ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญเทศกาล 'ทอดกฐิน' ระวังเป็นได้แค่ 'ทอดผ้าป่า'  (อ่าน 868 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ทำบุญเทศกาล 'ทอดกฐิน' ระวังเป็นได้แค่ 'ทอดผ้าป่า'

สัปดาห์นี้ทำความรู้จักที่มา “การทอดกฐิน” แต่ทุกวันนี้กลับให้ความสำคัญเป็นอย่างอื่น ซ้ำร้ายบางแห่งเจ้าอาวาสเชิญชวนหาเจ้าภาพเอง ซึ่งความจริงพระธรรมวินัยห้ามทำ

ช่วงนี้หลายวัดคงมีเจ้าภาพทอดกฐินกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลายวัดโดยเฉพาะวัดในชนบทห่างไกลความเจริญ และวัดในพื้นที่ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ คงมีอีกหลายวัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพทอดกฐิน

“กฐิน” เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียก ผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น ชาวพุทธจำนวนมากจึงถือว่า “การทำบุญทอดกฐินเป็นบุญพิเศษ”

การทอดกฐิน มีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท



ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวร เพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

ที่น่าแปลกประหลาดก็คือว่า บางวัดมีพระภิกษุจำพรรษาไม่ครบองค์สงฆ์คือ 5 รูปก็ยังมีการทอดกฐิน เพราะมีพระบางรูป “ละเมิดพระธรรมวินัย” นำพระภิกษุจากวัดอื่นๆ มาร่วมสังฆกรรมทอดกฐิน ทั้งๆ ที่พระธรรมวินัยห้าม ซ้ำร้ายกว่านั้นมีเจ้าอาวาสหรือพระลูกวัดไปเชิญชวนหาเจ้าภาพ อันนี้ตามพระธรรมวินัยก็ห้ามทำ



ความสำคัญพิเศษของการทอดกฐิน แตกต่างจากทานอย่างอื่นอย่างไร การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้

- หนึ่ง จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
- สอง จำกัดเวลา คือ กฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
- สาม จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
- สี่ จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
- ห้า จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุรูปที่รับกฐินต้องจำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 4 รูป
- หก จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น



อานิสงส์ของการทอดกฐินมีมากมาย คงไม่ต้องพูดในรายละเอียด เอาป็นว่าตอนนี้หากท่านเป็นชาวพุทธที่ดี ต้องสังเกตวัดที่จะไปทอดกฐินดังนี้ มีพระครบ 5 รูปหรือไม่ และการทอดกฐินเจ้าอาวาสเน้นเงินหรือผ้าไตรจีวร

รวมถึงพระภิกษุไม่ว่าจะเป็นเจ้าอาวาสหรือลูกวัดต้องห้ามระบุว่า ประธานต้องถวายเงินเท่านี้เท่านั้น เพราะงานทอดกฐินเน้นผ้าไตรจีวรเป็นหลัก ส่วนเงินเป็นเรื่องของเจ้าภาพว่าจะถวายเป็นบริวารร่วมเพื่อบูรณะวัดหรือช่วยเหลือวัด ขึ้นอยู่กับความสมัครใจหรือศรัทธา

โดยเฉพาะจำนวนพระจำพรรษาภายในวัด เจ้าภาพต้องถามเจ้าอาวาสหรือกรรมการวัดให้ชัด ไม่อย่างนั้นทอดไปทอดมานึกว่าเป็นการ “ทอดกฐิน” ที่ไหนได้เป็นแค่ “ทอดผ้าป่า” ระวังถูกต้ม



............................
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณภาพ : @วัดถ้ำเขาชะอางค์ อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี และ @Pammi
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/669209
พุธที่ 3 ตุลาคม 2561 เวลา 11.00 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2018, 06:42:18 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ