เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ของนางวิสาขา เป็นอย่างไรครับ

(1/5) > >>

มะยม:
มะยม ได้ไปอ่านเรื่องการถวายจีวร เข้าแล้วก็พบกับคำว่า

มหาลดาปสาธน์

หญิงถวายจีวรย่อมได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์




นอก จากอานิสงส์ ๕ ประการ ดังกล่าวในตอนที่แล้ว ในอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่องนางวิสาขา ยังได้แสดงว่า หญิงที่ถวายจีวรย่อมได้รับผลสูงสุดคือ เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์

เช่น นางวิสาขาได้ถวายจีวรสาฏกแก่ภิกษุ ๒ หมื่นรูป ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลแห่งจีวรทานนั้น นางจึงได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ก็จีวรทานของหญิงทั้งหลายย่อมถึงที่สุด(อานิสงส์สูงสุดที่จะพึงได้รับ)ด้วย เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์

สำหรับ จีวรทานของบุรุษทั้งหลาย  ย่อมสำเร็จด้วยบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ซึ่งบาตรและจีวรอันสำเร็จของฤทธิ์นี้ มิใช่เป็นฤทธิ์ที่เกิดจากการเนรมิตรของผู้มีฤทธิ์ แต่หมายถึงบาตรและจีวรที่เกิดขึ้นโดยเป็นผลทานจากการที่ตนได้เคยถวายจีวรไว้ ในอดีตชาติ

ดัง เช่นที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ มีกุลบุตรผู้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้วบรรลุธรรม มีความประสงค์จะขอบวช พระพุทธองค์ก็จะตรวจดูว่า ผู้นั้นเคยถวายจีวรเป็นทานหรือไม่? ถ้าเคยถวายจีวรเป็นทาน จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ก็จะเกิดขึ้น พระพุทธองค์ก็จะทรงอนุญาตให้บวช โดยกล่าวใจความเป็นสังเขปว่า "ธรรมอันเราตรัสไว้ดีแล้ว เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด" แล้วทรงยื่นพระหัตถ์ออกไป บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ก็จะเกิดขึ้น การบวชเช่นนี้ เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้แก่พระองคุลีมาล เป็นต้น

แต่ ถ้าผู้ใดไม่เคยถวามจีวรเป็นทาน พระพุทธองค์ก็จะให้ไปหาบาตรและจีวรมาก่อนแล้วจึงจะบวชให้ ดังเช่นพระพาหิยะทารุจีริยะเถระ ได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์(พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งให้เป็นเอตทัคคะ ทางด้านตรัสรู้เร็วที่สุด)จึงขอบวช แต่ท่านไม่เคยถวายจีวรเป็นทาน บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์จึงไม่เกิดขึ้น พระพุทธองค์ได้ให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาเอง ในขณะที่พระพาหิยะกำลังไปคุ้ยหาเศษผ้าจากกองขยะอยู่นั่นเอง โคแม่ลูกอ่อนได้วิ่งมาขวิดท่านจนถึงแก่ความตาย ท่านจึงมิได้บวช

ฉะนั้น กุลบุตรผู้ใดปรารถนาจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ในพุทธกาลข้างหน้า(เช่นสมัยพระศริอาริย์ เป็นต้น) ก็จงถวายจีวรเป็นทานเสียแต่บัดนี้

อัน ว่าทานนั้น บัณฑิตทั้งหลาย มีพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ เป็นต้น ผู้แสวงหาอยู่ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยิ่งใหญ่ ทรงขวนขวายเป็นยิ่งนัก ที่จะบำเพ็ญให้เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก ในการสั่งสมบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ชื่อว่าทานที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายไม่เคยให้ ไม่ว่าจะเป็นทานชนิดใดๆนั้น ไม่มีเลย ท่านให้ทานมาแล้วทุกชนิด ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งสัพพัญุตญาณอันยิ่งใหญ่

ฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้ง ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญา มองเห็นภัยในสังสารวัฏ พึงบำเพ็ญทาน เพื่อสั่งสมไว้เป็นบารมี นำตนให้พ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ โดยทั่วกันทุกท่านเทอญ


มะยม:
ถ้าเป็นผู้หญิง จะได้รับ เครื่องประดับ มหาลดาปสาธน์ เป็นผลที่สุด ?

  เครื่องประดับนี้ มีูรูปร่างอย่างไรคะ ประกอบด้วยอะไรบ้างคะ


ถ้าเป็นผู้ชาย จะได้รับ เครื่องประดับ อะไรคะ ?

จตุพร:
ผมเองก็อยากรู้ครับ ว่าเครื่องประดับ ลดามหาปสาธน์ นั้นเป็นอย่างไร

ปัจจุบันอยู่กับใคร

ได้ยินจากตำนานในพระไตรปิฏก กล่าวว่า

   นางวิสาขานั้น มีอายุ ถึง 120 ปี

   นางมีบุตรชาย 10 คน บุตรสาว 10 คน  = 20 คน

     บุตรทั้ง 20 คน ก็มีบุตร ชาย และ สาว 20 คน  = 20 x 20 = 400 คน
           
        หลานของนาง ก็มีบุตร อีก 20 คน = 400 x 20 = 8000 คน

            รวมเบ็ดเสร็จ นางได้เห็น บุตร หลาน เหลน รวมกันทั้งสิ้น 8420 คน นับว่า

           เป็นแม่ ย่า ยาย ย่าทวด ยายทวด ที่เห็น ลูกหลานมากที่สุด

          แต่ที่จริง ผมว่าอาจจะเป็น บุตร หลาน ทาส บริวาร รวมกันมากว่า

     เพราะในพระวินัย ระบุว่า นางวิสาขา มีบุตร และ บริวาร รวม 420 คน


  แต่ถ้ามาคิดให้ดี ๆ ลูกหลาน ของนางวิสาขา ปัจจุบันยังมีอยู่ หรือ ไม่

  เครื่องประดับ ของนางตอนนี้ อยู่ที่ ใด มีใคร พอจะรู้บ้างครับ


 :25: ;)

The-ring:
มีเครื่องประดับ อีก 1 อย่าง คือ

ฆนมัฏฐกะ ที่นางวิสาขาได้ให้ช่างทำ ให้ ลูกสะใภ้ ด้วยครับ

ไม่ทราบว่า หน้าตาเป็นอย่าง ไร

 ปัจจุบันอยู่ที่ไหน ครับ

raponsan:
             

เครื่องประกอบใน “มหาลดาปสาธน์”
มหา  ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.

ลดา [ละ-] น. เครือเถา, เครือวัลย์; สาย. (ป., ส. ลตา).

ประสาธน์ [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ. (ส. ปฺรสาธน; ป. ปสาธน).

ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

เครื่องแต่งตัวนางวิสาขา ๔ เดือน จึงแล้วเสร็จ
             
               ในวันนั้นแล บิดาของนางวิสาขาให้เรียกช่างทองมา ๕๐๐ คนแล้ว กล่าวว่า "พวกท่านจงทำเครื่องประดับ ชื่อ “มหาลดาปสาธน์” แก่ธิดาของเรา" ดังนี้แล้ว สั่งให้ให้ทองคำมีสีสุกพันลิ่ม และเงินแก้วมณี แก้วมุกดา แก้วประพาฬ และเพชรเป็นต้น พอสมกับทองนั้น.

               พระราชาประทับอยู่ ๒-๓ วันแล้ว ทรงส่งข่าวไปแก่ธนญชัยเศรษฐีว่า "เศรษฐีไม่สามารถทำการเลี้ยงดูพวกเราได้, ขอเศรษฐีจงรู้กาลไปแห่งนางทาริกาเถิด."

               ฝ่ายเศรษฐีนั้นส่งข่าวไปทูลพระราชาว่า "บัดนี้ กาลฝนมาถึงแล้ว, ใครๆ ไม่อาจเพื่อเที่ยวไปตลอด ๔ เดือนได้; การที่หมู่พลของพระองค์ได้วัตถุใดๆ สมควร, วัตถุนั้นๆ ทั้งหมดเป็นภาระของข้าพระองค์; พระองค์ผู้สมมติเทพจักเสด็จไปได้ในเวลาที่ข้าพระองค์ส่งเสด็จ." จำเดิมแต่กาลนั้น นครสาเกตได้เป็นนครราวกะมีนักษัตรเป็นนิตย์.

               วัตถุมีพวงดอกไม้ของหอมและผ้าเป็นต้น เป็นของอันเศรษฐีจัดแล้วแก่ชนทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระราชาแล. ชนเหล่านั้นคิดกันว่า "เศรษฐีทำสักการะแก่พวกเราถ่ายเดียว ๓ เดือนล่วงไปแล้ว โดยอาการอย่างนี้. ส่วนเครื่องประดับก็ยังไม่เสร็จก่อน. ผู้ควบคุมงานมาแจ้งแก่เศรษฐีว่า "สิ่งอื่นที่ชื่อว่าไม่มี ก็หาไม่, แต่ฟืนสำหรับหุงต้มภัตเพื่อหมู่พล ไม่พอ." เศรษฐีกล่าวว่า "ไปเถิดพ่อทั้งหลาย, พวกท่านจง (รื้อ) ขนเอาโรงช้างเก่าๆ เป็นต้นและเรือนเก่าในนครนี้หุงต้มเถิด."

               แม้เมื่อหุงต้มอยู่อย่างนั้น, กึ่งเดือนล่วงไปแล้ว. ลำดับนั้น ผู้ควบคุมงานมาแจ้งแก่ท่านเศรษฐีอีกครั้งว่า "ฟืนไม่มี." เศรษฐีกล่าวว่า "ใครๆ ไม่อาจได้ฟืนในเวลานี้, พวกท่านจงเปิดเรือนคลังผ้าทั้งหลาย แล้วเอาผ้าเนื้อหยาบทำเกลียวชุบลงในตุ่มน้ำมันหุงภัตเถิด." ชนเหล่านั้นได้ทำอย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน. ๔ เดือนล่วงไปแล้ว โดยอาการอย่างนี้. แม้เครื่องประดับก็เสร็จแล้ว.


เครื่องประกอบใน “มหาลดาปสาธน์”              
เพชร ๔ ทะนาน ได้ถึงอันประกอบเข้าในเครื่องประดับนั้น,
แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน,
แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน,
แก้วมณี ๓๓ ทะนาน.
เครื่องประดับนั้นได้ถึงความสำเร็จ ด้วยรัตนะเหล่านี้และเหล่าอื่นด้วยประการฉะนี้.
เครื่องประดับไม่สำเร็จด้วยด้าย,
การงานที่ทำด้วยด้าย เขาทำแล้วด้วยเงิน.
เครื่องประดับนั้นสวมที่ศีรษะแล้ว ย่อมจดหลังเท้า.
               
ลูกดุมที่เขาประกอบทำเป็นแหวนในที่นั้นๆ
ทำด้วยทอง,
ห่วงทำด้วยเงิน,
แหวนวงหนึ่งที่ท่ามกลางกระหม่อม,
หลังหูทั้งสอง ๒ วง,
ที่หลุมคอ ๑ วง,
ที่เข่าทั้งสอง ๒ วง,
ที่ข้อศอกทั้งสอง ๒ วง,
ที่ข้างสะเอวทั้งสอง ๒ วง ดังนี้.

ก็ในเครื่องประดับนั้นแล เขาทำนกยูงตัวหนึ่งไว้.
ขนปีกทำด้วยทอง ๕๐๐ ขน
ได้มีที่ปีกเบื้องขวาแห่งนกยูงนั้น,
๕๐๐ ขนได้มีที่ปีกเบื้องซ้าย,
จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ,
นัยน์ตาทำด้วยแก้วมณี,
คอและแววหางก็เหมือนกัน,
ก้านขนทำด้วยเงิน,
ขาก็เหมือนกัน.

นกยูงนั้นสถิตอยู่ท่ามกลางกระหม่อมแห่งนางวิสาขา
ปรากฏประหนึ่งนกยูงยืนรำแพนอยู่บนยอดเขา.
เสียงแห่งก้านขนปีกพันหนึ่ง เป็นไปประหนึ่งทิพยสังคีต
และประหนึ่งเสียงกึกก้องแห่งดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕.
ชนทั้งหลายผู้เข้าไปสู่ที่ใกล้เท่านั้น ย่อมทราบว่า นกยูงนั้นไม่ใช่นกยูง (จริง).
เครื่องประดับมีค่า ๙ โกฏิ. ท่านเศรษฐีให้ค่าหัตถกรรม (ค่าบำเหน็จ) แสนหนึ่ง.

รูปข้างบนนี้น่าจะเป็นตัวแทน “มหาลดาปสาธน์” ในสมัยพุทธกาลได้(ภาพนี้นำมาจากเว็บวัดธรรมกาย)

หญิงถวายจีวรย่อมได้ “มหาลดาปสาธน์”             
               ถามว่า "ก็เครื่องประดับนั่น อันนางวิสาขานั้นได้แล้ว เพราะผลแห่งกรรมอะไร?"
               
แก้ว่า "ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นางถวายจีวรสาฎกแก่ภิกษุ ๒ หมื่นรูปแล้ว ได้ถวายด้ายบ้าง เข็มบ้าง เครื่องย้อมบ้าง ซึ่งเป็นของตนนั่นเอง นางได้แล้วซึ่งเครื่องประดับนี้ เพราะผลแห่งจีวรทานนั้น.

               ก็จีวรทานของหญิงทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยเครื่องประดับชื่อมหาลดาปสาธน์,
               จีวรทานของบุรุษทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วยบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์."


นางวิสาขาลืมเครื่อง ประดับไว้ที่วิหาร               
              ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดามีบุตรมาก มีหลานมาก มีบุตรหาโรคมิได้ มีหลานหาโรคมิได้ สมมติกันว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง ในกรุงสา วัตถี. บรรดาบุตรหลานตั้งพัน มีจำนวนเท่านั้น แม้คนหนึ่ง ที่ชื่อว่าถึงความตายในระหว่าง มิได้มีแล้ว. ในงานมหรสพที่เป็นมงคล ชาวกรุงสาวัตถีย่อมอัญเชิญนางวิสาขาให้ บริโภคก่อน.

               ต่อมา ในวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อมหาชนแต่งตัวไปวิหารเพื่อฟังธรรม, แม้นางวิสาขาบริโภคในที่ที่เขาเชิญแล้ว ก็แต่งเครื่องมหาลดาปสาธน์ ไปวิหารกับด้วยมหาชน ได้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ให้แก่หญิงคนใช้ไว้,

               "ก็โดยสมัยนั้นแล ในกรุงสาวัตถี มีการมหรสพ, มนุษย์ทั้งหลายแต่งตัวแล้วไปวัด. แม้นางวิสาขามิคารมารดา ก็แต่งตัวไปวิหาร. ครั้งนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดาเปลื้องเครื่องประดับ ผูกให้เป็นห่อที่ผ้าห่มแล้วได้ (ส่ง) ให้หญิงคนใช้ว่า "นี่แน่ะแม่ เจ้าจงรับห่อนี้ไว้."

               ได้ยินว่า นางวิสาขานั้น เมื่อกำลังเดินไปวิหาร คิดว่า "การที่เราสวมเครื่องประดับมีค่ามากเห็นปานนี้ไว้บนศีรษะ แล้วประดับเครื่องอลังการจนถึงหลังเท้า เข้าไปสู่วิหาร ไม่ควร" จึงเปลื้องเครื่องประดับนั้นออกห่อไว้ แล้วได้ส่งให้ในมือหญิงคนใช้ ผู้ทรงกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก ผู้เกิดด้วยบุญของตนเหมือนกัน.

หญิงคนใช้นั้นคนเดียว ย่อมอาจเพื่อรับเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์นั้นได้, เพราะเหตุนั้น นางวิสาขา จึงกล่าวกะหญิงคนใช้นั้นว่า "แม่ จงรับเครื่องประดับนี้ไว้, ฉันจักสวมมันในเวลากลับจากสำนักของพระศาสดา. ก็นางวิสาขา ครั้นให้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์นั้นแล้ว จึงสวมเครื่องประดับชื่อฆนมัฏฐกะ ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา สดับธรรมแล้ว.
               
ในที่สุดการสดับธรรม นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว. ฝ่ายหญิงคนใช้นั้นของนางลืมเครื่องประดับนั้นแล้ว. ก็เมื่อบริษัทฟังธรรมหลีกไปแล้ว, ถ้าใครลืมของอะไรไว้. พระอานนทเถระย่อมเก็บงำของนั้น. เพราะเหตุดังนี้ ในวันนั้น ท่านเห็นเครื่องมหาลดาปสาธน์แล้ว จึงทูลแด่พระศาสดาว่า "นางวิสาขาลืมเครื่องประดับไว้ ไปแล้ว พระเจ้าข้า."
               
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "จงเก็บไว้ในที่สุดข้างหนึ่งเถิด อานนท์." พระเถระยกเครื่องประดับนั้น เก็บคล้องไว้ที่ข้างบันได.


นางวิสาขาตรวจบริเวณวัด              
               ฝ่ายนางวิสาขาเที่ยวเดินไปภายในวิหาร กับนางสุปปิยา ด้วยตั้งใจว่า "จักรู้สิ่งที่ควรทำแก่ภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุผู้เตรียมตัวจะไป และภิกษุไข้เป็นต้น." ก็โดยปกติแล ภิกษุหนุ่มและสามเณร ผู้ต้องการด้วยเนยใส น้ำผึ้งและน้ำมันเป็นต้น เห็นอุบาสิกาเหล่านั้น ในภายในวิหารแล้ว ย่อมถือภาชนะมีถาดเป็นต้น เดินเข้าไปหา. ถึงในวันนั้น ก็ทำแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน.

               ครั้งนั้น นางสุปปิยาเห็นภิกษุไข้รูปหนึ่ง จึงถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าต้องการอะไร?"
               เมื่อภิกษุไข้รูปนั้น ตอบว่า "ต้องการรสแห่งเนื้อ" จึงตอบว่า "ได้พระผู้เป็นเจ้า, ดิฉันจักส่งไป" ในวันที่ ๒ เมื่อไม่ได้เนื้อที่เป็นกัปปิยะ จึงทำกิจที่ควรทำด้วยเนื้อขาอ่อนของตน ด้วยความเลื่อมใสในพระศาสดา ก็กลับเป็นผู้มีสรีระตั้งอยู่ตามปกตินั่นแล.

               ฝ่ายนางวิสาขาตรวจดูภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้เป็นไข้ แล้ว ก็ออกโดยประตูอื่น ยืนอยู่ที่อุปจารวิหารแล้ว พูดว่า "แม่ จงเอาเครื่องประดับมา, ฉันจักแต่ง." ในขณะนั้น หญิงคนใช้นั้นรู้ว่าตนลืมแล้วออกมา จึงตอบว่า "ดิฉันลืม แม่เจ้า." นางวิสาขา กล่าวว่า "ถ้ากระนั้น จงไปเอามา, แต่ถ้าพระผู้เป็นเจ้าอานนทเถระของเรา ยกเก็บเอาไว้ในที่อื่น, เจ้าอย่าเอามา, ฉันบริจาคเครื่องประดับนั้น ถวายพระผู้เป็นเจ้านั้นแล."

               นัยว่า นางวิสาขานั้นย่อมรู้ว่า "พระเถระย่อมเก็บสิ่งของที่พวกมนุษย์ลืมไว้", เพราะฉะนั้น จึงพูดอย่างนั้น.


นางวิสาขาซื้อที่สร้างวิหารถวายสงฆ์             
               ฝ่ายพระเถระพอเห็นนางคนใช้นั้น ก็ถามว่า "เจ้ามาเพื่อประสงค์อะไร?" เมื่อหญิงคนใช้นั่นตอบว่า "ดิฉันลืมเครื่องประดับของแม่เจ้าของดิฉัน จึงได้มา", จึงกล่าวว่า "ฉันเก็บมันไว้ที่ข้างบันไดนั้น, เจ้าจงเอาไป."

               หญิงคนใช้นั้นตอบว่า "พระผู้เป็นเจ้า ห่อภัณฑะที่ท่านเอามือถูกแล้ว แม่เจ้าของดิฉัน สั่งมิให้นำเอาไป" ดังนี้แล้ว ก็มีมือเปล่ากลับไป ถูกนางวิสาขาถามว่า "อะไร แม่?" จึงบอกเนื้อความนั้น. นางวิสาขากล่าวว่า "แม่ ฉันจักไม่ประดับเครื่องที่พระผู้เป็นเจ้าของฉันถูกต้องแล้ว, ฉันบริจาคแล้ว, แต่พระผู้เป็นเจ้ารักษาไว้ เป็นการลำบาก. ฉันจำหน่ายเครื่องประดับนั้นแล้วจักน้อมนำสิ่งที่เป็นกัปปิยะไป, เจ้าจงไปเอาเครื่องประดับนั้นมา." หญิงคนใช้นั้นไปนำเอามาแล้ว.
 
               นางวิสาขาไม่แต่งเครื่องประดับนั้น สั่งให้เรียกพวกช่างทองมาแล้วให้ตีราคา, เมื่อพวกช่างทองเหล่านั้นตอบว่า "มีราคาถึง ๖ โกฏิ, แต่สำหรับค่าบำเหน็จต้องถึงแสน", จึงวางเครื่องประดับไว้บนยานแล้วกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น พวกท่านจงขายเครื่องประดับนั้น." ไม่มีใครจักอาจให้ทรัพย์จำนวนเท่านั้นรับไว้ได้, เพราะหญิงผู้สมควรประดับเครื่องประดับนั้น หาได้ยาก.
 
               แท้จริง หญิง ๓ คนเท่านั้น ในปฐพีมณฑล ได้เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ๑, นางมัลลิกา ภรรยาของพันธุลมัลลเสนาบดี ๑, ลูกสาวของเศรษฐีกรุงพาราณสี ๑,
 
               เพราะฉะนั้น นางวิสาขา จึงให้ค่าเครื่องประดับนั้นเสียเองทีเดียว แล้วให้ขนทรัพย์ ๙ โกฏิ ๑ แสน ขึ้นใส่เกวียน นำไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระอานนท์เถระผู้เป็นเจ้าของหม่อมฉัน เอามือถูกต้องเครื่องประดับของหม่อมฉันแล้ว, จำเดิมแต่กาลที่ท่านถูกต้องแล้ว หม่อมฉันไม่อาจประดับได้,

แต่หม่อมฉันให้ขายเครื่องประดับนั้น ด้วยคิดว่า ‘จักจำหน่าย น้อมนำเอาสิ่งอันเป็นกัปปิยะมา’ ไม่เห็นผู้อื่นจะสามารถรับไว้ได้ จึงให้รับค่าเครื่องประดับนั้นเสียเองมาแล้ว, หม่อมฉันจะน้อมเข้าในปัจจัยไหน ในปัจจัย ๔ พระเจ้าข้า?"

               พระศาสดา ตรัสว่า "เธอควรจะทำที่อยู่เพื่อสงฆ์ ใกล้ประตูด้านปราจีนทิศเถิด วิสาขา." นางวิสาขาทูลรับว่า "สมควร พระเจ้าข้า" มีใจเบิกบาน จึงเอาทรัพย์ ๙ โกฏิ ซื้อเฉพาะที่ดิน. นางเริ่มสร้างวิหารด้วยทรัพย์ ๙ โกฏินอกนี้.


อ้างอิง
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=8

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป