ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้ให้ทัน! 18 มงกุฏโชเชียล ปั่นดราม่าขอเงินบริจาค ฉุกคิดก่อนคิดแชร์  (อ่าน 1047 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


รู้ให้ทัน! 18 มงกุฏโชเชียล ปั่นดราม่าขอเงินบริจาค ฉุกคิดก่อนคิดแชร์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบัน โซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างมาก ด้วยความสะดวกในการเข้าถึงข่าวสาร สามารถแชร์ข้อมูลถึงกันได้อย่างรวดเร็ว แต่ภายใต้ความรวดเร็วความสะดวกสบายนั้นอาจแฝงซึ่งกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพ เฉกเช่นหลายเหตุการณ์ที่มีการนำเสนอเรื่องราวความเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต รวมไปถึงสัตว์พิการเจ็บป่วย แล้วเกิดการแชร์ต่อกันเป็นวงกว้าง นำมาซึ่งการระดมเงินช่วยเหลือจากผู้ใช้สื่อออนไลน์ โดยที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เรื่องราวเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่

อาทิ กรณีที่เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันกระหึ่มโลกโซเชียล เมื่อหญิงสาวโพสต์ภาพอ้างป่วยเป็นเชื้อราที่ไขกระดูก ขอรับเงินบริจาค เพื่อรักษาลูกสาวที่ป่วยเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดแดง และมักจะโพสต์ภาพรูปลูกสาวที่มีสภาพนอนหลับ มีข้อความทำนองท้อแท้อยากฆ่าตัวตาย มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก จนได้รับเงินบริจาคนับแสนบาท จากข้อมูลที่หญิงสาวโพสต์ทำให้ชาวเน็ตตั้งข้อสังเกต จับผิดภาพและขุดคุ้ยหาความจริง ในที่สุดเจ้าตัวออกมายอมรับว่ากุเรื่องขึ้นเพื่อหาเงินใช้หนี้ พร้อมขอโทษชาวเน็ตที่แชร์ข้อมูลออกไปจนได้รับเงินบริจาค ก่อนปิดเฟซบุ๊กไป

ดูหากย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ประเด็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยข้อกังขาเกี่ยวกับสุนัขสายพันธุ์ปั๊กที่ถูกนำมาโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์ว่า ถูกโรคจิตล่วงละเมิดทางเพศจนป่วยเป็นโรคร้าย นำมาซึ่งการเรี่ยไรเงินบริจาค หลังจากเรื่องราวกลายเป็นกระแส ก็มีการตั้งข้อสงสัยต่อกรณีนี้ถึงความไม่ชอบมาพากลในหลายอย่างที่เกิดขึ้น กระทั่งเรื่องเงียบหายไป


ระวังโดนหลอกจากการใช้สื่อออนไลน์โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เปิดประสบการณ์นักบุญ VS คนบาปลวงโลก

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ เล็งเห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อมูลนิธิต่างๆ ที่ประสงค์ต่อการช่วยเหลืออย่างแท้จริง จึงได้ติดต่อไปยัง บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ อาสาสมัครของมูลนิธิร่วมกตัญญู เจ้าของเพจ "บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" ที่มักจะโพสต์ภาพการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้คนเจ็บคนป่วยเป็นเวลากว่า 4 ปี เปิดเผยว่า มีผลกระทบต่อการช่วยเหลืออยู่บ้าง เนื่องจากเขาไม่เคยมีการระดมเงินทุนจากประชาชน เป็นเพียงการนำเงินจำนวนหนึ่งไปให้คนเจ็บ แล้วต่อยอดโดยนำเลขบัญชีของคนเจ็บมาโพสต์ลงหน้าเพจเท่านั้น เมื่อมีมิจฉาชีพใช้โลกโซเชียลหลอกลวงเอาทรัพย์ อาจจะให้ผู้ที่รอความช่วยเหลือจริงๆ ไม่ได้รับช่วยเหลือ

บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ อาสาสมัครของมูลนิธิร่วมกตัญญู

"คนเราเมื่ออยากช่วยเหลือด้วยใจ แล้วกลับมารู้ว่าถูกหลอก อีกหน่อยคนก็ไม่อยากจะทำบุญอีก ส่วนคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ก็อาจจะไม่ได้รับความช่วยเหลือ ผลกระทบจึงเกิดกับคนที่อยากช่วยเหลือกับคนที่ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ เท่านั้น" บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ กล่าว

บิณฑ์ ยังเล่าให้ทีมข่าวฟังอีกว่า เคยโดนแอบอ้างโดยมีผู้ไม่หวังดีโทรไปที่เบอร์ของคนเจ็บที่เคยโพสต์ไว้ที่หน้าเพจเฟซบุ๊ก แล้วบอกกับทางคนเจ็บว่าโอนเงินเกินไปที่บัญชีของคนเจ็บหนึ่งหมื่นบาท อยากให้โอนช่วยโอนเงินคืนมาเก้าพันบาท เพราะจริงๆ เขาต้องการทำบุญเพียงหนึ่งพันบาทเท่านั้น ใช้คำพูดขู่เอาความกระทั่งฝ่ายคนเจ็บยอมโอนเงินคืนไปให้ ซึ่งเมื่อทางบิณฑ์รับทราบเรื่อง ก็ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง กลับพบว่าไม่มีการโอนเงินจำนวนหนึ่งหมื่นบาทแต่อย่างใด หลังจากนั้นบิณฑ์จึงแก้ไขปัญหาด้วยการแนะนำผู้บริจาคและผู้รับการบริจาคให้ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจทำธุรกรรมทางการเงินใดๆ แต่ก็ยอมรับว่าการแก้ไขปัญหายังเป็นไปได้ยาก


เพจ "บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์" แชร์ข่าวสารเพื่อสังคม

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ยังติดต่อไปยัง อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับทีมข่าวว่า ในปัจจุบันมีการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหลอกลวงประชาชนในโลกออนไลน์อยู่เป็นจำนวนมาก เฟซบุ๊กและไลน์เป็นช่องทางที่มีการส่งต่อข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด อาศัยเรื่องที่เป็นกระแสในสังคม ให้เหตุผลว่าคนส่วนใหญ่เชื่อว่าการส่งต่อข้อมูลผ่านไลน์หรือเฟซบุ๊กมีความปลอดภัย สามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งเป็นใคร ขณะเดียวกันมิจฉาชีพกลับใช้ช่องทางเหล่านี้ในการหลอกลวงประชาชน โดยการสร้างเรื่องราวให้เป็นกระแส แล้วเกิดการส่งต่อเป็นวงกว้าง ทำให้จับกุมตัวได้ยาก แต่ในความเป็นจริงสามารถตรวจสอบได้ โดยยืนคำร้องต่อศาล


อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์

"คนส่วนใหญ่เชื่อว่าการส่งต่อข้อความผ่านไลน์และเฟซบุ๊กมีความปลอดภัย ข้อความที่มิจฉาชีพสร้างให้เกิดกระแสแล้วถูกแชร์ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ทราบว่าผู้ส่งจริงๆ เป็นใคร ตรงนี้เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีการส่งต่อข้อมูล ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต้องมีการจัดเก็บข้อมูล ที่เรียกว่าข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ สามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นเจ้าของข้อความนั้น โดยวิธีการตรวจสอบคือยื่นคำร้องต่อศาลในการที่จะตรวจสอบ โดยให้ ISP (Internet Service Provider) ผู้บริการหรือว่ามือถือทำการตรวจสอบได้" อาจารย์ไพบูลย์กล่าว

แนะตั้งสติ ตรวจสอบที่มา ก่อนกดแชร์ มิฉะนั้น ตร.อาจมาถึงหน้าบ้าน!

อาจารย์ไพบูลย์ แนะนำวิธีสังเกตและป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อกลโกงของมิจฉาชีพในโลกออนไลน์ว่า หากข้อความนั้นมีการกล่าวถึงบุคคลที่สาม อย่างเช่น นาย ก. มีการโพสต์ข้อความว่า นาย ข.ป่วย ต้องการความช่วยเหลือ ในลักษณะนี้อย่าทำการแชร์ออกไปในทันที ควรทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวหรืออาจจะตรวจสอบจากกูเกิล โดยการคีย์เวิร์ดในข่าวนั้นว่าเป็นข่าวจากสำนักข่าวที่มีน่าเชื่อถือหรือไม่ ถ้าพบว่าข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจน ไม่ควรส่งต่อข้อมูลใดๆ


ปัญหาการโดนหลอกจากการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ เป็นเรื่องใกล้ตัว

อาจารย์ไพบูลย์ กล่าวถึงโทษความผิดกรณีหลอกลวงประชาชน จะมีโทษความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ฐานความผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน หากผู้ใช้ส่งต่อข้อมูลยังไม่ทราบข้อเท็จจริงแล้วยังส่งต่อ จะมีโทษความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เช่นเดียวกันใน มาตรา 14 (5) ฐานความผิดเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

"เมื่อรู้ว่าไม่ถูกต้องหรือเป็นเท็จแล้วยังแชร์ มีข้อสังเกตว่าถึงแม้กฎหมายจะบอกว่าจะผิดก็ต่อเมื่อรู้ว่าเป็นข้อมูลเป็นเท็จแล้วเราแชร์ แต่ความเป็นจริงเมื่อถูกตรวจสอบพบ IP Address ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต หรือว่าเบอร์มือถือเป็นของเรา ตรงนี้ก็ต้องไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพิสูจน์ในชั้นศาลเรื่องของเจตนา ซึ่งจะเป็นประเด็นปัญหาพอสมควร จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องระมัดระวังกันมากขึ้น" ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ กล่าว


คนใช้สื่อโซเชียลมีเดียมาก ทำให้มิจฉาชีพหากินให้โลกออนไลน์

ปัญหาการโดนหลอกจากการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ เป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับชาวเน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการนำเอาความน่าสงสารมาเป็นกลไกในการเรียกเอาทรัพย์สินจากผู้ใช้โดยสมัครใจ เพราะทุกวันนี้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อจำนวนไม่น้อย ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์ต้องฉุกคิดกันอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพที่แฝงตัวมาบนโลกออนไลน์.

อย่าเพิ่งแชร์ออกไปในทันที ควรทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/524140
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ก้านตอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 195
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนนี้เห็นมาก เลย เราเอง ต้องพยายาม ค้นหาข้อมูล

  ข้อมูล คนที่ลำบากเป็นของจริง แต่ บัญชี ที่เข้าช่วยเหลือ เหล่านี้ ไม่ใช่ของจริง ของผู้ลำบาก

 เรื่องหลอกลวง ใน โซเชี่ยล มีมากมาย หลอกขายของ ส่งมาเป็นก้อนอิฐก็มี เก็บเงินปลายทาง แกะกล่องเป็นก้อนอิฐ ก็มี หลอกให้โอนเงินก่อน แล้วรอส่งของมา รอแล้ว รอเล่า ก็ไม่มาเสียที

   อุบาย หลอก แฮ็ก ในโซเชี่ยล มันมีมากมาย ไปหมด

   :41: :41: :41:
บันทึกการเข้า