สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: ISSARAPAP ที่ กันยายน 16, 2010, 07:40:34 am



หัวข้อ: แก่นธรรม ที่ควรสนใจ มาก ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ กันยายน 16, 2010, 07:40:34 am
ตัดข้อความมาจากกระทู้นี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=429.msg1598#msg1598 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=429.msg1598#msg1598)

คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริ โยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

3 ข้อ เบื้องต้นมาตรฐาน ใหญ่ของชาวพุทธ


1.ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
2.นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
3.น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
4.สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
แปล : ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

4 ข้อนี้เพื่อธรรม 2 ข้อแรก คือ ไม่เบียด เบียน การทำกุศลให้ถึงพร้อม

5.อนูป วาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
6.มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
   อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
แปล : การ ไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่ง
นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

2 ข้อหลัีง เพื่อข้อที่ 3 คือการชำระจิตของตนให้ผ่องใส สอนให้รักสันโดษ กินอยู่ แต่พอเพียง

ที่เข้าใจกัน โดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส


ถ้าเป็นชาวพุทธ จะเป็น นิกายใด ๆ ก็ต้องยึดหลักทั้ง 3 ประการนี้


หัวข้อ: Re: แก่นธรรม ที่ควรสนใจ มาก ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 21, 2010, 08:52:18 am
เรื่องของแก่นธรรมะ นั้น เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจ

แต่อย่างไรเสีย

  การเกิดอุบัติ ของสรรพสัตว์ ไม่เท่ากัน

    บ้างก็ติดอยู่ที่กระพี้ และดำเนินชีวิตในวิืถี กระพี้นั้น

    บ้างก็ติดอยู่เปลือก และดำเนินชีวิตในวิุถี เปลือกนั้น

    บ้างก็ติดที่แก่น และดำเนินชีวิตในวิถี แก่นนั้น

 ดังนั้น ระดับ การสั่งสมบารมี ของสรรพสัตว์ ไม่เท่ากันด้วยเหตุนี้

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ง่าย ด้วยปฏิบัติ แบบ ง่าย ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ยาก ด้วยการปฏิบัติ แบบ ง่าย ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ง่าย ด้วยการปฏิบัติ แบบ ยาก ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ยาก ด้วยการปฏิบัติ แบบ ยาก ๆ

อนุโมทนา กุศลห้วข้อหลักธรรมนี้

เจริญพร

 ;)