ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"  (อ่าน 677 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2023, 08:08:33 am »
0
 :25: :25: :25:

ความเป็นมาของ รอยพระพุทธบาท

ความเชื่อเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ และถือว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างหนึ่งการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณที่มีความเจริญทางด้านวิชาการน้อย ความเชื่อจึงเกิดจากการเกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่มนุษย์เชื่อว่า เป็นการบันดาลให้เกิดขึ้นจากอำนาจของเทวดา พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจ(-๑)

มนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงให้ความนับถือและบูชาต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของชีวิต เช่น ดิน ฟ้าอากาศแสงสว่าง น้ำ ลม ไฟ หรือสัตว์บางชนิดที่สามารถให้อาหารต่อมนุษย์ได้ การบูชาจะกระทำในรูปแบบของการใช้สัญลักษณ์เพื่อแทนค่าในสิ่งที่จะบูชา

กระทั่งเมื่อมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการและพัฒนาการขึ้นมาตามลำดับ สัญลักษณ์ที่สื่อถึงการบูชาธรรมชาติก็ได้พัฒนาการจนกลายเป็นรูปเคารพขึ้น(-๒) รูปเคารพในยุคแรกก็ยังเป็นการเคารพเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์และพุทธประวัติก็ยังคงใช้สัญลักษณ์แทน(-๓) เช่น การสลักพระพุทธมารดายืนโน้มกิ่งสาละแทนเหตุการณ์ตอนประสูติ การเคารพต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแทนวัชรอาสน์แทนเหตุการณ์ตอนตรัสรู้ เป็นต้น

ต่อมาได้มีการสร้างรูปแทนพระพุทธองค์ขึ้นมาอย่างชัดเจนซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในอินเดียสมัยโบราณมีหลากหลาย เช่น ดอกบัว ธรรมจักร สวัสดิกะ ตรีรัตนะ เป็นต้น

สัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการระลึกถึงพระพุทธเจ้าอีกประการหนึ่ง คือ รอยพระพุทธบาทหรือรอยเท้าของพระพุทธเจ้า ที่นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีนัยถึงการเสด็จไปประกาศพระศาสนาของพระองค์ด้วย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ ไว้ว่า
   "การนับถือรอยพระพุทธบาทเป็นเจติยสถาน ดูเหมือนมูลเหตุจะเกิดขึ้นจาก ๒ คติ ต่างกัน
        เป็นคติของชาวมัชฌิมประเทศอย่างหนึ่ง
        เป็นคติของชาวลังกาทวีปอย่างหนึ่ง
    คติของชาวมัชฌิมประเทศนั้น เดิมถือกันมาตั้งแต่พุทธกาลว่า ไม่ควรสร้างรูปเทวดาหรือมนุษย์ขึ้นไว้เซ่นสรวงสักการบูชา และคตินั้นได้ถือกันมาจนถึงพุทธกาลล่วงร้อยปีจึงได้เลิก เพราะฉะนั้น พระเจดีย์ที่พวกพุทธศาสนิกชนสร้างเมื่อก่อน พ.ศ.๕๐๐ จึงทำแต่พระสถูปหรือวัตถุต่างๆ เป็นเครื่องหมายสำหรับบูชาแทนพระองค์พระพุทธเจ้า รอยพระพุทธบาทเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง ซึ่งชอบทำกันในสมัยนั้น ทำเป็นรอยพระพุทธบาททั้งข้างซ้ายและข้างขวาบ้าง ทาเป็นรอยพระพุทธบาทแต่เบื้องขวาบ้าง"(-๔)

จะเห็นได้ว่ารอยพระพุทธบาทมีประวัติความเป็นมา ร่องรอยของการเคารพบูชา และความสำคัญอย่างน่าสนใจ ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้


@@@@@@@

๒.๑ ความหมายและความสำคัญของรอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาทมีความหมายและความสำคัญต่อพุทธศาสนา รวมทั้งประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ทั้งในส่วนของคัมภีร์และตำนาน โดยมีผู้ให้คำจำกัดความ และให้ความสำคัญต่อรอยพระพุทธบาทไว้ ดังนี้

๒.๑.๑ ความหมายของรอยพระพุทธบาท

พระปริยัติโมลี กล่าวว่า
    “รอยพระพุทธบาทเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการเสด็จเข้ามาบำเพ็ญพุทธกิจ และเครื่องหมายแห่งการเสร็จเข้ามาส่วนวงกลมในรอยพระบาท คือ ธรรมจักรนั้นอาจเป็นเครื่องหมายแห่งคาสอนที่ประทานไว้ เปรียบได้กับล้อหมุนพาเข้าไปหาความเจริญ”(-๕)

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้กล่าวไว้ว่า
    “ตามตำนานได้อ้างไว้ว่า รอยพระพุทธบาทซึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จประทับไว้ มี ๕ แห่ง ได้แก่ ที่เขาสุวรรณมาลิก, เขาสุวรรณบรรพต, เขาสุวรรณกูฏ,เมืองโยนกบุรี, และหาดทรายในลุ่มน้านัมมทานที รอยพระพุทธบาทนั้น นับถือกันว่า เป็นอุทเทสิกเจดีย์ คือ เป็นของสร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศต่อพระพุทธเจ้า และบริโภคเจดีย์คือเป็นของเนื่องในพระตถาคตเจ้ามาตั้งแต่โบราณกาล”(-๖)

จวน คงแก้ว ให้ความหมายของรอยพระพุทธบาท ไว้ว่า
    “รอยพระพุทธบาท หมายถึง รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ได้แก่ รอยพระพุทธบาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับหรือได้ทรงประทานไว้ แก่ผู้ที่ได้กราบทูลขอหรือ ได้ทรงประดิษฐานไว้ ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อให้ผู้ใดผู้หนึ่งได้พบเห็นตามพุทธประสงค์ และหมายถึงรอยพระพุทธบาทของพระพุทธองค์ที่ชาวพุทธได้สร้างจำลองขึ้น เป็นเครื่องหมายในสถานที่ที่พระพุทธองค์ได้เคยประทับอยู่ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและกราบไหว้บูชา เพื่อเป็นบริโภคเจดีย์และอุทเทสิกเจดีย์”(-๗)

โดยสรุปแล้ว รอยพระพุทธบาทหมายถึงรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า โดยไม่จำกัดเฉพาะแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมเท่านั้น เพราะเท่าที่ปรากฏพบว่ามีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ด้วย เช่น ที่วัดพระพุทธบาท ๔ รอย อาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าถึง ๔ พระองค์ รอยพระพุทธบาทที่ปรากฏขึ้นนั้น อาจเกิดจากพระพุทธเจ้าประทับรอยด้วยพระองค์เองตามคำทูลขอของประชาชนในบ้านนั้นเมืองนั้น และการจำลองหรือสร้างขึ้นภายหลังเพื่อเป็นที่เคารพสักการะแทนพระพุทธเจ้า และเพื่อเป็นหลักฐานการเสด็จไปเผยแผ่ธรรมในที่นั่นๆ ตามแต่กรณี

@@@@@@@

๒.๑.๒ ความสำคัญของรอยพระพุทธบาท

รอยพระพุทธบาททั้งที่ปรากฏมาตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งที่มีหลักฐานในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถา ตลอดทั้งตำนานโบราณคดีและพงศาวดารต่างๆ สามารถสรุปให้เห็นถึงความสำคัญของรอยพระพุทธบาทเป็น ๒ ประการ คือ

     ๒.๑.๒.๑ เป็นสัญลักษณ์บูชาแทนพระพุทธเจ้า

แต่เดิมนั้นสิ่งที่เคารพบูชาในพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์นั้น เรียกกันว่า เจดีย์ หมายถึง สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพบูชา มีทั้งหมด ๔ อย่าง ได้แก่

๑) ธาตุเจดีย์ คือ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ในธาตุภาชนียกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ได้แสดงถึงการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนไปยังที่ต่างๆ ดังนี้(-๘)

    (๑) พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ไปยังเมืองราชคฤห์
    (๒) กษัตริย์ศากยราช พระญาติของพระพุทธองค์ ได้ไปยังเมืองกบิลพัสดุ์ พระบรมธาตุส่วนนี้ที่ได้มายังประเทศสยามเมื่อรัชกาลที่ ๕ และบรรจุประดิษฐานไว้ในพระสถูปบนพระบรมบรรพตวัดสระเกศ
    (๓) กษัตริย์ลิจฉวี ได้ไปยังเมืองเวสาลี
    (๔) กษัตริย์ถูลิยะ ได้ไปยังเมืองอัลลกัปปะ
    (๕) มหาพราหมณ์ผู้ครองเมืองได้ไปยังเมืองเวฎฐทีปกะ
    (๖) กษัตริย์โกลิยะ ได้ไปยังรามคาม
    (๗) มัลลกษัตริย์เมืองปาวา ได้ไปยังเมืองปาวา
    (๘) มัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา ได้ไว้ ณ เมืองกุสินารา

๒) บริโภคเจดีย์ คือ สถานที่สำคัญตามพุทธประวัติ ๔ แห่ง ได้แก่ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนาและปรินิพพาน ต่อมาได้เกิดความนิยมสถานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้านับรวมเข้าเป็นบริโภคเจดีย์ด้วย คือ
   สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ที่เมืองสังกัสสะ
   สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์เมืองสาวัตถี
   สถานที่ทรงทรมานช้างนาฬาคิรีเมืองราชคฤห์
   สถานที่ทรงทรมานพระยาวานรเมืองเวสาลี

ภายหลังต่อมาได้ถือกำหนดเอาเสนาสนะใช้สอยของพระพุทธเจ้าเป็นบริโภคเจดีย์ด้วยทั้งหมด คือ ผ้าพันธกับบาตร เมืองปาตลีบุตร , ผ้าอุทกสาฎก เมืองปัญจาลราฐ , ผ้าจัมขันธ์ เมืองโกศลราฐ , ไม้สีพระทนต์ เมืองมิถิลา , ผ้ากรองน้ำ เมืองวิเทหราฐ , มีดกับกล่องเข็ม เมืองอินปัตต์ , รองพระบาทและถลกล้าน บ้านอุสสิพราหมณคาม , เครื่องลาด เมืองมกุนคร , ผ้าไตรจีวร เมืองภัททราฐ และนิสีทนสันถัต เมืองกุรุราฐ(-๙) เนื่องจากสิ่งเหล่านี้พระพุทธเจ้าได้เคยใช้สอยบริโภคมาแล้วทั้งนั้น

๓) ธรรมเจดีย์ คือ การบันทึกพุทธบรรหารที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาลงเป็นตัวอักษรแล้วนำไปประดิษฐานเพื่อบูชา ในสมัยหลังเมื่อมีการเขียนพระไตรปิฎกก็ถือว่าพระไตรปิฎกเป็นธรรมเจดีย์

๔) อุเทสิกเจดีย์ คือ สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า โดยมิได้กำหนดว่าต้องทำเป็นอะไร สันนิษฐานว่าพุทธบัลลังก์หรืออาสนะที่พุทธศาสนิกชนจัดไว้รับเสด็จจะเป็นวัตถุชิ้นแรกๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาแทนพระพุทธเจ้าก่อนที่จะมีรอยพระพุทธบาทหรือพระพุทธรูป

ธาตุเจดีย์และบริโภคเจดีย์นั้น เป็นสิ่งที่อยู่อย่างจำกัดและเฉพาะเจาะจงลงไปเพียงนั้น กล่าวคือ ไม่สามารถสร้างขึ้นเพิ่มเติมได้อีก เพราะพระพุทธเจ้าได้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว ส่วนธรรมเจดีย์นั้นมีลักษณะเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรมที่จะสามารถนำมาเป็นสัญลักษณ์ของการกราบไหว้บูชาได้ ดังนั้น อุเทสิกเจดีย์จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าที่สามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้อย่างไม่ จำกัดรูปแบบและจำนวน


@@@@@@@

สัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ พระพุทธรูป แต่ก่อนที่จะมีพระพุทธรูปนั้น ชาวพุทธยังเคารพสัญลักษณ์อื่นๆ แทน เช่น สร้างรูปม้ามีฉัตรกางกั้น เป็นสัญลักษณ์แทนการเสด็จออกบวช สร้างรูปบัลลังก์และต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์แทนการตรัสรู้ สร้างรูปธรรมจักรและกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์แทนการแสดงปฐมเทศนา สร้างรูปพระสถูปเป็นสัญลักษณ์แทนการปรินิพพาน เป็นต้น

การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นในภายหลังเพราะการรับวัฒนธรรมของพวกกรีก(-๑๐)ที่นิยมการสร้างเทวรูปเป็นเครื่องสักการะ พระพุทธรูปจึงเป็นพัฒนาการของการสร้างสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าที่เกิดหลังจากการเคารพบูชารอยพระพุทธบาท

กำธรเทพ กระต่ายทอง และคณะ ได้แบ่งรอยพระพุทธบาท ความประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาท เป็น ๓ ประเภท ได้แก่(-๑๑)

๑) รูปพระพุทธบาทและรอยพระพุทธบาทที่ถือว่าเป็น “อุทเทสิกเจดีย์” คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า หรือเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ ส่วนมากมักทำเป็นรูปพระพุทธบาทคู่ โดยสลักรูปฝ่าพระบาทนูนขึ้นมาจากพื้นหิน หมายถึง ฝ่าพระบาททั้งสองของพระพุทธเจ้า แต่ก็มีที่ทำเป็นรอยพระพุทธบาทคู่สลักเว้าลงไปในพื้นหิน ซึ่งหมายถึง รอยประทับของพระบาทด้วย การทำรูปพระพุทธบาทแบบนี้ มีมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป

๒) รอยพระพุทธบาทที่ถือว่าเป็น “บริโภคเจดีย์” หมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ หรือวัตถุที่พระองค์ทรงใช้สอยหรือสัมผัส รอยพระพุทธบาทประเภทนี้เป็นรอยคล้ายรอยเท้าที่ปรากฏอยู่เองตามสถานที่ต่าง ๆ มีลักษณะเป็นรอยเว้าลงไปในพื้นหิน มักเป็นรอยเดี่ยว เชื่อกันว่า เป็นรอยพระบาทที่พระพุทธองค์ทรงเหยียบประทับไว้เมื่อครั้งที่เสด็จไปยังสถานที่นั้นๆ

๓) รอยพระพุทธบาทที่ถือว่าเป็น “บริโภคเจดีย์โดยสมมติ” คือ รอยพระพุทธบาทจำลองที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยวัสดุต่างๆ โดยถือเอาว่า เป็นการจำลองมาจาก “รอยพระพุทธบาทอันแท้จริง” ที่พระพุทธองค์ประทับประทานไว้ตามสถานที่ต่างๆ ส่วนมากมักทำเป็นรอยเดี่ยว แต่ก็มีบ้างที่ทำเป็นรอยคู่ และมีแบบที่ทำเป็นรอยพระบาท ๔ รอยเหยียบซ้ำทับกันอีกด้วย

นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่า รูปพระพุทธบาทอันแสดงถึงฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้กันมาแทนพระองค์พระพุทธเจ้า ในศิลปกรรมยุคที่ยังไม่มีการทำรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ และยังใช้กันสืบมาอีกชั่วระยะเวลาหนึ่งในสมัยที่เกิดมีพระพุทธรูปแล้ว รูปพระพุทธบาทนี้จัดเป็นปูชนียวัตถุแบบ “อุทเทสิกเจดีย์” คือสิ่งที่ได้สร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า หรือเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธองค์(-๑๒)

     @@@@@@@

     ๒.๑.๒.๒ เป็นหลักฐานการเสด็จของพระพุทธเจ้า

รอยพระพุทธบาทนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์เพื่อการเคารพกราบไหว้แทนพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีความหมายว่าพระพุทธเจ้าได้เข้าไปประกาศคำสอนทางพระพุทธศาสนาไว้ ณ ที่แห่งนั้นแล้ว ชาวพุทธจึงสร้างรอยพระพุทธบาทเพื่อให้เป็นพยานต่อชาวโลกว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประกอบพุทธกิจ ณ สถานที่แห่งนั้น หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อศาสนาเผยแผ่เข้าไปถึงประเทศไหน พุทธศาสนิกชนในประเทศนั้น ก็ได้สร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นเป็นพุทธเจดีย์ ประหนึ่งว่า ดินแดนแห่งนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จเข้ามาเหยียบแล้ว(-๑๓)

กำธรเทพ กระต่ายทอง และคณะ ได้แสดงทัศนะไว้ว่า รอยพระพุทธบาทที่คล้ายรอยเท้าที่ปรากฏอยู่เองตามสถานที่ต่างๆ มีลักษณะเป็นรอยเว้าลงไปในพื้นหิน มักเป็นรอยเดี่ยว เชื่อกันว่าเป็นรอยพระบาทที่พระพุทธองค์ทรงเหยียบประทับไว้เมื่อครั้งที่เสด็จไปยังสถานที่นั้นๆ(-๑๔)

พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ได้แสดงความเห็นสอดคล้องกับแนวคิดนี้ว่า รอยพระบาทก็ไม่ต่างจากพระสถูป พระเจดีย์ พระธาตุ หรือแม้แต่พระพุทธรูปที่เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของการมาถึงแห่งพระพุทธศาสนา ในยุคสมัยก่อนที่การสร้างพระสถูป พระพุทธรูปจะเป็นที่นิยมและมีอิทธิพลกับพระพุทธศาสนานั้น การสร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นมา ก็เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ว่า พระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมา หรือ พระพุทธศาสนาได้ถูกเผยแผ่มายังสถานที่นั้นนั้นแล้ว โดยอิงกับหลักฐานทางวรรณกรรมในพระพุทธศาสนา อย่างเช่นที่ประเทศศรีลังกา ก็มีรอยพระพุทธบาท เช่นกัน ที่ยอดเขาสุมณกูฎ (สิริปาทะ) เพราะในวรรณกรรมทางศาสนา กล่าวไว้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปที่ศรีลังกาถึง ๓ ครั้ง(-๑๕)

สรุปได้ว่า รอยพระพุทธบาทนั้นบางแห่งเชื่อกันว่าเป็นบริโภคเจดีย์ บางแห่งเป็นอุเทสิกเจดีย์ แต่ทั้งหมดนั้นล้วนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ เครื่องหมายสำหรับบูชาแทนพระพุทธเจ้า และเป็นหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จไปยังสถานที่นั้นๆ เพื่อแสดงธรรมโปรดแก่พุทธบริษัท เป็นการประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระองค์ด้วยเช่นกัน


...ยังมีต่อ







อ้างอิง :-
(-๑) พระภาสน ถิรจิตฺโต (ส่งศรี), “การศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับการแต่งงานของกลุ่มชาติพันธ์อาข่ากับชาวพุทธล้านนา”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓), หน้า ๑.
(-๒) อาพล คมขา, “แนวคิดที่เหมือนคล้ายและแตกต่างของรอยพระพุทธบาทในงานจิตรกรรมฝาผนังกับ
งานประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
ศิลปะ, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๘), หน้า ๑.
(-๓) สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,๒๕๔๕), หน้า ๗๒.
(-๔) สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, อธิบายเรื่องพระบาท, (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร,๒๕๑๑), หน้า ๒๒-๒๓.
(-๕) พระปริยัติโมลี (ฟื้น ปาสาทิโก), รอยพรพุทธบาท, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ร.ส.พ., ๒๔๙๖),หน้า ๓๒.
(-๖) หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์, พระพุทธบาทสระบุรี, พิมพ์ครั้งที่ ๙ (กรุงเทพมหานคร: ๒๕๑๖, หน้า ๙–๑๑.
(-๗) จวน คงแก้ว, “ศึกษาวิเคราะห์พุทธบาทลักษณะที่สัมพันธ์กับหลักพุทธธรรม”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระ ask1พุทธศาสนา, หน้า ๓๘.
(-๘) ขุ.พุทฺธ. (ไทย) ๓๓/๑/๗๒๔.
(-๙) โสภณ จาเลิศ, “การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธล้านนา”,
ดุษฎีนิพนธ์ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐), หน้า ๔๙-๕๐.
(-๑๐) พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, กาเนิดและพัฒนาการแห่งพระพุทธรูป, [ออนไลน์], แหล่งที่มา :
https://www.mcu.ac.th/article/detail/502 [๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒].
(-๑๑) กาธรเทพ กระต่ายทอง และคณะ, หนังสือที่ระลึก พระราชพิธียกจุลมงกุฎและสมโภชพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี พุทธศักราช ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน),๒๕๔๒), หน้า ๒๔.
(-๑๒) นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาท ในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์เมืองโบราณ, ๒๕๓๓), หน้า ๙-๑๐.
(-๑๓) พระปริยัติโมลี (ฟื้น ปาสาทิโก), รอยพระพุทธบาท, หน้า ๓๑-๓๕.
(-๑๔) กำธรเทพ กระต่ายทอง และคณะ, หนังสือที่ระลึก พระราชพิธียกจุลมงกุฎและสมโภชพระพุทธบาทสระบุรี พุทธศักราช ๒๕๔๒, (กรุงเทพมหานค ร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน), ๒๕๔๒),หน้า ๒๔.
(-๑๕) พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ,รอยพระพุทธบาท ,ออนไลน์ ,แหล่งที่มา : http://dhamma.serichon.us [๑๕ กันยายน ๒๕๖๒].
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2023, 08:13:24 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2023, 10:53:14 am »
0

 :25: :25: :25:

๒.๒ คติการสร้างรอยพระพุทธบาทในอินเดีย

คติการสร้างรอยพระพุทธบาทในอินเดียนั้น ผู้วิจัยได้รวมเอาหลักฐานความมีอยู่ของรอยพระพุทธบาทที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาไว้ด้วย โดยได้ศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเท่านั้น เท่าที่พบหลักฐานที่กล่าวถึงรอยพระพุทธบาทในคัมภีร์ทั้งสองนี้ ปรากฏไม่มากนัก แต่ก็มีการกล่าวถึงไว้ อันแสดงให้เห็นว่ารอยพระพุทธบาทนั้นไม่ใช่สิ่งที่ประดิษฐ์ตกแต่งขึ้นมาแต่ภายหลังในยุคสมัยนี้เท่านั้น แม้พระพุทธเจ้าในอดีตก็ทรงแสดงรอยพระพุทธบาทไว้ และแนวคิดความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทนี้ก็ได้สืบทอดเรื่อยมา โดยเฉพาะหลังพุทธปรินิพานและได้แผ่ไปสู่ประเทศต่างๆที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างน่าสนใจ ดังนี้

๒.๒.๑ รอยในพระบาทในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ส่วนในโกรัณฑปุปผิยเถราปทาน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ได้กล่าวถึงรอยพระพุทธบาทว่า
 
     พระโกรัณฑปุปผิยเถระ ได้เล่าถึงประวัติในอดีตชาติของตนว่า เมื่อชาติปางก่อนท่านพร้อมด้วยบิดาและปู่เป็นคนทำงานในป่า เลี้ยงชีพด้วยการฆ่าสัตว์ กุศลกรรมใดใดของท่านไม่มีเลย ใกล้ที่อยู่ของท่านนั้น พระศาสดาพระนามว่าติสสะ ผู้ทรงเป็นผู้นำชั้นเลิศของโลก ผู้มีพระจักษุได้ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๓ รอย เพื่ออนุเคราะห์ท่าน
     เมื่อท่านเห็นรอยพระบาทของพระศาสดาพระนามว่าติสสะที่พระองค์ทรงประทับไว้ ได้เกิดความปีติจิตร่าเริงบันเทิงใจ ได้ทำจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาทนั้น ท่านเห็นต้นอังกาบซึ่งงอกเลื้อยไปตามพื้นดิ มีดอกบานสะพรั่ง จึงเด็ดมาพร้อมทั้งยอดได้บูชารอยพระบาทอันประเสริฐที่สุด
     ด้วยกรรมที่ท่านได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยเจตนาที่ตั้งไว้มั่น เมื่อท่านตายแล้วจึงได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เกิดในกำเนิดใด ๆ คือ จะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม ท่านเป็นผู้ที่มีผิวพรรณดังดอกอังกาบ มีรัศมีซ่านออกจากกาย และในกัปที่ ๙๒ นับจากกัปนี้ไป ท่านได้ทำกรรมไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชารอยพระบาท (-๑๖)

ในขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ธาตุภาชนียกถา ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้กล่าวถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา และการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นยังได้อธิบายถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและบริขารเครื่องใช้ต่างๆ ของพระพุทธเจ้าไว้ ดังนี้ (-๑๗)

    ๑) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งเป็นของพระเจ้าอชาติศัตรู
    ๒) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวสาลี
    ๓) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์
    ๔) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงอัลลกัปปะ
    ๕) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงรามคาม
    ๖) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวฏฐทีปกะ
    ๗) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงปาวาของมัลลกษัตริย์
    ๘) พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกุสินารา
    ๙) ทะนานทอง (ตุมพเจดีย์) อยู่ที่กรุงโมริยะ
   ๑๐) พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นพระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
   ๑๑) พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นพระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก
   ๑๓) พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นพระทาฐธาตุ องค์หนึ่ง อยู่ที่ภพดาวดึงส์
   ๑๕) พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นพระทาฐธาตุ องค์สาม อยู่ที่เมืองคันธารวิสัย
   ๑๖) พระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เป็นพระทาฐธาตุ องค์สี่ อยู่ที่เมืองกาลิงคราช
   ๑๗) พระทันตธาตุทั้ง ๔๐ พระเกสาและพระโลมาทั้งหมดเทวดานามาไว้จักรวาลละหนึ่งอย่าง
   ๑๘) บาตร ไม้เท้าและจีวรของพระพุทธเข้าอยู่ที่วชิรานคร
   ๑๙) สบงของพระพุทธเจ้าอยู่ที่กุลฆรนคร
   ๒๐) ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ที่สีลนคร (กรุงกบิลพัสดุ์)
   ๒๑) ธมกรกและประคดเอวอยู่ที่กรุงปาตลีบุตร
   ๒๒) ผ้าอาบน้ าอยู่ที่กรุงจัมปา
   ๒๓) พระอุณณาโลมอยู่ที่แคว้นโกศล
   ๒๔) ผ้ากาสาวพัตร์อยู่ที่พรหมโลก
   ๒๕) ผ้าโพกอยู่ที่ดาวดึงส์
   ๒๖) รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หินเหมือนที่ติดอยู่ที่นครกัจฉตบุรี
   ๒๗) ผ้านิสิทนะอยู่ที่อวันตีชนบท
   ๒๘. ผ้าลาดอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
   ๒๙) ไม้สีไฟอยู่ที่กรุงมิถิลา
   ๓๐) ผ้ากรองน้ าอยู่ที่วิเทหรัฐ
   ๓๑) มีดและกล่องเขมอยู่ที่กรุงอินทปัตถ์
   ๓๒) บริขารที่เหลือจากนี้อยู่ที่อปรันตชนบท

เป็นที่น่าสนใจว่า รอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าที่ปรากฏอยู่ในลำดับที่ ๒๖ นั้น พระไตรปิฎกระบุว่า อยู่ที่กัจฉตบุรี ผู้วิจัยได้สืบค้นทั้งจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแต่ไม่พบคำอธิบายเกี่ยวกับนครกัจฉตบุรีเลย จึงตั้งข้อสังเกตไว้ เพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป


@@@@@@@

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ได้กล่าวถึงรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ความว่า

     พระราชาสองพี่น้องพระนาม สัมพละ และ สุมิตตะ ทรงครองราชย์ ณ อมรนคร ซึ่งงามน่าดูดั่งนครแห่งเทพ ลำดับนั้น พระสิทธัตถศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระราชาสองพระองค์นั้น จึงเสด็จไปทางนภากาศลงท่ามกลางอมรนคร ทรงแสดงเจดีย์ คือ รอยพระบาทเหมือนเหยียบพื้นแผ่นดิน ด้วยพระยุคลบาท ซึ่งมีฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วเสด็จไปยังอมรราชอุทยานประทับนั่งเหนือพื้นศิลาที่เย็นด้วยพระกรุณาของพระองค์ อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
     แต่นั้นพี่น้องสองพระราชาเห็นพระเจดีย์ คือรอยพระบาท ก็เสด็จไปตามรอยพระบาท เข้าเฝ้าพระสิทธัตถศาสดาผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ถวายบังคมแล้วประทับนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่พระอัธยาศัยโปรดพระราชาสองพี่น้องนั้น สองพระองค์ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาพระองค์นั้นแลว เกิดพระศรัทธา ทรงผนวชแล้วบรรลุพระอรหัตทั้งหมด(-๑๘)

จากความในอรรถกถานี้ ทำให้เห็นว่า รอยพระพุทธบาทนั้นเกิดโดยความที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะให้ปรากฏ แต่ไม่ได้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ เป็นเพียงแต่ให้เป็นเครื่องสำคัญหมายรู้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น

สำหรับรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมนั้น ปรากฏขึ้นครั้งแรกในโลก มีหลักฐานปรากฏในธรรมบท เป็นเรื่องราวของบิดามารดาของนางมาคันทิยา ที่ประสงค์จะหาบุตรเขย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบความประสงค์นั้นและได้ตรวจดูสัตว์ในข่ายแห่งพระญาณ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอนาคามิผลของมาคันทิยพราหมณ์ผู้เป็นบิดาของนางมาคันทิยา จึงเสด็จไปยังบ้านของพราหมณ์นั้น

เมื่อพราหมณ์เห็นพระพุทธลักษณะ จึงประกาศยกลูกสาวของตนให้แก่พระพุทธเจ้า แล้วบอกให้พระพุทธเจ้ายืนรออยู่ก่อน ตนจะกลับไปนำลูกสาวมาให้ แต่พระพุทธเจ้าไม่ได้ประทับยืนรอในที่ที่พราหมณ์นั้นบอกไว้ แต่ทรงแสดงรอยพระพุทธบาทไว้แทน

เมื่อพราหมณ์กลับมาพบรอยพระพุทธบาท นางพราหมณีผู้เป็นภริยามีมนต์สำหรับทายลักษณะ จึงทราบด้วยมนต์ที่ตนเรียนมานั้นว่า รอยเท้านั้นไม่ใช่รอยเท้าของผู้เสพกามคุณ เมื่อพราหมณ์และพราหมณีได้พบพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงแสดงธรรม ในที่สุดแห่งพระคาถาทั้งสองได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล

ในธรรมบทนี้นางพราหมณีได้กล่าวถึงลักษณะของรอยเท้าไว้ว่า
    “คนเจ้าราคะพึงมีรอยเท้ากระหย่อง (เว้ากลาง) คนเจ้าโทสะย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ (ลงส้นเท้า) คนเจ้าโมหะ ย่อมมีรอยเท้าจิกลง (ลงปลายเท้า)”(-๑๙)

จากธรรมบทนี้ทาให้ทราบว่า รอยพระพุทธบาทแรกนั้นคือ รอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะประดิษฐานไว้ด้วยพระองค์เอง ผู้ที่ได้เห็นเป็นคนแรกของโลก ก็คือพราหมณ์มาคันทิยาและนางปชาบดีผู้เป็นภริยา แต่รอยพระพุทธบาทนี้ไม่ปรากฏสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้เอกสารหรือตำราเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทไม่นิยมกล่าวถึง

@@@@@@@

๒.๒.๒ รอยพระพุทธบาทในประเทศอินเดีย

รอยพระพุทธบาทที่ได้รับการกล่าวถึงและเคารพสักการะในปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นหลักจากการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ช่วงระยะเวลา ๓๐๐-๔๐๐ หลังพุทธปรินิพพานนั้น การเคารพบูชาเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์กระทำโดยการสร้างสัญลักษณ์ต่างๆ ในการสื่อความหมายเพราะยังไม่มีการสร้างรูปเคารพขึ้นในสมัยนั้น ด้วยเหตุผลทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งเชื่อว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกนี้ ไม่มีใครเปรียบเสมอเหมือนได้ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งเดียวเป็นเอกบุรุษ ผู้ทรงคุณค่าเพียบพร้อมด้วยปัญญาบารมี ตามคำบาลีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกว่า “อปปฏิม” คือ ไม่มีภาพที่เท่าเทียม อีกทั้งยังเชื่อถือกันว่า การหลงติดในรูปเคารพเป็นความอับปัญญา(-๒๐)

ประเด็นดังกล่าว หากเป็นการคิดหาเหตุผลตามความเป็นจริง โดยที่ไม่นำหลักศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องอาจกล่าว
ได้ว่า มูลเหตุที่ไม่ปรากฏการสร้างรูปเคารพพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปบุคคลขึ้นในช่วงระยะเวลาแห่งนี้ คงเนื่องจากไม่มีผู้ใดจดจำหรือสามารถถ่ายทอดลักษณะของพระพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง

การที่จะสร้างพระพุทธรูปขึ้น จึงไม่สามารถสื่อสารให้ผู้คนรับรู้ได้ว่า ลักษณะอย่างไรหมายถึงพระพุทธเจ้า การใช้สัญลักษณ์เล่าเรื่องราวในพุทธประวัติ จึงดูจะเป็นทางออกที่เหมาะสม ซึ่งช่างเลือกใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น เช่น
    พระนางสิริมหามายายืนเหนี่ยวกิ่งไม้สื่อถึงพุทธประวัติตอนประสูติ
    การสลักม้าสื่อถึงการออกมหาภิเนษกรมณ์
    บัลลังก์ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์สื่อถึงการตรัสรู้
    ธรรมจักรและกวางหมอบสื่อถึงการปฐมเทศนา
    สถูปสื่อถึงการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา ตามแนวคิดของของชาวกรีก-โรมัน ที่มีแนวคิดการเคารพบูชาเทพเจ้าและสร้างรูปเคารพเทพเจ้าของตน โดยยึดหลักความงดงามทางสรีระร่างกาย

หลังจากนั้นการสร้างรูปเคารพในระบบสัญลักษณ์ จึงปรับเปลี่ยนบทบาทกลายเป็นเพียงองค์ประกอบที่ช่วยสนับสนุนพระพุทธรูปให้ถ่ายทอดเรื่องราวตามพุทธประวัติได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

แต่ท่านหลวงจีนฟาเหียน ภิกษุชาวจีนเล่าว่า เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาทรงอนุญาตให้พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างพระพุทธปฏิมา แกะสลักด้วยไม้จันทน์ขึ้นมาแทนพระองค์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการโปรดพระพุทธมารดา พระพุทธรูปนั้นก็เสด็จเข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้กลับไปยังที่นั่งเดิม, ภายหลังเมื่อเราบรรลุปรินิพพานแล้ว จะเป็นตัวอย่างแก่บริษัท ๔ ซึ่งเป็นศิษย์ของเรา ดังนั้นแล้ว พระปฏิมาก็เลื่อนกลับไปสู่ที่นั่งเดิม พระปฏิมาองค์นั้นเป็นพระพุทธปฏิมาองค์แรกของพระพุทธปฏิมาทั้งหมด และซึ่งบุคคลสืบต่อมาได้ถือเป็นตัวอย่าง(-๒๑)

เมื่อมีพระพุทธรูปเกิดขึ้นแล้ว การเคารพบูชาสัญลักษณ์อื่นๆ เพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ก็มิได้หมดหายไป สัญลักษณ์บางอย่างได้ถูกสร้างขึ้นแยกออกมาโดยเฉพาะ และได้รับความนิยมสืบทอดการเคารพบูชามาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณกระทั่งในปัจจุบัน เช่น รอยพระพุทธบาท(-๒๒)

ทั้งนี้คงเนื่องจากการเดินทางเผยแพร่ธรรมะของพระองค์ตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง ๔๕ พรรษา พระองค์ทรงเดินทางไปยังเมืองต่างๆ มากมาย จึงทำให้เกิดการสร้างรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่ระลึก หรือเพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่า พระพุทธองค์และพระธรรมของพระองค์ได้เสด็จมาถึง ณ สถานที่แห่งนั้นจริง ผนวกกับวัฒนธรรมประเพณีของอินเดียที่แสดงออกถึงการเคารพต่อบุคคลที่พึงเคารพโดยการสัมผัสเท้า(-๒๓)


@@@@@@@

วอลเดมาร์ ซี.ไซเลอร์ ได้กล่าวถึงวิวัฒนการของการสร้างรอยพระพุทธบาทไว้ว่า แม้จะมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้ว รอยพระพุทธบาทก็ได้รับความนิยมมากกว่าอย่างอื่น ทั้งยังมีการพัฒนาด้านรูปแบบ โดยเพิ่มเครื่องหมายอันเป็นมงคลเข้าไปในรอยพระพุทธบาท รวมถึงการปรับให้รอยพระพุทธบาทมีขนาดใหญ่กว่าในอดีตด้วย(-๒๔)

รอยพระพุทธบาทจึงถือเป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชาตามคติศาสนาพุทธประเภทบริโภคเจดีย์ อันหมายถึงสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ และวัตถุอันพระองค์ได้เคยใช้สอยหรือสัมผัส เช่น ต้นโพธิ์ตรัสรู้ บาตร ไม้เท้า และเครื่องบริขารอื่น

จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนและเหี้ยนจัง ได้บันทึกถึงการเคารพบูชารอยพระพุทธบาทอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าไว้หลายแห่งในประเทศอินเดีย หลักฐานการเคารพบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งเก่าแก่ที่สุดปรากฏตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ ๕-๖ เช่น รอยพระพุทธบาทที่ ตาบลติราธ ลุ่มแม่น้ำสวาต ซึ่งอยู่ในเขตแคว้นคันธาระโบราณ เป็นรอยเท้าอย่างธรรมชาติสกัดเว้าลงไปบนก้อนหิน และมีอักษรแบบขโรษฐี จารึกกำกับไว้ว่า “นี่คือรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าศากยมุณี”(-๒๕)

รอยพระพุทธบาทโดยส่วนใหญ่ที่พบในศิลปะอินเดีย มักสร้างเป็นรอยพระพุทธบาทคู่บริเวณกลางฝ่าพระบาทมักปรากฏสัญลักษณ์รูปธรรมจักร ในสมัยต่อมาสัญลักษณ์บนรอยพระพุทธบาทจะปรากฏเพิ่มมากขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสัญลักษณ์อันเป็นมงคลตามหลักความเชื่อในศาสนาของอินเดีย รูปพระบาทที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียพบที่เมืองภารหุตทางภาคกลางของอินเดียและสาญจีทางภาคเหนือของอินเดีย เป็นรูปพระบาทคู่มีสัญลักษณ์รูปจักรอันหมายถึง พระธรรมจักรปรากฏอยู่กลางฝ่าพระบาททั้งสอง

    สมัยต่อมา เริ่มมีรูปมงคลอื่นๆ เช่น
    เครื่องหมายรูปสวัสดิกะ น่าจะหมายถึง ความหมุนเวียนของกาลเวลาชั่วนิรันดร
    เครื่องหมาย ตรีรัตนะ(-๒๖) พบในศิลปะแบบอมราวดี
    นอกจากนี้ยังมีรูป ภัทรบิฐ คือ บัลลังก์ของกษัตริย์ สัญลักษณ์แห่งอำนาจและยศศักดิ์
    และรูปดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และความบริสุทธิ์ เช่น รอยพระพุทธบาทที่แคว้นคันธาระ บนฝ่าพระบาทมีเครื่องหมายพระธรรมจักร สวัสดิกะ ตรีรัตนะ และดอกบัว รูปพระบาทมีลักษณะเป็นธรรมชาติ(-๒๗)

นันทนา ชุติวงศ์ กล่าวว่า หลังการสร้างพระพุทธรูป การบูชารอยพระพุทธบาทที่นิยมสร้างเป็นรอยพระบาทคู่ในอินเดียก็เริ่มเสื่อมลง และหมดไปในพุทธศตวรรษที่๑๐ (-๒๘) อย่างไรก็ตาม คติการบูชารอยพระพุทธบาทกลับไปเจริญรุ่งเรืองและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในลังกาทวีปหรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน

@@@@@@@

๒.๓ คติการสร้างรอยพระพุทธบาทในลังกา

อิทธิพลทางศาสนาและศิลปะอินเดียได้เผยแพร่สู่ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะลังกาหรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๓ โดยการนำของพระมหินทเถระ โอรสของพระเจ้าอโศก อิทธิพลทางศาสนาส่งผลให้เกิดการสร้างศิลปกรรม ศิลปะลังกามีพัฒนาการควบคู่ไปกับศิลปะอินเดียตั้งแต่การใช้สื่อสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าถึงการสร้างพระพุทธรูปขึ้น

สำหรับหลักฐานการสร้างรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดในลังกา น่าจะเป็นรอยพระพุทธบาทที่วัดอภัยคีรี ซึ่งสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏอยู่บนรอยพระพุทธบาท มีความใกล้เคียงกับรอยพระพุทธบาทในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๗-๘

คัมภีร์ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางศาสนาของลังกา แต่งขึ้นโดยพระพุทธโฆษาจารย์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ อรรถกถาปุณโณวาทสูตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ได้กล่าวถึง การประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าไว้โดยเจตนา ๒ ครั้ง

    ครั้งหนึ่ง ณ บนฝั่งแม่น้านัมมทา ที่พระพุทธองค์ได้ประทานให้ตามคำทูลขอของพญานาคผู้อาศัยอยู่ในแม่น้ำนั้น และอีกครั้งหนึ่ง ได้ประทานให้กับฤาษีสัจจพันธ์และบริวาร ณ เขาสัจจพันธคีรี เพื่อให้ฤาษีสัจจพันธ์ เปลี่ยนใจจากการลุ่มหลงในอบาย มายอมรับในพุทธธรรม ความว่า

    ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อ นิมมทา ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น นิมมทานาคราชถวายการต้อนรับพระศาสดา ทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะพระตนตรัยแล้ว พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค นาคราชนั้นกราบทูลขอว่า ได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่

    เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้ว ก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า มหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้นก็ทูลขอสิ่งที่จะต้องบำรุง พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น(-๒๙)

@@@@@@@

พงศาวดารมหาวงศ์ของลังกาซึ่งเชื่อว่า เขียนประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เช่นเดียวกับอรรถกถา ได้กล่าวอ้างถึงเหตุการณ์ครั้งสมัยพุทธกาลว่า พระพุทธองศ์ได้เสด็จมายังลังกา ๓ ครั้ง

    ครั้งที่ ๑. เสด็จมาปราบยักษ์ที่อยู่ในลังกาทวีป แล้วให้ยักษ์เหล่านั้นย้ายไปอยู่ที่คิริยาทวีป เพื่อที่พระพุทธเจ้าจะได้สถาปนาพระพุทธศาสนาไว้บนเกาะศรีลังกา
    ครั้งที่ ๒. เสด็จไประงับเหตุการณ์วิวาทระหว่างฝูงนาคที่อาศัยอยู่ในลังกาทวีป และเทศนาให้ฝูงนาคตั้งอยู่ในสรณคมน์ และ
    ครั้งที่ ๓. เสด็จไปตามคำเชิญของพญามณีอักขิกนาค ผู้อาศัยอยู่ในแม่น้ำกัลยาณี และได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ เพื่อประทานให้กับเทพเจ้าประจำท้องถิ่นและวิญญาณธรรมชาติ ณ เกาะลังกา

ปรากฏตามความในคัมภีร์มหาวงศ์ว่า (-๓๐)
    "ดูกรฝูงนาคทั้งหลาย ท่านจงมีจิตร์ชื่นชมยินดีปรีดาปราโมทให้ปราศจากโทษ แผ่ไมตรีจิตร์ในสัตว์ทั้งหลายเป็นนิตย์ในสันดานท่านเถิด จบแล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปในอากาศกับพระภิกษุสงฆ์ลงในเองบนยอดเขาสุมณกูฏบรรพต จึงสำแดงพระบาทรอยเจดีย์ไว้ในที่นั้น แล้วพาสงฆ์บริวารมาอยู่ที่วิหารคืออยู่ด้วยสมาบัติศุข เป็นต้น ที่เชิงเขาสุมนกูฏบรรพต"

อาจถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทรอยที่ ๓. ที่เกิดขึ้นในคติของลังกา การที่คัมภีร์ทางพุทธศาสนาของลังกามีการกล่าวถึงการประทับรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง อาจมีนัยเพื่อสนับสนุนพงศาวดารของชาติตนที่กล่าวถึงการประทับรอยพระบาทของพระพุทธองค์บนยอดเขาสุมนกูฏ ซึ่งมีผลให้เกาะลังกากลายเป็นดินแดนที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมา

รอยพระพุทธบาทในสุมนกูฏที่ศรีลังกาจึงมีความพิเศษกว่ารอยพระพุทธบาทในสถานที่อื่นๆ เพราะถือว่าเป็นบริโภคเจดีย์ ไม่ใช่อุเทสิกเจดีย์ เนื่องจากเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับด้วยพระองค์เอง ไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์รอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏ หรือที่เรียกอย่างสามัญตามภาษาสิงหลว่า “ศรีบาท” หรือ “ศรีบาทลัญจน” เป็นรอยพระพุทธบาทข้างเดียว ดูไม่ออกว่าเป็นรอยเท้าซ้ายหรือขวา แต่โดยทั่วไปรอยพระพุทธบาทมักเป็นรอยเท้าซ้าย

ศรีบาทประดิษฐานอยู่บนยอดเขาสูงราว ๗๕,๐๐๐ ฟุต ลักษณะโดยทั่วไปของรอยพระพุทธบาทเป็นรอยเว้าลึกลงไปในพื้นหินประมาณ ๑-๒ นิ้ว มีรูปร่างยาวมน ขนาดประมาณ ๒.๗ X ๕.๕ ฟุต ต่อมาภายหลังมีการเสริมด้วยซีเมนต์จนมีรูปร่างคล้ายรอยเท้าคน ยาว ๕ ฟุต ๕ นิ้ว (ภาพที่ ๑) จากลักษณะรอยพระพุทธบาท คงทำให้ชื่อเสียงของความศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า รอยเท้าบนยอดเขาสุมนกูฏเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ส่งผลให้ดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นับถือพุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ เช่น ประเทศไทย ประเทศเมียนมาร์ เคารพบูชารอยพระพุทธบาทแห่งนี้มาโดยตลอด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงคติความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาทในศรีลังกา ไว้ว่า
    คติที่ถือกันในลังกาทวีปนั้น เป็นการเกิดขึ้นชั้นหลัง อ้างว่าพระพุทธองค์ได้เหยียบรอยพระบาทไว้ให้เป็นที่สาธุชนสักการบูชา ๕ แห่ง คือ
         ที่เขาสุวรรณมาลิกแห่ง ๑
         ที่เขาสุวรรณบรรพตแห่ง ๑
         ที่เขาสุมนกูฏแห่ง ๑
         ที่เมืองโยนกบุรีแห่ง ๑
         ที่หาดในลำน้ำนัมทานทีแห่ง ๑
มีคาถาคานมัสการแต่งไว้สาหรับสวดท้ายสวดมนต์อย่างเก่า ดังนี้
    สุวณฺณมาลิเก สุวณฺณปพฺเต สุมากูเฏ โยนกปุเร นมฺมทายนทิยา ปญฺจปทวร อห วนฺทามิ ทูรโต(-๓๑)

@@@@@@@

อย่างไรก็ตามพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า รอยเท้าบนยอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์สุมนกูฏแห่งนี้ ก็มิได้นับถือว่า เป็นรอยพระพุทธบาทเพียงอย่างเดียว ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามก็นับถือว่าเป็นรอยเท้าของอาดัม มนุษย์คนแรกของโลกตามความเชื่อในศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูก็นับถือในฐานะรอยศิวะบาท รอยเท้าของพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาของตน หรือแม้แต่ชาวคริสเตียนต่างก็เชื่อว่าเป็นรอยเท้าของนักบุญโธมัสผู้นาคริสต์ศาสนามาสู่ประเทศอินเดียและลังกา(-๓๒)

แม้ความเชื่อที่ว่ามีรอยพระบาทอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าอยู่บนเกาะลังกานี้ จะปรากฏขึ้นแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ ก็ตาม ดังหลักฐานในพงศาวดารมหาวงศ์และบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน แต่คติความเชื่อนี้ได้มีความสำคัญและนิยมนับถือกันแพร่หลายที่สุด ในสมัยที่เมืองโปลนนารุวะเป็นราชธานี คือ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ พงศาวดารจุลวงศ์กล่าวว่า

    พระเจ้าวิชัยพาหุ (พ.ศ. ๑๕๙๘-๑๖๕๓) ได้เสด็จฯ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏและทรงสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ไว้เพื่ออานวยความสะดวกแก่ผู้มีศรัทธาขึ้นไปนมัสการ หลังจากนั้นกษัตริย์ลังกาหลายพระองค์ทรงบำเพ็ญกิริยาบุญเช่นนี้ วรรณคดีของลังกาชื่อ “สุมนกูฏพัณณนา” ที่เขียนขึ้นในช่วงนี้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏขจรขจายออกไปอย่างกว้างขวาง
    นักธุดงค์และทูตจากต่างประเทศเริ่มเดินทางมานมัสการรอยพระพุทธบาทนี้ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นต้นมา คงทำให้คติความเชื่อที่ว่ามีรอยพระพุทธบาทที่แท้จริงอยู่ในโลก แพร่หลายออกไปยังประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนาแบบลังกาด้วย แต่ในช่วงแรกยังไม่มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทอันแท้จริงในสถานที่อื่นๆ ผู้ศรัทธาจึงต้องเดินทางมายังเขาสุมนกูฏที่เกาะลังกาเพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาทที่แท้จริง ซึ่งพบอยู่แห่งเดียวในขณะนั้น(-๓๓)

คติความเชื่อและการเคารพบูชารอยพระพุทธบาทสืบทอดมาจากประเทศอินเดียสู่ประเทศศรีลังกา ภายหลังประเทศไทยและประเทศศรีลังกาได้มีการติดต่อกัน ทำให้วัฒนธรรมทางด้านพระพุทธศาสนามีความเชื่อโยงกัน รวมทั้งคติความเชื่อในการบูชารอยพระพุทธบาทด้วย จึงทำให้ประเทศไทยมีรอยพระพุทธบาทเป็นจำนวนมากตามสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาและมีประเพณีการเคารพบูชารอยพระพุทธบาทสืบมาจนถึงปัจจุบัน


...ยังมีต่อ








อ้างอิง :-
(-๑๖) ขุ.อป. (ไทย) ๓๓/๖๘-๗๔/๔๑-๔๒.
(-๑๗) ขุ.พุทฺธ. (ไทย) ๓๓/๑-๑๘/๗๒๕-๗๒๖.
(-๑๘) ขุ.พุทฺธ.อ. (ไทย) ๙/๒/๕๕๙.
(-๑๙) ขุ.ธ.อ. (ไทย) ๔๐/๒๖๙-๒๗๒.
(-๒๐) Waldemar C. Sailer , “รอยพระพุทธบาทสมัยต่างๆ”, จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ผู้แปล, พุทฺธปา
ทลกฺขณ และรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทพรีสเกล จ ากัด, ๒๕๓๖), หน้า ๓๖.
(-๒๑) ฟาเหียน, จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักร, แปลโดย พระยาสุรินทรลือชัย (จันท์ ตุงคสวัสดิ),(พระนคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๘๗), หน้า ๑๐๑-๑๐๒.
(-๒๒) สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะอินเดีย, หน้า ๗๒.
(-๒๓) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ, ตานานพระพุทธบาท อธิบายเรื่องพระบาท นิราศพระบาท และลิลิตทศพร, (พระนคร : โรงพิมพ์อักษรประเสริฐ, ๒๕๑๑), หน้า ๒๒.
(-๒๔) Waldemar C. Sailer , “รอยพระพุทธบาทสมัยต่างๆ”, หน้า ๓๖-๓๘.
(-๒๕) นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาท ในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, หน้า ๑๑.
(-๒๖) บางแห่งเรียกว่า นนทิบาท หรือ Taurine สันนิษฐานว่าคือรูปเคารพหรือสัญลักษณ์หนึ่งในอินเดียโบราณ ถูกใช้ทั้งในศาสนา ฮินดูพุทธ และ เชน
(-๒๗) นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาท ในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, หน้า ๙.
(-๒๘) เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๘-๑๙.
(-๒๙) ม.อุ.อ. (ไทย) ๓/๒/๔๔๙.
(-๓๐) วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์, “คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, (คณะอักษรศาสตร์ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๑๘.
(-๓๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ตานานพระพุทธบาท อธิบายเรื่องพระบาท นิราศพระบาท และลิลิตทศพร, หน้า ๒๓.
(-๓๒) พระวิเทศโพธิคุณ (ว.ป. วีรยุทโธ), อันว่า... ศรีลังกา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา
และสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๕), หน้า ๕๐.
(-๓๓) โสภณ จาเลิศ, “การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธล้านนา”, ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, หน้า ๕๕.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2023, 12:57:59 pm »
0

 :25: :25: :25:

๒.๔ รอยพระพุทธบาทในประเทศไทย

แนวคิดเรื่องพุทธบาทลักษณะในประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการสืบทอดมาจากคติ ๒ ทาง คือ คติทางอินเดียและคติทางศรีลังกา(-๓๔) ควบคู่มากับพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจก็คือ การบูชารอยพระพุทธบาทในสังคมที่พุทธศาสนา ได้กลายมาเป็นศาสนาหลักนั้น ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการปรับและรับวัฒนธรรมจากภายนอกให้เข้ากับพื้นถิ่นได้อย่างกลมกลืน อีกทั้งยังเป็นสื่อในการเสริมสร้างพระราชอานาจของสถาบันกษัตริย์อีกด้วย

ดังจะเห็นได้ว่า แนวคิดเรื่องพุทธบาทลักษณะ คือ รูปมงคล ๑๐๘ ประการ ในรอยพระพุทธบาทมีทั้งประเภทที่เป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความเจริญและความอุดมสมบูรณ์ บางประเภทก็ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องคติจักรวาล เรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นพื้นฐานแนวคิดความเชื่อในสังคมดั้งเดิม สิ่งที่รับมาจากภายนอกนั้น จึงเข้ากันได้กับคตินิยมของสังคมพื้นถิ่นแต่ละยุคแต่ละสมัย(-๓๕)

@@@@@@@

๒.๔.๑ สมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยได้มีการติดต่อทางศาสนากับประเทศศรีลังกา คือมีพระสงฆ์ชาวเมืองสุโขทัยหลายองค์ โดยการนาของพระมหาเถระศรีศรัทธาราชจุฬามณี ได้ไปศึกษาด้านการศาสนาในประเทศศรีลังกา บางกลุ่มก็เดินทางไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังมีบันทึกว่า

...ทางขึ้นเขาเป็นทางกันดารนัก แต่ล้วนชะง่อนแง่แหลม เป็นเหลี่ยม ลื่นเป็นไคล ตะไคร่น้าจับเป็นซอกเขา อนึ่งน้า ในซอกเขาแลห้วยเขานั้น เอามือจุ่ม ลงไปเย็นเสียวดังกระดูกจะแตก ถ้าบ้วนปากก็ปวดดังฟันจะหลุด ถ้ากลืนกินตกไปถึงไหนก็รู้ ไปถึงนั่น ครั้นถึงเชิงเขาแล้วขึ้นไปอีก ๑๐๐ เส้น จึงถึงมณฑปพระพุทธบาท เข้ากันเป็นทาง ๔๐๐ เส้น แลขึ้นไปนั้นที่เป็นหน้าผาขึ้นมิได้ จึงต้องเหนี่ยวสายโซ่ขึ้นไป มีอยู่ ๓ แห่ง แต่ละแห่งๆ นั้น สูง ๓ วา ๔ วาบ้าง ดูน่ากลัวนักด้วยสูงเหลือสูง และจะได้มีต้นไม้ยึดเหนี่ยวขึ้นไปหามิได้ อาศัยได้แต่โซ่นั้นสิ่งเดียว(-๓๖)

การไปสืบพระศาสนาและการไปบูชารอยพระพุทธบาทที่ลังกา จึงทำให้มีการรับคตินิยมบางอย่างในประเทศศรีลังกาเข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรสุโขทัย รวมถึงคติการบูชารอยพระพุทธบาทด้วย ในจารึกหลักที่ ๘ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑-๙ ได้มีการกล่าวถึงรอยพระพุทธบาท ความว่า
    เขาอันนี้ชื่อสุมนกูฏบรรพต...เรียกชื่อดังอันเพื่อไปพิมพ์เอารอยตีนพระพุทธเจ้าเราอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต...ในลังกาทวีปพู้นมาประดิษฐานไว้เหนือขอมเขาอันนี้ แล้วให้คนทั้งหลายได้เห็นรอยฝ่าตีนพระพุทธเป็นเจ้านี้ มีลายอันได้ร้อยแปดสีส่อง ให้ฝูงเทพดาและ...ทั้งหลายได้ไหว้นบทำบูชา...(-๓๗)

นอกจากนี้จารึกยังกล่าวถึงอานิสงส์ของการบูชารอยพระพุทธบาทว่า
   “...ผู้ใดได้ขึ้นนบรอยฝ่าตีนพระพุทธเจ้าเราเถิงเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพตนี้ด้วยใจอันศรัทธา อันว่าสมบัติทั้งสามอันนี้...จักได้แลมิอย่าเลย...”

รอยพระพุทธบาทที่ยอดเขาสุมนกูฏที่กรุงสุโขทัยนี้ พญาลิไทโปรดเกล้าให้ไปจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากยอดเขาสุมนกูฏ ประเทศศรีลังกา เพื่อมาประดิษฐานบนภูเขาในกรุงสุโขทัย ดังปรากฏในจารึกวัดเขาสุมนกูฏ

ด้านที่ ๑. เป็นคำสรรเสริญรอยพระพุทธบาท ที่พระยาลือไทยธรรมราชาที่ ๑ ได้ประดิษฐานไว้บนยอดเขาสุมนกูฏ โดยมีคำจารึกไว้ว่า
    “เขาอันนี้ชื่อสุมนกูฏบรรพต…เรียกชื่อดังอันเพื่อไปพิมพ์เอารอยตีนพระพุทธเจ้าเรา อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต…ในลังกาทวีปพู้นมาประดิษฐานไว้เหนือจอมเขาอันนี้แล้ว ให้คนทั้งหลายได้เห็นรอยฝ่าตีนพระพุทธเป็นเจ้าเรานี้ มีลายอันได้ร้อยแปดสีส่อง”

ด้านที่ ๒. เป็นเรื่องทำการสักการบูชา ในเวลาที่ได้แห่รอยพระพุทธบาทขึ้นบนเขาสุมนกูฏ มีคำจารึกไว้ว่า
    “ดับหนทางแต่เมืองสุโขทัยมาเถิงจอมเขานี้งามหนักหนาแก่กมสองขอก หนทางย่อมตั้งกัลปพฤกษ์ใส่รมยวล ดอกไม้ตามไต้เทียนประทีปเผาธูปหอมตระหลบ…ศักราช ๑๒๘๑ ปีกุน เมื่อพระศรีบาทลักษณ ขึ้นประดิษฐานไว้ในเขาสุมนกูฏบรรพต”(-๓๘)

ปัจจุบันรอยพระพุทธบาทนี้ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดตระพังทอง กลางเมืองสุโขทัยไว้ที่เขาพระบาทใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศหรดี(ตะวันตกเฉียงใต้)ของตัวเมืองเก่า ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เกาะกลางสระน้ำ โดยสร้างเป็นมณฑปครอบไว้ แล้วได้จัดงานนมัสการเป็นต้นมาทุกปี คือ วัน ขึ้น ๖ ค่า เดือน ๔ จนปัจจุบันนี้

นอกจากเขาสมุนกูฎที่ตั้งชื่อตามประเทศศรีลังกาแล้ว ยังให้จำลองมาไว้ที่เมืองศรีสัชชนาลัย ที่เขานาง เมืองบางพาน และบนปากเขาพระบาง เมืองนครสวรรค์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รอยพระบาทในกรุงสุโขทัยมีลักษณะเดียวกันกับรอยพระพุทธบาทที่ประเทศศรีลังกา(-๓๙)

เนื่องจากรอยพระพุทธบาทในสุโขทัยได้รับอิทธิพลมาจากลังกา โดยการไปพิมพ์เอารอยพระพุทธบาทมาจากเขาสุมนกูฏ ประเทศศรีลังกา จึงทำให้ฝ่ารอยพระพุทธบาทที่สุโขทัยมีสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการ ตามแบบของลังกา เนื่องจากสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ นี้ปรากฏเฉพาะในศิลปะของลังกา พุกามและและสุโขทัยเท่านั้น(-๔๐) ไม่มีปรากฏในประเทศอินเดีย

ในศิลาจารึกหลักที่ ๑๐๒. วัดตระพังช้างเผือก ซึ่งจารึกขึ้นประมาณ พ.ศ.๑๙๑๗ มีข้อความกล่าวถึงการสร้างมงคล ๑๐๘ ที่รอยพระพุทธบาท ความว่า
    "พระมเหสี (พระพุทธ) มีจักรเกิดขึ้นในพระบาททั้งสอง ในจักรนี้แต่ละจักรมีซี่ฟันซี่พร้อมด้วยกง สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีดุมมั่นคง และในพื้นพระบาทของมเหสีนั้น มีสิ่งเหล่านี้คือ สิริวจฺโฉ นางฟ้า นนทิวฏฺฏ รูปสวัสติกะ เวียนขวา วฏงฺสก ดอกไม้กรองบนศีรษะ องฺกุโส ขอช้าง..."(-๔๑)

ลักษณะสำคัญของการวางลายลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการของสุโขทัยนั้น สามารถแบ่งได้เป็น ๒ แบบ คือ (-๔๒)

     ๑) รอยพระพุทธบาทชนิดที่เรียงลายลักษณ์อยู่ในตาราง ตรงกลางของรายพระพุทธบาทเป็นรูปธรรมจักรหรือดอกบัว นิ้วพระบาทเท่ากันทั้งห้านิ้ว ซึ่งรอยพระพุทธบาทที่มีการเรียงลายลักษณ์เช่นนี้เป็นแบบการสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยสุโขทัย และเป็นที่นิยมสืบเนื่องกันมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมิกราชด้วย

     ๒) รอยพระพุทธบาทชนิดที่เรียงลายลักษณ์อยู่ในรูปวงกลม รอบตัวธรรมจักรหรือดอกบัวที่อยู่ตรงกลางรอยพระพุทธบาท ซึ่งรอยพระพุทธเจ้าชนิดนี้พบเพียงองค์เดียว คือ รอบพระพุทธบาทสำริดที่วัดเสด็จ อาเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างหลังรัชกาลของพระเจ้าลิไท แต่ไม่เป็นที่นิยมในสมัยสุโขทัย

สรุปได้ว่า การประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในอาณาจักรสุโขทัย แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและการสืบทอดพระพุทธศาสนามาจากลังกา พร้อมทั้งการรับเอาคติความเชื่อต่างๆ เข้ามาด้วยทางศาสนาด้วย

คติความเชื่อเหล่านั้นหยั่งรากมั่นคงในสุโขทัยเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์ที่ปกครองทุกพระองค์ได้ให้ความสนใจและเคารพนับถือ ยอมรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นหลักอบรมประชาชน เพื่อการปกครองและการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยเฉพาะคติเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทที่มีการจำลองไปไว้ที่อยุธยาด้วย เป็นเหตุให้คติความเชื่อเหล่านั้นได้สืบทอดเรื่อยมาจนถึงสมัยอยุธยา

@@@@@@@

๒.๔.๒ สมัยอยุธยา-ธนบุรี

ประวัติความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยา ปรากฏในประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑ กล่าวถึงการสร้างพระบาทศิลาคู่ไว้ ณ เมืองชัยนาท ในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ความว่า

     "...ให้ดำเนินการสลักรอยพระบาททั้งคู่ของสมเด็จพระกวิสรวรสุคต สัมมาสัมพุทธเจ้าเพียบพร้อมด้วยบรมมงคล ๑๐๘ แผ่ไปเต็มจักรอันวิจิตรต่างๆ เป็นที่ชื่นชูใจยิ่งนัก เช่นเดียวกับขนาดรัตนบทเจดีย์ที่พระบรมไตรโลกนารถ ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้ปรากฏบนยอดเขาสุมันตกูฏอันประเสริฐ เป็นมงกุฎแก้วของลังกาทวีป ที่ให้เกิดอภิรมย์แห่งใจบนแผ่นศิลากว้างใหญ่นี้ อันพระมหาเถระวิทยวงศ์ผู้เข้าใจในการจิตรกรรมเป็นอย่างดี นามาจากเมืองสุโขทัย โดยพระราชานุเคราะห์แห่พระมหาธรรมราชาผู้พระชนกแห่งพระบรมบาลธรรมราชนรบดี รอยพระพุทธยุคลบาทอันประดับด้วยจักร สมบูรณ์ด้วยรูปสวัสดิมงคล เป็นที่เจริญตาเจริญใจนี้ อันพระสิริสุเมธังกรสังฆนายก องค์ประธานสงฆ์ อานวยการสลัก โดยพระราชานุเคราะห์แห่งพระธีรราชธรรมราชาเจ้า"(-๔๓)

จากข้อความนี้ทาให้ทราบว่า รอยพระพุทธบาทในสมัยอยุธยานั้นได้รับอิทธิพลจากลังกา สืบเนื่องผ่านมาจากสมัยสุโขทัย มีการจำลองพระพุทธบาทที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่เขาสมุนกูฎเพียงแต่เป็นการจำลองผ่านสุโขทัยมาอีกทอดหนึ่งเท่านั้นเอง ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม(พ.ศ.๒๑๕๓-๒๑๗๑) ได้มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นรอยพระพุทธบาทของจริง ๑ ใน ๕ ตามหลักฐานของลังการะบุว่า พระพุทธเจ้าประทับไว้ ๕ รอย กับทั้งมีความเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาที่ประเทศไทยด้วย

ส่วนมูลเหตุของการค้นหารอยพระพุทธบาท เกิดจากการที่คณะสงฆ์ไทยเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเกาะลังกา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุมนกูฏ พระสงฆ์ลังกาจึงถามว่า เหตุใดไม่ไปสักการะที่เขาสุวรรณบรรพตในกรุงศรีอยุธยา พระสงฆ์เหล่านั้นจึงได้นำเรื่องนี้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จึงทำให้มีการขุดค้นหารอยพระพุทธบาททั่วราชอาณาจักร ในที่สุดก็มีผู้ค้นพบรอยพระพุทธบาทที่เมืองสระบุรี

ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ ว่า
    "ศักราช ๙๖๘ ปีมะเมีย อัฐศก ทางพระกรุณาให้พูนดินหน้าพระวิหารแกลบไว้เป็นที่สำหรับถวายพระเพลิง ในปีนั้น เมืองสระบุรีบอกมาว่า พรานบุญ(-๔๔) พบรอยเท้าอันใหญ่บนไหล่เขาเห็นประหลาด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดีพระทัย เสด็จด้วยพระที่นั่งเรือชัยพยุหบาตร พร้อมด้วยเรือเท้าพระยาสามนตราช ดาษดาโดยชลมารคนทีธาร ประทับท่าเรือ รุ่งขึ้นเสด็จพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ พร้อมด้วยคเชนทรเสนางคนิกรเป็นอันมาก...สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสทอดพระเนตรเห็นแท้เป็นรอยพระบรมพุทธบาท มีลายลักษณ์กรงจักรประกอบด้วยอัฏฐุตรสตมหามงคลร้อยแปดประการ สมด้วยพระบาลี แล้วต้องกับเมืองลังกาบอกเข้ามาว่า กรุงศรีอยุธยามีรอยพระพุทธบาทอยู่เหนือยอดเขาสุวรรณบรรพต"(-๔๕)

หลังจากมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทสระบุรี (ภาพที่ ๓) และเชื่อกันว่าเป็น “ของจริง” ตามหลักฐานและคำกล่าวอ้างของพระสงฆ์ลังกา จึงทำให้รอยพระพุทธบาทสระบุรีมีความโดดเด่นและมีความสำคัญขึ้นเป็นอย่างมาก เป็นที่เคารพนับถือทั้งในระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ขุนนาง อามาตย์มนตรี และประชาชนทั่วไป จนทำให้เกิดประเพณี “ไปพระบาท” สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญของรอยพระพุทธบาทสระบุรีดังกล่าวนี้ ทำให้ความสำคัญของรอยพระพุทธบาทที่จำลองมาจากเขาสุมนกูฎผ่านอาณาจักรสุโขทัยลดลงทันที ดังจะเห็นได้จากการให้จำลองรอยพระพุทธบาทสระบุรีไปยังเมืองต่างๆ เช่น โปรดให้หลวงสิทธิมหาดเล็กและหมื่นราชสังฆการี พร้อมด้วยพระครูธรรมไตรโลกนารถ จำลองไประดิษฐานไว้ที่วัดจุฬามณี อาเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ใน พ.ศ.๒๒๒๓ (-๔๖)

___________________________________________
อธิบายเพิ่มเติม : (-๔๔) มีตำนานเกี่ยวกับพรานบุญ เพิ่มเติมว่า พรานบุญได้ไปล่าเนื้อในป่าริมเชิงเขา ได้ใช้หน้าไม้ยิงถูกเนื้อตัวหนึ่งบาดเจ็บ เนื้อนั้นได้วิ่งหนีขึ้นไปบนไหล่เขาเข้าเชิงไม้ไป พอบัดเดี๋ยวก็เห็นเนื้อตัวนั้นวิ่งออกจากเชิงไม้ไปเป็นปกติดังเดิม พรานบุญแปลกใจจึงขึ้นไปดูบนไหล่เขานั้น ก็เห็นมีรอยอยู่ในศิลาเหมือนรอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณศอกเศษ มีน้ำขังอยู่ในรอยนั้น ก็สาคัญว่าเนื้อคงหายบาดเจ็บเพราะกินน้านั้น จึงตักเอามาลองลูบตัวดู บรรดากลากเกลื้อนที่ตนเป็นอยู่มาช้านานก็หายหมด

การจำลองรอยพระพุทธบาทสระบุรีไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการเมืองการปกครองของกรุงศรีอยุธยา นอกจากจะแสดงให้เห็นความสำคัญของรอยพระพุทธบาทสระบุรีที่เข้ามาแทนที่รอยพระพุทธบาทจำลองจากเขาสุมนกูฏได้อย่างชัดเจนแล้ว ในด้านการเมืองการปกครองนั้นคงจะเพื่อให้เป็นเครื่องหมายประกาศแสนยานุภาพ ทั้งทางการเมืองและทางธรรมเหนือหัวเมืองฝ่ายเหนือด้วย(-๔๗)

พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาอีกหลายพระองค์ ได้เสด็จมาทรงสักการบูชา และสมโภชพระพุทธบาทนี้เป็นนิจ บางพระองค์ก็ทรงปฏิสังขรณ์ และสถาปนาวัตถุสถานเพิ่มเติม อาทิ

พระเจ้าปราสาททองได้สร้างพระตำหนักที่ประทับขึ้นที่ธารทองแดง เพื่อใช้เวลาเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทให้ชื่อว่า ตาหนักธารเกษม กับให้ขุดบ่อน้า พร้อมทั้งสร้างศาลาราย ตามริมถนนไปสู่พระพุทธบาท เพื่อให้ใช้เป็นที่พักของผู้ที่มานมัสการ

ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินจากลพบุรีถึงเขาสุวรรณบรรพต ให้สร้างอ่างแก้วและกำแพงกันน้ำตามไหล่เขา เพื่อชักน้ำฝนไปลงอ่างแก้วให้ประชาชนใช้บริโภค

ในรัชสมัยสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี หรือพระเจ้าเสือ (พ.ศ.๒๒๔๖-๒๒๕๑) ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระมณฑปและดัดแปลงจากเดิมที่มียอดเดียวให้เป็นห้ายอด

ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระภูมินทราธิบดีหรือพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ.๒๒๕๑-๒๒๗๕) ได้ให้เอากระจกเงาแผ่นใหญ่ประดับฝาผนังข้างในพระมณฑปและปั้นลายปิดทองประกอบตามแนวที่ต่อกระจก

ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๒ หรือพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) ได้มีการปฏิสังขรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ สร้างบานประตูของมณฑปเป็นบานประตูประดับมุก จำนวน ๘ บาน

ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร หรือพระเจ้าเอกทัศน์ (พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐) เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.๒๔๐๙ พวกจีนอาสา จำนวน ๓๐๐ คน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองสวนพลู ได้พากันไปยังพระพุทธบาท แล้วลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑป และแผ่นเงินที่ปูลาดพื้นพระมณฑปไป แล้วเผาพระมณฑปเสีย เพื่อปกปิดการกระทำของตน พระพุทธบาทสระบุรีจึงถูกทิ้งร้างไร้การดูแลตั้งแต่เสียกรุงเป็นต้นมา

สมัยธนบุรียังคงสืบทอดคติความเชื่อเรื่องรอยพระพุทธบาทมาจากกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้ช่างเขียนขึ้น เพื่อรักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องไตรภูมิ เนื้อหาในสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรีคล้ายคลึงกับสมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา แม้จะแตกต่างกันในรายละเอียด

อย่างไรก็ตามสมุดภาพไตรภูมิทั้ง ๒ สมัย ล้วนปรากฏภาพวาดแผนที่โบราณซึ่งแสดงที่ตั้งของเมืองที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์และรอยพระพุทธบาทสำคัญ แสดงให้เห็นว่า คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทยังคงแพร่หลายและได้รับการสืบทอดอยู่ในอารยธรรมไทย พม่า ศรีลังกา เรื่อยมาโดยตลอดไม่ขาดสาย(-๔๘)


@@@@@@@

๒.๔.๓ สมัยรัตนโกสินทร์

ในยุคต้นรัตนโกสินทร์ ประชาชนยังคงเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีตามคติเดิมของชาวกรุงศรีอยุธยา แต่ว่าทางราชสานักไม่สู้จะนิยมมากนัก ดังจะเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้ง ๓ พระองค์ไม่เสด็จ “ไปพระบาท” ด้วยพระองค์เองเลยสักครั้ง

แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จไปอำนวยการปฏิสังขรณ์พระมณฑป พระองค์ได้ทรงมีพระราชศรัทธารับแบกตัวลำยองเครื่องบนหนึ่งตัว

ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนว่าพระองค์ไม่เลื่อมใสในพระพุทธบาทสระบุรี ดังมีพระราชดำรัสเชิงหยอกเหย้ารอยพระพุทธบาทว่า พระพุทธเจ้าได้ประทานพระธรรมเทศนาในหัตถิโทปมสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ว่า
     "ขนาดรอยเท้าสัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ในรอยเท้าช้างฉันท์ใด เหมือนกับธรรมทั้งหลายก็ย่อมอยู่ในอัปมาทธรรม ดังนี้ ถ้าพระพุทธองค์ได้ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้จริงไซร้ ก็จะทรงอุปมาว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลายย่อมอยู่ในรอยเท้าตถาคต เพราะรอยพระพุทธบาทใหญ่โตกว่า ๒ เท่ารอยเท้าช้าง"(-๔๙)

พระราชดารัสดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพระราชศรัทธาและความสนพระทัยใฝ่ศึกษาในพระพุทธศาสนา ด้วยทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน ชานาญในธรรม จึงทรงมีพระราชดารัสถึงรอยพระพุทธบาทโดยยกหลักฐานพระไตรปิฎกมาเทียบเคียง พระราชดารัสนี้แสดงออกชัดเจนว่า เป็นการขัดต่อพระพุทธพจน์โดยตรง หากรอยพระพุทธบาทนี้เป็นของจริงก็ย่อมใหญ่กว่ารอยเท้าช้าง แต่พระพุทธเจ้าได้รับรองแล้วว่า ในบรรดารอยเท้าสัตว์ทั้งหลาย รอยเท้าช้างใหญ่ที่สุด แต่รอยพระพุทธบาทนี้ใหญ่กว่ารอยเท้าช้าง เหตุใดพระพุทธเจ้าจึงไม่กล่าวถึง โดยนัยนี้ ย่อมแสดงว่าพระองค์ไม่เชื่อว่าเป็นรอยพระพุทธบาทของจริง (แต่อาจทรงเคารพนับถือในฐานะที่เป็นอุเทสิกเจดีย์)

จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระวินิจฉัยว่า พระพุทธบาทสระบุรีเป็นเพียงอุเทสิกเจดีย์หรือสิ่งที่ทาจำลองขึ้นเท่านั้น มิใช่รอยพระพุทธบาทของจริงดังที่กล่าวอ้างกันมาเช่นกรุงอยุธยา แต่ก็ทรงเห็นด้วยกับการสักการบูชา เพราะเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ และมีการเคารพกับสืบมาอย่างช้านาน ดังพระราชดารัสว่า
    “ข้อเท็จจริงในเรื่องตำนานพระพุทธบาทจะเป็นอย่างไรก็ตาม พระพุทธบาทก็ได้รับความรับรองเลื่อมใส นับถือ เป็นมหาเจดียสถานจากมหาชนมามากต่อมาก นับตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ถึงแม้จะเป็นเพียงอุเทสิกเจดีย์ก็ควรที่จะทำนุบำรุงไว้ เป็นของคู่บ้านคู่เมือง”(-๕๐)

จากพระราชดำรัสทำให้ทราบว่า แม้จะทรงเห็นว่าเป็นเพียงอุเทสิกเจดีย์ ไม่ใช่รอยพระพุทธบาทจริง แต่ก็ทรงให้การอุปถัมภ์ในฐานะที่เป็นมหาเจดียสถานที่บรรพกษัตริย์และประชาชนเคารพสักการะมาช้านาน ดังนั้น การอุปถัมภ์วัดพระพุทธบาทจึงยังคงเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ แต่การประเพณีเสด็จไปสักการะรอยพระพุทธบาทก็ไม่เป็นที่นิยมในราชสำนัก คงมีแต่เพียงแต่เจ้านายพระองค์อื่นๆ และราษฎรที่ยังเคารพเลื่อมใสและเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาท

ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมกุฏภัณฑเจดีย์ที่อยู่ใกล้พระมณฑปองค์หนึ่ง และสร้างเครื่องบนพระมณฑปใหญ่ กับสร้างพระมณฑปน้อย ทั้งให้เปลี่ยนแผ่นเงินปูพื้นพระมณฑป เป็นเสื่อเงินและได้ทรงยกยอดพระมณฑป พร้อมทั้งบรรจุพระบรมธาตุ ที่พระมกุฏภัณฑเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ๔ ครั้ง ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และซ่อมผนังข้างในพระมณฑป สร้างบันไดนาคทางขึ้นพระมณฑป จากเดิมที่มีอยู่สองสายเป็นสามสาย

และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปยกยอดพระมณฑป เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ พระพุทธบาทสระบุรีจึงเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน

@@@@@@@

โดยสรุปแล้ว พบว่า รอยพระพุทธบาทในประเทศไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย (สำหรับอาณาจักรล้านนา ผู้วิจัยจะกล่าวในบทที่ ๓) โดยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศศรีลังกา จากการเชื่อมสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนา ได้มีการส่งสมณทูตจากกรุงสุโขทัยไปประเทศศรีลังการ พระภิกษุเหล่านั้นได้จำลองรอยพระพุทธบาทมาจากยอดเขาสุมนกูฏมาสร้างไว้ที่กรุงสุโขทัย ตั้งชื่อเขาให้สอดคล้องตรงกันว่า สมุนกูฏบรรพต ปัจจุบันย้ายมาประดิษฐานที่วัดตระพังทอง

เมื่อสุโขทัยมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับอยุธยา คติความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทจึงสืบทอดไปยังกรุงศรีอยุธยาด้วย โดยได้จำลองไปไว้ที่จังหวัดชัยนาท ชาวอยุธยาได้เคารพสักการะรอยพระพุทธบาทจำลองนี้เรื่อยมา หลังจากการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของจริง ทำให้รอยพระพุทธบาทที่จำลองมาจากเขาสมุนกูฏที่ชัยนาทลดความสาคัญลง ความเลื่อมใสศรัทธาในรอยพระพุทธบาทสระบุรีเพิ่มทวีคูณขึ้น เมื่อกษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์ถือเป็นพระราชประเพณีในการไปสักการะรอยพระพุทธบาท จนสิ้นกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑-๓ ได้งดการเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแต่ได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงในฐานะที่เป็นเจดียสถานสาคัญคู่บ้านคู่เมือง ในรัชกาลที่ ๔ ได้ลดความสำคัญของรอยพระพุทธบาทสระบุรีจากบริโภคเจดีย์เป็นอุเทสิกเจดีย์ เช่นเดียวกับรอยพระพุทธบาทที่อื่นๆ คือ ล้วนแต่เป็นองค์จำลองทั้งนั้น แต่ก็ยังทรงให้ความเคารพสักการะ บูรณปฏิสังขรณ์ในฐานะที่เป็นเจดียสถานสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม สาหรับประชาชนทั่วไปก็ยังคงมีความเชื่อและความเลื่อมใสในรอยพระพุทธบาทเหมือนเดิมไม่เสื่อมคลาย
จนถึงปัจจุบัน


...ยังมีต่อ







อ้างอิง :-
(-๓๔) กรมศิลปากร, “พุทฺธปาทลกฺขณและรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย”, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทพรีสเกล จำกัด, ๒๕๓๖), หน้า ๕๗.
(-๓๕) จวน คงแก้ว, “ศึกษาวิเคราะห์พุทธบาทลักษณะที่สัมพันธ์กับหลักพุทธธรรม”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๕๘), หน้า ๓๖.
(-๓๖) ศรัณย์ ทองปาน, “พระบาทลังกา”, เมืองโบราณ, ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๐) : หน้า ๔๙.
(-๓๗) กรมศิลปากร, ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๑ จารึกกรุงสุโขทัย, (กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา, ๒๕๑๕),หน้า ๑๑๕.
(-๓๘) กรมศิลปากร, จารึกสมัยสุโขทัย, (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร, ๒๕๒๖), หน้า ๘๐-๙๑.
(-๓๙) สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะสุโขทัย, (กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ, ๒๕๔๐), หน้า ๑๐๔-๑๐๕.
(-๔๐) สุธนา เกตุอร่าม, “การสร้างรอยพระพุทธบาทสมัยพญาลิไท”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๓), หน้า ๓๒.
(-๔๑) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี, ประชุมศิลาจารึกภาค
ที่ ๔ : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย
อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, บาลีสันสกฤต, (พระนคร : สานักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๓),หน้า ๑๐๔.
(-๔๒) ปัทมา เอกม่วง, “การเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมบนรอยพระพุทธบาทที่วัดศรีโคมคา จังหวัด
พะเยาและที่วัดพระพังทอง จังหวัดสุโขทัย”, สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ,
(บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙), หน้า ๒๐-๒๑.
(-๔๓) สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๐) , ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑, (ม.ป.ท., ม,ป.ป.),หน้า ๒๗.
(-๔๔) มีตำนานเกี่ยวกับพรานบุญ เพิ่มเติมว่า พรานบุญได้ไปล่าเนื้อในป่าริมเชิงเขา ได้ใช้หน้าไม้ยิงถูกเนื้อ
ตัวหนึ่งบาดเจ็บ เนื้อนั้นได้วิ่งหนีขึ้นไปบนไหล่เขาเข้าเชิงไม้ไป พอบัดเดี๋ยวก็เห็นเนื้อตัวนั้นวิ่งออกจากเชิงไม้ไปเป็นปกติดังเดิม พรานบุญแปลกใจจึงขึ้นไปดูบนไหล่เขานั้น ก็เห็นมีรอยอยู่ในศิลาเหมือนรอยเท้าคน ขนาดยาวประมาณศอกเศษ มีน้้ำขังอยู่ในรอยนั้น ก็สาคัญว่าเนื้อคงหายบาดเจ็บเพราะกินน้ำนั้น จึงตักเอามาลองลูบตัวดู บรรดากลากเกลื้อนที่ตนเป็นอยู่มาช้านานก็หายหมด
(-๔๕) กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ๒, (กรุงเทพมหานคร : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๘ ), หน้า ๒.(-๔๖) สานักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๐) , ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑, หน้า ๓๒.
(-๔๗) นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาท ในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์, หน้า ๓๒.
(-๔๘) วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์, “คติความเชื่อเรื่องพระพุทธบาทสระบุรีและประเพณี “ไปพระบาท” ในการสร้างสรรค์วรรณคดีไทย”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, หน้า ๒๘.
(-๔๙) กรมศิลปากร, ตานานพระพุทธบาท อธิบายเรื่องพระบาท นิราศพระบาทและลิลิตทศพร,(พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๕๑๑), หน้า ๓๐.
(-๕๐) กรมศิลปากร, ตานานพระพุทธบาท อธิบายเรื่องพระบาท นิราศพระบาทและลิลิตทศพร, หน้า ๓๐.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2023, 02:37:08 pm »
0

(ยังไม่สมบูรณ์ รอแก้ไข)

๒.๕ สัญลักษณ์บนรอยพระพุทธบาท

ลักษณะรอยพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นในอินเดีย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๓ ณ เสาสถูปที่เมืองภารหุต และสาญจีนั้น มีลักษณะตามที่กล่าวไว้ในลักขณสูตร ซึ่งได้กล่าวถึงลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ ประการ โดยกล่าวถึงลักษณะของอวัยวะต่างๆ ของพระพุทธเจ้าที่มีลักษณะพิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาทั่วไป เพราะมีความโดดเด่นและสง่างาม เหตุนั้นจึงชื่อว่า ลักษณะของมหาบุรุษ ในลักษณะทั้ง ๓๒ ประการนั้น ได้กล่าวถึงลักษณะของพระบาทไว้ ๕ ประการ ดังนี้(-๕๑)

๑) มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระบาทราบเสมอกันนี้เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ พื้นฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน เมื่อเหยียบก็เหยียบถึงพื้นพร้อมกัน เมื่อยกก็พ้นจากพื้นพร้อมกัน ทรงจรดพื้นด้วยฝ่าพระบาทอันเรียบ

ลักษณะมหาปุริสลักษณะเช่นนี้ เกิดจากในอดีตชาติเป็นผู้ยึดมั่นในบุญกุศล บำเพ็ญทาน รักษาศีล ผู้ได้ลักษณะมหาบุรุษดังกล่าว ย่อมมีคติเป็น ๒ นัย คือ
    หากอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีดินแดนอันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต มีอาณาจักรมั่นคง ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประกา รคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้วขุนพลแก้ว ขุนคลังแก้ว จะมีพระราชโอรสมากถึง ๑,๐๐๐ องค์ เป็นผู้มีความแกล้วกล้า สามารถเอาชนะข้าศึกได้ และทรงชนะได้โดยธรรมเสมอ มั่งคั่ง ไม่มีศัตรู
    หากออกผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงตัดกิเลสได้ทั้งสิ้น เป็นผู้ไม่มีศัตรูภายนอกและภายใน คือ ราคะ โทสะ และโมหะ

๒) พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของมหาบุรุษ มีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง ข้อที่พื้นฝ่าพระบาททั้งสองของมหาบุรุษมีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่างนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ใต้ฝ่าพระบาททั้งสอง มีจักร มีซี่กำหนึ่งพัน มีกง มีดุม มั่นคงสมบูรณ์

เกิดจากกุศลในอดีตชาติ อันเป็นผู้นำความสุขสู่ชนหมู่มาก ปกปักรักษาให้ความคุ้มครอง บรรเทาความหวาดกลัวทุกข์ภัยต่างๆ และให้ทานด้วยวัตถุผู้มีลักษณะนี้ย่อมมีคติเป็น ๒ นัย คือ
     ถ้าอยู่ครองเมืองจะเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นผู้มีบริวารมากคือมีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอามาตย์เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอามาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้าเศรษฐี เป็นกุมาร
     หากทรงผนวชจะเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ มีบริวารมาก คือบริวารเป็นภิกษุ ภิกษุณี เป็นอุบาสกเป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์

๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป ข้อที่มหาบุรุษมีส้นพระบาทยื่นยาวออกไปนี้เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ส้นพระบาทยาว นิ้วพระบาทยาวอ่อน เกิดจากในชาติก่อนเป็นผู้ละเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ให้ความเมตตากรุณาต่อ ผู้มีลักษณะอย่างนี้ย่อมมีอายุยืนนาน ไม่มีผู้ใดสามารถ ปลงชีวิตเมื่อยังไม่ถึงกาลได้

๔. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม ข้อที่มหาบุรุษมีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่มนี้เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ หลังพระบาทมีมังสะอูม เกิดจากกุศลในอดีตชาติเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยวควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้าที่ควรดื่ม มีความประณีต มีรสอร่อย ผู้มีลักษณะดังนี้ย่อมได้ของที่ควรเคี้ยว ของ ที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ าที่ควรดื่ม มีความประณีต มีรสอร่อย

๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่ายข้อที่มหาบุรุษมีฝ่าพระหัตถ์แลฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่ายนี้ เป็นลักษณะมหาบุรุษของมหาบุรุษ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม และมีลายดังตาข่าย อันเป็นลักษณะซึ่งเกิดจากในอดีตชาติเป็นผู้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
    เป็นผู้ให้ ๑
    เป็นผู้ประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑
    เป็นผู้กล่าวไพเราะ ๑
    เป็นผู้มีความรักใคร่และเกื้อกูลแก่ชนทั้งหลายโดยเสมอกัน ๑
ผู้มีลักษณะเช่นนี้มีคติกล่าวไว้ ๒ นัย คือ หากเป็นผู้อยู่ครองเรือนก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หากทรงผนวชจะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า


@@@@@@@

รอยพระบาทที่สร้างขึ้นตามคติอินเดียนี้ พบว่ามีการกระท าพุทธบาทลักษณะเป็นรูปธรรมจักรขนาดใหญ่กลางฝ่าพระบาท ประกอบด้วยซี่ กงและกระดุม ไม่ปรากฏลายลักษณ์อื่นๆ

รูปธรรมจักรที่ปรากฏในฝ่าพระบาทเป็นลักษณะแทนองค์พรพุทธเจ้าอันแสดงถึงบุญบารมีที่ได้ทรงสะสมมาตั้งแต่อดีตชาติ และถึงพร้อมซึ่งความเป็นมหาบุรุษรอยพระพุทธบาทที่ได้สร้างขึ้นในสมัยต่อมา พบว่ามีพุทธบาทลักษณะที่ได้เพิ่มรูปมงคลขึ้นเป็นจานวนมาก มีลักษณะการเรียงตัวค่อนข้างเป็นระเบียบ แตกต่างจากที่กล่าวไว้ในมหาปทานสูตรในพระสุตตันตปิฎก คือ ทำเป็นมงคล ๑๐๘ ประการในฝ่าพระบาท

คติในการทำลายลักษณ์เช่นนี้พบว่า มีกล่าวไว้ในมหาปทานสูตร ในคัมภีร์ชินาลังการฎีกา ที่แต่งขึ้นโดยพระพุทธรักขิตตะแห่งประเทศศรีลังกา ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔(-๕๒) รูปมงคลที่นิยมทำกันคือ คันฉ่อง ขอช้าง หอยสังข์ ภัทรบิฐ ตรีรัตน หม้อน้า ศรีวัตสะ สวัสดิกะ และวัทธมาน ซึ่งหมายถึงภาชนะบรรจุของ เครื่องหมายมงคลเหล่านี้มีความหมายในเชิงโชคลาภ ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญยั่งยืน ยศ ศักดิ์ และอำนาจ

การทาลายลักษณ์รูปมงคลบรรจุเต็มทั้งฝ่าพระบาทในอินเดียนี้ไม่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ใด แต่ทาขึ้นเพื่อผนวกคติมงคล ๘ เข้ากับการบูชารอยพระพุทธบาท ผู้เคารพบูชารอยพระพุทธบาทย่อมเท่ากับบูชาพระพุทธเจ้าและได้ความมีโชคลาภต่างๆด้วย

ลักษณะรอยพระพุทธบาทซึ่งมีลายลักษณ์เช่นนี้ ได้พบการทำสืบต่อมาในศรีลังกาด้วย ความที่ปรากฏในมหาปทานสูตร ในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาว่า ในฝ่าพระบาทพระพุทธเจ้ามีลายลักษณ์ ๑๐๘ อย่างนั้น จึงน่าจะเป็นการพัฒนาแนวความคิดสืบต่อจากอินเดียไปอีกระดับหนึ่ง

ดังจะเห็นได้จากมงคลทั้ง ๑๐๘ ประการ ประกอบไปด้วยมงคลต่างๆ ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น สัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการนั้น จะจำหลักภายในช่องตาราง ๙ ช่อง เรียงลาดับจากนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง จนถึงนิ้วก้อย แสดงเครื่องหมายมงคลตามภูมิสูงต่ำในแนวตั้ง ที่สัมพันธ์กับไตรภูมิทางพระพุทธศาสนา

   เริ่มด้วยพรหมโลก ๑๖ ชั้น วางเรียงอยู่ในแนวนอนชั้นบนสุด ๒ แถวจากใต้นิ้วพระบาท
   เทวโลก ๖ ชั้นวางเรียงในแนวนอนชั้นบนเป็นลำดับที่สาม
   ต่อด้วยเครื่องหมายมงคล ๘๕ ประการของมนุสสโลก เริ่มต้นด้วยสุริยะ(พระอาทิตย์) เมรุ(เขาพระสุเมรุ) จนทิมา (พระจันทร์) นขตตา(หมู่ดาว) สมุทโท(มหาสมุทรทั้ง ๔) และที่เหลือของมนุสสโลก รวมทั้งเรื่องราวในจักรวาลและไตรภูมิ(ภาพที่ ๔)
   ซึ่งทิศทางของระเบียบและการจัดลำดับเครื่องหมายมงคล ๑๐๘ ประการนี้ สามารถพิจารณาวิวัฒนาการและช่วยในการกำหนดอายุรอยพระบาทได้ด้วย

สำหรับในประเทศไทยนั้น รูปพระบาทและรอยพระบาทสมัยรัตนโกสินทร์ นิยมบรรจุสัญลักษณ์ของมงคล ๑๐๘ ลงในตารางดังที่ทำกันมาในสมัยสุโขทัยและอยุธยา วงกลมกลางฝ่าพระบาทที่เคยเป็นธรรมจักรไม่มีสัญลักษณ์แทรกในวง และมักจะกลายเป็นรูปดอกบัวบานอันเป็นสัญลักษณ์ของโลก ตัวอย่างที่สำคัญคือ ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ภาพที่ ๒.๕ และภาพที่ ๒.๖)

@@@@@@@

เนื่องจากสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ประการที่ปรากฏในรอยพระบาทนั้นมีความแตกต่างกันตามยุคสมัย มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกันบ้าง ในงานวิจัยนี้จะนำเสนอสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ ที่ปรากฏที่รอยพระพุทธบาทของพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร(ภาพที่ ๒.๕ และภาพที่ ๒.๖) เพื่อแสดงตัวอย่างให้พอเข้าใจ พร้อมทั้งคำอธิบายของแต่ละสัญลักษณ์มงคล ดังนี้(-๕๓)

     มงคลที่ ๑. ปาริสัชชาพรหม ผู้ที่อุบัติในภูมินี้คือผู้บรรลุปฐมฌานชั้นสามัญ ประกอบด้วยวิตก วิจาร ปิติสุข และเอกัคคตา เป็นบริวารของท้าวมหาพรหมซึ่งสถิตอยู่ในมหาพรหมภูมิ
     มงคลที่ ๒. ปโรหิตาพรหม เป็นปุโรหิตของท้าวมหาพรหม บุคคลที่อุบัติในพรหมชั้นนี้ ได้บรรลุปฐมฌานชั้นกลาง
     มงคลที่ ๓. มหาพรหม ภูมิของบุคคลที่ได้บรรลุปฐมฌานขั้นประณีต เป็นประมุขของพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ
     มงคลที่ ๔. ปริตรตาภาพรหม ภูมิของบุคคลที่ได้บรรลุปฐมฌานขั้นสามัญ ประกอบด้วยวิจาร ปิติสุข และเอกัคคตา
     มงคลที่ ๕. อัปปมาณาพรหม ภูมิของบุคคลผู้บรรลุทุติยฌานขั้นกลาง มีรัศมีรุ่งเรืองหาที่ประมาณมิได้
     มงคลที่ ๖. อาภัสราพรหม ภูมิของบุคคลผู้บรรลุทุติยฌานขั้นประณีต เป็นใหญ่กว่าพรหมทุติฌานอื่นๆ ประกอบด้วยรัศมีรุ่งโรจน์แผ่ซ่านออกจากกายตลอดเวลา
     มงคลที่ ๗. ปริตรสุภาพรหม ภูมิของบุคคลผู้บรรลุตติยฌานขั้นสามัญ ประกอบด้วยปิติ สุข และเอกัคคตา
     มงคลที่ ๘. อัปปมานสุภาพรหม ภูมิของบุคคลผู้บรรลุตติฌานขั้นกลาง
     มงคลที่ ๙. สุภกิณหกาพรหม ภูมิของบุคคลผุ้บรรลุตติยฌานขั้นประณีต เป็นประมุขของพรหมทั้งปวงในตติยฌานภูมิ

     มงคลที่ ๑๐. เวหัปผลาพรหม ภูมิของบุคคลทีได้บรรลุจตุตถฌานขั้นสูงสุด ประกอบด้วยสุข และเอกัคคตา พ้นจากการทำลายล้างทั้งปวง
     มงคลที่ ๑๑. อสัญญีสัตตาพรหม ภูมิหนึ่งของผู้บรรลุต่อฌานชั้นสูงสุด มีภาวะอันนิ่งอยู่ในอิริยาบถเดียว ปราศจากสัญญา เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า พรหมลูกฟัก
     มงคลที่ ๑๒. อวิหาสุทธาวาสพรหม ตั้งแต่อวิหาพรหมไปจนถึงอกนิฎฐพรหม จัดเป็นชั้นสุทธาวาสผู้อุบัติในอวิหาพรหม เป็นพระอนาคามีบุคคล เจริญในสัทธินทรีย์ คือ มีศรัทธาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น
     มงคลที่ ๑๓. อตัปปาสุทธาวาสพรหม ภูมิของพระอนาคามีบุคคลผู้เจริญในฌาน สมาบัติปราศจากนิวรณธรรม ปราศจากความเดือดร้อนในจิต
     มงคลที่ ๑๔. สุทัสสาสุทธาวาสพรหม ภูมิของพระอนาคามีบุคคลเจริญด้วยสตินทรีย์ มีสติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น สามารถเห็นแจ้งในสภาวธรรม
     มงคลที่ ๑๕. สุทัสสีสุทธาวาสพรหม ภูมิของพระอนาคามีบุคคล เจริญในสมาธิอินทรีย์ มีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น
     มงคลที่ ๑๖. อกนิฏฐสุทธาวาสพรหม ภูมิของพระอนาคามีบุคคลผู้เจริญในปัญญินทรีย์ กอปรด้วยปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อื่น พระอนาคามีบุคคลที่อุบัติในสุทธาวาสภูมิที่ต่าลงไป หากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์จะมาบังเกิดในอกนิฎฐพรหมและปรินิพพานในชั้นนี้
     มงคลที่ ๑๗. สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ตั้งอยู่เหนือยอดเขายุคนธร เป็นที่สถิตของท้าวจตุโลกบาลผู้รักษาทิศทั้ง ๔ คือ ท้าวธตรฐรักษาทิศตะวันออก ท้าววุรุฬหกรักษาทิศใต้ ท้าววิรูปักข์รักษาทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวัณ รักษาทิศเหนือ
     มงคลที่ ๑๘. สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่เหนือยอดเขาพระสิเนรุราชหรือเขาพระสุเมรุ มีสุทัสสนมหานครเป็นศูนย์กลาง เป็นที่สถิตของท้าวสักกเทวราช ประกอบด้วยทิพยสมบัติต่างๆ เช่น ไพชยนตพิมาน พญาช้างเอราวัณแท่นบัณฑุกัมพล ไม้ปาริจฉัตตกะ เป็นต้น


     @@@@@@@

     มงคลที่ ๑๙. สวรรค์ชั้นยามา สวรรค์ชั้นนี้อยู่เหนือวิถีโคจรของพระจันทร์และพระอาทิตย์สว่าง รุ่งโรจน์ด้วยรัศมีเครื่องประดับของเทวดาทั้งปวง ปราศจากอุปัทวันตรายเบียดเบียน
     มงคลที่ ๒๐. สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นที่อุบัติของผู้มีบุญญาภินิหาร เช่น พระโพธิสัตว์ ๓ จาพวกคือปัญญาธิกโพธิสัตว์ สัททาธิกโพธิสัตว์ วิริยาธิกโพธิสัตว์ พุทธบิดาและพุทธมารดา เป็นต้น
     มงคลที่ ๒๑. สวรรค์ชั้นนิมมานนรดี เทพดาในสวรรค์ชั้นนี้ ประกอบด้วยบุญฤทธิ์ ประสงค์ทิพยสมบัติสิ่งใดก็เนรมิตขึ้นสำเร็จดังปรารถนาทุกประการ
     มงคลที่ ๒๒. สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เทพยดาในสวรรค์ชั้นนี้ปรารถนาทิพสมบัติใด ๆเพียงแต่นึกก็มีเทพยดาอื่นมาเนรมิตให้สมดังปรารถนาทุกสิ่ง เป็นที่สถิตของพญาวสวัสดีมารที่น าพลไปประจญพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ณ รัตนบัลลังก็ร่มมหาโพธิพฤกษ์
     มงคลที่ ๒๓. ดอกพุดซ้อน (บางแห่งว่าดอกอุทุมพร) มงคลข้อนี้แปลจากศัพท์ “นนทิยาตต” ที่มีความหมายว่า “วงหมุนที่พึงยินดี” เปรียบได้กับแนวขนของราชสีห์ที่เวียนเป็นทักษิณาวัฎ ในคัมภีร์พุทธปาทลักขณะจึงเปรียบมงคลข้อนี้ว่า พระพุทธองค์ประดุจพญาราชสีห์และใช้สัญลักษณ์ดอกพุดซ้อนแทนวงขนของราชสีห์
     มงคลที่ ๒๔. เถาวัลย์แก้ว หมายถึง พุทธสิริมงคลอันเจริญยิ่งที่ยังผองสัตว์ให้บรรลุมรรคผลและ นิพพาน
     มงคลที่ ๒๕. พระแสงหอก หมายถึง มงคลข้อนี้ในคัมภีร์พุทธปาทลักษณะ คัมภีร์ชินาลังการฎีกาและปฐมสมโพธิกถากล่าวไว้เป็นลำดับแรก มีความหมายถึง มูลกรรมฐานซึ่งภิกษุพุทธสาวกเพียรปฏิบัติจนบรรลุมรรคผลหรืออีกนัยหนึ่งเปรียบได้กับ พระอรหัตมรรคญาณ อรหัตผลญาณของพระพุทธเจ้า ที่สามารถขจัดข้าศึกอันเป็นกิเลสทั้งปวงของสรรพสัตว์
     มงคลที่ ๒๖. พระแสงขอ เป็นเครื่องแสดงว่าพระพุทธองค์ทรงยังเวไนยสัตว์ให้บรรลุมรรคผล และนิพพาน ฉุดให้พ้นจากอกุศลกรรม ดุจดังควาญช้างบังคับช้างด้วยขอ
     มงคลที่ ๒๗. พระแสงขรรค์ เปรียบได้กับพระอรหัตมรรค พระอรหัตผล ที่สามารถขจัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

     มงคลที่ ๒๘. พระมหามงกุฎ เป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบความเป็นราชา“กกุธภัณฑ์” แปลว่า สิ่งของแห่งผู้ทรงไว้ซึ่งฟู่และดินมหามงกุฎ เป็นรัตนมงคลแสดงความหมายว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นธรรมราชา ตรัสรู้แจ้งในธรรมทั้งมวล
     มงคลที่ ๒๙. เศวตฉัตร เป็นรัตนมงคลอันยอดเยี่ยมเปรียบได้กับพระสัพพัญญุตญาณสามารถขจัดกิเลสมลทินทั้งปวง ความหมายอีกนัยหนึ่งว่า วงรอบฉัตรเปรียบกับพุทธวรกายที่บริบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ส่วนที่ประกอบเป็นฉัตรทั้งหมดหมายถึงลักษณะย่อยหรืออนุพยัญชนะและธรรมกาย ยอดฉัตรหมายถึงพระสัพพัญญุตญาณ
     มงคลที่ ๓๐. กุณฑล (พวงดอกไม้ประดับหู อุบะ) คัมภีร์พุทธปาทลักษณะเปรียบกับดอกไม้แก้ว หมายถึง วชิรญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า
     มงคลที่ ๓๑. สังวาล เปรียบได้กับฌานสมาบัติ ดังปรากฏในร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมาร ส านวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ว่า “พระบิดาจะทรงเครื่องต้น มงคลพิไชยส าหรับกษัตริย์ ดังจะเอาพระสมาบัติกระหวัดทรงเป็นสร้อยสังวาลวงอยู่ สรรพเสร็จ” ในคัมภีร์พุทธปาทลักขณะว่า เปรียบดังผ้าบังสุกุลพัสตร์อันเป็นผ้าทรงของพระอรหันต์
     มงคลที่ ๓๒. ประสาท หมายถึง รัตนปราสารทเป็นสัญลักษณ์ของมหานิพพานนครอันเป็นแดนเกษม
     มงคลที่ ๓๓. เสลี่ยงทอง มงคลข้อนี้ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาว่า “สุวณฺณสีวิกา” คือ เสลี่ยงทองหรือสีวิกาทอง แต่ในคัมภีร์พุทธปาทลักขณะใช้ว่า “ไตรนปาฏงดี” แปลว่า พระเก้าอี้แก้ว มงคลข้อนี้หมายถึงรัตนบัลลังก์อันเป็นที่ตรัสรู้
     มงคลที่ ๓๔. พระแท่นภัทรบิฐ เปรียบได้กับพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ซึ่งพระพุทธองค์เสด็จประทับโปรดพุทธมารดาและแสดงสัตตัปปกรณาภิธรรมโปรดเทวดาในหมื่นจักรวาฬ
     มงคลที่ ๓๕. พัชนี เปรียบดังพระพุทธองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณด้วยการประทานพระธรรมค าสอน ยังความเยือกเย็นแก่สัตว์ทั้งหลาย
     มงคลที่ ๓๖. พนมหางนกยูง คัมภีร์พุทธปาทลักขณะแปลมงคลข้อ “โมรหตฺถ” ว่ากาหางนกยูงในลายลักษณ์ประดับมุกนี้ทาเป็นรูปพนมหางนกยูง หมายถึง พระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์

     @@@@@@@

     มงคลที่ ๓๗. สังข์ทักษิณาวัฎ เครื่องหมายมงคลนี้ทางลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้า ใช้ประกอบในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เป็นสวัสดิมงคล คัมภีร์พุทธปาทลักขณะ อธิบายความหมายว่า พระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมให้กึกก้องดังเสียงสังข์
     มงคลที่ ๓๘. พญาช้างเอราวัณ เป็นเทวพาหนะของท้าวสักกเทวราช เอราวัณเทพบุตรนิรมิตกายเป็นพญาช้างมี ๓๓ เศียร แต่รูปช้างเอราวัณที่ปรากฏในศิลปกรรมไทยมักทาย่อลงเหลือเพียง ๓ เศียร
     มงคลที่ ๓๙. พัดโบก แปลจากศัพท์ “สุวณฺณจามโร” คัมภีร์พุทธปาทลักขณะอธิบายความหมายว่า พระพุทธองค์ทรงกอปรด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่เยือกเย็นแก่ชาวโลก
     มงคลที่ ๔๐. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ ได้แก่ ภูเขาที่ล้อมรอบภูเขาพระสุเมรุ มีทั้งหมด ๗ ชั้น ชั้นแรก คือภูเขายุคนธร เป็นชั้นวิถีโคจรของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
     มงคลที่ ๔๑. จันทรมณฑล พระจันทร์เทวบุตรทรงรถเทียมด้วยม้าขาวโคจรรอบภูเขาพระสุเมรุทิพยวิมานของพระจันทรภายในล้วนแล้วด้วยแก้วมณี ภายนอกล้วนแล้วด้วยเงิน
     มงคลที่ ๔๒. ภูเขาพระสิเนรุราชหรือภูเขาพระสุเมรุ ประดิษฐานในท่ามกลางจักรวาลเป็นราชาแห่งเขาทั้งปวง ประกอบด้วยรัตนชาติงามวิจิตร
     มงคลที่ ๔๓. กลุ่มดาวนักษัตร ลายลักษณ์ฝุาพระพุทธบาทประดับมุกแสดงรูปกลุ่มดาว นักษัตรไว้ด้านซ้ายและด้านขวาของภูเขาพระสุเมรุ แทนกลุ่มดาว ๒๗ กลุ่ม ได้แก่ อัสสนี กฤติกา ภรณี มาฆะ เรวดี จิตระ อสิเลสะ เชษฐะ มฤคศิระ สาวนะ สวัสติ อุตราษาฒ บูรพาษาฒ ปุนัพพสุมูละ อทระ วิสาขะ อนุราธะ โรหิณี อุตรผลคุณี บุพพผลคุณี ปุสสะ สตภิสชะ ธนิษฐา หัฎฐะ บุพพภัทระและอุตรภัทระ
     มงคลที่ ๔๔. สุริยมณฑล พระสุริยเทวบุตรทรงรถเทียมด้วยราชสีห์ โคจรรอบภูเขาพระสุเมรุ ทิพยวิมานของสุริยะเทพบุตรนั้นภายในล้วนแล้วด้วยทอง ภายนอกล้วนด้วยแก้วผลึก
     มงคลที่ ๔๕. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๒ มีนามว่าอิสินธร เป็นที่อาศัยของหมู่ฤษีที่ทรงตบะเตชะทั้งปวง

     มงคลที่ ๔๖. พัดใบตาล มงคลข้อนี้แปลจากศัพท์ “ตาลวณฎ” และ “ตาปณณ” จัดเป็นพัชนีอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างทาด้วยขนหางจามรี ๑ ทาด้วยขนหางนกยูง ๑ ทาด้วยผ้า ๑ ทาด้วยใบไม้ต่างๆ ๑ และทาด้วยใบตาล ๑ คัมภีร์พุทธปาทลักขณะอธิบายว่า หมายถึง พระมหากรุณาธิคุณที่ประทานธรรมอันเยือกเย็นแก่สรรพสัตว์
     มงคลที่ ๔๗. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๓ มีนามว่ากรวิก เป็นที่อยู่ของบรรดานกการเวกซึ่งมีเสียงไพเราะยิ่งนัก
     มงคลที่ ๔๘. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๔ มีนามว่าสุทัสสนะ ประกอบด้วยโอสถทิพย์และว่านยาที่มีสรรพคุณวิเศษเป็นอันมาก
     มงคลที่ ๔๙. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๕ มีนามว่าเนมินธร ประกอบด้วยดอกปทุมชาติโตเท่ากงเกวียนบังเกิดจากสระที่อยู่บริเวณภูเขานั้น
     มงคลที่ ๕๐. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๖ มีนามว่าวินตกะ เป็นที่อยู่แห่งมารดาของพญาครุฑประกอบด้วยตระพังศิลากว้างประหนึ่งแม่น้ำใหญ่
     มงคลที่ ๕๑. ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ชั้นที่ ๗ มีนามว่าอัสสกรรณ มีสัณฐานดังหูม้า ประกอบด้วยป่าไม้กายานเป็นจำนวนมาก
     มงคลที่ ๕๒. พญานกจากพราก อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ มั่นคงในคู่ ๑ มักน้อยในการบริโภค ๑ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ๑
     มงคลที่ ๕๓. กินนร ครั้งหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นจันทกินนร มีชายาคือนางจันทกินรี ท้าวพรหมทัตแผลงศรประหารหมายจะได้นางจันทกินรีไปเป็นมเหสี พระโพธิสัตว์ไม่โกรธคัมภีร์พุทธปาทลักขณะอธิบายว่า รัตนมงคลข้อนี้หมายถึงความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน
     มงคลที่ ๕๔. กินรี นางจันทกินรีชายาพระโพธิสัตว์มีความจงรักภักดีต่อสามีคร่าครวญอยู่ด้วยความโศก ร้อนถึงพระอนิทร์ลงมาชุบชีวิตให้พระโพธิสัตว์ มงคลข้อนี้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน

     มงคลที่ ๕๕. จักรวาฬ ภาพจักรวาลที่ปรากฏในลายลักษณ์ฝุาพระพุทธบาทนี้ทาเป็นจักร(วงล้อ) รูปวงกลมประดิษฐานอยู่กลางฝ่าพระบาท หมายถึง พระอนันตญาณที่ลึกซึ้งไม่มีที่สิ้นสุด
     มงคลที่ ๕๖. พญาหงส์ เป็นสัตว์หิมพานต์พวกหนึ่ง ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา จำแนกหงส์ออกเป็น ๕ ชนิด คือ ติณหงส์สีเขียวดังใบหญ้าคา บัณฑุหงส์สีเหลืองดังใบไม้เหลือง มโนศิลา หงส์สีดัง มโนศิลา เสตหงส์สีขาวบริสุทธิ์และปากหงส์มีขนเป็นทองคำ
     มงคลที่ ๕๗. พญาครุฑ อาศัยอยู่ ณ สิมพลีวัน (ป่าไม้งิ้ว) เชิงภูเขาพระสุเมรุ หมายถึงพระวชิรญาณอันก าจัดกิเลสซึ่งเป็นข้าศึกทั้งปวง ดุจดังพญาครุฑกำจัดเหล่านาคผู้เป็นศัตรูได้อย่างราบคาบ
     มงคลที่ ๕๘. พญาโคอุสุภราช อาศัยอยู่ ณ เชิงภูเขาบัณฑุศิริบรรพตในป่าหิมพานต์ มีกำลังมากเป็นใหญ่แก่โคทั้งหลาย เป็นพาหนะของมหิสสรเทวบุตร
     มงคลที่ ๕๙. โคแม่ลูก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในโคตมโคตร คัมภีร์พุทธปาทลักขณะอธิบายว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาธิคุณต่อชาวโลกดุจแม่โคมีใจรักเมตตาลูกของตน
     มงคลที่ ๖๐. พญาราชสีห์ อาศัยอยู่ในปุาหินพานต์ มี ๔ จำพวก คือ ติณสีห์สีกายดังนกพิราบกินหญ้าเป็นอาหาร กาฬสีห์สีกายดากินหญ้าเป็นอาหาร บัณฑุสีห์สีกายเหลืองกินเนื้อเป็นอาหาร และไกรสรสีห์ปากแดงเท้าแดง ปลายหางแดง สีกายขาวบริสุทธิ์ มีขนสร้อยคออันงามกินเนื้อเป็นอาหาร
     มงคลที่ ๖๑. พญาเสือโคร่ง มงคลข้อนี้แปลจากศัพท์ “พฺยคฺมราชา” ในลายลักษณ์ประดับมุกนี้มีเพียงมงคลข้อว่าด้วยพญาเสือโคร่งไม่ปรากฏ “ทีปิราชา” (พญาเสือเหลือง) ตามที่ระบุในคัมภีร์พุทธปาทลักขณะ พฺยคฺฆราชา เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า   
     มงคลที่ ๖๒. พัดใบตาล (ตาลปัณณัง) ท่านหมายว่า ใบตาลแก้ว คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาธรรมอันเยือกเย็นไว้ในหัวใจของชาวโลกทั้ง ๓ โลก ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์
     มงคลที่ ๖๓. เต่าทอง (สุวัณโณกัจฉโป) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดกิเลสด้วยวชิรญาณ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณกัจฉโป


หมายเหตุ : มงคลที่ ๖๒-๖๗. ไม่ปรากฏในงานชิ้นนี้ ผู้โพสต์นำมาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=689.0
     
     @@@@@@@

     มงคลที่ ๖๔. แม่โคลูกอ่อน (สุวัจฉกา คาวี) หมายถึง พระพุทธองค์ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ มีชื่อว่า อมตมหานิพพาน แก่ชาวโลกทั้ง ๓ ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ดุจแม่โคที่มีใจเมตตารักลูกของตน
     มงคลที่ ๖๕. กินนร (กินนโร) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนโร
     มงคลที่ ๖๖. กินนรี (กินนรี) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงประกอบ ด้วยพระมหากรุณาไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ทั้งหมด จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนรี
     มงคลที่ ๖๗. นกการเวก (กรวิโก) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม คือ มรรคผลนิพพาน คือ โลกุตตรธรรม ๙ แก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะยิ่งนัก ดังนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กรวิโก หรือ การะเวก
     มงคลที่ ๖๘. ธงชาย ไตรภูมิโลกวินิจฉัยกล่าวว่า เมื่อเกิดสงครามใหญ่ระหว่างเทวดากับอสูรฝ่ายเทวบุตรกาหนดให้ไพล่พลแลดูปลายธงชัยแห่งจอมทัพเพื่อขจัดความสะดุ้งกลัวเมื่อเข้าสู่สงครามเปรียบธงชัยกับพระพุทธคุณซึ่งขจัดความสะดุ้งกลัวในอันตรายทั้งมวล
     มงคลที่ ๖๙. สระใหญ่ทั้ง ๗ แห่ง สระเหล่านี้อยู่ในป่าหิมพานต์ แต่ละแห่งมีขนาดกว้างยาว ด้านละ ๕๐ โยชน์ ลาดับที่ ๑ มีนามว่า สระกัณณมุณฑะ ประดับด้วยดอกบัวสีต่างๆ งดงามน่ารื่นรมย์
     มงคลที่ ๗๐. สระใหญ่ทั้ง ๗ แห่ง ลำดับที่ ๒ มีนามว่า สระรถการะ ประดับด้วยนานาจงกลอุบลชาติและปทุมชาติ บริเวณโดยรอบเป็นที่พำนักแห่งนักสิทธิ์วิทยาธร
     มงคลที่ ๗๑. สระใหญ่ทั้ง ๗ แห่ง ลำดับที่ ๓ มีนามว่า สระอโนดาต มีลักษณะพิเศษต่างไปจากสระแห่งอื่น คือ ขอบสระทั้ง ๔ ด้านมีช่องทางน้าไหลออกจากสระ ช่องหนึ่งมีสัณฐานดังปากราชสีห์ ช่องหนึ่งมีสัณฐานดังปากช้าง ช่องหนึ่งมีสัณฐานดังปากม้า และช่องหนึ่งมีสัณฐานดังปากโคสระนี้มีท่าน้า ๔ ท่า ท่าหนึ่งเป็นที่สรงสนานของเทพบุตรท่าหนึ่งเป็นที่สรงสนานของนางเทพธิดา ท่าหนึ่งเป็นที่อาบของยักษ์ และอีกท่าหนึ่งเป็นที่อาบของเหล่าวิทยาธร
     มงคลที่ ๗๒. สระใหญ่ทั้ง ๗ แห่งลำดับที่ ๔ มีนามว่า สระฉัททันต์ น้ำใสดังแก้วมณีประกอบด้วยอุบลชาติและปทุมชาติงามยิ่งนัก มุมสระด้านทิศอีสานเป็นที่พานักของพญาช้างฉัททันต์และบริวาร

     มงคลที่ ๗๓. สระใหญ่ทั้ง ๗ แห่ง ลำดับที่ ๕ มีนามว่า สระกุณาละ ประกอบด้วยบัวเบญจพิธพรรณและพฤกษชาติอันงามวิจิตร รอบสระเป็นที่สัญจรแห่งช้างประเสริฐ ๑๐ ตระกูล เป็นที่พานักของวิทยาธร ฤษีและพระปัจเจกพุทธเจ้า
     มงคลที่ ๗๔. อุบลชาติปทุมชาติ คัมภีร์ชินาลังการฎีกาและคัมภีร์พุทธปาทลักขณะกล่าวว่า รอยพระพุทธบาทประกอบด้วยลายลักษณ์รูปอุบลชาติ (บัวสาย สีขาว สีขาบ สีแดงปทุมชาติ (บัวหลวงสีชมพู) และบุณฑริกชาติ (บัวหลวงสีขาว) แต่ในลายลักษณะประดับมุกนี้นอกจากจะจาแนกรูปดอกบัวชนิดต่างๆ ออกเป็นเอกเทศแล้วยังได้รวมเอามงคลรูปดอกบัวชนิดต่าง ๆ ไว้ในกรอบลายเดียวกับสระใหญ่ทั้ง ๗ แห่งด้วย
     มงคลที่ ๗๕. ธงผืนผ้าหรือธงปฎัก เปรียบกับผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยของพระอรหันต์
     มงคลที่ ๗๖. พระเจ้าจักรพรรดิและแก้วสัตตพิธรัตน์ อันได้แก่ สิ่งประเสริฐ ๗ ประการที่อุบัติขึ้นประกอบบารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ ประการแรกคือพญาม้าแก้ว บังเกิดในตระกูลวลาหกหรือตระกูลสินธพมีกาลังมาก เหาะได้เดินทางรอบชมพูทวีปด้วยเวลาเพียงชั่วยาม อนึ่งในคัมภีร์วชิรสารัตนถสังคหะอธิบายว่า แก้วสัตตพิธรัตน์เปรียบได้กับสัมโพชฌงค์ ๗ ประการ
     มงคลที่ ๗๗. พญาช้างแก้วบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดในตระกูลฉัททันต์หรือตระกูลอุโบสถ สีกายขาวดังเงินบริสุทธิ์ มีกาลังมาก เหาะได้ เดินทางรอบชมพูทวีปด้วยเวลาเพียงชั่วยาม
     มงคลที่ ๗๘. จักรแก้วบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ ในคัมภีร์ไตรภูมิฉบับหลวงกล่าวว่าประกอบขึ้นจากรัตนชาติต่างๆ ทองคาและเงินบริสุทธิ์ ผุดขึ้นกลางเกษียรสมุทรในคืนวันเพ็ญ มีลักษณะเป็นวงล้อรถ อาจนาพระจักรพรรดิเสด็จไปได้ทุกทวีป จักรแก้ว ที่ปรากฏในลายลักษณ์นี้ทาเป็นรูปจักราวุธมิได้เป็นวงล้อตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไตรภูมิ
     มงคลที่ ๗๙. พระเจ้าจักรพรรดิ พระราชาธิราชผู้ประกอบด้วยจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการบริบูรณ์ ย่อมบังเกิดแก้วสัตตพิธรัตน์มาสู่พระบารมี มีอานาจปกครองทวีปทั้ง ๔
     มงคลที่ ๘๐. นางแก้วบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ อุบัติขึ้นเพื่อเป็นอัครมเหสี หากเป็นชาวชมพูทวีปจะบังเกิดในวงศ์มัททราช หรือมิฉะนั้นต้องมาจากอุตตรกุรุทวีป ประกอบด้วยอิตถีลักษณะประเสริฐกว่าสตรีทั่วทวีปทั้ง ๔
     มงคลที่ ๘๑. แว่นส่องพระพักตร์ หมายถึง วชิรญาณ พุทธญาณทัสสนะที่กระจ่างในสภาวธรรมทั้งมวล

     @@@@@@@

     มงคลที่ ๘๒. แก้วมณีโชติบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดจากภูเขาวินุลบรรพต ในป่าหิมพานต์มาสู่บุญพระเจ้าจักรพรรดิ มีรัศมีสว่างรุ่งเรืองดังดวงอาทิตย์ เมื่ออรุณส่องแสงขจัดความมืดทั้งปวง
     มงคลที่ ๘๓. บาตรแก้ว คัมภีร์พุทธปาทลักขณะมิได้ระบุความหมายมงคลข้อนี้ไว้ แต่มงคลดังกล่าวปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินาลังการฎีกา ศิลาจารึกหลักที่ ๑๐๒ และในรอยพระพุทธบาทหลายแห่งรวมทั้งลายลักษณ์ประดับมุกนี้ด้วย
     มงคลที่ ๘๔. ปุาหินพานต์ อยู่บริเวณเชิงภูเขาหิมพานต์ เป็นที่บังเกิดของแม่น้าสาคัญ ๕ สาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิมหานที ป่าหินพานต์เป็นที่อาศัยบของเหล่าสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด
     มงคลที่ ๘๕. แม่น้าใหญ่ทั้ง ๗ สาย ล าดับที่ ๑ และลาดับที่ ๒ คือ ชาติคงคากับยมนาคงคารวมอยู่ในกรอบลอยมงคลเดียวกัน
     มงคลที่ ๘๖. พระแส้จามรี เป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เปรียบด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีต่อชาวโลก
     มงคลที่ ๘๗. ขุนคลังแก้วหรือคหบดีแก้วบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ บังเกิดในตระกูลเศรษฐีมีทิพยจักษุสามารถล่วงรู้ขุมทรัพย์ทั้งปวงที่มีอยู่ในพระราชอาณาจักร ทำให้พระราชทรัพย์ในท้องพระคลังบริบูรณ์อยู่เสมอ
     มงคลที่ ๘๘. ขุนพลแก้วบริวารพระเจ้าจักรพรรดิ คือ พระราชบุตรของพระเจ้าจักรพรรดิมีปัญญาเฉลียวฉลาดหยั่งรู้ในวาระจิตคนทั้งปวง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชกิจ
     มงคลที่ ๘๙. พวงดอกมะลิ เปรียบได้กับศีลคุณซึ่งมีความหอมประเสริฐกว่าสุคนธบุปผชาติทั้งปวง
     มงคลที่ ๙๐. พระเต้าที่มีน้าเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ เปรียบได้กับภาชนะอันประเสริฐที่บรรจุไว้ด้วยโลกุตตรธรรมมีพระนิพพานเป็นที่สุด


...ยังมีต่อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2023, 04:14:49 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความเป็นมาของ "รอยพระพุทธบาท"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2023, 04:10:30 pm »
0
(ยังไม่สมบูรณ์ รอแก้ไข)

     มงคลที่ ๙๑. ถาดมีน้ำเต็มบริบูรณ์ เปรียบได้กับภาชนะรองรับเครื่องสักการะทั้งหลายที่มนุษย์และเทวดาถวายเป็นพุทธบูชา
     มงคลที่ ๙๒. แม่น้ำสรภูคงคา เป็นแม่น้ำลำดับที่ ๓ ของแม่น้ำใหญ่ ๗ สายหรือมหาคงคา ๗
     มงคลที่ ๙๓. อุตตรกุรุทวีป
     มงคลที่ ๙๔. สุรัสวดีคงคา เป็นแม่น้ำลำดับที่ ๔ ของแม่น้ำใหญ่ ๗ สายหรือมหาคงคา ๗
     มงคลที่ ๙๕. ภูเขาไกรลาส
     มงคลที่ ๙๖. อจิรวดีคงคา เป็นแม่น้ำลำดับที่ ๕ ของแม่น้ำใหญ่ ๗ สายหรือมหาคงคา ๗
     มงคลที่ ๙๗. ชมพูทวีป
     มงคลที่ ๙๘. แท่งเสาศิลา
     มงคลที่ ๙๙. แม่น้ำมหิคงคากับมหานทีคงคา เป็นแม่น้ำลำดับที่ ๖ และ ๗ ของแม่น้ำใหญ่ ๗ สายหรือ มหาคงคา ๗

หมายเหตุ : มงคลที่ ๙๒-๑๐๒ ไม่ปรากฏในงานชิ้นนี้ ผู้โพสต์นำมาจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=689.0

     มงคลที่ ๑๐๐. ภูเขาจักรวาฬ,
     มงคลที่ ๑๐๑. สระมันทากินี,
     มงคลที่ ๑๐๒. สระสีหปปตะ     
     มงคลที่ ๑๐๓. ภูเขาหิมพานต์ ประกอบด้วยยอดเขา จำนวน ๘๔,๐๐๐ ยอด เช่น กาฬกูฏคันธมาทนกูฏ เป็นต้น เป็นสถานที่อันงดงามน่ารื่นรมย์
     มงคลที่ ๑๐๔. ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ลำดับที่ ๓ คือ บุพพวิเทหทวีป อยู่ทิศเบื้องตะวันออกของภูเขาพระสุเมรุ สัณฐานกลมดังแว่น มีต้นซึกเป็นไม้ประจำทวีป
     มงคลที่ ๑๐๕. สำเภาทอง เป็นสัญลักษณ์ของโลกุตตรนาวา คือ ทิพยนาวาที่นำสัตว์ทั้งปวงข้ามพ้นการเวียนว่ายตายเกิดให้บรรลุถึงแดนเกษมคือพระนิพพาน
     มงคลที่ ๑๐๖. ปลาทองคู่ เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
     มงคลที่ ๑๐๗. ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ลำดับที่ ๔ คือ อมรโคยานทวีป อยู่ทิศเบื้องตะวันตกของภูเขาพระสุเมรุ สัณฐานเป็นรูปครึ่งวงกลมดังพระจันทร์ เมื่อวันขึ้น ๘ ค่ำ มีต้นกระทุ่มเป็นไม้ประจำทวีป
     มงคลที่ ๑๐๘. พญานกโพระดก (พญานกพริก) มงคลข้อนี้แปลจากศัพท์ “ชีวญฺชีวกราชา” ในคัมภีร์พุทธปาทลักขณะอธิบายความหมายอีกนัยหนึ่งว่า ผู้เปลื้องสัตว์ทั้งปวงพ้นจากมิจฉาชีวะอันได้แก่พระพุทธเจ้า

สำหรับรูปแบบการจัดเรียงสัญลักษณ์มงคล ๑๐๘ นั้น มีการจัดเรียงที่แตกต่างกันออกไปในช่วงปลายพุทศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ปรากฏหลักฐานว่า เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบรูปมงคล ๑๐๘ ในรอยพระพุทธบาทจำลองในศิลปะสุโขทัย โดยพบตัวอย่างในอุโมงค์วัดศรีชุม เป็นแผ่นหินสลักรอยพระพุทธบาทรอยหนึ่ง ซึ่งเหลืออยู่เพียงส่วนบน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่เหลืออยู่นี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะยังใช้วิธีการแบ่งพื้นที่ในฝ่าพระบาทในช่องตารางตามแบบพุกาม แต่รูปมงคลเกี่ยวกับพรหมโลก ซึ่งมีศักดิ์สูงสุดในบรรดามงคลทั้ง ๑๐๘ ได้ถูกนำมาจัดเรียงอยู่ในระดับสูงสุดของฝ่าพระบาท แทนที่จะอยู่ในบริเวณศูนย์กลางอย่างของพุกาม

@@@@@@@

โดยสรุปแล้ว รอยพระพุทธบาท หมายถึง รอยเท้าของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทับไว้ด้วยพระองค์เอง(บริโภคเจดีย์) และที่ชาวพุทธสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระพระพุทธเจ้า(อุเทสิกเจดีย์) คติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาทเกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ตามจารีตของประเทศอินเดียที่บูชาสักการะด้วยการสัมผัสเท้า

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าไปเจริญเติบโตในประเทศศรีลังกา ได้นำคติความเชื่อเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทนี้ไปด้วย แต่ที่ศรีลังกาได้มีการแต่งตำราที่เล่าเรื่องราวการเสด็จไปลังกาของพระพุทธเจ้าด้วยพระองค์จริง และประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ศรีลังกา โดยเฉพาะที่เขาสุมนกูฏ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือจนถึงปัจจุบัน

จนเมื่อพระสงฆ์จากสุโขทัยอยุธยาได้เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนามาจากศรีลังกา จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทมาจำลองไว้ที่เขาสุมนบรรพต กรุงสุโขทัย สืบไปจนถึงสมัยอยุธยา จนเมื่อมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของจริง ๑ ใน ๕ ที่พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทด้วยพระองค์เอง รอยพระพุทธบาทจำลองจึงเริ่มลดคุณค่าลง

ปัจจุบันในประเทศไทยยังคงมีการบูชาสักการะรอยพระพุทธบาท และมีการจำลองรอยพระพุทธบาทขึ้นมากมาย ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า สำหรับภาคเหนือนั้นมีรอยพระพุทธบาทที่ได้รับการกล่าวอ้างว่าเป็นของจริงตามคัมภีร์ของศรีลังกาที่กล่าวว่า ๑ ใน ๕ รอยนั้น อยู่ในโยนกนคร นั่นก็คือ บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย รอยพระพุทธบาทในภาคเหนือที่ได้รับการยอมรับและเคารพนับถือจากชาวพุทธมายาวนาน คือ พระพุทธบาท ๔ รอย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้วิจัยจะกล่าวโดยละเอียดในบทถัดไป








อ้างอิง :-
(-๕๑) ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๐๐/๑๖๐.
(-๕๒) สินชัย กระบวนแสง, “รอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย”, วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๑ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๒๒) : ๑๓๒-๑๕๗.
(-๕๓) โสภณ จาเลิศ, “การวิเคราะห์ความเชื่อและการบูชาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทของชาวพุทธล้านนา”, ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, หน้า ๗๐-๗๗.

ขอบคุณที่มา : วิทยานิพนธ์เรื่อง "ความเชื่อและอิทธิพลของความเชื่อที่มีต่อพระพุทธบาท ๔ รอย ของชาวล้านนา" โดย พระธงชัย สิริมงฺคโล (บุญเป็ง) , วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , พุทธศักราช ๒๕๖๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2023, 04:13:48 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ