ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ  (อ่าน 10004 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

จินตนา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ

คือ ตามอ่านมาเริ่ม สับสนแล้วคะ เพราะบางท่านก็กล่าวว่า นี่เป็น โลกียะ นี่เป็น โลกุตตระ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้เป็น โลกียะ แล้ว ตอนนี้ เป็น โลกุตตระ คะ

 :smiley_confused1: :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ซื่อสัตย์ กตัญญู มีคุณธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สมาธิ ๒ อย่าง หมวดที่ ๒ แยกเป็นโลกียสมาธิ และโลกุตตรสมาธิ

๑. โลกียสมาธิ หมายถึง เอกัคคตา ที่ประกอบกับกุศลจิต ในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิและอรูปภูมิ
๒. โลกุตตรสมาธิ หมายถึง เอกัคคตา ที่ประกอบกับอริยมัคคจิต



อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
ชุดที่ ๙ เรื่องสมถกรรมฐาน ตอนที่ ๑ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐
จัดทาโดย : มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม รวบรวมโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง



เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
       (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



รูปาวจรกุศลจิต
เป็นจิตที่เกิดขึ้น โดยการบำเพ็ญสมาธิ หรือสมถภาวนา ในตอนแรก ย่อมเป็นมหากุศลจิต แต่เมื่อเจริญภาวนาไป จนได้สมาธิแนบแน่น เป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จิตจึงเปลี่ยนจาก มหากุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต ที่เกิดพร้อมกับองค์ฌาน ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

อรูปาวจรกุศลจิต
อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นอในขณะที่เข้าอรูปฌาน ชั้นต่างๆ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑.   อากาสานัญจายตนกุศลจิต
๒.   วิญญานัญจายตนกุศลจิต
๓.   อากิญจัญญายตนกุศลจิต
๔.   เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต


โลกุตตรกุศลจิต
โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่จากโลก เป็นจิตที่ประหาณอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน

โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต กล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑.   โสดาปัตติมัคคจิต
๒.   สกทาคามิมัคคจิต
๓.   อนาคามิมัคคจิต
๔.   อรหัตตมัคคจิต



อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
ชุดที่ ๓  ตอนที่ ๑ ประเภทของจิต
จัดทาโดย : มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม รวบรวมโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
ขอบคุณภาพจากhttp://gallery.palungjit.com,www.212cafe.com,http://btgsf1.fsanook.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าจำกัดความ ลงสักนิด

 ปฏิบัติภาวนาเป็นโลกียะ เป็น ไปเพื่อ โลกธรรม 8

 ปฏิบัติภาวนาเป็นโลกุตตระ เป็น ไปเพื่อ ความสิ้นสุดแห่ง ภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข

 :s_hi: :67:



“โลกียะเร่าร้อนไม่จีรัง   ทุกคนยังลุกลนวังวนหา
  ทั้งความรักความใคร่ไฝ่กามา  อนิจจาโลกมนุษย์สุดบรรยาย
  โลกุตระรั้งโลกให้เย็นลง  ทุกคนจงตั้งสติมั่นอย่าผันผาย
  อันธรรมะสอนใจให้สบาย  จงผ่อนคลายอยู่กันได้สบายเบา”


ศรีวรรณ เจนหัตถการกิจ

ขอบคุณภาพและกลอน
http://www.bangkokbiznews.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2011, 12:50:09 pm โดย kobyamkala »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎ(สยามรัฐ) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



  [๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร

สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต

สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑


สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑
สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑


สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑

สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
พุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑
สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑



สมาธิ ๗ คือ
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑
ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑

สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต มิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
ปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑
นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑


สมาธิ ๙ คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑
อรูปาวจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑
สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑

สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
อัทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑
วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑
โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑


สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๐


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2011, 12:56:02 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส


               อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส     
         
               [๙๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนามยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ - สมาธิอย่างหนึ่ง.

               ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่า ชื่อว่า เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือสูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ,

               ความเป็นแห่ง เอกคฺโค นั้นชื่อว่า เอกคฺคตา. เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น ไม่ใช่สัตว์ ท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส.


               ในหมวด ๒ บทว่า โลกิโย. วัฏฏะ ท่านกล่าวว่า โลโก เพราะอรรถว่าแตกสลายไป, สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิเนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าโลกิยะ.

               บทว่า โลกุตฺตโร ชื่อว่าอุตตระ เพราะข้ามไปแล้ว, ชื่อว่าโลกุตระ เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก.


......ฯลฯ...........ฯลฯ..............


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92&p=1#อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
ขอบคุณภาพจากhttp://cdn.gotoknow.org
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

โลกิยธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด;       

โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก
       มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;

     
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



โลกธรรม ๘ (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป)

๑. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ)
๒. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย)
๓. ยส (ได้ยศ, มียศ)
๔. อยส (เสื่อมยศ)
๕. นินทา (ติเตียน)
๖. ปสํสา (สรรเสริญ)
๗. สุข (ความสุข)
๘. ทุกข์ (ความทุกข์)


โดยสรุปเป็น ๒ คือ ข้อ ๑-๓-๖-๗ เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น


มรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)
๑. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส)
๒. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง )
๓. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ )
๔. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐).



ผล ๔
(ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
๑. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย)
๒. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)
๓. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย)
๔. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย)


ที่มา  พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจากwww.kindergarten.stjohn.ac.th
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม)

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็น)


๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด)

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด)

๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น)


๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์)

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)

๙. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น)

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป)


๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้)

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)

๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)


๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖)เป็น โลกียญาณ,
๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ


ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา


อ้างอิง
พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘
พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจากhttp://webboard.mthai.com

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2011, 01:55:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ


  การปฏิบัติสมถกรรมฐานล้วนๆ(รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔) เป็นโลกียะ

 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าได้วิปัสสนาญาณ ไม่เกินญาณที่ ๑๓ ก็ยังเป็นโีลกียะ

 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้ญาณที่สูงกว่าญาณที่ ๑๓ (ยกเว้นญาณที่ ๑๖) เป็นโลกุตตระ



 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้เป็น โลกียะ แล้ว ตอนนี้ เป็น โลกุตตระ คะ



  เรื่องความรู้สึกหรืออารมณ์ในกรรมฐาน เป็นเรื่องปัจจัตตัง เข้าใจได้ยาก


  อารมณ์ของโลกียธรรม ถ้าเป็นอารมณ์หยาบๆ ปุถุชนทุกท่านย่อมรับรู้และเข้าใจได้ดี

  อารมณ์หยาบๆ ก็คือ อารมณ์ในโลกธรรม ๘ นั่นเอง

  แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่ละเอียดขึ้น(โลกียะ) เช่น อารมณ์ของสมาธิ ในรูปฌาน และอรูปฌาน

  อันนี้ ถ้ายังปฏิบัติไม่ได้ ไปยังไม่ถึง เข้าฌานไม่ได้ ก็ยากที่จะเข้าใจ



  ในส่วนอารมณ์โลกุตตระธรรม จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณอยู่ใน วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ และ ๑๕ เท่านั้น

  นั่นหมายถึง คุณต้องเป็นอริยบุคคลแล้ว เรื่องนี้เข้าใจยาก ผมรู้สึกอึดอัดที่จะอธิบาย ยังไปไม่ถึง


 
  ขอให้คุณจินตนามีความสุขในการอ่าน...นะครับ
;) :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

มหาจัตตารีสกสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๔
                         
        ทรงแสดงธรรมสัมมาทิฏฐิหรือปัญญาเห็นชอบ,เห็นถูกต้องว่ามี ๒ อย่างด้วยกัน คือ อย่างโลกิยะ และอย่างโลกุตระ,  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิที่หมายถึงความคิดความเห็นอันดีงาม,อันถูกต้อง จึงต่างล้วนย่อมดีงาม, ทั้งสองนั้นไม่ใช่ว่า ฝ่ายหนึ่งดีงามและอีกฝ่ายไม่ดีงาม แต่ประการใด  เพียงแต่ขึ้นอยู่กับฐานะและจุดประสงค์แห่งตนเป็นสำคัญ 

แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องแนวทางของฝ่ายนั้นๆเป็นสำคัญนั่นเอง  เพราะตามความจริงแล้วต่างล้วนดีงาม ยังประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติหรือมีปัญญาเห็นชอบทั้ง ๒ อย่าง ไม่ว่าจะฝ่ายโลกิยะหรือโลกุตระก็ตามที  เพียงแต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดาไปตามเหตุ,  ฝ่ายหนึ่งแม้ยังไม่ถึงขั้นโลกุตระอันเหนือโลกด้วยหลุดพ้นจากกองกิเลสที่ย่อมแน่นอนว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง 

แต่ฝ่ายโลกิยะก็ย่อมยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการดำรงและดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขยิ่งตามขันธ์หรือชีวิตตามฐานะนั้นๆของตน กล่าวคือ จึงย่อมดำเนินขันธ์หรือชีวิตอยู่ในศีลและธรรมฝ่ายดีงามจึงย่อมยังให้เกิดวิบากของกรรมดีขึ้น จึงเป็นไปทั้งเพื่อประโยชน์ตนและโลก คือโลกิยะโดยส่วนรวม(สังคม)ขึ้น

        จึงเป็นไปดังที่ผู้เขียนกล่าวอยู่เสมอๆว่า พระองค์ท่านทรงโปรดเวไนยสัตว์ทุกระดับ ด้วยพระมหากรุณาคุณยิ่ง การโปรดหรือแสดงธรรมจึงขึ้นอยู่กับจริต สติ สมาธิ ปัญญา ฐานะแห่งตน เช่นภิกษุหรือฆราวาส ฯ. ของผู้ปฏิบัติ จึงมีการสอนออกไปในรูปแบบต่างๆอย่างมากมาย 

จึงมีการสอนที่แสดงทั้งฝ่ายโลกิยะที่ยังประโยชน์ตนและโลกเป็นที่สุด และฝ่ายโลกุตระที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์อุปาทานคือนิพพาน  เหมือนดังเช่นหลักการปฏิบัติเช่นกันที่มีขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ และปัญญา, 

ดังนั้นการกล่าวสอนดังบันทึกในพระไตรปิฎกหรือพระคัมภีร์มากหลาย ผู้ศึกษาจึงจำต้องแยกแยะจำแนกแตกธรรมด้วยสัมมาทิฏฐิเสียให้ถูกต้องด้วยว่า  คำสอนหรือธรรมเดียวกันนี้ล้วนแสดงธรรมที่เป็นไปได้ทั้งสองฝ่ายกล่าวคือทั้งในฝ่ายโลกิยะหรือโลกุตระ 

เพราะแม้ว่าล้วนยังประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ตามที แต่ถ้าตีความผิดเสียแล้ว กลับก่อให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติขึ้นได้ ดังเช่นในกรณีของสาติภิกษุใน มหาตัณหาสังขยสูตร ที่เป็นภิกษุ  พระองค์ท่านได้ตรัสสั่งสอนภิกษุในเรื่องตัณหาต่างๆในแนวทางโลกุตระหรือปรมัตถ์ยิ่ง

เพื่อความหลุดพ้นเป็นสำคัญ แต่สาติภิกษุกลับไปตีความในเรื่องของวิญญาณอย่างโลกิยะในทางโลกคือเป็นไปในลักษณะของเจตภูตหรือปฏิสนธิวิญญาณ  จึงถูกพระองค์ท่านทรงกล่าวโทษไว้อย่างรุนแรงว่าเป็น ทิฏฐิอันลามก ที่หมายถึง เป็นความคิดความเห็นผิดอันชั่วร้าย   

เหตุที่พระองค์ท่านกล่าวโทษรุนแรงถึงขั้นนั้น ก็เนื่องด้วยเมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างนี้แล้ว ย่อมทำให้ไม่สามารถดำเนินไปได้ตามทางแห่งองค์มรรคเพื่อโลกุตระที่ตนควรดำเนินตามฐานะแห่งตน ด้วยความเป็นภิกษุที่ย่อมควรปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น จึงไม่ควรมีทิฏฐิอย่างโลกิยะที่ย่อมยังให้เนื่องในโลกด้วยไม่เห็นความจริง

        ธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า บางธรรมจึงสามารถจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปได้ทั้ง ๒ ลักษณะดังข้างต้น ขึ้นอยู่กับภูมิ หรือจุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญอีกด้วย กล่าวคือ ในธรรมเดียวกันนั้นสามารถแสดงหรือตีความหมายได้ทั้ง ๒ ฝ่าย ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาท ที่สามารถแสดงได้ทั้ง

        ธรรมฝ่ายโลกิยะ เป็นการแสดงธรรมโดยทั่วไปที่เป็นส่วนแห่งบุญ จึงยังผลบุญกุศลต่อขันธ์หรือชีวิตโดยตรง จึงย่อมยังประโยชน์ทั้งต่อตนเองผู้ยังเนื่องอยู่ในโลก ทั้งต่อผู้อื่น และต่อโลกอีกด้วย  ที่แสดงการเวียนว่ายตายเกิดจึงเกิดความเกรงกลัวต่อบาปกรรมแห่งตน  แต่ย่อมยังเวียนว่ายตายเกิดหรือยังเนื่องอยู่ในโลกหรือโลกิยะอยู่นั่นเอง


        ธรรมฝ่ายโลกุตระ เป็นการแสดงอริยมรรคเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์หรือการเวียนว่ายตายเกิดในโลก หรือกองทุกข์หรือสังสารวัฏในปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง อันเป็นสุข สงบ บริสุทธิ์ยิ่ง



ที่มา  http://nkgen.com/372.htm
ขอบคุณภาพจากhttp://nkgen.com

ศึกษารายละเอียด "มหาจัตตารีสกสูตร" ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๓๗๒๔ - ๓๙๒๓.  หน้าที่  ๑๕๘ - ๑๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2011, 09:55:46 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โลกียะมีสมมติบัญญัติเช่น เรา เขา พืช  สัตว์
โลกกุตตระ จะไม่มีสมมติบัญญัติ
บันทึกการเข้า