เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

วัตถุมงคล เช่น พระสมเด็จ และ ตะกุด จะช่วยป้องกันภัย ได้จริงหรือครับ

<< < (2/5) > >>

จ่าวิโรจน์:
เชื่อเถอะครับ แค่ ตะกุดปลอกกระสุน หนึ่งดอก กับ สมเด็จอะระหัง 1 องค์ และผ้ายันต์ปราสาทจักรพรรดิ์ 1 ผืน

ตอนผมลงปฏิบัติงานที่ 3 จังหวัดชายแดนครับ


ไม่เคยขาดจากตัว จนผมกลับมาประจำการที่บ้านครับ

1 ปี ที่ไปอยู่ครับ ผมเชื่อมั่น ใน 3 สิ่งที่พกไว้

ส่วนเพื่อนผมครับ ที่ไปพร้อมกัน ก็เป็น วีรบุรุษ ไปแล้วครับ

ไม่พกไม่มี

สมัยรุ่นพ่อผมนั้น ตอนท่านไปรบที่อินโดจีน ครับ สิ่งที่ติดตัวตอนนั้น พระพุทธชินราช รุ่น อินโดจีนครับ

เป็นสรณะ ที่พึ่งครับ และ เป็นที่กล่าวขวัญถึงมาก กับ วัตถุมงคล ชิ้นนี้

แต่ผมไม่ได้อยู่ในยุคนั้น และ ไม่ได้มรดกไว้ ครับ พี่น้อง เอาไปหมด

ดังนั้น 3 สิ่งที่ผมไม่ขาดจากตัวผม เพราะผมเชื่อมั่นใน ครู อาจารย์ ครับ

 :25: :25:

ISSARAPAP:
สำหรับผม วัตถุมงคล ก็เป็น วัตถุชิ้นหนึ่งครับ เป็นสิ่งที่ระลึก

ในบัญญัติ แล้ว ไม่มีรูปร่าง ควรเชื่อมั่นปัญญาก่อนครับ

การน้อมใจไปศรัทธา อาจทำให้หลงทางได้ เพราะสัทธา ที่ขาดปัญญา นั้นเป็น อุบาย หลอกล่อ ของกิเลส

การมีสิ่งที่ระลึก บุคคลแล้ว ที่จริงในทางพระพุทธศาสนา น่าจะถือว่าเป็นเรื่องงมงาย เพราะเป็นเรื่องไร้สาระ

เป็นที่พึ่งคนที่ขาดปัญญา

มีพระสูตรบทหนึ่ง มีข้อความว่า

มนุษย์เป็นอันมาก อาศัย ภูเขาบ้าง ป่าไม้ อาราม และ รุกขเจดีย์บ้างเป็น สรณะ

นั่นมิใช่ สรณะอันเกษม นั่นมิใช่ สรณะ อันสูงสุด เขาอาศัย สรณะนั้นแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

ดังนั้น พุทธศาสน์เป็นเรื่องคนที่ปัญญา ย่อมไม่มุ่งที่ศรัทธา เป็นหลัก


พึงตรอง ด้วยกาลามสูตร อย่าหลงเชื่อในสิ่ง ที่เป็นวัตถุ  เพราะไม่ทำให้เราพ้นจากสภาพแห่งทุกข์ได้จริง

ในบัญญัติ สมมุติ ผู้ขลาด ผู้กลัว ย่อมประสพกับความทุกข์ และความเดือดร้อนว่า

นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นี่เป็นตัวเป็นตนของเรา ดังนี้


ดังนั้น องค์ พระศาสดา จึงทรงตรัสว่า ธรรม และ วินัย จักเป็นศาสดา ของพวกเธอทั้งหลาย

โปรดใช้ วิจารณญาณ ด้วยนะครับเรื่องนี้ อย่าหลงงมงาย กับวัตถุเป็นดิน เป็นหิน เป็นทองเหลือง

ไหว้พระพุทธ ระวังสะดุดทองคำ

ไหว้พระธรรม ระวังสะดุดใบลาน

ไหว้พระสงฆ์ ระวังสะดุดเรื่องชาวบ้าน


วันนี้ผมได้ฟัง ท่านพระอาจารย์พูดถึง คำภาษิตบทหนึ่งผมฟังแล้ว ในตอนกลับแล้วยังจำมาบัดนี้เลยครับ

 "ซื้อทองข้างทางก็เสี่ยง ฟังพระสมมุติแสดงธรรมก็เสี่ยง รับกรรมฐานแล้วไม่ภาวนาก็เสี่ยง ฟังธรรมเอาแต่จับผิดก็เสี่ยง"

สาธุ ครับ สาธุ ครับ

 :25: :25:

รักหนอ:
วัตถุมงคล เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น สำหรับพวกเทวดา นะคะ

แต่สำหรับ พระอริยะ แล้วไม่มีความจำเป็นคะ

สำหรับ รักหนอ แล้วมีไว้ก่อนดีกว่าไม่มี คะ

แต่มีมากก็แจกคะ บางทีไปทำบุญมา พระท่านให้มา ก็แจกคะต่อคะ

เป็นขวัญกำลังใจคะ อย่างน้อยมีสรณะ คือ พระพุทธบ้าง พระธรรมบ้าง พระสงฆ์บ้าง คะ

 :bedtime2: เวลาหลับ แล้วก็มีความอุ่นใจได้บ้าง

 :25: และมีกำลังใจในการเดินทางบ้าง

 ;) มีสรณะในใจบ้าง

ส่วนคนที่ไม่มีวัตถุมงคล และ ไม่ใช่พระอริยะนั้น ส่วนใหญ่พวกนี้จะเป็นคน ที่กระด้าง คะ ( ที่พบ )

เหมือนเพื่อนที่เรียน ส่วนใหญ่พวกผู้ชายจะไม่นับถือ พระ ใด ๆ ทั้งนั้นพวกนี้ เขานับถือแต่ สุรา คะ

ถ้าพูดถึงพระ ถึง วัด จะแค่นเสียง หรือ เดินหนีเป็นส่วนใหญ่

ส่วนใหญ่ จะบอกว่า วัดเอาไว้เข้าตอนแก่ สัก 50 ปี หรือ เกษียณงานแล้ว ไม่มีอะไรทำ

วัด เป็นสถานที่ของพวกสิ้นคิด ไม่มีทางไป

นี่เป็นความเห็นของเพื่อน ที่คณะ ที่เป็นพวกผู้ชาย ส่วนใหญ่ มีผู้หญิง น้อยมากที่คิดอย่างนี้ แต่ก็มีอยู่บ้าง

ยิ่งถ้าชวนมาดูเน็ตธรรมะ แล้ว ส่วนใหญ่จะบอกว่า นั่งฟังเพลงจาก เว็บแคม ดีกว่า

 :03: :bedtime2:

ดังนั้น วัตถุมงคล มีไว้ก่อน ดีคะ ที่สำคัญ ต้องมี ศรัทธา และ ความเลื่อมใส จึงจะมีอานุภาพ นะคะ
 :25: :25:

raponsan:
สาธุดังๆครับ

คุณรักหนอ ได้รำพึงรำพันอะไรที่อยู่ในใจออกมา คงสบายใจขึ้นนะครับ

อย่าซีเรียสนักเลย เดี๋ยวไม่สวย ท่องคำว่า"อาวุโส"เอาไว้

 :49: :) :25:

wiriya:
เชื่อมั่น ครับ พื้นฐาน ของความศักดิ์สิทธิ์

เหมือนหนุ่มนักเลง เข้าสู้กับพวก พระหลุดจากคอ เลยคว้าหมับ ลูกเขียดขึ้นมาอม ไม่รู้ตัว

เขียดดิ้นในปาก ก็นึกว่า พระออกอิทธิฤทธิ์ ครับ สู้ใจขาดดิ้น และก็ชนะในที่สุด

พอคลายออกมากลายเป็น ลูกเขียด ก็อึ้ง แต่ศรัทธาก็ไม่ได้ลดถอยลง

ดังนั้น สำหรับเราชาวพุทธพื้นฐาน ถึงแม้ว่า วัตถุมงคล ทั้งหลายนี้ไม่ได้เป็นสรณะที่จะทำ

ให้เรารอดจากวัฏฏะสงสารไปได้ แต่เบื้องต้นก็เป็นสรณะให้เราระลึกถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

มีคนบางพวกยอมทำลาย พระพุทธรูป แต่ มุ่งไปสร้างวัตถุส่วนอื่น และบอกว่าตนเองเป็นพุทธแท้

พุทธจริง มีปัญญา นำทาง วัตถุเป็นเครื่องวัดคุณค่า และ วัฒนธรรม ศิลปะ หาย ไป

ช่างศิลป์ไำม่มี คุณค่าที่จะสืบทอดจิตวิญญาณ ก็สาปสูญ เพราะมุ่งทำลายวัตถุ ไม่ได้ทำลาย กิเลส ในตน

 :25: :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว