ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - นิรตา ป้อมนาวิน
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
161  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิธีแก้กรรมแบบพระพุทธเจ้า เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 01:31:37 pm


[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มีกรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่ากรรมดำมีวิบากดำ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร...วจีสังขาร...มโนสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียนบ้างไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่ากรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ฯ

วิธีแก้กรรม แบบ พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเรียกว่า การก้าวล่วงบาปกรรม ซึ่งเป็นการขจัดมลทินแห่งอกุศลออกจากจิตเสีย เมื่อจิตไม่มีอกุศลจิตแล้ว จิตนั้นก็ชื่อว่า พ้นจากบาปกรรม หากยังคงรับผลร้ายอยู่บ้าง ก็จักเป็นเพียงเศษกรรมเก่า พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า:

" กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด "


ในโลกมนุษย์ เพราะว่าคุณได้สำนึกผิดอย่างเด็ดขาดไปแล้ว วิบากกรรมที่จะส่งผลถึงคุณนั้นจะเบาบางลง แม้เจ้ากรรมนายเวรไม่ได้ให้อภัย ส่วนในปรโลก วิบากกรรมนั้นจะกลายเป็นเศษกรรมไป เนื่องจาก กรรมดำที่มีวิบากดำ ได้เปลี่ยนเป็นกรรมขาว และถ้าเวลามีพอ คือไม่ใช่ไปทำการก้าวล่วงบาปกรรมก่อนตาย กรรมขาวนั้นก็จะให้วิบากขาวด้วย

จากหนังสือธรรมชาติของสรรพสิ่ง หน้า 230 ให้ตัวอย่างไว้ชัดเจนมาก

นายดำเคยประทุษร้ายบุคคนผู้ไม่ผิดมาแต่กาลก่อน บัดนี้กรรมนั้นทำให้นายดำโดนประทุษร้ายโดยไม่มีความผิด นายดำสามารถเลือกตอบสนองได้ 3 วีธี คือ

1. เฉย ยอมรับวิบากกรรมอันนั้น ถือว่ากรรมสิ้นสุดลง
2. ประทุษร้ายตอบ เท่ากับพอรับผลกรรมดำแล้ว ก็สร้างกรรมดำขึ้นมาใหม่ ในภายภาคหน้าก็จะโดนประทุษร้ายอีก
3. อภัย และแผ่เมตตา เทากับรับวิบากกรรมดำเก่าแล้ว ก็สร้างวิบากกรรมขาวขึ้นมาแทน ในกาลต่อไป ศตรูนั้นก็จะกลายเป็นมิตร หรือได้รับวิบากกรรมขาวแทน


ดูตัวอย่างพระเทวทัต

ถ้าพระเทวทัตไม่ได้ทำอนันตริยกรรมหลายอย่าง ซึ่งทำให้วิบากกรรมดำแห่งอนันตริยกรรมหลายอย่างส่งผลถึงท่าน ทำให้ท่านทำการก้าวล่วงบาปกรรมไม่ทันเวลา พอสำนึกบาปได้ ก็ได้เฉพาะในกรณีที่ทำกับพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนกรณีอื่นทำการการก้าวล่วงบาปกรรมไม่ทัน เนื่องจากโดนธรณีสูบไปก่อน

อย่างไรก็ดี เนื่องเพราะว่า พระเทวทัตทำการก้าวล่วงบาปกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าทันเวลา กรรมดำของท่านในส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้เปลี่ยนเป็นกรรมขาวแล้ว ด้วยเหตุนี้ วิบากกรรมดำที่ทำให้พระเทวทัตตกนรกอเวจี อาจจะเป็นวิบากกรรมดำจากอนันตริยกรรมอย่างอื่น(ทำสังฆเภท)ก็เป็นได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าคงไม่ให้พุทธทำนายว่า ในอนาคตพระเทวทัตจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?
162  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นวกนิเทศ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 12:34:15 pm
นวกนิเทศ

ในนวกมาติกาเหล่านั้น อาฆาตวัตถุ ๙ เป็นไฉน

อาฆาตวัตถุ ๙ คือ
๑. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว
๒. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๓. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสียแก่เรา
๔. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่คนเป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว
๕. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
๖. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักกระทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเราแล้ว
๗. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว
๘. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
๙. ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา
เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๙


ปุริสมละ ๙ เป็นไฉน

ปุริสมละ ๙ คือ
๑. โกธะ ความโกรธ
๒. มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน
๓. อิสสา ความริษยา
๔. มัจฉริยะ ความตระหนี่
๕. มายา ความเจ้าเล่ห์
๖. สาเถยยะ ความโอ้อวด
๗. มุสาวาท พูดเท็จ
๘. ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก
๙. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
เหล่านี้เรียกว่า ปุริสมละ ๙


มานะ ๙ เป็นไฉน

มานะ ๙ คือ
๑. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๒. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๓. ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
๔. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๕. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๖. ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
๗. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา
๘. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา
๙. ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา
เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๙


ตัณหามูลกธรรม ๙ เป็นไฉน

ตัณหามูลกธรรม ๙ คือ
๑. เพราะอาศัยตัณหา จึงเกิดการแสวงหา
๒. เพราะอาศัยการแสวงหา จึงเกิดการได้
๓. เพราะอาศัยการได้ จึงเกิดการวินิจฉัย
๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย จึงเกิดฉันทราคะ
๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ จึงเกิดความยึดถือ
๖. เพราะอาศัยความยึดถือ จึงเกิดการหวงแหน
๗. เพราะอาศัยการหวงแหน จึงเกิดความตระหนี่
๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงเกิดการรักษา
๙. เพราะอาศัยการรักษา จึงเกิดบาปอกุศลธรรม หลายประการ คือการจับท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การเกี่ยงแย้ง การวิวาท การพูดขึ้นมึงกูการพูดส่อเสียด การพูดเท็จ
เหล่านี้เรียกว่า ตัณหามูลกธรรม ๙


อิญชิตะ ๙ เป็นไฉน

อิญชิตะ ๙ คือ
๑. ความหวั่นไหวว่า มีเรา
๒. ความหวั่นไหวว่า เป็นเรา
๓. ความหวั่นไหวว่า นี้เป็นเรา
๔. ความหวั่นไหวว่า เราจักมี
๕. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความหวั่นไหวว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า อิญชิตะ ๙


มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ เป็นไฉน

สังขตะ ๙ คือ
๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี
๒. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา
๓. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา
๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ ๙



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &item=1022
163  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 06:15:23 pm


เจริญกรรมฐานด้วยสติปัฏฐาน ๔ ปิดอบายภูมิได้


คนเราที่จะอยู่อย่างดีนี้ จะต้องดำเนินชีวิตเป็น คือ รู้จักดำเนินชีวิตนั่นเอง
ถ้าใครรู้จักดำเนินชีวิต ชีวิตนั้นก็เป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นชีวิตที่พัฒนาเจริญก้าวหน้า
ประสบประโยชน์สูง


แต่ถ้าดำเนินชีวิตไม่เป็น ก็จะมีแต่ขาดทุน และประสบแต่ความทุกข์ และความเสื่อม
ฉะนั้น จะต้องรู้จักดำเนินชีวิต หรือดำเนินชีวิตเป็น


ญาติโยมเอ๋ย โปรดทราบไว้เถอะว่า
บุญกรรมนั้นมีจริง บาปกรรมนั้นมีจริง ยมพบาลจดไม่มี จิตนี้เป็นผู้จด

จดทุกวันคืออารมณ์ เรื่องจริงแน่ จดทุกกระเบียดนิ้ว บาปบุญคุณโทษ บันทึกเข้าไว้
ถ้าเราทำกรรมดี ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ทำชั่วก็ลงนรกไป


วันนี้ อาตมาขออนุโมทนาสาธุการส่วนกุศลที่ท่านทั้งหลายมาบำเพ็ญกุศล

เจริญวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ตนเอง โดยเฉพาะด้วย การเจริญสติปัฏฐาน ๔

กาย เวทนา จิต ธรรม พิจรณาโดยปัญญา ตลอดกระทั่งยืน เดิน นั่ง นอน

จะคู้เหยียดขาทุกประการก็มีสติครบ รับรองได้เลยว่า ถ้าโยมทำถึงขึ้น ปิดประตูอบายได้เลย


เพราะเหตุใด เพราะกิเลสทั้งหลาย โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น โยมก็กำหนด
ขณะมีโลภะก็กำหนดโลภะ โลภะก็หายไป

จิตวิญญาณตายขณะมีโลภะ ตายไปเป็นเปรต
กำลังมีโทสะตายไปขณะนั้นลงนรก
มีโมหะรวบรวมอยู่ในจิตไว้มาก ตายไปกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน

แต่ถ้ามีสติปัฏฐาน ๔ มีสติสัมปชัญญะดี อบายภูมิไม่ต้องไป
ปิดประตูนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ทุกประการ



ขอกุศลที่ญาติโยมได้บำเพ็ญไว้แล้ว จงเป็นพลวปัจจัยย้อนกลับเป็นบุญกุศลให้แก่ญาติโยมทั้งหลาย

ประสบความสุขสันต์นิรันดรทุกท่าน และจงพยายามก้าวหน้าผ่านอุปสรรคถึงฝั่งฟากคือพระนิพพาน

โดยทั่วหน้ากัน ณ โอกาสนี้เทอญ


หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


มีชีวิตใหม่ เปลี่ยนถ่ายเลือดใหม่

ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔



หลวงปู่หล้าเขียนไว้ว่า รู้ตามความเป็นจริง ปฏิบัติตามความเป็นจริง สิ้นสงสัยตามความเป็นจริง ...

พวกเราทั้งหลาย อย่าได้นอนใจในวัฏสงสารเลย จงรีบหลุดพ้นตามคำสั่งของพระบรมศาสดาที่ว่า


" เมื่อพวกเธอทั้งหลาย ยังไม่มีญาณว่าพ้นทุกข์ โดยสิ้นเชิง พวกเธออย่าได้นอนใจนะ "

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงกล่าวไว้ว่า ...

ชีวิตนี้น้อยนัก ... แต่ ... ชีวิตนี้สำคัญนัก

เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อ เป็นทางแยก
จะไปสูง หรือ ไปต่ำ จะไปดี หรือ ไปร้าย

เลือกได้ในชีวิตนี้เท่านั้น

พึงสำนึกข้อนี้ให้ดี แล้วจงเลือกเถิด เลือกให้ดีเถิด


หลวงพ่อ พระครู ภาวนานุกูล ชูชัย ( วัดนาค บางปะหัน ) จะสอนเสมอๆว่า ..
ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น รู้ลงไปตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น อยู่กับมัน ไม่ชอบ ไม่ชัง ไม่ดิ้นรนคิดเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ไม่แทรกแซงสภาวะ เมื่อวิปัสสนา( เห็นตามความเป็นจริง ) หรือ วิปัสสนาญาณ (เห็นแจ้ง ) เมื่อเขาจะเกิด เขาจะเกิดเอง จงขจัดความอยากที่เกิดขึ้นในจิตออกไปให้หมด


พระอาจารย์ปรีชา ( วัดนาค บางปะหัน ) ท่านสอนว่า
จงทำตัวเหมือนแมงมุม ที่กางใยดักเหยื่อ จงจับเหยื่อกินให้หมด


จงเป็นผู้มีความเพียรเจริญสติปัฏฐานกันเถิด

วันเวลานับวันจะล่วงเลยผ่านไปเรื่อยๆ
เราไม่อาจจะรู้ล่วงหน้าได้เลยว่า วินาทีต่อไป เราจะมีโอกาสได้ลืมตาตื่นขึ้นมาอีกหรือไม่


สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายความว่า บุคคลผู้ประสงค์จะฝึกจิต
ให้เกิดศิล สมาธิ ปัญญานั้น ต้องอาศัยสติเป็นหลักใหญ่และสำคัญที่สุด
เพราะสติเป็นผู้ควบคุมกายกับใจ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า สติ คอยควบคุมรูปกับนาม
ให้ดำเนินไปถูกทางที่เราต้องการ ดุจบุคคลเลี้ยงเด็กๆที่กำลังซุกซน
ต้องคอยดูแล ระมัดระวังอยู่เสมอ จะประมาทหรือเผลอมิได้ ทางนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้า ๓๒๕ เป็นต้นไป
กับเล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๐๓ เป็นต้นไป


อินทรีย์ ๕

บรรดาอินทรีย์ ๕ นั้น ถ้าข้อหนึ่งมีกำลังมากเกินไป อินทรีย์นอกนั้นก็พึงทราบว่า
ไม่สามารถทำกิจของตนได้ แต่เมื่อว่าโดยพิเศษแล้ว นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมยกย่อง
สรรเสริญว่า สัทธากับปัญญาต้องเท่าๆกัน วิริยะกับสมาธิต้องเท่าๆกัน เพราะว่าคนที่มีสรัทธามาก
แต่มีปัญญาน้อยย่อมเลื่อมใสโดยลุ่มหลง คือ เลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ควรเลื่อมใส
ส่วนคนมีปัญญามากแต่มีสรัทธาน้อย ย่อมตกไปในฝ่ายเกเรย่อมเยียวยาได้ยาก
ดุจโรคที่เกิดจากยา ย่อมทำให้นายแพทย์เยียวยาได้ยากฉะนั้น

อันธรรมดากุศลย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่าย คือ เพียงจิตตุปปบาทเดียว ก็สามารถเกิดขึ้นได้
เมื่อจิตของบุคคลเป็นไปเร็วอย่างนี้ ถ้าใครไม่ได้ทำบุญ มีทานเป็นต้นไว้
ย่อมตกนรกได้โดยง่ายดายทีเดียว

เมื่อสัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิสม่ำเสมอกัน บุคคลนั้นย่อมเลื่อมใสในวัตถุที่ควรเลื่อมใสเท่านั้น
ถ้าบุคคลมีสมาธิกล้า มีความเพียรอ่อน ความเกียจคร้านย่อมครอบงำได้
เพราะสมาธิเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน

ถ้าบุคคลมีความเพียรกล้า มีสมาธิอ่อน ความฟุ้งซ่านย่อมครอบงำได้ เพราะวิริยะเป็นไปใน
ฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน ส่วนสมาธิที่บุคคลประกอบด้วยความเพียร ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน
เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมผู้มุ่งหวังตั้งใจต่อมรรค ผล นิพพาน ต้องทำสัทธากับปัญญา
วิริยะกับสมาธิให้สม่ำเสมอกัน อินทรีย์ ๕ เสมอกันเมื่อใด อัปปนาก็เกิดได้เมื่อนั้น


สำหรับผู้ที่เคยเจริญสมถกรรมฐานมาก่อน สัทธาแก่กล้า จึงควร เพราะถ้าผู้นั้นเชื่ออยู่อย่างนั้น
จึงจักถึงอัปปนาได้ ส่วนสมาธิกับปัญญาเอกัคคตามีกำลังแก่กล้าจึงควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้ง
แทงตลอดพระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้

สำหรับผู้เจริญวิปัสสนา ปัญญาต้องมีกำลังแก่กล้าจึงจะควร เพราะผู้นั้นจะรู้แจ้งแทงตลอด
พระไตรลักษณ์ได้ด้วยอุบายอย่างนี้

ส่วนสตินั้น ต้องการให้มีกำลังกล้า ในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตไว้ไม่ให้ตกไปอยู่ในความฟุ้งซ่านด้วยอำนาจ
แห่งสัทธา วิริยะ ปัญญา ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน และรักษาจิตไว้ไม่ให้
ตกไปสู่ความเกียจคร้ายด้วยสมาธิ ซึ่งเป็นไปในฝักฝ่ายความเกียจคร้าน
เพราะเหตุนั้น สติจึงจำเป็นต้องปรารถนาในทุกที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
และเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินปรารถนาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชการ ในราชกิจทุกอย่างฉะนั้น

อาศัยเหตุดังพรรณนามาฉะนี้ ท่านจึงตั้งคำถามและคำตอบไว้ว่า เพราะเหตุไร
สติจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่ระลึก
และสตินั้นมีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆเป็นลักษณะ คือเป็นเครื่องหมาย เป็นป้ายบอกให้รู้
มีความหลงไม่ลืม เป็นหน้าที่ มีการรักษาอารมณ์ไว้เป็นอย่างดี
เป็นผลปรากฏคือ มีหน้าที่มุ่งตรงต่ออารมณ์


จากหนังสือ วิปัสสนากรรมฐาน ภาค ๒ ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน หลวงพ่อโชดก

.....................................................

ละเหตุได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ความหมดกิเลสทั้งปวงเป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย

มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน ( ตามความเป็นจริง )
เหตุมี ผลย่อมมี ทำสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้นแล


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=28295
164  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เทคนิคการ "ให้อภัย" ที่ไม่ง่าย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 12:13:23 pm
การให้อภัย

ความจริงเรื่องการให้อภัยนั้นมีคนพูดถึงกันมาก และก็รู้ว่าเป็นสิ่งดีที่ควรจะให้อภัยคนอื่นให้ได้ แต่คนที่พูดว่าให้อภัยแล้วปากพูดไปแต่ใจไม่ยอมให้อภัยยังมีอีกมากรวมถึงคนที่บอกว่า ไม่สามารถให้อภัยได้เพราะยังแค้นอยู่ก็มีมาก

การให้อภัยจึงไม่ใช่ของง่ายๆ เลย ทำยากกว่าการให้สิ่งของ ให้เงิน หรือให้กำลังใจคนอื่นเสียอีก ถ้าใครรู้จักการให้อภัยได้ ถือว่าเป็นการทำงานชิ้นเยี่ยมของชีวิตได้ และทำให้มีความสุขมากขึ้น


คนพร้อมจะโกรธและไม่ให้อภัย

มีผู้คนที่มีทุกข์มาปรึกษาผมที่คลินิกเป็นจำนวนมาก ด้วยความโกรธแค้นผู้อื่น และไม่สามารถอภัยได้ ทำให้เกิดเป็นความทุกข์เรื้อรังบางคนถึงขั้นมี อาการทางฝ่ายกายร่วมด้วยหลายๆ อย่าง และที่แน่ๆ ก็คือบุคคลเหล่านี้อารมณ์ไม่ดีบ่อยๆ มักจะโกรธ และผิดหวังได้ง่ายๆ

ตัวอย่างเช่น :
มีผู้หญิงคนหนึ่งโกรธสามีมากที่สามีทำดีเฉพาะกับญาติพี่น้องของเขา แต่กับภรรยาจะเข้มงวด ขี้เหนียวและเอาเปรียบ ภรรยาไม่ยอมให้อภัย เธอพยายามขอหย่า สามีไม่ยอม ภรรยาก็หาทางแก้แค้นตลอดมา ไม่ยอมยกโทษให้

อีกรายหนึ่งเป็นกรณีสามีแค้นภรรยาที่มาทราบหลังจากแต่งงานได้ไม่นานว่า ภรรยาเคยมีแฟนมาก่อน และเคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับแฟนเก่า สามีแค้นมาก ไม่ยอมให้อภัย ไม่มีอารมณ์ทางเพศด้วย แต่ยังไม่ยอมหย่า

อีกรายหนึ่งเป็นกรณีลูกชายวัยหนุ่มแค้นพ่อที่เข้มงวดกับเขาตั้งแต่เขายังเด็ก พ่อรักลูกไม่เท่ากัน ลำเอียง ขณะนี้เขาเรียนจบแล้วมีการงานทำดี แต่ยังโกรธแค้นพ่อไม่หายขนาดลั่นวาจาต่อหน้าพ่อ ว่าถ้าตายก็ไม่ต้องเผาผีกัน

มนุษย์พร้อมจะโกรธคนอื่นได้ง่ายเพราะเขาสนใจและรักตัวเองมากไป มักจะจับผิดคนอื่น หรือโยนความผิดไปให้คนอื่น หรือตั้งมาตรฐานตัวเองสูงมากจนมองคนอื่นทำผิดได้ง่าย เพราะไม่เข้ามาตรฐานที่เขาตั้งเอาไว้หรือผิดหวังเพราะคิดว่ามนุษย์ทุกคนจะต้องมีความดีพร้อม ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ และมนุษย์ก็ไม่พร้อมจะให้อภัย หรืออยากล้างแค้นให้สมใจเสียก่อน หรือเกิดความระแวงว่าจะเกิดความเจ็บปวดขึ้นอีก

หลายๆ คนคอยเตือนความทรงจำเกี่ยวกับความโกรธแค้นด้วยการคิดถึงบ่อยๆ หรือจดบันทึกเหตุการณ์ที่โกรธเอาไว้ ยิ่งทำให้ไม่สามารถลืมได้ แถมจะยิ่งโกรธแค้นมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถอภัยได้เลยจนตาย


คนที่ไม่อภัยคือคนแพ้

ถ้าเราโกรธใครเพราะคิดว่าเขาทำผิดต่อเรา และเราไม่ให้อภัยเขานั่นก็เหมือนกับเราคือผู้แพ้ เขาคือผู้ชนะ เพราะเราจะให้เวลาและความสำคัญกับเขาบ่อยๆ ยิ่งคิดก็ยิ่งทุกข์ทำอะไรก็ไม่ได้ ตัวเราเองจะทุกข์มากขึ้น ส่วนเขาจะทุกข์หรือไม่ เราไม่รู้ ตกลงเราคือผู้แพ้ เขาคือผู้ชนะ

แต่ถ้าหากเราให้อภัยได้ เราไม่แคร์ว่าเขาจะทำอย่างไรกับเรา เรื่องมันผ่านไปแล้วเป็นเรื่องของอดีต เราก็จะกลายเป็นผู้ชนะทันที ถ้าเขาทำผิดกฎหมายก็ให้ต่อสู้ในแง่กฎหมาย

ถ้าเขาผิดโดยเราต่อสู้ไม่ได้และเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ก็ต้องคิดว่าเป็นเรื่องของวิบากกรรม ที่เราอาจจะเคยทำสิ่งที่ไม่ดีกับเขาเอาไว้ก่อนในอดีต ผลกรรมจึงตามมาทำให้เราทุกข์เราต้องถ่อมตัว ถ่อมใจ ยอมรับความทุกข์นั้น และทำดีให้มากขึ้นโดยหวังว่าผลของการทำดีนั้นจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น พ้นจากวิบากกรรมนั้นได้เร็วๆ ส่วนเขาที่ทำความผิดกับเรา ทำให้เราเดือดร้อน เจ็บปวด เขาก็จะได้รับผลของการกระทำนั้นเองในอนาคต

ต้องเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมเอาไว้บ้าง จะได้มีแนวคิดที่สร้างสรรค์ได้ ไม่จนมุม ถ้าไม่เชื่ออย่างนี้ก็จะเกิดการยกตัวโดยคิดว่าตัวเองถูกต้อง คนอื่นผิด และโทษคนอื่นตลอดเวลา จะยิ่งทุกข์มากขึ้น


คนที่ไม่ให้อภัยนั้นจะมีความทุกข์เสมือนมีบาดแผลในใจหรือมีหนามชีวิตที่คอยทิ่มแทงจิตใจตัวเอง ให้เจ็บปวดตลอดเวลาที่นึกถึงเป็นเรื่องทรมานมาก เวลาคิดขึ้นมาจะมีความเครียด รู้สึกเจ็บปวด มีการหลั่งสารคลายความเครียดคือ Adrenaline และ Cortizonine (ไม่แน่ใจต้นฉบับขาดตรงคำนี้น่ะค่ะ) ในสมองแต่ถ้าให้อภัยแล้วจิตใจสบาย พร้อมจะรักตัวเองเป็นและรักคนอื่นได้ มีความคิดสร้างสรรค์ได้ จะมีการหลั่งสารของความสุข Endophine ในสมองได้

เทคนิคการให้อภัยผู้อื่น

การให้อภัยนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต้องตั้งใจทำ และต้องรู้ประโยชน์ของการให้อภัยรู้จักโทษ ของการไม่ให้อภัยให้ดีด้วย และลองๆ ทำตามคำแนะนำดังนี้ครับ

1. จงสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองให้มากขึ้นโดยให้มีความพร้อมจะให้อภัยคนได้ง่ายขึ้น และโกรธคนได้น้อยลง เพราะรู้แล้วว่าถ้าโกรธแค้นแล้วไม่ดีอย่างไร และรู้ว่าการให้อภัยเป็นสิ่งที่ยาก แต่มีผลดีมาก เราจะสร้างภูมิคุ้มกันได้โดยขอให้ถ่อมตน อธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุณนับถือทุกคืนว่า ขอให้คุณได้รับพลังจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น เพื่อทำให้คุณ
สามารถรักคนอื่นได้มากขึ้น
สามารถให้คนอื่นได้มากขึ้น
สามารถให้อภัยคนอื่นได้มากขึ้น
และขอให้คุณ ได้รับความรักจากคนอื่นมากขึ้น
ได้รับการให้จากคนอื่นมากขึ้น
ได้รับการให้อภัยจากคนอื่นมากขึ้น
จะทำให้คุณมีความพร้อมจะให้อภัยคนอื่นได้มากขึ้นและง่ายกว่า และเป็นการเตรียมตัวถ่อมตัว รับเอาพลังจากสิ่งที่อยู่เหนือกว่าคุณที่คุณนับถือ มาไว้ในใจของคุณเพื่อให้คุณมีพลัง จะทำในสิ่งที่ยากนี้ได้ดีขึ้น


2. ใช้สติ ปัญญา ให้มากขึ้น โดยให้คิดว่า คนที่ทำให้เราโกรธนั้นเขาอาจจะมีข้อบกพร่องในตัว ซึ่งเป็นความปรกติของบุคคลทั่วไป ที่เกิดมามีความบกพร่องในตัวทุกคน และมีความไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน จะทำให้เรามองความผิด และความบกพร่องของเขาเป็นเรื่องปรกติ รวมทั้งตัวเราก็สามารถทำความผิดหรือมีความบกพร่องได้ด้วย

คนที่มีความบกพร่องนั้นจะได้รับความทุกข์จากความบกพร่องของเขา เช่น คนที่ปากพล่อยชอบด่าว่า ก้าวร้าวต่อคนอื่น เขาก็จะมีศัตรูมาก เมื่อเขาโกรธง่ายก็ทำให้เป็นโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง หรือมีภูมิต้านทานต่ำได้ง่าย

เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าหากเขารังแกเรา ทำให้เราทุกข์ ก็ให้คิดว่าเป็นเรื่องของวิบากกรรม ตามมาถึงเราให้ถ่อมใจรับเสียและทำความดีมากขึ้น (ในกรณีที่ต่อสู้ด้วยกฎหมายไม่ได้ แต่ถ้าหากต่อสู้ด้วยกฎหมายได้ก็ให้ดำเนิน ตามกฎหมายไป ถ้าสู้แล้วแพ้ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องของวิบากกรรมดังกล่าวแล้ว ให้ถ่อมตัวยอมรับและรีบทำความดีให้มากขึ้น

ถ้าไม่อยากต่อสู้ทางด้านกฎหมายและความแค้นยังคาใจอยู่ ก็ให้นึกถึงผลของความแค้นของเรา ที่ทำให้สารของความเครียดหลั่งออกมา เกิดความไม่เป็นสุขและเป็นโรคทางกายตามมาได้มาก เพราะใจของเราจะใฝ่คิดถึงแต่ความทุกข์เสมอๆ

ถ้ายังแค้นอยู่และไม่ให้อภัยเท่ากับเราเป็นผู้แพ้ เพราะยิ่งคิดยิ่งแค้นและทำอะไรไม่ได้ ไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์ตลอดเวลา แต่ถ้าเราแค้นและให้อภัยได้ เราคือผู้ชนะ เพราะเราไม่แคร์ว่า เขาทำอะไรให้เราในอดีตแล้ว เราคิดเป็นแล้ว เราทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่และลำบากคือการให้อภัยได้แล้ว ผลของการทำความผิดของเขาที่ทำต่อเรานั้น ให้เป็นเรื่องการตัดสินและลงโทษ ตามกติกาของกฎแห่งกรรมเถิด


 3. ให้ถ่อมตัวให้มากขึ้นอีก สติปัญญา และวิจารณญาณจะเกิดขึ้นได้มากขึ้นอีกโดยคิดได้ว่า
เราตั้งมาตรฐานตัวเองสูงเกินไปหรือเปล่า ระแวงมากไปไหม คิดมากไปไหม จับผิดเขามากไปไหม ทำให้คิดว่าเขาทำผิดต่อเรา และย้ำคิดซ้ำๆ มากไปจนเกิดความทุกข์จากความโกรธแค้นมากไปหรือเปล่า

เกิดความเข้าใจสภาพปรกติของมนุษย์ว่าต้องมีความผิดความบกพร่องและสามารถยอมรับ ความบกพร่องของคนอื่นได้เห็นใจในความผิดบกพร่องของงเขาได้อยากช่วยเหลือเขา และจะอภัยได้ง่ายขึ้นเพราะรู้ว่าเขาก็ทุกข์จากข้อบกพร่องของเขา เขาไม่ได้มีความสุข จากการทำผิดต่อเราอย่างที่เราคิดหรอก

ทุกอย่างที่เราคิดโกรธแค้นแล้วเกิดความทุกข์นั้น ไม่ใช่ทุกข์ถาวรหรอก ทุกอย่างจะแปรเปลี่ยนไป ตามกฎของปรมัตถ์สัจจะที่มีความเป็นอนิจจังทั้งนั้น อย่าไปคิดยึดติดว่าเราจะต้องทุกข์มากๆ ตลอดไป จงหาทางคลายทุกข์ให้ผ่านไปเร็วๆด้วยการให้อภัยไม่ดีกว่าหรือ (ถ้าคิดอย่างนี้ถือว่ามีวิจารณญาณ หรือ Insight ได้แล้ว)


4. ให้ออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวและไม่แข่งขัน (Aerobic Exercise) เช่นการวิ่งจ๊อกกิ้ง เพื่อให้สารความสุขหลั่งออกมาและให้นึกถึงภาพตัวเองมีความสุขจากการให้อภัยคนอื่น และให้นึกถึงภาพตัวเองมีความทุกข์จากการไม่ให้คนอื่น จะทำให้อยากให้อภัยได้ง่ายขึ้น

5. ชื่นชมตัวเองให้มากๆเมื่อคิดได้ดังกล่าว หรือเริ่มลงมือทำอะไรเพื่อการให้อภัยดังกล่าวแล้ว จะเกิดกำลังใจได้มากขึ้น

ผู้ให้อภัยคือผู้ชนะ

เมื่ออภัยได้แล้วจะเกิดปรากฎการณ์ดังนี้ 

1. คุณคือผู้ชนะ เพราะคุณไม่แคร์เขาแล้ว
2. คุณไม่ผูกมัดตัวเองกับหนามชีวิต หรือบาดแผลหัวใจต่อไปแล้ว เลิกเจ็บปวดกับมันเสียที
3. สารความสุข Endophine ก็จะหลั่งในสมองมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น
4. ชื่นชมตัวเองได้มากขึ้น เพราะว่าสามารถทำสิ่งที่ยากแต่สร้างสรรค์ได้แล้ว หัวใจคุณจะเปิดรับการรักคนอื่นได้มากขึ้นแทนการรักตัวเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับตนเองตรงที่คุณรู้จัก รักคนอื่นได้มากนี่แหละครับ


ปกติมนุษย์เราจะรักคนที่รักมนุษย์เป็น ทั้งนี้เพราะอยู่ด้วยแล้วจะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเป็นมิตร การให้อภัยนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมของชีวิตเชียวน่ะครับ เพราะทำได้ยาก ลดความทุกข์ได้มาก เกิดความสร้างสรรค์มากและเป็นการยกระดับจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นมากมาย คุณจะไม่ลองทำดูเดี๋ยวนี้หรือครับ 


ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=27&t=38854

165  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังโดนวิบากกรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 03:00:09 pm
แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังโดนวิบากกรรม

เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยาก
อย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก
(ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้น จึงได้บรรลุ
โพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอัน
บุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด (บัดนี้)
เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้า-
โศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุ
กำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุ
สงฆ์ ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล.


กรรมก้อนหิน
ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับใส่ลงในซอกเขา และบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหิน ก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด


กรรมช้างนาฬาคีรี
ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนีแม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในคอก (ท้อง) เขา (วงกต) เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ ในกาลก่อน


กรรมไม่ได้ดื่มน้ำ
เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา



กรรมที่ถูกนางจิญจมานวิกามากล่าวตู่
เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง


กรรมบริโภคข้าวแดง
เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน ในกาลนั้น


ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=40883
166  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถอนพิษความทรงจำอันเจ็บปวด (พระไพศาล วิสาโล) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 12:42:14 pm

 
 
ถอนพิษความทรงจำอันเจ็บปวด

พระไพศาล วิสาโล


ในชีวิตของเราย่อมมีเหตุการณ์มากมายที่ยากจะลืมเลือนได้
จะวิเศษเพียงใดหากเหตุการณ์เหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องที่หวานชื่นระรื่นใจ
แต่ความจริงก็คือ มันมักเป็นเรื่องราวที่ขมขื่น หนาวเหน็บและเจ็บปวด
นึกทีไรความเศร้าโศก โกรธแค้น หรือรู้สึกผิดก็เกาะกุมใจ
ครั้งแล้วครั้งเล่าที่อยากกำจัดมันออกไปจากความทรงจำ
แต่ยิ่งพยายามกำจัด มันก็ยิ่งประทับแน่น
ยิ่งผลักไสมันให้ไกล มันก็ยิ่งโผล่หน้ามาหลอกหลอน

จะว่าชะตากรรมชอบเล่นตลกกับเราก็ได้
แต่อันที่จริงแล้วตัวการมิใช่อะไรอื่นเลย
หากเป็นธรรมชาติของใจเราเอง
สิ่งใดที่เราเกลียดหรือรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ มันจะมีแรงดึงดูดต่อใจของเรา
สังเกตไหมเวลาเราโกรธเกลียดใคร เราจะนึกถึงคนๆ นั้นบ่อยๆ
เศร้าโศกเสียใจเรื่องอะไร มันก็จะยิ่งผุดโผล่ขึ้นมาในใจ
แต่นั่นยังไม่เท่าไร ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเราพยายามผลักไสหรือกำจัดมัน
มันยิ่งตามมารบกวนจิตใจบ่อยขึ้น แม้กระทั่งในยามหลับ

ที่ออสเตรเลียเคยมีการทดลองกับนักศึกษาจำนวน ๑๐๐ คน
โดยให้แต่ละคนเลือกความนึกคิดมาหนึ่งเรื่องที่เขาไม่ชอบแต่มักปรากฏในจิตใจ
จากนั้นก็ให้นักศึกษาครึ่งหนึ่งกดข่มความคิดนั้นก่อนนอน ๕ นาที
เมื่อตื่นขึ้นมาให้ทุกคนรีบเขียนบันทึกเกี่ยวกับความฝันในคืนนั้นทันที
การวิเคราะห์พบว่า นักศึกษากลุ่มหลังนี้
ฝันถึงความคิดดังกล่าวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กดข่มมัน

การทดลองนี้ยืนยันว่า
ยิ่งอยากกำจัดความคิดหรือความทรงจำอย่างใดอย่างหนึ่ง
มันยิ่งตามมารบกวนทั้งในยามตื่นและหลับ


ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

การค้นพบทางด้านประสาทวิทยาอาจให้คำตอบในเรื่องนี้ได้
เมื่อประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้น หรือเศร้าโศก
ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งไปกระตุ้นให้อามิกดาลา
(สมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์)
สั่งการให้มีการบันทึกความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
ฮอร์โมนดังกล่าวหลั่งออกมามากเท่าไร
ความจำในเรื่องนั้นๆ ก็จะยิ่งฝังลึกโดยมีอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปย้ำ

อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากเหตุการณ์เหล่านั้น
จึงเป็นตัวการสำคัญที่ตอกย้ำความทรงจำให้ประทับแน่นมากขึ้น
ยิ่งเจ็บปวดมากเท่าไร ก็ยิ่งลืมเลือนได้ยาก
แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนี้เท่านั้น
ตอนที่หวนระลึกถึงเหตุการณ์นั้นอีก แล้วเราเกิดความรู้สึกเจ็บปวดตามมา
แถมยังพยายามจะไปกำจัดมัน ความเครียดที่เกิดจากกระบวนการดังกล่าว
ยิ่งทำให้ความทรงจำนั้นฝังลึกมากขึ้น

ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้มันฝังลึกมากไปกว่านี้
อย่างแรกที่ต้องทำก็คือ อย่าไปรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับความทรงจำดังกล่าว
เมื่อเหตุการณ์ใดๆ ผุดโผล่ขึ้นมาในใจ อย่าไปหงุดหงิดหรือโกรธเกลียดมัน
ปล่อยมันไป ไม่ต้องสนใจมัน รวมทั้งไม่ต้องอยากไปกำจัดมันด้วย
เพราะถ้าเราหงุดหงิดใส่มัน โกรธเกลียดมัน หรืออยากกำจัดมันเมื่อไร
ฮอร์โมนความเครียดจะหลั่งออกมาและทำให้ความทรงจำในเรื่องนั้นฝังลึกขึ้น

เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ในอดีตได้
แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงท่าทีหรือความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้
แทนที่จะพยายามปฏิเสธมัน
หรือผลักไสกดข่มความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านั้น
เราลองหันมายอมรับมันหรือวางใจเป็นกลางกับมัน
ใหม่ๆ อาจทำได้ยาก แต่เราสามารถฝึกใจได้ด้วยการนั่งนิ่งๆ ทำใจให้สงบ
แล้วค่อยๆ นึกถึงเหตุการณ์นั้น เมื่อความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้น
ก็ให้รับรู้เฉยๆ โดยไม่พยายามกดข่มหรือปฏิเสธมัน
เปิดใจต้อนรับเสมือนเป็นเพื่อนสนิทของเรา
หากอยากร้องไห้ ก็ขอให้ร้องไห้ออกมา
หากมีเพื่อนหรือประจักษ์พยานรับรู้ด้วย ก็ยิ่งดี
การที่เรากล้าเปิดเผยเรื่องราวเหล่านี้ให้เขาฟัง
แสดงว่า เราทำใจยอมรับมันได้มากขึ้นแล้ว

เมื่อใดก็ตามที่เราวางใจเป็นกลาง สงบ ไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์ในอดีต
เหตุการณ์เหล่านั้นก็ไม่อาจโบยตีหรือหลอกหลอนเราได้อีกต่อไป
มันอาจจะไม่เลือนรางในเร็ววัน แต่ก็จะรบกวนจิตใจเราน้อยลง
ถึงจะมาปรากฏในมโนสำนึกอีก แต่ก็ไร้พิษสง ไม่ทำให้เราเจ็บปวดอีก
แต่เดิมที่เคยเป็นเสมือนแผลเรื้อรัง ที่แตะต้องเมื่อไร ก็เจ็บเมื่อนั้น
บัดนี้แผลได้สมานสนิท แม้จะเป็นแผลเป็น
แต่ก็แตะต้องได้โดยไม่รู้สึกเจ็บปวดอีกต่อไป

ความทรงจำเกี่ยวกับความผิดหวัง พลัดพราก สูญเสียในอดีตนั้น
ไม่จำเป็นต้องพ่วงมากับความรู้สึกเจ็บปวด โกรธแค้น เศร้าโศกเสมอไป
และมันมิใช่สิ่งเลวร้ายไปเสียหมด
แต่ยังสามารถเป็นต้นทุนที่เพิ่มประสบการณ์ชีวิต
ทำให้เราเข้มแข็งและมีปัญญามากขึ้น
ใช่หรือไม่ว่านี้คือ หัวใจสู่ชีวิตที่สงบเย็นและเป็นสุข

ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=36228
167  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน..สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 12:59:15 pm


บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

วันนี้อาตมาจะเทศน์ เรื่อง “บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน”
คำว่า บุญ แปลแบบไทยๆ ว่า ความดี ความสะอาดแห่งจิต
เวลาให้ของแก่พระสงฆ์เรียกว่าทำบุญ
ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนาเรียกว่าทำบุญ
ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนามีอยู่ด้วยกันมากมายหลายวิธี
แต่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในธรรมะเรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 3
ซึ่งประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา
เคยมีคนถามอาตมาว่าเกิดมาเป็นคนยากจนไร้ทรัพย์จะทำบุญอย่างไร


อาตมาก็ตอบเขาไปว่าการทำบุญ ไม่จำเป็นต้องมีทรัพย์สินเงินทอง
ก็สามารถที่จะร่วมทำบุญได้ แถมยังประหยัดอีกด้วย
นั่นคือ การรักษาศีลและการเจริญภาวนา
ซึ่ง 2 อย่างนี้จะได้อานิสงส์ผลบุญมากกว่า การให้ทาน เสียอีก
เพียงแต่ญาติโยมมองข้ามกันไป
โยมมักจะคิดทำบุญแต่การให้เท่านั้นเพราะว่ามันง่ายดี
แต่การรักษาศีลและการเจริญภาวนา
ต้องเสียสละเวลาในการปฏิบัติ จึงรู้สึกว่าทำยากกว่า
การทำบุญทุกอย่าง โยมต้องเข้าใจด้วยว่า
เพียงแต่เราตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะทำบุญเท่านั้น โยมก็ได้กุศลแล้ว
แต่บุญที่ได้รับยังเป็นส่วนน้อย ถ้าอยากได้บุญเต็มที่ต้องทำบุญให้ครบ 3 อย่าง


ทาน
คือ การให้ ถ้ามีเงินทองมากก็ทำมาก
มีเงินน้อยก็ทำน้อยตามกำลังตน
ถ้าไม่มีเงินทองใช้แรงกายก็ให้เป็นทานได้

 
ศีล
พวกท่านทั้งหลายสังเกตหรือไม่ว่า
เวลาที่ญาติโยมจะมาทำบุญ
ทำไมพระท่านถึงให้พวกญาติโยมรับศีลก่อน
เพราะท่านต้องการที่จะทำให้ผู้ให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์
เมื่อทำบุญขณะนั้นก็จะได้รับผลเต็มกำลัง
จริงอยู่ที่บางคนไม่อาจถือศีลได้ตลอดเวลา
อาจเป็นเพราะหน้าที่การงาน ทำให้ต้องผิดศีล
แต่เราก็สามารถที่จะถือศีลได้ในขณะที่เรานอนในเวลากลางคืน
และถือได้ครบทั้ง 5 ข้อด้วย
เพียงแต่เราอาราธนารับศีลทั้ง 5 ด้วยตนเองที่หน้าพระพุทธรูปที่บ้าน
ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญที่ง่ายมากได้รับผลเต็มกำลัง
ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตใจเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา
แต่ถ้าเกิดเราต้องตายในขณะนั้นก็ส่งผลให้เราไปสู่สุคติทันที


ภาวนาหรือการสวดมนต์
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่า
การภาวนาสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก
แต่ความจริงแล้วการสวดมนต์ภาวนา มีประโยชน์อย่างมากมาย
เพราะการสวดมนต์ภาวนา
เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
การสวดมนต์ภาวนาด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ
และใช้สติพิจารณาเกิดเป็นปัญญา เป็นความรู้ความเข้าใจ
ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ภาวนาทำให้บรรลุไปสู่พระนิพพาน


“หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง” ขอให้ญาติโยม
จงแผ่เมตตาและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้งตามนี้


“ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนาม
ทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้นเทวโลก มนุษย์โลก มารโลก ยมโลก
อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
และในหมื่นโลกธาตุกับอีกแสนจักรวาลพิภพ
ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า
ขอให้ทุกรูปทุกนามจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
ขอให้ทุกรูปทุกนามจงโมทนาในส่วนกุศลนี้
พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้า
จะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ”


บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที
ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้ากันหรอกนะจ๊ะ ขอเจริญพร


ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=30179


168  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม (ดร.สนอง วรอุไร-ฐิติขวัญ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2012, 11:41:12 am


หญิง-ชาย ใครว่าเท่าเทียม

เรื่องโดย ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา


ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัตฒนา ลูกศิษย์เจ้าปัญหา กับ อาจารย์ ดร.สนอง วรอุไร ผู้เปี่ยมประสบการณ์ทั้งทางโลกและทางธรรม จะสนทนากันเรื่องสิทธิสตรีว่า แท้จริงแล้วในทางธรรมผู้หญิงจะเท่าเทียมกับผู้ชายได้หรือไม่ และการเรียกร้องสิทธิสตรีที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกนั้น แท้จริงแล้วที่ถูกต้อง ควรทำแค่ไหน อย่างไร
 
อาจารย์คะ การเกิดเป็นผู้หญิงนั้น เห็นได้ชัดว่าต้องใช้ชีวิตอย่างมีข้อจำกัดมากกว่าผู้ชาย ในทางธรรมแล้ว เพศหญิงไม่เท่าเทียมกับเพศชายจริงไหมคะ
จริงลูก ถ้าหมายถึงโลกิยธรรม เพราะตามธรรมชาติแล้วเพศหญิงกับเพศชายนั้นไม่เท่าเทียมกัน เพราะผู้หญิงอยู่ในเพศที่ไม่ปลอดภัย มีสภาวะของจิตอ่อนไหว มีสรีระบอบบาง และรับสิ่งกระทบมาปรุงอารมณ์ได้มากกว่าเพศชาย จึงเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ง่าย ทำให้ต้องมีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตมากกว่า ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลของภิกษุณีสงฆ์ไว้ถึง ๓๑๑ ข้อ ในขณะที่ศีลของภิกษุสงฆ์ทรงบัญญัติไว้เพียง ๒๒๗ ข้อเท่านั้น

 ๏ ทำไมล่ะค่ะอาจารย์

เพราะจิตที่อยู่ในร่างกายของเพศหญิงนั้นต้องอาศัยศีลมากกว่า ถึงจะคุมจิตมิให้หวั่นไหวได้เท่าเทียมกับจิตที่อยู่ในร่างของเพศชาย

 ๏ หมายความว่าจิตของผู้หญิงมีความแน่วแน่และมีพลังน้อยกว่าผู้ชายหรือคะ

ไม่ใช่ลูก ตัวจิตเองนั้นมีศักยภาพเท่าเทียมกัน แต่ร่างของเพศหญิงเป็นร่างที่เปิดโอกาสให้จิตรับสิ่งกระทบมากกว่าร่างของเพศชาย จึงต้องอาศัยศีลมากกว่าในการควบคุมกาย วาจา ใจ ของเพศหญิงให้บริสุทธิ์ แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จิตของทั้งเพศชายและเพศหญิงจะมีศักยภาพเท่ากัน

 ๏ ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่า ผู้หญิงบรรลุธรรมยากกว่าผู้ชายใช่ไหมคะ

ยากกว่า เพราะจิตอยู่ในร่างที่รับสิ่งกระทบมากกว่า

 ๏ อย่างนี้การเกิดเป็นผู้ชายก็นับว่าโชคดีกว่าการเกิดเป็นผู้หญิงจริงๆ น่ะสิคะ

ใช่ลูก โชคดีกว่าในด้านการพัฒนาจิตให้เข้าถึงธรรม เพราะการอยู่ในเพศหญิงนั้นมีข้อจำกัดมาก เช่น ถึงแม้จะเก่งแค่ไหนก็ตาม แต่การดำรงชีพแต่เพียงผู้เดียวสำหรับผู้หญิงเป็นเรื่องอันตราย ดูอย่างพระอุบลวรรณาสิ แม้จะบรรลุอรหัตผลแล้ว แต่ก็ยังถูกนันทมาณพข่มขืน เพราะท่านไปปฏิบัติธรรมอยู่แต่เพียงผู้เดียวที่กุฏิในป่าอัมพวัน ด้วยเหตุนี้ ในพระวินัยจึงระบุไว้ว่า ภิกษุณีห้ามอยู่วัดโดยไม่มีภิกษุสงฆ์อยู่ด้วยเพราะจะไม่ปลอดภัย นี่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าต้องบัญญัติศีลอีกหลายๆ ข้อสำหรับภิกษุณีสงฆ์ เช่น ภิกษุณีสงฆ์แม้จะบวชมานานเท่าไร หรือบรรลุธรรมขั้นไหนก็ตาม ยังต้องกราบไหว้พระภิกษุที่บวชแม้เพียงวันเดียว ฯลฯ นี่เป็นกุศโลบายย้ำเตือนเพศหญิงให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ให้อัตตานำหน้าจนคิดว่าฉันอยู่ได้ด้วยตัวเอง เพราะไม่ว่าใครจะมีความเห็นอย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติที่แท้จริงแล้ว การเกิดเป็นผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับการเกิดเป็นผู้ชาย
 
ถ้าอย่างนั้นการออกมาเรียกร้องสิทธิสตรีที่ทำกันอยู่ทั่วโลก ก็เป็นสิ่งที่ผิดนะสิคะ

การเรียกร้องสิทธิสตรีให้เท่าเทียมกับผู้ชาย เป็นสิ่งที่คนทางโลกเขาทำกัน โดยไม่ดูความถูกต้องในทางธรรม เรื่องอย่างนี้ในทางโลกอาจจะเรียกร้องให้เกิดการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันได้ แต่ในทางธรรมแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้
 
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ผู้หญิงทั้งหลายจะอยากเกิดเป็นผู้ชายหรือเปล่าค่ะ
ไม่จำเป็น เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับความปรารถนาของแต่ละคน เพราะไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็มีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพียงแต่ก่อนที่จะบรรลุนั้น ความเสมอภาคทางร่างกายมีต่างกัน แต่ความเสมอภาคทางจิตใจเมื่อบรรลุธรรมแล้วมีเหมือนกัน
 
กรรมอะไรทำให้คนเราเกิดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายคะ

หนึ่ง คือ การประพฤติ สอง คือ ความปรารถนา เหมือนในครั้งพุทธกาล เจ้าหญิงโคปกาเกิดเป็นผู้หญิงแล้วรู้สึกว่าเป็นเพศที่มีภาระและปัญหามาก จึงอธิษฐานขอเกิดเป็นผู้ชาย แล้วทำเหตุให้ถูกตรง ในที่สุดจึงไปเกิดเป็นโคปกเทพบุตรอยู่บนสวรรค์

การทำเหตุให้ถูกตรงสำหรับการไปเกิดเป็นผู้ชาย ก็คือการประพฤติจริยธรรมของการเป็นผู้หญิงให้ถูกตรงตามธรรม เช่น ทำตัวเป็นลูกสาวที่ดี เป็นภรรยาที่ดี เป็นแม่ที่ดี นอกจากนั้นก็ต้องทำจิตให้มีลักษณะแบบผู้ชาย เช่น ทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก เพราะถ้าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นั่นคือลักษณะนิสัยที่จะทำให้ไปเกิดเป็นผู้หญิงต่อไปอีก

 
อาจารย์คะ ถ้าผู้หญิงมีศักยภาพที่จะบรรลุธรรมได้ไม่ต่างจากผู้ชาย แล้วทำไมปัจจุบันนี้การบวชเป็นภิกษุณี จึงเป็นสิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาในบ้านเมืองเราล่ะคะ

อาจารย์ต้องเท้าความอดีตก่อนว่า ในครั้งพุทธกาล พุทธบริษัท ๔ นั้นประกอบไปด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา

ภิกษุณีรูปแรกของพระพุทธศาสนาคือ พระมหาปชาบดีโคตรมี ซึ่งเป็นพระมาตุจฉาหรือพระน้านางของพระพุทธเจ้า แต่กว่าจะได้บวช พระพุทธเจ้าทรงไม่อนุญาตอยู่ถึง ๒ ครั้งจนกระทั่งในครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตรมีทรงปลงผมและนุ่งผ้าย้อมฝาด แล้วเดินเท้าเปล่าจากรุงกบิลพัสดุ์มายืนร้องไห้อยู่หน้ากุฏาคารศาลาที่แคว้นวัชชี พระอานนท์ออกไปเห็นเข้าจึงไปถามไถ่ดู เมื่อได้ความแล้วจึงรับอาสาไปจัดการให้และเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เมื่อผู้หญิงปฏิบัติธรรมแล้วจะบรรลุธรรมได้ไหม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบว่าได้ พระอานนท์จึงทูลถามต่อว่า แล้วเหตุใดจึงทรงไม่อนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตรมีบวช ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องประพฤติครุธรรม ๘ ประการ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อวัดใจผู้บวชที่เป็นหญิงว่ามีความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาจริงๆ

 
ทำไมพระพุทธเจ้าถึงไม่ทรงอนุญาตให้ผู้หญิงบวชได้ตั้งแต่แรกคะอาจารย์
เพราะทรงเกรงว่า หากรับเพศหญิงที่ไม่มีความมั่นคงในพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวชแล้ว อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของภิกษุได้ เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน ด้วยเหตุนี้เมื่อทรงอนุญาตแล้วจึงทรงบัญญัติไว้ด้วยว่า การบวชเป็นภิกษุณีนั้นต้องบวชด้วยสงฆ์สองฝ่าย คือทั้งฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

ทุกวันนี้ประเทศที่ปฏิบัติตามพระวินัยข้อนี้ได้ มีเหลืออยู่เพียงประเทศศรีลังกา ด้วยเหตุนี้ภิกษุณีในประเทศไทยของเราจึงต้องไปบวชมาจากประเทศศรีลังกา แล้วค่อยกลับมาเป็นภิกษุณีสงฆ์อยู่ที่บ้านเรา แต่อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทย


แล้วอย่างนี้ในฐานะชาวพุทธ เราควรจะเห็นด้วยกับการมีภิกษุณีในเมืองไทยไหมคะ
ขึ้นอยู่กับสภาวะความรู้แจ้งของจิต หากจิตของเรามีปัญญาเห็นแจ้งแล้ว เราย่อมรู้ว่าไม่ว่าจิตจะอยู่ในเพศชายหรือหญิงก็สามารถบรรลุธรรมได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่มีเพศ ด้วยเหตุนี้ผู้รู้จริงจึงเห็นด้วยกับการอนุญาตให้ผู้หญิงบวช เพราะรู้ว่าการบวชเป็นเรื่องของจิตที่มีศักยภาพในการบรรลุธรรมได้เท่าเทียมกัน ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เข้าใจนะลูก

 ๏ เข้าใจแล้วค่ะอาจารย์

ครุธรรม ๘ ประการ (โดยสรุป) ได้แก่

๑. ภิกษุณีต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้มีอายุพรรษาน้อยกว่าเสมอ

๒. ภิกษุณีต้องจำพรรษาในวัดที่มีภิกษุอยู่ด้วยเสมอ

๓. ภิกษุรีต้องเป็นฝ่ายรับการสั่งสอนจากภิกษุเสมอ

๔. ภิกษุต้องปวารณาในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

๕. เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติหนักรองจากปาราชิก) จะต้องประพฤติมานัตต์ (การเข้าปริวาสกรรม-การอยู่ในบริเวณที่กำจัดและปฏิบัติธรรมเป็นเวลาต่อเนื่องเพื่อลดละกิเลส) ตลอดปักษ์ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

๖. ภิกษุณีต้องเป็นผู้ศึกษาธรรมและรักษาศีล ๖ ข้อ (เพิ่มข้อห้ามกินยามวิกาลจากศีล ๕) เป็นเวลา ๒ ปี ก่อนจะได้รับการบวชโดยสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

๗. ห้ามมิให้ภิกษุณีด่าว่าภิกษุสงฆ์ไม่ว่าในกรณีใดๆ

๘. ห้ามมิให้ภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ

ทั้งหมดนี้เป็นธรรมที่ภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ เคารพ บูชาและไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต


ที่มา     http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37014
 
 
 
 
169  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กำลังจะตายนึกถึงอะไรดี? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2012, 04:38:09 pm
กำลังจะตายนึกถึงอะไรดี?

ช่วงนี้ข่าวแผ่นดินไหวและภัยพิบัติเริ่มซาๆไป
ช่วยให้ชาวโลกส่วนใหญ่คลายวิตก
และเลิกคุยเรื่องโลกแตกทั้งวันเสียได้

ผมเห็นเป็นจังหวะดีที่จะชวนคุยเรื่องมรณสติ
ในแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว
เพราะห่างข่าวน่าเหงื่อตกออกมาบ้าง
แต่ขณะเดียวกันก็ยังรู้สึกว่ามีสิทธิ์ขยับเข้าใกล้ได้อีก


หลายคนได้ยินคำว่า "มรณสติ" แล้วยังไม่เข้าใจ
ว่าเป็นหลักการเตรียมตัวตายหรืออย่างไรแน่
แล้วถ้าจะเตรียม ควรเตรียมอย่างไร
มีวิธีที่แน่นอนเป็นขั้นเป็นตอนท่าไหนกัน


คือเราต้องเข้าใจและเห็นภาพรวมให้ได้ก่อนครับ
ขณะจะตายนั้น ตามธรรมชาติของจิตแล้ว
ถือว่าเป็นภาวะเข้าด้ายเข้าเข็มที่พลาดไม่ได้
เพราะถ้าคิดไม่ดี จิตถูกครอบงำด้วยนิมิตร้ายๆ
จนเกิดภาวะอกุศล มืดสนิท ปิดกั้นแสงสวรรค์ล่ะก็
สภาพศพจะสวยหรือไม่สวย วิญญาณก็โทรมแน่นอน


ศพไม่สวยอย่างมากก็ทิ้งไว้ให้คนข้างหลัง
จัดการลากไปเผาหรือฝังเดี๋ยวเดียวจบ
แต่วิญญาณโทรมนี่
คุณต้องก้มหน้าก้มตารับกรรมด้วยตนเองไปอีกนาน
อย่านึกง่ายๆว่าฟังพระสวดอภิธรรมในงานศพตัวเอง
แล้วจะเลื่อนชั้น สว่างไสวปรูดปราดทันใจเหมือนในหนัง


วิญญาณโทรมได้อย่างไร?สำนวนทางพุทธเรียกว่ามีจิตเศร้าหมอง
แล้วจิตเศร้าหมองได้อย่างไร?
ก็ด้วยความคิด คำพูด หรือการกระทำอันเป็นอกุศลให้หม่นมัว
ที่ชัดก็ตอนทุรนทุรายครวญครางไม่อยากตาย
หรือตื่นตระหนกกับภัยพิบัติที่ปรากฏโดยไม่คาดฝัน
ที่นับเป็นอกุศลเพราะจิตไม่สบาย ไม่สว่าง
มีแต่ความกระสับกระส่าย ภายในเหมือนมืดบอด
กระแสจิตพร้อมจะยึดติดและปักแน่นกับนิมิตร้ายๆ คลายยาก


การเตรียมตัวตายจึงไม่ใช่เรื่องอัปมงคล
ตรงข้าม เป็นมหามงคลต่างหาก
ใครจะว่าอย่างไร หาว่าตื่นข่าวเกินเหตุก็ช่าง
เราเตรียมของเราตามธรรมเนียมนิยมของเหล่าอริยสาวกเสียอย่าง
ย่อมได้ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความเป็นพุทธผู้ไม่ประมาท
เป็นไปเพื่อความมีวิญญาณสวยสด
และเป็นไปเพื่อภาวะหลังความตายที่งดงาม


โลกจะแตกหรือไม่แตกก็ไม่รู้นะครับ ไม่มีใครรู้
รู้แต่ว่าก่อนโลกจะแตกนี่
เราๆท่านๆมีสิทธิ์ตายกันทุกคน
สงกรานต์ที่ผ่านมาก็มีคนตาย
สังเวยเทศกาลแห่งการเดินทางกลับบ้านไปตั้งหลายร้อย
คนเหล่านั้นก็เคยกลัวโลกแตก
แต่ต้องมาตายเสียก่อนโลกแตก
เราเองไม่นึกว่าจะตายวันนี้
ก็ไม่แน่ว่าจะไม่ตายเช่นกัน


เมื่อกล่าวถึงนัยสำคัญว่าทำไมต้องเตรียมตัวตายแล้ว
คราวนี้ก็มาเจาะรายละเอียดว่าวิธีเตรียมเขาเตรียมกันอย่างไร
เพื่อให้เห็นการเตรียมตัวตายที่ง่ายที่สุด
ขอให้สมมุติว่าถ้าเกิดภัยพิบัติขึ้นตรงหน้าเดี๋ยวนี้เลย
คุณจะนึกถึงอะไร?


ตอบได้ไหมครับ? ถ้าตอบไม่ได้ ยังอ้ำอึ้งอึกอัก
ก็แสดงว่าคุณยังไม่เคยฝึกเตรียมตัวตายไว้ก่อน
พอถูกถามเข้าจึงนึกไม่ออก บอกไม่ถูก
ว่าควรเอาจิตไปเกาะเกี่ยวกับสิ่งใด


ผมถามแล้วนึกไม่ออกไม่เป็นไร
แต่ถ้ามัจจุราชถามแล้วนึกไม่ออก อันนั้นเป็นเรื่องแน่


หากคุณนึกออก บอกถูก
สบายใจได้ทันที อบอุ่นใจในบัดดล
ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ
คุณมีสิทธิ์ตายดีมากกว่าตายร้าย
จัดเป็นชนกลุ่มน้อยในโลกนี้ทีเดีย


ซ้อมไว้ครับ ถามตัวเองบ่อยๆว่าถ้าต้องตายกะทันหัน
เห็นอะไรใหญ่ๆกำลังจะพลิกมาทับให้ตายดับในวินาทีหน้า
เลือกหรือยังว่าจะนึกถึงอะไร
หลังจากซ้อมบ่อยเข้า
พอเจอของจริงจะนึกได้จริงๆเป็นอัตโนมัติ
ทำนองเดียวกับคนซ้อมหนีไฟไว้ดี
พอมีเรื่องขึ้นจริงๆก็ไม่ลนลาน รู้ทางหนีทีไล่ชัดเจน
พุ่งตัวไปตามทิศที่ซักซ้อมแบบไม่ต้องเงอะงะใดๆ


ถ้าถามว่าพุทธศาสนาแนะให้นึกถึงอะไร?ให้เร็วที่สุดและดีที่สุดคือพระพุทธเจ้าครับ
เพราะท่านเป็นแหล่งบุญที่ใหญ่ที่สุด
เป็นแสงสว่างที่ยิ่งกว่ามหาสุริยะในโลกวิญญาณ
แต่ถ้าคุณนึกถึงพระพุทธเจ้าเดี๋ยวนี้แล้วไม่อบอุ่น
ไม่ปีติปลาบปลื้ม เพราะไม่ค่อยได้อ่านพุทธพจน์
ไม่เคยได้ดีจากการทำตามคำสอนของท่าน
ไม่ค่อยมีความเลื่อมใสผูกพันโดยตรงจากการสวดมนต์
อันนี้ก็ไม่เป็นไร นึกถึงพระสงฆ์สาวก
นึกถึงผ้าเหลืองที่คุณมีใจผูกพันอยู่จริงๆ
ได้ดีเพราะเชื่อและทำตามท่านสอนมาแล้วจริงๆ
ก็นับว่าเป็นหลัก เป็นที่พึ่งให้อบอุ่นพร้อมไปดีได้เช่นกัน


หรือหากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคว้งคว้าง
บอกตัวเองตรงๆว่าไม่เลื่อมใสใครเลย
อดสงสัย อดระแวง
อดคิดไม่ดีต่างๆนานากับครูบาอาจารย์ไม่ได้
คุณก็ยังมีที่พึ่งเหลืออยู่ คือพระธรรมอันมีจริงในตน

สำหรับคนที่ไม่อยากมีเวรกับใคร
คนที่ฝึกอภัยไม่ผูกใจเจ็บไว้ก่อน
คนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ทานเป็นประจำ
ก็จะมีสิทธิ์เลือกรู้สึกถึงกระแสเมตตาในตน
ถ้านึกเมื่อไรรู้สึกดีเมื่อนั้น ก็แปลว่าใช้การได้ครับ


แต่ถ้านึกถึงภาวะทางใจของตนเองเดี๋ยวนี้
แล้วพบกว่ายังติด ยังข้อง ยังหม่นหมอง ยังฟุ้งซ่าน
ยังอยากด่า ยังอยากทำร้ายทำลาย
ยังอยากแก้แค้นเอาคืน หรือยังกังวล ห่วงคนโน้นคนนี้
นี่ก็ใช้การไม่ได้อีกครับ ต้องหาสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งสุดท้ายกันต่อ


มาขุดคุ้ยกันว่าเรามีดีอะไรพอใช้ได้บ้าง
ถ้าใครหมั่นตอบแทนพ่อแม่
ก็เอาบุญที่ทำไว้กับพ่อแม่มาช่วยก็ใช้ได้เหมือนกันครับ
เพราะพ่อแม่เป็นรากแห่งชีวิต
บำรุงรากไว้อย่างไร ชีวิตนี้และชีวิตหน้าก็สอดคล้องตามนั้น
ทั้งบุญที่เกิดจากความอยากให้พ่อแม่มีความสุข
ทั้งบุญที่เกิดจากความอดกลั้นไม่โต้ตอบยามพ่อแม่ร้ายใส่
อย่างไรก็ได้ นึกเป็นภาพรวมๆว่าเราอยากให้ท่านได้ดีมีสุข
ไม่อยากให้ท่านเป็นทุกข์
เท่านี้ก็เป็นการรวบรวมกำลังบุญมาทันใช้เฉพาะหน้าแล้ว
แต่ถ้าบอกว่าไม่ไหว ฝืนรู้สึกนึกคิดดีๆกับพ่อแม่ไม่ได้จริงๆ
ก็ยังมีแผนสำรองเหลืออยู่ครับ ยังไม่ต้องกลัว
พุทธศาสนาชี้แหล่งขุมทรัพย์ไว้เยอะ


เอาของติดตัวมาใช้
ให้คุณนึกว่าตอนนี้กำลังหายใจเข้าหรือหายใจออก
ถามตัวเองว่าลมหายใจนี้เป็นของคุณหรือของอะไร
จะค่อยๆเห็นว่าลมหายใจเป็นสมบัติของความแตกพัง
ขาเข้าก็ไม่เที่ยง ขาออกก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวก็ยาวเดี๋ยวก็สั้น
เป็นเพียงภาวะธรรมชาติพัดเข้าพัดออกไม่ต่างจากลมอื่นๆ
คุณจะเกิดความรู้สึกว่าใจคลาย วาง ว่างจากความถือมั่น
ไม่รู้สึกว่าลมหายใจเป็นบุคคล เป็นตัวชายหญิง
อย่างน้อยก็จะเกิดเป็นอาการทางจิตปลอดโปร่งขึ้นมาชั่วขณะ

นั่นแหละ ถ้าซ้อมนึกไว้จนชำนาญ พอถึงเวลาใช้จริง
มันจะกลายเป็นดวงธรรมชั้นเลิศ
ตีตั๋วเข้าสวรรค์หรือถึงนิพพานกันได้ง่ายๆ ไม่ต้องออกแรงมาก
เหมือนสมัยพุทธกาลที่เมื่อมีพระคอยบอกทางตาย
ท่านให้ระลึกไปเรื่อยๆว่ากายนี้ ใจนี้ มีอะไรบ้างที่เที่ยง
เมื่อจิตของเรานึกได้ว่าไม่มีอะไรสักอย่างที่เที่ยง
ไม่มีอะไรสักอย่างที่เป็นของเรา
และกระทั่งไม่มีอะไรสักอย่างที่เป็นตัวเราจริง
เมื่อนั้นจิตก็ปล่อยหมด เป็นอิสระจากอุปาทาน
พลังหนักแน่นของจิตก่อนตายที่ช่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
จะรวมกระแสที่เคยซัดส่ายให้ผนึกถึงฌาน สว่างโพลงโล่งรอบ
ปิดกั้นทางไปอบายภูมิโดยเด็ดขาด


สรุปแล้ว จะนึกถึงอะไรก็ตาม
ขอแค่ซ้อมนึกอยู่ทุกวันว่าถ้าต้องตายไม่ดี
เราจะนึกถึงสิ่งดีอันใด
ให้เกิดความอบอุ่นใจได้เร็วๆ
คุณจะไม่กลัวเลย ว่าต้องตายท่าไหน


การเดินทางข้ามภพนั้น
แตกต่างจากการเดินทางข้ามประเทศมาก
คุณไม่ต้องเข้าแถวตรวจคนเข้าเมืองกันยาวๆ
ถ้าจิตดี มีความสว่างใส
ก็เป็นตราประทับเข้าเขตสวรรค์ในตัวเองกันเลย
ช่วงก่อนจิตจะดับ จะมีอาการทบทวนชีวิต
ถ้าจิตมีกำลังดี
ก็จะเหมือนคุณนึกถึงชีวิตที่ผ่านมาขณะอารมณ์ดี
จำได้แต่เรื่องดีๆที่สร้างไว้
ราวกับไม่เคยก่อกรรมชั่วมาก่อนเลย
พลังของกรรมดีที่นึกได้แบบไหลมาเทมานั่นเอง
จะไม่ทำให้คุณสะทกสะท้าน
มีแต่รื่นเริง มีแต่อยากพุ่งไปข้างหน้า
ไม่เหลียวกลับมาดูข้างหลังแบบอิดออดอาวรณ์ใดๆอีก


ดังตฤณ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37853
170  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง (หลวงปู่โต) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2012, 04:19:19 pm

171  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เรื่อง หมาไล่งับเนื้อ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2012, 07:12:58 pm
เรื่อง หมาไล่งับเนื้อ

มีเรื่องเล่าว่า...
มีพระองค์หนึ่ง...ชอบทำอะไรแปลกๆ...
วันหนึ่ง...พวกกรุงเทพฯ...เอากฐินไปทอดที่วัด...
จัดงานกันใหญ่โต...มีหนัง...มีลิเก...มีดนตรี...
ผู้คนแห่กันมามืดฟ้ามัวดิน...
ก่อนทอดกฐิน...
ผู้คนมารวมกันเต็มศาลา...
หลวงพ่อเรียกเด็กวัดมา...
บอกให้ไปเอาเนื้อจากโรงครัวมาก้อนหนึ่ง...แล้วเอาเชือกมาด้วย...
หลวงพ่อจัดการ...เอาเนื้อ...ผูกติดกับหลังหมา...
ผูกเสร็จ...ก็ปล่อยหมา ...
หมาเห็นเนื้ออยู่บนหลัง...ก็ไล่งับ...
พอหัวโดดงับ...ตัวก็ขยับหนี...
เพราะหมามันกัดหลังตัวเองไม่ถึง...
ยิ่งโดดงับเร็ว...ก้อนเนื้อก็หนีเร็ว...
โดดไม่หยุด...เนื้อก็หนีไม่หยุด...น่าสงสารหมามาก...
หมาโดดอยู่นาน...งับเท่าไหร่...เนื้อก็ไม่เข้าปากสักที...


ผู้คนบนศาลา...พากันหัวเราะชอบใจ...

หัวเราะเยาะหมา...ว่าทำไมมันถึงโง่ยังงี้...
ไล่งับ...จะกินเนื้อ...ที่ตัวเองไม่มีทางไล่ตามทัน ตลอดชีวิต...


หลวงพ่อ...มองดูด้วยความสนุกสนานจนหนำใจแล้ว...
ก็แก้เชือกออกมากหลังหมา...
แล้วหันมาพูดกับญาติโยมว่า...


มนุษย์เรา...มีความรู้สึกว่า...ตัวเองพร่อง...ตัวเองยังไม่เต็ม...
ต้องเติมตลอดเวลา...เติมไม่หยุด...เพื่อให้ตัวเองเต็ม..
เราอยากสวย...อยากทันสมัย...
ไปหาซื้อเสื้อผ้าที่สวยที่สุด...ทันสมัยที่สุดใส่..
ดีใจได้เดือนเดียว...มีรุ่นใหม่ออกมาอีกแล้ว...สวยกว่า.ทันสมัยกว่า...
อยากได้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่...
ซื้อเสร็จ ๓ เดือน...รุ่นใหม่ก็โผล่มาอีกแล้ว...
ซื้อคอมพิวเตอร์ทันสมัยที่สุด...
๒ เดือนต่อมา...มีรุ่นใหม่กว่าออกมา...ของเราตกรุ่น...
ซื้อรถเบนซ์...ทันสมัยที่สุด...แพงมาก...
ขับได้ ๖ เดือน...มีรุ่นใหม่ออกมาอีกแล้ว...
ทันสมัยกว่า...แพงกว่า...ของเรากลายเป็นเชย...
เราต้องก้มหน้าก้มตา...ทำงานทั้งวัน ทั้งคืน...หาเงินมา...
เพื่อมาทำให้ตัวเองทันสมัย...
ซื้อเสื้อผ้าใหม่...มือถือใหม่...คอมพิวเตอร์ใหม่...รถยนต์คันใหม่...
เหน็ดเหนื่อยแสนสาหัส...
เพื่อไม่ให้ตัวเองตกรุ่น.


ปัจจุบัน...
เรากำลังไล่งับความทันสมัย...เหมือนหมาที่ไล่งับเนื้อบนหลังของมัน...
ทั้งที่รู้ว่า...ต่อให้ไล่งับทั้งชีวิต...ก็ไม่มีทางตามทัน...
น่าสงสารไหมโยม...


คนเต็มศาลา...เมื่อกี้หัวเราะครึกครื้น...

ด่าว่า...หมามันโง่...

ตอนนี้เงียบสนิท...เหมือนไม่มีคนอยู่...

ไม่รู้ว่า...กำลังสงสารหมา.

หรือ...กำลังทบทวนความโง่...ตัวเอง



ท่านละเล่นเกมไล่งับเนื้อบนหลังอยู่บ่อยๆหรือเปล่า

.....อ่านแล้วน่าคิดนะ....

ที่มา    http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=1&start=1035
172  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลของกรรมชั่ว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2012, 05:03:37 pm

ลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลของกรรมชั่ว





พระพุทธเจ้าตรัสถึงกรรมหนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปเกิดในอบายไว้ โดยทรงลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลไว้ดังนี้ คือ

๑.นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เป็นกรรมที่รุนแรงที่สุด และให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ทั้งหมด
...
๒.อนันตริยกรรม ๕ ประการ โดยความรุนแรง รองจาก นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม โดยทรงตรัสว่า ในอนันตริยกรรม ๕ อย่างนี้ เริ่มต้นแต่ สังฆเภทกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่หนักที่สุด ,รองมาคือ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ,รองมาคือ ฆ่าพระอรหันต์, รองมาคือ ฆ่ามารดา และสุดท้ายคือ ฆ่าบิดา

๓.อัตตวินิบาตกรรม ได้แก่ การฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผลรุนแรงมาก รองจาก อนันตริยกรรม


กรรมชั่วหรือกรรมไม่ดีหรืออกุศลกรรม
หรือการกระทำที่เป็นอกุศลที่จะทำให้ได้รับผลกรรมนั้น (ที่เรียกว่า
เสวยผลของกรรม) ทันทีตาย โดยไม่มีกรรมอื่นๆ มาแทรกได้เลย
เรียกว่า มิจฉัตตนิยตธรรม

มิจฉัตตนิยตธรรม
คือสิ่งที่เป็นสิ่งไม่ดี การกระทำหรือความคิดที่ไม่ดี เป็นความชั่ว
และจะทำให้ผู้กระทำได้รับผลหรือต้องเสวยผลของกรรมนั้นทันที
ที่ตายลง (คือ ไปอบาย) โดยไม่มีกรรมไม่ว่าชั่วหรือดีแค่ไหนก็ตาม
อย่างอื่น มาคั่นกลางหรือแทรกระหว่างได้เลย


มิจฉัตตนิยตธรรม มี ๒ อย่างคือ
(๑) นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
(๒) ปัญจานันตริยกรรม


- นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม -
นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม มี ๓ อย่างคือ


(ก)นัตถิกทิฏฐิ
คือ การมีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่จะได้รับความดีความชั่ว
ที่จะได้มีความสุขหรือความทุกข์ ฯลฯ ในภพข้างหน้านั้น
ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องไปจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาป
ของตนเองที่ตนทำไว้ในชีวิตปัจจุบัน [/color]

(ข)อเหตุกทิฏฐิ
คือ การมีความเห็นว่าความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ ฯลฯ
ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่ในชีวิตปัจจุบันนี้ ไม่ได้เป็นผลสืบเนื่อง
มาจากการกระทำอันเป็นบุญหรือเป็นบาปของตนเอง
ในภพก่อน


(ค)อกริยทิฏฐิ
คือ มีความเห็นว่าการกระทำของสัตว์ทั้งหลาย
ถึงแม้ว่าจะทำดีก็ไม่ชื่อว่าเป็นบุญ ถึงแม้กระทำชั่วก็ไม่ชื่อว่าเป็นบาป
แต่เชื่อว่าการกระทำไม่ว่าดีหรือไม่ดีก็แค่เป็นไปตามธรรมดา
ไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาป








-ปัญจานันตริยกรรม -


ปัญจานันตริยกรรม มี ๕ คือ

มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
สังฆเภท - ยุให้พระสงฆ์แตกหมู่แตกคณะกัน


อันนี้ ท่านอธิบายว่า อกุศลกรรมทั้ง ๘ ประเภทนี้ (นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม ๓
และปัญจานันตริยกรรม ๕) ถ้าหากใครกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในนี้แล้ว
เมื่อสิ้นชีวิตก็จะต้องได้รับผลของกรรมนั้นทันที ถึงแม้ว่าก่อนตายจะสร้าง
บุญใหญ่บุญดีเลิศขนาดไหน บุญทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่อาจช่วยให้พ้น
ไปจากการต้องรับผลกรรมชั่วเหล่านี้ทันทีที่ตายลงได้เลย

ถ้าหากใครได้กระทำกรรมไว้ทั้งสองอย่าง คือทั้งปัญจานันตริยกรรมข้อใด
ข้อหนึ่งกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมข้อใดข้อหนึ่ง ในชีวิตนั้นแล้ว
กรรมจากนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะเป็นกรรมที่ส่งให้ได้รับผลทันทีที่ตาย

นี่ก็แสดงว่า กรรมจากความเห็นผิดทั้ง ๓ ประการ อันเห็นผิดถาวร เห็นผิด
อย่างมั่นคง ปักใจอย่างแน่วแน่ ใน ๓ ประการข้างบนนี้ เป็นกรรมหนักที่สุด
หนักยิ่งกว่าปัญจานันตริยกรรม

ความเห็นผิด จึงน่ากลัวนัก และนอกจากนี้ เมื่อเห็นผิดแล้ว
ก็จะทำให้คิดผิด เชื่อผิด กระทำอะไรต่ออะไรผิดๆ
เช่น เมื่อไม่เชื่อบาปบุญก็เลยไม่ทำบุญ ไม่เชื่อบาปก็เลยทำบาปได้
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม ก็จะทำได้ทั้งดีและไม่ดี
เพราะว่าไม่เชื่อว่าความดีจะส่งผลเป็นสิ่งทีดี
เพราะไม่เชื่อว่าความชั่วจะส่งผลเป็นสิ่งที่ชั่ว
ชีวิตก็จะมีแต่ตกต่ำดิ่งลึกลงไปในหุบเหวแห่งความเห็นผิด
และการกระทำกรรมไม่ดี ยิ่งๆ ขึ้นไปได้
ไกลออกไปทุกทีจากกรรมดี จากเส้นทางแห่งปัญญา
และจากการชำระจนให้มีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์
เปี่ยมไปด้วยปัญญา ไกลออกไปยิ่งๆ จากแสงสว่างทางธรรม
ไกลออกไปจากการพ้นทุกข์




ตามที่ได้เล่าไว้ว่าโดยหลักการแล้ว
หากบุคคลใดละเมิดกรรมทั้งสองอย่าง
คือกระทำทั้งนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม
และปัญจานันตริยกรรม ในชีวิตนั้นๆ
กรรมที่จะส่งผลก่อนเพราะถือเป็นกรรมหนักกว่า
ก็คือกรรมจากนิยตมิจฉาทิฏฐิ

สิ่งที่จะมาขอเพิ่มเติมให้ครบถ้วนก็คือ
ในกรณีนี้ เมื่อนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมให้ผลไปก่อนแล้ว
แต่กรรมที่กระทำอนันตริยกรรม (คือ กระทำ
ปัญจานันตริยกรรมข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ)
ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน ไม่ได้กลายเป็นอโหสิกรรมไป
แต่อย่างใด

ตรงกันข้าม อนันตริยกรรมที่ได้กระทำไปนั้นๆ
จะรอส่งผลต่อๆ ไปเรื่อยๆ ขณะใดก็ตามที่มีโอกาสดูเพิ่มเติม





....................................................


ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=38297
ข้อมูลภาพ  www.google.co.th
 
173  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2012, 01:13:06 pm

วิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล




ธรรมชาติของจิต ไม่ชอบอยู่นิ่ง ชอบนึกคิดไปต่างๆ นานา เช่น นึกคิดไปในทางกามบ้าง นึกคิดไปในทางอาฆาตพยาบาทบ้าง การนึกคิดในทางที่ไม่ดีเช่นนี้เรียกว่า อกุศลวิตก การห้ามจิตไม่ให้นึกคิดในทางอกุศลนั้น ทำได้ยาก บุคคลส่วนมากไม่ต้องการคิดในทางอกุศล แต่มักจะอดคิดไม่ได้ คิดจนนอนไม่หลับหรือเป็นโรคประสาทก็มี ตรงกันข้าม เมื่อต้องการคิดเรื่องที่เป็นบุญเป็นกุศล มักจะคิดในทางกุศลไม่ได้นาน การห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ในที่นี้จะได้กล่าวถึงวิธีห้ามจิตไม่ให้คิดอกุศล ๕ วิธีด้วยกัน

(๑) เมื่อใส่ใจในอารมณ์ใดอยู่ อกุศลวิตกเกิดขึ้น ก็ให้ใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศลและเป็นคู่ปรับกัน เช่น เมื่อนึกคิดไปในทางราคะ ก็ให้หันมาเจริญอสุภสัญญา พิจารณาว่า ร่างกายนี้เป็นของเน่าเปื่อยไม่สะอาด มีของโสโครกไหลออกอยู่เนืองๆ จะหาสิ่งที่เป็นแก่นสาร หรือสิ่งประเสริฐในกายนี้ไม่ได้เลย เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นที่เป็นกุศล คือ อสุภสัญญา ย่อมละราคะนี้ได้ ถ้าโลภอยากได้ข้าวของเงินทองต่างๆ ก็ให้พิจารณาว่าทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเป็นของกลางสำหรับแผ่นดิน ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง เป็นเพียงของยืมมาใช้ชั่วคราว ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ในโลกให้คนอื่นใช้ต่อไป เมื่อมาใส่ใจเรื่องอื่นที่เป็นกุศล คือ ความไม่มีเจ้าของและเป็นของชั่วคราว ย่อมละความโลภในทรัพย์สมบัติได้ ถ้านึกคิดไปในทางเบียดเบียนด้วยอำนาจโทสะ ก็พึงเจริญเมตตาด้วยการระลึกถึงพุทธพจน์ ที่เป็นไปเพื่อคลายความอาฆาต

เช่น พุทธพจน์ในกกจูปมสูตร (๑๒/๒๗๒) ที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้าเอาเลื่อยที่มีที่จับทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้น ภิกษุมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น ภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตาไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น เมื่อมาใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล คือ เจริญเมตตา ย่อมละโทสะได้ เหมือนช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็กตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก ฉะนั้น

(๒) เมื่อใส่ใจอารมณ์อื่นอันเป็นกุศล อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรพิจารณาโทษของอกุศลวิตกว่า ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ให้ผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เมื่อพิจารณาโทษอยู่อย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวรู้ว่า มีซากศพซึ่งเป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจผูกอยู่ที่คอ ย่อมรีบทิ้งซากศพนั้นโดยเร็ว

(๓) เมื่อพิจารณาโทษของอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็อย่าใส่ใจ อย่านึกถึงอกุศลวิตกนั้น เมื่อไม่นึกไม่ใส่ใจก็ย่อมละอกุศลวิตกนั้นได้ เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย

พระโบราณาจารย์ก็เคยใช้วิธีนี้ แก้ความกระวนกระวายของ ติสสสามเณร ที่ต้องการลาสิกขา

เรื่องมีอยู่ว่า ติสสสามเณร คิดจะลาสิกขา จึงแจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระเถระจึงหาวิธีเบนความสนใจของสามเณร โดยกล่าวว่า ในวิหารนี้หาน้ำได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต สามเณรก็กระทำตาม พระเถระกล่าวกับสามเณรอีกว่า เธอจงสร้างที่อยู่ใหม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะบุคคลหนึ่ง สามเณรก็รับคำ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อมๆ กัน คือ เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเขา และการบริกรรมเตโชกสิณจนถึงอัปปนา เมื่อเรียนสังยุตตนิกายจบลงแล้ว ก็เริ่มทำอยู่ในถ้ำ

เมื่อทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้ว ก็แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล ที่เธอทำเสร็จนั้นทำได้ยาก เธอนั่นแหละจงอยู่ สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานในถ้ำนั่นแหละ ชนทั้งหลายจึงเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้ นี่คือเรื่องของติสสสามเณรที่ถูกพระอุปัชฌาย์เบนความสนใจ ให้ไปกระทำสิ่งอื่นที่เป็นกุศล จนลืมความคิดที่จะลาสิกขา เมื่อไม่ใส่ใจ ไม่นึกถึง ความคิดที่จะลาสิกขาก็ดับไปเอง


(๔) เมื่อไม่นึกถึงไม่ใส่ใจในอกุศลวิตกนั้น อกุศลวิตกก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ควรใส่ใจถึงเหตุ ของอกุศลวิตกนั้นว่า อกุศลวิตกนั้นมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไรจึงเกิดขึ้น เมื่อค้นพบเหตุปัจจัยอันเป็นมูลรากแล้ว อกุศลวิตกนั้นย่อมจะเบาบางลง แล้วถึงความดับไปโดยประการทั้งปวง

(๕) เมื่อใส่ใจถึงเหตุแห่งอกุศลวิตกนั้นอยู่ อกุศลวิตกยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็พึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิต เมื่อข่มจิตอย่างนี้ ย่อมละอกุศลวิตกนั้นเสียได ้เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยไว้ได้ แล้วบีบกด เค้นที่ศรีษะ คอหรือก้านคอไว้ให้แน่น ทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก ให้สยบ ฉะนั้น (วิตักกสัณฐานสูตร ๑๒/๒๕๖)

วิธีควบคุมอกุศลวิตกทั้ง ๕ วิธีนี้ อาจย่อให้สั้น เพื่อให้จำได้ง่ายดังนี้คือ

๑. เปลี่ยนนิมิต หันมาคิดเรื่องที่เป็นกุศลและเป็นคู่ปรับกัน
๒. พิจารณาโทษ พิจารณาโทษของความคิดฝ่ายชั่ว
๓. อย่าไปสน อย่าสนใจความคิดฝ่ายชั่ว หางานอื่นทำ
๔. ค้นเหตุที่คิด หาสาเหตุของความคิดฝ่ายชั่ว
๕. ข่มจิต เอาฟันกัดฟัน เอาลิ้นกดเพดาน เพื่อข่มจิต


ผู้ที่ฝึกหัดตามวิธีทั้ง ๕ นี้จนชำนาญ ย่อมควบคุมความคิดของตนได้ เมื่อต้องการคิดเรื่องใดก็คิดเรื่องนั้นได้ ไม่ต้องการคิดเรื่องใดก็เลิกคิดเรื่องนั้นได้ การควบคุมความคิดได้ดังใจนึกเช่นนี้ เป็นประโยชน์อย่างมากทั้งทางโลกและทางธรรม


ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=37370
174  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นโจร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2012, 10:48:30 am
เมื่อพระพุทธเจ้าเป็นโจร


ภิกษุรูปหนึ่งกระสันใคร่สึก
เพราะการเล้าโลมของบุราณทุติยิกา (หญิงภรรยาสมัยเมื่อเป็นฆราวาส)


พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงโอวาทว่า
เธอยังไม่เข็ดหลาบอีกหรือ ?
ในชาติก่อนเธอถูกตัดศีรษะเพราะหญิงนี้มาแล้ว
จึงทรงนำเรื่องในอดีตของภิกษุนั้นมาตรัสเล่า ดังนี้


ในอดีตกาล บุรุษผู้หนึ่งเกิดในตระกูลคหบดี
เมื่อเจริญวัยแล้วเป็นโจร เที่ยวทำโจรกรรมจนมีื่ชื่อเสียงมาก
ยากที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองจะจับได้
วันหนึ่งโจรนั้นเข้าลักทรัพย์ในเรือนเศรษฐีคนหนึ่งได้ทรัพย์จำนวนมาก
ชาวนครเดือดร้อนเพราะโจรมาก จึงพากันร้องต่อพระราชาพรหมทัตให้ปราบโจร
และในคืนหนึ่งเจ้าหน้าที่ก็จับโจรนั้นได้พร้อมทั้งของกลาง
พระราชาทรงรับสั่งให้ตัดหัวเสีย เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ใครอีกต่อไป

ข่าวที่โจรนั้นถูกราชบุรุษจับได้ลือกระฉ่อนไปทั่วนคร
คราวนั้นมีหญิงคนหนึ่งชื่อ สามา
รูปสวย รวยทรัพย์ เป็นที่โปรดปรานแม้แห่งพระราชา
แต่มีอาชีพเป็นนครโสเภณี ใครจะร่วมอภิรมย์ต้องเสียทรัพย์ครั้งละ ๑๐๐๐ กหาปณะ


วันที่เขานำโจรไปสู่ตะแลงแกง นางยืนดูอยู่บนปราสาท
เห็นรูปร่างโจรบึกบึน งามหาบุรุษใดเปรียบได้ยาก เกิดความเสน่หาอย่างยิ่ง
จึงคิดอุบายให้ได้โจรนี้มาเป็นภัสดา (สามี)

นางคิดอุบายให้หญิงคนใช้ไปหาเจ้าหน้าที่ บอกว่า โจรนี้เป็นสามีของนางสามา
ขอให้เจ้าหน้าที่รับทรัพย์หนึ่งพันไว้แล้วปล่อยโจร
แต่เจ้าหน้าที่บอกว่า ถ้าได้คนอื่นมาแทนจึงจะปล่อยได้

ครั้งนั้นมี บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ติดพันนางสามาอยู่ เขามาหานางทุกวัน
และนำทรัพย์หนึ่งพันมาให้ด้วย วันนั้นเขาก็มาอย่างเคย


นางสามารับทรัพย์แล้ววางไว้ที่ขาอ่อนแสร้งร้องไห้
คร่ำครวญว่า โจรที่ถูกจับนั้นเป็นพี่ชายของนาง
และเจ้าหน้าที่บอกว่า ต้องมีทรัพย์หนึ่งพันไปให้แล้วเขาจะปล่อยตัวพี่ชายมา
แต่นางไม่มีโอกาสไปหาเจ้าหน้าที่เพื่อนำทรัพย์ไปให้

บุตรเศรษฐีหลงรักนางสามา จึงอาสาไปหาเจ้าหน้าที่แทน
นางสามาจึงขอว่า ให้ท่านบุตรเศรษฐีนำทรัพย์ที่จะมอบให้นางหนึ่งพันนี้
ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ที่คุมตัวโจรแทน
แล้วแสร้งออเซาะให้บุตรเศรษฐีชื่นใจนิดหน่อย แล้วนางก็เร่งให้เขารีบไป


ฝ่ายเจ้าหน้าที่เห็นบุตรเศรษฐีนำทรัพย์มาหนึ่งพันก็สำคัญผิดว่า
เขา คือ บุรุษที่นางสามาส่งมาแทนโจร จึงเอาบุตรเศรษฐีไปไว้ที่มิดชิด
แล้วส่งโจรไปให้นางสามา
คืนนั้นเอง...บุตรเศรษฐีก็ถูกตัดหัวประหารชีวิตแทนโจร

กาลต่อมา นางสามาได้โจรเป็นภัสดา ก็อภิรมย์แต่กับโจรไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร
แต่โจรคิดว่า ต่อไปหากนางนี้มีใจปฏิพัทธ์ต่อบุรุษอื่นก็อาจสั่งให้ฆ่าเราเสีย
นางผู้นี้ประทุษร้ายมิตร ไม่ควรจะอยู่ด้วย จึงควรรีบหนีไปเสียดีกว่า


โจรกล่าวถึงนางในตอนหลังอีกว่า

นางสามาเป็นผู้ประทุษร้ายมิตร
ทรยศต่อบุรุษผู้ซื่อตรง มาภักดีต่อเรา (โจร) ผู้ไม่ยั่งยืน
ต่อไปภายหน้านางจะต้องทำอย่างนี้กับเราอีก
หญิงอย่างนั้นเราไม่ปรารถนาสมาคมด้วย


พระศาสดาตรัสเรื่องนี้จบแล้ว
ตรัสว่า โจรในครั้งนั้นคือ พระตถาคต เอง


     

คติธรรม

โจรโพธิสัตว์เบื่อหน่ายนางสามาเพราะมีใจรวนเรใจร้าย
วางแผนฆ่าบุรุษผู้ภักดีต่อนาง เช่นเดียวกับคนที่ทรยศต่อมิตร
คนเช่นนี้ผู้อื่นย่อมไม่ไว้วางใจ แม้แต่มิตรก็ทรยศได้
ถ้าหากทำการอย่างหนึ่งก็คงแสร้งทำเพื่อผลประโยชน์บางอย่างเท่านั้น
พอสิ้นเรื่องผลประโยชน์ก็คงสิ้นเยื่อใยกัน


   

คติด้านพุทธจริยา

พระพุทธองค์ตรัสสรุปว่า โจรในครั้งนั้นคือ พระตถาคตเอง
แสดงถึงพระทัยที่บริสุทธิ์สะอาด ซื่อตรง ไม่ทรงปิดบังอำพรางเรื่องใด
ทรงเล่าทั้งความดี-ความไม่ดีของพระองค์ในอดีต
แม้กระทั่งเคยเป็นโจรก็ทรงเล่า ทรงเล่าทั้งส่วนที่ผิดพลาดและถูกต้อง
กระนั้นจะทำให้เราเคารพสักการะพระองค์น้อยลงก็หาไม่
กลับยิ่งเพิ่มพูนบูชา เพราะพระองค์ไม่ทรงมีความลับ เปรียบกับทรงแบพระหัตถ์หมดสิ้น

การที่ผู้มีบารมีสูงยิ่งอย่างพระพุทธเจ้าเคยเป็นโจรนั้น
ให้กำลังใจแก่เราอย่างมาก สอนให้เราไม่หมดหวังในชีวิตในการตั้งต้นใหม่
รู้ักตัดตอนในการคบคน คือ แม้เขาจะเคยไม่ดีมาบ้าง
แต่ถ้าบัดนี้เขาเลิกการกระทำนั้นแล้ว
เขาประพฤติตนเป็นคนดีแล้วก็ต้องให้เกียรติและเคารพนับถือเขาได้
คนทุกคนต้องเคยทำผิดมามากบ้าง น้อยบ้าง


เช่น โจรองคุลิมาล เคยฆ่าคนมานับตั้งมากมายแต่กลับใจบวช
พระเจ้าปเสนทิราชาก็แสดงประสงค์เป็นอุปฐากตลอดชีวิต

เช่นเดียวกับถ้าใครตกหลุมโคลน เปรอะเปื้อนโคลน เรารังเกียจว่าเขาสกปรก
แต่ต่อมาเมื่อเขาได้ชำระล้างแล้วจนสะอาด
ถ้าใครยังนึกถึงความสกปรกของเขาที่ตกหลุมโคลนและยังรังเกียจเขาอยู่
ก็เรียกว่า เป็นคนไม่รู้จักตัดตอน เป็นคนเขลา



ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=39879
175  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ธรรมที่ทำให้ลุ่มหลง ยึดติด ไม่สามารถหลุดพ้น เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 05:00:28 pm
กาม ๒

กาม คือ ความใคร่ ความอยาก ความปรารถนา สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่ายินดี น่าชอบใจ มี ๒ ประการ ดังนี้
๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ใหอยากให้ปรารถนาต้องการ หรือความอยากที่เป็นตัวกิเลส ได้แก่ ราคะ (ความกำหนัด) โลภะ (ความโลภ) อิจฉา (ความปรารถนาอยากได้) เป็นต้น
๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ สิ่งที่น่าปรารถนา สิ่งที่อยากได้ ได้แก่ กามคุณ ๕

กามคุณ ๕

กามคุณ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจยินดี อันเป็นเครื่องผูกพันในทางกามารมณ์ มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. รูปปะ คือ รูป ที่น่าพอใจ น่ารื่นรมย์
๒. สัททะ คือ เสียง ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๓. คันธะ คือ กลิ่น ที่น่าพอใจ น่ายนินดี น่ารื่นรมย์
๔. รสะ คือ รส ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๕. โผฏฐัพพะ คือ สัมผัสทางกาย หรือ อารมณ์ที่จะถูกต้องสัมผัสได้ทางกาย เช่น ร้อน เย็น อุ่น อ่อน นุ่ม เนียน เป็นต้น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์

ตัณหา ๓

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก ความปรารถนา ความกระหาย ความกำหนัด มี ๓ ประการ ดังนี้
๑. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกาม ความอยากในกามคุณหรือความใคร่ ความพอใจหมกมุ่นใน กามคุณ ๕ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
๒. ภวตัณหา คือ ความอยากให้สิ่งที่ได้ที่มี อันเป็นสภาวะที่น่าชอบใจ น่าปรารถนา ให้คงอยู่ต่อไปหรือตลอดไป เช่น ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ ได้แก่ อยากเป็นคนสวย คนฉลาด คนเก่ง คนรวย คนมีสุขภาพดี เป็นต้น
๓. วิภวตัณหา คือ ความอยากหนีหรือสลัดสภาวะที่ไม่น่าชอบใจไม่น่าปรารถนา ให้พรากหรือพ้นออกไป เช่น ความไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ได้แก่ ไม่อยากเป็นคนแก่ คนโง่ คนไม่เก่ง คนจน คนเจ็บป่วย เป็นต้น

ตัณหา ๖

กองหรือหมวดตัณหาอันเป็นความทะยานอยาก ความปรารถนา ๖ ประการ มีดังนี้
๑. รูปตัณหา อยากได้ รูป ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๒. สัททตัณหา อยากได้ เสียง ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๓. คันธตัณหา อยากได้ กลิ่น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๔. รสตัณหา อยากได้ รส ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๕. โผฏฐัพพตัณหา อยากได้ สัมผัสทางกาย หรือ อารมณ์ที่จะถูกต้องสัมผัสได้ทางกาย เช่น ร้อน เย็น อุ่น อ่อน นุ่ม เนียน เป็นต้น ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์
๖. ธัมมตัณหา อยากได้ ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ทางใจ อารมณ์ที่เกิดอยู่กับใจ อารมณ์ที่ใจรู้ สิ่งที่ใจคิด ที่น่าพอใจ น่ายินดี น่ารื่นรมย์ เช่น เมื่อเห็นรูปสวย เสียงไพเราะ กลิ่นหอมสดชื่น รสอร่อย สัมผัสอ่อนนุ่ม เป็นต้น

มานะ ๙

มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์ มีลักษณะ ๙ ประการ ดังนี้
๑. ตนเองเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๒. ตนเองเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๓. ตนเองเป็นผู้เลิศกวาเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา
๔. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๕. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๖. ตนเองเป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา
๗. ตนเองเป็นผู้เลวหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
๘. ตนเองเป็นผู้เลหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๙. ตนเองเป็นผู้เลวหรือต่ำกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวหรือต่ำกว่าเขา

กิเลส ๑๐

กิเลส คือ สภาพหรือสิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ เสมือนความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด เป็นเหตุให้กระทำกรรมชั่วได้ง่าย และประกอบความดีได้ยาก มี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. โลภะ คือ ความโลภ คิดอยากได้ของผู้อื่น
๒. โทสะ คือ ความคิดประทุษร้ายด้วยความโกรธ
๓. โมหะ คือ ความหลง ความเขลา ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ (อวิชชา)
๔. มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๕. ทิฐิ หรือ ทิฏฐิ ความเห็นผิด มีความเห็นหรือทฤษฎีอันผิดจากทำนองคลองธรรม อาทิ เห็นว่าโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว บุญและบาปไม่มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
๖. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเล ไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัย หรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม ทั้งหลาย ในปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และ ในพระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๗. ถีนะ ความหดหู่ ความท้อแท้ใจ
๘. อุทธัจ หรือ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบใจ ความคิดพล่านในอารมณ์
๙. อหิริกะ หมดความละอาย ความไม่ละอายต่อความชั่ว ความไม่ละอายต่อกุศลและทุจริต
๑๐. อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อบาปหรือความชั่ว

วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ หรือ อุปกิเลส ๑๐

วิปัสสนูปกิเลส คือ อุปกิเลสหรือสิ่งอันเป็นโทษ เครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์หรืออารมณ์ที่เกิดแก่ผู้เริ่มได้วิปัสสนาอ่อน ๆ ดูเหมือนเป็นสภาพที่น่าชื่นชม แต่ความจริงเป็นโทษ เพราะจะทำให้เกิดเข้าใจผิดลุ่มหลงว่าได้บรรลุมรรคผลแล้ว จึงไม่บำเพ็ญให้เจริญก้าวหน้าขึ้นไปอีก อันเป็นเหตุขัดขวางไม่ให้สำเร็จหรือบรรลุได้จริง มี ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. โอภาส แสงสว่าง แสงสุกใสผุดผ่อง
๒. ญาณ ความรู้ ความหยั่งรู้ ปรีชาหยั่งกำหนดรู้
๓. ปีติ ความอิ่มเอมใจ ความดื่มด่ำในใจ
๔. ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ ความสงบเย็นอารมณ์ผ่อนคลาย
๕. สุข ความสุขสบายใจ ความสบายกายสบายจิต ความสำราญเบิกบานใจ
๖. อธิโมกข์ ความปลงใจ น้อมใจเชื่อ มีศรัทธาแก่กล้า
๗. ปัคคาหะ ความเพียร ความหมั่น ความพยายาม
๘. สุปัฏฐาน สติชัด มีสติแก่กล้า
๙. อุเบกขา ความวางจิตเป็นกลาง
๑๐. นิกันติ ติดใจ ความพอใจ

อุปกิเลส ๑๖

อุปกิเลส คือ สิ่งอันเป็นโทษที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุให้รับคุณธรรมได้ยาก ประดุจผ้าเปรอะเปื้อนสกปรก ย่อมไม่อาจนำไปย้อมให้ดีได้อย่างต้องการ (หากไม่สละหรือทำให้สิ่งปรนเปื้อนสกปรกสิ้นไป) มี ๑๖ ประการ ดังนี้
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบโลภกล้า จ้องจะเอาโดยไม่เลือกว่าควรไม่ควร คิดเพ่งเล็งอยากได้โดยไม่เลือกวิธีการ
๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่นด้วยมีโทสะ
๓. โกธะ โกรธ เคือง ความขุ่นเคือง
๔. อุปนาทะ ผูกโกรธ จดจำความขุ่นเคืองไว้ในใจ
๕. มักขะ หลบหลู่คุณท่าน หลบหลู่คุณความดีผู้อื่น ลบล้างเปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น
๖. ปลาสะ ความตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน การยกตนข่มผู้อื่น
๗. อิสสา ริษยา รู้สึกไม่พอใจที่เห็นผู้อื่นเขาได้ดี หรือเห็นใครได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้
๘. มัจฉริยะ ตระหนี่
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด หลอกเขาด้วยคำโอ้อวด แสร้งทำให้เขาเกิดความเข้าใจผิด
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ กระด้าง
๑๒. สารัมภะ แข่งดี ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะ
๑๓. มานะ ถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่น ถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา
๑๕. มทะ มัวเมา
๑๖. ปมาทะ ประมาท ละเลย เลินเล่อ

อุปสัย ๗ หรือ สังโยชน์ ๗

อนุสัย คือ กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน เป็นกิเลสอย่างละเอียด บางทีปกติไม่ปรากฏ แต่เมื่อมีอารมณ์มายั่วก็จะเกิดหรือปะทุขึ้ได้ทันใด มีดังนี้
๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม ความอยากได้หรือติดใจในกาม
๒. ปฏิฆะ ความขัดใจ ความหงุดหงิด ขัดเคือง (โทสะ)
๓. ทิฏฐิ หรือ ทิฐิ ความเห็นผิด มีความเห็นหรือทฤษฎีอันผิดจากทำนองคลองธรรม อาทิ เห็นว่าโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว บุญและบาปไม่มี ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
๔. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๕. มานะ ถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เชื่อว่ามีความยิ่งใหญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ คือความเป็นนั่นเป็นนี่ อยากยิ่งใหญ่ อยากยั่งยืน
๗. อวิชชา ความหลง ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ หรือคือ โมหะ ได้แก่ ความเขลา ความไม่รู้อริยสัจ ๔


.....................................................


 
อาสวะ ๓

อาสวะ คือ กิเลสหรือสภาวะที่หมักหมม หรือกิเลสที่ดองนองเนื่องอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิต เมื่อได้ประสบอารมณ์ต่าง ๆ มี ๓ ประการ ดังนี้
๑. กามาสวะ อาสวะคือ กาม หรือกิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิด ความใคร่ ความอยากได้ ความปรารถนา
๒. ภวาสวะ อาสวะคือ ภพ (โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ผู้เสพกาม) หรือ กิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้ อยากเป็น อยากเกิด อยากให้มีให้อยู่คงอยู่อย่างนั้นตลอดไป
๓. อวิชชาสวะ อาสวะคือ อวิชชา หรือกิเลสสภาวะที่หมักดองนองเนื่องอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิด ความเขลา ไม่รู้ตามความเป็นจริงหรือไม่รู้จริงในเหตุ-ผล ดี-ชั่ว บุญ-บาป คุณ-โทษ ไม่รู้ในอริยสัจ ๔

นิวรณ์ ๕

นิวรณ์ คือ กิเลสที่เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เป็นสิ่งซึ่งขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม หรือเป็นอกุศลธรรมที่ทำให้จิตเศร้าหมองและทำให้ปัญญาเสื่อมถอยอ่อนกำลัง มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. กามฉันทะ ความพอใจลุ่มหลงและต้องการในกามคุณ
๒. พยาบาท ความคิดร้ายต่อผู้อื่น ความขัดเคืองขุ่นแค้นใจ
๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม ความที่จิตหดหูเคลิบเคลิ้ม ความง่วงเหงาซึมเซา
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเร่าร้อนในใจ ความกระวนกระวายกลัดกลุ่ม กังวล
๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสงสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น

สังโยชน์ ๑๐

สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์ ใครละได้น้อยก็เป็น พระอริยบุคคลขั้นต้น (พระโสดาบัน) เมื่อละได้มากเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงขึ้น (พระสกทาคามี พระอนาคามี) ใครละได้หมดจึงเป็นอริยบุคคลขั้นสูงสุด (พระอรหันต์)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ มี ๕ ประการ ดังนี้
๑. สังกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวตน ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน เช่น เห็น รูป เวทนา วิญญาณ (ความรู้แจ้งในอารมณ์ด้วยจิต) ว่าเป็นตัวตน เป็นต้น
๒. วิจิกิจฉา ความสงสัย ความลังเลไม่แน่ใจ ความเคลือบแคลง เช่น ลังเลสังสัยหรือเคลือบแคลงใน กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี ธรรมที่เป็นกุศล) ทั้งหลายใน ปฏิปทา (ทางดำเนิน ความประพฤติ) และใน พระรัตนตรัย ว่าดีจริงหรือ เป็นต้น
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย คิดว่าจะบริสุทธิ์หรือหลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร ด้วยเพียงปฏิบัติโดยขาดการพิจารณาไตร่ตรอง
๔. กามราคะ ความติดใจในกามารมณ์ ความกำหนัดในกาม
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคืองใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง มี ๕ ประการ ดังนี้
๖. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูป หรือติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น สิ่งล้ำค่าสวยงาม เป็นต้น
๗. อรูปราคะ ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป หรือติดใจในอรูปธรรม เช่น คำสรรเสริญ คำเยินยอ คำยกย่องชมเชย เป็นต้น
๘. มานะ คือ ความถือตัว ทะนงตน สำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เชื่อว่ามีความายิ่งใญ่ ถือสูงถือต่ำ ติดในยศศักดิ์
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ความไม่สงบใจ
๑๐. อวิชชา ความหลง ความไม่รู้จริงในเหตุและผล ดี-ชั่ว คุณ-โทษ คือโมหะ ได้แก่ ความเขลา ความไม่รู้อริยสัจ ๔

อุปทาน ๕

อุปาทาน คือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ด้วยถูกครอบงำให้หลงผิดโดยอำนาจแห่งกิเลสตัณหา จนเกิดอุปาทาน เลยหลงยึดถือเอาความคิดความเข้าใจของตนเป็นหลัก เป็นที่ตั้ง ถ้ามีใครเชื่อหรือคิดเห็นผิดไปจากความเข้าใจของตน ถือว่าโง่เขลา ไม่รู้จริง ทรยศ เป็นกบฏ มี ๔ ประการ ดังนี้
๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นใน กาม คือ อุปาทานใน รูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ที่มาต้องกาย (โผฏฐัพพะ) ว่าเป็นสิ่งที่น่ารักใคร่ปรารถนา น่าพึงพอใจ จนเกิดการลุ่มหลง หวงแหน ต้องการยึดครองไว้เป็นของตรง
๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นใน ทิฏฐิ (ทิฐิ) หรือ ทฤษฎี คือ อุปาทานว่า ความเห็นลัทธิ หรือหลักคำสอนต่าง ๆ ที่ตนยึดอยู่นั้นได้ชือว่าดีเลิส เป็นทฤษฎีที่น่าสรัทธาเลื่อมใส น่าเชื่อถือ ควรยึดถือปฏิบัติ ไม่ควรโต้แย้ง ไม่จำเป็นต้องสอบสวนหาเหตุและผล ไม่ควรมีความลังเลสงสัย หรือข้อกังขาใด ๆ
๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นใน ศีล และ พรต คือ อุปาทานว่า หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิม ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานแล้ว ควรเป็นอย่างนั้นต่อไป ไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ไม่ต้องไปสนใจในเหตุและผล ไม่ควรขวนขวายในการสอบสวนสืบค้น สักแต่ว่ากระทำสืบ ๆ กันมา หรือปฏิบัติตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย โดยนิยมหรือเห็นว่าเมื่อขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้หรือทำความเข้าใจใด ๆ ทั้งสิ้น ว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดปัญญาหรือนำไปสู่ความถูกต้องดีงาม และความหลุดพ้นหรือไม่
๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่น เชื่อถือใน ความเป็นตัวเป็นตน (อัตตา) คือ อุปาทานว่า มีตัวตน เชื่อว่ามีความสามารถบังคับบัญชาสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ตามที่อยากให้เป็น (เช่น ให้คงความไม่แก่ ไม่เหี่ยวย่น) ไม่สามารถมองเห็นว่า เหตุ และ ปัจจัย ทั้งหลายต่างหากเป็นสิ่งที่มาประกอบกันเป็นตัวตน ตัวตนแท้ ๆ ไม่มี (อนัตตา) มองไม่เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่อาจควบคุมได้ ย่อมมีความเสื่อมสลายไปตามกาล


คัดลอกจาก หนังสือใกล้ชิดสนิทธรรม
ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนา
 


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40015

176  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เหรียญมีสามด้าน (พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 01:43:02 pm

เหรียญมีสามด้าน

คนส่วนใหญ่มักจะเชื่อกันว่าเหรียญมีสองด้าน คือด้านหัวกับด้านก้อย จึงคุ้นอยู่กับการมองเหรียญเพียงสองด้านจนเป็นนิสัย ไม่เห็นด้านห้วก็เห็นด้านก้อย เหมือนการมองสิ่งต่างๆ ที่ตนสัมผัสสัมพันธ์อยู่ในชีวิตประจำวัน จะเกิดความรู้สึกต่อสิ่งที่มากระทบไปในทางที่ ชอบ/ไม่ชอบ หรือ ยินดี/ยินร้าย เหมือนเห็นเหรียญเพียงสองด้านนั้นเอง ความรู้สึกชอบนำมาซึ่งความอยาก เป็นพลังดึงดูดให้เราอยากเสพใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตามที่ตนชอบ ซึ่งทางธรรมเรียกว่า “กามตัณหา”

เช่น ชอบดูสิ่งที่สวยงาม (รูป) ชอบฟังเสียงที่ไพเราะ (เสียง) ชอบของที่มีกลิ่นหอม (กลิ่น) ชอบรับประทานอาหารที่อร่อย (รส) ชอบสัมผัสสิ่งที่นุ่มนวลไม่ระคายผิวกาย (สัมผัส)

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสถานะต่างๆ ที่ตนปรารถนา ทางธรรมเรียกว่า “ภวตัณหา” เป็นต้นว่า อยากมีสุขภาพดีมีอายุยืน อยากได้งานที่มั่นคงมีรายได้ดี มีเพื่อนร่วมงานที่อบอุ่น อยากให้คนในครอบครัวมีความรักความเข้าใจกัน อยากเป็นผู้บริหารระดับสูง อยากมีชื่อเสียง มีเครดิตในสังคม หรืออยากเป็นเศรษฐี เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่ต่างอยากเสพ และอยากได้ในสิ่งที่ตนพอใจทั้งสิ้น ครั้นเผชิญกับสิ่งที่ตนไม่พอใจก็เกิดความรู้สึกไม่ชอบต่อสิ่งนั้นในทันที ความไม่ชอบเป็นพลังผลักไส อยากหลีกจากสิ่งดังกล่าว ในทางธรรมเรียกว่า “วิภวตัณหา” เช่น ไม่ชอบภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่ชอบคนบางคน ไม่ชอบรถติด ไม่ชอบอากาศร้อน ไม่ชอบสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ความอยากเสพในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส (กามตัณหา) ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อยากให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ภวตัณหา) และความไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากให้สิ่งนั้นดับไป (วิภวตัณหา) เหล่านี้ล้วนเป็น “ตัณหา” อันเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา”

เหตุใดเมื่ออยากในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้มีความทุกข์ด้วย

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อชอบสิ่งไหนก็อยากได้ในสิ่งนั้น ครั้นเมื่ออยากได้ อยากมี อยากเป็น ต้องเสาะหาสิ่งนั้นมาเสพ มาครอบครอง การเสาะหานับเป็นความทุกข์ในเบื้องต้น เพราะในช่วงที่ยังไม่ได้ ใจก็ผูกพันต่อสิ่งนั้นคอยรบเร้าจิตใจไม่ให้มีความสุข ดังเช่นอยากได้ตำแหน่งสูงขึ้น ในช่วงที่ยังไม่ได้ตำแหน่ง เมื่อเห็นเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันเขามีตำแหน่งสูงกว่า ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจก็คอยรบกวนอยู่เนืองๆ หรืออยากมีครอบครัวที่อบอุ่น มีความรักความเข้าใจอันดีต่อกัน แต่ภาวะที่เป็นอยู่มีแต่ความขัดแย้งไม่ได้ดังใจ ก็ทำให้ทุกข์ใจอยู่เนืองๆ

อนึ่ง แม้ความปรารถนาในสิ่งที่ตนอยากได้จะสมหวัง ก็ต้องทุกข์กับสิ่งดังกล่าวอีก เช่น เมื่อได้ตำแหน่งสูงขึ้น ภาระหน้าที่ การงานและบริวารก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้มีปัญหาในการบริหารงานมากขึ้น มีความเครียดหรือมีทุกข์มากขึ้นนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน เมื่อมีครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่น ก็เพิ่มความหวงห่วงใย หรือมีความยึดมั่นผูกพันต่อบุคคลในครอบครัวยิ่งขึ้น อันทำให้ใจวิตกกังวลกลัวว่าบุคคลอันเป็นที่รักจะได้รับความลำบาก หรืออาจมีอันตรายหากกลับบ้านผิดเวลา อันเป็นความทุกข์นั่นเอง


โดยกฎของธรรมชาติ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถูกบีบคั้นกดดัน ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ (ทุกขัง) ไม่สามารถบังคับได้ดังปรารถนา เพราะไม่ใช่ของใครจริง (อนัตตา) ครั้นเมื่อสิ่งที่ตนได้ มี เป็น ต้องวิบัติไป หรือไม่เป็นไปตามที่ตนปรารถนา เพราะในที่สุดแล้วสรรพสิ่งทั้งหลายต้องเก่าแก่ เสื่อมสภาพ และแตกสลายไป แม้ชีวิตก็มีความพลัดพรากและความตายเป็นที่สุด เมื่อถึงเวลานั้น ผู้ที่ยังยึดอยู่ในสิ่งที่ตนได้ มี เป็น ก็ต้องทุกข์โทมนัสทับทวี

ส่วน “ วิภวตัณหา” คือ ความไม่ชอบหรือไม่ยินดีในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็อยากให้สิ่งนั้นผ่านไปโดยเร็ว ครั้นตนไม่สามารถบังคับสิ่งนั้นให้ผ่านพ้นไปได้ ก็ทุกข์ใจอยู่กับสิ่งนั้น

ความทุกข์ทั้งหลายในชีวิตมาจากใจที่เห็นผิดนั่นเอง คือใจที่มองไม่เห็นความเป็นจริงอีกด้านหนึ่งของเหรียญ ไม่รู้ว่าเหรียญมีสามด้าน นอกจากด้านหัวด้านก้อยที่ตนคุ้นเคยเห็นอยู่ในวิถีชีวิตแล้ว แท้จริงระหว่างด้านหัวกับด้านก้อยก็ยังมีด้านสันของเหรียญที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงให้เหรียญทั้งสองด้านติดกันอยู่


หากเรามองด้านที่เป็นกลางคือด้านสันของเหรียญให้คุ้นเคยแล้ว เราก็จะวางใจที่เป็นกลางหรือเที่ยงธรรมได้ แทนที่จะไปติดอยู่กับด้านหัวด้านก้อย หรือชอบกับชัง เหมือนอดีตที่ผ่านมา ชอบก็เป็นทุกข์ ชังก็เป็นทุกข์ ไม่ชอบไม่ชังคือใจที่เป็นกลาง คือเป็นอุเบกขา ย่อมพ้นจากความทุกข์ใจได้ ในเสียก็มีดี ในดีก็มีเสีย ฝึกมองให้เห็นตามความเป็นจริง และวางใจให้เที่ยงธรรม ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของทุกๆ สิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เราชอบเพราะเห็นว่าดี ก็ใช่ว่าจะดีตลอดไป ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราไม่ชอบเพราะเห็นว่าไม่ดี ก็ใช่ว่าจะไม่ดีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคคลทั้งหลายที่ย่อมทำทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเป็นวิถีชีวิต ส่วนวัตถุสิ่งของนั้นเดินทางไปสู่ความเก่า เสื่อมสภาพ และผุพังในที่สุด

การที่ใจของเรายังชอบยังชังอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นเพราะยังยึด หรือมีอุปาทานต่อสิ่งนั้นนั่นเอง ฝึกใจมองให้เห็นความเป็นจริงโดยเฉพาะพยายามที่จะอยู่กับด้านที่สามของเหรียญ คือด้านที่เป็นกลาง หรือวางใจเป็นอุเบกขา เพื่อถอดถอนความชอบ (กามตัณหา ภวตัณหา) และความไม่ชอบ (วิภวตัณหา) ออกเสียให้ได้ ความยึดติด (อุปาทาน) ต่อสิ่งนั้นก็จะคลายลงหรือหมดไป ใจก็จะเป็นอิสระ ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งต่างๆ เพราะเข้าใจตามความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายว่า มีธรรมชาติที่ไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นกดดัน ไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ (ทุกขัง) และบังคับไม่ได้ดังปรารถนา เพราะไม่ใช่ของเราจริง (อนัตตา)

จงอยู่อย่างมีสติปัญญา มิใช่อยู่อย่างมีกิเลสตัณหา เมื่อนั้นใจของเราก็จะร่มเย็นเป็นสุขได้


จากบางส่วนหนังสือ “พาใจไปพบสุข” โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40512
177  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / โลกุตระนิพพาน..จะไปกันอย่างไร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 01:13:38 pm

โลกุตระนิพพาน..จะไปกันอย่างไร

     จะมีซักกี่คนทีี่จะรู้ซึ้งถึง นิพพานที่แท้จริงอย่างแจ่มแจ้งถึงดินแดนแห่งโลกุตระนั้นแล้วนำมาบอกกล่าวอย่างถูกต้อง มิผิดเพี้ยน ซึ่งถ้าหากหลงทางแล้วก็จะต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดมิรู้จักจบสิ้น จึงเรียกกันว่า
    วัฎฏะสงสาร คือ หมุนวนอยู่อย่างนั้น สิ่งที่นำสัพพสัตว์ทั้งหลายมาเกิดมาจุตินั้นก็คือ "ดวงจิตที่มีวิบากกรรม "วิบากกรรมนั้นมีทั้งชั่วและดีปนกันอยู่


วิบากกรรมเปรียบเสมือนเชือกที่มัดคอโคแล้วจูงโคนั้นไปในที่ต่างๆ มิอาจจะขัดขืนได้วิบากกรรมนั้นมาจากไหนเล่า ก็มาจากกิเลศ-ตัณหา กิเลศ-ตัณหา นั้นเปรียบเสมือนเชือกที่มัดดวงจิตแล้วจูงให้มาเกิดมาจุติในที่ต่างๆ ตามวิบากแห่งกรรมนั้นๆหรือตามลำดับแห่งวิบากกรรมที่ได้กระทำไว้

ซึ่งมีมากมายเหลือคณานับและเมื่อดวงจิตนั้นๆมาเกิดแล้วในร่างกาย ที่มีเนื้อหนังเอ็นกระดูกเจ้ากิเลศตัณหามันก็ตามมาด้วย มันก็เริ่มสร้างฐานที่มั่นในร่างกายนี้เพื่อสะสมอาวุธเพื่อจะไปในภพหน้าทันที หรือที่เราเรียกว่า "ใจ" นั่นเอง เราอาจพูดได้ว่าใจ ของเรานั้น มันก็คือพญามาร ที่มีลูกน้อง ก็คือ หูตา จมูก ลิ้น กายใจเป็นตัวคอยส่งเสริม ส่งเสบียง ส่งกำลัง ให้กับมารก็คือใจของเรานี่เอง

เมื่อหูตาจมูกลิ้นกายใจ ได้สัมผัส ลิ้มรส แล้ว ก็ส่งความรู้สึกนั้นไปที่ใจไปให้มาร ไปบำรุงมาร ให้กำเริบ ลุ่มหลง ร้อนรุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ใจนั้นต้องการอยู่แล้วใจ นั้น จะอยู่ไม่ได้เลย ถ้าไม่มีร่างกาย ให้อาศัย กิน ตื่่นและหลับนอน เมื่อสิ้นร่างกาย ใจ นั้นก็จะตายไปด้วย

แต่สิ่งที่ใจนั้นสะสมมา กลับกลายมาเป็นเสบียงให้กับดวงจิต พาดวงจิต ไปพบวิบากกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากกิเลศ ตัณหา ซึ่งใจนั้นได้เตรียมไว้ก่อนแล้วตอนที่มีชีวิตอยู่อันดวงจิต ของเราทุกคนนั้น ผ่องใสมาแต่เดิม เพียงแต่ถูกเจ้ากิเลศตัณหามาห่อหุ้มไว้ แล้วนำพาไปเกิด ไปจุติ ในที่ต่างๆ เช่น นรก สวรรค์ พรหมโลกเมืองมนุษย์ เมืองบาดาล หรือเมืองลับแล

ดวงจิตที่มาเกิดในเนื้อหนังเอ็นกระดูก จะมีใจเป็นที่ตั้งหรือจะเรียกว่ามีมารเป็นที่ตั้งก็ได้ หากไม่มีร่างกายแล้ว ใจนั้นก็ไม่มี เพราะใจนั้นต้องการสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ ร่างกายนั้นเป็นเครื่องมือของใจหรือของมาร เมื่อรับรู้แล้วก็จะส่งมาที่ใจ


    ทำไมเทวดาจึงอยากจะมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เพราะว่าจะได้ มีร่างกายให้ใจที่เป็นที่อยู่แห่งมารนั้นได้อาศัย เพื่อจะได้เจอกับพญามารได้สัมผัสมารของจริงตัวจริง เพื่อจะกำจัดมันทิ้งซะ เพื่อทำให้ถึงแจ้งซึ่งโลกุตระนั้น

     แต่เทวดาบางคนได้มาเกิดเป็นมนุษย์แล้วก็ลืมสิ่งที่ตั้งใจจะทำก่อนมาเกิด เหมือนมีเมฆหมอกมาบดบังแสงแห่งดวงจันทร์ การเกิดเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่วิเศษที่สุดแล้ว
     หากเกิดเป็นมนุษย์แล้วไม่ได้ทำให้ถึงซึ่งโลกุตระแล้ว ก็นับว่าเสียโอกาส อย่างน่าเสียดายคนที่จะไป นิพพาน ก็ต้องรู้แจ้งถึงนิพพาน อย่างถ่องแท้ มิผิดเพี้ยน


     อุปมาเหมือนคนขับรถ ก็ต้องรู้เส้นทางและจุดหมายที่จะไป จึงจะไปถึงจุดหมาย ได้รวดเร็ว และปลอดภัย หากไปโดย มิได้ศึกษาเส้นทางหรือมิรู้เส้นทางเลยก็ต้องหลง แวะถาม ถ้าเค้าบอกผิดก็หลงทางไปกันใหญ่ เสียเวลา ไปถึงจุดหมายไม่ทันเวลา หรืออาจจะไปไม่ถึงจุดหมายด้วยซ้ำไป เรียกว่าเสียนาทีทองไป

     มนุษย์เราทุกคนเกิดมา มีใจเป็นที่ตั้ง มีลูกน้องคือการรับรู้สัมผัสแล้วส่งกลับไปที่ใจเ้พื่อสะสมเป็นวิบากกรรมเพื่อเป็นเสบียงนำพาดวงจิตไปในภพหน้าหากสิ้นร่างกายนี้ไปแล้ว การรับรู้สัมผัส แล้วส่งกลับมาที่ใจนั้นส่งผลให้เกิดสองสิ่งคือ ทุกข์และสุข สองสิ่งนี้รวมกันแยกกันไม่ออก หากแยกทุกข์และสุขได้

    เราคงไม่ต้องหาหนทางไปนิพพาน แต่เราแยกไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางอื่น เพื่อให้พ้นจากมัน อันความสุขนั้นมนุษย์ ต้องไขว่คว้าหามา ส่วนความทุกข์ไม่ต้องหามันมีของมันอยู่แล้วเดี๋ยวเมื่อถึงเวลามันก็มาของมันเอง เรื่องของทุกข์และสุขนั้น ใจเป็นผู้ตัดสินเมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว เราจะให้ใจที่เราเรียกว่าใจมารมาตัดสินหรือมาสำเร็จโทษเราหรือ

    เมื่อใจนั้น ได้ส่งลูกน้อง ไปรับรู้สัมผัส ทุกข์และสุข ก่อนที่ลูกน้องของใจจะส่งคืนทุกข์และสุขนั้นๆให้กับใจ เราก็ดับมันก่อนจะถึงใจ ใจมันก็งง เราดับด้วยอะไร ก็ดับด้วยสติปัญญาของดวงจิตที่ผ่องใสตอนนี้จิตต้องต่อสู้บ้างแล้วนะอย่ายอมใจและลูกน้องของมันเพราะเรายอมมันมานานแล้ว เมื่อทำอย่างนี้เรื่อยๆ ใจมันก็ไม่รับทุกข์ไม่รับสุข ลูกน้องของใจคือหูตาจมูกลิ้นกายใจ ก็ถูกปลดปล่อยจากใจ

     ในที่สุดใจนั้นไม่มีลูกน้องคอยส่งเสบียงไม่นานเสบียงที่จะไปสู่ภพหน้าก็หมดลง 
     ดวงจิตที่เคยมีเมฆหมอกมาบดบังก็พลอยสว่างไสว สติปัญญาละเอียดของแท้ของธรรมชาติก็เกิดขึ้น ไม่มีทุกข์ร้อนใดๆ ถึงตอนนี้ เรียกว่า นิพพานดิบหรือนิพพาน


     ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อใครทำถึงขั้นนี้แล้วก็ไม่ยากที่จะไปต่อเมื่อยังมีร่างกายย่อมมีดวงจิตอยู่แต่เป็นดวงจิตดั่งเดิมที่ผ่องใสไม่มีกิเลศตัณหาหลงอยู่เลยพร้อมที่จะตีตั๋วที่จะไปนิพพานซึ่ง นิพพานนั้นไม่มีอะไรทั้งสิ้นจะเข้าไปได้ เป็นที่ซึ่งไม่มีจิต ไม่มีกิเลศ ตัณหา ไปอาศัย

     หากท่านใดถึงขั้นนี้แล้วแต่ก่อนตายคิดว่า จิตนั้นต้องไปอาศัยอยู่ในนิพพาน น่าเสียดายมาก ที่จิตนั้นจะต้องไปเกิดในอรูปพรหมชั้นสูง(นิพพานพรหม)ที่มีอายุยืนยาวนับไม่ได้เลยแล้วในที่สุดก็ต้องมาเกิดอีก

     การจะเข้านิพพานแม้แต่จิตที่หมดจดผ่องใสดั่งเดิมแท้ก็เข้าไปไม่ได้ จงใช้สติปัญญาที่ละเอียดอ่อนนั้นแห่งจิต ดับจิตเสียมิมีสิ่งใดเป็นที่มามิมีสิ่งใดเป็นที่ไปไม่มีใครอยู่ไม่มีใครตาย เมื่อจิตดับ สติปัญญาก็นิ่งคงอยู่อย่างนั้น ประตูนิพพานก็เปิดออกบรมสุขอยู่อย่างนั้น จบสิ้นการเวียนตายเกิด



    ผมนั้นไม่ได้อวดเก่งหรือให้ใครมาเชื่อหรือนับถืออะไร ผมเพียงแต่จะหาหนทางหลุดพ้นไว้ก่อนล่วงหน้า ถึงตอนนี้จะยังไม่พร้อม แต่เมื่อพร้อมแล้วก็จะได้ไม่ต้องหลง จะได้ไม่เสียเวลา เสียโอกาส เสียนาทีทอง อีกต่อไป...

     พระนิพพานอย่าว่าอยู่ที่นั้นที่นี่ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือคาดหมายเลย แต่เป็นที่สุดแห่งโลกมีอยู่จริง ฝึกฝนได้แต่พอถึงต้องปล่อยวางไม่ยึดถือ ยึดติด ขอตอบท่านที่สงสัยในนิพพาน

     1. วิบากกรรมจะส่งผลเฉพาะผู้ที่มีกิเลศตัณหาหลงเหลืออยู่ เมื่อตายแล้วกิเลศตัณหาก็จูงจิตไปส่งผลเป็นวิบากกรรม
        สำหรับพระอรหันต์นั้นท่านสิ้นอาสวะไม่มีกิเลศตัณหาหลงอยู่
        เมื่อท่านตายกิเลศตัณหาไม่มี วิบากกรรม จะมีที่ไหนเหล่า
        หากจะมีเศษกรรมก็เฉพาะตอนมีชีวิตอยู่เท่านั้น เพราะร่างกายท่านนั้นเกิดจากกิเลศตัณหาสร้างขึ้นแม้ท่านจะรับกรรมจากเศษกรรม แต่จิตของท่านก็ไม่วิตกหวั่นไหวในเศษกรรมนั้น


     2. นิพพานเอาจิตเข้าไปไม่ได้ เพราะจิตแท้เดิมทีเดียวนั้นเป็นของโลกไม่ใช่ของเรา
        เพียงแต่เรายึดครองเค้ามานานด้วยกิเลศตัณหานานแสนนาน แล้วจนคิดว่าจิตนั้นเป็นของๆเรา เราจะขโมยของๆโลกเข้าไปในนิพพานด้วยหรือ
        เมื่อมีจิตก็ต้องมีเกิดไม่มีจิตก็ไม่มีเกิด
        หากคิดว่าจิตนั้นเป็นของๆเราต้องเอาเข้าไปเสวยสุขในนิพพานด้วยแล้วนั้นคิดผิด จึงมีพระพรหมมากมาย


     ก็เพราะทำอย่างนี้อายุของพระพรหมนั้นยาวนานมากนับเป็นล้านๆปีของพรหมกว่าจะหมดอายุขัยแล้วมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วมาทำให้แจ้งถึงพระนิพพานอีกครั้งเสียเวลายาวนานมากๆนับว่าน่าเสียดาย

     พระนิพพานไม่ใช่ที่ที่จะคาดหมายว่า จะไปอยู่เพียงแต่ฝึกให้รู้ไว้ก่อนได้ แต่เมื่อจะไปจริงๆสัมภาระทั้งหมดต้องทิ้งไว้เบื้องหลังทั้งหมด

     จิตนั้นเป็นลมเกิดอยู่สำหรับโลก ให้ถือว่ามีไว้เพื่อให้รู้จักการบุญการกุศลบาปบุญคุณโทษนรกสวรรค์
     และนิพพาน คือ ที่สุดของการถือไว้เท่านั้นนะ เมื่อถึงเวลาไปนิพพานจริงๆ ก็ต้องปล่อยไม่ถือครองอันจิตนั้นโลกเค้าตั้งสร้างแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัย



      เมื่อจะเข้านิพพาน จึงต้องวางจิตใจคืนไว้ให้กับโลกตามเดิมเสียก่อน
      วางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้

      อนึ่งคนทั้งหลา่ยที่ไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม อันปราศจากความรู้นั้นก็ล้วนแต่บุคคลที่ปราถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางจิตให้สิ้นนั้นเอง เพราะจิตนั้นยังมีวิญญาณอาศัย และเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว


      และเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้นตัวก็นึกเอาจิตของตัวไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น เมื่อตายแล้วก็พาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่ไม่มีรูปตามที่จิตตนนึกไว้นั้น คนที่ได้ไปอยู่ในอรูปพรหมแล้ว จะกลับมาได้พระนิพพานนั้นช้านานยิ่งนัก เพราะอายุของอรูปพรหมนั้นยืนยาวมากนับไม่ได้เรา เรียกนิพพานนี้ว่า นิพพานโลกีย์

       ต่างกันที่มิได้ดับวิญญาณหรือจิตเท่านั้น
       ถ้าดับวิญญาณหรือจิตก็เป็นนิพพานโลกุตระได้
       ส่วนความสุขในพระนิพพา่นทั้งสองนั้นก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกัน
       แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่มีการสิ้นสุดเท่านั้น
       เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้วจะต้องมาเกิดแก่เจ็บตายอีก


       โลกุตระนั้นปราศจากวิญญาณหากที่ใดมีวิญญาณก็จะต้องกลับมาเกิดอีก โลกุตระนั้นไม่มีวิญญาณจึงไม่มีเกิดแก่เจ็บตายการวางจิต ก็คือการ วางทุกข์สุข รักโลภโกรธหลง ไม่เป็นเจ้า้ของสิ่งใดๆทั้งสิ้นแม้จิตอันนั้นที่คิดว่าเป็นของๆเรามันก็ไม่ใช่ของเราหากคิดว่าเป็นของๆแล้วจะเอาเข้านิพพานด้วยก็ไม่พ้นนิพพานโลกีย์

       นิพพานโลกุตระนั้นไม่อาจเรียกได้ว่าอยู่ตรงนั้นตรงนี้ หรือคาดหมายว่าจะเอาจิตไปอยู่ได้ ต้องวางจิตคืนให้กับโลกเสียก่อนจึงจะไปได้ ซึ่งที่นั้น ไม่มีวิญญาณจึงไม่มีจิตที่จะไปเกิดได้ ไม่มีกิเลศตัณหา อุปาทาน จึงเป็นบรมสุข เรียกว่าที่สุดของโลกหรือโลกุตระนิพพาน นั่นเอง

      @ในส่วนตัวแล้ว@
      เมื่อไม่มีจิตไม่มีวิญญาณ แล้วคำว่า "บรมสุขในนิพพานโลกุตระ" มันมาจากไหนกันเล่า
      อย่าลืมว่าการจะปล่อยวางจิตและวิญญาณก่อนจะเข้านิพพานนั้นจะต้องใช้สติปัญญาที่ละเอียดอ่อนสูงมาก เป็นสติปัญญาเรียกได้ว่า เป็นความรู้แจ้งสูงสุดก็ว่าได้


      เมื่อวางจิตวางวิญญาณด้วยปัญญานั้นได้แล้ว สิ่งที่อยู่ก็คือปัญญาอันรู้แจ้งโลกที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือเรียกว่า ความรู้แจ้งโลกก็ได้ อยู่คู่กับคำว่า บรมสุข เรียกว่า โลกุตระนั่นเอง ตัวของเราเหลือแต่ความรู้แจ้งโลก ความรู้แจ้ง ที่ไม่มีจิต ไม่มีวิญญาณ จึงมาเกิดไม่ได้อีกต่อไป เรียกว่ากลายเป็นความรู้แจ้งของธรรมชาติที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกไปเลยก็ว่าได้

      นิพพานจึงหาที่อยู่ที่ตั้งไม่ได้ เพราะว่า อยู่ได้ในทุกๆทีเป็นความรู้แจ้งในทุกสิ่งของธรรมชาติ กลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติไปแล้ว ธรรมชาติที่รู้แจ้งแทงตลอดอย่างแจ่มแจ้งเด่นชัด
      ลองคิดดูว่า ไม่กินไม่หิวไม่หนาวไม่ร้อนไม่ทุกข์ไม่โศก ไม่มีอะไรทั้งหมด มีแต่ความรู้แจ้งในทุกสิ่งทุกอย่างคงอยู่อย่างนั้น ครอบคลุมไปในทุกที่ ทุกๆอนันตจักรวาลทั้งน้อยใหญ่ ทุกมิติภพภูมิ นรกสวรรค์ ทุกชั้นพรหม ไม่รู้จะเขียนยังไงให้มันลึกซึ้งไปกว่าใจนี้คิดอีกแล้ว

 
ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40524
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/,http://i1091.photobucket.com/,http://www.amulet2u.com/,http://www.sahavicha.com/
178  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 01:03:05 pm
ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต



ในทางพระศาสนาท่านบอกอยู่เสมอว่า
ให้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท
การที่ต้องดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทนั้น
เพราะอะไรก็เพราะสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
เพราะสิ่งทั้งหลายมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เราจึงต้องไม่ประมาท
เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีความแน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปอย่างโน้นอย่างนี้
เราจะนอนใจนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้
จะต้องต้อนรับความเปลี่ยนแปลงด้วยปัญญา


ท่านบอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
แต่มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
อันนี้เป็นข้อสำคัญ คือหลักความเปลี่ยนนั้น
ไม่ได้บอกว่าสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปลอยๆ
ตัวหลักนี้เองก็ไม่ได้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวลอยๆ ของมัน
กล่าวคือ หลักความเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องไปสัมพันธ์กับหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
เมื่อสิ่งทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไป
และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างเลื่อนลอย
แต่มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
พอมันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย
ก็เป็นเรื่องที่โยงมาถึงการกระทำของเราว่า
จะต้องมีการใช้ปัญญา
คือ การที่เราจะต้องสืบสาวค้นคว้าหาเหตุปัจจัย
เพื่อว่าเมื่อเรารู้เหตุปัจจัยแล้ว เราจะได้แก้ไขป้องกัน
และสร้างเสริมได้ถูกต้อง
การเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมเราไม่ต้องการ
เมื่อเรารู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
เราก็สามารถแก้ไขป้องกันความเสื่อมนั้นได้


ถ้าความเปลี่ยนแปลงใด เป็นความเจริญที่ต้องการ
เราก็ลืมหาว่าอะไร
เป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความเจริญนั้น
เมื่อรู้แล้วเราก็ทำเหตุปัจจัยนั้น
ก็จะเกิดความเจริญที่ต้องการ


ฉะนั้น หลักการเปลี่ยนแปลงนี้
อย่าให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นหลักที่ลอยๆ
จะกำไรแค่ไหน ก็อยู่ที่รู้จักใช้อนิจจังหรือไม่
คนจำนวนมาก ใช้หลักอนิจจัง
หรือความเปลี่ยนแปลงนี้ ในทางที่ไม่สมบูรณ์
คือมองแค่ว่าสิ่งทั้งหลายต้องเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไป ก็ได้แต่ปลง
ว่าสิ่งทั้งหลายก็เป็นอย่างนี้เอง
เราต้องรู้เท่าทันว่า สังขารทั้งหลายเกิดขึ้นแล้ว
ก็แตกสลายไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้เท่าทันแล้วก็วางใจสบาย
ก็จบ คือสบายใจว่า
เออ มันเป็นไปตามธรรมดาของมัน
ที่จะต้องเสื่อมสลายก็จบเท่านั้น
อย่างนี้ท่านว่า เป็นการใช้ประโยชน์
จากหลักอนิจจังได้ครึ่งเดียว
แล้วก็เกิดโทษอีกด้านหนึ่ง หรืออีกครึ่งหนึ่ง
ซึ่งเป็นโทษเกิดจากการไม่โยกหลักนี้
ไปหาหลักของความเป็นไปตามเหตุปัจจัย


กฎไตรลักษณ์ ที่มีหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้
จะต้องโยงไปหาหลักฐาน
อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท
สองกฎนี้สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ปฏิจจสมุปบาท คือกฎแห่งความเป็นเหตุปัจจัย
สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏรูปร่างออกมา
เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยง เป็นต้นนั้น
เพราะว่ามันเป็นไปเหตุปัจจัย
คือเป็นไปตาม กฎอิทัปปัจจยตา
ซึ่งมีสาระว่า เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนั้นจึงเกิด
เมื่อสิ่งนั้นดับไป สิ่งนี้ดับไป อันนี้เป็นหลักที่สำคัญมาก


ฉะนั้น ไตรลักษณ์ จะต้องโยงไปหา ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าเราเห็นหลัก ปฏิจจสมุปบาท ก็ถึงตัวหลักที่แท้จริง
ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงลักษณะ เท่านั้น
คือ เป็นอาการปรากฏที่แท้จริง
คือ ปฏิจจสมุปบาท คือกฎของความเป็นเหตุปัจจัย
เราจะต้องจับเหตุปัจจัยได้
แล้วการรู้เหตุปัจจัยนี้แหละ
จะเป็นตัวนำไปสู่การที่จะต้องปฏิบัติได้ถูกต้อง

เพียงแต่เห็นสิ่งทั้งหลาย เปลี่ยนแปลงไป
แล้วปลงว่า มันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมดา
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดา
วางใจสบาย อันนั้นก็เป็นเพียงรู้เท่าทันในขั้นหนึ่ง
แต่จะต้องรู้ต่อไปอีกว่าที่มันเป็นอย่างนี้
ก็เพราะมันเป็นตามเหตุปัจจัย


ตรงนี้สิ เป็นตอนสำคัญ
ซึ่งจะโยงต่อไปสู่ภาคปฏิบัติ
คือ สืบสาวหาเหตุปัจจัยรู้เหตุปัจจัยของความเสื่อม
และความเจริญ แล้วก็มาถึงภาคปฏิบัติ
คือการที่จะทำตามเหตุปัจจัยแก้ไขที่เหตุปัจจัย
และสร้างเสริมเหตุปัจจัย
หมายความว่า แก้เหตุปัจจัยที่จะทำให้เสื่อม
และสร้างเสริมเหตุปัจจัยที่จะทำให้เจริญงอกงาม
อันนี้คือภาคปฏิบัติและนี่แหละ
คือหลักความไม่ประมาท


เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท
ก็เกิดจากการที่เข้าใจรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง
ความเปลี่ยนแปลงโยงอยู่ด้วยกัน
กับความเป็นไปตามเหตุปัจจัย
แล้วอาศัยกาลเวลา
กาลเวลาก็เกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงนี้เอง
แต่ดูเหมือนว่า กาลเวลานั้นรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่
ทุกขณะแห่งเวลา คือโอกาสก้าวหน้าของชีวิต
เมื่อกาลเวลานี้สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลง
กาลเวลาที่ผ่านไป เป็นไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นเมื่อเราเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง
เราก็ต้องเห็นความสำคัญของกาลเวลาด้วย


กาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละขณะจึงสำคัญมาก
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่า ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะอย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
คำว่า อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า นี่สำคัญมาก
สำนวนของท่านว่า ขณะอย่าได้ล่วงท่านไปเสีย
หมายความว่า จะต้องหมั่นถามตัวเองว่า
ขณะแต่ขณะนี้ เราได้ใช้ประโยชน์มันหรือเปล่า
มันผ่านไปอย่างมีค่า หรือผ่านไปอย่างไร
ประโยชน์ว่างเปล่า การเห็นความสำคัญของกาลเวลานี้
จะเห็นได้ในคำพิจารณาตัวเองของพระพุทธเจ้า
ทรงสอนพระให้พิจารณาเป็นประจำ
ท่านเรียกว่าหลัก อภิณหปัจจเวกขณะ ๑๐ ประการ
ตามหลักนี้ พระจะต้องพิจารณาตนเอง อยู่เนืองๆ
เป็นประจำสม่ำเสมอ ๑๐ ข้อ
ในบรรดา ๑๐ ข้อนั้น มีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่า


กถมฺ ภูตสฺส เม รตฺตินฺ ทิวา วีติ ปตนฺติ
บรรพชิต คือพระภิกษุพึ่งพิจารณาเนืองๆ ว่า
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
นี่เป็นคำเตือนที่สำคัญมาก
พอพิจารณาขั้นมาอย่างนี้
สติก็มาทันทีเลยว่าเวลาล่วงไป
วันคืนล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่
พอพูดแค่นี้แหละก็ได้สติ
พิจารณาตัวเองว่า เรากำลัง ทำอะไรอยู่หรือเปล่า
เวลาให้เลื่อนลอยไป และถ้าทำเราทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า
ถ้าทำสิ่งที่ผิด ที่ไม่ดีก็จะได้ยั้งหยุด
ถ้าปล่อยเวลาล่วงไป
ไม่ได้ทำอะไรก็จะได้เร่งทำ
หลักนี้ ฆราวาสก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
ถ้าพิจารณาทุกวัน ชีวิตจะเจริญงอกงาม พัฒนาแน่นอน
เพราะเมื่อพิจารณาว่าวันคือล่วงไป บัดนี้ เราทำอะไรอยู่
ก็ทำให้มีการสำรวจตรวจสอบปัจจุบันของตนเองทันที


คำเตือนสติอีกข้อหนึ่ง ที่น่าจะมาด้วยกัน
ก็คือ คาถาภาษิตว่า
อโมฆํ ทิวสํ กยิรา อปฺเปน พหุเกนวา
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
นี่คือ การรู้จักใช้เวลา
ถ้าได้ แค่นี้ แต่ละวันแล้ว กว่าจะถึงปีงบดุล
ชีวิตนี้จะต้องได้กำไรขอให้ทำอย่างนี้ทุกวัน
เป็นอันว่าคราวนี้ขอเสนอแค่สองข้อ
คือ ข้อที่หนึ่ง เตือนสติของตนเองว่า
พึงพิจารณาเนือง เนืองว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
ข้อที่สอง บอกตัวเองต่อไปว่า
เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า
จะมากหรือน้อยก็ต้องให้ได้อะไรบ้าง
เอาละ ได้แค่นี้ก็พอแล้ว


ถ้าพิจารณาทุกๆ วัน ชีวิตก็จะเจริญก้าวหน้า
กำไรก็จะตามมา
ถ้าเอามากข้อกว่านั้น
ก็ยากขึ้นไปหน่อย คือถึงขั้นที่ว่า
ขโณ โว มา อปจฺจคา
เวลาแต่ละขณะ อย่าให้ล่วงผ่านท่านไปเปล่า
ข้อนี้หมายความว่า แม้แต่เวลา แต่ละขณะๆ
ก็อย่าปล่อยผ่านต้องจับเวลาแต่ละขณะไว้ให้ได้ประโยชน์
ถ้าทำอย่างที่ว่ามานี้ ก็เรียกว่าใช้เวลาเป็น


ในการดำเนินชีวิตของคนเรานี้
การใช้เวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก
เพราะว่าเวลามันกลืนกินชีวิตเรา
พระท่านว่า เวลากลืนกินสรรพสัตว์
พร้อมกันไปกับกินตัวของมันเอง
ซึ่งแปลจากคำบาลีว่า
กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพา เนว สหตฺตนา
ที่ว่ากาลเวลากลืนกินตัวมันเองนั้น
เป็นการพูดแบบภาพพจน์
ที่จริงเวลามันไม่กินอะไร
แต่พูดเป็นภาพพจน์ ว่ามันกิน กาลเวลาผ่านไป
มันก็กลืนกินสรรพสัตว์ไปด้วย
เมื่อมันกลืนกินเรา เพื่อให้ประโยชน์คุ้มกัน
เราก็กลืนกินมันบ้าง
นี่แหละคือการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
หรือรู้จักบริโภคเวลา การใช้เวลาก็คือการบริโภคเวลา
เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักใช้เวลาก็คือ รู้จักบริโภคเวลา
ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=40553

 
179  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / รัก... ที่แท้จริง (พระพจนารถ ปภาโส) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2012, 11:36:33 am
รัก... ที่แท้จริง (พระพจนารถ ปภาโส)


ความรัก.....คืออะไร? คำตอบมีมากมาย มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี คละกันไป
ตามแต่จินตนาการของคนตอบจะสรรค์สร้างขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตของตน
ไม่มีคำตอบที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับคนที่ถาม
ฃแต่น่าแปลกที่ยังมีคนแสวงหาความรักอยู่มากมาย
และมีคนให้ความหมายความรักอีกมากมาย


ปรารภเรื่องความรักขึ้นมา ด้วยเหตุที่จะแสวงหาคำตอบว่า รักที่จริงแท้คืออะไร?
มุ่งหวังให้คนที่กำลังแสวงหาความรักได้ตระหนักถึงความรักที่จริงแท้
อันจักก่อแต่สุขประโยชน์แก่ชีวิตของตนและคนที่ตนรัก
และเพื่อสวัสดิผลอันงดงามของวัฒนธรรมประเพณีไทย
ที่บรรพชนไทยได้ก่อกำเนิดไว้ ให้ดำรงอยู่สืบไปอย่างวัฒนาสถาพร



ความรัก เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
เป็นปฏิกิริยาพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ดีที่พึงมีต่อกัน
เป็นปฏิกิริยาตรงข้ามกับความเกลียดชัง มนุษย์ทุกคนจึงสัมผัสความรัก
มาตั้งแต่ลืมตาขึ้นดูโลกใบนี้ เริ่มแต่ความรักอันบริสุทธิ์ที่พ่อแม่มอบให้แก่ลูกน้อย
ฃมาสู่ความรักในครอบครัวเช่นจากพี่น้องและวงศาคณาญาติ ความรักจากสังคม
เช่น จากครู เพื่อน เจ้านาย พระมหากษัตริย์
ความรักจากอุดมคติ คือจากพระศาสดา
ความรู้สึกถึงความรักเหล่านี้สามารถสัมผัสได้จากหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกัน
ตามนัยแห่งหน้าที่ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตร เรื่องทิศ ๖ ดังนี้



 หน้าที่ของมารดาบิดา ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลกคฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑
จักดำรงวงศ์สกุล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑
ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา ๑ ฯ
มารดา บิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาภรรยาที่สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑ ฯ
มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหน้านั้น
ชื่อว่าอันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ”



 หน้าที่ของครูอาจารย์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลกคฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑ ด้วยการเชื่อฟัง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑ ฯ
อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำดี ๑ ให้เรียนดี ๑
บอก ศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑
ทำความป้อง กันในทิศทั้งหลาย ๑ ฯ อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์
บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่า นี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วย สถาน ๕ เหล่านี้
ทิศเบื้องขวานั้น ชื่อว่าอันศิษย์ ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ฯ”



 หน้าที่ของสามีภรรยา ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลกคฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑ ฯ
ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงของ ผัวดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจผัว ๑
รักษาทรัพย์ที่ผัวหามา ได้ ๑ ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑ ฯ
ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น
ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ฯ”


หน้าที่ของมิตร ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลก คฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
คือ ด้วยการให้ปัน ๑ ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ด้วยประพฤติ ประโยชน์ ๑
ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความ จริง ๑ ฯ
มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑
ไม่ละทิ้ง ในยามวิบัติ ๑ นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ๑ ฯ
มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่า
อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ”


 หน้าที่ของนาย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลกคฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศ เบื้องต่ำอันนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑ ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑
ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑ ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ๑
ด้วยปล่อยในสมัย ๑ ฯ ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย ๑
เลิกการงานทีหลังนาย ๑ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑ ทำการงานให้ดีขึ้น ๑
นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑ ฯ ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ
อันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้
ทิศเบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า อันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนั้นฯ”


หน้าที่ของสมณพราหมณ์ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนสิงคาลกคฤหบดีบุตรว่า
“ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑
ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑ ฯ สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน
อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ
ห้ามไม่ให้ทำ ความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ๑
ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ฯ
สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์ กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบนนั้น
ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการ ฉะนี้ฯ”


เมื่อทราบถึงหน้าที่ที่ควรปฏิบัติต่อกันตามฐานะแล้ว ลองย้อนพิจารณาตัวเราเองว่า
ได้ทำหน้าที่เหล่านี้ต่อบุคคล อื่นแล้วหรือไม่? แล้วถามตนเองต่อไปว่า
เรามีความรักให้บุคคลเหล่านั้นแล้วหรือ? เมื่อพิจารณาถึงที่สุดจะพบว่า
ความรักที่ตนเองมีต่อพ่อแม่หรือลูก, ครูอาจารย์หรือศิษย์, สามีหรือภรรยา, มิตร,
นายหรือบ่าว และสมณพราหมณ์หรือผู้ที่เคารพ เป็นอย่างไร
การมีความรักและไม่มีความรักให้ผลต่างกันอย่างไร?
คำตอบเหล่านี้จะสะท้อนถึงความรักที่เรามีต่อคนอื่น สุขหรือทุกข์จากความรัก
จึงเป็นผลของการไม่ปฏิบัติตนตามหน้าที่ที่ควรทำนั่นเอง


ความรักที่เกิดจากการทำหน้าที่ของตน เป็นความรักที่จริงแท้
อำนวยผลเป็นสุขประโยชน์ให้แก่บุคคลผู้ทำหน้าที่ของตนเสมอ
ทั้งยังก่อให้เกิดกระแสความรักที่ไหลหลั่งหมุนเวียนในจิตใจของบุคคลรอบข้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ยังสุขประโยชน์ให้เป็นไปในสังคมของตน ด้วยอำนาจแห่งสุขประโยชน์นั้น
ก็จะทำให้เกิดความปรารถนา ให้ผู้อื่นได้รับสุขประโยชน์เช่นตนบ้าง
จึงแนะนำและทำตนให้เป็นตัวอย่างแก่คนอื่นอยู่เสมอ
ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์
นำให้เกิดพระพุทธศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน


เมื่อทราบความหมายแห่งรักที่จริงแท้ดังนี้แล้ว
ก็จะเข้าใจได้ว่าความรักที่ทุกคนแสวงหาในวัยหนุ่มวัยสาวนั้น
ไม่ใช่ความรักที่จริงแท้ แต่เป็นความใคร่
ความปรารถนา ที่มุ่งหวังแต่สุขประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว
ซึ่งเมื่อแต่ละคนประพฤติตนโดยมุ่งหวังสุขประโยชน์ของตนเช่นนี้
ก็ทำให้กล้าที่จะทำลายประเพณีที่ดีงามอันบรรพชนได้สร้างสรรค์ไว้
เพศสัมพันธ์จึงเป็นคำตอบสุดท้ายของคนกลุ่มนี้ นี่เป็นเหตุทำให้เขาเหล่านี้
มีพฤติกรรมที่ต่ำกว่าสัตว์ดิรัจฉาน เพราะเหตุว่าสัตว์จะมีเพศสัมพันธ์ตามเวลา
เพื่อการดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของมัน


เพราะตระหนักถึงภัยที่เกิดจากความใคร่อันจักก่อปัญหาขึ้นในสังคม
ทำให้สังคมเต็มไปด้วยอบายมุข ไร้ซึ่ง ศีลธรรม และความดีงาม
พระพุทธเจ้าจึงทรงกำหนดศีลข้อที่ ๓ ไว้ว่า กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ทรงบัญญัติศีลข้อนี้ด้วยหวังปลูกความสามัคคี
สร้างความเป็นปึกแผ่น ป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์
และทำให้วางใจกันและกัน ชายกับหญิงแม้ไม่ได้เป็นญาติกัน
ก็ยังมีความรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
ด้วยอำนาจความปฏิพัทธ์ในทางกามสิกขาบทข้อนี้
แปลว่า เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คำว่า “กามทั้งหลาย” ในที่นี้ได้แก่
กิริยาที่รักใคร่กันทางประเวณี หมายถึง เมถุน คือ การส้องเสพระหว่างชายหญิง


พระพุทธเจ้าทรงแสดงผลแห่งการผิดศีลข้อ ๓ นี้ของ พระองค์ไว้
มีบันทึกหนังสือสัมภารวิบาก (กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า) ว่า
ณ กาลเมื่อปุณฑริกกัป ๑ บังเกิด ครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์
ได้เสวยพระชาติกำเนิดในตระกูลช่างทอง เมื่อเจริญวัยใหญ่กล้าขึ้นแล้ว
ก็เป็นช่างทองผู้ ฉลาด ทรงรูปสิริเลิศล้ำบุรุษ ณ กาลนั้นท่านได้ปลอมตัวเป็นขัตติยนารี
แล้วใช้อุบายร่วมภิรมย์สังวาสกามรดีกับนางกาญจนวดี ธิดาของกรัณฑกะ มหาเศรษฐี
ผู้เป็นภรรยาของบุตรชายแห่งวิสาลมหาเศรษฐี ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาของตน
เมื่อตายจากชาตินั้น พระองค์ต้องไปตกนรกได้รับทุกขเวทนานานนับหมื่นปี
เมื่อพ้นกรรมจากนรก ก็มาเกิดเป็นกระเทย ลา โค อย่างละ ๕๐๐ ชาติ จึงจะพ้นวิบากกรรมนั้น


พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสพระสัทธรรมสอนพุทธเวไนยนิกรว่า
“สัตว์ทั้งหลายในโลกสันนิวาสนี้ ย่อมได้เสวย ทุกขเวทนาแสนสาหัสในอบายภูมิ ๔
เพราะเดือดร้อน ด้วยราคาทิกิเลส ผู้ไม่รู้พระสัทธรรมเป็นเหตุให้เจริญภพ เจริญชาติ
ความก่อเกิดเป็นร่างกายเที่ยวเวียนว่ายอยู่ในโอฆสงสาร
แม้จะกำหนดกำเนิดด้วยอนากโกฏิอสงไขยกัป นั้นนับมิได้
เมื่อเป็นพุทธบุคคลแล้วนั้นแล จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นผู้พ้นจากจตุราบาย”


เหตุนี้ จึงพอสันนิษฐานได้ว่า กระเทย ทอม ดี้ ผู้มีความผิดปกติทางเพศ
ย่อมเป็นผู้ได้เคยกระทำผิดศีลข้อ ๓ มาแต่อดีต ผลแห่งกรรมนั้น
จึงทำให้มาดำรงสภาพเป็น กระเทย ทอม ดี้ ในชาตินี้
เพราะความปรารถนาที่ผิดปกติครอบงำ ทำให้เขาเหล่านั้น
มีดวงตามืดบอดต่อความดีงามและจารีตประเพณี เกิดความคิดเห็นว่าสิ่งที่ตนทำ
นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จึงเผยแพร่ความคิดที่วิปริตไปในสังคม
ชักจูงให้เยาวชนผู้ไร้ความคิดดำเนินชีวิตแบบวิปริต ตามไปอีกมากมาย
ทำให้ทราบว่าคนทำผิดศีลข้อ ๓ แต่อดีตกาลนั้นมีมากเพียงใด
ผลที่ติดตามมาก็คือความเสื่อมสูญของจารีตประเพณีและพระพุทธศาสนา


แม้จะมีพระสงฆ์ที่มุ่งมั่นสอนแนวทางการดำเนินชีวิตไปตามหลักการแห่งรักที่จริงแท้
ตามพระบรมพุทโธวาท อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่สามารถนำวิถีสังคมไทยที่งดงาม
ให้สามารถคงอยู่สืบไป เพราะคนไทยเสพความรักจอมปลอม
จากสื่อสารมวลชนไปจนติดใจแล้ว สังเกตได้จากละครทีวี
ที่เป็นเรื่องราวประโลมโลกเป็นส่วนใหญ่ นี่ จึงเป็นสาเหตุนำให้เกิดปัญหาทางสังคม
อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ยากที่จะแก้ไขให้กลับมาได้ในสถานการณ์ทุนนิยมเช่นปัจจุบัน


การแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากความรัก จึงเป็นหน้าที่ ของคนในสังคมทุกคน
ที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบตามฐานะ แห่งตน ด้วยการทำความรักที่จริงแท้
ให้ปรากฎในครอบครัวของตน และผลแห่งความรักเช่นนี้
จะแพร่กระจายไปในสังคม ทำให้สังคมมีแต่สุขประโยชน์ตลอดไป


๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นวันวาเลนไทน์
ควรที่เยาวชนผู้ปรารถนาความรัก พึงแสดงความ รักที่จริงแท้แก่บุพการีชนของตน
ให้เหมือนกับคนจีนที่รักษาพิธีการวันตรุษจีนไว้อย่างเหนียวแน่น
พร้อมกับสอนนัยยะแห่งการดำเนินชีวิตผ่านพิธีการวันตรุษจีนแก่ลูกหลาน
ซึ่งการณ์นั้นก็เป็นไปตาม
พระโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้
ในวันมาฆบูชาว่า “การไม่ทำ บาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม
และการทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว” นี่ล่ะคือสุขประโยชน์ที่แท้จริง


อย่าทำตนให้มีความรักที่เศร้าหมอง เหมือนคนที่ให้นิยามความรักไว้ว่า
LOVE :

L = Lake of tears (ทะเลสาบแห่งน้ำตา)
O = Ocean of sorrow (มหาสมุทรแห่งความเสียใจ)
V = Valley of death (หุบเขาของความตาย)
E = End of life (จุดจบของชีวิต) แล


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=27&t=31886

180  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทุกวันพระ เทวดาจะลงมาตรวจดูโลกว่า มนุษย์ทำบุญกันมากหรือน้อยอย่างไร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 01:40:44 pm


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ราชสูตรที่ ๑

      [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวารของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๑๔ ของปักษ์ พวกโอรสของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตนเองทีเดียวว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดาเกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญมีอยู่น้อย ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกันอยู่ ณ สุธรรมาสภาว่า

    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา... ปฏิบัติ ทำบุญ มีน้อย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันเสียใจว่า
    ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกายจักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า

    ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันดีใจว่า
    ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจักเสื่อมสูญ ฯ



ที่มา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๓๗๑๗ - ๓๗๔๐.  หน้าที่  ๑๖๐ - ๑๖๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3717&Z=3740&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=476
ขอบคุณภาพจาก http://sphotos.ak.fbcdn.net/,http://cdn.gotoknow.org/
181  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมทำบุญเททอง ณ วัดท่าข้ามเจริญศรัทธา 7 มี.ค.55 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 01:03:42 pm




ขอเชิญทุกท่านร่วมทำบุญเททอง
และสร้างอาคารรองรับพระใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ในวันที่ 7 มีนาคม 2555 


หรือจะโอนเงินทำบุญไปที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางปะกง
เลขที่บัญชี 686-2475235
ชื่อบัญชี "วัดท่าข้ามเจริญศรัทธา" หรือ
ธนาณัติสั่งจ่ายไปรษณีย์บางปะกงในนาม "พระครูวิทิตปัญญาภรณ์" เจ้าอาวาส วัดท่าข้ามเจริญศรัทธา
ต.ท่าข้าม อ.บางปะกง จ. ฉะเชิงเทรา 24130


สอบถามที่ พระครูวิทิตปัญญาภรณ์ โทร. 081-650-1231
แฟกซ์ 038-574-241, 02-2414011


แผนที่

182  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เสียงตัดพ้อจากก้นบึ้ง...จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 12:20:41 pm
     

เสียงตัดพ้อจากก้นบึ้ง...จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค

     ในครั้งพุทธกาล พระเถระรูปหนึ่งชื่อ ตาลปุฏะ หลังจากบวชแล้วออกไปบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า ท่านใช้เวลาบำเพ็ญอยู่นาน แต่ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลตามที่ประสงค์ จึงค้นสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร ในที่สุดก็พบว่าเป็นเพราะจิตของท่านนั่นเอง

     ครั้นแล้วท่านจึงได้เปล่งอุทานเป็นเชิงตัดพ้อต่อว่าจิต คำตัดพ้อของท่านเปิดเผยให้เราได้รู้ถึงความเป็นจริง ของจิตปุถุชนอีกลักษณะหนึ่ง ดังนี้


     "ดูก่อนจิต เจ้าได้อ้อนวอนเราเป็นเวลาหลายปีแล้วว่า ท่านไม่สมควรอยู่ครองเรือนเลยบัดนี้ เราได้บวชตามประสงค์ (ของเจ้า) แล้ว เหตุไฉนเจ้าจึงได้ละทิ้งสมถวิปัสสนา มัวแแต่เกียจคร้านอยู่เล่า ?

     ดูก่อนจิต เจ้าได้ออดอ้อนเรามาแล้วมิใช่หรือว่า ฝูงนกยูงมีขนปีกอันแพรวพราว และเสียงกึกก้องแห่งธารน้ำตกตามซอกเขา จักทำท่านผู้เพ่งฌานอยู่ในป่าให้เพลิดเพลิน เราเองก็ยอมเสียสละญาติและมิตรที่รักใคร่ในตระกูล สลัดความยินดีในการเล่นและกามคุณในโลกจนหมดแล้ว จึงเข้ามาบวชอยู่ในป่านี้

     ดูก่อนจิต ส่วนเจ้าซิ ช่างไม่ยินดีต่อเราผู้ทำตาม (ความยินดีของเจ้า) เอาเสียเลย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า จิตนี้เป็นของเรา ไม่ใช่ของผู้อื่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการร้องไห้ร่ำพิไรในเวลาทำสงครามกับกิเลสมาร
     เพราะจิตทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติหวั่นไหว จึงยอมออกบวชแสวงหาทางอันไม่ตาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นจอมท้าวสักกเทวราช เป็นจอมสารถีฝึกนระ ตรัสสุภาษิตนี้ไว้ว่า


    จิตนี้กวัดแกว่งเช่นวานร ห้ามได้แสนยากเพราะยังไม่ปราศจากความกำหนัด ปุถุชนผู้ไม่รู้เท่าทัน พัวพันอยู่ ในกามอันล้วนแต่ของงดงามมีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ใจ เขาเหล่านั้นเป็นผู้แสวงหาภพใหม่ กระทำแต่สิ่งไร้ประโยชน์ ชื่อว่าประสงค์ทุกข์ย่อมถูกจิตนำไปสู่นรกโดยแท้

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า ท่านจงไปอยู่ท่ามกลางเสียงร่ำร้องแห่งนกยูง และนกกระเรียน จงไปอยู่ท่ามกลางเสือเหลือง และเสือโคร่งในป่าเถิด ท่านจงสละความห่วงใยในร่างกายอย่ามีความอาลัยเลย

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงอุตส่าห์ เจริญฌาน อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และสมาธิภาวนา จะได้บรรลุวิชชา ๓ ในพระพุทธศาสนา

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงเจริญอัฏฐังคิกมรรค เพื่อบรรลุนิพพาน อันเป็นทางนำสัตว์ออกไปจากโลก นำไปให้ถึงความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องชำระล้างกิเลสทั้งปวง



   ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงพิจารณาเบญจขันธ์ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นของว่างเปล่า หาตัวตนไม่ได้ เป็นของวิบัติ และเป็นเพชฌฆาต

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงปลงผมและหนวด แล้วถือเอาเพศสมณะมีรูปลักษณะอันแปลกประหลาดเถิด ต้องถูกเขาสาปแช่ง ถือเอาบาตรเที่ยวขอทานตามตระกูล จงประคับประคองตนอยู่ในคำสอนของพระบรมศาสดา ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เถิด

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงสำรวมระวังเมื่อเวลาเที่ยวไปบิณฑบาตตามระหว่างตรอก จงอย่าปล่อยใจให้เกี่ยวข้องในตระกูลและกามารมณ์ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญทอแสดงเด่นเฉิดฉายไร้เมฆเถิด

    ดูก่อนจิต แต่ก่อนเจ้าเคยแนะนำเราไว้ว่า จงยินดีในธุดงค์คุณทั้ง ๕ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุลเป็นวัตร ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด บุคคลผู้ต้องการผลไม้ ปลูกต้นไม้ไว้แล้วเก็บผล ไม่ได้ ก็ประสงคจะโค่นต้นไม้นั้นเสีย ฉันใด

    ดูกรจิต ผู้ใดหวั่นไหวในความไม่เที่ยง เจ้าจงทำเราผู้นั้นให้เป็นเหมือนกับบุคคลผู้ปลูกต้นไม้นั้นเถิด

    ดูก่อนจิต เจ้าผู้ไม่มีรูปท่องไปได้ไกล เที่ยวไปแต่ผู้เดียว บัดนี้เราจักไม่ทำตามคำของเจ้าแล้ว เพราะว่ากามล้วนเป็นทุกข์ มีผลเผ็ดร้อน เป็นภัยใหญ่หลวง เราจักส่งใจมุ่งนิพพานเท่านั้น เราไม่ได้ออกบวชเพราะหมดบุญ เพราะไม่มีความละอาย เพราะเหตุแห่งการทำผิดต่อชาติบ้านเมือง หรือเพราะเหตุแห่งอาชีพ

    ดูก่อนจิต เจ้าได้รับรองกับเราไว้มิใช่หรือว่า จักอยู่ในอำนาจเรา

   ดูก่อนจิต เจ้าได้แนะนำเราไว้ในครั้งนั้นว่า ความเป็นผู้มักน้อย การละความลบหลู่คุณท่าน และความสงบระงับทุกข์ สัตบุรุษสรรเสริญ แต่บัดนี้เจ้ากลับมีความมักมาก เราไม่อาจกลับไปสู่ตัณหา ราคะ ความรัก ความชัง รูปอันสวยงาม สุขเวทนา และเบญจกามคุณอันเป็นของชอบใจที่เราคายเสียแล้ว

    ดูก่อนจิต เราได้ยอมปฏิบัติตามถ้อยคำของเจ้ามาหลายภพหลายชาติแล้ว เราไม่ได้แข็งข้อต่อเจ้าหลายชาติมาแล้ว เจ้าก็ช่างมีกตัญญูเสียจริง จึงปรากฏมีอัตภาพนี้ขึ้นอีก เจ้าทำให้เราต้องท่องเที่ยวไปในกองทุกข์มาช้านานแล้ว



    ดูก่อนจิต เจ้าทำให้เราเป็นพราหมณ์ เป็นพระราชา มหากษัตริย์มากแล้ว เพราะอำนาจแห่งเจ้าบางคราว เราจึงเกิดเป็นแพศย์ เป็นศูทร์ เป็นเทพเจ้าเพราะอำนาจแห่งเจ้า บางคราวเราจึงเกิดเป็นสัตว์นรก บางคราวเป็นสัตว์เดรัจฉาน บางคราวเป็นเปรต
 
    เจ้าได้ทำร้ายเรามานับครั้งไม่ถ้วนมิใช่หรือ บัดนี้เราจักไม่ยอมให้เจ้าทำเหมือนเมื่อก่อนได้อีกแม้เพียงครู่เดียว เจ้าได้ล่อลวงเราเหมือนกับคนบ้า ได้ทำความผิดแก่เรามาแล้วมิใช่หรือ
    จิตนี้แต่ก่อนเคยเที่ยวไปในอารมณ์ต่าง ๆ ตามความประสงค์ ตามความใคร่สบาย วันนี้เราจักข่มจิตนั้นไว้ โดยอุบายอันชอบ ดังนายหัตถาจารย์ข่มช้างตกมันไว้ด้วยขอฉะนั้น พระศาสดาของเราได้ทรงเห็นโลกนี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นแก่นสาร

    ดูก่อนจิต เจ้าจงพาเราบ่ายหน้าไปในศาสนาของพระชินสีห์ จงพาเราข้ามจากห้วงใหญ่ที่ข้ามได้แสนยากเถิด

    ดูก่อนจิต เรือนคืออัตตภาพของเจ้านี้ ไม่เป็นเหมือนกาลก่อนเสียแล้ว เพราะเราจักไม่เป็นไปตามอำนาจของเจ้าอีกต่อไป เราได้บวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์อันยิ่งใหญ่แล้ว
    ภูเขา มหาสมุทร แม่น้ำคงคา แผ่นดิน ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และภพ ล้วนเป็นสภาพไม่เที่ยง มีแต่ถูกเบียดเบียนอยู่เสมอ ดูก่อนจิต เจ้าจะไป ณ ที่ไหนเล่าจึงจะมีความสุขรื่นรมย์


    ดูก่อนจิต เมื่อเรามั่นคงแล้ว เจ้าจักทำอะไรแก่เราได้ เราไม่เป็นไปตามอำนาจของเจ้าแล้ว
    เจ้าจงไปสู่เรือนคือถ้ำ ที่มีเงื้อมภูเขาอันสวยงามตามธรรมชาติ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งสัตว์ป่า คือหมูและกวาง และอยู่ในป่าที่ฝนตกใหม่ๆ เถิด จักได้ความรื่นรมย์ใจ ณ ที่นั้นฝูงนกยูงมีขนคอสีเขียว มีหงอนและปีกงามรำแพนหางมีแวววิจิตร ส่งสำเนียงก้องกังวานไพเราะจับใจ จักทำเจ้าผู้บำเพ็ญฌานอยู่ในป่าให้ร่าเริงได้

    เมื่อฝนตกแล้วหญ้างอกประมาณ ๔ นิ้ว ท้องฟ้างามแจ่มใสไม่มีเมฆปกคลุม เมื่อเจ้าทำตนให้เสมอด้วยไม้แล้วนอนอยู่เหนือหญ้าระหว่างภูเขานั้น จะรู้สึกอ่อนนุ่มดังสำลี เราจักทำตัวให้เหมือนผู้ใหญ่ จะยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านย่อมทำจิตของตนให้เหมาะแก่การงานฉันใด เราจักทำจิตฉันนั้น
   เราจักเป็นเหมือนผู้ใหญ่ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ จักใช้ความเพียรนำเจ้าไปสู่อำนาจของเรา เหมือนนายหัสดาจารย์ผู้ฉลาด ใช้ตาขอนำช้างที่ตกมันไปสู่อำนาจของตน


   เราย่อมสามารถที่จะดำเนินตามหนทางอันเกษมสุข ซึ่งเป็นหนทางอันบุคคลผู้รักษาจิตได้ดำเนินมาแล้ว ทุกสมัยด้วยหัวใจอันเที่ยงตรงที่ฝึกฝนดีแล้ว เปรียบเหมือนนายอัศวาจารย์ สามารถจะดำเนินไปตามภูมิสถานที่ปลอดภัย ด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว


    เราจักผูกจิตไว้ในอารมณ์ คือ กรรมฐานด้วยกำลังภาวนา
    เหมือนนายหัสดาจารย์มัดช้างไว้ที่เสาตลุงด้วยเชือกเหนียว
    จิตที่คุ้มครองดีแล้ว อบรมดีแล้วด้วยสติ จักเป็นจิตที่ตัณหาไม่เกี่ยวเกาะ
    เจ้าจงตัดทางดำเนินที่ผิดเสียด้วยปัญญา
    ข่มใจให้ดำเนินไปในทางที่ถูกด้วยความเพียร
    ได้เห็นแจ้งทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
    แล้วจักได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าผู้แสดงธรรมอันประเสริฐ


    ดูก่อนจิต เจ้าได้นำเราให้เป็นไปตามอำนาจของความเข้าใจผิด ๔ ประการ เหมือนบุคคลจูงเด็กชาวบ้านวิ่งวนไป ฉะนั้น เจ้าควรคบหาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยวและเครื่องผูกเสียได้ ผู้เพียบพร้อมด้วยพระมหากรุณาเป็นจอมปราชญ์

     มฤคชาติเข้าไปยังภูเขาอันน่ารื่นรมย์ดารดาษด้วย น้ำและดอกไม้ เที่ยวไปในป่าอันงามตามลำพัง ฉันใด ดูก่อนจิต เจ้าก็จักรื่นรมย์อยู่ในภูเขาที่ไม่เกลื่อนกล่อนด้วยผู้คนตามลำพังใจ ฉันนั้น เมื่อเจ้าไม่ยินดีอยู่ที่ภูเขานั้น เจ้าจักต้องเสื่อมโดยไม่ต้องสงสัย

    ดูก่อนจิต หญิงชายที่ประพฤติตามความพอใจตามอำนาจของเจ้า เสวยความสุขที่อาศัยเบญจกามคุณ ล้วนได้ชื่อว่าเป็นผู้โง่เขลาตกอยู่ในอำนาจของมาร เพลิดเพลินอยู่ในภพน้อยใหญ่ และได้ชื่อว่าเป็นสาวกของเจ้า

_________________________
ที่มา  ขุ.เถร. ๒๖/๓๙๙/๔๑๓-๔๒๕


      คำตัดพ้อของพระเถระเท่าที่ยกมานี้ นอกจากจะทำให้เราเห็นว่าจิตของปุถุชนนั้นกลับกลอกไปมาอยู่ตลอดเวลา ด้วยแรงหลอกล่อของกิเลสแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจอีกว่า

      สุขทุกข์ทั้งมวลที่เราได้รับ เกิดมาแต่จิตเป็นผู้สร้างเป็นผู้กำหนด ตลอดถึงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏที่ผ่านมาผ่านไปอย่างไม่มีจุดจบนั้น ทั้งหมดมีสาเหตุจากจิตทั้งสิ้น เพราะเหตุนี้เองกระมัง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้อีกตอนหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของจิตว่า

     "โลกอันจิตนำไปอยู่ เป็นไปตามจิต สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจแห่งธรรมอันเดียว คือ จิต"

__________________
ที่มา  สํ.ส ๑๕/๑๘๑/๕๔

ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=41137
ขอบคุณภาพจาก http://www.numtan.com/,http://www.goodsoil.com/,http://lh5.ggpht.com/,http://www.seesod.com/,http://pongcp.files.wordpress.com/
183  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมีที่ทำให้เป็นคนมีสติปัญญา(ดังตฤณ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2012, 12:37:21 pm
กรรมีที่ทำให้เป็นคนมีสติปัญญา(ดังตฤณ)

ถ้าสวยหล่อแล้วหลอกง่าย ถ้าขยันจนร่ำรวยแล้วใช้เงินแบบโง่ๆจนหมดตัว ชีวิตก็ไม่ต้องได้มีความสุขกัน ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิตดีๆ ปัญหาคือทุกวันนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญยังคงงงงวยกันไม่เลิกว่าสติปัญญามาจาก ไหนกันแน่ จะว่าเป็นเชื้อที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ก็คงพูดไม่ได้เต็มปากเต็มคำ เพราะบางคนฉลาดระดับอัจฉริยะในขณะที่พ่อแม่มีสติปัญญาปานกลางหรือค่อนข้าง ต่ำ ตรงข้าม บางคนพ่อแม่เป็นถึงอาจารย์มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยดีเด่น แต่ลูกกลับหัวช้า สอบเข้าเรียนที่ไหนก็ไม่ติด เป็นต้น

พุทธพจน์

ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ
(โภชนทานสูตร)

การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง
(คาถาพระธรรมบท)

ปัญญา มีศีลเป็นเครื่องชำระให้บริสุทธิ์ และในทางกลับกัน ศีลก็มีปัญญาเป็นเครื่องชำระให้บริสุทธิ์ด้วย ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และนักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่าเป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือ
ด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้าฉะนั้น
(โสณทัณฑสูตร)

คนในโลกนี้ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม ถ้าเข้าหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำแล้วเปล่าประโยชน์ ทำแล้วให้ผลเป็นทุกข์ตลอดไป อะไร เมื่อทำแล้วเกิดประโยชน์ ทำแล้วให้ผลเป็นสุขตลอดไป เมื่อเขาได้คำตอบแล้วรับเอาเป็นข้อปฏิบัติจนชั่วชีวิต เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีปัญญามาก
(จูฬกัมมวิภังคสูตร)

มีธรรมอยู่ข้อหนึ่ง ที่ใครก็ตามทำให้เจริญขึ้นในตนเป็นอันมากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ปัญญาเจริญ ปัญญาไพบูลย์ ปัญญาใหญ่ ปัญญามาก ปัญญาลึกซึ้ง ปัญญาแก่กล้า ปัญญากว้างขวาง ปัญญาว่องไว ปัญญาเร็ว ปัญญาร่าเริง ปัญญาแล่น ปัญญาคม ปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อนั้นคืออะไร? คือ กายคตาสติ คือการเอากายนี้เป็นที่ตั้งของการเจริญสติ
(ปสาทกรธัมมาทิบาลี)

มุมมองอันควรได้จากพุทธพจน์

คุณ จะเห็นว่าความฉลาดคืออะไร ก็ต่อเมื่อเจอใครสักคนที่แสดงความฉลาดอย่างน่าทึ่งออกมาให้เห็น เช่น เมื่อคนทั้งห้องแก้ปัญหาโจทย์เลขที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่ได้ แล้วมีใครคนหนึ่งยืนขึ้นและบอกว่าแก้ได้

แต่ บุคคลอันเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาด เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ผู้เขย่าโลกด้วยทฤษฎีอันเป็นต้นกำเนิดระเบิดปรมาณู บอกเราว่าความฉลาดไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเก่ง แต่ยังต้องเป็นสุดยอดนักตั้งคำถาม ถามแล้วเกิดมุมมองใหม่ หรือถามแล้วจุดชนวนให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากศึกษาเข้าไปให้ถึงแก่นความจริง

บุคคล อันเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้เร็ว เช่น วิลเลี่ยม เจมส์ ไซดิส (William James Sidis) ซึ่งทำความรู้จักภาษาละตินด้วยตนเองเมื่ออายุ ๒ ขวบ และโตขึ้นเป็นคนที่ใช้เวลาเรียนรู้ภาษาหนึ่งๆได้เพียงภายในวันเดียว กับทั้งสามารถแปลความจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาอื่นใดก็ได้แบบฉับพลันทันที ชีวิตของเขาแสดงให้เราเห็นว่าถ้าใครสักคนจะรู้ทุกภาษาในโลก ก็ต้องมีไฟใฝ่รู้ตั้งแต่ขวบเดียวด้วยตนเอง ไม่ใช่รอให้ถูกกระตุ้นโดยพ่อแม่หรือสิ่งแวดล้อม และถ้าฉลาดขนาดพูดได้ทุกภาษา ก็ย่อมทะลุขีดจำกัดความฉลาดได้หมด ดังเช่นที่ไซดิสหลักแหลมขนาดพยายามศึกษาทฤษฎีของไอน์สไตน์เพื่อ "จับผิด" ตั้งแต่อายุแค่ ๑๐ ขวบ!

ว่า กันว่าไอคิวของไอน์สไตน์อยู่ในช่วงประมาณ ๑๖๐ ถึง ๑๘๐ ส่วนของไซดิสจะเป็น ๒๕๐ ถึง ๓๐๐ ในขณะที่โลกนี้มีคนเพียงหนึ่งในร้อย ที่ไอคิวสูงกว่า ๑๓๕ นอกนั้นอยู่ในช่วงประมาณ ๘๕ ถึง ๑๑๕ กันเกือบหมด

หลัก การวัดไอคิวมักเน้นเรื่องปฏิภาณและการใช้จินตนาการแก้ปัญหาน่างงงวย อย่างไรก็ตาม ยังมีหลักวิธีวัดไอคิวบางชนิด ที่ถือเอาความปราดเปรื่องในการสร้างผลงานมาเป็นเกณฑ์ เช่น หากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ก่อนอายุ ๑๗ ก็ถือว่าเป็นอัจฉริยะ รับประกันความมีไอคิวสูงกว่าคนปกติ เพราะคนปกติจะไม่มีผลงานเป็นที่ยอมรับก่อนอายุ ๑๗ เป็นต้น

ผล งานของคนฉลาดก็อาจจุดประกายให้ฉุกคิดว่าคนเราควรมีความฉลาดสูงสุดเอาไว้ทำ อะไรกันแน่ เพื่อให้รู้ว่าเป็นอัจฉริยะเหนือคนอื่นก่อนอายุ ๑๗ หรือเพื่อให้รู้ว่ามนุษย์อาจเก่งได้ไม่จำกัด เช่นที่ไซดิสสำแดงความสามารถเอาไว้ หรือเพื่อเปิดโปงความลับอันยิ่งใหญ่ของจักรวาลด้วยคณิตศาสตร์ เช่นที่ไอน์สไตน์เพียรพยายามสุดฤทธิ์?

ยิ่ง ศึกษาชีวิตของอัจฉริยะในประวัติศาสตร์มากขึ้นเท่าไร คุณจะยิ่งเห็นความจริงว่าชีวิตของอัจฉริยะแต่ละคนถูกออกแบบมา เพื่อสนองวัตถุประสงค์บางอย่าง บางทีก็เป็นประโยชน์กับโลก บางทีก็ไปมีส่วนในการทำลายโลก และบางทีก็เพียงเพื่อให้โลกรู้ว่าคนเราอาจเก่งกาจได้ขนาดไหน

เจ้า ชายสิทธัตถะก็รอบรู้และแตกฉานสารพัดศาสตร์ตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ แม้ปฐมฌานอันเป็นสมาธิที่เข้าถึงได้ยากแสนยาก พระองค์ก็ฝึกสำเร็จเองตั้งแต่พระชันษาเพิ่ง ๗ ปี ที่สำคัญพระองค์เห็นชีวิตด้วยมุมมองที่แตกต่างจากคนอื่น สามารถตั้งคำถามที่สำคัญที่สุดในโลกได้เอง แถมตอบคำถามได้เองอีก และเหนือสิ่งอื่นใดคือสามารถประกาศคำตอบสำคัญสูงสุดนั้นออกไปทั่วโลก จึงทำให้พระองค์ถูกจดจำไว้ว่าเป็น "พระพุทธเจ้า" ซึ่งแปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสามารถประกาศความรู้ด้วยการสถาปนาพุทธศาสนาขึ้นในโลก!

ชาว พุทธที่เข้าถึงปัญญาแบบพุทธ จะรู้ว่าความฉลาดสูงสุดไม่ใช่เลขไอคิวสูงสุด แต่เป็นการรู้จักโจทย์สำคัญสูงสุด และได้คำตอบเป็นประโยชน์สูงสุด ตามรอยบาทพระศาสดา

กรรมในการให้ทาน

การ ให้ทานจะทำให้เราหายโง่ในขั้นพื้นฐาน นั่นเพราะอะไร? เพราะปกติคนทั่วไปจะหลงเชื่อกิเลส นึกว่าหวงไว้ เอาเข้าตัวท่าเดียว นับว่าได้เปรียบ ได้เป็นสุข ความจริงก็คือยิ่งเอาเข้าตัวเท่าไร ยิ่งอึดอัดคัดแน่นในอกขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งที่กระวนกระวายไม่เป็นสุขอยู่เห็นๆ คนเรายังกลับเข้าข้างกิเลส หลงเชื่อมันอยู่ปีแล้วปีเล่า

เมื่อฝึกให้ คุณจะพบจากประสบการณ์จริงว่าทานทำให้ฉลาดขึ้น แบ่งตามชนิดได้ คือ

๑) ทรัพยทาน

เมื่อ รู้จักแบ่งปันทรัพย์ส่วนเกิน กระทั่งให้ได้ไม่เสียดาย ให้ได้ทุกครั้งที่มีโอกาส คุณจะเกิดความฉลาดทางจิต เห็นว่าอะไรที่พะรุงพะรัง อะไรที่ไม่จำเป็นต้องแบก จะทิ้งเสียก็ได้ หากปราศจากความฉลาดทางจิตแบบนี้แล้ว คุณจะพร้อมหวงไปทุกอย่าง อยากได้ไปทุกสิ่ง จนไม่มีที่ว่างให้สติปัญญาเกิดขึ้นเลย

ความ โง่ทำให้เราเสียไม่เป็น ถ้าของหายหรือเสียของไป ใจจะทิ้งไม่ลง ทั้งที่รู้แก่ใจว่าอย่างไรก็ไม่ได้คืน ทางเดียวที่คุณจะรับมือกับเงินหาย ๕๐๐ บาท คือ ต้องเคยทำบุญ ๕๐๐ บาทมาก่อน ความฉลาดระดับ ๕๐๐ จึงจะเกิดขึ้นและปล่อยวางเงินที่หายไป ๕๐๐ เสียได้

๒) อภัยทาน

เมื่อ รู้จักอภัยในความผิดพลาดของคนอื่น กระทั่งเป็นคนโกรธได้แต่หายเร็ว คุณจะเกิดความฉลาดทางจิต เห็นความเย็นดีกว่าความร้อน เห็นการนอนหลับสนิทหรือฝันดี ประเสริฐกว่าการนอนดิ้นไปกับฝันร้าย หากปราศจากความฉลาดทางจิตแบบนี้แล้ว คุณจะมัวคิดถึงแต่คำว่าตาต่อตา ฟันต่อฟัน ฆ่าได้หยามไม่ได้ ฝ่ายคุณเอาเปรียบได้แต่ไม่มีทางเสียเปรียบใคร ใจก็ผูกเวรอยู่ได้แม้ด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆตามถนนหนทาง หลายต่อหลายคนบาดเจ็บ พิการ หรือกระทั่งล้มตาย เพียงเพราะฉลาดไม่พอจะระงับอารมณ์โง่ชั่ววูบเท่านั้น

๓) ธรรมทาน

เมื่อ รู้จักช่วยส่งเสริมให้ใครต่อใครได้คิด ได้เอาตัวออกจากความโง่ประการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความตระหนี่ และในแง่ของความพยาบาท คุณเองย่อมฉลาดขึ้นไปอีก

แต่ หากคุณคิดอยากใหญ่ สั่งสอนคนอื่นด้วยอาการยกตนข่มท่าน จาระไนเรื่องทานราวกับผู้มีทานบารมี ทั้งที่ยังตระหนี่เงินทอง หรือยังผูกพยาบาทอาฆาตเก่ง อย่างนี้นอกจากไม่ทำให้ฉลาดขึ้น ยังกดตัวเองให้โง่หนักเข้าไปอีก ค่าที่รู้แล้วไม่ทำ หนำซ้ำยังจะหลอกคนอื่นให้เข้าใจว่าตัวเองสูงส่งอีก

เมื่อ ให้ธรรมทานเป็น กระทั่งมีแก่ใจอยากให้ธรรมทานมากๆ คุณจะฉลาดทางความคิดและทางจิตไปพร้อมๆกัน เพราะการพูดโน้มน้าวให้คนอื่นได้ดีตามคุณนั้น ต้องฝึกกลั่นคำพูดออกมาจากใจที่เป็นกุศล จนเกิดศิลปะในการเลือกคำ ผูกคำ ด้วยศิลปะแห่งการตัดตรงเข้าสู่ตัวปัญหาทางใจ ตรงไหนเป็นปมทุกข์ ตรงไหนเป็นวิธีแก้ปมทุกข์

การ เห็นวิธีแก้ทุกข์ให้คนอื่น แต่กลับไม่เห็นวิธีแก้ทุกข์ให้ตนเอง เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่จะแสดงให้คุณเองรู้และฉลาดขึ้นได้ว่า ธรรมที่ให้คนอื่นเป็นทานนั้น ใช่ของที่มีในตนจริง หรือสักแต่ไปลักขโมยคำของผู้มีธรรมจริงมาพูดกันแน่

พระ พุทธเจ้าตรัสว่าให้อะไรได้อย่างนั้น ไม่ใช่ให้จานได้จานคืน ให้ตู้เย็นเขาแล้วเราจะได้ตู้เย็นใหม่จากคนอื่น แต่เป็นภาวะที่เสมอกัน เช่น ให้สุขย่อมได้สุข ให้ความฉลาดย่อมได้ความฉลาด ให้ธรรมะย่อมเพิ่มพูนธรรมะ แต่ถ้าให้แต่ลมปาก ก็จะได้แค่ลมแล้งกลับคืนมานั่นเอง

ชาว พุทธส่วนใหญ่เข้าใจว่าธรรมทานคือการแจกหนังสือหรือสื่อธรรมะทั้งหลาย ความจริงก็คือถ้าคุณแจกมั่ว ผลดีผลร้ายก็กลับมามั่วเช่นกัน ทางที่ปลอดภัยคือต้องอ่านหรือฟังเองจนรู้ชัดว่าเป็นธรรมะดี ธรรมะที่ไม่พาหลงทาง ธรรมะที่ก่อให้เกิดศรัทธาในพระพุทธเจ้า ธรรมะที่ก่อให้เกิดความเชื่อในผลแห่งกรรมว่ามีจริง ธรรมะที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้เพียรเพื่อพ้นทุกข์ แล้วจึงค่อยแจกจ่ายธรรมะนั้น ใจถึงจะอิ่มเอิบ เบิกบานกว้างขวางจริงๆ

กรรมในการรักษาศีล

บางคนรู้สึกอยู่ลึกๆว่าตัวเองก็ฉลาดไม่แพ้ใครอื่น แต่น่าเจ็บใจที่มีข้อติดขัดบางประการ หลายครั้งเมื่อจะต้องตัดสินใจครั้งสำคัญดันไม่มีสมาธิ จู่ๆก็หนักหัวขึ้นมาเฉยๆ หรือช่วงต้นวัย พอใกล้สอบไม่อยากอ่านหนังสือ ถึงเวลาสอบจริงยิ่งรู้สึกเหมือนคนไม่มีแรงว่ายน้ำไปให้ถึงฝั่ง ราวกับมีอะไรมาดึงแขนดึงขาไว้

เหล่า นั้นเป็นตัวอย่างของ "คลื่นรบกวนความฉลาด" ซึ่งมีอยู่หลายแบบ อาจจะเป็นการสั่งสมนิสัยทอดธุระ ผัดวันประกันพรุ่งจนเคยตัว หรือไม่ก็เป็นผลของบาปเก่าๆที่ตามมาเล่นงาน แกล้งบดบังไม่ให้ทำการอันเป็นไปเพื่อความก้าวหน้าได้ถนัดนัก แจกแจงได้เป็นข้อๆ ดังนี้

๑) เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไว้มาก

โดยเฉพาะพวกขุนศึกเก่งๆที่ฆ่าศัตรูได้ง่ายราวกับผักปลา หรือผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการสังหารทั้งหลาย วิบากคือทำให้รู้สึกหนักหัว มึนตลอด บางทีคล้ายใครเอาหมอนมาโปะไว้บนกระหม่อม อุดทางเข้าออกของปัญญา ยิ่งถ้าเคยคิดประทุษร้าย แบบแกล้งให้ใครสมองบอบช้ำ ก็ อาจต้องรับผลคือเป็นคนหัวช้า เลื่อนลอยจำอะไรไม่ค่อยได้ หรือถึงขั้นปัญญาอ่อนมาแต่กำเนิดเลยทีเดียว เป็นไปตามโทษานุโทษอันสมกันกับเหตุที่เคยก่อไว้

๒) เคยลักทรัพย์ทางปัญญาไว้มาก

ตัวอย่างที่จัดแจ้งสุดได้แก่พวกเผาโรงเรียน หรือยักยอกหนังสือที่เขาบริจาคเพื่อให้เด็กยากไร้มีโอกาสเรียนกัน วิบากคือทำให้ขาดสถานที่ศึกษา ขาดเครื่องมือ หรืออยู่ในถิ่นไกลปืนเที่ยงเสียจนไม่อาจหวังเอาวิชาความรู้ได้จากไหน หรือถ้ามีโอกาสเรียนก็เจอความมืดทางปัญญา ชนิดเรียนอย่างไรก็ไม่รู้ พยายามดูอย่างไรก็ไม่เห็น ราวกับผีเอากำแพงมาบังกระดานดำหน้าชั้นเรียน จำอะไรที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ จำได้แต่ที่เป็นโทษ ที่ทำให้มองโลกในแง่ร้าย

๓) เคยลักลอบเป็นชู้ไว้มาก

คือมากจนหน้ามืดตามัว หมกมุ่นและเมากามอย่างหนัก วิบากคือทำให้อ่อนแอ ไม่อยากเรียน ไม่อยากคิดมาก เพราะ จิตใจบิดเบี้ยว คอยแต่มองอะไรในทางลามก คนเราพอจิตใจบิดเบี้ยว คอยแต่คิดออกนอกลู่นอกทางไปหาเรื่องต่ำๆเหม็นๆ ก็มีผลปัญญาทึบ หมกมุ่นคับแคบ คิดอะไรไม่ออก ไม่อยากเอาใจไปทางอื่นมากกว่าเรื่องใต้สะดือเป็นธรรมดา

๔) เคยพูดร้ายไว้มาก

ทั้ง ในแง่ของการโกหก การยุยงให้แตกกัน การพูดหยาบคายทิ่มตำใจ และการพูดเพ้อเจ้อตามอารมณ์ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย วิบากคือทำให้มองไม่เห็นตามจริง รับรู้อยู่ในปัจจุบันให้ตรงจริงได้ยาก ส่วนใหญ่พอได้ความรู้อะไรนิดหนึ่ง ก็อาจทะเล้นคิดแบบไร้สาระ ไม่ยอมรับสาระ เห็นจริงเป็นเท็จ เห็นเท็จเป็นจริงตามอำเภอใจเอาง่ายๆ ต้องออกแรงอย่างมากกว่าจะรับรู้ตรงจริงกับคนอื่นได้สักครั้ง

๕) เคยเมาเหล้าขาดสติไว้มาก

นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นขี้เมาในชาติที่ก่อกรรมข้อนี้แล้ว วิบากในชาติถัดมาก็ยังเมาคลื่นรบกวนความฉลาดได้อีก คือ จะเป็นผู้ฟุ้งซ่านจัด ห้ามยาก หยุดยาก เรียกว่าบางทียิ่งเรียนเหมือนยิ่งใกล้บ้า ทั้งเบื่อ ทั้งหงุดหงิด ทั้งล่องลอยเลื่อนเปื้อน

เรื่อง ของวิบากจากการผิดศีลที่มีผลต่อสติปัญญานั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องเชื่อได้ง่าย เพราะชาตินี้ตอนคุณฆ่าสัตว์ ยักยอกทรัพย์ เป็นชู้ โกหก กินเหล้า จะรู้สึกหนักๆทึบๆขึ้นมาในหัว เหมือนมีม่านหนักๆโรยลงมาบดบังปัญญา สิ่งสั่งสมมากยิ่งชัดมาก และนั่นก็คือตัวอย่างว่าจะต้องเจอแบบนั้นหรือหนักกว่านั้น กับทั้งยืดเยื้อกว่านั้นในชาติต่อไป

ตรง ข้าม หากตั้งใจเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ว่าจะถือศีลให้สะอาด แถมทำในเรื่องตรงข้าม เช่น นอกจากงดเว้นการฆ่าสัตว์ ยังปล่อยชีวิตสัตว์ใหญ่ที่กำลังจะถูกฆ่า พอทำเรื่อยๆเป็นเดือนเป็นปี คุณจะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งเบา ถ้าตอนต้องใช้ความคิดเคยหนักๆทึบๆแบบไม่มีเหตุผล ทุกอย่างก็จะบรรเทาเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด

กรรมด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

โทษ สถานเบาที่สุดสำหรับคนปฏิเสธการหาความจริงเรื่องบุญบาป คือ มีสิทธิ์เดินบนเส้นทางอันมืดทึบของคนโง่ นั่นเพราะอะไร? เพราะบุญเป็นสิ่งปรุงแต่งจิตให้สว่าง โปร่งโล่ง สดใส พร้อมจะคิดอ่านได้อย่างฉลาดเฉลียว พอปฏิเสธเรื่องบุญบาป ก็พร้อมจะคิดฟุ้งซ่านไปตามอำเภอใจ และตัดสินใจทำชั่วประการต่างๆได้โดยไม่ต้องยับยั้ง

ตรง กันข้ามกับคนที่เข้าหาผู้รู้จริง เช่น พยายามศึกษาว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไร กรรมใดทำแล้วเรียกว่าเป็นบุญกุศล กรรมใดทำแล้วเรียกว่าเป็นบาปอกุศล และตั้งใจถือเอาเฉพาะกรรมดี ละเว้นกรรมชั่วให้เด็ดขาด อย่างนี้จึงควรแก่การได้ชื่อว่าอยู่บนเส้นทางของคนฉลาด เพราะ บุญนี้คือจุดเริ่มต้นของการรู้จักตั้งคำถามเป็น ตั้งคำถามได้เข้าจุด ตั้งคำถามได้ถึงประโยชน์อันควร ไม่น่าประหลาดใจหากเกิดชาติหน้าเป็นคนมีปัญญามาก

ความ อยากรู้อยากเห็น หรือความพยายามถามหาคำตอบเกี่ยวกับบุญบาป มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความสามารถในการตั้งคำถาม กล่าวคือคุณจะมีวิธีคิดแบบเลือกเฟ้น จับประเด็นแม่น และเข้าหาเป้าหมายด้วยทางลัด หรือเล็งเห็นประโยชน์สูงสุดได้เร็วกว่าคนอื่นๆ

เมื่อ ใจอยู่ในอาการเฟ้นหาคำถามที่ดีที่สุด เกิดใหม่ก็ย่อมได้คุณลักษณะประการสำคัญของเด็กฉลาด นั่นคือช่างสงสัย ชอบไถ่ถาม ใจไม่แคบ ไม่ปิดกั้น และกลายเป็นคนชอบคิดค้น หาคำตอบใหม่ๆด้วยตนเอง จนกว่าจะรู้สึกว่าใช่ที่สุด น่าพอใจที่สุด ตรงประเด็นปัญหาทั้งต้นเหตุและทางออกที่ดีที่สุด

หลาย คนสงสัยว่ากรรมที่ทำให้เป็นอัจฉริยะตั้งแต่เด็กคืออะไร กรรมใดเป็นเหตุให้เกิด "พรสวรรค์" ระดับโลก คำตอบคือนอกจากเป็นผู้ทำกรรมอันควรแก่การมีปัญญาสูงส่งแล้ว ยังต้องเป็นผู้เคยทำคุณให้กับวงการใดวงการหนึ่งไว้มากด้วย จึงเหนี่ยวนำให้เด็กเกิดความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างยิ่งยวด และเป็นเหตุให้พากเพียรแบบ "ทุ่มสุดตัว" กับการเอาดีในเรื่องนั้นๆ

ขอ ยกตัวอย่างอัจฉริยะทางดนตรีที่ผู้คนยังจดจำและกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอ แม้ว่าตัวเขาจะล่วงลับจากโลกนี้ไปกว่าสองศตวรรษแล้วก็ตาม คือ โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) กรรมเก่าที่เคยมีคุณูปการต่อแวดวงการดนตรีได้ส่งเขามาเกิดในบ้านที่จะได้รับ แรงบันดาลใจอย่างสูง ทั้งเห็นพ่อเล่นฮาร์พซิคอร์ด ทั้งเห็นพี่สาวเล่นคลาเวียร์ได้เก่ง และทั้งมีความสามารถจดจำเสียงดนตรีได้แม่นยำ เรียนรู้ได้เร็วเกินวัย องค์ประกอบทั้งหมดนี้รวมเรียกว่า "พรสวรรค์"

ส่วน "พรแสวง" เกิดขึ้นเมื่อเขาสมัครใจทุ่มเทเวลามาฝึกหัดจริงจัง ด้วยความวิริยะอุตสาหะผิดมนุษย์ ในที่สุดเขามีความสามารถเล่นดนตรีได้ตั้งแต่ ๔ ขวบ ประพันธ์เพลงได้ตอน ๕ ขวบ และเล่นไวโอลินให้สมาชิกวงดนตรีประจำสำนักของอาร์ชบิชอพตะลึงฟังตาค้างได้ ขณะที่อายุเพิ่ง ๖ ขวบเท่านั้น!

โม สาร์ทมีคุณูปการต่อโลกดนตรีเพียงใด ทุกคนเห็นชัด เขาสร้างดนตรีที่โลกไม่ลืม และนักประวัติศาสตร์ทางดนตรีหลายคนก็เชื่อว่าโมสาร์ทเป็นคนสอนวิธีประพันธ์ ดนตรีให้กับเบโธเฟน (Ludwig van Beethoven) ผู้เป็นคีตกวีชื่อก้องโลกอีกคนหนึ่ง นับว่าครบองค์ คือ ทุ่มเทให้วงการดนตรีด้วย และบอกสอนให้คนรุ่นหลังเป็นวิทยาทานด้วย

อัน ที่จริง การไล่ล่าคว้าคำตอบว่าเหตุใดเด็กจึงเป็นอัจฉริยะนั้นมีมานาน นักจิตวิทยาคนหนึ่งเอาตนเองและชีวิตลูกสาวสามคนเป็นเดิมพันการทดลอง กล่าวคือเขาประกาศตั้งแต่ก่อนลูกสาวคนแรกเกิด ว่าเขาจะมีลูกกี่คนก็ตาม ทุกคนต้องยิ่งใหญ่ในโลกหมากรุก และเขาก็ทำได้จริงๆ เริ่มจากการให้ลูกเรียนหนังสือที่บ้าน กระตุ้นให้เกิดความสนใจในเกมหมากรุก ผลคือลูกสาวทั้ง ๓ คนเล่นหมากรุกระดับโลกกันหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จูดิท โพลการ์ (Judit Polgar) ผู้เป็นน้องคนสุดท้องนั้น เล่นได้ถึงระดับแกรนด์มาสเตอร์ ตั้งแต่อายุเพียง ๑๕ ปีกับ ๕ เดือน ทำลายสถิติโลกเดิมที่ผู้ชายทำไว้ก่อนหน้าลงอย่างราบคาบ

คุณ พ่อของเด็กเป็นนักจิตวิทยาที่ไม่ได้ฉลาดระดับอัจฉริยะ ภรรยาเขาก็เช่นกัน เขาจึงสรุปว่าอัจฉริยะถูกสร้างขึ้นได้ด้วยความจงใจ ไม่ใช่ด้วยพันธุกรรมหรือความบังเอิญ แต่ข้อเท็จจริงทางกรรมวิบากก็คือ ทันทีที่คุณพ่อตั้งใจว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมากระตุ้นความสนใจของลูก เขาก็ทำตัวเป็นแดนเกิดอันเหมาะสม สำหรับเด็กที่มีบุญเก่าทางหมากรุกแล้ว

ที่ ควรกล่าวเช่นนี้ ต้องย้อนกลับไปที่ความจริงอันเป็นปฐม นั่นคือมนุษย์ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ มนุษย์ไม่ใช่เพียงน้ำเชื้อจากพ่อแม่ผสมกัน แต่ต้องมีจิตวิญญาณมาเข้าท้องด้วย ดังนั้น จุดสรุปจึงเป็นว่าต้องมีทั้งบุญเก่าเป็นพรสวรรค์​ และได้แดนเกิดอันเอื้อให้สร้างพรแสวง อัจฉริยะจึงปรากฏ

ถ้าใครอยากฉลาดขึ้นผิดหูผิดตาภายในชาติเดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงให้คำตอบไว้ นั่นคือต้องทำให้สติเจริญขึ้น โดยอาศัยกายเป็นที่ตั้งของสติ

ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น? มาดูข้อเท็จจริงขั้นพื้นฐานกันก่อน คุณสมบัติอันเป็นเครื่องหมายหนึ่งของคนฉลาด คือ มีสติอยู่กับเนื้อกับตัว การมีสติอยู่กับเนื้อกับตัวเป็นเหตุพื้นฐานให้มีการทรงตัวดี รู้สึกมั่นคง มีความรู้สึกไว รับรู้ได้เร็ว รับรู้ได้คมชัด จึงช่างสังเกตและสามารถคิดได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่คิดวกวนจนเป็นทุกข์แบบคนโง่

ที นี้ถามว่าทำอย่างไรจะเกิดคุณสมบัติอันเป็นเครื่องหมายของคนฉลาดเหล่านั้น? เรามีสิทธิ์พิสูจน์คำตรัสของพระพุทธเจ้าก็ตรงนี้ วิชาเจริญสติโดยอาศัยกายของท่านมีอยู่ คือ ให้สังเกตความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางกายที่มีให้รับรู้ได้ตลอดเวลา ไล่ตั้งแต่ง่ายไปหายาก นับแต่ดูความจริงเกี่ยวกับลมหายใจก่อน เห็นชัดแล้วจึงไล่ไปที่ความจริงของอาการอื่นทางกาย เช่น อิริยาบถใหญ่น้อย ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น

ถ้า ทำได้ ก็ย่อมเป็นเหตุให้คุณมีสติอยู่กับเนื้อกับตัว แล้วคุณสมบัติอันเป็นเครื่องหมายของคนฉลาดก็จะไหลตามมาไปเอง ขอให้ทดลองดูจากบท "รู้กาย" ของหนังสือเล่มนี้ ถ้าทำเต็มที่ก็อาจพิสูจน์ว่าคนเราฉลาดแหลมคมขึ้นอย่างเอกอุในชาติเดียวได้ หรือไม่

ที่มา   http://www.dungtrin.com/siadai/pages/25.html
184  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ความทุกข์คืออะไร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2012, 12:17:00 pm
ความทุกข์คืออะไร

'ความทุกข์' จำแนกออกเป็น ๑๒ ประการ คือ

    (๑) ชาติปิ ทุกฺขา ความเกิด เป็นทุกข์
    (๒) ชราปิ ทุกฺขา ความแก่ เป็นทุกข์
    (๓) มรณมฺปิ ทุกฺขํ ความตาย เป็นทุกข์
    (๔) โสโกปิ ทุกฺโข ความโศก เป็นทุกข์
    (๕) ปริเทโวปิ ทุกฺโข ความคร่ำครวญ พิไรรำพันบ่นเพ้อ เป็นทุกข์
    (๖) ทุกฺขํ ปิ ทุกฺขํ ความไม่สบายกาย เป็นทุกข์
    (๗) โทมนสฺสมฺปิ ทุกฺขํ ความเสียใจ เป็นทุกข์
    (๘) อุปายาสาปิ ทุกฺขา ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์
    (๙) อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข การต้องประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
    (๑๐) ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
    (๑๑) ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
    (๑๒) สงฺขิตฺเตน ปญฺจปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
    ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (คือ กายกับใจ เป็นทุกข์)

   
ความทุกข์คืออะไร

    ท่านว่า...
    สรรพชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิด ล้วนตกอยู่ภายใต้ความบีบคั้นทั้งปวง
    ทั้งปวงเหล่านั้นเป็นทุกข์ทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นสุขเลย
    เพียงแต่เรามักไม่รู้ตัว ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป
    ไม่ได้เห็นเป็นทุกข์อะไร เมื่อแก้ทุกข์ได้เป็นคราวๆ ไปก็สุข
    เช่นเมื่อหิว แล้วได้อาหารเข้าไปก็เป็นสุข แต่แล้วมื้อหน้า
    เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เป็นอย่างนี้ร่ำไปไม่รู้จบ

    .....

    "เรามีทุกข์กายที่ต้องปฏิบัติให้หายทุกข์อยู่ทุกวัน"

    เราต้องหายใจ ต้องพึ่งอากาศ ไม่มีอากาศหายใจก็อยู่ไม่ได้
    ถ้าไม่มีอากาศหายใจ ถ้าไปอยู่ในที่อึดอัดอับทึบ เราก็จะทุกข์
    อึดอัด หายใจไม่ออก เราไม่ได้เป็นนายของตัวเองเลย
    จะเลือกว่าตอนนี้จะหายใจ ตอนนี้จะไม่หายใจ ก็ไม่ได้
    เราก็ต้องดิ้นรน แสวงหาตรงที่มีอากาศให้หายใจโล่งๆ

    เราต้องรับประทานอาหาร ไม่มีอาหาร เราก็อยู่ไม่ได้
    ถ้าไม่มีอาหาร กายนี้ก็ยังจะหิววันละ ๓ ครั้ง เราจึงต้องแสวงหา
    อาหาร ด้วยวิธีซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ จากมนุษย์ยุคหินเดินเข้าป่าไปหากิน
    มาเป็นทำงาน หาเงิน มาซื้อหาอาหารใส่ท้อง ประทังความหิว
    ที่หิวทุกวัน วันละสามครั้ง
    เราไม่ได้เป็นเจ้านายตัวของเราเลย
    เราสั่งไม่ได้ว่าวันนี้จะรับประทาน พรุ่งนี้งด
    ร่างกายไม่ได้งดกับเราไปด้วยเลย
    เราต้องดิ้นรนเสาะแสวงหาอาหารมาเอาใจกายนี้
    อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน รับประทานไปอิ่มแล้ว ก็ยังต้อง
    ดิ้นรนแสวงหาที่เพื่อจะขับถ่ายของเสียออกมา
    (ขออภัยค่ะ คำไม่ค่อยสุภาพ) ล้วนแต่ไม่อยู่ในบังคับเราเลย

    ดังนั้น ท่านจึงว่ากายเรานี้มีแต่ทุกข์ทั้งแท่ง
    ทุกข์กาย เมื่อยตัวก็ต้องขยับ เปลี่ยนท่า
    นั่งเมื่อยก็เอนนอน นอนเมื่อยก็ลุกเดิน เดินเมื่อยก็ลงนั่ง
    เมื่อนั่งเมื่อยก็ต้องลุกเดินอีก วนเวียนอยู่อย่างนี้
    ยังไม่นับทุกข์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น ทุกขสัจจะ - เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ก็เป็นทุกข์ และอีกสารพัดทุกข์

    .....

    "สุขอื่นใดเหนือความสงบ ... ไม่มี"
    จริงแท้ที่สุด

    ...

    "เห็นว่าเที่ยง" จริงๆ ด้วย เราเกิดมาพร้อมกับยึดว่านี่ใจเรา
    นี่กายเรา หารู้ไม่ ถูกอวิชชาครอบไว้
    ให้เข้าใจผิด ยึดตัวเราก่อนว่านี่ฉัน
    นี่ใจฉัน แล้วก็ยึดสิ่งใกล้ตัว
    ว่านี่แม่ฉัน พ่อฉัน แฟนฉัน ลูกฉัน เพื่อนฉัน
    แล้วไปยึดวัตถุว่า นี่สมบัติของฉัน
    ที่ดินของฉัน ไปยึดสรรพสัตว์ว่า
    สุนัขของฉัน แมวของฉัน
    ทุกอย่างเริ่มจากเพราะเข้าไปยึดว่า "ตัวฉัน ของๆ ฉัน" ทั้งสิ้น

    แล้วก็เห็นว่าตัวฉันต้องไม่เปลี่ยนแปลง
    ของๆ ฉันต้องอยู่กับฉันไปชั่วกัลปาวสาน
    ยึดเอาไว้เช่นนั้น เมื่อตัวเราเปลี่ยนไปเช่นแก่ลง
    ผิวหนังเหี่ยวย่น หรือเมื่อของๆ เราพังทลายไป
    รถถูกชนยับเยิน ก็ทุกข์ รับไม่ได้ ทั้งที่สิ่งที่เกิด
    คือความจริงแท้ที่ว่า สรรพสิ่งต้องเคลื่อนไป
    เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วต้องดับไป เป็นธรรมดา
    ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ทุกอย่างเคลื่อนไปสู่ความดับ
    ตลอดเวลาอยู่แล้ว แม้บางอย่างจะเห็นได้ไม่ชัด
    บางอย่างจะเห็นได้ชัด เช่น ชีวิตของยุงแค่สัปดาห์เดียว
    ดอกไม้ไม่กี่วันก็เหี่ยวและโรยราไป
    แต่โลกนี้ดูเหมือนยั่งยืนยาวนาน ที่แท้วันหนึ่งก็
    จะต้องเสื่อมสลายแตกทำลายไป เป็นธรรมดา

    "เห็นว่าเป็นสุข"

    แล้วเราก็นึกว่าเราสุข
    พอรับประทานอิ่มไปหนึ่งมื้อ ก็นึกว่าเป็นสุข
    พอเมื่อยได้ขยับตัวเปลี่ยนท่า ก็รู้สึกสบาย
    พอได้ของที่ชอบใจก็เป็นสุข
    ได้ลิ้มรสอาหารที่ชอบก็เป็นสุข เป็นต้น

    ที่แท้ พระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า...

    การเปลี่ยนอิริยาบท ได้ปิดและบัง "ทุกข์" เอาไว้
    (เพื่อนๆ ลองดูนะคะ ลองเมื่อยแล้วไม่เปลี่ยนท่า
    แม้แต่นอนก็เถอะ ลองนอนแล้วตั้งใจไม่เปลี่ยนท่า
    แม้เมื่อยก็อย่าเปลี่ยน ดูสิจะทุกข์ไหม ลองดูความทุกข์นี้ว่า
    จะเป็นอย่างไร การรู้จักทุกข์ในกายและใจเรานี้เอง
    ที่จะนำไปสู่การเกิดปัญญาและได้พ้นจากทุกข์นี้ได้)

    ความสืบทอดต่อเนื่องของกิริยาต่างๆ
    ได้ปิดบัง "อนิจจัง" คือความไม่เที่ยงเอาไว้

    ความเป็นกลุ่มเป็นก้อน (เช่นขันธ์ห้า) ที่มารวมเป็นตัวเรา
    ได้ปิดบัง "อนัตตา" คือความไม่ใช่ตัวตน
    ความไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครเลย
    สั่งหรือบงการหรือกำหนดอะไรไม่ได้เลย ทั้งกายและใจ

    "เห็นว่าเป็นของเรา"

    แล้วเราก็ยึดไว้หมด เป็นของเราหมด ถ้าเราไม่ยึดเราจะไม่ทุกข์
    หรือทุกข์น้อย ถ้าเราไปยึดเข้าเมื่อไหร่ ทุกข์เกิดทันที
    เช่น ขนมของเพื่อนตกน้ำ เราก็รู้สึกเฉยๆ
    แต่ถ้าขนมของเราตกน้ำบ้าง เราก็จะเสียดาย เสียใจ
    ขนมที่ไม่ค่อยชอบก็ยังไม่ค่อยเท่าไหร่
    แต่ถ้าเป็นขนมที่โปรดปรานเหลือเกิน หารับประทานได้ยาก
    ก็จะยิ่งพลุ่นพล่านโกรธ ไม่พอใจ ไม่ทราบจะกี่เท่าตัว

    ถ้าเราทำตกน้ำเอง เรายังไม่โกรธหรือเสียดายเท่าไหร่
    แต่ถ้ามีใครมาทำให้ตกน้ำไป ก็จะโกรธหรือเสียดาย
    เป็นเท่าหรือหลายเท่าตัว เพราะว่า "มาทำของๆ ฉัน"

    ...

    มองเท่าไหร่
    ก็ช่างเห็นเป็นแต่ทุกข์มีแต่ทุกข์เสียจริงๆ
    สมดังที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่า
    ที่แท้ "ความสุข" นั้นหามีไม่ มีแต่ "ทุกข์น้อย" ละจะใช่
    เสียมากกว่า

    .....

    จะออกจากทุกข์ทั้งปวงอย่างไร

    พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพระบารมีมานานแสนนาน
    เพื่อค้นพบทางแห่งการออกไปจากทุกข์เหล่านี้
    ซึ่งก็ทรงพบว่า จะออกจากทุกข์กายทุกข์ใจทั้งหมดนี้ได้
    ก็ด้วยการกลับเข้ามาทำความรู้จักกับกายและใจนี้ให้ถ่องแท้
    ด้วยการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่และวิปัสสนากรรมฐาน
    ฝึกสติให้รู้ตัวทั่วพร้อมในกายและใจของเรานี้เอง
    ไม่ต้องออกไปหาวิธีอื่นที่ไหน ไม่ต้องออกไปนอก
    กายนี้ใจนี้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อย่างอื่นเลย


    ภาคปฏิบัติ

    มาสรุปเรื่อง "ทุกข์" กันหน่อยว่า ในเมื่อมีแต่ทุกข์ ในเมื่อกายนี้ใจนี้ มีแต่ทุกข์ "โลก" ก็เป็นทุกข์ ก็แล้วทำอย่างไรเล่าเราจึงจะออก จากทุกข์นี้ได้

    คำตอบที่เรียบง่ายแต่ตรงประเด็นอีกคำตอบก็คือ เราก็ต้องเรียนรู้ทุกข์เหล่านี้ ศึกษาความทุกข์ รู้จักเค้าให้อย่างถ่องแท้ เห็นจริง อย่างเช่น เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาบำเพ็ญเพียร นั่งวิปัสสนาสมาธิ ครูบาอาจารย์ถึงได้บอกว่า "พยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น"
    "พยายามอย่าขยับกาย" "พยายามอย่าเปลี่ยนท่า"

    ในชีวิตประจำวันก็เช่นกัน พอทุกข์เราก็ทำให้หายทุกข์ร่ำไป เลยไม่รู้จักเค้าเสียที อาทิ เมื่อยก็เปลี่ยนท่าพรวดพราด ง่วงก็ล้มตัวลงนอนทันที หิวก็รับประทานอย่างไม่ลืมหูลืมตา

    สติปัฏฐานสี่ (สิ่งที่เป็นสาระ) พาให้รู้จักทุกข์เหล่านี้อย่างไร ก็โดยการที่เมื่อเมื่อย ก็ลองดู ลองทำความรู้จักกับความเมื่อย หรือความปวด หรือทุกขเวทนานั้นๆ ดูเค้าไปแบบคนดูละคร ไม่เอาตัวเข้าไปเกี่ยว ดูแบบศึกษาอยากรู้จักเค้า กำหนดสติ รู้ไปตามความเป็นจริง เช่น "ทุกข์หนอ" "ปวดหนอ" "เมื่อยหนอ" "ชาหนอ" เป็นต้น

    เวลาง่วง ก็ค่อยๆ กำหนดสติดูความง่วงไป ว่าความง่วงเป็น อย่างไร แล้วถ้าอยากนอนก็กำหนดสติดูซิว่าอาการและ ขั้นตอนในการนอนของเราเป็นอย่างไรมีอะไรบ้าง

    เวลาหิว ก็ลองพิจารณาดูความหิวก่อน แล้วค่อยๆ ตักอาหารอย่าง มีสติ เคี้ยวอย่างมีสติ และกลืนอย่างมีสติ เมื่ออิ่ม ก็ลองพิจารณา ความอิ่มว่าเป็นอย่างไร วิชาของพระพุทธองค์นี้สนุกมาก มีอะไรให้ค้นพบอีกมากมายในกายนี้ใจนี้ ได้พบแล้วก็จะทึ่งและซึ้งในความเป็นจริงของธรรมชาติ

    เมื่อเกิดอารมณ์ใดๆ ก็ดูเค้าไป "โกรธ" ก็ดูอารมณ์โกรธ ดูไปด้วยสติ ดูแบบคนกำลังดูหนังดูละคร อย่าเอาตัวเข้าไป ยึดว่าเป็น "เรา" ที่โกรธ เป็นความโกรธของเรา

    ง่วงก็ค่อยๆ สังเกตดูอาการง่วงว่าเป็นอย่างไร หิวมีลักษณะอย่างไร

    หมั่นทำความรู้จักกับสาระนี้ คือ กายและใจนี้ หรือให้ละเอียด ก็คือ กาย เวทนา จิตและธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง นี้เอง

    ก็จะค่อยๆ รู้จักธรรมทั้งปวงนี้ตามความเป็นจริงยิ่งๆ เห็นทุกข์ รู้จักทุกข์
    ลด - ละ - เลิก กิเลสไปได้จริงๆ ในที่สุด

    *****

    ถ้าปฏิบัติได้ตามนี้ ทุกข์จะเบาบางลงไปเรื่อยๆ
    ตามลำดับสติปัญญาที่เกิด
    เป็นเพราะเรารู้จักเค้า รู้เท่าทันเค้าแล้ว เมื่อเห็นความจริง
    เค้า (ความทุกข์) ก็ทำร้ายเราได้น้อยลงๆๆ เรื่อยๆ ค่ะ
    ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ ช่วยให้พ้นจากทุกข์หนักๆ ในชาตินี้ และจะทุกข์น้อยลงในทุกเรื่อง
    และถ้าหากสามารถประหารกิเลสได้หมดทุกตัวก็แน่นอนว่า
    หมดสิ้นภารกิจในการเวียนว่าย ไม่ต้องมาเกิด มาทุกข์ อีกต่อไปแล้วด้วย


ที่มา  http://www.dhammajak.net/dhamma/35.html



185  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ปาฏิหาริย์แห่งความทุกข์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2012, 06:23:56 pm

ปาฏิหาริย์แห่งความทุกข์


ถึงคุณฐิตินาถ ณ พัทลุง
ตอนนี้ชีวิตพังหมดแล้ว มีคนเอาหนังสือ"เข็มทิศชีวิต"กับคอลัมน์ตอบจดหมายของคุณใน IMAGE   มาให้อ่าน แต่ความทุกข์มันผลาญใจจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ วันนี้ไม่เหลืออะไรเลย ทั้งธุรกิจ งาน เงิน ครอบครัว พริบตาเดียวไม่เหลืออะไร เหมือนที่คุณเขียนไว้ในหนังสือจริงๆ

คนที่เคยมีทุกอย่างสมบูรณ์ในชีวิตแล้ววันหนึ่งไม่เหลืออะไร ควรเริ่มต้นใหม่ตรงไหนดี

สวัสดีค่ะ

ความจริงแล้ว ความทุกข์เป็นของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับทุกชีวิต ในวันที่เราหลงเพลิดเพลินไปกับภาพมายาของความสุขในชีวิต ความทุกข์ก็จะมาเยี่ยมเยียน เตือนให้เรารู้ว่าทุกอย่างเป็นภาพมายา เป็นภาพหลอกหลอกเหมือนหมอกควัน ที่วินาทีหนึ่งก็อยู่ใกล้มือ แต่อีกวินาทีหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรเลย

ความทุกข์เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ คอยเตือนให้เราไม่ประมาทกับชีวิต คอยให้บทเรียนว่าเราสามารถหาวัตถุ สิ่งของ คน ความรัก ความสุขมาเติมใส่ชีวิตได้เพียงชั่วคราว ทุกอย่างแปรปรวนไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวัง เปลี่ยนแปลงพลิกผันได้ภายในพริบตา

ทุกครั้งที่เราเจอความทุกข์ เราเหมือนยืนอยู่บนทางสองแพร่ง ทางหนึ่งจะพาชีวิตเราวิ่งไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดที่เราคาดไม่ถึง ในขณะที่อีกทางหนึ่งก็พาเราวิ่งไปสู่ความหายนะของชีวิต แล้วเราจะเลือกทางเดินที่ถูกต้องได้อย่างไร

คำตอบที่ถูกต้องสำเร็จรูปไม่มีในชีวิต ไม่มีเฉลยคำตอบให้แอบดูเพื่อเดินให้ถูกทาง ชีวิตเป็นสิ่งที่ Dynamic ทำเหตุแบบนี้ผลจะเป็นแบบหนึ่ง ทำเหตุอีกแบบผลก็เป็นอีกแบบ ปัจจัยแวดล้อม เหตุ การกระทำต่างๆ มีผลมากมาย

มนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาเป็นอาวุธ แต่สติปัญญาไม่ใช่คำหลอกๆ ที่พูดกันเกลื่อนไป สติเป็นความระลึกได้ ระลึกได้ว่าขณะนี้กำลังปล่อยใจให้หลงไปกับความคิด ความรู้สึก ทันทีที่สติเฉลียวย้อนกลับมาเห็นใจที่กำลังหลง ใจจะหลุดออกมาจากโลกของความคิด เป็นใจที่ตื่น รู้เนื้อ รู้ตัว สะอาด สงบ สว่าง ตั้งมั่น มั่นคง เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ความรู้สึก ถอดถอนตัวเองออกจากปัญหา มองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนคนวงนอกมองเข้ามา เลือกการกระทำแต่ละขณะได้ถูกต้องและเหมาะสม พอดี

การฝึกให้มีสติจริงๆ เรียบง่ายธรรมดาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานี่เอง เพียงแค่คอยหมั่นตามรู้ใจที่ไหลไปรู้สึกนึกคิด เดี๋ยวก็ไหลไปดู ไปฟัง ไปคิด สลับไปมาอยู่ทุกวินาที พอเห็นมากเข้ามากเข้า เวลาใจไหลไป สติจะเกิดระลึกขึ้นได้เอง

ว่าขณะนั้นหลงไปแล้ว ใจก็จะรู้สึกตัว"ตื่น" เห็นความคิด ความทุกข์ ความรู้สึก ทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีสาระอะไร ที่มีความทุกข์ได้ก็เพราะใจหลงไปแบกไว้เท่านั้นเอง อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จบลงไปแล้ว ใจของเรานี่แหละ หยิบฉวยความคิดเป็นมีดมาทิ่มแทงตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จักจบไม่รู้จักวาง

ในชีวิตคน ไม่มีใครไม่เคยพลาด ถึงแม้จะพยายามแค่ไหน กิเลสก็เหนือกว่าเราก้าวหนึ่งเสมอ ไม่อย่างนั้นก็คงไม่สามารถผูกเราไว้ให้เวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏได้ยาวนาน

ใช้ความทุกข์เป็นของขวัญ เป็นจุดเริ่มต้นของปาฏิหาริย์ที่แท้จริงในชีวิต มีความรู้สึกตัวเป็นเพื่อนเดินทาง นำชีวิตสู่ความสุขที่เป็นอิสระ มั่นคงอย่างแท้จริง



เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
เรามีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท
คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกๆ วัน เถิด*


*จาก : อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ : หนังสือสวดมนต์แปล


ที่มา  http://www.dhammajak.net/dhamma/70.html
186  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2012, 04:14:06 pm
O สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก....สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”
พระพุทธศาสนสุภาษิตบทนี้เป็นคำตอบที่ชัดแจ้ง สำหรับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นมากมาย ว่าทำไมโลกทุกวันนี้จึงร้อนนัก เต็มไปด้วยความเลวร้ายต่างๆ นานาที่ไม่เคยมีมาก่อน

ทั้งมรสุมใหญ่ ทั้งน้ำไฟทำลาย ทั้งโจรร้ายเข่นฆ่า ทั้งความเมตตากรุณาสิ้นจากจิตใจ ทั้งความขาดแคลนทุกข์ยากทั่วไปทั้งแผ่นดิน ความกตัญญูก็สิ้นสูญหมด ลูกหลานทรยศแม่พ่อพี่ป้าน้าอาปู่ย่าตายาย ถึงทุบตีเข่นฆ่าทำทารุณกรรม ครูอาจารย์ก็ทำร้ายได้ทั้งร่ายกายและจิตใจศิษย์น้อยๆ ทำชีวิตให้พลอยสิ้นสุด จนถึงเกิดเป็นปัญหาว่า....

ทำไมเมืองพระพุทธศาสนาจึงเป็นเช่นนี้ได้ ?
ทำไมความเดือนร้อนชั่วร้ายจึงมากมายนัก ?
ทำไมผู้คนจึงลำบากยากแค้นนัก ตกอยู่ในสภาพที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงนัก
“กมฺมุนา วตฺตตีโลโก...สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” นี่คือคำตอบ


O กรรม..คือการกระทำทั้งที่ดีและไม่ดี

กรรมหมายถึงการกระทำ ซึ่งมีความหมายเป็นกลาง คือ มีทั้งที่ดีและที่ไม่ดี

การกระทำที่ดีเป็นกรรมดี การกระทำที่ไม่ดีเป็นกรรมไม่ดี แต่ที่นำมาใช้นั้นเข้าใจว่า กรรม คือ ความไม่ดีสถานเดียว เช่น เมื่อมีอะไรร้ายๆ เกิดแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็จะกล่าวว่ากรรมของเขา คือ ความไม่ดีของเขา

“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ที่เป็นคำในพระพุทธศาสนสุภาษิต มีความหมายว่า คนและสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปต่างๆ นานา ทุกข์ก็มี สุขก็มี ดีก็มี ชั่วก็มี มิได้เกิดแต่ผู้ใดอื่น มิได้เกิดแต่อะไรอื่น มิใช่เกิดแต่เหตุใดทั้งนั้น นอกจากกรรมที่ตนได้กระทำแล้วเองเท่านั้น


O อำนาจแห่งกรรมของตนเอง

ผู้ที่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ อาจเกิดเป็นสัตว์ในชาติหน้าได้ ด้วยอำนาจแห่งกรรมของตนเอง ที่เพียงพอแก่ความเป็นสัตว์ ซึ่งมีต่างๆ ประเภท ทั้งหมู หมา กา ไก่ วัด ควาย ช้าง ม้า ที่อำนาจกรรมอาจนำให้มนุษย์ไปเกิดได้ประเภทนั้นๆ

ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าถึงพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล ที่ประพฤติดี ประพฤติชอบมาตลอด ก่อนแต่จะมรณภาพได้จีวรมาผืนหนึ่งซักตากไว้บนราว ด้วยมีใจผูกพันยินดีที่จะไครองจีวรใหม่

เกิดมรณภาพในช่วงเวลาก่อนจะทันได้ใช้จีวร เพื่อนภิกษุจะถือจีวรนั้นเป็นของตน สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ มีพระพุทธดำรัสให้รอก่อน ๗ วัน เพราะขณะนั้นพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของได้ไปเกิดเป็นเล็นเกาะติดอยู่กับผ้าจีวร

อายุของเล็นอยู่นานเพียง ๗ วัน จากนั้นจะได้ไปเสวยผลแห่งกรรมดีที่พระภิกษุรูปนั้นได้ประกอบกระทำไว้เป็นอันมาก นี้เป็นเรื่องแสดงอำนาจของกรรทางใจที่ใหญ่ยิ่ง อาจนำให้พระภิกษุไปเกิดเป็นสัตว์ได้


O ทุกสิ่งเป็นไปตามอำนาจแห่งใจ

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ มนุษย์ต้องไปเกิดเป็นสัตว์ก็เพราะอำนาจแห่งใจ มีเรื่องของพระภิกษุสำคัญองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ได้เล่าไว้และมีผู้นำมาเขียนให้ได้อ่านกันต่อมา ท่านเล่าว่า ท่านต้องไปเกิดเป็นไก่หลายชาติ เหตุเพราะมีใช้ผูกพันในแม่ไก่ กว่าจะรอดกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ก็นานนักหนา

ต่อมาเมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ปฏิบัติธรรมคำทรงสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความรู้สึกรู้ไกลไปในอดีตหลายภพชาติ จึงประจักษ์ในอำนาจของจิต ว่ายิ่งใหญ่นัก สามารถทำให้มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้ และทำให้สัตว์วนเวียนอยู่ในภพภูมิที่ต่ำนักหนาได้ ควรจะสลดสังเวชและควรจะกลัวอำนาจของจิตที่ตั้งไว้ผิดยิ่งนัก


O ความไม่เข้าใจในเรื่องของกรรม

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม แม้จะเป็นจริงเช่นนี้ แต่มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นจริงเพียงจำนวนน้อยนัก เพราะไม่มีภาพให้เห็นว่า เมื่อชีวิตออกจากร่างของคนคนหนึ่งไป ก็ไปเป็นอีกร่างหนึ่งได้ เช่น หมู หมา กา ไก่ ความไม่ได้เห็นชัดๆ ด้วยตาเนื้อเช่นนี้ทำให้คนส่วนมาก ยากจะเชื่อว่าคนก็เกิดเป็นสัตว์ได้

สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้ คนฐานะสูงก็เกิดเป็นคนฐานะต่ำได้ คนฐานะต่ำก็เกิดเป็นคนฐานะสูงได้ คนร่างกายดีๆ ก็เกิดเป็นคนแขนด้วนขาด้วนได้ คนพิการแขนด้วนขาด้วนก็เกิดเป็นคนมีแขนมีขาได้ คนหน้าตาน่าเกลียดผิดพรรณเศร้าหมอง ก็เกิดเป็นคนสวยคนงามได้ คนสวยคนงามก็เกิดเป็นคนน่าเกลียดน่าชัง ผิดพรรณเศร้าหมองได้ ยิ่งกว่านั้นคนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และเทวดาก็เกิดเป็นคนได้

ความไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ประกอบกับความไม่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม ที่ทำให้คนส่วนมากไม่กลัวการเกิดใหม่ ว่าจะนำไปสู่สภาพหรือภพชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก เช่นเป็นสัตว์นรก


O ผู้ไม่เชื่อเรื่องมโนกรรม..น่าสงสารที่สุด

ใจสำคัญที่สุด ใจต้องคิดไปก่อน เป็นมโนกรรม...กรรมทางใจ อะไรๆ จึงจะเป็นผลตามมา จะดีหรือจะชั่วก็แล้วแต่ใจจะคิดดีหรือคิดชั่ว ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมที่เกิดจากใจคิด เป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุด

เพราะเขามีโอกาสที่จะตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย น่าสลดสังเวชยิ่งนัก สภาพที่เกิดแต่ใจคิดนำไปนั้น เกิดได้ทั้งในภพชาติปัจจุบันนี้ ตลอดไปจนถึงภพชาติข้างหน้า อย่างที่ว่าแม้คนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ แม้คนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และแม้สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้ แม้สัตว์ก็เกิดเป็นเทวดาได้



O การระวังใจ สำคัญยิ่งนัก

การระวังใจจึงสำคัญยิ่งนัก ปล่อยใจให้คิดสูงส่งงดงามไปด้วยบุญกุศล ชาตินี้ก็เป็นสุขเบิกบานด้วยอำนาจของบุญกุศลที่ใจคิดถึง ละชาตินี้ไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่งดงาม ควรแก่ความงดงามของความคิดที่อยู่ในจิตใจ

ผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้งกายและทางใจที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน คือ ผู้ที่เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย

ส่วนผู้ที่ปล่อยใจให้คิดต่ำทราบชั่วร้าย ด้วยบาปอกุศล ชาตินี้ก็เป็นทุกข์เร่าร้อนด้วยอำนาจของบาปอกุศลที่ใจคิดถึง ละไปแล้วจะได้มีชาติใหม่ที่ต่ำทรามบกพร่อง ควรแก่ความต่ำช้าของความคิดที่มีอยู่ในจิตใจ

ผู้ขาดแคลนทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ที่เห็นกันอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน คือ ผู้เป็นไปตามอำนาจของใจในอดีต อันย่อมมีผลสืบเนื่องถึงอำนาจของใจในภพชาติใหม่ด้วย จึงพึงระวังความคิดให้อย่างยิ่ง ให้งดงามด้วยบุญกุศลไว้เสมอ จะได้ไม่ต้องมีสภาพที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนา



O ความคิด เป็นเหตุแห่งสุขและทุกข์

ความคิดเป็นเหตุแห่งความทุกข์ และความคิดก็เป็นเหตุแห่งความสุขได้ พึงรอบคอบในการใช้ความคิด คิดให้ดี คิดให้งาม คิดให้ถูก คิดให้ชอบ แล้วชีวิตในชาตินี้ก็จะงดงาม สืบเนื่องไปถึงภพชาติใหม่ได้ด้วย

ระวังความคิดให้ดีที่สุด เพราะความคิดที่ผูกพันในสิ่งไม่สมควรที่ทำให้พระภิกษุองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นเล็น อีกองค์หนึ่งต้องไปเกิดเป็นไก่อยู่หลายภพหลายชาติ เราทั้งหลายหาได้มีบุญสมบัติเสมอพระภิกษุทั้งสองนั้นไม่ ความคิดที่ผิดพลาดของเราจะมินำเราไปเป็นอะไรที่น่ากลัวเหลือเกินหรือ


O ความคิดเปรียบเช่นดังร่างกาย

ความคิดก็เหมือนร่างกาย เหมือนต้นหมากรากไม้ ต้องการความดูแลรักษา ไม่เช่นนั้นก็อาจจะไม่เติบโตเจริญงอกงาม หรือเติบโตก็อย่างระเกะระกะ ไม่เป็นระเบียบงดงามเป็นคนก็ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญตาเจริญใจ ใครที่ไหนเล่าจะชื่นชมคนเช่นนั้น

ความคิดหรือจิตใจก็เช่นเดียวกัน ต้องให้ปุ๋ยเสมอ คือ ให้ความถูกต้องด้วยปัญญา ด้วยสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ว่าความดีหรือบุญกุศล เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับที่จะประคับประคองชีวิตไปสู่ความถูกต้องดีงามนานาประการ

อย่าอยู่อย่างประมาท อย่าปล่อยความคิดให้วุ่นวายเปะปะไปเหมือนปล่อยเด็กเล็กๆ ให้เดินโซซัดโซเซไปตามลำพัง ย่อมมีทางหกล้มหกลุกแขนขาหัก หรือหัวร้างข้างแตก หรือถึงพิกลพิการได้ ถึงเป็นถึงตายก็ได้ ความคิดที่ไม่ได้รับความประคับประคองให้ดำเนินไปถูกทำนองคลองธรรม ย่อมมีทางเดินไปสู่ความหายนะได้อย่างแน่นอน



O เกิดเป็นคน เร่งรักษาจิตให้จงดี

เกิดมาเป็นคน มีอวัยวะครบถ้วนไม่พิกลพิการ ไม่ไร้สติ เป็นบุญนักหนาแล้ว เร่งรักษาจิตให้จงดี ให้อาหารที่เป็นประโยชน์ที่สุด อย่าปล่อยให้เปะปะไปแสวงหาอาหารตามชอบใจ จะต้องหลงไปพบอาหารที่เป็นพิษแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคนี้สมัยนี้มีอาหารที่เป็นโทษเป็นพิษร้ายแรงแก่จิตใจมากมาย เต็มไปทั่วทุกหนทุกแห่ง โอกาสที่ใจจะหลบหลีกให้พ้นพิษภัยเหล่านั้นยากมาก สติปัญญารักษาใจที่เพียงพอเท่านั้น ที่จะทำให้แลเห็นช่องทางหลบหลีกพิษภัยเหล่านั้นได้ สามารถรักษาใจให้พ้นพิษภัยร้ายแรง มีความสวัสดีได้ แม้พอสมควร



O การตายทั้งเป็นนั้น น่าหวาดกลัวยิ่งนัก

ใจที่มีความคิดอาบยาพิษร้าย เป็นใจที่ทำให้ตายได้ทั้งเป็น อันการตายทั้งเป็นนั้น น่าหวาดกลัวยิ่งกว่ามากมายนัก ผู้ที่ตายทั้งเป็น คือ ผู้เป็นคนเลวในสายตาของคนดี เป็นที่รังเกียจของสังคมคนดี ไปสู่ที่ใดจักไม่มีความหมาย เหมือนเป็นความว่างเปล่า ปราศจากการต้อนรับ

ที่ท่านเปรียบว่าตายทั้งเป็นก็เช่นนี้ด้วย คือ ไม่อยู่ในสายตาในความสนใจของผู้ใด เห็นก็เหมือนไม่เห็น จึงเป็นเหมือนวิญญาณที่ไม่มีร่าง ยิ่งกว่านั้นผู้ที่ตายทั้งเป็นคือผู้ที่เป็นดั่งซากศพที่เน่าเหม็น เป็นที่ยินดีพอใจเข้าห้อมล้อมหนาแน่นของเหล่าแมลงวันหรือหนอนน้อยใหญ่เท่านั้น

นั่นก็คือ คนตายทั้งเป็นด้วยกัน หรือคนไม่ดีด้วยกันเท่านั้นที่จะยินดีต้อนรับพวกเดียวกัน “คนดีจักไม่รังเกียจคนไม่ดี...ไม่มีเลย”


O กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง

“กรรมมีจริง ผลของกรรมมีจริง”
“กรรมดีให้ผลดีจริง กรรมชั่วให้ผลชั่วจริง”
“ผู้ใดทำกรรมใดไว้ จักเป็นผู้ได้รับผลของกรรมนั้น ผู้ไม่ได้ทำหาต้องได้รับไม่”

ความเข้าใจผิดในเรื่องนี้มีอยู่ให้ได้ยินได้ฟังเนือง ๆ เช่น มารดาบิดาทำไม่ดีต่างๆ นานาให้เห็น เกิดเหตุการณ์รุนแรงแก่ชีวิต บุตรธิดา ก็มักจะกล่าวกันว่าลูกรับเคราะห์แทนมารดาบิดาบ้าง หรือลูกรับกรรมแทนมารดาบิดาบ้าง ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น กรรมของผู้ใด ผลย่อมเป็นของผู้นั้น จะรับผลกรรมแทนกันไม่ได้ ไม่มี

มารดาบิดาทำไม่ดี ทำบาปทำอกุศล ยังอยู่ดีมีสุขเพราะผลของบาปอกุศลยังส่งไปไม่ถึง แต่บุตรธิดาที่ไม่ทันได้ทำบาปทำอกุศล กลับต้องมีอันเป็นไปต่างๆ นั้น นั่นเป็นเรื่องการรับผลของบาปอกุศลที่ทำไว้ในภพชาติก่อน ที่ตามมาส่งผลในภพชาตินี้แน่นอน

บุตรธิดาผู้ได้รับผลไม่ดีต่างๆ นานา ต้องทำกรรมไม่ดีไว้ในภพชาติหนึ่งแน่นอน แต่เราไม่รู้ไม่เห็นเท่านั้น ไม่ใช่บุตรธิดารับผลกรรมแทนมารดาบิดา

ผู้ที่จะเกิดร่วมกัน เป็นแม่เป็นพ่อเป็นลูกกัน ต้องมีกรรมดี กรรมชั่วในระดับเดียวกัน ไม่แตกต่างห่างไกลกัน จึงทำให้เหมือนลูกรับกรรมแทนแม่พ่อผู้ทำบาปอกุศล

ลูกที่มารับผลไม่ดีต่างๆ ขณะที่แม่พ่อเป็นผู้ประกอบกระทำกรรมไม่ดี นั่นเพราะกรรมไม่ดีของลูกส่งผลทันในระยะนั้น จึงทำให้ยากจะเข้าใจได้ จึงทำให้เกิดความเข้าใจสับสนกันมาก กรรมของคนหนึ่ง ผลจะไม่เกิดแก่อีกคนหนึ่งแน่นอน..



 ที่มา   http://www.dhammajak.net/book-somdej4/10.html
187  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2012, 03:57:56 pm
ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี


สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร


ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิ้

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่งใจ
ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

กรรมลิขิต
เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ


นักบุญ
การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข
ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

อย่าเอาเปรียบเทวดา
ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่ง อันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์
การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

เมตตาบารมี
การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มาก และทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

แผ่เมตตาจิต
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

ประโยชน์จากการฝึกจิต
ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม



ที่มา  http://www.dhammajak.net/book-somdet-to/2.html
188  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ลายแทงแห่งความสุข เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 03:41:32 pm



ที่มา http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2024508
189  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 12:15:37 pm
๒๐ คำถามกับท่าน ว.วชิรเมธี


1.กลัวลูกมีเซ็กส์ในวัยเรียน?
ไม่อยากให้เกิด ต้องเอาปัญญาใส่ในมือลูก ให้เงินลูกน้อยๆ
ให้ความรู้แก่ลูกมากๆ ด่าลูกน้อยๆ ให้คำสอนลูกมากๆ


2.ไหว้พระขอพรอะไรดี?

(๑) ขออย่าให้โลภจนหน้ามืด
(๒) ขออย่าให้โกรธจนทำร้ายตัวเอง
(๓) ขออย่าให้หลงจนไม่รู้ดีรู้ชั่ว
(๔) ขออย่าให้ตายในสงครามระหว่างคนไทยด้วยกันเอง


3.ท้อแท้กับปัญหามากมายทำอย่างไรดี?
ปลาที่ยังเป็นอยู่ ล้วนเรียนรู้ที่จะว่ายทวนน้ำ ส่วนปลาตาย มักไหลตามน้ำ
ปัญหาทำให้คนธรรมดาท้อ แต่ทำให้คนมีปัญญาลุกขึ้นมาแก้ไข


4.ทะเลาะกับแฟนจนไม่มีสมาธิทำงาน?
งานส่วนงาน แฟนส่วนแฟน รู้จักแบ่งเวลาให้งาน รู้จักแบ่งเวลาให้แฟน
อย่าเสียงานเพราะแฟน อย่าเสียแฟนเพราะงาน


5.โกรธ! ถูกเพื่อนนินทา?
โบราณว่าไม่มีใครเตะหมาที่ตายแล้ว คุณถูกนินทาแสดงว่าคุณยังมีความหมาย คุณเป็นคนโชคดี จู่ๆ ก็มีกระจกวิเศษสะท้อนความอัปลักษณ์ ให้เห็นความบกพร่องของตัวเอง

6.จับได้ว่าแฟนมีกิ๊กทำอย่างไรดี?
(๑) ถามตัวเองว่าเราดีกับเขาพอหรือยัง
(๒) ระหว่างเรากับกิ๊กมีข้อดีข้อด้อยต่างกันตรงไหน
(๓) ถามแฟนว่าจะเลือกใครก็รีบทำ ไม่รักฉันอย่าทำให้ฉันเสียเวลา


7.โดนเพื่อนร่วมงานแย่งซีนทำอย่างไร?
เขาแย่งจากเราได้เพียงแค่ซีนและภาพลักษณ์เท่านั้น
แต่เขาไม่สามารถแย่งความรู้และความสามารถไปจากเราได้


8.งานเยอะมากทำอย่างไรดี?
(๑) รู้ว่างานเยอะต้องรีบทำ
(๒) อย่าดองงานข้ามปีข้ามชาติ
(๓) เรียงลำดับความสำคัญของงาน สำคัญก่อนให้รีบทำ สำคัญน้อยค่อยทยอยทำ


9.ทำงานดี มีแต่คนริษยาจะรับมืออย่างไร?
โบราณว่าไม้ใหญ่ย่อมเจอขวานคม คนเด่นต้องมีคนด่า คนมีปัญญาจึงมีคนลองดี คนทำงานดีจึงมีคนริษยา
ปรากฏการณ์เช่นว่านี้ เป็นของธรรมดา ทำงานดีจนมีคนริษยา ยังดีกว่าทำงานไม่ดี จึงเป็นได้อย่างดีแค่คนที่คอยริษยา


10.ทำงานแทบตาย เงินไม่พอใช้ ทำอย่างไรดี?
(๑) หางานใหม่
(๒) ลดความต้องการให้น้อยลง อยู่กับความจริงให้มาก
(๓) บริโภคปัจจัยสี่โดยมุ่งประโยชน์ อย่ามุ่งประดับ
(๔) ทำบัญชีรายรับรายจ่าย รับมากกว่าจ่ายจึงนับว่ายอดจ่ายมากกว่ารับนับว่าแย่


11.ถูกนายด่า อารมณ์เสีย?
คนที่ด่าคนอื่นสะท้อนว่าระบบข้างใจกำลังพัง คนอารมณ์เสียเพราะถูกด่า
แสดงว่าระบบของตัวเองก็พังตามไปด้วย


12.ไถ่ชีวิตโคได้บุญมากไหม?
ถ้าไถ่แล้วโคอยู่รอด คุณได้บุญ แต่หากไถ่เพื่อทำให้วัดอยู่รอด
คุณได้บาป แทนที่จะไถ่โคกระบือ คุณควรไถ่ตัวเองให้พ้นจากความโลภ
โกรธ หลง ดีกว่า


13.แฟนติดหนังเกาหลีดูทั้งคืนไม่ยอมนอน?
ขอให้คิดว่าอย่างน้อยเธอยังนั่งดูอยู่ในบ้าน ถึงเธอจะติดหนังเกาหลี
ก็ยังดีกว่าติดผู้ชายขี้หลีที่อยู่นอกบ้าน


14.ลูกค้าจู้จี้ทำอย่างไรดี?
มีลูกค้าจู้จี้ยังดีกว่าวันทั้งวันไม่มีใครแวะเวียน ผ่านมาเยี่ยมเยียนถึงในร้าน
ลูกค้าจู้จี้ได้ แต่คุณต้องทำให้เขาประทับใจเอาไว้เสมอ


15.ไปงานวันเกิดควรได้อะไร?
(๑) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร
(๒) ได้ถามตัวเองว่า เราเกิดมาจากใคร
(๓) ได้ถามตัวเองว่า เรากตัญญูต่อผู้ให้กำเนิดแล้วหรือยัง


16.สวดมนต์บทไหนดี?
(๑) สวดพุทธคุณเพื่อเตือนว่า จงเป็นผู้ตื่น
(๒) สวดธรรมคุณเพื่อเตือนว่า จงเว้นสิ่งที่ควรเว้น จงทำสิ่งที่ควรทำ
(๓) สวดสังฆคุณเพื่อเตือนว่าพระอรหันต์ที่แท้ คือพ่อกับแม่ที่อยู่ในบ้านของเรานั่นเอง


17.สามีไม่สนใจธรรมะเลยทำอย่างไรดี?
(๑) เราควรมีธรรมะให้เขาดู
(๒) เราควรอยู่ให้เขาเห็น
(๓) เราควรสงบเย็นให้เขาได้สัมผัส เนื่องเพราะ หนึ่งการกระทำสำคัญกว่าพันคำพูด


18.โดนขับรถปาดหน้า โมโหมาก?
(๑) บอกตัวเองว่าโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ด่าคือมาร ระรานคือบาป
(๒) เปลี่ยนการด่าเป็นการแผ่เมตตาให้เขาถึงที่หมายโดยปลอดภัย
(๓) เตือนตนไว้ว่า อย่าขับรถปาดหน้าใคร เพราะอาจมีอันตรายรอบด้าน


19.อยู่ในกลุ่มเพื่อนชอบนินทาจะตีจากดีไหม?
ท่านพุทธทาสกล่าวว่า คนชอบนินทาคือคนที่ชอบกินของเน่า
ถ้าเราร่วมผสมโรงไปกับเขา แสดงว่าเราเองก็ชอบ
กินของเน่าไม่เบาเหมือนกัน


20.ทำไมมักเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจอยู่เสมอ?
ผู้รู้บอกว่า ศิลปินอย่าดูหมิ่นศิลปะ กองขยะดูดีๆ ยังมีศิลป์
ดังนั้นในสิ่งที่คุณไม่ชอบ ย่อมมีแง่มุมที่คุณชอบอย่างแน่นอน
มองอย่างพินิจจะพบว่า ในดีมีเสีย ในเสียมีดี


ที่มา บางส่วนจากหนังสือ“มหัศจรรย์แห่งชีวิต ๗ หลักคิดจาก ว.วชิรเมธี ภาพจาก http://www.budpage.com/

190  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / นิยาม “รัก” ธรรมะจากท่าน ว.วชิรเมธี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 12:05:23 pm


นิยาม “รัก” ธรรมะจากท่าน ว.วชิรเมธี


“หนุ่มสาวรุ่นใหม่ควรจะเรียนรู้ว่า ความรักมีหลายมิติ แต่ที่เราหยิบมาเน้นทุกวันนี้มีมิติเดียวคือความรักในเชิงชู้สาว ซึ่งมักจะไปจบที่การมีความสัมพันธ์ เพราะว่าไม่อยากจะผูกพัน และนั่นเป็นเหตุให้ก่อปัญหาสังคมตามมามากมาย เพราะฉะนั้นเขาควรจะเปิดใจให้กว้าง เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าแท้ที่จริงนั้น ความรักเป็นอะไรที่มากกว่าความสัมพันธ์ในเชิงชายหนุ่มหญิงสาว”

ในทรรศนะที่สรุปมาจากองค์ความรู้ทางพุทธศาสนา ความรักมีด้วยกัน 4 มิติ

1.รักตัวกลัวตาย
2.รักใคร่ปรารถนา
3.รักเมตตาอารี
4.รักมีแต่ให้


พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี อธิบายว่า

1.รักตัวกลัวตาย เป็น ความรักอิงสัญชาตญาณพื้นฐานของการมีชีวิต ความรักเช่นนี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกประเภท อันตรายของความรักชนิดนี้ คือถ้ามีมากเกินไปจะกลายเป็นความเห็นแก่ตัว และบางครั้งเพื่อที่จะปกป้องตัวเอง ก็ถึงกับต้องฆ่าคนอื่น

2.รักใคร่ปรารถนา เป็นความรักอิงสัญชาตญาณการสืบพันธุ์ มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวเป็นเครื่องมือของความรักชนิดนี้ ความรักชนิดนี้ถ้าวิเคราะห์ลึกๆ มีความโลภเจืออยู่ นั่นก็คืออยากจะได้ ใคร่จะครอบครอง และถ้าตัวเองได้ตามที่ต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จในความรักชนิดนี้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามไม่ได้ตามที่ต้องการ ความโลภอาจจะกลายเป็นความแค้น

“และนั่นเป็นเหตุให้หลายครั้ง คนที่รักกันแต่พอผิดหวังจากความรัก จึงลงเอยด้วยการทำร้ายซึ่งกันและกัน และในบางกรณีถึงขั้นฆาตกรรม ชำแหละคนรักเป็นศพ ไหนบอกว่ารัก ทำไมต้องจบด้วยการฆาตกรรม เพราะลึกๆ แล้วไม่ใช่รัก เป็นแค่ราคะ คือความปรารถนาในกามารมณ์ และเป็นเพียงความโลภ คือต้องการที่จะครอบครองมาเป็นเจ้าของเพียงหนึ่งเดียว ดังนั้นความรักชนิดนี้จึงไม่ปลอดภัย ต้องก้าวไปหาความรักที่สูงขึ้น”

ความรักที่ 3 คือ รักเมตตาอารี คือความรักที่อิงและร่วมทางวัฒนธรรมบางอย่าง เช่น มีสายเลือดเดียวกัน พ่อแม่ก็จะรักลูกมาก เพราะลูกก็คือสำเนาของตนเอง คนที่ถือศาสนาเดียวกันก็จะรู้สึกเป็นพวกเพราะมีศาสดาคนเดียวกัน คนที่ถือสัญชาติเดียวกันก็จะรู้สึกเป็นพวกกับคนสัญชาติเดียวกัน และมนุษย์ด้วยกันก็จะรู้สึกว่าต้องให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าสัตว์

“ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่อาศัยโยงใยทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องหล่อ เลี้ยง เราจะรักใครก็ตามที่เราเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมได้ในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น ถ้าเราเดินอยู่ในอเมริกาแล้วเจอคนไทย เราจะรู้สึกปีติเบิกบานขึ้นมาทันที ทั้งๆ ที่ฝรั่งที่เราเจอก็คนทั้งนั้นแต่เราจะเฉยๆ ถ้าคนไทยคนนั้นเป็นชาวพุทธเหมือนกับเรา ก็ยิ่งดีใจใหญ่ ทำไมเป็นอย่างนั้น เพราะลึกๆ เรามีโยงใยทางวัฒนธรรมร่วมกันบางสิ่งบางอย่าง ความรักชนิดนี้ทำให้มนุษย์รวมกันเป็นหมู่เป็นคณะเป็นกลุ่มเป็นก้อน

แต่อันตรายของความรักชนิดเช่นนี้ก็คือ บางครั้งมันกลายเป็นความหลงผิด ยึดติดถือมั่นในกลุ่ม ในหมู่ ในพรรค ในเผ่า ในพันธุ์ของตัวเอง แล้วกลายเป็นสงครามระหว่างชาติพันธุ์ ระหว่างผิวสี ศาสนา ลัทธิ การเมือง ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วนับครั้ง ไม่ถ้วน เช่น ฮิตเลอร์สังหารชาวยิวเพราะอะไร หรือสงครามครูเสดเกิดขึ้นยาวนานหลายร้อยปี ก็เพราะทุกคนอยากจะปกป้องพระเจ้าของตนเอง รวมทั้งสงครามแบ่งแยกดินแดนทั้งหลาย ความรักชนิดนี้ลึกๆ เข้าไปอาศัยคำว่าลัทธิ อุดมการณ์เป็นเครื่อง หล่อเลี้ยง เป็นเครื่องเชื่อมโยงที่สำคัญ”

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ยังรวมถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่มีทั้ง เสื้อเหลืองและเสื้อแดง หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์เข้าไปยึดติดถือมั่นแล้วมีอิทธิพล ต่อการดำเนินชีวิต

“ความรักของสีเหลืองสีแดงก็เป็นความรักในประเภทที่ 3 นี้ด้วย ความรักชนิดที่ 1 ที่ 2 และชนิดที่ 3 ก็ยังไม่ปลอดภัย ต้องพัฒนาต่อไปถึงความรักประเภทที่ 4 คือ รักมีแต่ให้”

“รักมีแต่ให้ เป็นความรักที่มาพร้อมกับปัญญา ความรักที่ 1-3 อิงอารมณ์คือความรู้สึกเป็นรากฐานที่สำคัญ แต่

ความรักชนิดที่ 4 อิงปัญญาคือความรู้สว่างกระจ่างแจ้งในโลกและชีวิต ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง จนมนุษย์สามารถถอดถอนตัวเองออกมาจากมายาคติ คือสิ่งที่เป็นความลวงทุกชนิด เหมือนพอเมฆที่เคลื่อนออกไป ฟ้าก็เปิด ทอดตามองไปทางไหนก็เห็นแต่แสงสว่างในทิศทั้ง 4″

“ไม่มีอะไรอีกที่เป็นความลับดำมืดหรือเคลือบแคลงสงสัยมัวเมา ความรักชนิด เช่นนี้เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีปัญญาที่จะหยั่งรู้ ถึงความจริงของโลกและชีวิตอย่างตรงไปตรงมา เช่น ถ้าเราเห็นเงิน เราก็รู้ว่าเงินเป็นเพียงสิ่งสมมติที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เราใช้เงินเสร็จแล้ว เราก็สามารถปล่อยวางมันได้ เราใช้เสื้อผ้าเสร็จแล้วเราก็สามารถถอดวางไว้ได้ เรามียศ เราใช้ยศเสร็จแล้วเราก็ไม่ยึดติดยศ เรามีทรัพย์สมบัติ เราก็บอกว่าสรรพสิ่งคือของใช้ไม่ใช่ของฉัน”

“พอเรามีความเข้าใจโลกและชีวิตตามความเป็นจริงอย่างนี้ ปัญญาของเราจะเป็นอิสระ พอปัญญาของเราเป็นอิสระแล้ว ทอดตาไปทางไหนใจเราก็กว้างขวาง หมดความยึดติดถือมั่น ทอดตาไปทางไหนก็ไม่เห็นใครว่าเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดง เพราะสิ่งเหล่านั้นคือเปลือกของความเป็นมนุษย์ที่เราสมมติขึ้นมาเองทั้งหมด ทอดตาไปทางไหนคุณก็จะเห็นแต่มนุษยชาติกระจายอยู่ ทั่วทุกหนทุกแห่ง เขากับเราแตกต่างกันเพียงเปลือกผิวภายนอก แต่โดยเนื้อหาสาระก็คือ สิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่ามนุษยชาติ ไม่มีใครสูงกว่าใคร ไม่มีใครต่ำกว่าใคร มีแต่สิ่งมีชีวิตที่เรียกกันว่าคน นั่นคือความจริงสุดท้าย พอจิตของเราเป็นอิสระอย่างนี้แล้ว ความรู้สึกในเชิงแบ่งแยกหายไป ความรู้สึกในเชิงถือเขาถือเราหายไป ความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบหายไป ทอดตามองไปทางไหนก็เห็นแต่คนที่เสมอกันกับเรา และนั่นคือเหตุที่ทำให้เราเรียนรู้ที่จะรักคนอื่นพอๆ กับที่เรารักตัวเอง ความรักเช่นนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะนำความรักที่แท้มา นั่นคือความกรุณา รักแท้คือกรุณา”

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี อธิบายต่อไปอีกว่า กรุณาก็คือความสงสารอันใหญ่หลวง ซึ่งทำให้เราไม่สามารถทำร้ายใครได้อีกเลย เพราะทอดตาไปทางไหนก็ล้วนแล้วแต่เป็น พี่น้องท้องเดียวกันกับเราทั้งหมดทั้งสิ้น เมื่อปัญญาทำหน้าที่เปิดประตูหัวใจของเราแล้ว ธารน้ำแห่งความรักก็จะไหลหลั่งถั่งท้นออกมา ชโลมชาวโลกให้อยู่กันฉันพี่ฉันน้อง

“อุปมาให้เห็นง่ายๆ รักแท้คือกรุณา เปรียบเสมือนแสงเดือนแสงตะวันที่สาดลงผืนโลก โดยที่ไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทน เป็นน้ำก็ไหล เป็นจันทร์ก็ส่อง เป็นนกก็ร้องเพลง โดยไม่เคยถามว่าใครเคยเห็นความสำคัญของฉันหรือ โดยไม่เคยถามว่าฉันจะได้อะไรตอบแทนไหม ฉะนั้นวิวัฒนาการสูงสุดของความรักก็คือ รักแท้คือกรุณา เราต้องไปให้ถึงความรักชนิดเช่นนี้ จึงจะเป็นความรักที่ดีที่สุด ที่ไม่เพียงแต่คนหนุ่มสาวเท่านั้น มนุษยชาติจะต้องไปให้ถึง”


ถึงกระนั้น พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ก็นิยามความรักให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายว่า ความรัก คือการตระหนักรู้ในสัจธรรม แล้วเราสามารถถอดถอนตัวเองออกมาจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้อย่างสิ้นเชิง มีหัวใจที่บริสุทธิ์ หมดจด แล้วก็แผ่ความรักนั้นออกไปรักคนได้ทั้งโลก ความรักในทรรศนะของอาตมากล่าวอย่างสั้นที่สุดคือกรุณา คือจิตใจอันใหญ่หลวงที่สามารถรักคนได้ทั้งโลกโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ รักแท้คือกรุณาจะมาหลังจากการผลิบานทางปัญญาเสมอไป ถ้าไม่ได้มาพร้อมปัญญาเป็นได้แค่มายาการณ์ชนิดหนึ่ง พูดง่ายๆ เป็นได้แค่ความรู้สึก

“ฉะนั้นถ้าไปดูพระพักตร์ของพระพุทธรูป ทุกองค์ ยิ้มทุกองค์ ทำไมยิ้ม เพราะจิตท่านเบิกบานผ่องใส ท่านจึงกลายเป็นผู้ที่ยิ้มให้กับคนทั้งโลก รักที่แท้จะเป็นอย่างนั้น เราเกลียดใครไม่ลงเลย”

“ฉะนั้นพุทธศาสนานี้ จึงเป็นศาสนาแห่งความรัก เริ่มต้น พระพุทธเจ้าก็รักใน โพธิญาณ ใช้วันเวลาทั้งหมด 84,000 อสงไขย กำไร 100,000 กัลป์ ทุ่มเทปัจจัยลงไปในโพธิญาณ รักในการที่จะเป็นพระพุทธเจ้า และเมื่อบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ก็ไปถึงตาน้ำที่แท้ ตลอดเวลา 45 ปีหลังจากที่ตรัสรู้ เสด็จพุทธดำเนินไปทุกหนทุกแห่งเพื่อหว่านโปรยพุทธธรรมอันเป็นเครื่องมือ ที่จะนำชาวโลกไปสู่ความรักที่แท้ และด้วยเหตุดังนั้น พระพุทธองค์จึงมีพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหาการุณิโก แปลว่า พระผู้มีความรักที่แท้”

“เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก และเราชาวพุทธทุกคน เมื่อเข้าใจพุทธธรรมอย่างถึงที่สุดแล้ว เราจะกลายเป็นผู้ที่มีความรักอย่างลึกซึ้งที่สุด”


และแม้ว่า “เสียงธรรมะ” อาจเบากว่า “เสียงราคะ”

ที่มา http://www.dhammagift.com/
191  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นัยอันล้ำลึกของคำว่า "ขอบคุณ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2012, 10:15:59 am
แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน   
ต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน
ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำ
คนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้
  ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวัน
 ก็ยังโง่เท่าเดิม
           

ว. วชิรเมธี    

นัยอันล้ำลึกของคำว่า "ขอบคุณ"

ขอบคุณความไม่รู้   ที่ทำให้รู้วิธีลุกขึ้นสู้
ขอบคุณความยากจน   ที่ทำให้เป็นคนมุมานะ
ขอบคุณความล้มเหลว   ที่ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ

ขอบคุณความผิดพลาด   ที่ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม
ขอบคุณความริษยา   ที่ทำให้กล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ขอบคุณคำวิพากษ์วิจารณ์   ที่ทำให้ผลิบานอย่างไร้ข้อตำหนิ

ขอบคุณความไม่รู้   ที่ทำให้รู้จักครูที่ชื่อประสบการณ์
ขอบคุณความผิดหวัง   ที่ทำให้ตั้งสติเพื่อลุกขึ้นมาใหม่
ขอบคุณศัตรูที่แกร่งกล้า   ที่ทำให้รู้ว่าเรายังไม่ใช่มืออาชีพ


ขอบคุณมหกรรมคอรัปชั่น   ที่ทำให้เราอยากสร้างสรรค์การเมืองใหม่
ขอบคุณความป่วยไข้   ที่ทำให้เราตั้งใจดูแลสุขภาพ
ขอบคุณความทุกข์    ที่ทำให้เรารู้ว่าความสุขมีค่าแค่ไหน


ขอบคุณความพลัดพราก   ที่ทำให้เราสละจากความยึดมั่น ถือมั่น
ขอบคุณเพลิงกิเลส   ที่ทำให้เรามีเหตุอยากถึงพระนิพพาน
ขอบคุณความตาย   ที่ทำให้ฉากสุดท้ายของชีวิตสมบูรณ์แบบ



ที่มา  http://www.dhammagift.com/content-นัยอันล้ำลึกของคำว่า-4-4444-98485-1.html
192  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หลักคำสอน....คติเตือนใจคำคมโดยท่าน ว.วชิรเมธี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 07:07:03 pm
หลักคำสอน....คติเตือนใจคำคมโดยท่าน ว.วชิรเมธี


1. คนธรรมดาทำบุญก็อยากได้บุญ คนมีปัญญาทำบุญหวังจะเกิดในภพใหม่ที่ดีกว่าเดิม แต่ชาวพุทธแท้ทำบุญเพื่อการปล่อยวางกิเลสอย่างสิ้นเชิง

2. สิ่งที่ตาเห็นอย่าเพิ่งสรุปว่ามี สิ่งที่คนยอมรับว่าดีอย่าเพิ่งบอกว่าเห็นด้วย

3. ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี

4. นักปราชญ์ตะวันตกกล่าวว่า อำนาจทำให้คนเสีย ยิ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จยิ่งเสียคนแบบเบ็ดเสร็จ

5. ดาบที่ดีต้องมีฝัก ความสามารถที่ดีต้องมีจริยธรรม

6. พ่อแม่ที่ดีต้องมีพรหมวิหาร 4 หน้า หน้า 1 เมตตา หน้า 2 คือ กรุณา หน้า 3 คือ มุทิตา หน้า 4 คือ อุเบกขา

7. ยามปกติเลี้ยงลูกด้วยเมตตา ยามมีปัญหาคอยช่วยเหลือด้วยกรุณา ยามลูกทำดีคอยส่งเสริมด้วยมุทิตา ยามลูกทำผิดปล่อยให้รับกรรมด้วยตัวเอง คือ อุเบกขา

8. รอยเท้าแรกที่เหยียบบนดวงจันทร์ไม่ใช่รอยเท้าของมนุษย์ แต่เป็นรอยเท้าแห่งจินตนาการ

9. การแก้กรรมคือการแก้ที่ความหลงผิด การแก้กรรมคือการเลิกทำความชั่ว ดังนั้นการแก้กรรมจึงไม่ใช่สำเร็จที่การสะเดาะเคราะห์หรือทำพิธีจากเกจิ

10. คนที่รู้เรื่องกรรมดีที่สุดคือตัวเราเอง คนที่แก้กรรมได้ดี่ที่สุดคือตัวของเรา การแก้กรรมต้องทำด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช่ด้วยพิธีกรรมแปลกๆ

11. คนขุดบ่อน้ำก็ลงต่ำอยู่ในดิน คนก่อกำแพงก็ขึ้นสูงตามกำแพงที่ก่อ ฉันนี้ฉันใดคนทั้งหลายก้เป็นเช่นนั้น จะสูงจะต่ำขึ้นอยู่กับการกระทำของตน

12. คนฉลาดชอบแกล้งโง่ คนโง่ชอบเสแสร้งว่าฉลาด ส่วนนักปราชญ์เรียนรู้ที่จะฉลาดและเรียนรู้ที่จะโง่

13. กฎแห่งกรรมไม่ต้องืวีซ่า กฎแห่งกรรมไม่ยกเว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม กฎแห่งกรรมไม่มีวันหยุด กฎแห่งกรรมเที่ยงธรรมตลอดกาล

14. บิล เกตต์ เรียนไม่จบแต่พบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นคนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญญาไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยแต่อยู่ในจิตใจที่ใฝ่รู้

15. อย่ายึดติดกับความหลัง อย่าฟังเสียงปาปมิตร (มิตรชั่ว) อย่ามัวคิดริษยา อย่าเสียเวลากับคนเลวทราม

16. คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์

17. ความไม่รู้เป็นยอดแห่งมลทิน ปัญญาเป็นยอดแห่งสิริมงคลความถ่อมตนเป็นยอดแห่งเสน่ห์

18. รถทุกคันล้วนมีเบรก รถทุกคันล้วนมีท่อไอเสีย คนทุกคนต้องมีเบรกคือสติ ต้องมีท่อไอเสียคือการปล่อยวาง

19. ความทุกข์ไม่เคยยึดติดเรา มีแต่เราต่างหากที่ยึดติดความทุกข์ ความสุขไม่เคยไปจากใจเรา มีแต่เราต่างหากที่ไม่เคยถนอมมันไว้ในใจของเรา

20. ยศ ทรัพย์ อำนาจเป็นเพียงมรรควิธีที่ทำให้ชีวิตนี้มีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นเป้าหมายในการเกิดเป็นมนุ๋ย์

21. ทำผิดแล้วรู้สึกผิดต่อไปจะเป็นคนดี ทำผิดแล้วรู้สึกว่าเป็นความดีกาลกิณีจะเกิดขึ้นในไม่ช้า

22. ที่สุดของความรักคือรักโดยไม่ครอบครอง ที่สุดของการให้คือให้โดยไม่หวังผล ที่สุดของทานคืออภัยทาน ที่สุดของคนคือการเป็นคนธรรมดาที่มีความสุข

23. ความรักไม่เคยทำให้ใครทุกข์ การไม่รู้จักธรรมชาติของความรักต่างหากที่ทำให้เกิดทุกข์ ธรรมชาติของความรักคือเกิดขึ้นในเบื้องต้น ดำรงอยู่ในท่ามกลาง และแตกดับไปในที่สุด

24. โลกนี้มีผี 6 ตัวที่น่ากลัวกว่าผีไหนๆ 1 ผีสุรา 2ผีเที่ยวกลางคืน 3. ผีมหรสพ (ติดใจในความบันเทิงจนเกินพอดี) 4 ผีการพนัน 5 ผีคบคนชั่วเป็นมิตร (คนชั่วอยู่ไหนชอบเถลไถลไปสนิทสนม) 6 ผีขี้เกียจ ผี 6 ตัวนี้ต้องปราบด้วยปฏิบัติธรรม

ที่มา  http://www.it4x.com/forum/index.php/topic,4555.0.html


193  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บทกวีนิพนธ์จากท่านว.วชิรเมธี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 06:52:08 pm


“พินัยกรรม” 

"โลงศพของฉันคือประโยชน์ที่โปรดโลก...”
เชิญชะโงกพินิจดูให้รู้เห็น
“อยู่อย่างต่ำทำอย่างสูงมุ่งบำเพ็ญ”
นั่นแหละเป็นอนุสรณ์ก่อนวางวาย


“ธรรมโฆษณ์” คือคัมภีร์รุจีรัตน์
“คู่มือมนุษย์” ตัดกิเลสหาย
“ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม” ร่ำระบาย
“ตายก่อนตาย” ปริญญาเอกดิเรกคุณ
“อริยสัจจากพระโอฐ” โปรดพินิจ
“อิทัปปัจจยตา” มิ่งมิตรมหาสุนทร์
“กรรมเหนือกรรม” ล้ำค่าน่าลงทุน
“เหนือทั้งบุญทั้งบาป” ตราบนิพพาน
“สิ่งใดดีฉันล้วนมีเตรียมไว้ให้...”
จงช่วงใช้ส่องทางสร้างสุขศานต์
ธรรมใดใดก็ไร้ค่าถ้ารำคาญ
เอาแต่อ่าน-อ่าน-อ่านดู-ไม่รู้ทำ !


“ตะแกรงร่อนทอง” 

ย้อนรอยย้อนทางย้อนย่างก้าว
ค่อยค่อยสาวค่อยสืบอนุสนธิ์
ตามเยี่ยงตามอย่างต่างตามตน
มาดั้นด้นแสวงธรรมพระสัมมา
เพชรพราวพริ้งพรายประกายเก็จ
มาหมกเม็ดหม่นมัวมืดโมหา
พุทธธรรมพระสัมพุทธวิสุทธา
ถูกขื่อคาไสยศาสตร์เข้าคราสครอง
สมณะหนึ่งนามพุทธทาส
เปรื่องปราดเป็นเมธีไม่มีสอง
มีตะแกรงอยู่ในมือถือร่อนทอง
จึงเพชรผ่องผุดพราวอีกคราวครั้ง
พุทธทาสพุทธธรรมนามสมมุติ
สุวิสุทธิ์สงฆ์ไทยในหนหลัง
เบญจขันธ์แตกดับไปไม่จีรัง
แต่ชื่อยังยรรยงอยู่ไม่รู้ตาย.



“ไม่สูญ” 

“พุทธทาส” นามท่านเพี้ยง ภูผา
โพธิยิ่งอย่างอา- กาศกว้าง
ตัวตายแต่ชื่อปรา- กฎเกริก ไกรพ่อ
หายแผ่นดินฟ้าไหม้ ห่อนม้วยมลายสูญ.


“พุทธทาสธรรม” 

เรไรหริ่งหรีดร้อง ระงม
พุทธทาสธรรมชม ชื่นล้ำ
กลางพฤกษ์พนาพรม ธรรมแผ่ว
เย็นจิตเย็นกายน้ำ ทิพย์เนื้อธรรมสรง
.


“ลานหินโค้ง” 

ลานหินโค้งก่อตำนานลานหินโค้ง
กิเลสโง้งเชิญมาง้างอย่างสร้างสรรค์
ลานหินโค้งธรรมไม่โค้งโสรจสรงพลัน
ธรรมย่อมบันดาลให้ได้สุขตรง
เชิญมาชิมรสพระธรรมท่ามแมกไม้
จิตจะไกลอวิชชาไม่มาหลง
กินเกียรติกามกาลีที่หยัดยง
ย่อมปล่อยปลงเปลืองเปล่าเถ้าธุลี
ทุกเม็ดทรายมีประกายมณีรัตน์
ผ่องประภัสรผุดพราววาวรังสี
ตามีแววแพรวพรายย่อมได้ดี
กรวดทรายมีปรัชญาวิชชาการ
“จงอยู่อย่างเรียบง่ายไม่วายวุ่น
จงเจือจุนมวลมนุษย์สุดไพศาล
จงปล่อยวางอย่างสบายก่อนวายปราณ
จงนิพพานทุกนาทีของชีวิต”


“อนัตตา” 

ไม่มีตัวของตัวมาแต่ต้น
แต่ชอบด้นให้มีตัวให้มัวหมอง
พอมีตัวก็ยึดตัวมัวแต่พอง
สิ่งทั้งผองเป็นของตัวชั่วนิรันดร์
ชีพของตัวกายของตัวทั่วทั้งนั้น
ลูกเมียพลันเป็นของตัวมั่วโมหันธ์
บ้านของตัวรถของตัวชั่วชีวัน
เงินของตัวนี่อีกอันไม่ปล่อยวาง
สรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องล้วนของตัว
ไม่เห็นหัวคนอื่นที่ยืนขวาง
อัตตาคับบ้านเมืองเรืองรางชาง
จักรวาลเวิ้งว้างก็ของตัว
“สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
ศาสดาตรัสไว้ไม่น่าหวัว
ทุกทุกสิ่งที่เห็นว่าเป็นตัว
คือ “หมอกมัว” ความหลงผิดอวิชชา !


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=33271
194  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พินิจวาจา ก่อนพาที เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 11:50:01 am


พินิจวาจา ก่อนพาที

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย
น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกัง
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกังฯ
(ขุ.ชา. ๒๗/๘๘)

ควรเปล่งเฉพาะถ้อยวาจาที่งดงาม
ไม่ควรเปล่งถ้อยวาจาหยาบช้าชั่ว
พูดจาไพเราะย่อมสำเร็จประโยชน์
พูดจาหยาบช้าย่อมเดือดเนื้อร้อนใจ


วาจาพาทีเพราะ.........แสนไพเราะเสนาะหู
พริ้งเพริศช่วยเชิดชู....ชุ่มชื่นจินต์ยิ่งยินดี
วาจาหยาบช้าชั่ว........จะเจ็บตัวปากเป็นสี
พูดจาหรือพาที..........ทบทวนดูให้รู้จริง
พูดดีไม่มีโทษ............เกิดประโยชน์อย่างยวดยิ่ง
พูดชั่วคนชังชิง..........ใช่แน่นอนเดือดร้อนตน

           

เยน เกนจิ วณฺเณน
ปโร ลภติ รุปฺปนัง
มหตฺถิยมฺปิ เจ วาจัง
น ตัง ภาเสยฺย ปณฺฑิโตฯ
(ขุ.ชา.๒๗/๑๐๔๖)

คนอื่นเกิดความโกรธเคืองแค้น
เพราะถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง
แม้มันจะมีประโยชน์มิใช่น้อย
บัณฑิตก็ไม่ปราศรัยถ้อยคำนั้น


ถ้อยคำไม่พินิจ............ไปสะกิดต่อมโทสา
คนฟังเกิดโกรธา..........ปะทุเดือดขึ้นทันที
แม้มีประโยชน์มาก......คนเดินจากส่ายหน้าหนี
หยุดพูดเป็นการดี.........ดื้อดึงกล่าวร้าวใจกัน
บัณฑิตรู้อย่างนี้.............หยุดวจีที่หุนหัน
ราบเรียบอยู่เงียบงัน......งดพูดจาไม่พาที

           

อญฺญัง ภณติ วาจาย
อญฺญัง กาเยน กุพฺพติ
วาจาย โน จ กาเยน
น ตัง ธมฺมัง อธิฏฺฐิโตฯ
(ขุ.ชา.๒๗/๘๙๖)

พูดทางวาจาอย่างหนึ่ง
ทำทางกายอีกอย่างหนึ่ง
ประพฤติธรรมทางวาจา
ไม่ประพฤติธรรมทางกาย
มันไม่ตั้งอยู่ในธรรมเลย


พูดจาว่าอย่างหนึ่ง...........ไม่ซาบซึ้งตราตรึงหนอ
เพียงพร่ำเพรื่อสอพลอ.....พูดแต่ปากไม่อยากทำ
เวลาทำอย่างหนึ่ง.............หาพรั่นพรึงพลันล่วงล้ำ
ชั่วเฉยไม่เคยจำ................วาจาพร่ำพูดร่ำไป
ประพฤติธรรมด้วยปาก....มันจะยากเย็นที่ไหน
กายเมินเหินห่างไกล........รับรองไม่ตั้งในธรรม
           
ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=29960

195  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / พระพยอม เล่ากรรมที่ทำกับพ่อ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 11:01:52 am
พระพยอม เล่ากรรมที่ทำกับพ่อ


โยมพ่อของอาตมาเป็นคนขี้เหล้า...

หาเงินมาได้เท่าไหร่ก็กินเหล้าหมด

พอเมาก็ดุด่าโยมแม่กับอาตมา
อาตมาไม่ชอบพ่อมาก.......


วันหนึ่ง โยมพ่อเมากลับบ้านไม่ได้ มีคนให้อาตมาพายเรือไปรับ

ตอนนั้น อาตมายังเป็นวัยรุ่น ทำงานมาทั้งวันก็อยากจะนอน....อยากพักผ่อน....

อาตมารู้สึกโมโหมาก


พอพายเรือกลับบ้าน ก็ทิ้งโยมพ่อไว้ในเรือ
แต่พ่อเมามากลุกไม่ไหว ตะโกนเรียก....


“ ไอ้ยอม... ไอ้ยอม... มาอุ้มกรูขึ้นบ้านหน่อย... กรูขึ้นไม่ไหว ”

ไอ้เราก็ทนรำคาญไม่ไหว เดินกระทืบเท้า ตึง.. ตึง.. ตึง..

กระชากร่างพ่ออุ้ม ในขณะที่อุ้ม..

ความรู้สึกเจ็บแค้นที่พ่อทำให้เราลำบาก ชอบด่าว่าเราเจ็บๆ

พออุ้มพ่อขึ้นมาจากเรือ... ถึงหัวสะพาน

จับร่างพ่อกระแทกกับหัวสะพาน ก้นพ่อกระแทกกับ พื้นไม้อย่างแรง

เสียงดังโครม....


พ่อแกร้องไห้.... แล้วพูดว่า


“ ไอ้ยอมนะ... ไอ้ยอม.. กรูอุ้มมรึงมาแต่เล็กแต่น้อย....

กรูนอนหลับ.. แต่มรึงไม่ยอมนอน... ร้องไห้กวน..

กรูต้องลุกมาอุ้มมรึง...ร้องเพลงกล่อมให้มรึงนอน

จะไปไหนมรึงไม่ไหว.. มรึงเหนื่อย. . กูก็ต้องอุ้มมรึง.. ทั้งที่กรูก็เหนื่อย

กรูอุ้มมรึง.. มรึงทั้งขี้..ทั้งเยี่ยว.. ใส่กรู

แต่กรูไม่เคยทุ่มมรึงลงกับพื้นเลย....

เพราะกรูรักมรึง......

วันนี้...มรึงอุ้มกรู เหล้ากรูไม่ได้หกโดนมรึงสักนิด มรึงทุ่มกรูลงพื้นทำไม.....”


พอพ่อพูดจบ น้ำตาไม่รู้มาจากไหน มันไหลพรูลงมาอาบสองแก้ม

อาตมาเจ็บปวดหัวใจเหลือเกิน

ก้มลงกราบพ่อ แล้วพูดว่า

“ พ่อครับ ต่อจากนี้ไป... ผมจะอุ้มพ่อตลอดชีวิต

โดยไม่บ่นและทุ่มพ่อ ลงพื้นอีกแล้วละครับ”


หลังจากนั้น อาตมาทำงานอย่างหนักเพื่อมาให้พ่อ หวังให้พ่อสบายขึ้น

แต่เมื่อถึงวันนั้น มันก็สายไปแล้ว

โยมพ่อได้จากอาตมาไปแล้ว



คิดแล้วมันทรมานใจเหลือเกิน อาตมาทำผิดพลาดไปแล้ว และแก้ไขไม่ได้


จึงอยากเตือนทุกคนเอาไว้ ไม่อยากให้เสียใจไปตลอดชีวิต



แล้วคุณล่ะ เคยทำอะไรให้พ่อเสียใจบ้างหรือเปล่า


บางครั้งเราอาจเข้าใจท่านผิดบ้าง

บางครั้งท่านเฉยเราก็คิดว่าท่านไม่สนใจ

แต่พอเราโตเราก็จะรู้เองว่า

สิ่งที่ท่านทํากับเรามันเป็นสิ่งที่ท่านหวังดีกับเราเสมอ

ขอให้รู้จักค้นหาหัวใจตัวเองให้ทันเวลา

ก่อนที่ทุกอย่างมันจะสายเกินไป....."

...........................

สำหรับบางคน......

บางสิ่งบางอย่าง ลำบ๊ากลำบาก แต่เราสามารถ มุมานะทำเพื่อแฟนหรือคนรักของเรา

แต่บางสิ่งง่ายๆ สำหรับพ่อแม่ของเรา เรากลับไม่ค่อยอยากทำให้ท่าน

ทั้งๆที่ท่านลำบากเลี้ยงเรามา มาคิดได้เมื่อสายไปแล้ว....

เคยได้ยินมาว่า....


ข้าวร้อนๆกับปลาเค็ม 1 ชิ้น ตอนพ่อมีชีวิตอยู่

มีค่ามากกว่า "เนื้อมังกร...หน้าศพ" ตอนพ่อตาย...


ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=39787
196  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถูกชมคือธรรมดา ถูกด่าก็ไม่เลว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2012, 09:07:03 am

ถูกชมคือธรรมดา ถูกด่าก็ไม่เลว

โดย ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย


หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าว “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” กันมาบ้างแล้ว
คำกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจิต
หรืออีกนัยหนึ่งของความคิดได้เป็นอย่างดีว่า
จิตกำหนดวัตถุ หรือกายเป็นไปตามอำนาจของจิต
ผู้รู้ท่านหนึ่งเคยกล่าวถึงความสำคัญของจิต หรือความคิดไว้ว่า


“เธอจงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นการกระทำ

เธอจงระวังการกระทำ เพราะการกระทำจะกลายเป็นนิสัย

เธอจงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นบุคลิก

เธอจงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกำหนดชะตากรรมของเธอ”


ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่า
เรามีความคิดหรือวิธีคิดอย่างไร
ในทางพุทธศาสนานั้น ท่านให้ความสำคัญกับวิธีคิดเป็นอันมาก
พระนักปราชญ์ท่านหนึ่งได้ประมวลวิธีคิดในพุทธศาสนาไว้ว่ามีมากกว่า ๑๐ วิธี


วิธีคิดอย่างหนึ่ง ซึ่งเราควรนำมาปรับใช้ในชีวิตก็คือ วิธีคิดเชิงบวก


วิธีคิดเชิงบวก หมายถึง การรู้จักเปลี่ยนมุมมองที่เรามีต่อสิ่งต่างๆ
ซึ่งโดยมากมักแสดงตัวให้เราได้สัมผัสในแง่ลบ
แต่พอเราพลิกมุมมองใหม่ เราจะได้อะไรดีๆ จากเรื่องลบๆ เหล่านั้น
เช่น ในชีวิตจริงของผู้เขียนซึ่งทำงานกับคนหมู่มาก
มักจะพบกับคำชมและคำด่าอยู่เสมอ ๆ
เมื่อแรกเผชิญกับคำชม ผู้เขียนก็ฟู ครั้นพบกับคำด่าก็แฟบ
แต่เมื่อเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองต่อคำชมและคำด่า
ก็รู้สึกว่า ได้คุณค่าจากคำด่าคำชมเป็นอันมาก


คำชมนั้น สำหรับคนที่ไม่คิดอะไรมาก
ดูเหมือนว่า ไม่ลำบากใจเลยที่จะน้อมรับ
แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว คำชมนั่นแหละคืออันตรายยิ่งกว่าคำด่า
เพราะหากเรารู้ไม่ทัน คำชมจะทำให้เราหลงตัวเองและมีโอกาสลืมตัวสูง
ส่วนคำด่า ถ้าพิจารณาไม่ดีก็ทำให้เราเสียศูนย์ได้ง่ายๆ
แต่หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งด้วยวิธีคิดแบบมองโลกในแง่ดี
บางทีคำด่ากลับมีค่ามากกว่าคำชม


 คำด่ามีค่ามากอย่างไร ?


 (๑) คำด่า คือ กระจกเงาสะท้อนความบกพร่องของงานที่เราทำ


 (๒) คำด่า มักแฝงคำแนะนำมาด้วยเสมอ


 (๓) คำด่า บอกเราว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้น
หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราเขามองดูอยู่
เขาเห็นอะไรในสิ่งที่เรามองไม่เห็นบ้าง


 (๔) คำด่า คือ กระดาษทรายอย่างดี
ที่คอยขัดสีฉวีวรรณให้เรามีความกลมกล่อมลงตัว
เหมือนพระประธานที่ต้องถูกกระดาษทราย ขัดสีฉวีวรรณจนผุดผ่อง


 (๕) คำด่า ทำให้เราไม่ประมาทผลีผลาม
ทำอะไรด้วยความเชื่อมั่นมากเกินไป


 (๖) คำด่า ทำให้รู้ว่า มีคนรักหรือเกลียดเรามากน้อยแค่ไหน


 (๗) คำด่า ทำให้รู้ว่า อย่างน้อยก็มีคนสนใจในสิ่งที่เราทำ
หรืออย่างน้อย สิ่งที่เราทำมันกำลังส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงมีคนอุทิศตนมาสนใจและด่าอย่างเป็นงานเป็นการ


 (๘) คำด่า จะทำให้เราได้หันกลับมาดูภูมิธรรมของตนเองว่า
เข้มแข็งมากน้อยแค่ไหน เมื่อทุกข์กระทบแล้วธรรมกระเทือน
หรือกิเลสกระเทือน ถ้า ธรรมกระเทือนแสดงว่าเราฝึกตนเองมาดี
แต่ถ้ากิเลสกระเทือนแสดงว่า
ต้องกลับไปฝึกจิตตัวเองใหม่ให้เข้มแข็งกว่านี้


 (๙) คำด่า ทำให้เราได้รู้ว่า ในโลกนี้ไม่มีใครหนีโลกธรรม ๘ ได้
(ได้ลาภ เสื่อมลาภ, ได้ยศ เสื่อมยศ, สรรเสริญ นินทา, สุข ทุกข์)


 (๑๐) คำด่า คือ บทเรียนเรื่องการปล่อยวางตัวกูหรืออัตตาที่ดีที่สุด
เพราะหากเรายังปล่อยวางตัวกูไม่ได้ เราก็จะต้องหาวิธีด่าคืนอยู่ไม่สิ้นสุด


ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34880
197  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มาสร้างบุญกันเถอะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 06:08:57 pm
มาสร้างบุญกันเถอะ

1. นั่งสมาธิ อย่างน้อยวันละ 15 นาที (หรือเดินจงกรมก็ได้)
อานิสงส์ - เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า
เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจาก กิเลส ปล่อยวางได้ง่าย

จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ
ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง
เจ้ากรรมนายเวร และญาติมิตรที่ ล่วงลับ จะได้ บุญกุศล

2. สวดมนต์ ด้วย พระคาถา ต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
อานิสงส์ - เพื่อให้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครอง
ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา
แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็น สมาธิ ได้เร็ว
แนะนำพระคาถา พาหุงมหากา, พระคาถาชินบัญชร,
พระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้น
เมื่อสวดเสร็จต้อง แผ่เมตตา ทุกครั้ง

3. ถวายยารักษาโรค ให้วัด, ออกเงินค่ารักษาให้พระตาม โรงพยาบาลสงฆ์
อานิสงส์ - ก่อให้เกิดสุขภาพดีทั้งครอบครัว
โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกาย จิตแข็งแรง
อายุยืนทั้งภพนี้ และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

4. ทำบุญตักบาตร ทุกเช้า
อานิสงส์ - ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า
ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย
อยู่ใน ภพ ที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์

5. ทำหนังสือ หรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับ ธรรมะ แจกฟรีแก่ผู้คนเป็น ธรรมทาน
อานิสงส์ - เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง
ผู้ให้ ธรรม จึงสว่างไปด้วย ลาภยศ สรรเสริญ ปัญญา
และ บุญบาร มีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรม ให้
ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

6. สร้างพระ สร้างพระถวายวัด
อานิสงส์ - ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุข
ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ ของ พุทธศาสนา ตลอดไป

7. แบ่งเวลาชีวิตไป บวชชีพราหมณ์ หรือ บวชพระ อย่างน้อย 9 วันขึ้นไป
อานิสงส์ - ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรน หนี้กรรม
อุทิศผลบุญให้ญาติ มิตรและ เจ้ากรรมนายเวร
สร้างปัจจัยไปสู่ นิพพาน ในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของ พุทธศาสนา จิตเป็นกุศล

8. บริจาคเลือด หรือ บริจาค ร่างกาย
อานิสงส์ - ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง
ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก
เทพยดา ปกปักรักษา ได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วน ภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

9. ปล่อยนก ปล่อยปลา ที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้ง ปล่อย สัตว์ ไถ่ชีวิต สัตว์ต่าง ๆ
อานิสงส์ - ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต
ชดใช้หนี้กรรม ให้ เจ้ากรรมนายเวร ที่ เคยกินเข้าไป
ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด
ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใสเป็นอิสระ

10. ให้ทุนการศึกษา, บริจาคหนังสือ หรือสื่อการเรียนต่าง ๆ, อาสาสอนหนังสือ
อานิสงส์ - ทำให้มี สติปัญญา ดี ในภพต่อ ๆ ไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา
ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

11.ให้เงินขอทาน, ให้เงินคนที่เดือดร้อน (ไม่ใช่การให้ยืม)
อานิสงส์ - ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้ง ภพนี้ และ ภพหน้า
ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมา ชาติหน้า จะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน
ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลง จะได้เงินทองกลับ มาอย่างไม่คาดฝัน

12. รักษาศีล 5 หรือ ศีล 8
อานิสงส์ - ไม่ต้องไปเกิดเป็น เปรต หรือ สัตว์นรก
ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ ครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
กรรมเวร จะไม่ถาโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดา นางฟ้า ปกปักรักษา



ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=22852
198  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมเชื่ออย่างไรไม่งมงาย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 05:44:38 pm

กรรมเชื่ออย่างไรไม่งมงาย เรื่องโดย เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ



สแกนกรรม ผู้หญิงตาทิพย์ มองทะลุกรรม เมื่อดวงตาที่สามถูกเปิดขึ้น เธอจึงหยั่งรู้ชะตากรรม

“คนเปิดกรรม ไม่มีใครแก้กรรมในอดีตชาติได้ แต่ทำให้ทุเลาขึ้นได้ แค่เพียงคุณรู้ว่ากรรมเก่าของคุณคืออะไร”

เอกซเรย์กรรม พบกับมนุษย์ที่เปิดความลับสวรรค์ มองเห็นอดีตและอนาคต ดังคำว่าที่ “ตาทิพย์”

ในช่วงปีที่ผ่านมา เราคงผ่านตากับข้อความเหล่านี้ทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ ในอินเทอร์เน็ต ในรายการโทรทัศน์ ตามคลื่นวิทยุ รวมทั้งบนแผงหนังสือ ซึ่งมีหนังสือแนวนี้ออกมาวางจำหน่ายมากเป็นประวัติการณ์ ทั้ง แก้กรรมเก่า ตัดกรรมใหม่ หนทางเลี่ยงกรรม ตัดกรรมหนักตามรังควาน ไขรหัสบุญ เปลี่ยนรหัสกรรม 99 วิธีแก้กรรมด้วยตนเองฯลฯ

ที่สำคัญ ได้เกิดปรากฏการณ์ “คนเห็นกรรม” ซึ่งกลายเป็นที่สนใจของคนในวงกว้างตามมาเริ่มตั้งแต่ แม่ชีธนพร หรือแม่ชีทศพร ชัยประคอง , อาจารย์เอ๋-กฤษณา สุยะมงคล , ริชชี่ พีระวัฒน์ อริยทรัพย์กมล , ตุ้ย เอ๊กซเรย์ หรือ จักรินทร์ –โกศัยดิลก และอาจารย์วารินทร์ บัววิรัตน์เลิศ โหรชื่อดังแห่งล้านนา ที่บอกว่าตัวเองสามารถมองเห็นกรรมและเห็นอนาคต

หลังจากที่กระแสนี้ทยอยกันออกมา ก็มีคำวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย บ้างมองว่าเป็นพุทธพาณิชย์ในรูปแบบหนึ่ง เพราะในการแก้กรรม ต้องมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ได้เงินและมีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เสียเงินเพื่อสะเดาะ เคราะห์กรรมของตน

บ้างก็มองว่า การตัดกรรม สแกนกรรม เอกซเรย์กรรม เป็นเรื่องต้มตุ๋นหลอกชาวบ้านที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ และเชื่อว่ากรรมดีหรือกรรมชั่วอยู่ที่การกระทำของเราอง จะมีก็แต่ตัวเราเท่านั้นที่รู้ว่าทำกรรมดีหรือกรรมชั่วอะไรเอาไว้บ้าง ยิ่งกว่านั้นบางคนก็ตั้งคำถามว่า “คนเห็นกรรม” เหล่านี้เป็นใครมาจากไหน ทำไมถึงมองเห็นกรรมของคนอื่น และกรรมนั้นสามารถมองเห็นกันง่ายๆ ขนาดนี้เชียวหรือ

แม้เราจะไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นด้วยตาว่าสิ่งที่ “คนเห็นกรรม” เหล่านี้พูดถึงจะจริงเท็จแค่ไหน แต่กระแสที่ว่านี้มีข้อดีบางประการซ่อนอยู่

ข้อดีที่ว่านี้ก็คือ ถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ทำความเข้าใจเรื่อง “กรรม” ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นหลักในการพินิจพิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต

อย่าปล่อยให้เรื่องของกรรมเป็นเพียงกระแส (ที่ทำให้เราสับสน) แต่ลองมาทบทวนกันดีกว่าว่าคุณเข้าใจเรื่องกรรมถูกต้องมากน้อยแค่ไหน



ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “กรรม”

ศาสตราจารย์พิเศษเสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต กล่าวว่า หลักกรรมเป็นหลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา แต่น่าประหลาดเรากลับเข้าใจว่าตรงกับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ว่าจะผิดโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่ แต่ว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งความเข้าใจผิดที่ว่านี้คือ

คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า กรรมคือผลของความชั่วร้ายที่เราได้กระทำแต่ชาติปางก่อน บันดาลให้เราได้มาเกิด มาเป็น อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เรื่องร้ายๆ และเรื่องใหญ่ เท่านั้นจึงเรียกว่า “กรรม” เรื่องเล็กน้อยไม่เรียกว่ากรรม ส่วนผลของความดีที่ทำไว้แต่ชาติปางก่อนเราไม่ เรียกว่า “กรรม” กลับเรียกว่า “บุญ” จึงมักมีคำพูดว่า “บุญทำกรรมแต่ง” หรือ “แล้วแต่บุญแต่กรรม”

ความจริง คือ กรรมมิใช่ผล แต่เป็นเหตุ มิใช่เรื่องที่ล่วงไปแล้ว แต่เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องเลวร้ายอย่างเดียว เรื่องดีๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย และมิใช่เรื่องใหญ่ๆ อย่างเดียว เรื่องเล็กๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย

กรรม คือการกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ เราตั้งใจทำ พูด คิดสิ่งใด ทั้งในแง่ดีและไม่ดี ก็เรียกว่า “กรรม” ถ้าเป็นกรรมดีก็เรียกว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญ” ส่วนกรรมไม่ดีก็เรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”

ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งคือ กรรมเป็นกฎตายตัวที่แก้ไขไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือยอมรับสภาพหรือ “ปลงเสียเถอะ” หรือ “เป็นกรรมของสัตว์” เช่น เกิดมายากจน ก็ยอมรับสภาพว่าเราทำกรรมไม่ดีไว้ มาชาตินี้จึงจน แล้วก็ยอมรับสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่คิดแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น มีแต่ทอดอาลัย งอมืองอเท้า

ความจริง คือ พุทธศาสนาสอนว่ากรรมเก่ามีจริง ดังนั้นการที่เราเกิดมาจน อาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่เราทำไว้ ทำให้เกิดมายากจน แต่มิได้หมายความว่ากรรมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ เราเกิดมาจนเพราะกรรมเก่าส่งผล แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ นั่นคือขยันหมั่นเพียรทำงานสร้างเนื้อสร้างตัวอย่างสุดกำลังความสามารถ ในที่สุดเราก็อาจเปลี่ยนจากฐานะยากจนเป็นพอมีพอกินหรือมีฐานะร่ำรวยได้

พระพุทธเจ้าสอนให้ยอมรับความจริง แต่ไม่ให้ยอมรับสภาพ ดังนั้นผู้ที่เข้าใจหลักกรรมถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นเช่นนี้ ย่อมจะต้องพยายามอุตสาหะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

นอกจากนั้นเรามักเข้าใจกันว่า ทำกรรมอย่างไร ย่อมได้รับผลอย่างนั้น ทำกรรมดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำกรรมชั่วก็ต้องได้รับผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง

ความจริงคือ การพูดอะไรตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา ดังในกรณีเรื่องตายแล้วเกิด ถ้าพูดในแง่เดียวว่าตายแล้วต้องเกิด หรือตายแล้วต้องดับสูญ อย่างนี้ก็ไม่ถูก เพราะปุถุชนที่ยังมีกิเลส ตายแล้วย่อมเกิดอีก เนื่องจากยังมี “เชื้อ” คือกิเลส ทำให้ต้องมาเกิดอีก ส่วนผู้ที่ตายแล้วไม่เกิดคือ พระอรหันต์ เพราะหมด “เชื้อ” ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจะพูดโดยแง่เดียวว่าตายแล้วต้องเกิดหมดทุกคน หรือตายแล้วไม่เกิดเลย ไม่ได้

ส่วนที่ว่าทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่วนี่จริงแน่นอน แต่มิได้หมายความว่า “ทำอย่างไรต้องได้อย่างนั้น” เช่น นาย ก. ยิงเขาตาย เมื่อเกิดชาติหน้า ก็ไม่จำเป็นว่านาย ก.จะต้องถูกเขายิงตายเช่นกัน แต่อาจได้รับผลคล้ายๆกันนั้น หรือผลที่หนักพอๆ กับกรรมนั้น

หรือนาง ข. เอาไข่เค็มใส่บาตรทุกวัน เมื่อตายไปเกิดใหม่ ก็ไม่จำเป็นว่านาง ข. จะต้องกินไข่เค็มทุกมื้อ แต่อาจได้ผลดีอย่างอื่นที่มีน้ำหนักพอๆกันกับกรรมนั้น อย่างที่พระท่านว่า “ได้รับผลสนองคล้ายกับกรรมที่ทำ”

สรุปก็คือ เราทำอย่างไรไม่จำเป็นต้องได้อย่างนั้น แต่เราอาจได้ผล “คล้าย” อย่างนั้น และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ทำดีไม่จำเป็นต้องได้ผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำชั่วไม่จำเป็นต้องได้ผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ คือได้รับผลแน่ๆ แต่ “ไม่ใช่ต้องได้เต็มที่” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะมาเบี่ยงเบนหรือผ่อนปรนด้วย

เงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือกรรมใหม่ที่เราทำนั่นเอง สมมุติว่าเราทำกรรมชั่วบางอย่างไว้ แต่เรามีโอกาสทำกรรมดีในเวลาต่อมา ได้ทำบ่อยๆ และทำมากๆด้วย กรรมชั่วที่ทำไว้ก่อนนั้น แม้จะรอจังหวะที่จะสนองผลดุจสุนัขไล่ล่าเนื้อ แต่กรรมดีใหม่ๆ ที่เราทำไว้เมื่อมีมากก็อาจทำให้กรรมเก่านั้นเบาบางหรือจางหายไป จนไม่สามรถให้ผลเลยก็ได้

“วิบากกรรม” และ “เจ้ากรรมนายเวร”

เมื่อพูดถึงกรรม ประเด็นต่อมาที่มักจะสนใจกับมากคือเรื่องวิบากกรรม และเจ้ากรรมนายเวร สิ่งที่ว่านี้คืออะไร ส่งผลกระทบกับชีวิตในปัจจุบันของเราอย่างไร ทันแพทย์สม สุจีรา อธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

กรรมเก่าที่เคยกระทำไว้ในอดีตจะสนองคืนในสองรูปแบบคือ ส่งผลในรูปของภพภูมิที่ไปเกิด และส่งผลภายหลังการเกิด คือระหว่างดำรงชีวิต

วิบากกรรม คือ ผลอันเกิดจากกรรมที่สนองโดยอาศัยทวารทั้งหกของมนุษย์ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องมือ ทวารทั้งหกนี้เป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์ขาดไม่ได้ เจ้าตัวกรรมเก่ารู้ดีว่าจะมีประสิทธิภาพที่สุด ถ้าใช้ทวารเหล่านี้มาทำลายมนุษย์ผู้นั้นเสียเอง

สำหรับ เจ้ากรรมนายเวร ไม่มีชีวิต จิตใจ ความรู้สึก แต่ก็น่าแปลกเหมือนกันที่มีพฤติกรรมคล้ายกับมีความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสามารถทำให้ใครคนหนึ่งประสบเคราะห์กรรมได้ แถมยังโหดร้ายเหลือเกิน เพราะแม้บุคคลผู้นั้นจะลืมเรื่องราวที่เคยทำไว้ในอดีตไปหมดแล้ว กรรมเก่าก็พร้อมที่จะสนองเสมอ

การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นหลักใหญ่ของการทำกุศลเพื่อหลุดพ้นจากบ่วงกรรม แต่กุศลที่จะเกิดแก่ตัวเราได้มากที่สุดและเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นที่แท้ จริงมาจากการ “ภาวนา” และต้องเป็นบุญกิริยาแบบ วิปัสสนากรรมฐาน เท่านั้น เพราะวิปัสสนาจะช่วยเจริญสติสัมปชัญญะและสกัดวิบากกรรมได้ดีที่สุด การทำทาน การรักษาศีล ผลที่ได้จะมาทางอ้อม ซึ่งใช้สกัดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ทัน และการเจริญสติวิปัสสนาเป็นการฝึกตนเพื่อต่อสู้กับเจ้ากรรมนายเวรโดยตรง เป็นกรรมเหนือกรรม เป็นกรรมฝ่ายธรรมะที่สามารถหยุดยั้งกรรมฝ่ายอธรรมไม่ให้ส่งผลได้

.....................................................

แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?

199  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขปริศนา 49 วัน ชีวิตหลังความตาย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 04:27:04 pm
ไขปริศนา 49 วัน ชีวิตหลังความตาย


มนุษย์ และสัตว์มิได้สิ้นสุดที่ความตาย เพราะการ "ตาย" หมายถึง สภาพร่างกายที่ไม่สามารถให้บริการแก่จิตวิญญาณใช้งานต่อไปได้อีก วิญญาณยังคงอยู่ ถึงแม้ร่างกายจะหมดอายุขัยไปแล้ว ทั้งนี้สภาพการตายจะบ่งบอกให้รู้ว่าจิตวิญญาณนั้นไปสุคติหรือลงสู่นรกภูมิ


1. ตอนตายใหม่ ถ้าหากสีหน้าปกติ ร่างกายอ่อนนิ่ม สีหน้าเหมือนคนมีชีวิตอยู่ เนื่องจากได้บรรลุธรรม ดวงวิญญาณจะไปสู่สุคติ

2. ตอนตายใหม่ๆ หน้าตาซีดผาด เหมือนคนตกใจ แสดงว่าวิญญาณได้ตกสู่นรกแล้ว

3. ตอนตายใหม่ๆ ร่างกายแข็งทื่อ หน้าตาน่ากลัว เพราะความตกใจ บางคนจะกรีดร้องเสียงคล้ายสัตว์ คนเหล่านี้จะไปเกิดเป็นสัตว์ 4 ชนิด สังเกตได้จากตา หู จมูก ปาก ตาจะมีน้ำตาออก หูจะมีขี้หู จมูกจะมีน้ำมูก ปากจะมีน้ำลายฟูมปาก เป็นทวารที่ไม่สะอาด 4 ช่องทาง เมื่อจิตวิญญาณออกทางนี้ จะเกิดเป็นสัตว์ 4 ประเภท




- ตา ชอบดูสิ่งเหลวไหล ลุ่มหลงในรูปต่างๆ คนเหล่านี้เวลาใกล้ตาย ดวงตาจะเบิกกว้าง จะไปเกิดเป็นสัตว์ปีก (เกิดออกจากไข่)

- หู ชอบฟังเรื่องเหลวไหล เรื่องซุบซิบนินทา คนเหล่านี้เวลาตาย หูจะชันขึ้น จะไปเกิดเป็นสัตว์ที่เกิดจากครรภ์ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย

- จมูก ชื่นชมกลิ่นคาวโลกีย์ เช่น เงินทอง สุรา นารี การพนัน ชื่อเสียงลาภยศ และค่านิยมที่ผิดศีลธรรม ฯลฯ จะไปเกิดเป็นแมลง มด ยุง แมลงวัน ฯลฯ บาปหนักมาก วิญญาณจึงถูกตีเป็นเศษวิญญาณ

- ปาก ชอบพูดเรื่องเหลวไหล พูดนินทา พูดวิจารณ์ พูดกล่าวร้ายป้ายสี ด่าคำหยาบคาย คนเหล่านี้เวลาตาย ปากจะอ้าค้างอยู่ตลอด จะเกิดเป็นสัตว์น้ำ ไปอยู่กับรสชาติที่โสโครกและสกปรก


เมื่อออกจากร่าง วิญญาณจะไปที่ไหน?

ดวง วิญญาณที่ออกจากร่างในตอนแรก จะวนเวียนอยู่บริเวณนั้น พอได้สติก็จะมีท่านมัจจุราชทำหน้าที่มานำเอาวิญญาณของมนุษย์หรือสัตว์ที่ ชะตาถึงฆาต พาไปยังยมโลก เพื่อตรวจสอบบาปบุญความดีความชั่ว ในขณะที่มีชีวิตอยู่


วิญญาณบาปจะถูกนำตัวส่งไปนรก 8 ขุมใหญ่ แต่ละขุมแบ่งย่อยขุมละ 36 แห่ง แต่ละแห่งมีการลงทัณฑ์และทรมานอีก 800 ด่าน แต่ละด่านมีเครื่องทรมานนับไม่ถ้วน วิญญาณบางดวงอาจตกนรกทั้ง 8 ขุมเลยก็มี โดยเฉพาะคนที่ทำกรรมชั่วมหันต์ หรือเรียกว่า "อนันตริยกรรม" มีอยู่ 5 อย่าง คือ 1.ฆ่าพ่อ 2. ฆ่าแม่ 3. ฆ่าพระอรหันต์ 4. ยุยงสงฆ์ให้แตกแยก 5. ทำร้ายพระพทุธเจ้าห้อเลือด

หลังจากที่คนเราตายประมาณ 1-2 วัน ปกติแล้ว เขาจะไม่รู้ว่าตัวเองตาย 7 วันให้หลังเขาจึงรู้ว่าตนเองตายแล้ว วิญญาณจะถูกกักบริเวณไว้ 49 วันเพื่อรอพิจารณาคดี ในระหว่างนั้นผู้ตายก็กำลังรอบุญกุศลจากลูกหลานทางโลกที่กำลังง่วนอยู่กับงานศพ

เรามาดูปรากฏการณ์ 49 วัน ชีวิตหลังความตาย ขณะที่วิญญาณของผู้ตายออกจากร่าง ชีวิตหลังความตายก็เริ่มต้นเปิดฉากขึ้นในโลกที่ผู้ตายต้องเข้าไปเพียงลำพัง เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดเลยที่สามารถเอาติดตัวจากโลกมนุษย์ได้ เว้นเสียแต่บาปกับบุญเท่านั้น


เจ็ดวันรอบแรก

วิญญาณ ผู้ตายต้องเดินผ่านดงหมาป่า ซึ่งมีฝูงหมาป่าดุร้ายเหมือนเสือขวางทาง เมื่อวิญญาณบาปไปถึง ก็เกิดหวาดกลัวไม่กล้าเดินต่อไป ฝูงหมาป่าเห็นดังนั้น ก็กระโจนเข้าขย้ำขบกัดวิญญาณบาปจนเลือดท่วมตัว กรีดร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดทุกขเวทนา

ส่วน วิญญาณผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึงดงหมาป่า ก็จะมีหมู่เทวทูตคอยพิทักษ์คุ้มครอง พวกหมาป่าได้แต่นิ่งเฉย ไม่กล้าทำอะไร จึงผ่านไปได้โดยปลอดภัย


เจ็ดวันรอบที่ สอง

เมื่อ วิญญาณผู้ตายมาถึงด่านประตูผี เจ้าหน้าที่ผู้รักษาด่าน เมื่อเห็นเป็นวิญญาณบาป ก็จะทุบตีอย่างไม่ปรานี และยังมีพวกเจ้ากรรมนายเวรพากันมาทวงหนี้เวลานั้น

ส่วนวิญญาณผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึงด่านประตูผี จะได้รับการต้อนรับและสามารถผ่านด่านนี้ไปโดยปลอดภัย


เจ็ดวันรอบที่ สาม

เมื่อ วิญญาณผู้ตายมาถึงยมโลก ถ้าเป็นวิญญาณบาปก็จะถูกโซ่ตรวนไว้ และถูกบังคับนำไปอยู่ตรงหน้าหอกระจกส่องกรรม ยามมีชีวิตทำชั่วอะไร ภาพก็จะปรากฏขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ เสร็จแล้วก็จะถูกคุมตัวไปรับการพิจารณาโทษ ถึงวิญญาณบาปจะเริ่มสำนึกผิด ตอนนี้แต่ก็สายเสียแล้ว

ส่วน วิญญาณผู้ประกอบกรรมดี เมื่อมาถึง จะได้รับการต้อนรับ มีเจ้าหน้าที่พาไปท่องเที่ยวนรกขุมต่างๆ และพาไปดูสภาพของบรรดาญาติพี่น้องที่ ทำบาป กำลังรอคอยการพิจารณาตัดสินความผิด


เจ็ดวันรอบที่ สี่

เมื่อ มาถึงด่านภูเขากระดาษเงินกระดาษทอง การจะขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้ยากลำบากมาก กระดาษเหล่านี้ได้มาจากลูกหลานญาติพี่น้องในเมืองมนุษย์หลงงมงายเผาส่งไปให้ ทับถมกันจนเป็นภูเขาเลากา ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วแม้ผู้ตายจะได้รับก็ไร้ประโยชน์


เจ็ดวันรอบที่ ห้า

วิญญาณ ผู้ตายมาถึงหอดูบ้านเดิม ได้เห็นลูกหลาน คนในครอบครัวต่างไว้ทุกข์ด้วยความเศร้าโศกเสียใจกับการตายของตน ถึงตอนนี้จึงได้รู้ว่าตนเองตายแล้ว ไม่อาจกลับบ้านได้อีก ได้แต่เสียใจอาลัยอาวรณ์


เจ็ดวันรอบที่ หก

เมื่อ วิญญาณผู้ตายมาถึงด่านคุมบัญชี ยมบาลจะสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจดูบาปบุญที่ผู้ตายได้สร้างสมตอนมีชีวิต หลังจากหักลบกันแล้ว ถ้าบุญมีมากกว่าบาปก็จะให้ไปเกิดยังสุคติภูมิ ถ้าบาปมีมากกว่าบุญ จะส่งไปยังนรกภูมิ รับทุกข์อย่างน่าเวทนา


เจ็ดวันรอบที่ เจ็ด

เมื่อ วิญญาณผู้ตายไปถึงด่านตรวจสอบ ยมบาลก็จะสั่งเลขาให้ตรวจสอบดูว่า ผู้ตายตอนมีชีวิตอยู่ได้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือไม่ ถ้าได้ถือศีลกิเจ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ก็จักลหุโทษ ถ้ามัวหลงผิดฆ่าสัตว์เพื่อความสุขของปากท้องก็จะเพิ่มโทษเป็นเท่าตัว.

ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ขอให้ทุกคนในขณะมีชีวิตอยู่นั้น เร่งสะสมความดีกันให้มากๆ นรก-สวรรค์นั้น ไม่ใช่สิ่งลวงโลก ตอนนี้ท่านอาจยังไม่เห็น แต่สักวันท่านก็ต้องเห็น กฏแห่งกรรมนั้นเป็นเรื่องจริง ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ...


อนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ส่งต่อเมล์นี้นะครับ

ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=24961
   
200  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมที่ทำให้ชายกลายเป็นหญิง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 04:14:01 pm


กรรมที่ทำให้ชายกลายเป็นหญิง

ชีวิตของคนเราจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคนเป็นสำคัญ การเกิดเป็นชายเป็นหญิงก็เป็นส่วนหนึ่งของกรรมที่เราเคยทำไว้ อย่างไรก็ตามพุทธศาสนาก็ไม่ได้เน้นที่อดีต พระองค์ทรงเน้นปัจจุบันมากกว่า ทั้งชายและหญิงหากตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้ด้วยกันทั้งนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ทำความชั่วทั้งปวง ไม่เช่นนั้นก็จะประสบกับความทุกข์ความเดือดร้อน ดังเรื่องในครั้งพุทธกาลเรื่องหนึ่ง

วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี มี ลูกชายของโสไรยเศรษฐี อาศัยอยู่ในโสไรยนคร ได้นั่งยานน้อยออกไปจากพระนครกับพระสหายและบริวารอย่างมีความสุข เพื่อจะไปอาบน้ำ

ในขณะนั้น “พระมหากัจจายนเถระ” กำลังจะเข้าไปบิณฑบาตในโสไรยนคร รูปร่างผิวพรรณของพระมหากัจจายนะนั้นงดงามมาก มีสีผุดผ่องดั่งทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐีเหลือบมองเห็นท่าน จึงคิดในใจว่า “สวยจริงๆ หนอ พระเถระรูปนี้ ท่านควรจะเป็นภริยาของเรา หรือผิวพรรณของภรรยาของเราควรจะสวยแบบนี้” ในขณะที่เขาแค่สักแต่ว่าคิดเท่านั้นเอง ความเป็นเพศชายของเขาก็กลายเป็นเพศหญิงทันที !!

พอเขาทราบเช่นนั้นก็เกิดความละอายอย่างมาก จึงรีบลงจากยานน้อยแล้วหลบหนีไป พวกเพื่อนและบริวารของเขาต่างก็พากันออกตามหา แต่ก็ไม่มีใครพบลูกชายเศรษฐี และไม่มีใครรู้ว่าเขาได้กลายเป็นผู้หญิงไปเสียแล้ว เมื่อมารดาเขารู้ข่าว ก็ออกตามหาแต่ก็ไม่พบ จึงร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ เพราะคิดว่าลูกชายของตนคงตายไปแล้ว จึงได้ทำบุญอุทิศไปให้


ส่วนชายหนุ่มที่กลายเป็นหญิงสาวนั้น ได้เดินตามหลังหมู่เกวียนที่กำลังมุ่งหน้าไปเมืองตักสิลา พวกชาวบ้านคิดว่าลูกชายเศรษฐีในกรุงตักสิลายังไม่มีภรรยา พวกเราจะแนะนำผู้หญิงคนนี้ให้ และคงได้รางวัลมากเป็นแน่ เมื่อไปถึงเมืองตักสิลาจึงได้เล่าเรื่องให้ลูกชายเศรษฐีฟัง ลูกชายเศรษฐีจึงให้เรียกนางมา พอได้เห็นหน้า ก็ตกหลุมรักทันที เพราะนางมีรูปงาม ผิวพรรณดีมาก จึงขอแต่งงานกับนาง ทั้งสองได้อยู่กินกันจนมีลูกถึง ๒ คน (ก่อนหน้าที่นางจะกลายเป็นหญิงนั้น นางก็มีบุตรอยู่แล้ว ๒ คน รวมแล้วนางจึงมีบุตร ๔ คน)

วันหนึ่งลูกชายเศรษฐีผู้เป็นเพื่อนของนาง ได้ออกจากโสไรยนครไปเมืองตักสิลา ขณะที่นางกำลังเปิดหน้าต่างปราสาทชั้นบนยืนดูถนนอยู่ ได้มองเห็นเพื่อนพอดี นางจำเขาได้แม่นยำ จึงบอกสาวใช้ให้ไปเชิญมาที่บ้าน และได้เลี้ยงต้อนรับอย่างใหญ่โต จนเพื่อนสงสัยว่านางเคยรู้จักเขาหรือ นางจึงบอกว่ารู้จัก จากนั้นนางจึงได้ถามถึงสารทุกข์สุขดิบของพ่อแม่ ภรรยา พร้อมกับลูกๆ ของนาง เขาก็บอกว่าสบายดีทุกคน แต่เมื่อนางแกล้งถามถึงลูกชายของโสไรยเศรษฐี เพื่อนของนางจึงบอกว่าเขาได้หายตัวไปอย่างลึกลับ พ่อแม่ของเขาก็ได้แต่ร้องไห้เสียใจ และทำบุญไปให้ นางได้ยินดังนั้นจึงสารภาพว่า นางคือลูกชายของโสไรยเศรษฐีนั่นเอง แล้วนางก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้เพื่อนฟัง


ฝ่ายเพื่อนพอทราบความจริงเช่นนั้นก็ตกใจ บอกว่านางได้ทำกรรมอันหนัก แล้วถามว่านางได้ไปขอโทษพระเถระที่คิดไม่ดีกับท่านแล้วหรือยัง นางบอกว่ายังไม่ได้ขอโทษเลย เพราะไม่รู้ว่าพระเถระอยู่ที่ไหน เพื่อนจึงบอกว่าท่านอาศัยอยู่ในเมืองนี้แหละ นางจึงบอกว่าถ้าท่านมาบิณฑบาตที่นี่ จะถวายภัตตาหารแก่ท่าน เพื่อนของนางจึงบอกว่าให้รีบเตรียมของไว้ จากนั้นเขาก็ไปหาพระเถระและนิมนต์ท่านมารับบิณฑบาตที่บ้านของนาง

เมื่อนางได้ถวายภัตตาหารอันประณีตจำนวนมากแล้ว เพื่อนจึงเรียกนางให้หมอบลงแทบเท้าของพระเถระพร้อมกับบอกว่า “ท่านขอรับ ขอท่านจงยกโทษแก่หญิงผู้เป็นเพื่อนของกระผมด้วย” ฝ่ายพระเถระก็สงสัยว่าเรื่องอะไร เขาจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ท่านจึงได้เอ่ยขึ้นว่า “ฉันยกโทษให้” ทันใดนั้น เพศหญิงก็ได้หายไป นางได้กลายเป็นเพศชายเหมือนเดิมทันที

ฝ่ายลูกชายเศรษฐีในกรุงตักสิลาที่เคยเป็นสามีของนางรู้เช่นนี้ จึงไม่อยากจะอยู่ที่นี่อีกต่อไป แต่อยากจะบวช จึงขอบวชกับพระเถระ หลังบวชแล้วก็ได้จาริกไปตามที่ต่างๆ ผู้คนได้ยินเรื่องราวของท่านก็เข้ามาถามความจริงมากมาย ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายหนีไปอยู่คนเดียว และปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป


บางท่านอาจจะสงสัยว่าชายกลายเป็นหญิงได้อย่างไร ในเรื่องนี้พระพุทธองค์เคยตรัสไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าพวกผู้ชายที่ไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิงที่ไม่เคยกลับเป็นผู้ชายนั้น ไม่มี เพราะว่าหากผู้ชายมีชู้กับภรรยาของคนอื่น หลังจากตายไปแล้ว จะไหม้ในนรกแสนปีแล้วเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดเป็นผู้หญิงอีก ๑๐๐ ชาติ แม้แต่ พระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก ก็เคยท่องเที่ยวอยู่ในสังสาร ชาติหนึ่งท่านเคยเกิดในตระกูลช่างทอง และได้มีชู้กับภรรยาของคนอื่น จึงไปเกิดในนรก หลังจากนั้นด้วยผลกรรมที่ยังเหลือ ได้กลับมาเป็นหญิงรับใช้อีก ๑๔ ชาติ เป็นหมันอีก ๗ ชาติ

ส่วนพวกผู้หญิงที่ชอบทำบุญสุนทาน คลายความพอใจในความเป็นหญิง หากตั้งจิตปรารถนาว่า “บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย” หลังจากตายแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย อีกอย่างหนึ่งพวกหญิงที่มีสามีเหมือนเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้ด้วยอำนาจแห่งการปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน ส่วนลูกชายเศรษฐีนี้คิดไม่ดีต่อพระเถระ จึงกลับได้ภาวะเป็นหญิงในอัตภาพนี้ทันที


จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เราต้องระมัดระวังความคิดของเราในการกระทำสิ่งต่างๆ พร้อมทั้งไม่ประมาทในชีวิตด้วย เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจจะเผลอคิดในสิ่งที่ไม่ดี ทำในสิ่งที่ไม่ดี จนเป็นเหตุให้ต้องได้รับทุกข์โทษทรมานทั้งในชาตินี้และชาติหน้า นอกจากนั้นเราก็ยังเห็นโทษของการประพฤติผิดในกาม ที่ทำให้ได้รับโทษมากมาย ทุกคนจึงควรดำเนินชีวิตด้วยศีลธรรม อันจะทำให้ได้พบแต่ความสุขตลอดไป



ที่มา  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=26621
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7