สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: GodSider ที่ สิงหาคม 24, 2012, 11:58:25 am



หัวข้อ: อยากได้รายละเอียด ความเข้าใจเรื่องการ ฉลาดในการศึกษา สมาธิ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ สิงหาคม 24, 2012, 11:58:25 am
ปุจฉา
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะสำเร็จในกรรมฐาน โดยไว ?


วิสัชชนา
 1.ปฏิบัติด้วยความฉลาด ใน องค์แห่งสมาธิ
    ความฉลาด ในสมาธิ มิได้ด้วยการตั้งมั่น ใน ฉันทะสมาธิ
 2.ปฏิบัติ ด้วยความสม่ำเสมอ มีความเพียรติดต่อ
 3.ปฏิบัติ ตามขั้นตอน ไม่บิดพริ้ว
 4.ปฏิบัติ ด้วยเป้าหมาย พ้นจากสังสารวัฏ
 5.ปฏิบัติ ด้วยการน้อมวิปัสสนา ธรรมคือ พระไตรลักษณ์ เข้าสู่ใจ


อยากได้รายละเอียด ความเข้าใจเรื่องการ ฉลาดในการศึกษา สมาธิ ครับ
ผมอ่านแล้วเหมือนพระอาจารย์ เพียงเริ่มหัวข้อไว้ ก่อนเท่านั้นนะครับ คิดว่า อาจจะถึงเวลาที่เราควรจะต้องถามวิธีการนี้ ด้วยนะครับ ผมจึงนำคำถามนี้ออกมาจากหัวข้อแนะนำเมื่อวานเพื่อนำมาสนทนากันให้เกิดประโยชน์ มากยิ่งขึ้นในการภาวนา ครับ ดังนั้นเพื่อนท่านใด มีแนวทาง หรือเห็นลิงก์ ไหนที่เกี่ยวข้องช่วยกันแบ่งเบาภาระพระอาจารย์กันและ พอกพูนธรรม ด้วยการแจกธรรมทานกันด้วยนะครับ


  :25: :c017:


หัวข้อ: Re: อยากได้รายละเอียด ความเข้าใจเรื่องการ ฉลาดในการศึกษา สมาธิ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 25, 2012, 02:46:53 am
รู้รูปรู้นาม รู้จักสมถะ รู้จักวิปัสนา ไม่หลงสมถะ ไม่หลงวิปัสสนา หาทางไป
    ไม่ได้มีแค่นี้นะที่พระอาจารย์ออกมาเมื่อวาน
          มีเรื่องเชือกแปดเส้นด้วย  เป็นเกลียวบิดรวมกัน พาพ้นสังสารวัฏ
     ใครมีสมถะวิปัสสนาแล้ว ใครเห็นไตรลักษณ์แล้ว ใครได้กายพุทธะแล้ว ใครพบธรรมจักรแล้ว
      ก็ว่ากันต่อตามที่รู้ด้วยตัวเอง
       กรรมฐานนี้ของจริง ไม่มีเปรียบเทียบ


หัวข้อ: Re: อยากได้รายละเอียด ความเข้าใจเรื่องการ ฉลาดในการศึกษา สมาธิ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ สิงหาคม 26, 2012, 09:33:27 am
ความฉลาดในสมาธิ น่าจะหมายถึง วสี นะครับ
 :s_hi:


หัวข้อ: ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึง
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ สิงหาคม 28, 2012, 08:38:21 am
ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)


(http://www.madchima.net/images/168_card_30.jpg)

ที่มาและติดตามได้จากลิงก์นี้ครับ ( พอจะกล้อมแกล้มคำตอบไปได้สักนิดนะครับ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0)


หัวข้อ: รายละเอียดอ่านครบทุก วิปัสสนาญาณเลยนะครับ สาวกภูมิ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ สิงหาคม 28, 2012, 08:41:09 am

สำหรับหัวข้อนี้ น่าจะเป็นการน้อมวิปัสสนา นะครับ
รายละเอียดอ่านครบทุก วิปัสสนาญาณเลยนะครับ
สาวกภูมิ
    สัตว์มนุษย์ เสมอกัน อยู่สี่อย่าง      กิน นอน อยู่เสพกาม มีภัยหนี
ส่วนมนุษย์ สูงกว่าสัตว์ บรรดามี      เพราะใจดี มีคุณธรรม ค้ำประคอง

        หากเราได้ เกิดมา เป็น มนุษย์    ย่อมประเสริฐ สุดกว่า สัตว์เดียรัจฉาน
หากเราได้ เข้าสู่  นิพพิทาญาณ      สัญชาตญาณ สาวกภูมิ ย่อมเกิดมา

        สาวกภูมิ ควรรู้กิจ ในเบื้องต้น      เพื่อไม่จน ไม่มัวเมา ในตัณหา
เริ่มต้นด้วย ศึกษา ในกายา         เป็นมรรคา เบื้องบาทแรก ทำลายตน

       กิจที่สอง ให้มีจิต มีสำนึก      รักระลึก ถึงธรรมรัตน์ หลายๆ หน
เพื่อให้จิต ผ่อนคลาย ไร้กังวล         ไม่สงสัย จิตอับจน เขลาปัญญา

       กิจที่สาม ให้ปฎิบัติ ตามทางเอก   เป็นเอนก เอกอุตม์ ไม่มุสา
รักษาศีล มีศีล ใช่วาจา            มีราคา ด้วยมีกาย และ ใจดี

       กิจที่สี่ เริ่มเพียร สร้าง สมถะ      เพื่อให้ละ นิวรณ์ธรรม อันบัดสี
ให้ใจนิ่ง นิวรณ์ธรรม ไม่ราวี         ให้ชีวี เข้มแข็ง ด้วยองค์ฌาน

       แม้นว่า กิจ คือ ฌาน ทำได้ยาก      ถ้าไม่ขาด หรือลืมหลง ในสงสาร
ให้ชีวิต มีอุปจาร มิช้านาน         แล้วพิจารณ์ วิปัสสนา เห็นแก่นธรรม

      ปัญญาญาณ ย่อมอุบัติ เป็นลำดับ    ให้เห็นชัด ในกายจิต เป็นวิถี
รูป หนึ่งดวง จิต สี่ดวง ทุกวินาที      ถูกย่ำยี ด้วยไตรลักษณ์ ทุกเวลา

     ญาณที่หนึ่ง ให้มองเห็น  นามรูป      รู้แจ้งรูป รู้แจ้งนาม โดยสัณฐาน
มองให้เห็น นามรูป ลักษณาการ      แล้วให้หาร รูปนาม เป็นปัจจัย

      ญานที่สอง ปัจจยะ ปริคคะหะ      คือเห็นชัด รูปนาม ไม่สงสัย
ใช้สติมองเห็น ความเป็นไป         ให้หัวใจ มองเห็น แยกส่วนกัน

      ญาณที่สาม สัมมะสนะญาณ      คือพิจารณ์ ไตรลักษณ์ได้ เป็นส่วนเห็น
ทั้งไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ไร้ตัวเป็น         มองให้เห็น ให้ชัดได้ ด้วยญาณธรรม

       ญานที่สี่ อุทยัพพะยะญาณ      เป็นเขตคาม ความเกิดขึ้น สลายหาย
เห็นขันธ์ห้า จ้าแล้ว ด้วยนามกาย      ดุจสถูป ตั้งอยู่ได้ ก็หายพลัน

      ญาณที่ห้า เห็นแจ้ง ความเสื่อมขึ้น   เข้าใจถึง ความแตกแยก เป็นวิสัย
เห็นความแตก แยกสังขาร มลายไป      ขันธ์ดับไป วนเวียนอยู่  ระคนกัน

       ญาณที่หก เห็นน่ากลัว ในเหตุนาม   ให้ครั่นคร้าม เห็นภัย สังสารขันธ์
เมื่อเกิดแล้ว ก็มีตาย คละเคล้ากัน      ย่อมติดพลัน เศร้าใจ ในวนเวียน

       ญาณที่เจ็ด เห็นไม่สวย ในวนเวียน   เป็นแบบเรียน เห็นโทษ  วิโยคเข็ญ
ให้คลายจิต อันมัวเมา อยู่เช้าเย็น      ให้เข้าเห็น รู้แจ้ง กระแสธรรม

       ญานที่แปด ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด   เหมือนรู้ชัด โทษกรรม อันหรรษา
จิตตื่นอยู่ รู้นามรูป ทุกเวลา         ไม่นำพา กิเลส ไม่มัวเมา

       ญานที่เก้า อารมณ์เกิด ใคร่อยากพ้น   ไม่ชื่นชม หลงใหลใน สุขหรรษา
ย่อมใคร่ออก จากกาม เป็นมรรคา      ไม่นำพา จิตเข้าสู่ วิโยคกรรม

      ญาณที่สิบ พิจารณา หาทางออก      อันประกอบ ด้วยองค์แปด เป็นเขตขันธ์
ย่อมเข้าออก ตื่นอยู่ ด้วยรู้กรรม      เป็นเหตุอัน ถอนทิ้งซึ่ง ความเมามัว

      ญานสิบเอ็ด เห็นสังขาร อย่างแจ้งชัด   ความกำหนัด เมามัว ได้อาสัญ
เห็นสังขาร อันกอร์ปกิจ ทุกสิ่งอัน      ความยึดมั่น ถูกถอด เห็นความจริง

      ญาณสิบสอง เห็นจริง ตามอริยสัจ   ได้ขจัด อวิชชา ไม่สงสัย
ทั้งอนุโลม ปฎิโลม เห็นเป็นไป         หมดเยื่อใย  เพราะเข้าเห็น รู้แจ้งจริง

     ญาณสิบสาม เข้าสู่ ความเป็นพระ      ผู้รู้ละ โลภหลง และสงสาร
ผู้เข้าสู่ อารมณ์ วิปัสสนาญาณ         ผู้พล่าผลาญ กิเลส ให้จบไป

    ญาณสิบสี่ เห็นหนทาง กระแสจิต      ที่เปิดปิด มิดชิด หมดสงสัย
สัมปชัญญะ รู้ทั่ว กำหนดไป         ทั้งกายใจ น้อมรับ ด้วยยินดี

 ญาณสิบห้า เข้าสู่ ผลจิต                      เพ่งพินิจ ตรวจละ เขตสงสาร
ละสังโยชน์ เป็นลำดับ ทุกรูปนาม              หมดวิจาร สิ้นสุด ภาวนา

    ญาณสิบหก ทบทวน อริยะสัจ           ให้รู้มรรค รู้ผล ในวิถี
แจ้งกิเลส นอกใน ในชีวี         เป็นสุขี นิพพานัง นิรันดร

   หากจะให้ ข้าพเจ้า สาธยายหมด      ย่อมประสพ ความลำบาก มากหนักหนา
หากให้แต่ง อารมณ์ จำนรรค์จา      ก็เหมือนว่า ตัวเอง ยังมัวเมา

   ให้ลุ่มหลง ในอารมณ์ สุทธาวาส      เป็นนิวาส ของพรหม  ชนเวหา
อาจปิดกั้น นิพพาน ในวิญญา         เพราะหลงใหล มัวเมา ในบทกลอน

   จึงลิขิต กลอนนี้ พอสังเขป         พอเป็นเหตุ ให้จิตได้ ในรสา
ให้สาวกภูมิ ผู้ตื่นอยู่ รู้มรรคา         มีปัญญา รู้แจ้ง เห็นความจริง

    ท้ายที่สุด ข้าพเจ้า ขอน้อมจิต      ในชีวิต ต้นบุญ ผลกุศล
ขออุทิศ ให้ปวงญาติ ผู้วายชนม์      ผู้มีชนม์ มีอายุ พบสุขกัน

    ด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ         เป็นตบะ เดชะ ไปหาผล
ขอให้เทพ เทวา ผู้บันดล         ให้ข้าพเจ้า เป็นอยู่ โดยปลอดภัย

    ขอให้ยักษ์ ผู้คุ้มกัน ข้าพเจ้า      ภูติ ที่เฝ้า คอยอยู่ แลรักษา
ให้ได้บุญ ที่ข้าพเจ้า ได้ทำมา         ด้วยเมตตา ช่วยรักษา มีรูปนาม

     ขอให้ท่าน ผู้อ่าน มีสติ         ให้กอร์ปกิจ สิ่งดี สมประสงค์
ขอให้ถึง ปัญญา ด้วยตัวตน         ให้รอดพ้น บ่วงมาร ทุกท่าน เทอญ.
                 
สนธยา สุนทรนนท์ ( ธัมมะวังโส ภิกษุ)
  21 ก.ค. 49   

(http://www.madchima.net/images/185_b3.jpg)
กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5700.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5700.0)


หัวข้อ: Re: อยากได้รายละเอียด ความเข้าใจเรื่องการ ฉลาดในการศึกษา สมาธิ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 30, 2012, 10:56:13 am
อนุโมทนา นำคำตอบมาไว้ได้ดี แล้ว

สาธุ สาธุ สาธุ

  ;)