ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามเรื่อง ขณิกะสมาธิ คะ ว่ามีประโยชน์ ในการเรียนทางโลก หรือไม่คะ  (อ่าน 2276 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

เรียนถามเรื่อง ขณิกะสมาธิ คะ ว่ามีประโยชน์ ในการเรียนทางโลก หรือไม่คะ

   คือไม่ทราบว่า ลักษณะของขณิกะสมาธิ เกี่ยวกับกรรมฐาน หรือไม่คะ แล้วเราจะนำมาใช้ได้อย่างไร่ คะ

   thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


๘.  สัมมาสมาธิ

    สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติ ที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน เป็นจุดบรรจบ หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ
     ในการบรรยายเรื่องนี้เห็นว่า ถ้าจะแสดงเนื้อหาไปตามลำดับอย่างในองค์มรรคข้อก่อนๆ จะทำให้เข้าใจยาก จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีสรุปข้อควรทราบ ให้เห็นใจความไว้ก่อน แล้วจึงแสดงเนื้อหาต่อภายหลัง


ความหมาย และระดับของสมาธิ
   “สมาธิ” แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด
    คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ “จิตตัสเสกัคคตา”  หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เอกัคคตา”
    ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป

     สมาธินั้นแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ
     ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่กิจการงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ได้ผลดี
    ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ  หรือจวนจะแน่วแน่  (neighborhood concentration)
    ๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท  (attainment concentration) สมาธิในขั้นฌาน เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ

    “สัมมาสมาธิ” ตามคำจำกัดความในพระสูตรต่างๆ เจาะจงว่าได้แก่ ฌาน ๔ 
    อย่างไรก็ดี คำจำกัดความนี้ถือได้ว่า เป็นการให้ความหมายโดยยกหลักใหญ่เต็มรูปขึ้นมา
    ตั้งเป็นแบบไว้ให้รู้ว่าการปฏิบัติสมาธิที่ถูก จะต้องดำเนินไปในแนวนี้
    ดังที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้ โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
    ซึ่งเป็นสมาธิในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ
และอุปจารสมาธิ (ท่านลำดับไว้ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิ)


อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2013, 08:25:31 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ