ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - patra
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
201  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขั้นตอนการจ่ายเงินช่่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5000 บาท เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 08:29:46 am


RT @thaiflood: @MrVop ขั้นตอนการจ่ายเงินช่วยน้ำท่วม บ้านละ 5000 บาท
 http://t.co/Jdzj7Zi0 #thaiflood
202  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เตือนภัย น้ำท่วม จังหวัด สระบุรี เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 09:08:21 am
ขณะนี้ ได้มีประกาศ ทางชุมชนต่าง ๆได้ประกาศให้ชาวจังหวัดสระบุรี

เตรียมรับน้ำ จากเขื่อนป่าสักที่กำลังปล่อยมา เนื่องจากเขื่อนรับน้ำเกินความจุแล้ว

ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้ที่ลุ่ม จุดเสี่ยง โปรดขนย้าย สิ่งของ เพื่อหลบน้ำ

  กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัย ฉ.8 ระบุบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนหนาแน่นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณ จ.เพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยตามที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่ม และใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=371154&ch=lc
203  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ “ท่านพระครูวิสุทธิศิลาจารย์” เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 11:22:44 am

ขอบคุณภาพจาก http://www.nongploybook.com

หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ “ท่านพระครูวิสุทธิศิลาจารย์” จัดเป็นอีกหนึ่งคณาจารย์ยุคเก่าที่มีลูกศิษย์ทุกระดับชนชั้นมากมายรวมทั้ง “พระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักด์” ก็ได้เสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ของท่าน หลวงพ่อพริ้ง เป็นผู้มอบกระดูกหน้าผากนางนากให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งมีความเฮี้ยนมากจนเป็นที่กล่าวถึงของพระโอรสและธิดา ซึ่งเสด็จเตี่ยบอกว่า ไม่ต้องกลัว และความเฮี้ยนของนางนากก็ปรากฏถึง ๒ ครั้ง
ในตำหนักนางเลิ้ง

ในเรื่องกระดูกหน้าผาก ของนางนากนี้ได้ปรากฏในงานเขียนประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) รวบรวมโดย ม.ล.พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา พ.ศ.2473 บรรยาย ไว้ว่าหลังจากที่นางนาคออกอาละวาดหนัก สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านรู้เรื่องจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศย์และเรียกนางนาค ขึ้นมาคุยกัน ผลสุดท้ายท่านเจาะเอากระดูกหน้าผากของนางมาลงยันต์และทำเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ผีนางนาคก็ไม่ออกมาอาละวาดอีกเลย   

และในเรื่องนี้ สมบัติ พลายน้อย ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ค้นคว้าและเขียนเรื่องของแม่นาคสรุปเอาไว้ว่า กระดูกหน้าผากแม่นาคนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ประทานให้กับ สมเด็จหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) และประทานให้ หลวงพ่อพริ้ง (พระครูวิสุทธิ์ศีลาจารย์) อีกต่อ จนมาถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไม่นานนักแม่นาคก็มากราบลา จากนั้นก็ไม่มีใครพบกระดูกหน้าผากของแม่นาคอีก   จึงนับได้ว่าในยุคนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้คณาจารย์ใด ๆ ในยุคเดียวกันเลย เนื่องจากหากหน่วยงานราชการในยุคนั้นมีพิธีพุทธาภิเษกที่สำคัญ ๆ แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็จะต้องเป็นคณาจารย์อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการนิมนต์ให้ไปร่วมพิธีทุกครั้ง ชื่อเสียงของท่านจึงขจรระบือไกล

โดยประวัติหลวงพ่อพริ้ง มีนามเดิมว่า “พริ้ง เอี่ยมเทศ” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 เป็นชาวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ เริ่มเรียนหนังสือด้วยการบวชเป็นสามเณรที่ “วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)” กระทั่งอายุครบ 20 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ “วัดทองนพคุณ” อ.คลองสาน แล้วจึงไปจำพรรษาที่ วัดบางปะกอก จวบกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสครองวัดบางปะกอกจนกระทั่งมรณภาพ

หลังจากเข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์แล้ว “หลวงพ่อพริ้ง” ก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและบาลีจนแตกฉาน ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความสนใจทางด้าน “วิปัสสนากรรมฐาน” จึงทำการฝึกฝนทางด้านนี้อย่างจริงจังรวมทั้งเรียนด้านวิทยาคมเพิ่มเติมอีก กับคณาจารย์ต่าง ๆ หลายสำนัก ทำให้ท่านมีชื่อ เสียงเด่นดังทั้งทางด้าน คงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยม แถมด้วย วิชาแพทย์แผนโบราณ อีกด้วยเพื่อนำมาสงเคราะห์ต่อชาวบ้านในสมัยนั้น โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมประกอบพิธีหล่อและพุทธาภิเษก “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ วัดสุทัศน์ )” ซึ่งมีพระคณาจารย์ชื่อดังหลายสิบรูปมาร่วมพิธีครั้งนี้ปรากฏว่า “แผ่นยันต์ ที่หลวงพ่อพริ้งทำการจารอักขระ” และได้นำไปใส่ในเบ้าหลอมรวมกับของคณาจารย์รูปอื่น ๆ ไม่ยอม “หลอมละลายเลย” เกิดเป็นปรากฏการณ์อันอัศจรรย์ให้เล่าขานมาถึงทุกวันนี้ โดยต้องนิมนต์ท่านมาทำการท่องมนต์กำกับแผ่นจารจึงละลายในเวลาต่อมา

หรือในสมัยที่ก่อเกิด “สงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2” (ระหว่าง พ.ศ. 2480–85) วัดบางปะกอกก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่ประชาชนทั่วไปได้มาขอพึ่งพาเป็นที่หลบภัย ทั้ง ๆ ที่วัดอยู่ไม่ไกลจากอู่ต่อเรือของทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาสร้างฐานทัพในประเทศ ไทยเท่าใดนัก โดยช่วงนั้นฝ่ายพันธมิตรได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิดเพื่อทำลายฐานที่มั่นของ ทหารญี่ปุ่นมากมายหลายสิบลูก แต่ไม่มีระเบิดแม้แต่ลูกเดียวที่จะหลงหลุดลอยมาถึงวัดบางปะกอกได้เลย ทั้งนี้เป็นเพราะ “หลวงพ่อพริ้ง” ได้ทำพิธีขจัดปัดเป่าจึงทำให้บริเวณวัดบางปะกอกและใกล้เคียงรอดพ้นจากลูกหลง โดยสิ้นเชิง ทำให้ประชาชนชาวบางปะกอกสมัยนั้นต่างไม่มีใครลืมเหตุการณ์ในยุคนั้นได้เลย

ด้วยเหตุนี้ชื่อเสียง ท่านจึงโด่งดังมากเป็นผลให้ประชาชนทั่วสารทิศทั้งใกล้ ไกล ต่างมุ่งไปขอวัตถุมงคลจากท่านรวมทั้งไปให้ท่านช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งท่านก็ไม่เคยปฏิเสธผู้ใดไม่ว่าจะเป็นเจ้าใหญ่นายโตหรือประชาชนธรรมดา สามัญ หากไปขอให้ท่านช่วยสงเคราะห์แล้วเป็นได้รับเมตตาช่วยเหลือเสมอเหมือนกันหมด หลวงพ่อพริ้ง ทำการสร้าง “วัตถุมงคล” ขึ้นมากมายหลายชนิดแจกจ่ายกันไปตามแต่ผู้มาขอต้องการ ส่วนที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมเสาะหาก็มีทั้ง “ลูกอมเนื้อผง, ตะกรุด, ผ้ายันต์, เสื้อยันต์, พระพิมพ์ต่างๆ

ขอขอบคุณที่มา…www.itti-patihan.com
204  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อเชย ญาณวัฑฒโน แห่งวัดเจษฎาราม เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 11:14:08 am


'พระครูมหาชัยบริรักษ์' หรือ 'หลวงพ่อเชย ญาณวัฑฒโน' พระเกจิเรืองนามเมืองสมุทรสาคร แห่งวัดเจษฎาราม ริมคลองมหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

เกิด เมื่อวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2423 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ เวลา 06.00 น. ที่บ้าน ต.วังน้ำคู้ อ.เมือง จ. พิษณุโลก อุปสมบทเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2447 โดยมี พระครูสมุทรคุณากร (นิล) เป็นพระอุปัชฌาย์

อยู่ จำพรรษาที่วัดตึกมหาชยราม ต่อมาได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดราชสิทธาราม ในปีพ.ศ. 2459 ก่อนย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนแก้วอุทยาน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม และจึงย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเจษฎาราม จ.สมุทรสาคร



หลวงพ่อเชยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.2462

มรณภาพเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2500 เวลา 04.15 น. สิริอายุ 78 ปี พรรษา 52

ใน ห้วงที่หลวงพ่อเชยยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลาย อย่าง เช่น ตะกรุดโทน ผ้ายันต์ สีผึ้ง พระกลีบบัวเนื้อทองเหลือง และพระประจำวันเนื้อทองเหลือง ล้วนแต่ได้รับความนิยมทั้งสิ้น

นอกจาก นี้ เหรียญวัตถุมงคลที่ได้รับการยอมรับจากวงการพระเครื่อง คือ เหรียญวัตถุมงคลรุ่นแรก เป็นเหรียญปั๊มรูปเหมือน ที่ระลึกวันคล้ายวันเกิดอายุครบ 72 ปี

จัดสร้างโดยบรรดาคณะศิษย์ของท่าน ได้จัดสร้างขึ้นถวายเป็นมุทิตาสักการะ เป็นเหรียญทองแดง 3,000 เหรียญ และเหรียญเงิน 19 เหรียญ

ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว รูปอาร์ม

ด้าน หน้าเหรียญ แกะขอบเป็นลวดลายกระหนก ตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระครูมหาชัยบริรักษ์ (เชย ญาณวัฑฒโน) ครึ่งองค์ หันหน้าไปทางข้างซ้าย ด้านบนใต้หูห่วงเป็นจุดไข่ปลา

ด้านหลังเหรียญ ไม่มีขอบเหรียญ ตรงกลางเหรียญเป็นอักษร เขียนคำว่า "พระครูมหาชัยบริรักษ์(เชย)" ล่างลงมาเป็นอักขระขอม 3 บรรทัด โดยบรรทัดแรกเรียงตามโค้ง อีก 2 บรรทัดเรียงเป็นแถวตรง ถัดลงมาเป็นอักษรไทย 2 บรรทัด อ่านว่า "อายุครบ ๗๒ ปี พ.ศ.๒๔๙๔"

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อเชย จัดสร้างล้วนแต่มีความประณีต พิถีพิถันด้านพิธีกรรมทุกเหรียญ ทั้งนี้ หลวงพ่อเชย อธิษ ฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว ทำให้ได้รับการยอมรับจากวงการพระเครื่อง

เหรียญหลวงพ่อเชยทุกรุ่น เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมในวงการ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี อาวุธไม่ระคายผิว ผู้ที่มีเหรียญรุ่นนี้ไว้ในครอบครองต่างมีประสบ การณ์อัศจรรย์ให้เล่าขานกันนับไม่ถ้วน

ภายหลังจากที่ท่านได้มรณภาพไปแล้ว เหรียญรุ่นดังกล่าวเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ ทำให้ราคาเช่าบูชาสูงตามไปด้วย

นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญรุ่นใหม่ที่น่าเก็บสะสมไว้อีกเหรียญหนึ่ง

 

คอลัมน์ : เปิดตลับพระใหม่

 

 

 

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ :
205  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://watpayannarancsi.igetweb.com/ วัดป่าญาณรังสี (กรรมฐาน มัชฌิมา) เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 11:05:26 am





http://watpayannarancsi.igetweb.com/ 

วัดป่าญาณรังสี  ( สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ )

 :25:

ผู้ต้องการมาปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าญาณรังษี

กรุณาติดต่อได้ที่ คุณเขมณัฏฐ์(คุณหนุ่ม)

มือถือ : 089-8070134 หรือ

 E-mail: watpayan@gmail.com 


206  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.flickr.com/photos/27635610@N00/ ชมภาพถ่าย คณะ 5 เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 10:52:55 am


http://www.flickr.com/photos/27635610@N00/

รูปภาพเกี่ยวกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

วัดราชสิทธาราม ส่วนหนึ่ง

ชมได้ที่นี่ครับ
207  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อาโลโก อาโลโก อาโลโก ชมภาพธรรมสัญจร ของพระอาจารย์ เมื่อ: มิถุนายน 29, 2011, 10:29:11 am
อาโลโก แสงสว่าง เกิดขึ้นแล้ว พระอาทิตย์ทรงกลด แบ่งภาพไว้ให้ดูครับ
ถ่ายที่ สนง.ส่งเสริม พระกรรมฐาน สระบุรี โดย ภัทรนาวิน



208  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.buddhakos.org/ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 09:27:12 am


http://www.buddhakos.org/

มูลนิธิพุทธโฆษณ์


มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เป็นมูลนิธิของพุทธบริษัท ผู้ชัดเจนและมั่นคงในพุทธวจนเริ่มจากชาวพุทธกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ที่ได้มีโอกาสมาฟังธรรมบรรยายจาก   “พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล “ ที่เน้นเฉพาะการนำพุทธวจน(ธรรมและวินัยจากพุทธโอษฐ์ที่พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าทรงตรัสไว้ดีแล้วบริบูรณ์หมดจดทั้งเนื้อความและพยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอด บอกสอน ซึ่งเป็นรูปแบบการแสดงธรรมที่ตรงตามพุทธบัญญัติตามที่ได้ทรงรับสั่งไว้แก่พระอรหันต์จำนวน ๖๐ รูปแรก ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในการประกาศพระสัทธรรมและเป็นลักษณะเฉพาะที่ภิกษุในครั้งพุทธกาลใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน


209  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.buddhadasa.org/ เกี่ยวกับหลวงพ่อพุทธทาส เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 09:15:13 am


http://www.buddhadasa.org/ 

เกี่ยวกับหลวงพ่อพุทธทาส


210  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / แจกฟรีหนังสือสวดมนต์ ขนาดเล็ก กว้าง ๙ สูง ๑๔ เซ็นติเมตร หนา ๖๔ หน้า ปกเคลือบ UV เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 09:10:31 am
โรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก TTC CARTON (THAILAND)CO.,LTD.
ขอคืนกำไรให้กับสังคม โดยการพิมพ์หนังสือสวดมนต์แจกเป็นธรรมทาน ครอบครัวละ 2 เล่ม ฟรี

แจกฟรีหนังสือสวดมนต์
ขนาดเล็ก กว้าง ๙ สูง ๑๔ เซ็นติเมตร หนา ๖๔ หน้า ปกเคลือบ UV อย่างดี
พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา บรรจุอัดแน่นด้วยเนื้อหา บุญคืออะไร คำกล่าวก่อนทำบุญ บทสวดมนต์หลัก บูชาพระรัตนตรัย บทกราบพระรัตนตรัย
นมัสการ พระรัตนตรัย ขอขมาพระรัตนตรัย ไตรสรณคมณ์ บทสรรเสริญ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ (อิติปิโส ฯ) พุทธชัยมงคลคาถา
(พาหุง พร้อมคำแปล) มหาการุณิโก ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก พร้อมคำแปล กะระณียะเมตตะสุตตัง พร้อมคำแปล บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
คำอธิษฐานอโหสิกรรม บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ กรวดน้ำ บทแผ่ส่วนกุศล กรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร คำอธิษฐานจิต คาถาชินบัญชร
พร้อมคำแปล พระคาถาสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ คำกล่าวจบการทำบุญ


แจกฟรี ครอบครัวละ  ๒ เล่ม สนใจกรุณาฝากชื่อที่อยู่มาที่ ttc_carton@yahoo.co.th

   
 
 

จากคุณ : cartoon-clk
211  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ปรับปรุง ระบบ RDN เครื่องเปิด สัญญาณวิทยุ เมื่อ: มิถุนายน 27, 2011, 01:24:57 pm
เนื่องด้วย harddisk จำนวนที่มีอยู่มีความจุไม่เพียงพอกับไฟล์ ที่มีปริมาณในการใช้งาน จากเดิม 40 GB ปรับปรุงเป็น 320 GB ทำให้ระบบต้อง ทำให้เครื่องอ่าน DVD เสีย
จึงต้องเปลี่ยน hardware บางส่วน
พร้อมกับต้อง ลงโปรแกรม กันใหม่

จึงขอให้ทุกท่านที่ฟังรายการ RDN ออนไลน์ อยู่ต้องฟัง AutoDJ กันไปก่อนนะ

เปิดรับบริจาค ค่า Harddisk 1500 บาท
และ ระบบ AutoDJ  800 บาท


สอบถามได้ที่ email : pra_sonthaya@madchima.org


คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 3 วัน

จึงประกาศเพื่อทราบ


 :25:  :welcome:
212  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อ่านกระทู้ที่เก่า บางกระทู้ยังไม่มีใครอ่านช่วยตอบ กันบ้างนะจ๊ะ เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2011, 08:52:25 am
อ่านกระทู้ที่เก่า บางกระทู้ยังไม่มีใครอ่าน หรือ ช่วยตอบ เลยนะครับ

มาอ่านของเก่า เพิ่มเติม กันหน่อย นะครับ


 :13:
213  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / กรรมฐาน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 06:49:46 am


ขอบคุณภาพและเนื้อหาที่นี่
http://www.prommapanyo.com/derntampor.php
 :25: :25: :25:
214  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / แจก Email address สำหรับ user ที่เป็น สีเขียว ขึ้นไป เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 09:57:10 am
สำหรับท่านใดที่เป็น สมาชิก มานานแล้ว และ ได้ user สีเขียว

หากต้องการใช้ Email ให้แจ้งความประสงค์ในบอร์ด

จะจัดส่ง รหัส และ email user@madchima.org
                    email user@madchima.net
                 

ท่านจะสามารถเข้าดู รหัส ได้ที่ข้อความส่วนตัว ในครั้งแรก

 สำหรับ email เปิดใช้งานได้ ทั้ง โปรแกรม outlook express thunderbird

 และสามารถเข้าถึง ด้วย ระบบ webbase ด้วยที่ลิงก์นี้



  http://www.madchima.org/webmail



ดังนั้นหากสมาชิก ท่านใดต้องการ email แล้ว ให้โพสต์ความต้องการของท่าน ในบอร์ดนี้เลย เพื่อ สมาชิกจะได้รู้ว่า ท่านมี email นี้ติดต่อกันด้วย

   :welcome:
215  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.watsuanvang.com/drupal/ วัดสวนวาง พังงา เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 10:39:20 am


http://www.watsuanvang.com/drupal/

เป็นเว็บ ที่เผยแผ่ธรรมะ ในแนวทางสวนโมกขพลาราม วัดชลประทานรังสฤษดิ์

เว็บนี้ พระอาจารย์บุญณพ เป็นที่รู้จักคุ้นเคยกับพระอาจารย์สนธยา ตั้งแต่สมัยเป็นสามเณร

 :25:
216  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://nbh2550.com/forum/index.php วัดหนองบัวหิ่ง ราชบุรี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 10:26:50 am

http://nbh2550.com/forum/index.php

เป็น เว็บบอร์ด วัดหนองบัวหิ่ง ติดตามกิจกรรมในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้ที่นี่อีกวัด


พระอธิการเฉลียว อินทวังโส เจ้าอาวาสวัดหนองบัวหิ่ง
217  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.somdechsuk.org และ http://www.somdechsuk.com เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 10:19:05 am


ประกาศให้ศิษย์ กรรมฐาน ทุกท่าน ที่เคยใช้ http://www.somdechsuk.com

สามารถเข้าชมเว็บ ได้ที่ address ใหม่อีก หนึ่งทางคือ

http://www.somdechsuk.org

เป็นเว็บ ของวัดราชสิทธาราม ศูนย์กลางพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ดำเนินการเผยแผ่ โดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5



218  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / กติกา การโพสต์ แนะนำเว็บ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 08:38:05 am
1.มีภาพประกอบ หน้าเว็บ 300px 200 px ไฟล์เป็นนามสกุล jpeg jpg png gif

   ในส่วนนี้ ใช้โปรแกรม ACD see ที่ batch ได้

2.เป็นเว็บเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม มูลนิธิ การเรียน เท่านั้น

3.โพสต์ลิงก์ เว็บ ไว้ด้วย ( ห้ามโพสต์ แต่ลิงก์ อย่างเีดียว )
   พร้อมบอกแหล่งที่มา ที่เกี่ยวข้อง

4.คำอธิบาย แล้วแต่

5.อนุญาตเผยแผ่เนื้อหา ของเว็บที่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็น วีิดีโอ เสียง หนังสือ

กติกาเบื้องต้น ก็มีอย่างนี้นะครับ สำหรับท่านที่ถามเรื่องต้องการโปรโมทเว็บ

 :welcome:
219  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมสโมทาน ของผู้ปรารถนา เป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 06:56:03 am
ธรรมสโมธาน (การประชุมธรรม) ๕ ประการ คือ:-

๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) คือ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น เป็นเทวดาไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต หรือ อสุรกาย

๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺคสมฺปตฺติ) คือ เป็นเพศชายเท่านั้น จะเป็นผู้หญิง กะเทยและอุภโตพยัญชนก (บุคคลที่มี ๒ เพศในคนเดียวกัน) ไม่ได้ แต่กระนั้น ผู้หญิงสามารถเป็นมารดาของผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้

๓. การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวกิเลสทั้งหลาย (วิคตาสวทสฺสนํ) คือ การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

๔. อธิการ (อธิกาโร) คือกระทำอันยิ่ง ต้องบริจาคชีวิตของตนเองแล้วจึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

๕. ความพอใจ (ฉนฺทตา) คือ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้ว่าจะยากลำบากประสบพบปัญหาอุปสรรคมากเพียงใดก็ตาม  อาทิเช่น มีคนกล่าวว่า ใครก็ตามที่สามารถเหยียบสากลจักรวาล  อันเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟได้ ใครก็ตามที่สามารถเหยียบข้ามสากลจักวาลอันเกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวได้ ใครก็ตามที่สามารถลุยข้ามสากลจักรวาลอันเต็มไปด้วยน้ำปริ่มฝั่งได้ ใครก็ตามที่สามารถก้าวล่วงสากลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดรได้ จึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า "เราสามารถทำเช่นนั้นได้"
220  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / เชิญร่วมโพสต์ ภาพไทยๆ อวยพรในวันปีใหม่ไทยกันบ้าง เมื่อ: มีนาคม 05, 2011, 07:21:36 pm
เนื่องด้วยในวันที่ 13 - 15  - 16 เมษายน 2554 จัดว่าเป็นการขึ้นปีใหม่ของคนไทย

เราอวยพรกันแบบช่าวสากล แล้ว มาร่วมอวยพร ปีใหม่ไทยกันบ้างดีหรือไม่ ใครเห็นด้วยก็มาร่วมอวยพร

โดยทำการ์ดอวยพร ตามแต่ใจท่าน เซฟ ใช้คำว่า Thai(user).jpg โพสต์แนบไฟล์ในกระทู้

ภาพใครเข้าตา มีรางวัลให้นะครับ ..... หมดเขตเดือน  1 พ.ค.54

 :25:








กติกา ก็ไม่มากนะครับ

1.ส่งภาพที่ทำโดยใช้ภาพ ความกว้าง 400 x 320 pixel
 
   มาที่ email pra_sonthaya@madchima.org

   เพื่อรับลิงก์ โดยไม่ต้องอัพโหลดไฟล์เอง เพื่อรักษาภาพไว้ที่เว็บ ไม่ต้องไปสมัครที่ื่ือื่น เพื่อฝากภาพ

2.ในภาพ ลงภาพที่เป็นภาพเกี่ยวกับวันสงกรานต์

3.ใส่คำอวยพร เท่าที่ต้องการ ลงชื่อ user และ ใส่ชื่อเว็บ www.madchima.org ลงไปในภาพด้วย

4.เซฟไฟล์ นำด้วย thai(user) เป็นไฟล์นามสกุล jpg หรือ gif หรือ png มีความจุไม่เกิน 60 kb

5.ถ้าภาพไหนถูกใจ ก็จะรับ รางวัลจากพระอาจารย์ ดังนั้นตอนส่งเมล์ ก็ส่งชื่อจริง ที่อยู่มาด้วย

 ( แต่ถ้าไม่ต้องการรางวัล ก็ไม่ต้องส่ง ชื่อจริง ที่อยู่ ก็ได้นะครับ )

6.ภาพที่ทำเสร็จแล้ว ส่งมานั้นขอสงวนสิทธิ์ไว้ให้ที่เว็บเลยนะครับ ให้เป็นธรรมทาน นันทนาการห้าม
 
   เรียกร้องสิทธิ์ของภาพ อีกนะครับ

ขอบคุณทุกท่าน ที่ร่วมมือ และได้ส่งภาพมาให้ชมกันบ้างแล้วนะครับ

 :25: :25: :25:
221  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / เพลงช่วยดำเนินสมาธิ เปิดจักระ เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 07:23:44 pm


Base Chakra Preview

https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Base-Chakra-Preview.mp3



Sacral Chakra Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Sacral-Chakra-Preview.mp3



Solar Plexus Music Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Solar-Plexus-Chakra-Preview.mp3


Heart Chakra Music Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Heart-Chakra-Preview.mp3



Throat Chakra Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Throat-Chakra-Preview.mp3


Third Eye Music Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Third-Eye-Chakra-Preview.mp3


Crown Chakra Preview
https://s3.amazonaws.com/meditation-music/Crown-Chakra-Preview.mp3


ขอบคุณที่มาลิงก์
http://www.the-guided-meditation-site.com/chakra-music.html
222  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รวบดวงใจทัวร์ ทัวร์เถื่อน ตุ๋นพระทัวร์อินเดีย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 10:22:18 am
รวบดวงใจทัวร์ ทัวร์เถื่อน ตุ๋นพระทัวร์อินเดีย

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 21 ก.พ. ร.ต.ท.หญิง เสาวลักษณ์ สุวรรณมณี พงส.สบ 1 สน.คันนายาว รับแจ้งเหตุจากคณะลูกทัวร์ 15 คน นำโดย พระครูสาครคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดหนองนกไข่ จ.สมุทรสาคร เดินทางมาแจ้งความดำเนินคดีกับ นายจีราวัฒน์ วงศ์อินตาธาดา อายุ 52 ปี และ นางกุลภัสสรณ์ วงศ์อินตาธาดา อายุ 50 ปี สามีภรรยาเจ้าของบริษัทดวงใจทัวร์ ข้อหาร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่มีใบประกอบอาชีพทัวร์

หลังจากที่ตำรวจท่องเที่ยวจับกุม มาส่งตำรวจ สน.คันนายาว โดยพระครูสาครคุณาภรณ์ กล่าวว่า รู้จักบริษัทดวงใจทัวร์จากการแนะนำของโยมคนหนึ่ง โดยตนและโยมอีก 18 คน ต้องการเดินทางไปประเทศอินเดียเพื่อจะไปสักการะสังเวชนียสถาน โดยบริษัทกำหนดราคาไว้ที่ 3 หมื่นบาทต่อคน กำหนดออกเดินทางวันที่ 8 มี.ค. 53

พระครูสาครคุณาภรณ์ กล่าวต่อว่า ก่อนเดินทาง 2 วันทางนายจีราวัฒน์ ได้โทรฯมาขอยกเลิกการเดินทางโดยให้เหตุผลว่าลูกไม่สบาย หลังจากนั้นทางบริษัทก็ไม่ติดต่อกลับมาอีก จนกระทั่งมีนางสุภัทรจิรา ฟ่องสุขสวัสดิ์ หนึ่งในคณะผู้เดินทาง ได้โทรศัพท์ไปสอบถามความคืบหน้าแต่ก็มีการบ่ายเบี่ยงตลอดเวลา จนเมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมาทางบริษัทได้ติดต่อมาอีกครั้งว่าจะพาไปประเทศอินเดีย และเมื่อถึงวันและเวลานัดหมายจะออกเดินทางก็ไม่ได้รับการติดต่อจากบริษัทอีก เลย หลังจากนั้นได้ร้องเรียนที่ทางกรมการท่องเที่ยวดำเนินการช่วยเหลือ

ร.ต.อ.พีรวัฒน์ ปรมพุฒิ รอง สว.งานสืบสวน กก. 1 บก.ทท. หัวหน้าชุดจับกุม กล่าวว่า หลังจากผู้เสียหายเข้าร้องเรียนกับทางสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยว ว่าได้ถูกบริษัทหลอกลวง และจากการตรวจสอบพบว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้ขอจดทะเบียนแต่อย่างใด จึงได้วางแผนทำทีล่อซื้อเข้าจับกุมที่บ้านเลขที่ 46 /22 ถนอมมิตรพาร์คคอนโดมิเนียม ซอยวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้จัดทัวร์โดยไม่มีใบอนุญาตจริง เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว รวมทั้งฉ้อโกงประชาชน ก่อนส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป.
ที่มา:
เดลินิวส์

ที่มาข่าว
http://www.phrathai.net/news-article/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%8B%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1298295155&grpid=03&catid=00


http://thairecent.com/Crime/2011/807930/
223  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ประกาศเรื่องการจัดรายการออกอากาศ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 08:01:41 am
ต่อไปจะจัดรายการออกอากาศ เฉพาะเวลา แล้วนะครับ
เนื่องด้วยตอนนี้สู้กับค่าไฟฟ้าไม่ไหวครับ จัดทั้งวันต้องสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้า เดือนละพันกว่าบาท

จะจัดออกอากาศเวลา 18.30 น. - 20.30 น. ( 2 ชั่วโมง )

โปรดร่วมกันแสดงความคิดเห็น หรือ จะให้งดการจัดรายการ ดีครับ

 :s_hi: :035:
224  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / เว็บฝากภาพ หมดอายุ http://my.imageshack.us เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 11:36:31 am
ตอนนี้ได้รับแจ้งจาก สมาชิกเรื่องปัญหา ไฟล์ภาพที่ฝากไว้ที่

http://my.imageshack.us

ตอนนี้ถ้าใครใช้มามีอายุ เกิน 1 ปีแล้ว ทางเว็บทีนั้นก็จะลบไฟล์ภาพทั้งหมดครับ ให้ตั้งต้นใหม่ครับ
ต้องเซฟไว้ก่อนนะครับ ถ้าฝากไว้แล้ว มีปัญหามากก็ให้ Add ในระบบสมาชิกที่นี่เลยครับ

ตอนนี้ทางเว็บเองก็กำลังแก้ไขปัญหาระบบที่ฝากไฟล์ภาพกลับมาใช้ที่ Server เราเองแล้วครับ

 :13: :13: :13:
225  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / สรุปธรรมสัญจร วันที่ 20 ก.พ.2554 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 07:25:00 am
ออกเดินทางกันตั้งแต่ 4.45 น. ไปทานอาหารเช้า กันที่วัดพนัญเชิง อยุธยา
เนื่องด้วยบรรยากาศในเวลา 6.00 น.เช้ามากจึงเปลี่ยนสถานที่ทานอาหารเช้าจากที่วังน้อยไปทานที่วัดพนัญเชิง ได้ชมบรรยากาศ 2 ข้างทางยามเช้าที่อยุธยา
ถึงนครปฐม พระปฐมเจดีย์ 09.10 น. ก็ปล่อยให้คณะิเดินทัศนศึกษาทำบุญ ทำประทักษิณาวัตรรอบพระเจดีย์ ก็ยังเดินกันไม่ทั่ว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวที่ ปฐมเจดีย์นี้ด้วยเดี๋ยวจะทำออกเป็นตอนในอีกเรื่องหนึ่ง รอก่อน
พระประโทณเจดีย์
ออกจาก พระปฐมเจดีย์ ก็เข้าสู่ พระประโทณเจดีย์ ซึ่งมีรูปแบบเหมือนชั้นใน เจดีย์ปฐม มองจากรอบพระประโทณเจดีย์แล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะมากราบไหว้ นมัสการเพราะดูจากจำนวนคนที่ พระปฐมเจดีย์ กับที่นี่แล้ว ต่างกันมาก ๆ เพราะที่นี่เดินไม่เจอคณะอื่น ๆ เลยไม่เหมือนที่ ปฐมเจดีย์คนแน่นขนัด
บนยอดพระประโทณเจดีย์ สงสัยด้านบนบรรจุ หรือมีอะไรอยู่ในห้องนั้น ด้วยความสงสัยจึงให้อาสาสมัครจำเป็นขึ้นไปเก็บภาพด้านบนลงมาให้ชม
ฝีมือช่างภาพจำเป็น
ช่างภาพขึ้นไปไม่เป็นไร แต่ตอนลงช่างน่าเสียวไส้ เราอยู่ด้านล่างไม่รู้หรอก  พอมองจากภาพแล้วก็น่าเสียวไส้จริง ๆ นะจ๊ะเพราะทางลาดชันเป็นบันที่ต้องปีนป่าย ไม่ใช่บันไดที่เดินขึ้นลงอย่างสะดวก
ภาพนี้ต้องกล้าจริง ๆนะเพราะสูงมาก
ดูจากภาพ ก็จะรู้ดังนั้น ต้องขอบคุณในน้ำใจช่างภาพจำเป็นนี้เป็นอย่างมาก
ได้วิวที่ถ่ายบนส่วนห้องชั้นบนสุด ของพระประโทณเจดีย์
มองลงไปแล้วใจสั่น พอสมควรสำหรับสมาชิกที่อยู่ด้านล่างก็มองด้วยความเป็นห่วง
อนุโมทนาในกุศล ที่ขึ้นไปเก็บภาพนี้มาให้ชมด้วยนะจ๊ะ
เป็นมุมภาพที่หาได้ยากจริง ในคราวนี้
เบี้ยแก้ยักษ์วัดกลางคูเวียง
มาที่วัดกลางคูเวียง จากแยก ถนนเพชรเกษม คิดไว้ว่าประมาณ 36 กม. แต่เอาเข้าจริงเป็นความคลาดเคลื่อนที่เข้าใจผิดจากแผนที่ระยะจริงเพียง 9 กม.เท่านั้นและระยะทางห่างกัน วัดกลางคูเวียง และ วัดกลางบางแก้ว เพียง 5 กม.เองเท่านั้น สำหรับวัดกลางคูเวียง เป็นวัดที่เข้าไปแล้วเย็นเพราะมีทีุ่มุงที่บัง กันแดด และตลาดน้ำสะอาด มีต้นไม้ร่มรื่นอยู่มาก และที่สำคัญที่สุด ที่ลานจอดรถนั้นมีผ้ากันแดดให้ในลานจอดรถ สำหรับในภาพนั้นก็ถือว่าเป็น Unseen ของที่นี่ คือ เีบี้ยแก้ยักษ์
ลูกนิมิตยักษ์วัดกลางคูเวียง เิดินปิดทองลูกนิมิต 9 วัดกันเพราะมีจำนวนลูกมากบูชาแผ่นทองตามศรัทธาเดินไปปิดลูกใหญ่ก่อน และตามด้วยลูกนิิมิต 9 วัด unseen ที่เหลือนั้นก็มี หม้อยายักษ์ หลวงพ่อเจ้าอาวาสท่านนั่งแจกยาอยู่ในห้องที่วิหารถัดจากเบี้ยแก้ มียาหม้อ ห่อละ 100 บาท เท่าที่ถามมาเช่นยาแก้โรคกระเพาะเป็นต้น
ยามบ่ายที่เจดีย์หลังอุโบสถวัดกลางบางแก้ว
จากวัดกลางคูเวียงก็เดินทางมาต่อที่วัดกลางบางแก้ว ที่นี่บรรยากาศยามบ่ายสองร้อนมาก เพราะที่วัดไม่มีที่หลบร้อนเลย มีแต่ลานปูนเดินไปก็ร้อนมาก แต่โบสถ์ที่นี่มีการประสมประสานลวดลายกระเบื้องเคลือบซึ่งจะคล้ายกับ พระปรางค์วัดอรุณ นับว่าเป็นศิลปะงดงาม คณะพากันไปเดินลอดอุโบสถเอาเคล็ดหน่อย เพราะ่่ว่าตอนที่ไปนั้นงานวัดพึ่งเสร็จลุล่วงไป 1 วัน
บนพิิพิธภัณฑ์ชั้น 3 วัดกลางบางแก้ว ที่นี่ถือว่าเป็น Unseen ถ้าขึ้นมาถึงแล้วไม่เดินขึ้นไปบนกุฏิหลวงปู่บุญก็จะไม่ได้เห็น หุ่นขี้ผึ้งของพระสามเกจิ แน่ ๆ เพราะมองจากด้านหน้าไม่เห็น จะมีหุ่นขี้ผึ้ง หลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม หลวงปู่เจืออยู่ ที่พิิพิธภัณฑ์นี้ต้องเสียค่าเข้าชม คนละ 20 บาท เดินลงจากพิพิธภัณฑ์แล้วก็เดินไปที่วิหารเก็บศพหลวงปู่เจือด้านล่าง ซึ่งรอวันพระราชทานเพลิงศพ แต่เดินที่นี่อากาศร้อนมากไม่มีลมโชยเลยต่างจากวัดกลางคณะไม่ได้อยู่นาน


และถ่ายภาพหมู่โดยเจ้าหน้าที่ประจำงานแสดง นิทรรศกาล ธรรมเจดีย์ พุทธมณฑล
สำหรับที่นี่ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมาก ๆ เพราะบรรยากาศภายในพุทธมณฑลนั้นอากาศร่มรื่นร่มเย็นมากๆ แถมจุดนิทรรศกาลนั้น ยังติดเครื่องปรับอากาศให้เดินชมนิทรรศกาลได้อย่างสบายใจ สนับสนุนใครยังไม่เคยไปนะเขาจะมีการแสดงนิทรรศกาลนี้ถึงวันที่ 20 พ.ค. 2554 เวลาที่เปิดตั้งแต่ 9.00 - 18.00 น.
226  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร เมื่อ: มกราคม 15, 2011, 09:51:15 pm

ที่มา
http://www2.pt-amulet.com/node/8
ประวัติหลวงพ่อเงิน และวัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร
      
หลวงพ่อเงินท่านเป็นพระภิกษุรุ่นเก่า เกิดเมื่อราว ๑๙๐ ปีมาแล้ว (นับถึง พ.ศ. ๒๕๔๙) วันเดือนปีเกิดของท่านจึงไม่รู้แน่ชัด ในหนังสือประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้เป็น ๒ กระแส แต่ต่างยืนยันว่าท่านเกิดปีฉลู กระแสแรกว่าท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๓๔๘ อีกกระแสท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. ๒๓๖๐ (นอกจาก พ.ศ. ทั้งสองที่ว่านี้แล้วจะไม่ตรงกับปีฉลู) ในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าน่าจะเป็นประการหลังมากกว่า นอกเหนือจากปีเกิดของท่านยังไม่รู้แน่ชัดแล้ว ปี พ.ศ. ที่ท่านมรณภาพก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในหนังสือแทบทุกเล่มระบุว่าท่านมรณภาพใน พ.ศ. ๒๔๖๒ อายุ ๑๐๐ ปีเศษ แต่เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์เมืองพิจิตร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ทอดพระเนตรวัดวังตะโก ทาง ๑๙ นาทีถึงวัดนี้ ภูมิฐานดี มีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น แต่โบสถ์วิหารชำรุดมาก มีพระสงฆ์ ๘ รูป พระแจะ เจ้าคณะหมวดเป็นเจ้าอาวาส” ข้อความข้างต้นนี้มีความสำคัญ นอกจากบรรยายสภาพวัดวังตะโก หรือวัดบางคลานในสมัยนั้นแล้ว ยังเป็นที่ยืนยันว่าใน พ.ศ. ๒๔๖๐ หลวงพ่อเงินท่านได้มรณภาพไปแล้ว โดยระบุชื่อ “พระแจะ” เจ้าอาวาสองค์ต่อจากหลวงพ่อเงินเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น
มีอีกเอกสารหนึ่งเป็นลายมือชื่อซึ่งเข้าใจเป็นลายมือ หลวงพ่อเงิน เขียนข้อความว่า วันที่ ๒๙ เมษายน ศก ๑๓๐ พระอาจารย์เงินอุปฌาย์วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน ... (ข้อความตอนนี้อ่านไม่ออก) ท่านกรมการอำเภอบางคลานทราบ ด้วยนายพัน...มีอายุที่จะบรรพชาได้ ศึกษาวินัยสิกขาบทแล้ว...จะอุปสมบทวันนี้ ๖ ศก.๑๓๐ จึงได้ชี้แจงมาให้ทราบ ...(เข้าใจว่าเป็นลายเซ็นของหลวงพ่อเงิน) เอกสารนี้แสดงว่าใน ร.ศ.๑๓๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๕๔ หลวงพ่อเงินท่านยังมีชีวิตและยังแข็งแรงอยู่ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้ชาวบ้านได้ จึงยืนยันได้ว่าหลวงพ่อเงินคงจะมรณภาพ ในราว พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๕๙ และวัดบางคลานในสมัยนั้นเรียกว่า “วัดวังตะโก” เป็นที่รับรองว่าหลวงพ่อเงินได้อุปสมบทที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) กรุงเทพมหานคร ต่อมาจึงกลับไปจำพรรษาที่วัดคงคาราม (บางคลานใต้) จังหวัดพิจิตร เนื่องจากวัดคงคารามขาดความเงียบสงบ ท่านจึงย้ายไปอยู่ที่บ้านวังตะโก และคงก่อสร้างวัดที่นั้น มีชื่อว่า “วัดวังตะโก” อยู่ตำบลบางคลาน จังหวัดพิจิตร ซึ่งตรงกับบันทึกของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ และ หลวงพ่อเงิน เรียกชื่อวัดในเอกสารที่ได้อ้างมา   


   
227  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระครูมงคลสาครชัย จนฺทญาโณ พระเกจิดัง ศพไม่เน่า เผยใส่โลงนานเกือบปี เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:37:18 pm
ฮือฮาพระเกจิดัง ศพไม่เน่า เผยใส่โลงนานเกือบปี
 

ไม่เน่า- พระลูกวัดชัยมงคล อ.เมือง จ.สมุทรสาคร อุ้มศพพระครูมงคลสาครชัย อดีตเจ้าอาวาส ออกจากโลงไม้สักมาบรรจุในโลงใหม่เพื่อเตรียมเข้าพิธีพระราชทานเพลิง และต้องอัศจรรย์ใจตามๆ กัน เพราะสภาพไม่เน่าเปื่อย ทั้งๆ ที่เก็บศพไว้เกือบ 1 ปีแล้ว
 
 
เจ้าอาวาสวัดดังที่มหาชัย! พระราชทานเพลิงศพวันนี้
 
ฮือ ฮาศพพระเกจิ อดีตเจ้าอาวาสวัดดังเมืองมหาชัยไม่เน่าเปื่อย หลังมรณภาพมานานเกือบปี ชาวบ้านเก็บใส่โลงแก้ว เปิดออกดูเพื่อเตรียมประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพวันนี้ พบยังมีสภาพสมบูรณ์ เป็นที่อัศจรรย์ใจของศิษยานุศิษย์ ก่อนมีการประชุมกัน ยืนยันให้มีการพระราชทานเพลิง เผยประวัติเป็นพระนักเทศน์ภาษารามัญ อีกทั้งเป็นศิษย์เอกหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน สมุทรสาคร

เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 27 ม.ค. นายอนันต์ ปิ่นทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ตามที่ พระครูวินัยธร ภทฺทธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล ต.ชัยมงคล และคณะกรรมการวัดจัดงานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสาครชัย จนฺทญาโณ อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของสมุทรสาคร ในวันอาทิตย์ที่ 28 ม.ค.นั้น ระหว่างที่พระครูวินัยธร และคณะกรรมการวัด นำศพพระครูมงคลสาครชัยออกจากโลงไม้สักของเดิม มาบรรจุไว้ในโลงที่ใช้ในพระราชทานเพลิงตามพิธีของชาวรามัญ เมื่อเปิดฝาโลงออก สร้างความตื่นตะลึงและเป็นที่อัศจรรย์ให้กับทุกคนเป็นอย่างยิ่ง เพราะสภาพศพของอดีตเจ้าอาวาสที่เห็นนั้นยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่เน่าเปื่อย และไม่มีกลิ่นใดๆ ทั้งสิ้น ชาวบ้านที่มามุงดูต่างก้มลงกราบและวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา บางคนบอกว่าหลวงพ่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้พระครูวินัยธรและคณะกรรมการวัดเรียกประชุมด่วนนานหลายชั่วโมง พร้อมกับเสนอให้ใส่โลงแก้วรักษาสภาพศพไว้ให้ลูกศิษย์มากราบไหว้ขอพรต่อไป แต่ในที่สุดที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะพระราชทานเพลิงศพไปตามกำหนดการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับประวัติของพระครูมงคลสาครชัย จนฺทญาโณ มีชื่อเดิมว่า ชำนาญ ปัญญารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2459 มรณภาพเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2549 อายุ 90 ปี เป็นบุตรของนายคำ และนางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นชาวต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็นบุตรคนที่ 6 อุปสมบทเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2481 ที่วัดชัยมงคล มีพระครูรอด พุทฺธสณฺโท วัดบางน้ำวน พระเกจิชื่อดังที่สร้างพระเครื่องราคาองค์ละหลายแสนบาทที่เซียนพระรู้จักดี ว่า หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระอุปัชฌาย์

กระทั่งวันที่ 25 ธ.ค. 2520 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล ตลอดเวลาได้ทำนุบำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์อารามให้อยู่ในสภาพมั่นคงถาวรสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นนักเทศน์ภาษารามัญฝีปากเอกระดับประเทศอีกองค์หนึ่งด้วย ถวายที่ดินส่วนตัวให้วัดจำนวนหลายไร่เพื่อการพัฒนาวัด จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างอีกด้วย นอกจากนี้มีชื่อเสียงทางด้านวิชาอาคม เมตตามหานิยม มีการออกวัตถุมงคลเป็นเหรียญ 1 รุ่น ซึ่งเวลานี้มีราคาแพงและหายาก เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

 

 

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด

ประจำวันที่ 28 มกราคม 2550 (หน้า 1)
228  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อปลื้ม วัดสวนหงส์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:27:03 pm


วัดสวนหงส์ ตั้งอยู่หมู่ ๘ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เล่ากันว่า มีเศรษฐีโคกครามสองสามีภรรยา ชื่อ นายสวน กับ นางหงส์ มีศรัทธาสร้างวัดขึ้นมา แล้วเรียกขานชื่อวัดว่า วัดสวนหงส์

 ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส องค์ตรวจการคณะสงฆ์ได้มาตรวจพื้นที่วัดสวนหงส์ ในขณะนั้น โดยมี  พระอาจารย์แก้ว นนฺทโชติ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ตรัสชมว่า

 “วัดสวนหงส์อยู่ในชัยภูมิที่ดี มีภูมิฐาน คือ มีต้นไม้ใหญ่ๆ มาก และมีแม่น้ำวกอ้อมวัดถึง ๓ ทิศ ๓ ด้าน”


 ลำดับ เจ้าอาวาสปกครองวัดสวนหงส์ ตั้งแต่รูปแรกจนถึงรูปปัจจุบัน มี ๑.พระอธิการแก้ว นนฺทโชติ (พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๖๙) ๒.พระครูแก้ว อิสฺสโร (พ.ศ. ๒๔๖๙- ๒๔๘๙) ๓.พระครูพิทักษ์ธรรมคุณ (พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๑) ๔.พระครูสุมนคณารักษ์ หรือ หลวงพ่อปลื้ม (พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๔๕) และ ๕.พระครูโกศลธรรมานุสิฐ เป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน

 หลวง พ่อปลื้ม เป็นชาว อ.บางปลาม้า ถือกำเนิดที่บ้านยอด ต.เก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอาจารย์ชื่อดังที่ชาว อ.บางปลาม้าให้ความเคารพนับถือมาก เป็นพระอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ค่อนชีวิตของท่านเป็นครูสอนนักธรรมแก่พระเณรมาโดยตลอด ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านก็ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ท่านเป็นพระที่ชอบเดินจงกรม กำหนดจิตให้เป็นสมาธิอยู่ตลอดเวลา

 แม้ ว่าหลวงพ่อปลื้มเป็นพระที่ดุ แต่โดยส่วนลึกในจิตใจของท่านนั้น มีเมตตาแก่ทุกคนที่แวะเวียนไปกราบไหว้ ผู้ที่เดือดร้อนเป็นทุกข์ทางใจไปหาท่าน หลวงพ่อจะพรมน้ำมนต์ให้ เรื่องร้ายมักผ่อนคลาย แถมโชคดีอีกต่างหาก


 ล็อคเก็ตหลวงพ่อปลื้ม

 เรื่อง ราวของหลวงพ่อปลื้ม ชาวบ้านกล่าวขานกันมาตลอด ด้วยความเป็นพระครูที่มีลูกศิษย์มาก ชาวบ้านจึงเคารพยำเกรงท่าน เป็นพระที่ชาวบ้านรักและนับถือมากเป็นที่สุด มีเรื่องเล่ากันว่า คนสุพรรณที่เคยไปกราบหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ยังต้องถูกสั่งสอนว่า “มึงไม่ต้องมาถึงกูหรอก ไปกราบหลวงพ่อปลื้ม อาจารย์กูที่วัดสวนหงส์ก็พอแล้ว"

 เมื่อครั้งที่หลวงพ่อปลื้มท่านเข้า มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ สมัยนั้นวัดสวนหงส์มีสภาพเป็นวัดเล็กๆ เสนาสนะต่างๆ ก็ทรุดโทรม หลวงพ่อจึงซ่อมแซมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระผู้คงแก่เรียน มากด้วยวิชาอาคม มีญาณสมาบัติแก่กล้า ท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวผู้ใด เล่ากันว่า มีหลายคนที่ท่านว่ากล่าวด้วยเพราะเหลือวิสัยจริงๆ ผู้นั้นมักมีอันเป็นไปตามวาจา จึงเชื่อกันว่า หลวงพ่อปลื้มวาจาสิทธิ์

 หลวง พ่ออยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ศิษยานุศิษย์ ชาวบ้านบางปลาม้า จนกระทั่งวันที่ ๒๓ มีนาคม  ๒๕๔๕ ท่านจึงได้ละสังขาร ด้วยอาการสงบ เนื่องจากหัวใจล้มเหลว สิริอายุรวม ๙๔ ปี ๕ เดือน ๗ วัน ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของชาวอำเภอบางปลาม้า เป็นอย่างยิ่ง


                                       

ในระหว่างที่สวดศพตลอด ๙ วัน  มีเหตุอัศจรรย์ คือ ผึ้งหลวงและผึ้งธรรมดา บินรอบศาลา และตกลงมาตายจำนวนมาก

 ปัจจุบัน สรีระของหลวงพ่อสงบนิ่งในโลงแก้ว ภายในหมู่กุฏิใหญ่ สรีระของท่านเพียงแต่แห้งไปเท่านั้น  ไม่เน่าไม่เปื่อยแต่อย่างใด มีพุทธศาสนิกชนไปกราบไหว้ รับวัตถุมงคลไปบูชา ด้วยความศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลายกันไม่ขาด

ที่มาเนื้อหา
http://www.watsuanhong.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539120093
229  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติ ของหลวงพ่อจ้อย จันทสุวัณโณ เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:14:35 pm


* * ประวัติ ของหลวงพ่อจ้อย จันทสุวัณโณ * *

นามเดิม จ้อย (ภาษาลาวกะลา แปลว่า ผอม)
ฉายา จนฺทสุวณฺโณ
นามสกุล ปานสีทา
วัดศรีอุทุมพร หมู่ที่ 9 ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์
ชาติภูมิ ต.พรวงสองนาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ชาติกาล วันอังคารที่ 8 เมษายน 2456 (ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู) เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแหยม นางบุญ ปานสีทา มีพี่น้อง ด้วยกัน 6 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 3 คน คือ
1.นางทองดี
2.พระครูจ้อย หรือ หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ
3.พระภิกษุสิงห์
4.นางแต๋ว
5.นางหนู
6.พระภิกษุสุเทพ
อุปสมบทเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2476 ที่วัดดอนหวาย ต.พรวงสองนาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี โดยมีพระปลัดตุ้ยเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญธรรมเป็น พระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญตาเป็นพระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ
1. พ.ศ.2470 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
2. พ.ศ.2480 สอบนักธรรมชั้นตรีได้
3. พ.ศ.2481 สอบนักธรรมชั้นโทได้
4. การศึกษาพิเศษ หลักสูตรพระอภิธรรมและวิปัสสนากรรมฐานจากวัดระฆังโฆษิตารามและวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร
5. มีความรู้ ความชำนาญในการเผยแพร่ธรรมแก่พุทธบริษัท และพรสงฆ์ที่ไปอยู่ปริวาสกรรมเป็นอย่างดี
6. มีความรู้ความชำนาญในการก่อสร้างทุกชนิด


ที่มาเนื้อหา
http://www.kumanthongsiam.com/index.php?mo=5&qid=289491
230  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.อยุธยา เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 11:10:13 pm

                เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ คณะศิษยานุศิษย์ได้ประกอบพิธีทำบุญครบ ๑๐๐ วันแห่งวันมรณภาพของ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมกับได้ประกอบพิธีอัญเชิญสรีระของหลวงปู่จากหีบทองทึบ ประดิษฐานในหีบแก้วประดับมุก หลังจากที่พบว่า สรีระของหลวงปู่ไม่ได้เน่าเปื่อย ไปตามกาลเวลาที่ผ่านมา ตลอด ๑๐๐ วันที่ตั้งบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม

                อีกทั้งยังไม่มีกลิ่นอับชื้นแต่ประการใดอีกด้วย สภาพสรีระที่เห็น เหมือนหนึ่งหลวงปู่นอนหลับไปเฉยๆ

                นายนพดล ชาระโภค ลูกศิษย์ที่ร่วมทำความสะอาดร่างกายหลวงปู่ทิม ก่อนเปลี่ยนใส่หีบแก้วประดับมุก บอกว่า ขณะทำความสะอาด เมื่อสัมผัสผิวหนังหลวงปู่รู้สึกได้ถึงความอ่อนนุ่ม ผิวพรรณออกเหลืองทอง และมีกลิ่นหอมของชานหมากกระจายไปทั่วศาลา

                ขณะเดียวกัน ปรากฏว่าเส้นผม และเล็บมือเล็บเท้าของหลวงปู่ก็งอกยาวขึ้นมาอีกด้วย

                ปรากฏการณ์เช่นนี้ เคยเป็นข่าวเกรียวกราวขึ้นหน้าหนึ่ง นสพ.รายวัน มาแล้ว เมื่อครั้งที่ลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ซึ่งมรณภาพมานานนับสิบปี โดยที่สรีระไม่เน่าเปื่อย ไม่มีกลิ่น แต่เส้นผมและเล็บมือเล็บเท้ากลับงอกยาวกว่าเดิมมาก จนมีการนำปัญหานี้ไปสอบถามนายแพทย์หลายท่าน โดยสรุปได้ว่า เป็นเพราะเซลล์บางส่วนยังมีชีวิตอยู่ จึงเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว

                ใน ขณะที่ พระเกจิอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายท่าน ได้ให้ความเห็นว่า การที่สรีระของพระคณาจารย์บางท่านไม่เน่าเปื่อยนั้น ก็เพราะความบริสุทธิ์ผุดผ่องในวัตรปฏิบัติของท่าน ที่ไม่มีความด่างพร้อยในพรหมจรรย์  เพราะตั้งมั่น อยู่ในพระวินัยและศีลธรรมอันดีงาม อย่างเคร่งครัดมาโดยตลอดชีวิตสมณเพศ เมื่อมรณภาพแล้ว สรีระของท่านก็สะอาดบริสุทธิ์ผุดผ่อง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายไม่เน่าเปื่อยก็ได้

                แต่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวท่านด้วยว่า ก่อนจะมรณภาพท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้อย่างไร หากท่านไม่ประสงค์ให้ร่างกายของท่าน เป็นอมตะยืนยงต่อไป ก็อาจจะอธิษฐานขอให้สังขารนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ คือ เน่าเปื่อยไปสภาพความเป็นจริงของเนื้อหนังมังสามนุษย์

                ใน ทางกลับกัน หากท่านอธิษฐานจิตว่า ถ้าชีวิตที่ผ่านมาในสมณเพศของท่าน ไม่ได้ด่างพร้อยในพรหมจรรย์ ก็ขอให้สังขารนี้เป็นอมตะตลอดไป เพื่อให้ญาติโยมได้ยึดเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งทางใจ ยามเมื่อได้สักการบูชาท่านก็จะเห็นสรีระของท่านด้วย เสมือนหนึ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ ร่างกายไม่เน่าเปื่อยเหมือนผู้คนทั่วๆ ไปที่ถึงแก่กรรมแล้ว

                ในประเด็นนี้ หลวงปู่ทิม ท่านน่าจะตั้งจิตอธิษฐานขอให้สังขารของท่านเป็นอมตะ ไม่เน่าเปื่อยเมื่อมรณภาพแล้วก็ได้

                สิ่ง หนึ่งที่สนับสนุนในความคิดเห็นนี้ คือ หลวงปู่ได้สั่งทำหีบแก้วเอาไว้ มานานกว่าสิบปีแล้ว เพื่อจะได้บรรจุสรีระของท่าน เมื่อมรณภาพแล้ว แสดงถึงการเตรียมพร้อมที่จะจากไปวันไหนก็ได้ โดยไม่ได้ตั้งอยู่ในความประมาทเลย นับเป็นวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพนับถือยิ่ง

                ทุก วันนี้ หากใครไปสักการบูชาหลวงปู่ทิม ที่วัดพระขาว ก็จะได้พบเห็นสรีระของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในหีบแก้วฝังมุกอย่างงดงาม โดยเมื่อวานนี้ (วันที่ ๕ กรกฎาคม) ได้มีการเคลื่อนย้ายหีบแก้วที่บรรจุสรีระหลวงปู่ จากศาลาการเปรียญขึ้นไปประดิษฐานบนวิหารไม้สักทองทรงไทยอันสวยงามอลังการ ซึ่งเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย ที่หลวงปู่ได้สร้างสรรค์ไว้ ณ วัดพระขาว ก่อนมรณภาพ   

                ขณะ เดียวกัน ในแวดวงนักสะสมวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิม วัดพระขาว ปรากฏว่าได้เกิดการแสวงหากันอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่หลวงปู่มรณภาพ วัตถุมงคลแทบทุกรุ่น ราคาเช่าหาแพงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว และเมื่อมีข่าวล่าสุด ที่ว่าสรีระของหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อยเช่นนี้ ยิ่งทำให้วัตถุมงคลของหลวงปู่มีราคาแพงขึ้นไปอีก

                อย่างไรก็ตาม สำหรับวัตถุมงคลที่หลวงปู่มักจะ แจกฟรี แก่ผู้ที่ไปกราบไหว้ท่านตลอดมา ก็คือ ลูกอมชานหมาก ซึ่ง เป็นของที่ดูแล้วไม่มีมูลค่าอะไรมากนัก เป็นชานหมากที่หลวงปู่ได้อมเคี้ยวมาแล้ว เอามาปั้นเป็นลูกกลมๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. ทุกคนที่ไปวัดพระขาว จะต้องได้รับแจกจากหลวงปู่เสมอ จนนับเป็นวัตถุมงคลที่เป็นเอกลักษณ์ ของหลวงปู่ทิมไปโดยปริยาย  โดย หลวงปู่จะกำชับว่า ให้เลี่ยมติดตัวไว้ มีอะไรให้นึกถึงท่าน ทุกคนที่เคยกราบไหว้หลวงปู่ จะต้องคุ้นหูกับคำพูดนี้ของหลวงปู่เป็นอย่างดี

                ศิษย์ ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม คนหนึ่งกล่าวว่า เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับลูกอมชานหมากของหลวงปู่ ก็คือ เวลาเลี่ยมขอแนะนำให้อัดพลาสติกกันน้ำ เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปได้  จะทำให้ไม่เกิดตัวมอด ที่ทำลายให้ลูกอมกลายเป็นผง

                เพราะ ที่มาของลูกอมชานหมาก จะต่างจากหมากสดที่หลวงปู่คายจากปาก รงที่ลูกอมชานหมากเกิดจากน้ำหมากเนื้อหมาก หลวงปู่คายแล้ว ผสมกับน้ำผึ้งและกล้วยน้ำว้าสุก เพื่อปั้นเป็นลูกกลมๆ อย่างที่เห็น ถ้าหากไม่เลี่ยมแบบกันน้ำ จะเกิดตัวมอดกัดกินชานหมาก จนกลายเป็นผุยผงได้

หลวงปู่ทิม นับเป็นพระเถราจารย์ผู้มีความอาวุโสสูงสุดของ จ.พระนครศรีอยุธยา ตามประวัติ หลวงปู่ทิม ท่านเกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๕๖ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๔๙๑

                ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงปู่ทิมได้รับการยกย่องว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งความเมตตา" เป็น พระเถระผู้มีความเมตตาเป็นอย่างยิ่ง โดยได้ให้ความเมตตาช่วยเหลือสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ญาติโยมชาวบ้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

                โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจนิมนต์ต่างๆ เมื่อได้รับแล้วท่านจะต้องไปสนองศรัทธาญาติโยมเสมอ  ไม่ เคยปฏิเสธเลย กิจนิมนต์สำคัญอย่างหนึ่งที่หลวงปู่ได้รับมาโดยตลอด คือ งานพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลตามวัดต่างๆ จะต้องมีชื่อของหลวงปู่นั่งปรกปลุกเสกเป็นประจำ

                นอก จากนี้ ยังมีงานสาธารณประโยชน์ ที่หลวงปู่ได้เมตตาให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนรอบวัด ที่สำคัญ คือ โรงเรียนวัดพระขาว หลวงปู่ได้ให้ความอุปถัมภ์ทั้งในเรื่องงานก่อสร้างอาคาร และทุนการศึกษามาโดยตลอด

                หลวงปู่ทิมได้มรณภาพ เมื่อวันที่  ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๒  เวลา ๑๑.๐๐ น. ด้วยอาการสงบ ขณะมีอายุ ๙๖ ปี พรรษา ๖๑ สอบถามได้ที่โทร.๐-๓๕๓๐-๘๓๓๓,๐-๓๕๗๒-๖๐๘๐ หรือเปิดเข้าไปดูประวัติของหลวงปู่อย่างละเอียดได้ที่ www.luangputim.com

0 บุญนำพา 0

(ขอขอบพระคุณ-ภาพจาก www.luangputim.com-

คุณสินชัย ศักดิ์อนุชัยชาญ ร้านฟิล์มทอง พระประแดง

และ คุณสมบูรณ์ เตียวเจริญชัย ร้าน “นายฮ้อ” ตลาดหนองแค)

++++++++++++++++++





......... 100 วันหลังจากมรณภาพ สภาพสรีระของหลวงปู่แห้งไปเฉยๆ โดยไม่มีกลิ่น แต่ประการใด

เหมือนคนนอนหลับธรรมดา....หลวงปู่ยังอยู่กับศรัทธาญาติโยมตลอดไป......สาธุ....

ขณะนี้สรีระของหลวงปู่ประดิษฐานอยู่ในหีบแก้วฝังมุก เพื่อให้ศรัทธาญาติโยมได้กราบไหว้

แบะ นังพยเห็นหลวงปู่อยู่ตรงหน้า เหมือนเช่นวันวานที่ผ่านมา.....และวันนี้ได้อัญเชิญหีบแก้วฝังมุกขึ้น ประดิษฐานบนมณฑปเรือนไทย ที่สร้างจากไม้สักทองทั้งหลัง สวยงามมาก เป็นผลงานสิ้นสุดท้าย ที่หลวงปู่ได้สร้างไว้เป็นสมบัติของวัดพระขาว

งดงามอลังการมาก ทั้งภายนอกและภายในที่เป็นภาพรดน้ำฝีมือช่างไทย

ที่มาเนื้อหา
http://www.oknation.net/blog/laemkcl/2009/07/05/entry-2
231  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่้เนื่อง วัดจุฬามณี เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:54:57 pm
วัดจุฬามณี ต.บางช้าง อ.อัมพวา วันนี้ตั้งอยู่ริมคลองอัมพวา ห่างจากที่ทำการอำเภออัมพวา ประมาณ 2 กม. เดิมชื่อวัดแม่ย่าทิพย์สร้างมานานตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุง ศรีอยุธยา เป็นราชธานี

 

ประวัติ หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี ตามประวัติโดยสังเขป หลวงพ่อเนื่อง ชื่อเดิม เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2452 ปีระกา เป็นบุตร นายถมยา – นางตาบ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม 4 จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อ พ.ศ. 2463 อุปสมบท เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2475 ณ อุโบสถวัดบางกะพ้อม ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยมี หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อเนื่องเคร่งศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม โดยได้เรียนจากพระอาจารย์ทั้งสอง จนแตกฉาน และได้จำพรรษาที่วัดจุฬามณีต่อมา จนได้เป็นเจ้าอาวาส ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ


ท่านสรงน้ำ เพียง 1 วันเท่านั้น ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือจึงแห่แหนกันมาในวันสงกรานต์อย่างเนืองแน่น น่าประหลาดที่ร่างกายของท่านกลับไม่มีกลิ่น และเหงื่อไคลแต่อย่างใด

 
เรื่องอัศจรรย์ของหลวงพ่อเนื่อง มี เรื่องอัศจรรย์หลายเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อเนื่องเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิต อยู่ใบมะนาวเสกเป็นของขลังที่หลวงพ่อมักจะหยิบยื่นให้ผู้ที่ไปกราบไหว้ อธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ปรารถนา เช่น บางคนอยู่เป็นคู่สามีภรรยากันมานานนับสิบๆ ปี ก็ไม่มีลูกสักที แต่เมื่อไปอธิษฐานขอกับหลวงพ่อเนื่องแล้ว ท่านให้ใบมะนาวเสกติดกลับบ้าน ชั่วเวลาไม่นานก็ท้องสมใจ หรือบางกรณีมีผู้ไปขอโชคลาภ ก็ได้ไปด้วยความสุขใจ และมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบารมีแห่งความเป็นผู้หยั่งรู้ ทำให้ครั้งหนึ่งหลวงพ่อถูกตั้งกรรมการสอบอธิกรณ์ เพื่อถอดถอนสมณศักดิ์ กรรมการผู้สอบอธิกรณ์ถามหลวงพ่อเนื่องว่า “คุณเนื่องถ้าท่านหยั่งรู้และเห็นเลขจริง ลองให้มาสัก 2-3 ตัวสิ” หลวงพ่อเนื่องตอบว่า”พระเดชพระคุณจะให้สัจจะกับเกล้าได้ไหมว่าจะไม่เอาเลข ดังกล่าวไปแทงหวย” ท่านเจ้าคุณรูปนั้นให้สัจจะวาจาหลวงพ่อเนื่องจึงเขียนเลขลงในกระดาษแผ่น หนึ่ง แล้วยื่นให้ท่านเจ้าคุณนำไปเก็บไว้ในตู้เซฟ พอวันที่หวยออกจึงได้พิสูจน์ความจริง ปรากฏว่าตัวเลขที่หลวงพ่อเนื่องให้ไว้นั้น ถูกรางวัลที่หนึ่งงวดนั้นจริงๆ

 
วันเดือนปีที่ท่านมรณะภาพ กุฏิ ที่ตั้งศพหลวงพ่อเนื่องเป็นอาคารทรงไทยแฝดสามหลังภายในเขียนลายทองสวยงามมาก ศพหลวงพ่อเนื่องไม่เน่าเปื่อย อยู่ในโลงแก้ว ทุกวันยังมีผู้ที่เคารพนับถือเดินทางไปกราบไหว้ไม่ขาดสาย แม้ว่าหลวงพ่อเนื่องมรณภาพตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 เวลา 06.00 น. ด้วยอาการอันสงบ รวมอายุ 78 ปี รวม 56 พรรษา

ที่มาเนื้อหา
http://acsrband86.wordpress.com/2009/04/07/
232  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:30:15 pm


ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง บริเวณถนนเพชรสมุทร เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัดเดิมชื่อ วัดศรีจำปา ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่ กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม”
ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานของ หลวงพ่อวัดบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ศูนย์รวมศรัทธาและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวแม่กลองแห่ง สมุทรสงครามเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะอย่างกว้างขวางของชาวไทยทุกสารทิศมานานนับสมัยจน ถึงกับมีคำกล่าวว่า หากไม่ได้มานมัสการหลวงพ่อวัดบ้านแหลมก็เสมือนมาไม่ถึงเมืองสมุทรสงคราม

        องค์หลวงพ่อวัดบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าสร้างในมัยสุโขทัย-อยุธยาตอนต้น มีประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการค้นพบในลำน้ำแม่กลอง ดังตำนานเก่าเล่าว่าชาวประมงได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังวัดเก่าแก่ในเมืองแม่กลองที่ชื่อว่าวัด ศรีจำปา ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าวัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมเรื่อยมา ขณะที่อีกองค์หนึ่งนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งซึ่งชาวประมงได้นำกลับไปประดิษฐาน ที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี บางกระแสกล่าวไว้ว่า การค้นพบหลวงพ่อนั้นเกี่ยวกับตำนานของห้าพระพุทธรูปพี่น้องที่ลอยน้ำมาพร้อม กันจากเมืองเหนือ คือ หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโตวัดบางพลี หลวงพ่อวัดเขาตะเครา และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งชาวบ้านริมฝั่งน้ำที่พบเห็นและศรัทธาได้อัญเชิญไปประดิษฐานในแต่ละวัด ตามท้องถิ่นของตนเพื่อกราบไหว้บูชาสืบไป

        กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในหลวง พ่อบ้านแหลมเป็นอย่างมาก และเสด็จมานมัสการพร้อมทั้งได้พระราชทานผ้าดิ้นทองแก่หลวงพ่อจำนวนสองผืน ซึ่งทางวัดจะนำมาประดับที่องค์หลวงพ่อในวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันทอดกฐินพระราชทาน สำหรับบาตรแก้วสีน้ำเงินของหลวงพ่อที่ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้นั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชได้ถวายหลวงพ่อไว้เป็นพุทธบูชา เนื่องจากบาตรเดิมนั้นได้สูญหายไปในทะเลตั้งแต่คราวที่ชาวประมงได้พบหลวงพ่อ ในอ่าวแม่กลอง
        ต่อมาวัดนี้ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีวรวิหาร ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเพชรสมุทรวรวิหาร” เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.00-17.00 น. นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุเครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา ปกติไม่เปิดให้เข้าชม ต้องติดต่อเจ้าอาวาสก่อนล่วงหน้า
       
        ความเชื่อและวิธีการบูชา  เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป หากใครอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้ในเรื่องใดก็มักจะได้สมความปรารถนาและมักจะ กลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยละครรำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่ท่านโปรดปราน

        งานปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม จะจัดขึ้นไปช่วงเดือนเมษายนเป็นประจำทุกปีซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาว ไทยและชาวรามัญ งานสารทเดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) และช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยมีครั้งละประมาณ 7 วัน
233  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ สมุทรปราการ 1 ใน 3 พระลอยน้ำ เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:23:52 pm
สถานที่ประดิษฐาน อุโบสถ วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม (วัดบางพลีใหญ่ใน) อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ


ลักษณะศิลปะ ศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย



วัสดุ ทองสำริด



ขนาด หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ


ประวัติ ตามตำนานกล่าวว่า มีพระพุทธรูป 3 องค์ ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าใจว่าผู้คนสมัยอยุธยาอาราธนาลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบหนีข้าศึกและภัยสงคราม จากพม่าพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้แสดงอภินิหารลอยมาตามลำน้ำ และผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับจนเป็นที่โจษจันกันทั่วไป พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ได้ลอยตามน้ำไปเรื่อยเมื่อผ่านที่ใดสถานที่นั้นก็จะมีชื่อเรียกเกี่ยวเนื่อง กับองค์พระ ต่อมาภายหลังพระพุทธรูปทั้งสามองค์ได้แยกย้ายกันไปประดิษฐานในที่ต่างๆ องค์หนึ่งได้รับการอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อีกองค์หนึ่งถูกอาราธนาขึ้นประดิษฐานที่วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา



สำหรับ พระพุทธรูปองค์สุดท้ายได้ลอยไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วลอยวกเข้ามาในลำคลอง สำโรง ชาวบ้านที่พบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วว่ามีอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันอาราธนาให้ขึ้นที่ปากคลองสำโรง แต่พระพุทธรูปไม่ยอมขึ้น เผอิญมีชายปัญญาดีคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า คงเป็นด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธรูป แม้จะใช้ผู้คนจำนวนสักเท่าไรฉุดลากขึ้นฝั่งคงไม่สำเร็จเป็นแน่ ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์พระพุทธรูปไว้ แล้วใช้เรือพายฉุดให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า “หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมา จงหยุด ณ ที่นั้นเถิด”

เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องต้องกันดีแล้ว จึงพร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายล้วนๆ ช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลอง เรือที่ใช้ลากจูงมานั้นล้วนมีชื่อแปลกๆ เช่น ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่นๆ



พร้อมกันนั้นจัดให้มีละครเจ้ากรับรำถวาย และการละเล่นอื่นๆครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ...ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัด พลับพลาชนะสงครามหรือวัดบางพลีใหญ่ในทุกวันนี้ แพที่ผูกชะลอองค์ท่านก็เกิดหยุดนิ่งแม้พยายามออกแรงจ้ำและพายกันสักเท่าใด แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่ ชาวบ้านที่มากับเรือและชาวบางพลีถึงกับขนลุกซู่ เห็นเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ต่างพากันก้มกราบนมัสการด้วยความเคารพ และพร้อมใจกันตั้งจิตอธิฐานว่า “ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด”



ช่าง เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เพียงใช้กำลังคนไม่มากนักก็สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้อย่างง่ายดาย ทำให้ราษฎรต่างแซ่ซ้องในอภินิหารเป็นอย่างยิ่ง และได้อัญเชิญท่านขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหาร แต่ต้องชะลอขึ้นข้ามฝาผนังวิหาร เพราะขณะนั้นหลังคาพระวิหารยังไม่มีและประตูวิหารก็เล็กมาก หลังจากนั้นท่านได้ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารเรื่อยมา



ครั้น ต่อมาได้มีการรื้อพระวิหารอีก เพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลอองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน



ความศักดิ์สิทธิ์ของ หลวงพ่อโตในด้านรักษาผู้เจ็บป่วย เมื่อนำน้ำมนต์หลวงพ่อไปรักษาเพื่อเป็นสิริมงคล ปรากฏว่าอาการเจ็บป่วยทุเลาลงจนหายเป็นปกติ แม้กระทั่งเหรียญหลวงพ่อโตที่ชาวบ้านนำมาห้อยคอบุตรหลานของตนก็เป็นที่ เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน เพราะมีเรื่องเล่าว่า เมื่อเด็กๆ พลัดตกน้ำกลับลอยได้ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ยิ่งกว่านั้นหลวงพ่อโตยังได้แสดงปาฏิหาริย์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 กล่าวคือ องค์พระซึ่งเป็นทองสำริดกลับนิ่มดังเช่นเนื้อคน หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับพากันลงข่าวที่น่าอัศจรรย์ใจนี้ และมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศพากันมาชมบารมี ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้อีกครั้ง ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ ทุกวันนี้ชาวบางพลีต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และบารมีของหลวงพ่อโตที่คุ้ม ครองชุมชนบางพลีให้ปลอดภัยจากอัคคีภัย ในขณะที่ชุมชนโดยรอบ อาทิ ตลาดบางบ่อ ตลาดจระเข้ ตลาดคลองด่าน ล้วนแต่ประสบกับอัคคีภัยมาแล้วทั้งนั้น



ประเพณี วัดบางพลีใหญ่ในได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองหลวงพ่อโต โดยมีงานสมโภชเป็นประจำทุกปี ดังนี้

1. งานปิดทองพระพุทธบาทจำลองและนมัสการหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงวันแรม 2 ค่ำ เดือน 3 รวม 3 วัน

2. งานนมัสการและปิดทองหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ถึงวันแรม 2 ค่ำ เดือน 4 รวม 3 วัน

3. งานประเพณีรับบัวหรือโยนบัว และนมัสการหลวงพ่อโต เริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 แต่เดิมตอนเย็นของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ตลอดคลองสำโรงจะอึกทึกไปด้วยเสียงดนตรีนานาชนิด ทั้งซอ ปี่ กระจับ โทน รำมานา โหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ ผู้คนก็จะร้องรำทำเพลง พายเรือไปตลอดทาง ใครรู้จักบ้านไหนก็จะแวะขึ้นเยี่ยมเยืยน เจ้าของบ้านก็จะเตรียมเหล้ายาปลาปิ้งไว้ต้อนรับ ถ้าดึกก็จะค้างที่นั่นเลย ต่อมาประเพณีได้เลือนหายไป อาจเพราะสภาพสังคมในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน พอถึงช่วง พ.ศ. 2478 – 2481 สมัยนายชื้น วรศิริ เป็นนายอำเภอ ได้รื้อฟื้นประเพณีรับบัวขึ้นมาใหม่ มีการแต่งเรือล่องมาตามคลองสำโรง ประชาชนชาวบ้านที่รออยู่ทั้งสองฝั่งคลองก็พากันโยนดอกบัวของตนลงไปที่เรือ แห่หลวงพ่อโตเพื่อเป็นการสักการะ นอกจากนี้ตลอดงานยังมีมหรสพเฉลิมฉลอง มีการเปิดตลาดนัด และประกวดพืชผักสวนครัว

4. งานทำบุญฉลองที่หลวงพ่อโตได้แสดงปาฏิหาริย์เนื้อนิ่ม กระทำในวันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี

234  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / " ประวัติหลวงพ่อเสมา จนฺทโชโต " วัดปากเหมือง เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:13:22 pm
" ประวัติหลวงพ่อเสมา จนฺทโชโต "

หลวงพ่อเสมา จนฺทโชโต


เกิด         วันอังคารที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีระกา)
ที่บ้านสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด บิดานายหอม มารดานางเกลี้ยง
พี่น้อง         มีบุตรรวม ๑๑ คน เป็นชาย ๖ คน หญิง ๕ คน หลวงพ่อเป็นบุตรคนที่ ๖
บรรพชา         

    * เมื่ออายุ ๑๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้บรรพชากับพระอาจารย์โพ เจ้าอาวาสวัดสีแก้ว
    * เมื่ออายุ ๒๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสีแก้ว โดยมี
          o พระอาจารย์เสน เป็นพระอุปัชฌาย์
          o พระอาจารย์ดำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ตำแหน่ง         ในปี ๒๔๖๘ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตลุกดู่ รุ่นที่ ๗ เป็นอยู่ ๑๖ ปี ก็มรณภาพลง เมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ (ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง) ศิริอายุได้ ๕๕ ปี

ปฏิหารย์ของหลวงพ่อเสมา จนฺทโชโต (วาจาศักดิ์สิทธิ์)
หลวงพ่อเสมาเป็นพระ สงฆ์ที่ชาวตลุกดู่ให้ความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างมากถึงกับให้หลวงพ่อตั้ง นามสกุลให้ชาวตลุกดู่ ทั้งตำบลว่า “เสมากุล” และยังคงใช้นามสกุลนี้มาจนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อเสมาเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดทางสมณะธรรมรูปหนึ่ง จนมีอภินิหารปรากฏกับผู้ประสพหรือผู้ใกล้ชิดอยู่บ่อยครั้งจนเป็นที่กล่าว ขวัญหลายประการคือ

    * ๑. คนร้ายที่เข้าไปขโมยของในกุฏิหลวงพ่อเสมากลับพบงูจงอางออกมาขับไล่จนผู้นั้นถึงแก่ความตาย
    * ๒. ผ้ายันต์ที่หลวงพ่อเสมาแจกให้ลูกศิษย์ไปใช้ป้องกันตัวนั้นสุนัขกัดไม่เข้า
    * ๓. รูปภาพหลวงพ่อเสมาที่นำไปบูชานั้นสามารถดลจิตใจให้เจ้าของตื่นขึ้นทุกครั้งที่คนร้ายเข้าไปในบ้าน
    * ๔. วาจาของหลวงพ่อเสมาศักดิ์สิทธิ์และทำให้“ป่าสัก” อำเภอลานสักจังหวัดอุทัยธานยังคงสภาพอยู่ทุกวันนี้
                เครื่องรางของขลังของหลวงพ่อเสมาเป็นที่นิยมนับถือและใช้ได้ผลมี ความศักดิ์สิทธิ์ แม้จะเป็นปูชนียวัตถุที่สร้างในระยะหลังๆ ก็มีพุทธคุณไม่น้อย
                เช่น เหรียญหลวงพ่อเสมา พระรูปหล่อหลวงพ่อเสมา
    * ๕. หลวงพ่อยังมีชื่อเสียงในเรื่องทำน้ำพระพุทธมนต์ ยารักษาโรคแผนโบราณอีกด้วย

ที่มาเนื้อหา
http://www.watparkmuang.com/?name=history
235  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังษี วัดระฆัง เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:54:08 pm
สมเด็จโตวัดระฆัง
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

            สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) มีประวัติเป็นที่ประทับใจประชาชนคนไทยอย่างไรเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เพราะหลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วในกิตติศัพท์อันเลื่องลือของ "สมเด็จโต" โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามเมื่อ พ.ศ. 2395 และวัดระฆังเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ชาวบางกอ น้อยจึงถือท่านเป็นเสมือนเพชรประดับในเรือนใจของชาวบางกอกน้อย
            วันที่ 15 ตุลาคม 2538 เป็นวันที่เขตบางกอกน้อยมีอายุครบ 80 ปี ผู้เขียนจึงขอเชิญประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ตามที่ได้มีตำนานเล่าขานกันมา มาเรียบเรียงไว้ในหนังสือ "80 ปี เขตบางกอกน้อย" โดยหวังให้เป็นมูลสำหรับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้สืบไป

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น "พระธรรมกิตติ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น "พระเทพกวี" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง" เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง "สมเด็จโต" ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุ พรรษาได้ 56 พรรษาแล้ว

มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปํนที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ

อัจฉริยะและภูมิปัญญา

             ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 มี แม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้กล่าวอ้าง สมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน ตั้งแต่เด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์ จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่ นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่ การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน

            หลังจากที่ท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุกเสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้นปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินสมเด็จโตท่านมีความรู้ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมายตลกขบขันก็มีเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติรู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร "ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตรมือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึงกางออก ใช้ปลายนิ้วแทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้นฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลกตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคตมีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัดโดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิให้เด็กวัดชวนพูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้นก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิแกแอบได้ยินสมเด็จโตพูดอย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย

            นอกจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์อื่น ๆ อีก มีครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสมเด็จโตกำลังจะไปธุระ บังเอิญเรือติดหล่มต้องเข็นเรือกัน ท้านสมเด็จโตได้เอาพัดยศวางไว้ในเรือแล้วรีบมาช่วยคนอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์เข็นเรือ บังเอิญชาวบ้านแถบนั้นแลเห็นเข้าหัวเราะชอบใจขบขัน พูดตะโตนออกมาว่า "ดูท่านสมเด็จเข็นเรือ" เสมือนหนึ่งล้อเลียนท่านในเชิงปัญญาขบขันเมื่อเป็นเช่นนั้นสมเด็จโตก็พูดออกมาว่า สมเด็จเขาไม่ได้เข็นเรือหรอกจ้ะ สมเด็จท่านอยู่บนเรือ ว่าแล้วท่านสมเด็จโตก็ชี้มือไปที่พัดยศในเรือ เมื่อชาวบ้านต่างได้ยินได้ฟังแลเห็นเช่นนั้น ก็เงียบกริบไม่ว่าอะไร เรื่องพิสดารอย่างนี้ก็สมีเกิดขี้นเราขอพาท่านไปดูเหตุการณ์ในอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องลองภูมิปัญญากัน มีครั้งหนึ่ง ท่านในหลวงได้มีราชโองการโปรดเหล้าให้ท่านสมเด็จโตเข้าเฝ้าถวายพระธรรมเทศนาในวัง เมื่อสมเด็จโตท่านมาถึงนั่งธรรมมาสก์เสร็จก็เอ่ยปากพูดว่า "ตีพระมหาบพิธก็รุ้ ชั่วพระมหาบพิธก็รู้ เพราะฉะนั้นวันนี้อากาศแจ่มใสดี เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้" เมื่อเจ้าเหลวงได้ยินดังนั้น ก็แลเห็นท่านโตลุกจากธรรมมาสก์แล้วมิได้มองเจ้าหลวง เจ้าหลวงเห็นดังนั้นจึงเอ่ยปากเรียกสมเด็จโตว่า ท่านโต ท่านโต ทำไมถึงเทศน์จบเร็วจัง ไงไม่เข้าใจ ท่านโตก็เฉลยว่าที่พูดว่าอากาศแจ่มใสดี ดีก็รู้ ชั่วก็รู้ ก็หมายถึงว่าวันนี้จิตใจของพระมหาบพิธรื่นเริงสดชื่น ปราศจากความหม่นหมองใจ ก็คือความหมายที่ว่าอากาศแจ่มใสดี อาตมาจึงเทศน์เพียงเท่านี้ เพราะไม่รู้จะพูดอะไร เมื่อพระมหาบพิธได้ยินดับนั้นก็รู้สึกเข้าใจในความหมายเทศน์ เป็นยังไงท่านผู้อ่าน เรื่องราวแหลวแหวกแนวพิสดารแสดงกถึงภูมิปํญญาอัจฉริยะของท่านสมเด็จโต ยังมีอีกมากมายที่จะบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รู้กัน     

            มีอยู่ตอนหนึ่ง ขณะที่เจ้าหลวงเชิญสมเด็จโตมาเทศน์ วันนั้นท่านโตเทศน์นานแล้วนานเล่าจนกิริยาอาการของเจ้าหลวงเริ่มเหนื่อย หน่ายหงุดหงิด พอท่านโตเทศน์เสร็จ เจ้าหลวงถามท่านโตว่า ท่านโตวันนี้ทำไมถึงเทศน์นานจัง เราเมื่อย เหนื่อย อยากจะถาม ท่านโตได้ยินดังนั้นก็ตรัสตอบไปว่า ก็วันนี้จิตใจของมหาบพิธเต็มไปด้วยความทุกข์เร่าร้อนในอารมณ์ตลอดเวลา จึงเทศน์ให้มันเย็นจึงนานไปหน่อย

            ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ ในวันนั้น ท่านสมเด็จโตได้ออกจากกุฏิมุ่งหน้าไปธุรกิจ แจงเรือผ่านไปตามคลองชาวบ้านก็แลเห็น ต่างก็พูดขอหวยท่านโตต่าง ๆ นานา รู้กิตติศัพท์ว่า ท่านให้แม่น สงสารคนจน และเวลาเทศนาธรรมที่ใด ท่านสมเด็จได้เงินกัณฑ์เทศน์มา ก็นำมาแจกชาวบ้านและเด็กจน ๆ แม้แต่สตางค์แดงเดียวก็มิเอา ครั้นพอขากลับวัด ท่านสมเด็จโตก็ซื้อหม้นขนมาเต็มลำเอเอ่เจตนารมณ์จะบอกใบ้ให้ชาวบ้านจน ๆ ตึปริศนาไปแทงกัน เพราะรู้ว่าหวยจะต้องออก "ม" มอม้า วันนี้ จึงซื้อหม้อมาเต็มลำเรือ บังเอิญชาวบ้านที่ท่านสมเด็จโตแจงเรือผ่านมาตามริมคลองแลเห็นเข้าต่างก็ตะโกนพูดว่า "ท่านโตเป็นอะไร ทำไมถึงซื้อหม้อมาเยอะแยะนะ" แต่ก็มีชาวบ้านที่ปัญญาฉลาดตีความถูก วันนั้นพอเห็นท่านโตซื้อหม้อมาเยอะแยะรู้ว่าหวยออก ม. มอม้า จึงรีบไปแทง ครั้นพอหวยประกาศออกมาปรากฏว่า ออก "ม" มอม้า นี่ก็แสดงให้ท่านผู้อ่านได้แลเห็นว่า ท่านสมเด็จโตเป็นอัจฉริยะบุคคลที่มีใช่บุคคลธรรมดา เก่งด้วยวิปัสสนากรรมฐาน รู้อดีต รู้ปัจจุบัน และรู้อนาคต ยังมีอีกหลายต่อหลายบทตอน ที่จะหยิบยกเอามาพูดกันให้รู้ทีละตอน ๆ

            มีคราวหนึ่ง ท่านสมเด็จโตได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง โดยผีมือช่างหลวงช่วยแกะพิมพ์ให้ พอสร้างเสร็จปลุกเสกเสร็จท่านโตก็ได้ให้พระสมเด็จทรงพิมพ์นี้ ให้ ร.5 ติดตังไป ท่าน ร.5 ได้นำพระสมเด็จที่สมเด็จโตสร้างติดตัวไปประเทศเยอรมันพอถึงเยอรมัน กษัตริย์เยอรมันพบ ร.5 เข้าก็แปลกใจ แลเห็นที่หน้าอกของ ร.5 มีแสงสว่างประกายออกมา จึงกราบเรียนถาม ร.5 ว่า ในตัวมีอะไร ร.5 ก็นึกขึ้นมาได้ว่า มีพระสมเด็จองค์หนึ่งที่ท่านโตให้ติดตัวมา จึงถวายให้กับกษัตริย์เยอรมันไป จึงเรียกสมเด็จทรงพิมพ์นี้ว่า ทรงพิมพ์ไกเซอร์

            ท่านผู้อ่านที่เคารพยิ่ง ตามประวัติต่างๆ ที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเขียนกล่าว บางครั้งอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงไปบ้าง เขียนถูกบ้างผิดบ้าง ขอได้โปรดอภัยแต่เจตนารมณ์ของผู้เขียนมุ่งที่จะจรรโลงไว้ซึ่งศาสนาให้เจริญ สูงส่ง รวมทั้งสถาบันกษัตริย์และประการสุดท่านก็คือส่งเสริมคุณค่าและความดี เกียรติคุณยกเบขิดให้ท่านสมเด็จโตมิได้มุ่งทำลาย อดุมการณ์ของผู้เขียนมีอย่างนี้จึงได้เพียรพยายามทุกวิถึทางที่จะให้หนังสือเล่มนี้ได้สำเร็จขี้นมาด้วยความเพียรและขอบรารมีพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใฟ้ดลบังดาลเดิดผล คุณค่าทางปัญญา ส่งผลออกมาทางลายลักษณ์อักษร ให้ท่านได้ดูอ่านชมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งสมบูรณ์แบบครบด้วนอาจจะขาดเหลือไปก็เพียงเล็กน้อย ผลอันนี้มุ่งหวังให้ท่านผู้อ่านทั้งประเทศหรือต่างประเทศได้รู้ถึงคุณค่าของ พระพุทธศาสนาไทยเรา และรู้คุณค่าของประวัติความดีของสมเด็จโต ตลอดจนพระสมเด็จที่ท่านสมเด็จโตได้สร้างขึ้น

            สุดท้ายนี้ ผลงานความดีทั้งหลายแหล่ที่ได้จากากรจัดทำนั้น ผู้เขียนขอน้อมเกล้าถวายยกให้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอรหันต์ ตลอดจนสมเด็จโต รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลกทั้งหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด และศาสนาใด ๆ จงได้รับผลอานิสงค์บุญจากการจัดทำหนังสือเล่มนี้ไปด้วยเทอญ ความบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอบคุณภาพ
http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/064/841/original_monk-to.jpg?1285572038

ขอบคุณที่มาและสามารถอ่านต่อได้ที่นี่ครับ
http://203.155.220.217/bangkoknoi/travel/somdajto.htm
236  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:47:03 pm
หลวงปู่เจือ ปิยสีโล เดิมชื่อ เจือ เนตรประไพ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม บิดาชื่อ แพ มารดาชื่อ บู อาชีเดิมของครอบครัวคือ เกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวนทั้งสิ้น ๗ คน เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ก็ช่วยบิดามารดาทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพของทางบ้าน จนกระทั่งอายุครบ ๒๖ ปี เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๔ จึงได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบท ณ วัดกลางบางแก้ว โดยมี พระพุทธวิถีนายก(เพิ่ม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมธร(มูล) เป็นพระคู่สวด เมื่อบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาและเล่าเรียนวิชาการต่างๆจากหลวงปู่เพิ่มมาโดย ตลอด หลวงปู่เจือท่านมีความขยันหมั่นเพียรและมีความจำที่ดีมาก รวมทั้งมีความประพฤติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย หลวงปู่เพิ่มจึงรักและเมตตาเป็นอย่างมาก สอบได้นักธรรมเอกและได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปริยัติธรรม เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๙๗ จนเมื่อปี ๒๔๙๙ ก็ได้รับหน้าที่กรรมการสอบปริยัติธรรม ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ในฐานานุกรมของพระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม) ในปี ๒๕๐๔ นั่นก็คือ เป็นพระเลขา ของหลวงปู่เพิ่มนั่นเอง จวบจนหลวงปู่เพิ่มถึงแก่มรณภาพลง หลวงปู่เจือท่านได้รับการเรียนเชิญให้ขึ้นรับตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ท่านปฏิเสธ จนกระทั่ง พระอาจารย์ใบซึ่งรักษาการ เจ้าอาวาสถึงแก่มรณภาพลง ท่านจึงต้องรับภาระการปกครองวัดไว้ ด้วยการรับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสเท่านั้น ตั้งแต่ วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบันครับ


หลวง ปู่เจือ เป็นพระเถระที่มีแต่ความเมตตา ไม่สะสมสมบัติพัสถานใดๆ รวมทั้งสมณศักดิ์และตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดก็ไม่ขอรับ ท่านเป็นพระมักน้อย ถ่อมตน บำเพ็ญสมณธรรมด้วยการสร้างบารมีให้ทานแก่บริวารและผู้ทุกข์ยากเสมอ ดังนั้นจึงจะพบเห็นได้ว่าในแต่ละวันจะมีผู้คนจำนวนมากไปขอความเมตตา อนุเคราะห์จากท่านตลอดเวลา
ในส่วนของ วัตถุมงคลของท่านก็มีผู้คนนำไปใช้แล้วเกิดพลานุภาพนานาประการ โดยเฉพาะ เบี้ยแก้ เอกลักษณ์แห่งเครื่องรางของวัดกลางบางแก้วที่ท่านได้รับการถ่ายทอดโดยตรงมา จากหลวงปู่เพิ่ม ปัจจุบัน เบี้ยแก้ ของท่านมีผู้นำไปบูชาแล้วประสบกับเหตุการณ์อันน่ามหัศจรรย์มากมาย จนเป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างขว้าง ผู้ที่หา เบี้ยแก้ ของหลวงปู่บุญหรือของหลวงปู่เพิ่ม ไม่ได้ ก็มักจะหันมาหา เบี้ยแก้ ของหลวงปู่เจือ แทน โดยมีความเชื่อกันว่า ใช้แทนกันได้ ปัจจุบันนี้ท่านรับหน้าที่สืบสานตำนานการสร้างเบี้ยแก้ ของวัดกลางบางแก้วไว้ โดยท่านเริ่มทำเองทั้งหมดมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ แต่ในอดีตนั้น ท่านเป็นลูกมือช่วยตีตะกั่วหุ้มเบี้ยให้หลวงปู่เพิ่มมานานมากแล้ว รวมทั้งท่านยังมีฝีมือในการถักด้ายห่อเบี้ยที่สวยงามและละเอียดมากๆ ปัจจุบัน ท่านไม่ได้ทำกาตีตะกั่วและถักเบี้ยเองแล้ว แต่ได้ถ่ายทอดให้กับบรรดาลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากมายในปัจจุบัน

บี้ยแก้นั้นเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอุปเท่ห์การใช้มากมายหลายอย่าง // กันถูกกระทำย่ำยี กันคุณผีคุณคนคุณไสยเวทย์อาถรรพณ์ ยาสั่ง ฝังรูปฝังรอยผีเข้า เจ้าสิงมิลงเลย กันไข้ป่าสารพัดผีป่า โป่ง โป้ง ผีเปิ่ง ผีปอบกองกอย พาให้ผิดท่าหลงทาง เข้าสิงให้วิกลจริตพลุ่งพล่าน เฉียบพลันอยากตายด้วยอัตวินิบาตกรรม ผูกคอล่อพิษ โดดน้ำ ลุยไฟ โดดสูง จูงค่าง ผีเข้า เจ้าสิง ถ้าจริงหาย กันจิตคิดวิกล ด้วยอุปทาน กันมนตรายายำ ย่ำยีด้วยเล่ห์กลมายา สารพัดอุปาทานอันวิกลพิการแล
237  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:39:06 pm

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล หนูศรี เดิมชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2447 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง ซึ่งเป็นวันวิสาขปุรณมี ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โยมบิดาชื่อ พุด โยมมารดาชื่อ พ่วง ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีโยมพี่สาวอีก 2 คน มีชื่อตามลำดับ ดังนี้

1.  พี่สาวชื่อ ทองคำ สุนิมิตร

2.  พี่สาวชื่อ สุ่ม พึ่งกุศล

3.  หลวงปู่ดู่

ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดามารดาตึ้งแต่เยาว์วัย นางยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย

เมื่อตอนที่ท่านเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรจะบันทึกไว้คือ วันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอดขนมมงคลอยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงทื่บ้านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับ มาระหว่างตัวท่านกับมารดาท่าน เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้าง รั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่า ท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด

ในโลกนี้ไม่มีอะไรเลยนอกจากทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป พึงมองเห็นโลกนี้เป็นความว่างเปล่า ว่างเปล่าจากตัวตนที่เที่ยงแท้ บุคคลใดก็ตามที่ยึดมั่นหมายมั่นแม้ว่าเป็นลูกของตน สามีภรรยาของตน บิดามารดาของตน หรือวัตถุสิ่งของของตน เมื่อความไม่เที่ยงมาถึง ความเสื่อมสลายย่อมบังเกิดขึ้นกับสิ่งเหล่านั้นอันเป็นธรรมดาโลก การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ จึงนำมาซึ่งความทุกข์ระทมใจของผู้ยึดมั่นหมายมั่นนั้น

มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านจากไปอีก ขณะท่านมีอายุเพียง 4 ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้

ท่านได้อาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวชื่อ สุ่ม เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

สู่เพศพรหมจรรย์

เมื่อท่านอายุได้ 21 ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2468 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน 6 ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พรหมปัญโญ

ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง, พระครูชม เป็นต้น

ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านก็ได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่น ผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่น ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่ 2 ประมาณปลายปี พ.ศ.2469 หลวงพ่อกลั่นก็มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราที่มีอยู่ในชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ที่รักการศึกษาค้นคว้า ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่ จังหวัดสุพรรณบุรีและสระบุรี

ประมาณพรรษาที่ 3 ท่านก็ได้เดินธุดงค์ โดยมีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นจุดหมายปลายทาง กล่าวคือเดินทางออกจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยามุ่งตรงสู่จังหวัดสระบุรี กราบนมัสการพระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จากนั้นท่านเดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ท่นได้ใช้เวลาเดินธุดงค์ ประมาณ 3 เดือน จนกระทั่งอาพาธจึงได้พักการธุดงค์

หลวงปู่ดู่ท่านได้ถือข้อวัตร คือฉันอาหารมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 แต่ภายหลังคือประมาณปี พ.ศ.2525 เหล่าสานุศิษย์ได้กราบนิมนต์ให้ท่านฉัน 2 มื้อ เนื่องจากความชราภาพประกอบกับต้องรับแขกมากขึ้น ท่านจึงได้ผ่อนปรนตามความเหมาะสมควรแห่งอัตภาพ แต่เมื่อถามความเห็นของท่านจึงทราบว่า ท่านต้องการโปรดญาติโยมที่มาจากที่ไกล ๆ จะได้มีโอกาสทำบุญ

หลวงปู่ดู่ท่านได้ตัดสินใจไม่รับ กิจนิมนต์ไปนอกวัดตั้งแต่ก่อนปี พ.ฯศ.2490 ส่วนที่นาอันเป็นสมบัติดั้งเดิมของท่าน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 ไร่ ท่านก็แบ่งให้กับหลาน ๆ ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน 18 ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท จึงคิดปรึกษากับนางถมยา ผู้เป็นภรรยา เห็นควรให้ยกเป็นสาธารณประโยชน์ คือยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแก ซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็โมทนาในกุศลเจตนาของคนทั้งสอง

ในเรื่องการสวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น ท่นได้ปฏบัติอย่างสม่ำเสมอมิได้ละเลย นอกจากนี้ท่านยังได้สอนหนังสือให้เด็ก ๆ ในวัดให้อ่านเขียนและทำเลขได้ทั้งชายหญิง

อยู่มาวันหนึ่งเข้าใจว่าก่อนปี พ.ศ.2500 เล็กน้อย หลังจากที่หลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็นและปฏิบัติกิจส่วนตัว เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็จำวัด เกิดนำมิตไปว่า ท่านได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างเข้าไป 3 ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกว่ากรอบ ๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมดแล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านมาพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตที่เกิดขึ้นเข้าใจได้ว่า แก้ว 3 ดวงนั้นจะต้องเป็นแก้ว 3 ประการได้แก่ พระไตรสรณคมน์ พอว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจมิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน จนเกิดความมั่นใจว่าพระไตรสรณคมน์นี้เป็นแก่นแท้ และรากแก้วของพระพุทธศาสนา การสมาทานศีล 5 ศีล 8 หรือการขอบรรพชาอุปสมบทก็ต้องว่าไตรสรณคมน์นี้ทุกครั้ง ท่านจึงกำหนดเอาเป็นองค์ภาวนา
238  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / เกร็ดประวัติพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:34:55 pm
เกร็ดประวัติพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล
(คัดจากหนังสือฐานยตฺเถรวตฺถุ)

ท่านเกิดที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอเขื่องใน) จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ท่านเป็นพระคณาจารย์ใหญ่ของพระกรรมฐานทั้งหมด

ท่านอุปสมบทที่วัดใต้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ และได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ ภายหลังมาอยู่วัดเลียบ และเปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้น ณ วัดเลียบ ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านคือพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ท่านได้มรณภาพในอิริยาบถขณะกราบครั้งที่ ๓ ในอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากรณ์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ ตรงกับ วันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะโรง เชิญศพมา ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีเผาในเดือนเมษายน ๒๔๘๖ สิริอายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน

นิสัยท่านอาจารย์เสาร์ นิสัยชอบก่อสร้าง ชอบปลูกพริกหมากไม้ ลักษณะจิตเยือกเย็น มีพรหมวิหารทำจิตดุจแผ่นดิน มีเมตตาเป็นสาธารณะ เป็นคนพูดน้อย ยกจิตขึ้นสู่องค์เมตตาสุกใสรุ่งเรือง เป็นคนเอื้อเฟื้อในพระวินัย ทำความเพียรเป็นกลางไม่ยิ่งหย่อน พิจารณาถึงขั้นภูมิละเอียดมาก ท่านบอกให้เราภาวนาเปลี่ยนอารมณ์แก้อาพาธได้

อยู่ข้างนอกวุ่นวาย เข้าไปหาท่านจิตสงบดี เป็นอัศจรรย์ปาฏิหาริย์หลายอย่าง จิตของท่านชอบสันโดษ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หมากไม่กิน บุหรี่ไม่สูบ ท่านแดดัง (พระครูทา โชติปาโล) เป็นอุปัชฌายะ เดินจงกรมภาวนาเสมอไม่ละกาล น้ำใจดี ไม่เคยโกรธขึ้นให้พระเณรอุบาสกอุบาสิกา มักจะวางสังฆทานอุทิศในสงฆ์สันนิบาต แก้วิปัสสนูฯแก่สานุศิษย์ได้ อำนาจวางจริตเฉยๆ เรื่อยๆ ชอบดูตำราเรื่องพระพุทธเจ้า รูปร่างใหญ่ สันทัด เป็นมหานิกาย ๑๐ พรรษา จึงมาญัตติเป็นธรรมยุตฯ รักเด็ก เป็นคนภูมิใหญ่กว้างขวาง ยินดีทั้งปริยัติปฏิบัติ ลักษณะเป็นคนโบราณพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นโบราณทั้งสิ้น ไม่เห่อตามลาภยศสรรเสริญ อาหารชอบเห็ด ผลไม้ต่างๆ ชอบน้ำผึ้ง

ฉันเห็ดเบื่อ

หลวงปู่เสาร์นี่ เห็ดมันเกิดขึ้นตามวัด บอกเณรไปเก็บ เณรเก็บเห็นอันนี่ไปหมกไฟให้กิน เณรก็ไปเก็บได้ประมาณเต็มถ้วยก๋วยเตี๋ยวหนึ่ง เอามาห่อหมกเสร็จแล้วก็ไปถวายหลวงปู่ หลวงปู่ก็ฉันจดหมด ทีนี้ไอ้เราพวกเณรนี่ก็ทำห่อหมก เณร ๕-๖ องค์ตักแจกกันคนละช้อนๆ ๆ ฉันอาหารยังไม่ทันอิ่มเลย สลบเหมือดทั้ง ๖ องค์ ทีนี่ อุ๊ย! เณรเป็นอะไรๆ ถามมันดูซิว่ามันเป็นอะไร เณรก็กินเห็ดเบื่อ รู้ว่าเห็ดเบื่อทำไมถึงไปกินล่ะ ท่านอาจารย์พากิน ข้าไม่ได้กินเห็ดเบื่อ ถ้าข้ากินเห็ดเบื่อข้าก็เมาตายสิ หลวงปู่เสาร์ฉันเป็นชามนั่งยิ้มเฉย แต่เณรฉันคนละช้อนฉันข้าวยังไม่อิ่มเลยสลบเหมือดไปเลย อันนี้จิตของเรานี่มันปรุงแต่งได้ จะให้มันแพ้หรือมันชนะมันก็ทำได้

หลวงปู่เสาร์แก้สัญญาวิปลาสให้หลวงปู่มั่น แก้สัญญาวิปลาสจนสำเร็จเป็นอัศจรรย์

ท่านอาจารย์เสาร์ มีเมตตาแก่สัตว์เป็นมหากรุณาอย่างยิ่ง วางเป็นกลาง เยือกเย็นที่สุด เมตตาของท่านสดใส เห็นปาฏิหาริย์ของท่านสมัยขุนบำรุงบริจาคที่ดิน และไม้ทำสำนักแม่ขาวสาริกา วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

แก้สัญญาวิปลาสท่านอาจารย์มั่นกับท่านเจ้าคุณหนูวัดสระปทุมในสมัยนั้น จนสำเร็จเป็นอัศจรรย์ เรียกว่าเป็นพ่อพระกรรมฐานภาคอีสาน นี้ท่านอาจารย์เสาร์เล่าให้ฟัง สมัยที่เรา (หลวงปู่หลุย) อยู่กับท่านเดินธุดงค์ไปด้วย ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจก กับปรารถนาเป็นสาวกสำเร็จอรหันต์ในศาสนาสมณโคดมพุทธเจ้าของเรา ท่านอาจารย์มั่นเคารพท่านอาจารย์เสาร์มากที่สุด เพราะเป็นเณรของท่านมาแต่ก่อน ท่านมักเรียกท่านอาจารย์มั่นเป็นสรรพนามว่า "เจ้าๆ ข้อยๆ"

(คัดมาจากหนังสือประวัติหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร)

นั่งสมาธิตัวลอยขึ้น… ลืมตาขึ้นดูตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก ที่มีแปลกอยู่บ้างก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวท่านลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่ ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า "ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ๆ" เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริงๆ สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตท่านถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ตกลงจากที่สูง ในคราวต่อไปเวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่าตัวท่านลอยขึ้นจริงๆ แต่ไม่ได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติ และคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาแล้วท่านยังไม่แน่ใจ ต้องเอาวัตถุชิ้นเล็กๆ ขึ้นไปเหน็บไว้บนหญ้าหลังกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิอีก พอจิตสงบ และตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่ท่านนำขึ้นไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ แล้วนำวัตถุนั้นลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนจากสมาธิจริงๆ เมื่อได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่า ตัวท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ

จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้แปลกๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น

(คัดมาจากหนังคือ ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต)

หลวงปู่เสาร์เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

เวลาเร่งความเพียรใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญพอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิม เพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงออกเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน ท่านเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติ ปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้ อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้น คงอยู่ในขั้นพอแก้ไขได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้

หลวงปู่เสาร์เป็นคนพูดน้อย

เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ

เวลาท่านพระอาจารย์มั่นออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานทางภาคอีสาน ตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านอาจารย์มั่น เวลาจำเป็นต้องเทศน์ท่านก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า "ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์" และ "เราเกิดเป็นมนุษย์มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมาก เวลาตกนรกจะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ" แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจกับใครต่อไปอีก ปกตินิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒-๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทานนั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผยน่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชน และพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านอาจารย์มั่น .

หลวงปู่เสาร์สอนทำอะไรให้เป็นเวลา

ให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓

ท่านอาจารย์หลวงปู่เสาร์นี้ท่านเป็นสาวกแบบชนิดที่ว่าเป็นพระประเสริฐ ท่านสอนธรรมนี้ท่านไม่พูดมาก ท่านชี้บอกว่าให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่การปฏิบัติของท่านนี้ ท่านเอาการปฏิบัติแทนการสอนด้วยปาก ผู้ที่ไปอยู่ในสำนักท่าน ก่อนอื่นท่านจะสอนให้ทำวัตร นอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ นี้ข้อแรกต้องทำให้ได้ก่อน บ้างทีก็ลองเรียนถามท่าน หลวงปู่ทำไมสอนอย่างนี้ การนอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ฉันเป็นเวลา อาบน้ำเข้าห้องน้ำเป็นเวลา มันเป็นอุบายสร้างพลังจิต แล้วทำให้เรามีความจริงใจ ทีนี้นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้ทำอย่างนี้ แม้แต่นักสะกดจิต เขาก็ยังยึดหลักอันนี้ มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ไม่เคยลืมหลักปฏิบัติที่เวลาไปปฏิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นลอยๆ ว่า "เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด" ก็ถามว่า "จิตมันฟุ้งซ่านหรือไงอาจารย์" "ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า" กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้าเวลามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งตัวตี .

ปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว

หลวงปู่เสาร์ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ปักกลดอยู่ในป่า ในดง ในถ้ำ ในเขา องค์แรกของอีสานคือหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล นัยว่าท่านออกบวชในพระศาสนา ท่านสนใจเรื่องการปฏิบัติสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน โดยถ่ายเดียว ซึ่งสหธรรมิกคู่หูของท่านก็คือ พระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นคนเกิดในเมืองอุบลฯ ท่านออกเดินธุดงค์ร่วมกัน หลวงปู่เสาร์ตามปกติท่านเป็นพระที่เทศน์ไม่เป็น แต่ปฏิบัติให้ลูกศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง

เดินจงกรมแข่งหลวงปู่เสาร์

สมัยที่หลวงพ่อ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เป็นเณรอยู่ใกล้ๆ ท่าน ถ้าวันไหนเราคิดว่าจะเดินจงกรมแข่งกับท่านอาจารย์ใหญ่ วันนั้นท่านจะเดินจงกรมไม่หยุด จนกว่าเราหยุดนั่นแหละท่านจึงจะหยุด ท่านจะไม่ยอมให้เราชนะท่าน เวลาท่านสอน สอนสมาธิ ถ้ามีใครถามว่า ส่วนใหญ่คนอีสานก็ถามแบบภาษาอีสาน "อยากปฏิบัติสมาธิเฮ็ดจั๋งได๋ญ่าท่าน" "พุทโธสิ" "ภาวนาพุทโธแล้วมันจะได้อีหยังขึ้นมา" "อย่าถาม" "พุทโธแปลว่าจั๋งได๋" "ถามไปหาสิแตกอีหยัง ยั้งว่าให้ภาวนา พุทโธ ข้าเจ้าให้พูดแค่นี้" แล้วก็ไม่มีคำอธิบาย ถ้าหากว่าใครเชื่อตามคำแนะนำของท่าน ไปตั้งใจภาวนาพุทโธ จริงๆ ไม่เฉพาะแต่เวลาเราจะมานั่งอย่างเดียว ยืน เดิน นั่น นอน รับประทาน ดื่ม ทำ ใจนึกพุทโธไว้ให้ตลอดเวลา ไม่ต้องเลือกว่าเวลานี้จะภาวนาพุทโธ เวลานี้เราจะไม่ภาวนาพุทโธ ท่านสอนให้ภาวนาทุกลมหายใจ

ทำไมหลวงปู่เสาร์สอนภาวนาพุทโธ

เพราะพุทโธเป็นกริยาของใจ

หลวงพ่อ (พุธ ฐานิโย) เลยเคยแอบถามท่านว่าทำไมจึงต้องภาวนา พุทโธ ท่านก็อธิบายให้ฟังว่าที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของใจ ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ – พาน – สระ – อุ – ท – ทหาร สะกด โอ ตัว ธ – ธง อ่านว่า พุทโธ อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนาพุทโธแล้วมันสงบวูบลงไปนิ่งสว่างรู้ตื่นเบิกบาน พอหลังจากคำว่า พุทโธ มันก็หายไปแล้ว ทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิตมันใกล้กับความจริง แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆ ๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธนั่นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆ ๆ ๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขาหรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้เมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา

ทีนี้ในทำนองเดียวกันในเมื่อเรียก พุทโธๆ ๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราก็หยุดเรียกเอง ทีนี้ถ้าหากว่าเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้า ควรจะนึกถึงพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบานจะหายไป เพราะสมาธิถอน

ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไปจิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆ ๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอกเกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด แล้วเราจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในพลบครอบ แล้วสามารถเปล่งรัศมีสว่างออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไปแล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียวร่างกายตัวตน หายหมด ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพพอที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป TOP.

หลักปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ให้ไว้

อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้าง ตามโคนต้นไม้บ้าง

พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กตนฺสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหา ออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนต้นไม้บ้าง และท่านอาจารย์มั่นก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์ หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์สิงห์เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของ กองทัพธรรม ได้นำหมู่คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยอยู่ตามถ้ำ พักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชน ท่านจะออกแสงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริงๆ

บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว กลับไปถึงที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น. หรือ ๕ โมงก็มี อันนี้คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจจะผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริงๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไปเพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญเผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่

เมื่อไปในสถานที่ที่คิดว่ามีอันตราย ไปอยู่ในที่ห่างไกลพี่น้อง เพื่อนฝูงหสธรรมิกก็ไปอยู่บริเวณที่ห่างๆ กัน ในเมื่อจิตใจเกิดความหวาดกลัวภัยขึ้นมา จิตใจก็วิ่งเข้าสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอย่างเหนียวแน่น เพราะในขณะนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นเพื่อนตาย ดังนั้น ท่านจึงมีอุบายให้ไปฝึกฝนอบรมตัวเอง ฝึกฝนอบรมบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ติดตาม ในสถานที่วิเวกห่างไกลเต็มไปด้วยภัยอันตราย เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหามีความกล้าหาญชาญชัย ในการที่จะเสียสละเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อบูชาพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง การฝึกฝนอบรมหรือการอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ดังกล่าวนั้น ท่านยึดหลักที่จะพึงให้ลูกศิษย์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันดังนี้

ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าวตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่วเวลา ๔ ทุ่ม พอถึง ๔ ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย พอถึงตี ๓ ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาหรือทำวัตรสวดมนต์ก็ตามแต่ที่จะถนัด แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่าในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้ อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอน และฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว TOP.

หลักสมถวิปัสสนาของหลวงปู่เสาร์

พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

หลักการสอนท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนา ดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนั้น แต่ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณากายคตาสติ เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐาน จนคล่องตัวจนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน ให้พิจารณากายแยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่าในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตน เป็นอนัตตาทั้งนั้น จะว่ามีตัวมีตนในเมื่อแย่ออกไปแล้ว มันก็มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิ จิตปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองอยู่ในร่างอันนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่า สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ การพิจารณาเพียงแค่ว่าพิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่าเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน แต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ในกายคตาสติกรรมฐานกับธาตุกรรมฐานนี้เป็นส่วน ใหญ่ ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนั้น ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้ เร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยกผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ออกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นแต่เพียง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเท่านั้น ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่าผม ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่าเล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นอกจากนั้นก็จะมองเห็นอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกน่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายอันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้

และอีกอันหนึ่งอานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมฐานอานาปานสติ การกำหนดพิจารณาลมหายใจนั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย เมื่อสติไปจับอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ ลมหายใจเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้น วิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ เมื่อจิตสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไปกายก็ยังปรากฏอยู่ เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วทั้งกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวาขาซ้าย เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้ว จิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ จิตสงบอยู่ สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายในกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกาย ในอันดับนั้นปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไป ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน


นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น

…เมื่อออกพรรษาทุกปี หลวงปู่เสาร์จะพาออกธุดงค์ลงไปทางใต้นครจำปาศักดิ์ หลี่ผี ปากเซ ฝั่งประเทศลาว แล้วก็ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุอีกทุกปี เมื่อถึงปี พ.ศ.๒๔๘๓ มีอยู่วันหนึ่งตอนบ่าย หลวงปู่เสาร์นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยางใหญ่ พอดีขณะนั้นมีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินโฉบไปโฉบมา โฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่บนต้นไม้ที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ รวงผึ้งนั้นได้ขาดตกลงมาใกล้ๆ กับที่หลวงปู่เสาร์นั่งอยู่ ผึ้งได้รุมกัดต่อยหลวงปู่หลายตัว จนท่านถึงกับต้องเข้าไปในมุ้งกลด พวกมันจึงพากันบินหนีไป

ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่เสาร์ก็อาพาธมาโดยตลอด พอออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ได้ไปวิเวกทางด้านปากเซ หลี่ผี จำปาศักดิ์ แต่ไปคราวนี้หลวงปู่เสาร์ป่วยหนัก ท่านจึงสั่งให้หลวงปู่บัวพา และคณะศิษย์นำท่านกลับมาที่วัดอำมาตย์ นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยมาทางเรือ ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ ท่านนอนบนแคร่ในเรือประทุน หลวงปู่เสาร์หลับตานิ่งมาตลอด เพราะตอนนั้นท่านกำลังอาพาธหนัก อันเกิดจากผึ้งที่ได้ต่อยท่านตอนที่อยู่จำพรรษาที่วัดดอนธาตุ เมื่อถึงนครจำปาศักดิ์แล้ว ท่านลืมตาขึ้นพูดว่า "ถึงแล้วใช่ไหม ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไปตายที่นั่น"

หลวงปู่บัวพาจึงได้นำหลวงปู่เสาร์เข้าไปในอุโบสถ แล้วหลวงปู่เสาร์สั่งให้เอาผ้าสังฆาฏิมาใส่ แล้วเตรียมตัวเข้านั่งสมาธิ ท่านกราบพระ ๓ ครั้ง พอกราบครั้งที่ ๓ ท่านนิ่งงันโดยไม่ขยับเขยื้อน นานเท่านานจนผิดสังเกต หลวงปู่บัวพา และหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท ซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ เอามือมาแตะที่จมูกท่าน ปรากฏว่าท่านหมดลมหายใจแล้ว ไม่ทราบว่าหลวงปู่เสาร์ท่านมรณภาพไปเวลาใด แต่พอสันนิษฐานได้ว่า ท่านมรณภาพในอิริยาบถนั่งกราบ ท่านจึงพูดขึ้นกับหมู่คณะ (ซึ่งตอนนั้นมีพระเถระผู้ใหญ่ และพระเณรมานั่งดูอาการป่วยของหลวงปู่เสาร์) ว่า "หลวงปู่ได้มรณภาพแล้ว"

ข่าวการมรณภาพ ก็แพร่กระจายไปเรื่อยๆ จนทางบ้านเมือง ญาติโยม พระเณร ชาวนครจำปาศักดิ์ขอทำบุญอยู่ ๓ วัน เพื่อบูชาคุณขององค์หลวงปู่ พอวันที่ ๔ บรรดาพระเถระ ญาติโยมชาวอุบลฯ จึงได้มาอัญเชิญศพขององค์หลวงปู่ไปวัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์เคยอยู่มาก่อน ปีที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพคือปี พ.ศ.๒๔๘๔ (วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ อายุ ๘๒ ปี ๓ เดือน ๑ วัน)

ออกพรรษาแล้ว ปี พ.ศ.๒๔๘๖ จึงได้จัดพิธีถวายเพลิงศพของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในงานนี้หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้มาเป็นประธาน แต่ผู้ดำเนินงานคือพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ในวันถวายเพลิงศพนอกจากศพของหลวงปู่เสาร์แล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่อีก ๓ รูป ที่มีการฌาปนกิจในวันเดียวกันคือ ๑. ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตโสโน) ๒. พระมหารัฐ รฏฐปาโล ๓. พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) รวมเป็น ๔ กับองค์หลวงปู่เสาร์ วันเช่นนี้นี่จึงเป็นวันที่มีการสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัด อุบลราชธานี

แต่นี้จะไกลห่าง เหลือเพียงร่างร้างชีวา
สุดสิ้นแห่งสังขาร สลายลับดับตามกาล
สิ้นชีพก็สิ้นห่วง บรรลุล่วงห้วงนิพพาน
สุขใดไหนจักปาน เปรียบสุขนี้ไม่มีเลย...
ขอบคุณที่มาเนื้อหา
http://www.khwunchai.is.in.th/?md=content&ma=show&id=12
239  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:31:48 pm
ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง  มารดาชื่อจันทร์  เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่  นับถือพุทธศาสนา  เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่  ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓   ณ  บ้านคำบง  ตำบลโขงเจียม     อำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน  ๗  คน   ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก  ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี

          เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา  คือเรียนอักษรไทยน้อย   อักษรไทย   อักษรธรรมและอักษรขอมอ่านออกเขียนได้นับว่าท่านเรียนได้รวด เร็ว  เพราะมีความทรงจำดี   และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา

        เมื่อ ท่านอายุได้  ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง   ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ   ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์   จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก   เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี   ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

        เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี  บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ     ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า

อ่านประวัติต่อที่นี่ครับ
http://www.luangpumun.org/his1.html
240  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อ: ธันวาคม 31, 2010, 03:27:50 pm
ประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี***
ชีวประวัติ

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) ท่านเป็นชาวสมุทรสงคราม ถือกำเนิดในสกุลรัตนคอน ณ บ้านใกล้คลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม มีนายลอยและนางทับเป็นบิดามารดา เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ มีพี่น้องร่วมบิดสมารดาเดียวกัน รวม ๒ ท่านโดยท่านเป็นคนโต คือ

๑. พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)

๒. นายเฉื่อย รัตนคอน (ถึงแก่กรรมไปแล้ว)

ฉายแววแต่เยาว์วัย

ประกาย แห่งสติปัญญา และลักษณะแห่งความเป็นผู้นำของท่านได้ฉายแววมาแต่เยาว์วัย ดังเป็นที่ประจักษ์แก่บิดา มารดา และญาติๆ ว่า ท่านเป็นผู้มีความเข้มแข็งว่องไวประจำนิสัย มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รู้แยกแยะผิดชอบชั่วดี มิเคยสักครั้งที่จะนำความหนักใจให้กับบิดามารดา ชอบที่จะติดตามบิดามารดาไปวัดอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความกตัญญู มีความขยันมานะอดทน มีน้ำใจเสียสละ มีวาจาไพเราะสุภาพอ่อนโยน จึงเป็นที่รักยิ่งของบิดามารดา หลายครั้งท่านมักแอบไวดเพียงลำพังเพื่อฟังการสวดมนต์ของพระภิกษุ-สามเณร จนถึงกับสามารถท่องจำได้อย่างแม่นยำในบางบทบางตอน และถึงแม้ท่านจะเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มท่านก็หาได้มีจิตใจฝักใฝสตรีเพศดุจคน รุ่นเดียวกันไม่ จึงนับว่าเป็นนิมิตหมายแห่งการดำเนินสู่มรรคาแห่งการตัดวัฏฏะอย่างสิ้นเชิง

การศึกษาเบื้องต้นในปฐมวัย

เมื่อ ครั้งเยาว์วัยทั้งสองท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ครั้นต่อมาบิดามารดาได้เสียชีวิตไปหมด พระภิกษุแก้ว (ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงตาแก้วโม่ง) ซึ่งเป็นญาติกับท่าน ได้จำพรรษาอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ ทีวัดเชตุพนฯ ได้นำท่านมาฝากไว้กับพระอธิการสุข (เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี) มาแต่เพียงหลวงปู่โต๊ะคนเดียว ส่วนนายเฉื่อยนั้นคงอยู่ที่วัดเกาะแก้วตามเดิม พระอธิการสุขกับพระภิกษุแก้วนั้นท่านทั้งสองเป็นเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนมและ เคารพนับถือกันมาก ในระยะที่นำมาฝากไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั้น อายุของท่านขณะนั้นได้ ๑๓ ปีเศษ

สู่ความเป็นเหล่ากอของสมณะ

ครั้น เมื่อท่านมีอายุย่างเข้า ๑๗ ปี ก็ได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเมื่อท่านได้รับการยรรพชาเป็นสามเณร ท่านก็มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องเรียนพระสูตรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและว่องไว มีความประพฤติไม่เป็นที่หนักใจแก่หมู่คณะ สนใจในการเจริญสมาธิกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น ความในข้อนี้พระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งอบรมสอนสมาธิกรรมฐานให้กับท่านในสมัยนั้น ถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า แทบทุกคืนจะเห็นสามเณรโต๊ะหลบไปนั่งกรรมฐานเพียงลำพังในโบสถ์ บางครั้งก็เห็นไปเดินจงกรมอยู่ในป่าริมคลองบางหลวงเพียงลำพัง พระอาจารย์พรหมยังได้เล่าอีกว่า สามเณรโต๊ะมักชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ พูดน้อย แต่ช่างซักถามในข้อธรรมต่างๆ

สู่เพศบรรพชิต

ครั้น เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เอน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. โดยมี

พระครูสมณธรรมสมาธาน (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกัมมวาจารย์

พระครูธรรมวิรัติ (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์

มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

เมื่อ ท่านได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความ วิริยะอุตสาหะด้วยจิตที่มุ่งหวังที่จะบรรลุสู่แดนเกษม ต่อมาพระอธิการคำเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นได้ลาสิกขาบทออกไป ท่านจึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อท่านมีอายุได้ ๒๖ ปี พรรษา ๖ และมีฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา ท่านได้รับภาระ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบมาจนถึงแก่กาลมรณภาพ และถึงท่านจะมีภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ท่านก็มิย่อท้อต่อการศึกษาและการปฏิบัติทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ด้วยความมุมานะจนสอบได้ น.ธ.ตรีได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ครั้นเมื่อพระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งให้การอบรมสมาธิกรรมฐานแก่ท่าน ได้มรณภาพไปแล้วท่านก็ได้ออกแสวงหาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน


เห็นทุกขเวทนา

เมื่อ หลวงปู่โต๊ะได้อุปสมบทแล้วใหม่ๆ ได้มีโรคระบาดเกิดขึ้น คือ ไข้ธรพิษ หลวงปู่ท่านได้เป็นโรคนี้เหมือนกัน และเป็นชนิดร้ายแรงด้วย แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เมื่อถึงเวลานอนต้องใช้ใบตองรองนอน ต่อจากนั้นท่านได้ตักเอาน้ำขึ้นมาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะมีชีวิตอยู่ ขอให้จงเกิดมีนิมิตเห็นพระ ถ้าจะไม่มีชีวิตอยู่ก็ขออย่าให้ได้เห็นอะไรเลย และในคืนนั้นเอง หลวงปู่ท่านก็ได้นิมิตไปว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมได้มาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ ครั้นรุงเช้าท่านก็ได้เอาน้ำพระพุทธมนต์ทีได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ทางศีรษะนอน ขึ้นมาฉันและประพรมอีกครั้งหนึ่ง นับแต่นั้นมาโรคดังกล่าวก็ทุเลาเป็นปกติ

ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์

หลวง ปู่ท่านได้บริหารงานวัดด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยเมตตาธรรมอนุเคราะห์ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้า ทางคณะสงฆ์จึงได้พร้อมใจถวายสมณะศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนฯ

พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวิริยกิตติ

พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสังวรวิมลเถร"

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสังวราภิมณฑ์"

ปฏิปทาและจริยาวัตร

หลวง ปู่ท่านเป็นผู้เยี่ยมด้วยความสะอาด แห่งความประพฤติทั้งทางกาย วาจา ใจ และเยี่ยมด้วยจิตซึ่งทรงไว้ด้วยคุณธรรม กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ วิมุตติญาณทัศนะตามลำดับ เป็นลูกศิษย์พระตถาคตผู้งกงามด้วยความประพฤติทั้งภายนอก และภายในไม่มีที่ติ มีความองอาจกล้าหาญต่อการละชั่ว ทำดี ดำเนินตามรอยบาทวิถีที่พระศาสดาพาดำเนิน เป็นผู้ซื่อตรงต่อตนเอง และต่อพระธรรมวินัย อยู่ที่ใดไปที่ใดมีสุขโตเป็นที่รองรับ มีโอชารสแห่งธรรมเป็นที่ซึมซาบ มีความสว่างไสวอยู่ด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องส่องทาง ท่าเป็นผู้เทิดทูน ศาสนธรรม ไว้ได้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่างเต็มภาคภูมิ

ตลอด เวลาที่ท่านทรงสมณเพศอยู่นั้น ท่านตั้งมั่นในสัมมาปฏิบัติ ที่ทรงดอกทรงผลตลอดต้นชนปลาย ท่านเป็นผู้รักสันโดษ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ท่านเอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่ของพระภิกษุ-สามเณรอย่างใกล้ชิด ให้ความอนุเคราะห์สงเคราะห์อย่าวสมเหตุสมผลอย่างสม่ำเสมอ กิตติศัพท์กิตติคุณฟุ้งขจรไปถึงไหน ก็เกิดความหอมหวลชวนให้เคารพเลื่อมใสในที่นั้นๆ และในการประชุมเพื่ออบรมธรรม ท่านก็เปิดโอกาสให้ผู้สนใจถามปัญหาธรรมะอยู่เป็นประจำ ซึ่งท่านก็ตอบอย่างกระจ่าวแจ้งชัดถ้อยชัดคำไม่มีอ้ำอึ้ง ยังความกระจ่างให้บังเกิดแก่ผู้ซักถามอย่างน่าอัศจรรย์แสดงให้เห็นว่าท่าน เป็นผู้แตกฉานในธรรมทั้งโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ

หลวงปู่ท่านเป็นผู้ เพียบพร้อมไปด้วยอัปจายนธรรม มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว ในเรื่องนี้เป็นที่ประจักาชัดในพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ไปพบปะสนธนาธรรมกับหลวงปู่ ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็น พระศาสนโสภณ จนถึงกับกราบอาราธนาให้หลวงปู่ไปสอนกรรมฐานบรรยายธรรมเป็นประจำที่วัดบวร นิเวศวิหาร แต่หลวงปู่ท่านก็ยังคงอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งที่พรรษายุกาลท่านมากกว่า

อัธยาศัยและกิจวัตร

พระราช สังวราภิมณฑ์ ท่านมีอัธยาศัยงดงาม สุภาพอ่อนโยน มากด้วยเมตตากรุณา ยินดีสงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่ผู้อื่น สัตว์อื่น โดยเสมอหน้า ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นผู้ซื่อตรง ถ่อมตน ยึดมั้นในระเบียบประเพณีและความกตัญญูกตเวที ทั้งมีความภักดีในองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์อย่างแน่นแฟ้น ผู้ที่มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดคุ้นเคยกับท่าน จะยืนยันในความที่กล่าวนี้ได้ทุกคน อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นคนหมั่นขยันและแน่วแน่ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วเป็นต้องทำจนสำเร็จ กิจที่ท่านปฏิบัติเป็นนิจในแต่ละวันจนตลอดชีพของท่าน คือ

ตื่นขึ้นเจริญสมณธรรม

๐๘.๐๐ น. นำภิกษุ-สามเณร ทำวัตรสวดมนต์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

๑๔.๐๐ น. อนุเคราะห์ศิษย์ที่มาถวายสักการะบ้าง ที่มาขอบารมีธรรมบ้าง ที่มาสนทนาธรรมบ้าง

๑๘.๐๐ น. นั่งบำเพ็ญสมณธรรมไปจนถึง ๒๐.๐๐ น. แล้วนำภิกษุ สามเณรทำวัตรค่ำ

ใน ระยะหลังท่านนั่งบำเพ็ญสมณธรรมนานเข้าจนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. หรือ ๒๔.๐๐ น. โดยไม่ย่อท้อต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเนื่องแต่ความเสื่อมของสังขาร ในวันธรรมสวนะท่านจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นประจำ และทุกวันพฤหัสบดีจะมีภิกษุ สามเณรจากวัดต่างๆ รวมทั้งผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม มาขอฝึกปฏิบัติกรรมฐานเป็นจำนวนมาก นับว่าท่านได้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวอย่างยิ่งของคนทั่วไป

การปฏิบัติธรรม

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ ท่านสนใจศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาแต่ยังเป็นสามเณร เท่าที่ทราบท่านศึกษากับพระอาจารยืพรหม วัดประดู่ฉิมพลีก่อน พระอาจารย์พรหมมรณภาพแล้ว จึงไปศึกษากับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสาคร แลวออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือหลายครั้ง ต่อมาจึงได้มารู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อสด คือ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๔ ปี หลวงพ่อสดได้ชักชวนท่านให้ไปเรียนกับพระอาจารย์โหน่งที่จังหวัดสุพรรณบุรี อีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้น ท่านก็กลับมาปฏิบัติจิตภาวนา โดยตัวของท่านเองที่วัดต่อมา แม้ว่าท่านจะมีภารกิจในด้านบริหารหมู่คณะและการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้อื่นส่วนมากก็ตาม ท่านก็หาได้ละเลยเพิกเฉยส่วนวิปัศศนาธุระไม่ คงขะมักเขม้นฝึกฝนอบรม ตามโอกาสอันควรตลอดมา จึงปรากฏว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจพระศาสนาส่วนนี้อยู่รูปหนึ่ง และโดยอัธยาศัยที่เคยอบรมด้านวิปัสสนาธุระมามาก จึงได้รับอาราธนาให้เข้าร่วมในพิธีประสิทธิ์มงคลต่างๆ แทบทุกงาน ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศ

เบื้องปลายชีวิต

พระ ราชสังวราภิมณฑ์ อยู่ในสมณเพศมาตั้งแต่อายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เล่าเรียนพระธรรมวินัย มีความรู้แตกฉานลึกซึ้ง และถือวิปัสสนาธุระเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตอันยาวนานถึง ๙๔ ปีของท่าน เป็นรัตตัญญูผู้รู้กาลนาน เป็นครูของสาธุชนทุกหมู่เหล่า เป็นที่เคารพบูชา ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลทุกเพศวัย ทุกชาติชั้น นับแต่สามัญบุคคลจนถึงองค์พระประมุขของชาติ แม้อายุพรรษาจะมากเพียงใด ท่านก็มิได้ขัดศรัทธาของผู้ที่อารธนาไปในการบุญกุศลต่างๆ มีการไปนั่งเจริญสมาธิภาวนาอำนวยสิริมงคล เป็นต้น จึงในระยะหลังๆ นี้ทำให้สังขารร่างกายท่านต้องตรากตำมากเกินไป และเกิดอาพาธขึ้นบ่อยๆ แม้จะได้รับกสรเยียวยารักษาและดูแลพยาบาลอย่างดีเพียงใด กายสังขารของท่านก็ทนอยู่ไม่ไหว ท่านอาพาธครั้งสุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ หลังจากกลับจากถ้ำสิงโตทอง มีอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ ก่อนมรณภาพ ๗ วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย แต่ยังพอฉันได้บ้าง นายแพมย์ต้องให้น้ำเกลือทุกวัน อาหารนั้นถวายข้าวต้มกับรังนกตุ๋น ทุกเช้าราว ๐๗.๐๐ น. ถึงวันที่ ๕ มีนาคม เวลาเช้าสิษย์ผู้พยาบาลก็ถวายข้าวต้มกับรังนกอีก คราวนี้สังเกตเห็นว่าแขนข้างขวาท่านบวม จึงกราบเรียนกับท่านว่า "แขนหลวงปู่บวมมาก" ท่านก็พยักหน้ารับคำแล้วฉันและหลับตาพักต่อไป โดยให้ออกซิเจนช่วยการหายใจตลอด เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านอ่อนแรงลงอีก และพอถึงเวลา ๐๙.๕๕ น. ท่านก็สิ้นลมด้วยอาการสงบดุจนอนหลับไป ณ กุฏิสายหยุด นับอายุได้ ๙๓ ปี ๑๐ เดือน กับ ๒๒ วัน

ขณะนั้นพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ควรทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา ๑๐๐ ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอ พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พร้อด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และในการบำเพ็ญพระราชกุศลออกเมรุและพระราชทานเพลิงเผาศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ก้ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชสังวราภิมณฑ์ ตลอดจนศิษยานุศิษย์ ทุกคนหาที่สุดมิได้





เรียบเรียงจาก หนังสือ

"ภาสุรธรรม"

ฉบับประกาศกิตติคุณ หลวงปู่โต๊ะ ๑๐๘ ปี

วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร

หน้าที่ 4-17

คณะผู้จัดทำ(หนังสือ)

ศ.ดร.วิปัศยา ยิ่งพูนทรัพย์

มีนาคม ๒๕๓๘


ที่มา http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=472.0
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7