ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อินเทอร์เน็ตช่องทางให้คุณและโทษ ใช้ไม่เป็นจะเข็ญใจ  (อ่าน 1278 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28472
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อินเทอร์เน็ตช่องทางให้คุณและโทษ ใช้ไม่เป็นจะเข็ญใจ
โดย...จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์

อินเทอร์เน็ตใช้ให้เป็นก็เกิดประโยชน์ แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็เกิดโทษได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคงเป็นกรณีคนหาย ที่พบว่าปัญหานี้นับวันมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะยุคเทคโนโลยีเฟื่องฟู ก็มีส่วนบ่มเพาะทำให้เกิดปัญหานี้ได้มากขึ้น

เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข หัวหน้าศูนย์คนหาย มูลนิธิกระจกเงาแห่งประเทศไทย ได้เข้าเป็นวิทยากรบรรยายในงาน Safe Internet workshop for dtac & Telenor Youth Summit 2014ซึ่งเป็นโครงการเฟ้นหาเยาวชนไทยเป็นตัวแทนเข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลสันติภาพโนเบล 2014 ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ วันที่ 9-11 ธ.ค. นี้ โดยระบุว่า ปัญหาคนหายนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี จากปี 2547 สถิติคนหาย 184 คน ปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 196 คน และเพิ่มขึ้นมากในปี 2549 เป็น 394 คน ซึ่งก็ถือเป็นช่วงเวลาที่อินเทอร์เน็ตกำลังเติบโตสูงมากพอดี และหลังจากนั้นลดลงเล็กน้อยในปี 2550 อยู่ที่ 233 คน ส่วนปีต่อๆ มา เพิ่มขึ้นตลอด จนกระทั่งล่าสุดปี 2556 สถิติคนหาย สูงถึง 622 คน


 :96: :96: :96: :96: :96:

สัดส่วนกลุ่มที่หายมากที่สุดนั้น อยู่ที่ 11-15 ปี อาจเป็นเพราะเป็นช่วงวัยประถมกำลังเข้าสู่มัธยมเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ยิ่งเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตมาก ก็อาจจะทำให้เด็กบางคนใช้เทคโนโลยีคุยกับคนแปลกหน้า จากนั้นก็ออกจากบ้านไปพบกับคนแปลกหน้าที่ติดต่อด้วย แล้วก็เกิดปัญหาคนหายตามมา ขณะที่สาเหตุการหายตัวนั้น เป็นการหายตัวไปเพราะหนีออกจากบ้านโดยสมัคร 53% ติดแชท 21% ติดเกมส์ 16% และถูกลักพาตัว 10%

เมื่อเด็กหายไปแล้ว สิ่งที่จะเผชิญ ลำดับแรก คือ อันตรายในชีวิต ทางเพศ และทรัพย์สิน จากนั้นก็จะนำไปสู่การถูกเอาเปรียบ ถูกหลอก ถูกค้ามนุษย์ และรุนแรงสุดอาจไปถึงขั้นเสียชีวิตได้

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

อย่างไรก็ตามแม้อินเทอร์เน็ตจะมีข้อเสีย มีส่วนทำให้เด็กหาย แต่อีกด้านก็เป็นข้อดีเช่นกัน เพราะทำให้รับรู้ข่าวสารคนหายและตามหาได้รวดเร็วขึ้น ต้องยอมรับว่าสถิติคนหายที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากช่องทางการแจ้งคนหายมีมากขึ้นตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปนั่นเอง แต่ยอมรับว่า หลายช่องทางที่นำข้อมูลคนหายไปเผยแพร่ต่อ ก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าคนที่ประกาศว่าหายนั้นหาพบหรือยัง เคยมีกรณีที่เกิดขึ้นคือ เด็กหาย ถูกตามพบไปแล้ว 4 ปี ภาพเด็กคนนั้นก็ยังถูกแชร์ในสังคมออนไลน์อยู่ ในส่วนของมูลนิธิกระจกเงานั้น หากประกาศคนหายไป แล้วหาเจอ ก็จะลบประกาศนั้นออกทันทีเพื่อลดปัญหาเหล่านี้

เอกลักษณ์ กล่าวว่า นอกเหนือปัญหาเด็กหายแล้ว ปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในช่วงนี้จากการใช้อินเทอร์เน็ตแบบไม่ระวัง คือ สาวไทยถูกชายต่างชาติหลอก ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบพูดคุยกันผ่านสังคมออนไลน์ จากนั้นชายต่างชาติจะทำทีว่าจะขนเงินมาลงทุนในไทย พร้อมบอกว่าจะส่งเงินมาให้กับฝ่ายหญิง จากนั้นก็จะมีคนโทรศัพท์มาบอกฝ่ายหญิงว่า พัสดุจากต่างประเทศมาถึงเมืองไทยแล้ว แต่น้ำหนักเกิน ไม่สามารถผ่านด่านตรวจได้ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมก่อน หากฝ่ายหญิงตายใจและจ่ายเงินไป ก็จะหลอกอีกครั้งว่า ตรวจพบว่าพัสดุเป็นเงิน ซึ่งมีจำนวนมากเกินกว่าจะให้ขนส่งทางไปรษณีย์ได้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมก่อน ซึ่งหากฝ่ายหญิงหลงเชื่อก็จะเสียเงินอีกครั้ง กรณีนี้ถูกร้องเรียนบ่อยมาก ในช่วงนี้จึงอยากให้ระมัดระวังไว้ ทางที่ดีใช้สังคมออนไลน์พูดคุยเฉพาะกับคนที่รู้จักอยู่แล้วดีที่สุด


 :49: :49: :49: :49: :49:

ด้านซิดเซล่า ไนบัค ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม เทเลนอร์กรุ๊ป ซึ่งก็มาบรรยายในงานเดียวกัน ว่า เด็กเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเผชิญความเสี่ยงสูงบนโลกออนไลน์ ทั้งในแง่การให้ข้อมูลทั่วไปของตัวเองในโลกออนไลน์มากเกินไป พูดคุยกับคนแปลกหน้าบนโลกออนไลน์ สมัครใช้บริการธุรกิจที่ไม่เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ แนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากโลกออนไลน์ที่จะเกิดกับเด็กได้ คือ ผู้ปกครองควรจำกัดระยะเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตกับเด็กๆ อาจอนุญาตให้เด็กมีเวลาท่องโลกออนไลน์อย่างอิสระเพื่อพูดคุยกับเพื่อน เล่นเกม เยี่ยมชมสังคมออนไลน์ได้ แต่หลังจากนั้นต้องใช้เพื่อทำการบ้านเท่านั้น ต้องทำให้เด็กไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญของตัวเองบนโลกออนไลน์

ขณะเดียวกันผู้ปกครองต้องพูดคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การใช้เทคโนโลยี เปิดใจกว้าง อธิบายให้เด็กเข้าใจถึงอันตรายของอินเทอร์เน็ตที่ควรระวัง ในส่วนของผู้ปกครองก็ต้องตรวจสอบภายหลังเกี่ยวกับประวัติเว็บไซต์ที่เด็กเข้าไปเยี่ยมชม เพื่อให้รู้ว่าเด็กทำอะไรบนโลกออนไลน์บ้าง พร้อมติดตั้งเครื่องมือป้องกันความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ และความเป็นส่วนตัวเพิ่มเติมเพื่อลดทอนปัญหาหากเป็นไปได้ควรจะใช้เวลาท่องโลกออนไลน์ไปพร้อมกับเด็กๆ ด้วย เพื่อให้เห็นว่าเด็กทำอะไรบ้างบนโลกออนไลน์เมื่ออยู่ด้วยกัน

นี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่จะทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นประโยชน์มากกว่าโทษต่อบุคคลที่ใช้


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/326677/อินเทอร์เน็ตช่องทางให้คุณและโทษ-ใช้ไม่เป็นจะเข็ญใจ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ