ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อุรังคธาตุ…พระธาตุพนม…สถูปสถานหุ้นส่วนแห่งศรัทธา เครือญาติ การเมือง สองฝั่งโขง  (อ่าน 2920 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




อุรังคธาตุ..พระธาตุพนม..สถูปสถานหุ้นส่วนแห่งศรัทธา เครือญาติ การเมือง สองฝั่งโขง

คติการสร้างพระมหาสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมธาตุในดินแดนไทย เป็นสิ่งที่มีพัฒนาการมาแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ อันเป็นระยะเวลาที่มีหลักฐานให้เห็นว่ามีการสร้างศาสนสถานที่เป็นถาวรวัตถุชัดเจน เกิดการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ที่เป็นหลักของบ้านเมืองและท้องถิ่นเรื่อยมา จนถึงการสร้างเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลที่เคารพกันขึ้นอย่างมากมาย
(ศรีศักร วัลลิโภดม. ความหมายพระบรมธาตุในอารยธรรมสยามประเทศ, ๒๕๓๙, น. ๑๔๑.) ดินแดนแถบถิ่นลุ่มน้ำโขงโดยเฉพาะกลุ่มวัฒนธรรมลาว ทั้งไทยอีสานและ สปป.ลาว

    หากกล่าวถึงพุทธศิลป์ประเภทศาสนาคาร คงไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดถูกพูดถึงถกเถียงในวงวิชาการหรือเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชนได้มากเท่ากับเรื่องราวอุรังคธาตุ หรือที่เรียกกันอย่างสามัญว่าพระธาตุพนม
(จารึกโบราณของวัดพระธาตุพนมที่สร้างในปี ๒๑๕๗ เรียกว่าพระสารีริกธาตุ พระมหาธาตุเจ้า หรือมหาธาตุเจ้า)
   ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำของ (โขง) ปัจจุบันคือเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

พระธาตุพนมมักถูกหยิบยกพูดถึงในประเด็นมิติมุมมองที่หลากหลายศาสตร์สาขา โดยเฉพาะองค์ความรู้ทางศิลปศาสตร์ อันประกอบด้วยชุดความรู้ต่างๆ เช่นในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี
   โดยมีตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นหลักฐานอ้างอิงบอกเล่าที่มาว่าเป็นมหาธาตุเจดีย์ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในภาคอีสาน โดยสร้างขึ้นตามพุทธทำนายตั้งแต่สมัยต้นพุทธกาล
   นอกจากนี้ยังบอกเล่าถึงพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมในดินแดนแถบนี้ แต่ละยุคสมัย โดยสาระเรื่องราวจำแนกออกเป็น


    ๑. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนแถบถิ่นนี้ และ
    ๒. เรื่องราวการเคลื่อนย้ายติดต่อสัมพันธ์กัน และภูมิสัณฐานแห่งการสร้างบ้านแปลงเมือง การบรรจุพระอุรังคธาตุและการสร้างตลอดจนบูรณะพระธาตุพนม เป็นเรื่องของการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นหรือบ้านเมืองต่างๆ





ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ มีการก่อรูปและกลายร่างซ้อนทับรสนิยมในเชิงช่างในแต่ละยุคสมัยกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบเงื่อนไขตัวแปรแห่งบริบทพัฒนาการทางสังคมการเมืองเรื่องคติความเชื่อและวิถีวัฒนธรรมทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

    ในประเด็นความเก่าแก่หรือการกำหนดอายุสมัยการสร้างโดยเฉพาะในช่วงแรก อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ โดยมีลักษณะรูปแบบอย่างเทวาลัย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชนตามลัทธิความเชื่อในศาสนาฮินดู และช่วงที่ ๒ ประมาณราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗ ปรับเปลี่ยนรูปแบบตามลัทธิความเชื่ออย่างพระพุทธศาสนานิกายมหายาน

โดยต่อมาในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบและคติความเชื่อเป็นพุทธแบบเถรวาท โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการเรียบเรียงตำนานอุรังคธาตุในฐานะตำนานประวัติศาสตร์ เพื่อใช้อธิบายที่ไปที่มาขององค์พระธาตุกับสายสัมพันธ์อันแสดงความเป็นเครือญาติเดียวกัน โดยมีองค์พระธาตุพนมเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาความเชื่อ ที่เชื่อมโยงผู้คนที่แตกต่างทางลัทธิความเชื่อเหล่านั้นเข้าไว้ด้วยกัน


แม้จะผ่านการซ่อมสร้างมาอย่างต่อเนื่องแต่ส่วนที่ถูกปรุงแต่งใหม่น้อยที่สุดคือส่วนฐานที่แสดงให้เห็นร่องรอยความเก่าแก่ในยุคแห่งการสถาปนาตามคติฮินดู ด้วยรูปกายสังขารแบบเทวาลัย อย่างในวัฒนธรรมจาม รวมถึงวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร

ส่วนการกลายร่างเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือตัวเรือนยอด ตั้งแต่วัฒนธรรมลาวเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากโดยเฉพาะการซ่อมสร้างในปี พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระเถระชาวลาวเวียงจันทน์

โดยมีเอกลักษณ์สำคัญที่รูปแบบในส่วนที่ภาคกลางเรียกว่าองค์ระฆัง หรือรูปลุ้งคว่ำ บ้างก็เรียกทรงโกศ (ฝั่ง สปป.ลาวนิยมเรียกว่ายอดดวงปลี) ซึ่งนักวิชาการไทยในยุคหลังนิยมเรียกว่าทรงบัวเหลี่ยม ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่พบมากที่สุดในรูปแบบของธาตุสายสกุลช่างล้านช้างรวมถึงอีสาน เช่นที่ พระธาตุพนม พระธาตุก่องข้าวน้อย และพระธาตุเชิงชุม

ซึ่ง อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และ อาจารย์พิเศษ เจียจันทรพงษ์ ได้ตั้งข้อสังเกตร่วมกันถึงที่มาว่า เป็นพัฒนาการต่อยอดมาจากรูปสถูปที่ปรากฏอยู่บนกลางใบเสมาหินในดินแดนอีสานสมัยทวารวดี ตามเมืองโบราณในแถบลุ่มน้ำชี





มิติทางการเมืองและความหมายเชิงสัญญะ พระธาตุพนมก็เหมือนกับศิลปะงานช่างวัตถุสถานอื่นๆ ที่ล้วนมีนัยยะทางการเมืองอยู่ร่วมเสมอ เฉกเช่นในยุค พ.ศ. ๒๒๓๓-๓๕ สมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมาซ่อมสร้าง ก็ใช้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่จะหลอมรวมผู้คนเป็นฐานอำนาจทางการเมือง ในยุคที่อีสานยังอยู่ในวัฒนธรรมลาวเป็นกระแสหลัก จนมาถึงยุคการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา

   โดยรัฐไทยสอนให้เชื่อและศรัทธาความเป็นไทยแบบเชื้อชาติเดียว ภายใต้ข้ออ้างหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเสมอคือเรื่องลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในบริบทของอินโดจีน

         
เพราะฉะนั้นการบูรณะซ่อมสร้างองค์พระธาตุพนมในยุคนี้จึงไม่เคารพต่อรูปแบบงานช่างท้องถิ่นอีสาน โดยในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ยุคปฏิรูปศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยฉบับแห่งชาติ) ภายใต้การอำนวยการของหลวงวิจิตรวาทการ

ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิบดีกรมศิลปากร ได้นำเข้ากลุ่มช่างและรูปแบบศิลปะโดยเฉพาะการตกแต่งด้วยลวดลายแบบเครื่องคอนกรีตสกุลช่างภาคกลาง โดยการต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีกเพื่อสถาปนาความยิ่งใหญ่ให้มองเห็นได้แม้ในฝั่ง สปป.ลาว  ทำให้ส่งผลต่อความมั่นคงทางโครงสร้างจนเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการพังทลายในอีก ๓๕ ปีต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ และเป็นที่น่าเสียดายที่รัฐไทยยุคต่อมายังคงแนวคิดเดิมในการบูรณะองค์พระธาตุด้วยรูปแบบดังกล่าว

พระธาตุพนมในวิถีสังคมใหม่ ถูกนำไปเป็นภาพตัวแทนของพระธาตุแห่งอีสาน (อย่างจอมเจดีย์ทั้ง ๘แห่งในเมืองไทยซึ่งเป็นสัญญะแทนความหมายของเส้นเขตแดนของอำนาจทางการเมืองของรัฐไทย) และท้ายสุดถูกลดฐานานุศักดิ์จากรูปแบบพระธาตุของพระพุทธเจ้า มาสู่ลักษณะธาตุโหลที่ใช้บรรจุอัฐิชาวบ้านทั่วไป





ดังนั้นแม้ในวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ยังคงมีข้อถกเถียงที่ไม่มีบทสรุปว่าสถูปสถานแห่งนี้มีอายุเท่าใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่ด้วยอำนาจของเรื่องเล่าขานผ่านตำนานต่างๆ โดยเฉพาะตำนานอุรังคธาตุ ทำให้เรามองเห็นภาพประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ซึ่งมีผู้คนพื้นถิ่นต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมปะทะสังสรรค์ด้วยรสนิยมทางศิลปะเชิงช่างทั้งของพื้นถิ่นหรือวัฒนธรรมภายนอกจากเวียดนาม กัมพูชา และลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ซึ่งบูรณาการซ้อนทับกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมผ่านการเป็นหุ้นส่วนทางศรัทธาความเชื่อเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงแห่งบริบททางสังคมการเมืองเรื่องวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยว่าใครมีอำนาจรัฐเหนือกว่าใคร

ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นความเป็นเครือญาติที่มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในลักษณะถ่ายมาเทไปของผู้คนในแถบถิ่นนี้ที่มีมาช้านานและต่อเนื่อง 



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344675009&grpid=03&catid=&subcatid=
http://a7.sphotos.ak.fbcdn.net/
ติ๊ก แสนบุญ เล่าเรื่อง ศิลปวัฒนธรรม สิงหาคม 2555
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0










ภาพการปฏิบัติธรรม ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ในระดับภูมิภาค
ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ในวันที่ ๑๓-๑๔ สิงหาคมที่ผ่านมา


ขอบคุณภาพจาก http://www.facebook.com/dhammakhosana.wave
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0











ภาพการปฏิบัติธรรม ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ในระดับภูมิภาค
ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ในวันที่ ๑๓-๑๔ สิงหาคมที่ผ่านมา


ขอบคุณภาพจาก http://www.facebook.com/dhammakhosana.wave
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นภาพแล้วควรแก่การอนุโมทนา จริง ๆ ครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า