ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย "สังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)  (อ่าน 3 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28534
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ว่าด้วย "สังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์จะมาถวายสังฆทานและภัตตาหารที่วัด สามารถถวายได้ทุกวันก่อนพระฉันเช้าและฉันเพล ณ ญาณเวศก์ธรรมศาลา โดยพระจะนำสมาทานศีล รับถวายทาน สัมโมทนียกถา (แสดงธรรม) และอนุโมทนากถา (ให้พร) ตามลำดับ
    - ช่วงเช้า เวลาประมาณ ๐๖.๔๕ น.
    - ช่วงเพล เวลาประมาณ ๑๐.๔๕ น.

หากประสงค์ถวายหลังช่วงฉันภัตตาหาร สามารถถวายได้ ดังนี้
    - ช่วงเช้า  ทุกวัน เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. - ๑๐.๓๐ น.
    - ช่วงบ่าย  โดยปกติไม่มีพระมารับสังฆทานเพราะติดกิจทางการศึกษาและงานเผยแผ่

ในวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันสำคัญ อาจมีพระมารับสังฆทาน โดยไม่สามารถยืนยันล่วงหน้า และไม่สามารถนิมนต์พระตามคำขอของญาติโยมที่มาได้

หากญาติโยมต้องการถวายสังฆทานในช่วงที่ไม่มีพระมารับ สามารถนำไปวางถวาย ณ ที่ที่จัดไว้ ด้านข้างพระประธานในอาคารญาณเวศก์ธรรมศาลา (ปิดเวลา ๑๕.๐๐ น.)

คลิกเพื่ออ่านบทความ "ทบทวนเรื่องสังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

หมายเหตุ

    1. สาธุชนถวายสังฆทานในเวลาและสถานที่ที่กำหนด
    2. แนะนำให้นำสังฆทานไปวางจุดที่กำหนดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    3. พระภิกษุ ๑ รูป เป็นตัวแทนสงฆ์ แสดงธรรม ให้ศีล ให้พร กล่าวคำถวายสังฆทานร่วมกัน
    4. หากประสงค์จะถวายพระหลายรูป โปรดนิมนต์ล่วงหน้า
    5. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณญาณิศา โทร ๐๘๑-๖๙๔-๒๙๒๘ (ยกเว้นวันพฤหัสบดี)

คำถามที่ถามกันบ่อยๆ เกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

    • ในการถวายสังฆทานนั้น อะไรควรถวาย? อะไรไม่ควรถวาย?
    • ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง?


 

ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/offering

.



"ทบทวนเรื่องสังฆทาน" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

 :25: :25: :25:

สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ สิริ โภคานมาสโย : ศรัทธาเอาเสบียงมามัดรวมไว้ สิริดึงดูดโภคสมบัติให้เนืองนองหลั่งไหลมา

ขออนุโมทนาญาติโยม ที่มีจิตศรัทธา ได้มาวัด ทําบุญเจริญกุศลกันมากท่าน หลายกิจกรรม บุญพิธีที่สาธุชนมาทำบ่อยที่สุด ก็คือ สังฆทาน ซึ่งเวลานี้ได้กลายเป็นกระแสนิยม

@@@@@@@

ก. ทำทาน อย่าเสียบุญ

เมื่อสาธุชนมาทําสังฆทาน พระในวัดก็ต้องออกมารับ ญาติโยมมาคณะหนึ่ง หรือแม้เพียงคนหนึ่ง พระก็ต้องออกมารับ ครั้งหนึ่ง บางทีญาติโยมมากันวันหนึ่งอาจถึง ๑๐ ราย ถ้ามีพระมากพอ ก็ฉลองศรัทธาโยมไป แต่เวลานี้ญาติโยมมาถวายสังฆทานบ่อย ขณะที่จํานวนพระลดน้อยลง

อีกทั้งงานวัดและศาสนกิจด้านอื่นที่เพิ่มขึ้นๆ เกินกําลังของพระ จนถึงจุดที่ต้องบอกญาติโยม

พระสงฆ์ในวัดญาณเวศกวัน ขณะนี้มีทั้งหมด ๑๓ รูป เป็นพระเก่า ๑๐ พระใหม่ ๓
    - ในพระเก่า ๑๐ นั้น ชราอายุ ๙๔ ปี ๑ รูป, มีอวัยวะหลายชิ้นชำรุด ๑ รูป ยังหนุ่มแต่อาพทธรุนแรงแทบ เกินไม่ได้ ๑ รูป, น้ําหนัก ลดสิบกิโลอยู่ในโรงพยาบาล ๑ รูป เหลือค่อนข้างปาก ๖ รูป
    - ส่วนพระใหม่ คือ พระนวกะ ๓ รูปนั้น เข้ามาเพื่อบวชเรียน และมีเวลาจํากัด ยิ่ง (ส่วนมากบวชรูปละ ๑ เดือน) กำลังต้องการฝึกศึกษาปฏิบัติกิจวัตรเต็มเวลา

เป็นอันว่า มีพระเท่าที่จะมารับญาติโยม ๖ รูป แต่ที่หนักก็คือ ทุกรูปนี้ต้องแบกงานวัดที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับออกปฏิบัติศาสนกิจนอกวัด เฉพาะอย่างยิ่งไปบรรยายและสอนศีลธรรม ใน ร.ร. ต่างๆ

การศึกษาและเผยแผ่ธรรมนี้ เป็นศาสนกิจหลักตามพระพุทธโอวาท หลักธรรมวินัยบอกว่า ญาติโยมศรัทธา ก็คือมาช่วยหนุนให้พระสงฆ์มีกําลังไปทําศาสนกิจหลักนี่แหละ

ฉะนั้น จะต้องช่วยกันไม่ให้การพบโยมรับสังฆทาน กลายเป็นเหตุบั่นทอนศาสนกิจ แต่ตรงข้ามจะต้องให้สังฆทานและไม่ว่าทานใดๆ เป็นเครื่องช่วยหนุนให้พระมีเรี่ยวแรง และเวลาที่จะศึกษาและเผยแผ่ธรรมได้มากยิ่งขึ้น ให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ให้จงได้ จึงจะเป็นบุญแท้ที่เต็มสมบูรณ์

@@@@@@@

ข. พระได้งาน โยมยิ่งได้บุญ

ถ้ารู้วิธี ทานต้องหนุนศีลภาวนาของโยม และหนุนศาสนกิจของพระ แน่นอน จะทําอย่างไร ก็พลิกใจนิดเดียว พอไปถูกแง่ ก็จะดีทั้งแก่พระศาสนาและแก่โยมศรัทธานั้นเอง

สาธุชนจํานวนมากไปถวายสังฆทานเพื่อให้พ้นเคราะห์ เวลานั้นคือ ใจตกชีวิตอ่อนแอ ก็จะให้บุญช่วย เวลาทําบุญจึงตั้งวางใจ แต่ให้ได้ผลบุญมาช่วยให้หายเคราะห์ ให้เบา หรือโล่งไปที ศรัทธาแบบนี้มีกําลังน้อย แล้วคนที่ใจอ่อนแอก็ไม่มั่นคง หวั่นไหวง่าย เป็นช่องให้เคราะห์ใหม่เข้ามาอีก

จึงต้องตั้งวางจิตให้ถูก จะทําอย่างไร ก็คือ เวลาถวายสังฆทานหรือ ทําบุญอะไร ก็มีสติระลึกนึกเห็นว่า ที่เราถวายทานนี้ๆ คือ เราช่วยให้พระสงฆ์และพระพุทธศาสนา มีกําลังทำศาสนกิจ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ เพื่อให้ชีวิต ดีสังคมร่มเย็น ประเทศชาติประชาชนเจริญงอกงาม มีสันติสุข

พอนึกอย่างนี้ ในใจจะเกิดมีพลังขึ้นมาทันที ทําให้ชีวิตเข้มแข็ง นี่คือที่เรียกว่า "สิริ" หรือ "ศรี" ไม่ใช่ศักดิ์ศรีผิดๆ แบบที่จะเอามาข่มหรือแข่งกัน แต่คือ ศักดิ์ศรีแท้ ที่รู้ตัวขึ้นว่า เรานี้มีพลังมีอํานาจ สามารถเกื้อหนุนโอบอุ้มผู้อื่นได้ นี่ก็คือ มีอานาจศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ที่พร้อมจะก้าวหน้าไป ตอนนี้ความอ่อนแอ ท้อแท้ระโหยโรยแรงหมดไป มีแต่ความเข้มแข็งและพลังความมั่นใจ พร้อมที่จะทําการทั้งหลายให้สําเร็จ คนจะพ้นเคราะห์ร้าย และมีโชคดีจริง ต้องตั้งวางจิตถึงขั้นนี้

นี่แหละเข้าพุทธภาษิต ที่ตั้งไว้เป็นหัวข้อข้างบน สทฺธา พนฺธติ ปาเถยฺยํ สิริ โภคานมาสโย ซึ่งแปลว่า "ศรัทธาเอาเสบียงมามัดรวมไว้ สิริดึงดูดโภคสมบัติให้เนืองนองหลั่งไหลมา"

คนไม่มีสิริก็ไม่มีแรงดึงเอาโชคมา จึงต้องรอแรงข้างนอกบันดาล ให้ได้โชคมาที่หนึ่งๆ ทำแล้วทำเล่า ฉะนั้นเมื่อ ศรัทธาพาเราไปถวายสังฆทาน ขากลับต้องให้ได้สิริมาด้วย จะได้ไม่ต้องรอพึ่งแต่พิธี

    วิธีปฏิบัติ

    1. ถวายสังฆทานแท้ ที่ไม่ต้องมีพิธี
    2. ถ้ายังต้องการแบบพิธี นานปีทำสักครั้ง
    3. ขยันหาบุญอื่นที่เหนือกว่าทาน
       (ทั้งหมดนี้ เวลาทำตั้งจิตวางเจตนาให้ถูก)

                                                          พระพรหมคุณาภรณ์ | ๒๑ เมษายน ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28534
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ในการถวายสังฆทานนั้น อะไรควรถวาย.? อะไรไม่ควรถวาย.?

การถวายสังฆทาน ไม่ใช่การถวายถังเหลือง และการทำบุญ ไม่ใช่การถวายสังฆทานเท่านั้น
 
การทำบุญทำได้หลายวิธี ทั้งการให้ทาน(ให้วัตถุ ให้คำสอน ให้คำแนะนำ ให้ธรรมะ ให้เวลากับพ่อแม่ ให้อภัย) การรักษาศีล (ไม่เบียดเบียนทำร้ายสัตว์,ไม่ลักขโมยฉ้อโกง,ไม่ประพฤติผิดในกาม,ไม่พูดโกหก เพ้อเจ้อ ส่อเสียด หยาบคาย,ไม่ดื่มสุรา ไม่ใช้ยาเสพติด) และการภาวนา(พัฒนาจิตใจและปัญญา ด้วยการศึกษา สนทนาธรรม รักษาใจให้ผ่องแผ้ว สดใส พิจารณาชีวิตตามความเป็นจริง)

@@@@@@@

แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า ต้องการทำบุญด้วยการถวายสังฆทาน ก็ควรให้อย่างสัตบุรุษ คือยึดหลักธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสทาน ๘ ได้แก่

    (๑) ให้ของสะอาด : เลือกสิ่งที่บริสุทธิ์ ได้มาโดยสุจริต
    (๒) ให้ของประณีต : ให้ของที่ดี ตามกำลังศรัทธา อย่างรู้จักประมาณ
    (๓) ให้ถูกเวลา : เช่นถวายภัตตาหารพระก่อนเวลาเพลเท่านั้น ถ้าจะถวายหลังเวลาเที่ยงไปแล้วก็อาจจะถวายเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ธูปเทียน น้ำปานะต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อพระวินัย เป็นต้น
    (๔) ให้ของที่สมควรแก่ผู้รับจะนำไปใช้ได้ : เช่นถ้าจะถวายสังฆทาน ก็ควรถวายของที่สมควรแก่พระ ไม่ใช่สุรา ยาเสพติด เครื่องประดับตกแต่ง บางคนคิดว่าจะถวายสังฆทานอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับก็ต้องนำของที่ผู้ล่วงลับชอบใจหรือใช้อยู่เป็นประจำมาถวายพระ นี่เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะของเหล่านั้นถวายแก่พระ ไม่ใช่การทำพิธีให้ของนั้นล่องลอยไปสู่ผู้ล่วงลับ บุญเกิดจากการให้ มิใช่อยู่ที่ตัวสิ่งของ

    (๕) ให้ด้วยวิจารณญาณ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก : ของที่จะให้เป็นทานจะมีราคาสูงหรือ ต่ำไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ควรเป็นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้จริง การจัดหาของน้อยชิ้นที่ใช้งานได้ อาจจะดีกว่าการจัดของสารพัดอย่างลงในถังให้ดูครบครันแต่นำมาใช้ หรือแม้แต่จะจัดเก็บก็ยากลำบาก
    (๖) ให้ประจำสม่ำเสมอ
    (๗) เมื่อให้ ทำจิตให้ผ่องใส
    (๘) ให้แล้ว เบิกบานใจ : ไม่คิดกังวลว่าผู้รับจะใช้หรือไม่ จะยินดีแค่ไหน เมื่อให้ไปแล้วก็ไม่ยึดถือเป็นของเรา ตัวเราต่อไปอีก


@@@@@@@

เมื่อทำได้ดังนี้ หรือฝึกฝนที่จะทำเช่นนี้ ก็ชื่อว่าได้ให้อย่างผู้มีปัญญา เป็นการให้ที่มีประโยชน์ มีอานิสงส์มาก มีอานิสงส์ใหญ่ น่าอนุโมทนาชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง




ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/QandA_4





ถ้าจะถวายปัจจัยแก่พระ ควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้อง.?

โดยพระวินัย พระไม่รับเงินทอง และโดยนโยบายของวัดก็ไม่มีการเรี่ยไร หรือตั้งตู้รับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า เรื่องสร้างวัดเป็นเรื่องของโยม (คือไม่ใช่งานที่พระจะต้องไปหาเงินหาทองมาสร้าง มาซ่อม โยมทำให้อย่างไรก็อยู่ได้) ดังนั้นคณะกรรมการวัดที่เป็นญาติโยมจึงทำหน้าที่ในการดูแลวัด ซ่อมแซมอาคารสถานที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม และจัดการงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้ในการจัดทำสื่อธรรมะต่างๆ เพื่อแจกแก่ญาติโยมที่มาวัด รวมทั้งดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมวันสำคัญ การดูแลพระอาพาธ การถวายทุนการศึกษาเล่าเรียนแก่พระภิกษุสามเณร เป็นต้น

ดังนั้นถ้าท่านต้องการร่วมทำบุญเพื่อกิจเหล่านี้ ก็ให้เห็นเป็นเรื่องที่ญาติโยมมาจัดการกันเอง (อย่างเปิดเผย โปร่งใส) เพื่อเกื้อกูลแก่พระสงฆ์ในการทำกิจอันเป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนโดยส่วนรวม โดยไม่จำเป็นต้องถวายแก่พระสงฆ์

หากมีเจตนาต้องการถวายปัจจัยเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่ควรแก่สมณะ ก็มีพุทธบัญญัติให้มอบปัจจัยนั้นแก่ไวยยาวัจจกร แล้วแจ้งให้พระสงฆ์ทราบด้วยวาจา หรือเขียนเป็นตัวหนังสือลงในใบปวารณาก็ได้

และก็ควรเน้นย้ำว่า มีหนทางอีกมากที่ชาวพุทธจะทำบุญที่ยิ่งไปกว่าเพียงการถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์หรือแก่วัด ซึ่งไม่ใช่ความจำเป็นหรือธรรมเนียมปฏิบัติที่ต้องกระทำแต่อย่างใด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ (คุณญานิศา) เพื่อทำความเข้าใจหลักการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมวินัย  โดยติดต่อทางโทรศัพท์หมายเลข ๐๘๑-๖๙๔-๒๙๒๘ หรือเพิ่มเพื่อนใน Line ด้วย ID : @watonline



ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/web_page/QandA_5
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ