สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ก้านตอง ที่ กันยายน 29, 2011, 11:05:48 am



หัวข้อ: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ก้านตอง ที่ กันยายน 29, 2011, 11:05:48 am
เก็บคำพูดคนอื่น มาคิด ก็บอกว่า อย่าคิดมาก แต่ มันก็ยังอดคิดไม่ได้

เลยพยายามนั่งกรรมฐาน ก็ยังคิดถึงคำพูดนั้นอยู่ดี รู้สึก วิตก กังวล มากเลยคะ

เลยพาลให้ทำกรรมฐาน ไม่ได้ จะหยุดความคิดอย่างนี้ ควรทำอย่างไร ดีคะ ที่จะไม่ให้คิด หรือ วิตกกังวล

กับคำพูดของคนอื่น ได้คะ

  ควรทำอย่างไร ในกรรมฐาน ดีคะ

  :88: :c017: :41: :41: :41:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 29, 2011, 07:12:28 pm
(http://www.intania.com/forum/uploads/Guest/8C6_%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3.jpg)

เข้าใจว่า ศีล สมาธิ ของหนูก้านตอง ยังไม่พอ ต้องอดทนพากเพียร ต่อไป อย่างได้่ท้อ

ขอให้พิจารณาพุทธภาษิต ดังนี้ครับ

บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ เพาะความเพียร

ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได้

ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ

ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

ขันติเป็นประธานเป็นเหตุแห่งคุณ คือ ศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น

ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร

ขันติเป็นกำลังของนักพรต ขันตินำประโยชน์สุขมาให้

เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชารบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้
(เพราะ) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังนั้น ย่อมสงบระงับ


อ้างอิง
ความสำเร็จของศีลและสมาธิ มีเหตุมาจากขันติ(อดทน)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5098.msg18665#msg1866 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5098.msg18665#msg1866)
ขอบคุณภาพจาก www.intania.com (http://www.intania.com)


   บารมีทางกรรมฐานของหนูก้านตอง ยังไม่พอที่รับมือกับนิวรณ์ได้
   การแก้ไขเฉพาะหน้าก็คือ สร้างวิหารธรรม ให้ใช้บริกรรมภาวนา จะอะไรก็ได้
   จะใช้พุทโธ หรือสวดอิติปิโส หรืออะไรก็ได้ ตามจริตที่ชอบ

   การแก้ปัญหาระยะยาวต้องใช้ ความอดทน พากเพียร ปฏิบัติธรรมต่อไป
   ให้อินทรีย์แก่กล้า ไม่เป็นเหยื่อของนิวรณ์โดยง่าย

   เป็นกำลังใจให้ครับ
:49:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: The-ring ที่ ตุลาคม 01, 2011, 08:40:49 am
กรรมฐาน คู่ปรับครับ เมื่อฟุ้งซ่านด้วยอารมณ์ วิตก กังวล

 อานาปานสติ และ มรณานุสสติ ครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: นาตยา ที่ ตุลาคม 01, 2011, 08:43:34 am
ตรงนี้มีคำตอบ และ วิธีการด้วยครับ ไม่ยาวครับ สั้นๆ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5252.msg19376#msg19376 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5252.msg19376#msg19376)

(http://widget.sanook.com/static_content/widget/full/graphic_1/2445/308445/0e3c24a8873e73f14681e2629fa77e99_1233560960.gif)


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: indy ที่ ตุลาคม 04, 2011, 03:52:27 am
ใช้อนาปานสติเหมือนเพื่อนสมาชิกว่าครับ
สภาวะธรรมแบบนี้เกิดกับทุกคนเป็นปกติครับ อย่าไปกังวล มันเป็นนิสัย หากเป็นมากๆให้กำหนดรู้อยู่ที่ลิ้นปี่
เพียงแต่รู้นะ อย่าไปปรุงต่อ เมื่อไรเรากำหนดรู้ก็จะมีสติ ลองทำบ่อยๆ ถ้าจะให้ดีทำทั้งวัน ต่อเนื่องไม่นานครับก็จะเห็นผล
จิตของคนโดยทั่วไปชอบสอดลส่ายเรืองคนอื่นเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราไปรู้เรื่องเขามาก คนที่เป็นทุกข์ ก็เรานั่นแหละ ดังนั้นเมื่อยังห้ามมันไม่ได้ ให้ใช้พรหมวิหารสี่ เร่มจากเมตตา... อุเบกขา แล้ววางซะ
ให้มันจบที่จิตเรา มันจะได้ไม่ปรุงต่อ ลองดูครับ


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ตุลาคม 04, 2011, 09:57:40 am
ความทุกข์ และ ความวิตก กังวล เป็นสิ่งทีมีค่า

 เมือมี ให้ใช้ประโยชน์ จากความทุกข์ ความวิตก กังวล นั้น พระ วิปัสสก ก็อาศัย ทุกข์ เป็นธรรมเครื่องออกจากโลก ครับ

 ผมไม่ขอ เรื่องที่คุณต้องเก็บมาวิตก กังวล เป็นจริง หรือ ไม่จริง

 แต่ขอให้คุณ พิจารณาตามที่ผม จะแนะนำดังนี้ครับ

  1. ทุกข์ คือ ความเร่ิาร้อน ส่งผลให้คุณ กระวนกระวาย ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ใช่หรือไม่ ?

       ตรงนี้ ถือว่า คุณกำลังเข้าใจสภาวะธรรม มีคุณสมบัติของ โคตรภูบุคคล
       ถ้าคนที่มีกิเลสหนามาก จะไม่สามารถกำหนด รู้ว่าเป็นทุกข์ได้

  2. ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจนั้น คุณได้รับผลอยู่ และคุณรู้ ว่ามีแล้วไม่ดี

       ตรงนี้ ถือได้ว่า คุณกำลังโชคดี ชั้นที่ 2 แล้ว เพราะคุณกำลังเป็นผู้มีสติ และ สัมปชัญญะกำหนดรู้ได้ว่่า
       ทุกข์ คือไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ

  3. คุณสามารถกำหนด สติ และ สัมมชัญญะ รู้ได้ว่า เกิดจากการเก็บคำพูด ต่าง ๆ ของบุคคลอื่น เข้ามาใส่ใจ
     ตนเอง จึงทำให้เกิดความวิตก กังวล ต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า ทุกข์

       ตรงนี้ ถือได้ว่า คุณโชคดีในเบื้องต้น แล้ว ว่า ทุกข์ นี้เกิด เพราะ ผัสสะ จาก เสียง

  4. คุณต้องการหาวิธีการที่พ้นจาก เสียง นั้นเพื่อจะได้ไม่ทุกข์

       ตรงนี้ ถือได้ว่า คุณยอดเยี่ยม เพราะมีความต้องการที่จะพ้นจากทุกข์ เพราะัเสียง นั้น ๆ เพราะดีกว่าคนที่
       หยาบหนา กิเลสมาก ยังไม่รู้ร้อน รู้หนาว ว่ามันเป็นทุกข์ นะ

   5. รวมแล้ว คุณถาม วิธีการ ที่จะไปสู่ ความพ้นทุกข์ จาก เสียง นั้น ๆ ใช่หรือไม่ครับ

       ตรงนี้ต้องการประมวล คำถามรวม  ๆ แล้ว ว่าคุณต้องการอะไร




  เอาละครับ มาจับประเด็นกันเลยนะครับ ตามหลักวิธีการของพุทธบริษัท

   1. ทุกข์ คือ ความรู้สึก กระวนกระวาย เพราะ ได้ยินเสียงต่าง ๆ ที่ฟังแล้วไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ จะจริง หรือ จะเท็จ ฟังแล้วรู้สึก ไม่สบายกาย และ ไม่สบายใจ

   เข้าสู่ วิถีธรรมที่ 1 เรียกว่า รู้จัก ทุกข์ หรือ ทุกขอริยสัจจ ( ความจริง ของความทุกข์ ) เป็นเช่นนี้เอง

   2. เหตุของความทุกข์ คือ ได้ยิน เสียง กระทบ หู แล้ว จิต ก็รับอารมณ์ กับเสียงนั้นไว้ ประมวลซ้ำไปซ้ำมาก็รู้ว่า เสียง เป็นต้นเหตุ

     ดังนั้นประมวลปัญหาความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจออกมา เป็นลำดับ ดังนี้

       2.1 เสียง  ที่เกิดจากบุคคลอื่น

       2.2 หู ที่ได้ยินเสียง

       2.3 ใจ ที่รับเสียงนั้นไว้ จดจำเสียงนั้นไว้

       2.4 อารมณ์ ที่รับไว้ด้วยความไม่ชอบ และชอบ

     ถ้าไล่ได้ตามนี้ หรือ มากกกว่านี้ ก็อนุโมทนาด้วยครับ

3. เราเข้าใจแล้วใช่หรือไม่ครับ ว่า ทุกข์ ที่เกิดมีสภาพอย่างไร และ้ เหตุแห่งทุกข์ มีสภาพอย่างไร เพราะใจที่ปรารถนาที่จะไม่ทุกข์ และไม่อยากทุกข์ เพราะใจนั้นเข้าใจเห็นว่า ถ้าไม่ทุกข์ ฉันจะสบายกาย สบายใจ ใช่หรือไม่ครับ ดังนั้นตอนนี้ความปรารถนา อันนี้ คือ สภาวะเป้าหมาย เพื่อที่จะไปสู่วิธีการที่จะพ้น จากทุกข์
อันนี้เรียกว่า นิพพาน หรือ นิโรธ  ซึ่งมีระดับ อยู่ 3 ระดับ คือ
    3..1 วิขัมภนนิพพาน คือ ดับทุกข์ ด้วยความข่ม อดกลั้น
    3.2 ตทังคนิพพาน คือ ดับทุกข์ ได้ชั่วคราว ได้ไม่นาน
    3.3 สมุทเฉทปหานนิพพาน คือ ดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิง


   4. หาวิธีการ ที่จะขจัดปัญหานั้นออกเสีย ตามหัวข้อ โปรดไล่กับข้อ 3 ว่าแก้ปัญหาได้ในระดับไหน

       4.1 เสียง ที่เกิดจากบุคคลอื่น 
          วิธีการ 4.1.1 เดินไปอธิบายความจริง
                  4.1.2 ห้ามไม่ให้พูด เป็นไปได้หรือไม่ ?
                  หรืออื่น ๆ 
                 
       4.2 หู ที่ได้ยินเสียง
          วิธีการ  4.2.1  อุดหู
                   4.2.2  ไปในที่ไม่มีเสียงนั้น
                  หรืออื่น ๆ

       4.3  ใจ ที่รับเสียงนั้นไว้ จดจำเสียงนั้นไว้
           วิธีการ ฝึกใจให้รู้จัก แยกแยะ กุศล หรือ มิใช่ กุศล ด้วยการให้ทาน รักษา ศีล ภาวนา

       4.4  อารมณ์ ที่รับไว้ด้วยความไม่ชอบ และชอบ
           วิธีการ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ว่า เสียนี้ไม่ใช่เรา เสียงนี้ไม่ใช่ของเรา เสียงนี้ไม่ใช่ตัว
           ไม่ใช่ตนของเรา สำหรับเบื้องต้น
            เพราะความอยากมี และอยากเป็น และมิได้อยากมีหรืออยากเป็น เป็นตัวสั่งให้อารมณ์ชอบ และไม่ชอบ
           ดังนั้นถ้าเรามองเห็นความจริง ก็จะละได้

        ขั้นตอนที่ประมวลยัง มีอีกพอสมควร แต่พอจะได้แนวทาง

        ทั้งนี้วิธีการนี้ ก็เป็นเพราะพระอาจารย์ได้สั่งสอนอบรมไว้ อย่างนี้ครับ


    หวังว่า คุณ ก้านตอง คงจะได้แนวทางบ้างนะครับ


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ ตุลาคม 04, 2011, 07:12:12 pm
เห็นแนวทาง ของ อริยสัจจะ 4 ประการอย่างชัดเจน เลยคะ
 ว่าแต่ ขั้นตอนน่าจะทำได้ยาก ตรงนี้ นะคะ

อ้างถึง
4.3  ใจ ที่รับเสียงนั้นไว้ จดจำเสียงนั้นไว้
           วิธีการ ฝึกใจให้รู้จัก แยกแยะ กุศล หรือ มิใช่ กุศล ด้วยการให้ทาน รักษา ศีล ภาวนา

       4.4  อารมณ์ ที่รับไว้ด้วยความไม่ชอบ และชอบ
           วิธีการ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง ว่า เสียนี้ไม่ใช่เรา เสียงนี้ไม่ใช่ของเรา เสียงนี้ไม่ใช่ตัว
           ไม่ใช่ตนของเรา สำหรับเบื้องต้น
            เพราะความอยากมี และอยากเป็น และมิได้อยากมีหรืออยากเป็น เป็นตัวสั่งให้อารมณ์ชอบ และไม่ชอบ
           ดังนั้นถ้าเรามองเห็นความจริง ก็จะละได้

4.3 ต้องฝึก กรรมฐานฝ่ายสมถะ
4.4 ต้องฝึก วิปัสสนา ใช่หรือไม่คะ


    :25:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: juntra ที่ ตุลาคม 05, 2011, 08:51:57 am
อนุโมทนา กับคุณ สมภพ ที่ให้ความรู้ การแก้ปัญหา ประกอบกับ อริยสัจจะ 4 ประการ

อ่านแล้วทำให้เกิดมุมมอง ของพระธรรม ในชีวิตประจำวันได้มากเลยคะ

 แท้ที่จริง ถ้าเราสาวปัญหา และ ตั้งปณิธาน ในการแก้ปัญหา

 และพยายาม หยุด ปัญหา ก็คือ การภาวนา ที่มีเหตุ และ ผล

 เพราะบางครั้ง เราภาวนา อย่างไม่มีเหตุผล เป็นไปตามความอยาก เสียมากกว่า

 ขอบคุณธรรม ยามเช้าคะ

  :25: :25: :25: :s_good:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: pinmanee ที่ ตุลาคม 08, 2011, 03:38:09 pm
กรรมฐาน กับข้อพิสูจน์ ในการการภาวนา เพื่อคลายวิตกกังวล ในช่วงนี้สามารถนำไปใช้ได้คะ
โพสต์โดยคุณ สมภพ น่าทำการศึกษาให้เข้าใจ คะ

 :88: :25:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ ตุลาคม 09, 2011, 09:06:53 am
เก็บคำพูดคนอื่นมาคิด มันก็ยังอดคิดไม่ได้ รู้สึก วิตก กังวล มากเลยคะ กับคำพูดของคนอื่น ควรทำอย่างไรดีคะ

     ทุกพจน์บทคำลวง          ไฉนหน่วงให้ยากเย็น
ยื้อเขาเรานั้นเข็ญ          ให้ลำเค็ญเช่นเขาลวง
     เยื้องนี้ต้องรู้วาง          ต้องรู้ร้างอย่าเติมตวง
เสริมมนต์พุทธคุณพ่วง          ให้คลายบ่วงเศร้าสร่างเอง.


                                                                                                           ธรรมธวัช.!


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: RATCHANEE ที่ ตุลาคม 09, 2011, 07:20:24 pm
อนุโมทนา กับข้อความเตือนจิต สะกิดใจ จากทุกท่านจริง ๆ คะ
อันแท้จริง คำพูด ต่าง ๆ นั้น มีความสำคัญต่อจิตใจของคนทั่วไปคะ
ดิฉันเองทำงาน บางครั้ง ก็ปี่ติ เพราะคำพูดของคนรอบข้าง แต่บางครั้ง จิตก็ตกเพราะ
เสียงของคนรอบข้าง ได้อ่านวิธีการแล้ว รู้สึกว่า แท้ที่จริง เรากำลังหลงทางยึดติด

กับ สิ่งใดอยู่กันแน่ .....

  :88: :13:


หัวข้อ: Re: ความทุกข์ วิตก กังวล จัดการได้อย่างไร ในกรรมฐาน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤศจิกายน 02, 2011, 10:37:07 am
ความวิตก กังวล ไม่มีและมีไม่ได้ ในกรรมฐาน

ดังนั้น จัดการอย่างไร ? ในกรรมฐาน ก็ขอตอบว่า

  ถ้าภาวนา กรรมฐาน อยู่ ก็ไม่มีวิตก กังวล อยู่แล้ว มีแต่จิตที่สงบ เป็นสุข และ้พร้อมที่จะรู้แจ้งตามความเป็นจริง

ปัญหาไม่ใช่ อยู่ในการภาวนากรรมฐาน แต่ปัญหา ความวิตก กังวล นั้นมีมาก่อนการทำกรรมฐาน

 ดังนั้น เพื่อให้คลายวิตก กังวล ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เรื่องเรียน เรื่อง สารพัดเรื่อง ๆ

 ก็ต้องฝึกจิต พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า

     เรามีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พรักพราก ทุกข์ เป็นธรรมดา

    หายใจเข้าแล้ว ก็ทำใจให้ปล่อยวาง..... ( การทำใจให้ปล่อยวาง ก็เสมือนทำตัวเราให้เหมือนคนตาย )
    หายใจออกแล้ว ก็ทำใจให้ปล่อยวาง......

  แล้วทำการขอขมา พระรัตนตรัย ขอบารมีพระรัตนตรัย เพื่อมิให้กรรมใด ๆ ปิดกระแสธรรมที่ควรจะบรรลุ
ทำการอธิษฐาน นั่งกรรมฐาน ตามความชอบใจ

    เมื่อออกจากรรมฐานสวดคาถาพญาไก่เถื่อน สัก 9 จบ
    แผ่ส่วนบุญให้กับเทวดาประจำกาย เราด้วย

   เชื่อว่าความวิตก กังวล ต่าง ๆ จักหมดไปโดยไว

  เจริญพร

   ;)