ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค  (อ่าน 2562 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สักกายทิฏฐิ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวรรค

โสดาปัตติมรรคอาสวะเหล่านั้นคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน ทิฏฐิสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เป็นเหุตให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะ แห่งโสดาปัตตอมรรคนี้

สกทาคมมิมรรคอาสวะส่วนหยาบ ภวาสะ อวิชชาสวะ อันตั้งกันอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสหทาคมิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง สหทาคามิมรรคนี้

อนาคามิมรรคกามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้

อรหัตมรรคภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิแห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิฌาณ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สักกายทิฏฐิ

    ดูกรคหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูกรคฤหบดี คือปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยะธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม
                   ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
                   ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
                   ย่อมเห็นตนในรูป ๑
          เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
                   ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
                   ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑
         เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น
                   ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑
                   ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑
                   ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑
                   ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑
         เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายสาสะจึงเกิดขึ้น
                  ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑
                  ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑
                  ย่อมเห็นสังขารในตน ๑
                  ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑
          เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปิทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาสจึงเกิดขึ้น
                  ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
                  ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
                  ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
                  ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑
          เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น
          ดูกร คฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย
         ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่
         ดูกรคฤหบดี คืออริยสาวกในธรมวินัยนี้ ได้สดับฟังแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
                  ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
                  ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑
        ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยะสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยดีด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปเป็นของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้นหามิได้
                 ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑
                 ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑
         ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
                 ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยสความเป็นตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑
                 ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑
         ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่อยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาเป็นเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น
                 ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาริ ๑
                 ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑
                 ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑
          ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารเป็นเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้นหามิได้
                ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
                ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑
                ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑
                ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑
           ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณเป็นของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ฯท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านสารีบุตร ฉะนี้แล ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 06, 2010, 09:03:21 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
โปรดทบทวน เรื่อง สักกายทิฏฐิ ก่อนที่จะเข้าใจผิด ใน มรรค และ ผล สักกายทิฏฐิ เห็นอย่างไร รุ้อย่างไร ละได้อย่างไร สิ้นเชิงได้แล้วอย่างไรขอให้ผู้ภาวนาทุกท่าน ทบทวน ในส่วนนี้กันก่อน ที่ จะเข้าใจผิด  กันนะจ๊ะ
เจริญธรรม


  ;) Aeva Debug: 0.0005 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2011, 01:19:29 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สักกายทิฏฐิ 20 ตามที่ให้ได้ทบทวนครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 10:06:08 am »
0
สักกายะทิฐิ...มี ๒๐ ครับ...ดังนี้ครับ
รูป
๑.ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
๒.เห็นตนว่ามีรูปบ้าง
๓.เห็นรูปในตนบ้าง
๔.เห็นตนในรูปบ้าง
เวทนา
๕.ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง
๖.เห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง
๗.เห็นเวทนาในตนบ้าง
๘.เห็นตนในเวทนาบ้าง
สัญญา
๙.ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง
๑๐.เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง
๑๑.เห็นสัญญาในตนบ้าง
๑๒.เห็นตนในสัญญาบ้าง
สังขาร
๑๓.ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนบ้าง
๑๔.เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง
๑๕.เห็นสังขารในตนบ้าง
๑๖.เห็นตนในสังขารบ้าง
วิญญาณ
๑๗.ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง
๑๘.เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
๑๙.เห็นวิญญาณในตนบ้าง
๒๐.เห็นตนในวิญญาณบ้าง

เมื่อรู้แล้วว่ามีอะไรบ้างเมื่อผัสสะกระทบสัมผัส..ก็ใช้สติปัฎฐาน ๔ โดย..การกำหนดรู้..นามรูป..ตามรู้ตามเห็น..อาการของสักกายทิฐิทั้ง ๒๐ แล้วเพียรละอาการเหล่านั้นบ่อยๆ...จิตจะค่อยๆมีอาการเหล่านี้น้อยลงๆๆๆ..จนละได้ในที่สุดครับ



บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;