ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มต้นศึกษาหลักธรรม เพื่อภาวนาให้ชีิวิตมีความสุข เริ่มจาก...  (อ่าน 2320 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีความสนใจในหลักธรรม ในการเจริญภาวนา ควรเริ่มต้น ที่จะทำความเข้าใจเรื่องใดก่อนคะ

เห็นเพื่อน ๆ บอกว่าต้องไปสอบ ธรรมศึกษา และต้องไปฟังธรรมทุกวันอาทิตย์ ต้องทำบุญใส่บาตรทุกวัน

ต้อง.. ซะมากมายเลย จนเริ่มสับสนแล้วว่า ทำไมเริ่มต้นจึงมีมากมายหลายประเด็นจังคะ

ที่นี้ถ้าเอาแบบตามกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนี่คะเพราะบ้านอยู่ฝั่งธน อยู่แล้ว ควรจะทำอย่างไร และเริ่ม

อย่างไรคะ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาก่อนในเบื้องต้นครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กรุณาไปขึ้นกรรมฐานที่วัดพลับก่อนครับ คลิกลิงค์นี้เลย http://www.somdechsuk.org/

มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ); องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ )  มีดังนี้

๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป) 
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓)


๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔)


มรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา ดู สิกขา ๓


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)

๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)

๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง)

๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)

๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)


๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


ขอให้พิจารณามรรค ๘ ทุกข้อโดยละเอียดว่า ข้อไหนยัง ขาด บกพร่อง หย่อนยาน หรือ ยังไม่ดีพอ

หลังจากนั้นให้พยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น ที่ีสำคัญต้องหากัลยาณมิตรเอาไว้ปรึกษา

กรรมฐานมัชฌิมา จะไม่สอนเรื่องศีล หรือ อธิสีลสิกขา เนื่องจากสังคมไทยสอนกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว

แต่จะเริ่มสอนที่ "สัมมาสมาธิ" หรือ อธิจิตตสิกขา

ส่วนรายละเอียดต่างๆขอให้ถามจากพระอาจารย์ที่ไปขึ้นกรรมฐาน หรือ หาดูได้จากหนังสือในเว็บไซต์

หากต้องการทำบุญ ขอให้พิจาณาจากบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เลือกทำตามอัธยาศัยครับ

 :s_good: ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2011, 10:54:26 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ