ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม  (อ่าน 3755 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ประวัติย่อพระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม

พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานอยู่บนเนินสูง ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ริมหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน มาทางดินแดนทางทิศตะวันออก เพื่อโปรดสัตว์ เมื่อเสด็จตามลำแม่น้ำโขง ก็ได้ประทับรอยพระพุทธบาทมาตามลำดับ มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่ภูกำพร้า อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม จากนั้นได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ และได้ประทับพระพุทธบาทที่ภูเขาน้ำลอดเชิงชุม รวมกับพระพุทธบาทของ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ก่อนอีก ๓ พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ

เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี *พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหารย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้  เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย



พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัสจึงได้ถอดมงกุฎทองคำของพระองค์สวมลงบูชารอยพระพุทธบาท แล้ว ทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม แต่นั้นมาเนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์

พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง ๒๔ เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบ สร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ส่วนที่เห็นอยู่ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ ครอบองค์เดิมไว้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างสมัยใด ประตูด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระวิหาร จะมีซุ้มเป็นคูหาลึกเข้าไป ด้านขวามือมีศิลาแลง จารึกอักษรขอมติดอยู่ตัวอักษรลบเลือนมาก อ่านไม่ออก


ทางเข้าที่อยู่หลังพระประธานภายในอุโบสถ
   
ภายในจะเก็บพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า ๔,๐๐๐ ปี และของมีค่าปกติจะไม่เปิดให้เข้า
   
เมล็ดข้าวเหนียวอายุ ๒,๐๐๐ ปี(ข้าว ๑ เม็ด)
   
พระบรมสารีริกธาตุที่คนนำมาถวายไว้

พระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๐ ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น ภายในพระวิหารประดิษยฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร


งานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ในวันเริ่มงานจะมีการจุดพลุ ย่ำฆ้องกลองเป็นที่เอิกเริกวันสุดท้ายของงานตอนเช้า จะมีการตักบาตรพระสงฆ์รอบองค์พระธาตุ ตอนบ่ายจะมีการสรงน้ำองค์พระธาตุ กลางคืนมีการประกวดขบวนแห่โคมไฟ จากนั้นก็มีการจุดบั้งไฟและไฟพะเนียง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta15mini1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2015, 12:09:44 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ngamta

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 09:35:44 pm »
0
 st11 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 09:46:08 pm »
0






               
               โอ้ล่ะเหนอ โอ๋โอโอโอ้ ล่ะเหนอ
               ผู้สาวภูไทใช่มีแต่ที่เรณู
               ได้ฮักและที่ได้ฮู้ คือสาวภูไท สกลนคร
               ครั้งไปเที่ยวงานพระธาตุเชิงชุมได้พบบังอร
               เหมือนเคยร่วมบุญปางก่อน
               อยู่สุดขอบฟ้าก็มาพบกัน.........


     เนื้อเพลงข้างต้น คอลูกทุ่งรุ่นเก่าน่าจะจำได้ดี เป็นเพลง"ตะวันรอนที่หนองหาร" ต้นฉบับร้องโดยศรคีรี ศรีประจวบ ตัวผมเองเมื่อฟังเพลงนี้แล้วเคยคิดฝันว่า อยากไปเที่ยวที่สกลนคร ชมพระธาตุเชิงชุมสักครั้ง
     ฝันเป็นจริงครับ ได้มาสกลนครสมใจอยาก ที่สำคัญก็คือ มาตรงกับงานไหว้พระธาตุพอดี
     แหม....เหมือนในเพลงเป็ะ

      :57: :72: :57: :72:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 09:57:00 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 08, 2015, 10:03:01 pm »
0




วัดพระธาตุเชิงชุม

วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จะมีงานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี่

ตำนาน
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน เสด็จตามลำแม่น้ำโขง มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า เป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ

เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุด,ประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ตามพงศาวดารลาว ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาร


พระธาตุ
พระธาตุเชิงชุม ตั้งหันหน้าไปทางหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ เหนือ ใต้ และตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงด้านทิศตะวันออก

แต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องจากช่วงที่อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่


วิหาร
ภายในพระวิหารประดิษฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร


อุโบสถ
พ.ศ. 2370 สร้างพระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้ ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น



บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์


บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ แล้วไหลมาผุดที่นี่ เรียกว่า "ภูน้ำซอด" หรือ "ภูน้ำลอด" แล้วไหลผ่านไปที่สระพังทอง ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด เมื่อน้ำน้อยลงเรื่อยๆจึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป ในอดีตจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำที่นี่ไปประกอบพิธีเมื่อมีพิธีกรรมอันสำคัญต่างๆอีกด้วย


หอกลอง
หอกลองหรือหอระฆัง เป็นหอกลองสูงทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้มาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร ร่วมใจกันสร้างขึ้นถวายองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อใช้บอกเวลายามต่างๆ

_______________________________________
ข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki/วัดพระธาตุเชิงชุม 




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2015, 12:12:04 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 09, 2015, 11:36:07 am »
0

วิหารประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน อยู่ติดกับองค์พระธาตุเชิงชุม

หลวงพ่อพระองค์แสนภายในวิหาร


หลวงพ่อพระองค์แสน

หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานภายในพระวิหารวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทองหน้าตักกว้าง ๒ เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี ๓.๒๐ เมตรประทับนั่งบนแท่นสูง๑.๓๕ เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศ ตะวันออก หันพระปฤศฎางค์เข้าหาองค์ หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครคู่มากับพระ ธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศ





จากตำนาน หลวงพ่อพระองค์แสนสร้างขึ้นราวพุทธศักราช ๑๘๐๐ เพื่อแทนหลวงพ่อสุวรรณแสนองค์จริงที่เป็นทองคำทั้งองค์ (สร้างโดยพระเจ้า ชัยวรมันที่ ๓)คือในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เกิดศึกสงครามหลายครั้ง จึงย้ายเมืองไปอยู่ที่นครธม ก่อนย้ายได้นำพระสุวรรณแสน ทองคำไปซ่อนไว้ในน้ำ ไม่สามารถนำไปได้ด้วยเหตุว่ากลัวข้าศึกจะมาแย่งชิงในระหว่างทาง พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้สร้างหลวงพ่อ พระองค์แสน(องค์ปัจจุบัน)แทนไว้ให้ ทำด้วยหินเหล็กเส้นชนิดสี่เหลี่ยมเป็นโครง(ผูกลวด) แล้วฉาบด้วยทรายผสมปูนขาวแช่น้ำเปลือก ไม้(ยางบง) น้ำแช่หนัง - มะขาม - น้ำอ้อย และเถา ฝักกรูด ลงรักปิดทอง มีพุทธลักษณะเท่าเดิม ภายในก็บรรจุเครื่องราง ของขลังสมัยก่อนไว้มาก ให้นามว่า "หลวงพ่อพระองค์แสน" เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง


ในอดีต เมื่อมีการเฉลิมฉลองสมโพธิ์ราชธานีครบ ๒๐๐ ปี ตามประกาศรัฐบาล จะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขยายโบสถ์ โดยตรงทุบองค์หลวงพ่อออก แล้วสร้างองค์ใหม่ไว้ข้างหลังแทน เมื่อการบูรณะเริ่มขึ้นช่างชาวญวน พยามทุบองค์พระ และพยามลอกทองที่หุ้มออกแต่พอทุบไปครั้งใด ก็ได้ยินแต่เสียงหัวเราะดังกังวานออกมา จนภายหลังถึงกลับต้องล้มป่วยไป ด้วยเหตุนี้จึงต้องล้มเลิกการบูรณะเอาหลวงพ่อออก จากเหตุดังกล่าวเมื่อท่านมาสักการะหลวงพ่อพระองค์แสน จะเห็นมีหลวงพ่อซ้อนกันอยู่ ๒ องค์ องค์หน้าคือหลวงพ่อองค์เดิม ส่วนองค์หลังเป็นองค์ใหม่ที่จะสร้างขึ้นมาแทน




จากประวัติหลวงพ่อหลายอย่าง ในสมัยก่อนเคยมีพระมอญ ที่เคยมาบำเพ็ญศีลภาวนาที่วัด แล้วพอจะกลับก็บอกพระที่วัดไว้ว่า หลวงพ่อองค์นี้เป็นองค์ปลอม แต่เป็นองค์ปลอมที่ศักดิ์มาก ปู่ย่าตายายชาวสกลนครและหลายๆคน คงเคยได้ยินตำนานเล่าต่อกันมาว่า บริเวณกลางหนองหานนั้น จะมีจุดที่ลึกมากกว่าปกติ อยู่หลายแห่ง ซึ่งชาวประมงหนองหานจะเรียกว่า ขุม หรือหลุมนั้นเอง และจะมีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ขุมใหญ่ ขุมเต่าฮาง ขุมก้านเหลือง ซึ่งขุมนี้จะลึกประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรทีเดียว

เชื่อกันว่าในสมัยก่อนเมื่อพระยาขอม จะย้ายเมืองอพยพผู้คนไปอยู่เขมรนั้น พระองค์ได้เอา หลวงพ่อพระสุวรรณแสน องค์เดิมมาซ่อนไว้ที่ขุมลึกกลางหนองหานชาวประมงจะเรียกจุดนี้ว่า ขุมใหญ่ ซึ่งเป็นขุมที่ลึกที่สุด ในอดีตสมัยรุ่นตา ยาย อาชีพหลักๆของชาวสกลนครก็คือ จับปลา มีอยู่วันหนึ่งมีคนออกทอดแหหาปลา แต่แหกลับติดอะไรบางอย่างใต้น้ำ จึงดำน้ำลงไปดึงออก เมื่อดำลงไปกำลังดึงแหออกนั้นก็เห็นว่าตนเหยียบอยู่บนบ่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่ จากเหตุการณ์นี้ทำให้คนทั้งสกลนครเล่าลือกัน และมีคนพบเห็นเรื่อยมา แต่ในปัจจุบันเวลาผ่านมาหลายปี อาจจะเป็นเพราะ สาหร่าย วัชพืชน้ำ ตะกอนต่างๆทับถมกันสูงขึ้นทุกวัน จึงไม่มีคนพบเห็นอีก ด้วยเหตุนี้ชาวสกลนครจึงถือว่าหนองหาน เป็นหนองน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดด้วย




บรรยากาศภายในวิหารประดิษฐานหลวงพ่อพระองค์แสน

ขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org/wiki/พระองค์แสน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นมัสการ พระพุทธบาท ๔ รอย พระธาตุเชิงชุม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 09, 2015, 12:46:38 pm »
0
ทางเข้าภายในองค์พระธาตุเชิงชุม อยู่หลังหลวงพ่อพระองค์แสน ภายในวิหาร




สี่ภาพบน เป็นภาพภายในองค์พระธาตุเชิงชุม(เป็นฐานพระธาตุ) ห้ามสตรีเข้าไป
พยายามเก็บภาพมาให้ดูกัน ได้เท่านี้จริงๆ


     "พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม".......นี่คือคำขวัญประจำจังหวัดสกลนคร

     ไปสกลนครครั้งนี้ มีเวลาจำกัด ต้องรีบเร่งทำเวลา ทำให้รู้สึกคาใจเป็นอย่างมาก รู้สึกว่ายังไปไม่ถึงสกลนคร ที่สำคัญยังไม่เห็นบึงหนองหาร แค่ขับรถผ่านสระพังทองเท่านั้น เสียดายมาก

      บรรยากาศที่พระธาตุเชิงชุม ช่วงที่ไปอากาศร้อน แต่เนื่องจากเป็นเทศกาลไหว้พระธาตุ ทำให้มีคนมาเที่ยวพอสมควร มีการออกร้านขายสินค้า ความเห็นส่วนตัวคิดว่า พระธาตุนี้ไม่เล็กไม่ใหญ่ กำลังดี การดูแลรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สอาดมากๆ ประทับใจในจุดนี้ หากมีโอกาสต้องไปสกลนคร อีกสักครั้ง

      พูดถึงสกลนคร ทุกท่านคงได้ยินตำนาน "ท้าวผาแดง-นางไอ่" กระทู้ต่อไปจะเสนอตำนานนี้ พร้อมกับภาพหนองหานกุมภวาปี มีภาพทะเลบัวแดงสวยๆ มาให้ชมครับ

      ขอปิดทริปพระธาตุเชิงชุม ไว้ตรงนี้ครับ
:25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ