้ข้าพเจ้าฟังเท่านั้น
     ก็สุดแล้วแต่ญาณเห็น ตามบารมีธรรม
       
   
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอกล่าวในมุมมองความคิดผมนะครับ อาจจะไม่ใช่คำตอบในสิ่งที่คุณ  TEEPUNG ต้องการก็ได้ครับ

ทางสายกลาง คือ ความไม่สุดโต่ง และ ไม่หย่อนยาน

มัฌมิมา คือ ทางสายกลาง ไม่แตะในทั้งสองสิ่งนั้น

กล่าวคือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนี้เป็นทางสายกลาง
- การทรมานตนก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อรู้แจ้ง และ การดำเนินไปอย่างเรียบง่ายสบายๆก็ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

- การล้างความเชื่อเรื่องตายแล้วไม่เกิดอีก และ ตายแล้วยังกลับมาเกิดอีก ดังพระสูตรนี้ซึ่งจะเกี่ยวพันกับปฏิจจสมุปบาทด้วย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๑๘. เนวโหตินนโหติตถาคตสูตร
ว่าด้วยความเห็นว่าสัตว์ตายแล้วเกิดก็หามิได้ไม่เกิดก็หามิได้
             [๔๔๗] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่
เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม
เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม
ของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้น
อย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้. เมื่อเวทนา
มีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยึด
มั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด
อีกก็หามิได้?
             [๔๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา
มิได้ บ้างไหม?
             ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เมื่อทุกข์มีอยู่ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด
อีกก็หามิได้. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
             พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น
จะพึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิ
ได้ บ้างไหม?
             ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เมื่อทุกข์มีอยู่ เพราะถือมั่นทุกข์ เพราะ
ยึดมั่นทุกข์ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด
อีกก็หามิได้.
จบ สูตรที่ ๑๘.


ว่าด้วยบทนำปฏิจจสมุปบาท


คนเราจิตยุ่ง เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ๑
ดูก่อนอานนท์ ! เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ตามลำดับ เพราะไม่แทงตลอด
ซึ่งธรรมคือปฏิจจสมุปบาทนี้, (จิตของ) หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง ยุ่งเหยิง
เหมือนความยุ่งของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม พันกันยุ่งเหมือนเซิงหญ้ามุญชะ
และหญ้าปัพพชะอย่างนี้; ย่อมไม่ล่วงพันซึ่งสังสาระที่เป็นอบายทุคติวินิบาตไปได้.

ปฏิจจสมุปบาท เป็นชื่อแห่งทางสายกลาง ๒
ดูก่อนกัจจานะ ! คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง มีอยู่”
ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด ๓ (มิใช่ทางสายกลาง) ที่หนึ่ง; คำกล่าวที่ยืนยันลงไป
ด้วยทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวง ไม่มีอยู่” ดังนี้ : นี้เป็นส่วนสุด (มิใช่ทางสายกลาง) ที่สอง
ดูก่อนกัจจานะ ! ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลางไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น
คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :-

“ เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;
เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส-
อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. ... ... (แล้วทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรธวารไปจนจบ)”.
________________________________
๑. สูตรที่ ๑๐ ทุกขวรรค อภิสมยสังยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑๑/๒๒๕, มหานิทานสูตร มหา.ที.๑๐/๖๕/๕๗;
ตรัสแก่พระอานนท์ที่กัมมาสทัมมนิคม แคว้นกุรุ.
๒. สูตรที่ ๕ อาหารวรรค นิทานสังยุตต์ นิทาน.สํ.๑๖/๒๑/๔๔, ตรัสแก่พราหมณ์กัจจานโคตร ที่เชตวัน; สูตรที่ ๗
คหปติวรรค อภิสมยสังยุตต์นิทาน.สํ.๑๖/๙๑/๑๗๓, ตรัสแก่ชาณุสโสณิพราหมณ์ที่เชตวัน.
๓. คำว่า “ส่วนสุด” ในกรณีอย่างนี้หมายถึงทิฏฐิหรือความคิดเห็นที่แล่นไปสุดเหวี่ยง ในทิศทางใดทางหนึ่ง; มีลักษณะ
เป็นความสำคัญมั่นหมายในลักษณะที่เป็นตัวเป็นตน หรือตรงกันข้าม. ส่วนพระ ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีหลักธรรมของ
พระองค์ที่ไม่แล่นไปสุดเหวี่ยงหรือสุดโต่งอย่างนั้นอย่างนี้แต่ตรัสลงไปในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี
สิ่งนี้จึงมี; เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” ในลักษณะที่ทยอย ๆ กันไป ไม่มีสิ่งใดเกิดหรือดับได้ โดยลำพังตัวมันเอง;
ดังนั้นจึงไม่มีทิฏฐิว่า “สิ่งทั้งปวงมีอยู่” หรือว่า “สิ่งทั้งปวงไม่มี”.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2012, 02:21:45 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ปฐมเทศนา
             [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด
สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
             การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน
เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
             การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้
ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา
ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
นั้น เป็นไฉน?
             ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑
ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑
ตั้งจิตชอบ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน.
             [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่
ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา
ภวตัณหา วิภวตัณหา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ
ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.
             [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา.

อ้างอิง: http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=04&A=355&Z=445
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว

ต้องถามท่านก่อนว่า ท่านจะปฏิบัติทางสายกลางไปเพื่ออะไร ?

      ที่บอกว่า "หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่"

      ตอบได้เลยนะว่า ไม่ใช่

   เพราะทางสายกลาง  ที่เราพูดกันนี้ หมายถึงทางปฏิบัติที่เราต้องการ พ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง
เมื่อท่านมีความประสงค์ดังนี้แล้วจึงจะเอา การปฏิบัติแบบทางสายกลางมาใช้ได้

ส่วนเรื่องดี และชั่ว

      แน่นอนอยู่แล้วว่า ดี ใครๆ ก็อยากได้ อยากมี อยากทำให้เกิดขึ้น อยากให้มันคงอยู่ตลอดไป
และชั่ว ไม่มีใคร อยากได้  อยากมี  อยากทำให้เกิดขึ้น  อยากให้มันหายไปตลอด ไม่กลับมาอีก

เรื่องของ ความดี ไม่มีปัญหา  แต่เรื่องของความชั่วนี้  เป็นทุกข์  ไม่เป็นที่ต้องการของใคร

   แต่ !!   แล้วมีใครไม่เคยทุกข์  ทุกข์แล้วเป็นอย่างไร

ถ้าถามว่า ดี(สุข) และชั่ว(ทุกข์) ต้องมีให้สมดุลกัน มีสุข และทุกข์ สมดุลกัน เท่าๆกัน ก็แล้วใครจะเอา?

    ก็มีแต่คนที่ปรารถนาจะเอาแต่สุขอย่างเดียว   ไม่มีใครอยากจะได้ทุกข์หรอกจริงไหม
 เพราะฉนั้น คำตอบคือไม่ใช่จ๊ะ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ธัมมคารวาทิคาถา

เย  จะ  อะตีตา  สัมพุทธา   เย  จะ  พุทธา  อะนาคะตา,    โย  เจตะระหิ  สัมพุทโธ    พะหุนนัง  โสกะนาสะโน,
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย, และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย,


สัพเพ  สัทธัมมะคะรุโน   วิหะริงสุ  วิหาติจะ,
อะถาปิ   วิหะริสสันติ    เอสา  พุทธานะธัมมะตา,

พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น, ทุกพระองค์เคารพพระธรรม,      ได้เป็นมาแล้วด้วย, กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย,  เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย, เป็นเช่นนั้นเอง,


ตัสฺมา  หิ   อัตตะกาเมนะ    มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม   คะรุกาตัพโพ   สะรัง  พุทธานะสาสะนัง,

เพราะฉะนั้น, บุคคลผู้รักตน, หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, จงทำความเคารพพระธรรม,



นะหิ  ธัมโม  อะธัมโม  จะ  อุโภ  สะมะวิปากิโน,
ธรรมและอธรรม จะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้,


อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง,
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ,


ธัมโม  หะเว  รักขะติ  ธัมมะจาริง,
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ,


ธัมโม  สุจิณโณ  สุขะมาวะหาติ,
 ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว, ย่อมนำสุขมาให้ตน,


เอสานิสังโส  ธัมเม  สุจิณเณ.
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว.


นะ  ทุคคะติง  คัจฉะติ  ธัมมะจารี

ผู้ประพฤติธรรมอยู่เป็นนิจ, ย่อมไม่ไปสู้ทุคติเลย.


ที่ถามว่า : "ทางสายกลาง หมายความว่า ทำให้สมดุลย์ ในดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ครับ
         คือ เราต้องรับไว้ทั้งดี และ ชั่ว ใช่หรือไม่ ครับ ถึงจะเรียกว่า ทางสายกลางครับ"


ดี  คือ  กุศลกรรม  คือ  ธรรม
ชั่ว คือ อกุศลกรรม คือ  อธรรม

ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ ,  อธรรมย่อมนำไปนรก

ถ้าคุณกระทำทั้งสองอย่าง คุณก็ได้ทั้งสองอย่าง 
เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า
อะกะตัง  ทุกกะฏัง  เสยโย,    ปัจฉา  ตัปปะติ  ทุกกะฏัง,
กะตัญจะ  สุกะตัง  เสยโย,     ยัง  กัตวา  นานุตัปปะติ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่า ความชั่วย่อมแผดเผาในภายหลัง,
บุคคลควรทำแต่ความดี เพราะทำแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง.

แสดงให้เห็นชัดเจนว่า  ไม่ได้สนับสนุนให้เราทำ ทั้งดีและชั่วไปพร้อมๆกัน
แต่ให้ทำแต่ความดี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2012, 01:01:48 pm โดย ปญฺญาปโชโต ภิกขุ »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม