ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม การยังสงฆ์ ให้แยกแตกจากกันเป็นอนันตริยกรรม คะ  (อ่าน 5153 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม การยังสงฆ์ ให้แยกแตกจากกันเป็นอนันตริยกรรม คะ

  คือไม่เข้าใจ คะ

    การฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า นี้มองเห็นว่า มีการประทุษร้าย ทางกาย แน่นอน

  แต่การทำสงฆ์ ให้แยกแตกจากกัน นี้ ไม่ได้ทำร้าย ทำไม จัดเป็น อนันตริยกรรม คะ

  ที่สำคัญ กรณี อย่าง พระสงฆ์ มหานิกาย และ ธรรมยุต ในเมืองไทยเรา ๆ นับถือ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง อย่างนี้ หรือ เรานับถือ พระสงฆ์ เฉพาะในประเทศไทย เท่านั้น อย่างนี้จัดเป็นการทำ อนันตริยกรรม หรือ ไม่คะ

   ดังนั้น คือ ที่จะสอบถาม เราต้องยึดถือ พระสงฆ์ ตรงไหนเป็นกลุ่มหลัก จึงถูกต้องใช่หรือไม่คะ

    :88: :smiley_confused1: :25: :c017:

บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องโบร่ำโบราณทั้งนั้นครับ เพราะเดี๋ยวนี้พระมหานิกายกับธรรมยุต ท่านก็ไม่ได้มีความรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ หรือถือนิกายถือคณะอะไรกันแล้ว

ท่านเจ้าคุณรูปหนึ่งที่ผมเคยไปกราบนมัสการบ่อยๆ ท่านเป็นพระในคณะธรรมยุต แต่ท่านก็ไม่ได้ถืออะไรเรื่องนิกงนิกาย ท่านบอกว่า ไอ้เรื่องนิกายเรื่องคณะนี่มันควรจะหมดได้ซักที

บางทีมีพระมหานิกายไปพบท่านในช่วงฉันเพล ท่านก็ยังเรียกมาฉันอาหารในวงเดียวกันทั้งๆที่ท่านเป็นถึงเจ้าคุณชั้นเทพ

จากคุณ    : chohokun
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28527
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

สังฆเภท

            [๔๐๕] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภท ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร สงฆ์จึงแตก
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้


             ๑. ย่อมแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
             ๒. ย่อมแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
             ๓. ย่อมแสดงสิ่งไม่เป็นวินัยว่า เป็นวินัย
             ๔. ย่อมแสดงวินัยว่า ไม่เป็นวินัย
             ๕. ย่อมแสดงคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้
             ๖. ย่อมแสดงคำอันตถาคตตรัสภาษิตไว้ว่า เป็นคำอันตถาคตมิได้ตรัสภาษิตไว้
             ๗. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตประพฤติมา
             ๘. ย่อมแสดงกรรมอันตถาคตประพฤติมาว่า เป็นกรรมอันตถาคตมิได้ประพฤติมา
             ๙. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้


             ๑๐. ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้
             ๑๑. ย่อมแสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
             ๑๒. ย่อมแสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
             ๑๓. ย่อมแสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก
             ๑๔. ย่อมแสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
             ๑๕. ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
             ๑๖. ย่อมแสดงอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
             ๑๗. ย่อมแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
             ๑๘. ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ


             พวกเธอย่อมประกาศให้แตกแยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้ ย่อมแยกทำอุโบสถ แยกทำปวารณา แยกทำสังฆกรรม
             ดูกรอุบาลี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล สงฆ์เป็นอันแตกกันแล้ว



ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=4112&w=%CA%D1%A7%A6%E0%C0%B7
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28527
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สังฆเภท

สังฆเภท แปลว่า การทำสงฆ์ให้แตกกัน การทำลายสงฆ์ ความแตกกันแห่งสงฆ์


สังฆเภท หมายถึงการยุยง การขวนขวายให้สงฆ์แตกความสามัคคีกัน ไม่ปรองดองกันจนถึงกับแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรม แม้จะมีการห้ามปรามตักเตือนจนสงฆ์ประชุมกันให้เลิกละการกระทำอย่างนั้นเสีย ก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ยังฝืนทำเช่นนั้นอีก เช่นนี้จัดเป็นสังฆเภท

สังฆเภทจัดเป็นอนันตริยกรรม คือ กรรมที่มีโทษหนักที่สุดเท่ากับโทษฆ่าบิดามารดา มีผลถึงห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานทีเดียว ผู้ที่ทำลายสงฆ์ท่านมุ่งเอาเฉพาะภิกษุเท่านั้น คำว่า ทำลายสงฆ์ หมายเอาการทำให้สงฆ์แตกแยกกันเป็น ๒ ฝ่าย หรือมากกว่านั้น โดยที่สงฆ์ เหล่านั้นไม่ยอมทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม หรือสังฆกรรรมอย่างอื่น ๆ ร่วมกัน เพราะเกิดความแตกแยก ความรังเกียจ หรือความอาฆาตพยาบาทจองเวรกัน

อุกเขปนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ แล้ว ไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติหรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย(ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วม ไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิ เสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรืออีกนัยหนึ่งว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว



บุคคลผู้ทำสังฆเภท
บุคคล ผู้อาจทำสังฆเภทได้นั้น จะต้องเป็นภิกษุเท่านั้น และต้องมีคุณสมบัติ  ๓  ประการ คือ

   ๑.เป็นปกตัตตะภิกษุ หมายถืง ผู้ เป็นพระภิกษุโดยปกติ ที่ประกอบด้วยสีลสามัญตา คือ มีศีลเสมอเป็นอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลายโดยปกติ คือ ไม่เป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก หรือถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม

   ๒.เป็นสมานสังวาส คือ เป็นภิกษุผู้มีการอยู่กินร่วมเสมอกัน มีความพร้อมเพรียงกัน ทำสังฆกรรมร่วมกัน ทำอุโบสถกรรมร่วมกัน เป็นต้น กับภิกษุทั้งหลายในอาวาสนั้น ฯ

   ๓.อยู่ในสีมาร่วมกัน หมายถึง อยู่ในเขตกำหนดสงฆ์ที่สงฆ์ได้ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลาย ภายในเขตกำหนดหนึ่ง ๆ ที่จะต้องทำสังฆกรรมหรือทำอุโบสถร่วมกัน ในวัดเดียวกันที่เป็นพัทธสีมา หรืออพัทธสีมาก็ตาม


บุคคลผู้ไม่อาจทำสังฆเภท
บุคคล ผู้ไม่อาจทำสังฆเภท คือ ทำลายสงฆ์ให้แตกแยกกันได้ แต่บุคคลเหล่านี้เป็นแต่เพียงสนับสนุน ส่งเสริม ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันให้ทำสังฆเภท มี ๖ ประเภท คือ
          ๑.  ภิกษุณี
          ๒. นางสิกขมานา
          ๓. สามเณร
          ๔. สามเณรี
          ๕. อุบาสก
          ๖. อุบาสิกา



สาเหตุที่ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน มี  ๒  ประการ คือ
   ๑.มีความเห็นปรารภพระธรรมวินัยต่างกัน จนเกิดเป็นวิวาทาธิกรณ์ขึ้น คือ เสียทิฏฐิสามัญญตา
   ๒.มีความประพฤติปฏิบัติไม่สม่ำเสมอกัน มีศีลไม่เสมอกัน ยิ่งหย่อนกว่ากันจนเป็นเหตุให้เกิด ความรังเกียจขึ้น คือ เสียสีลสามัญญตา



อาการที่สงฆ์จะแตกแยกกัน ในคัมภีร์บริวารท่านกล่าวไว้ว่าด้วย เหตุ  ๕  ประการ คือ
     ๑.  ด้วยกรรม              ได้แก่ทำสังฆกรรม
     ๒.  ด้วยอุทเทส           ได้แก่ การสวดพระปาฏิโมกข์
     ๓.  กล่าวด้วยโวหาร      ได้แก่ตั้งญัตติ
     ๔.  ด้วยอนุสาวนา         ได้แก่ประกาศด้วยกรรมวาจา
     ๕.  ด้วยการให้จับสลาก  ได้แก่ให้ลงคะแนนชี้ขาด



ความแตกต่างแห่ง สังฆเภท สังฆราชี และสังฆสามัคคี


สังฆเภท  คือ ความแตกแยกแห่งสงฆ์ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติให้สงฆ์ทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม และสังฆกรรมน้อยใหญ่อย่างอื่นภายในสีมาเดียวกัน พร้อมเพรียงกันด้วยสังฆสามัคคี แต่เมื่อไรก็ตามที่ภิกษุทั้งหลายแตกกันเป็น ก๊ก เป็นเหล่า เป็นพวก แยกกันทำอุโบสถกรรม แยกกันทำปวารณากรรม หรือแยกกันทำสังฆกรรม หรือกรรมน้อยใหญ่ภายในสีมาเดียวกัน ซึ่งการทำสังฆเภทนี้จะต้องประกอบไปด้วยภิกษุที่ครบองค์สงฆ์ คือ ประกอบด้วยภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปทั้งสองฝ่าย การกระทำเหล่านี้จัดเป็น สังฆเภท

สังฆราชี  คือ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ เมื่อภิกษุสองฝ่าย ต่างมีจำนวนครบองค์สงฆ์ คือ ๔ รูปขึ้นไป มีความเห็นไม่ลงรอยกัน ประพฤติปฏิบัติไม่เสมอกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกกันทำอุโบสถกรรม ปวารณากรรม และสังฆกรรมน้อยใหญ่อื่น ๆ คือถึงแม้จะแตกแยกร้าวรานทะเลาะเบาะแว้งกันแต่ยังคงทำสังฆกรรมร่วมกันภายใน สีมาเดียวกันเป็นปกติ จัดเป็นเพียง สังฆราชี

สังฆสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงกันแห่งสงฆ์ ความปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทส คือ ฟังปาติโมกข์ร่วมกัน มีวัตรปฏิบัติเสมอกัน มีการทำสังฆกรรมร่วมกันอย่างสามัคคี ย่อมอยู่ผาสุกและความพร้อมเพรียงกันแห่งสงฆ์ย่อมเป็นมูลเหตุแห่งความตั้ง มั่น และความเจริญยั่งยืนแห่งพระศาสนา ซึ่งในบาลีโกสัมพีขันธกะ ได้แสดงสังฆสามัคคีไว้ ๒ ประการ คือ

   ๑.สงฆ์ไม่วินิจฉัยเรื่อง ไม่สาวเข้าไปหามูลเหตุ การทำสังฆสามัคคีอย่างนี้ทำให้เสียอรรถคือเนื้อความได้แต่พยัญชนะไม่เป็นธรรม
   ๒.สงฆ์วินิจฉัยเรื่อง สาวเข้าไปหามูลเหตุ แล้วทำสังฆสามัคคี อย่างนี้ได้ทั้งอรรถได้ทั้งพยัญชนะ จัดว่าเป็นธรรม


      สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น อาจจะแตกแยกกันได้ง่าย เมื่อแตกแยกกันแล้วจะสามัคคีกันได้ยากมาก
      เพราะเหตุนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสเตือนให้คำนึงถึงการแตกแยกกันให้มากๆ ไม่ควรเอาแต่ใจตนเอง
      ควรมุ่งความสามัคคีเป็นใหญ่ ไม่ดื้อรั้นด้วยอำนาจทิฏฐิมานะ
      การจะประพฤติปฏิบัตินั้น ให้มุ่งเอาความเจริญรุ่งเรืองความมั่นคงแห่งพระศาสนาและพระธรรมวินัยเป็นหลัก



อ้างอิง
ข้อมูลจาก http://www.phuttha.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B5
ขอขอบคุณเว็บ http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=17502
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/,http://download.buddha-thushaveiheard.com/,http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28527
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม การยังสงฆ์ ให้แยกแตกจากกันเป็นอนันตริยกรรม คะ

  คือไม่เข้าใจ คะ

    การฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้า นี้มองเห็นว่า มีการประทุษร้าย ทางกาย แน่นอน

  แต่การทำสงฆ์ ให้แยกแตกจากกัน นี้ ไม่ได้ทำร้าย ทำไม จัดเป็น อนันตริยกรรม คะ


    เรื่องกรรมเป็นหนึ่งในข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าห้ามปุถุชนคิด เป็นอจินไตย คิดมากแล้วอาจฟั่นเฟือน
    ถ้าจะตอบว่า ทำไมทำสงฆ์แตกแยก แล้วเป็นอนันตริยกรรม เรื่องนี้ถ้าจะคุยให้ใจบันเทิงในธรรม
    ก็ต้องบอกว่า เป็นเพราะธรรมชาติกำหนดมาอย่างนี้ เป็นกฏธรรมชาติ อาจเป็นเพราะธรรมชาติกำหนด
    ให้ในเขตพรหมจรรย์ของพุทธศาสนาเป็น บุญเขตที่ใหญ่จนหาที่สุดไม่ได้ เป็นอนันต์
    ใครคิดมาทำลายเขตบุญนี้ จึงต้องถูกลงโทษอย่างหนัก  ให้สมกับขนาดของเขตบุญนี้
    เรื่องนี้ ขอให้คิดว่า คุยเป็นนิทานนะครับ อย่าซีเรียส แค่คุยเป็นเพื่อน

     :49:


  ที่สำคัญ กรณี อย่าง พระสงฆ์ มหานิกาย และ ธรรมยุต ในเมืองไทยเรา ๆ นับถือ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง อย่างนี้ หรือ เรานับถือ พระสงฆ์ เฉพาะในประเทศไทย เท่านั้น อย่างนี้จัดเป็นการทำ อนันตริยกรรม หรือ ไม่คะ


  การเลือกที่จะนับถือสงฆ์กลุ่มไหนหรือรูปไหน ไม่น่าจะเป็นอนันตริกรรม ขอให้ดูพุทธพจน์
   เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก คิดมากอาจเลยเถิดไปถึงคำถามที่ว่า ทำไมต้องแบ่งเป็นมหานิกายและธรรมยุต
เกณฑ์การตัดสินว่า เป็นอนันตริกรรมหรือไม่ ขอให้ยึดพุทธพจน์เป็นหลัก ตามที่ผมโพสต์ไว้ข้างต้น
   หากจะวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ ก็ควรระมัดระวัง การปรามาสพระรัตนตรัย หรือปรามาสท่านอื่นๆ
   ส่วนตัวผม ของดวิพากษ์วิจารณ์ คุยมากกลัวพลาด
 
    :25:


   ดังนั้น คือ ที่จะสอบถาม เราต้องยึดถือ พระสงฆ์ ตรงไหนเป็นกลุ่มหลัก จึงถูกต้องใช่หรือไม่คะ


   กลุ่มไหนปฏิบัติตาม"อริยมรรคมีองค์ ๘" ก็ถือนับไปเถิดครับ ส่วนใครคนไหนจะทำอนันตริยกรรม ก็ขอให้แยกแยะว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่นโยบายของกลุ่มสงฆ์นั้นๆ
   ผมคงตอบได้กว้างๆได้เท่านี้ การที่ใครคนไหนจะนับถือใคร น่าจะเป็นเรื่องบุญที่ได้ร่วมกันสร้างมา
   การที่จะไปเพ่งโทษใครคนไหนว่า เป็นเหตุทำให้เกิดสังฆเภทนั้น ควรละไว้
   ควรปล่อยให้ "กลไกแห่งกรรม" พิพากษาและลงโทษ จะดีกว่าไหม?
   อย่าซีเรียส
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ