ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ความว่าง" ที่พระพุทธเจ้าตรัส...  (อ่าน 3413 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28461
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ความว่าง" ที่พระพุทธเจ้าตรัส...
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2013, 10:14:10 am »
0


"ความว่าง" ที่พระพุทธเจ้าตรัส

     พระพุทธเจ้าท่านถือว่า เรื่องของความว่างนี้ เป็นเนื้อหนัง เป็นเนื้อตัวของพระพุทธศาสนา เรื่องของความว่าง นี้ มีแน่ไม่ผิด เพราะมีคำกล่าวอยู่ว่า  ตถาคตภาสิตา แปลว่า ที่ตถาคตได้ประกาศไว้นี้ ก็แสดงว่า เรื่องว่างหรือ เรื่องสุญญตา ที่พวกอื่นประกาศก็มีเหมือนกัน เช่นพวก อุจเฉททิฏฐิก็ พูดเรื่อง ไม่มีอะไรเรื่อง สูญเปล่านี้ คือ ว่างของพวกอื่น ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ พูดส่วนว่างที่ไม่ใช่สูญเปล่า คือ เพียงแต่ว่างจากความรู้สึกว่า "เรา" ว่า "ของเรา" เท่านั้น  นี้คือว่างของพระพุทธเจ้า

     ที่ในเมืองไทยเรานี้ มีการสอนกันผิดๆ เพราะแปลคำนี้ผิด ขนาดนักศึกษายังหลงผิดยัง ฟังมาผิด ตั้งแต่กาลก่อนมา เขาแปลคำว่า "ว่าง" นี้ว่าสูญเปล่าไม่ได้ อะไร ไม่มีอะไร ถ้าแปล "ว่าง" ว่า สูญเปล่า ล่ะก็ผิดแน่ พระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ มีความหมายว่าสูญเปล่า แต่มีความหมายว่า "ว่าง"  อย่างที่ในบาลีมีคำอธิบายเป็น คำนิยาม อยู่ชัดแล้ว เช่นว่า ที่ว่าโลกว่าง โลกนี้ว่าง ก็เพราะว่างจากส่วนที่ ควรถือว่าของเรา ว่าตัวเรา   


      :s_hi: :s_hi: :s_hi:

    เรื่องว่างนี้ เราพูดเสียใหม่ เราพูดไม่ให้กำกวมก็ได้ คือ พูดว่า "ทุกสิ่ง ไม่มีอะไรที่ควรถือว่า เป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา ใช้ประโยคนี้ แหล่ะ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไร ที่ควรถือว่า เป็นตัวเรา เป็นของเรา เมื่อมันว่าง ก็ไม่มีส่วนที่ควรถือว่า เป็นตัวเรา ของเรา
     แต่ท่านใช้คำสั้นที่สุดว่า โลกว่าง เพราะ ไม่ใช่อัตตา เพราะไม่ใช่ อัตตนียา
     ว่างเพราะ ไม่มีอะไรเป็น อัตตา  คือเป็นตัวเรา
     โลกว่างเพราะ ไม่มีอะไรเป็นอัตตนียา คือเป็นของเรา
     และที่พูดว่าไม่มีอะไรนั่น หมายความว่า มีหมด ครบหมด แต่ไม่มีส่วนไหนจะมาเป็นตัวเรา หรือของเราได้

     ว่างนี้ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอะไรให้เรากิน ไม่มีอะไรให้เราใช้ ไม่มีอะไรให้เราอยู่ ไม่มีอะไรให้เราดู 
     ไม่ใช่อย่างนั้น มันมีอะไร ให้เรากิน ให้เราเห็น ให้เราดม ให้เราดู ให้เราใช้ ครบทุกอย่าง
     แต่ไม่มีส่วนไหนที่ควรถือว่า ตัวเรา หรือ ของเรา


      :49: :49: :49:

     ฟังดูให้ดีว่า โลกทั้งหมดว่าง เพราะไม่มีส่วนที่จะเป็นตัวเรา หรือของของเรา
     ภาษาธรรมดาๆ ก็ว่าไม่มีอะไร ที่ควรถือว่าเป็นตัวเรา หรือ ของเรา
     พูดอย่างนักกฎหมายหน่อยก็ว่า ทั้งหมดไม่มีอะไร ที่ควรสำคัญมั่นหมายว่า เป็นตัวเรา ว่าเป็นของเรา 
     มันมีเต็มไปหมด ทั้งข้างนอกข้างใน  ข้างในคือ ในตัวเราเอง ชีวิตร่างกายนี้ เป็นข้างใน
     ข้างในทั้งหมดนี้ ก็ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา
     ข้างนอก คือ นอกไปจากร่างกายเรา ทรัพย์สมบัติของเรา อะไรของเรา
     ที่เรียกว่า ของข้างนอกนี้ ก็ไม่มีอะไร ที่จะเป็นของเรา หรือ เป็นตัวเราไปได้





    ชีวิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา และไม่ใช่ชีวิตของเรา ความนึกคิดอะไรต่างๆ ที่เคยถูกสมมุติว่า เป็นตัวเรานั้นก็ ไม่ใช่ตัวเรา บางคนสำคัญเอาเองว่า ที่รู้สึกได้คิดนึกได้  อันนั้นแหล่ะ คือ ตัวเรา อย่างนี้ก็มี แต่เมื่อศึกษาจนรู้ จึงจะรู้ได้ ว่า ที่ คิดนึกได้นั้น ก็สักแต่ว่า เป็นสิ่ง ที่รู้จักคิดนึกได้ แต่ไม่ใช่ตัวเรา

     เมื่อไม่ใช่ตัวเราแล้ว ไม่มีตัวเราเสียแล้ว ของเรามันจะมีมาแต่ไหน ต่อเมื่อมีตัวเรา จึงจะถือว่านั่นของเรา นี่ ของเรา ชีวิตของเรา เนื้อหนังของเรา แขนขาของเรา ความเจ็บของเรา ความแก่ของเรา ความตายของเรา  ข้างนอก ก็เช่นเดียวกัน จะนึกว่าเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีตัวเราเสียแล้ว พิจารณาต่อไปอีก บุตร ภรรยาสามี เพื่อนฝูงก็เหมือนกันก็ไม่เป็นของเราเหมือนกัน ถึงทรัพย์สมบัติก็เหมือนกันอีก


     :25: :25: :25:

    สรุปไว้ทีหนึ่งก่อนว่า โลกว่าง หรือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ว่างเพราะไม่มีอะไรเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา
       - ว่างคำที่หนึ่ง นั้นก็คือ โลกว่าง
       - ว่างคำที่สอง ก็คือ จิตว่าง

    จิตว่าง คือ จิตที่ไปรู้ความจริง ข้อนี้เข้ารู้ว่า โลกนี้ไม่มีอะไร ที่จะเป็นเรา เป็นของเราได้
    ยกเอาจิตภายใน นี่ เป็น ผู้รู้สึกว่า ไม่มีอะไร เป็นตัวเรา ของเราได้เลย
    รู้อย่างนี้ จิตก็ว่าง จากความสำคัญมั่นหมาย หรือว่างจากอุปาทาน
    เป็นจิตที่ว่างจากตัวฉันและของฉันอยู่เสมอ ก็ต้องเรียกว่า "จิตว่าง"

    จิตว่างนั้นไม่ใช่ไม่คิดไม่นึก เพราะตามธรรมชาติของจิต ย่อมคิดนึกรู้สึกอะไรอยู่ตามธรรมชาติ
    แล้ว แต่ก่อนนี้ไม่ว่างเพราะว่า ไปเอานั่นเอานี่มาเป็นของเรา มาถือไว้ เลยไม่ว่าง
    เพราะติดธุระ อยู่เรื่อยจึง ไม่มีว่าง เมื่อไม่หอบอะไรไว้เป็นของเรา ไม่ถืออะไร ไว้เป็นของเรา
    ก็เลยดูว่างหรือ ฟรี หรือเป็นอิสระ นี้เรียกว่า จิตว่าง พูดสั้นๆ เรียกว่า จิตว่าง
    ขยายความไปว่า จิตที่ไม่ได้ สำคัญมั่นหมาย ยึดถืออะไรว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา นี้คือจิตว่างคำที่สอง

     st12 st12 st12

    ว่างคำที่หนึ่งว่า โลกว่าง คือทุกสิ่งทุกอย่างว่าง เพราะไม่มีอะไรจะเป็นตัวเรา หรือของเรา ได้คำที่สองว่า จิตมันว่าง เพราะจิตรู้ความจริง ข้อนั้นแล้วไม่รู้ จะไปถือเอาอะไรว่า เป็นตัวเรา หรือของเราก็ตาม มันก็เลย อยู่ว่าง เฉยๆ เสีย แต่จิตก็คงทำอะไรไป ตามหน้าที่ของจิต ของกาย ของอะไร ตามเรื่องของสิ่งนั้นๆ แต่ความสำคัญ มั่นหมายว่า "ฉัน" ว่า "ของฉัน" นั้น ไม่มี เรียกว่า "จิตว่าง"

    เอาเรื่องโลกว่างกับเรื่องจิตว่างนี้มารวมกันเข้า เป็นเรื่องความว่างโดยสมบูรณ์
    ที่เรียกว่า สุตตันตะที่เนื่องเฉพาะด้วยสุญญตา เรื่องราวที่กล่าวถึงสุญญตา ถ้าพูดเรื่องสุญญตาก็คือเรื่องนี้
    เรื่องโลกว่าง เรื่องจิตว่าง เรียกว่า เรื่องความว่าง หัวข้อนั้นคือ เรื่องโลกว่างกับจิตว่าง มารวมกันเข้า เรียกว่า ความว่าง หรือ คำว่าความว่างนี้ ขยายความ ออกไป คือ จิตว่างและโลกก็ว่าง นี้เป็น เรื่องความว่าง...

__________________________________________________
จากหนังสือ "ความว่างที่พระพุทธเจ้าตรัส" ของท่านพระพุทธทาสภิกขุ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=443905
ขอบคุณภาพจาก
http://www.oknation.net/
http://www.pantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ความว่าง" ที่พระพุทธเจ้าตรัส...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2013, 10:43:23 am »
0
ว่างจากกิเลส ใช่หรือ ไม่ คะ สรุป ถึงจะเรียกว่า ว่าง

  สุญญตวิโมกข์  หมายถึง ความพ้นจาก ความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา ใช่หรือไม่คะ


  :88: :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ