ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม  (อ่าน 98 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 09:15:08 am »
0
.



อานิสงส์การ "สวดมนต์" ดีต่อชีวิต อย่างไร.?

ไม่ว่าจะเหตุผลใดที่ "สวดมนต์" แต่เรื่องนี้มีอานิสงส์ทั้งทางโลกและทางธรรม จะเรียกว่า ดีต่อใจ ดีต่อชีวิต และดีต่อสัตว์โลกก็ว่าได้

การสวดมนต์ มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สำหรับชาวพุทธถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร นักบวช นักบุญทั้งหลาย จะขาดข้อวัตร กิจวัตรส่วนนี้ไม่ได้เลย

โดยเฉพาะบทสวดตามวิถีพุทธ โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ศาสดา ได้กลั่นกรองคำสาธยายที่มีแต่ความเป็นสิริมงคล พร้อมด้วยพลานุภาพแห่งบุญกุศลในทุกถ้อยคำผ่านภาษาบาลี มีอานิสงส์พาชีวิตไปสู่ที่สูง ห่างไกลโรคภัย ป้องกันอุปสรรคอันตราย และสูงสุดคือตัดกิเลสให้ขาดสะบั้น จนมีดวงตาเห็นธรรม


@@@@@@@

บทสวดมนต์อันประเสริฐ

การสวดมนต์ จึงเป็นการทำสมาธิ ระหว่างการสวดมนต์ ใจจะจดจ่ออยู่กับบทสวดนั้นๆ หากเป็นบทสวดมนต์แปลจากภาษาบาลีเป็นไทย ยิ่งทำให้เข้าใจความหมายมากขึ้น ก็จะเข้าใจธรรมะอันลึกซึ้งได้ง่ายขึ้น

บทสวดแต่ละบทจะเรียกว่า พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครองอันประเสริฐ ประกอบด้วยบทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีทั้งบทสรรเสริญคุณแห่งพระรัตนตรัย, บทอวยชัยให้พร บางบทนำมาจากพระไตรปิฎก บางบทเป็นบทที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง ในแต่ละบท แต่ละบาท ล้วนแล้วแต่มาจากพระโอษฐ์ อันประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า

สวดมนต์เสมือนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระเทพโพธิวิเทศ (ท่านเจ้าคุณวีรยุทธ์ วีรยุทโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย กล่าวถึงการสวดมนต์ว่า พลังของการสวดมนต์ในพุทธสังเวชนียสถาน เสมือนเรานั่งอยู่แวดล้อมด้วยองค์พระอรหันต์และเทวดา

   “การนำพระธรรมที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้ามาสวด และสาธยายเป็นกิจวัตร ก็ขึ้นชื่อว่าปฏิบัติต่อพระบรมพระศาสดาด้วยการเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยทุกประการ ขอท่านทั้งหลายจงสวดมนต์เสมือนหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน”

@@@@@@@

ดร.พระมหาอ้าย ธีรปัญโญ วัดนาคปรก กล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ในทางธรรมไว้ว่า "ผลประโยชน์ของการสวดมนต์นั้นมีมากมาย แต่สรุปง่ายๆ ตามที่ครูบาอาจารย์บอกตรงกัน ก็คือ
    1. ไล่ความขี้เกียจ
    2. ได้รู้ความหมาย
    3. จิตเป็นสมาธิ
    4. ได้ปัญญา เข้าใจแก่นสาระของธรรม และ
    5. เปรียบเสมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    “สำหรับผู้เริ่มต้น ก็ให้เริ่มจากนะโม 3 จบให้ได้ก่อน แล้วค่อยต่อพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แล้วต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ 3 บทนี้ จำให้ติดปาก ไม่ใช่การอ่านมนต์ เพราะถ้าอ่าน มันไม่มีอะไรเคลื่อนไหว สมองก็อยู่ที่เดิม ส่วนสถานที่นั้น สวดมนต์ที่ไหนก็ได้ ขอให้สวดด้วยใจก็พอแล้ว”


@@@@@@@

นายแพทย์วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการสายงานแพทย์ โรงพยาบาลนครธน ผู้นำเอาธรรมปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เคยเล่าถึงอานิสงส์การสวดมนต์ในทางการแพทย์ว่า

ปัจจุบันมีผลวิจัยออกมามากมายเกี่ยวกับการสวดมนต์ที่มีผลต่อสมองและร่างกาย ในวงการแพทย์ การสวดมนต์ ทำสมาธิ เจริญอานาปานสติ จะได้ผลอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ
    1. เกิดภูมิต้านทานโรค โดยสร้างมาจากเซลล์สมองตัวหนึ่ง
    2. ระบบฮอร์โมน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสมองจะสร้างสมดุลให้กับร่างกาย
    3. หัวใจและหลอดเลือด ความดันลดลง เป็นโรคหัวใจลดน้อยลง

    “เพียงแค่สวดมนต์และทำสมาธิ วันละ 12 นาที นาน 8 สัปดาห์ จะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเซลล์สมองของเราทันที”





สวดมนต์เพื่ออะไร.?

    • สวดเพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า
      บทสวดบางบทที่ใช้สวดนั้น เช่น บทอิติปิ โส ฯลฯ ภควาติฯ ชาวพุทธในสมัยพุทธกาล ผู้ที่มีจิตเลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้านิยมใช้สวดเพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า

    • สวดเพื่อเป็นต้นทุนเจริญศรัทธา
      การสวดมนต์ก็เพื่อเพิ่มพูน พอกพูน เติมเต็มพลังแห่งศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสที่มีต่อคุณพระรัตนตรัย ที่นับถือเคารพบูชาเป็นสรณะ

    • สวดเพื่อแผ่จิตเมตตา
      บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นเสมือนตัวเชื่อมต่อส่งสัญญาณ แปรสภาพให้เป็นพลังงานพิเศษ เหมือนพลังงานทั่วไป ผ่านกระแสเสียงกระแสจิตจากจิตสู่จิต ก่อให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความรักความปรารถนาดี ความเมตตาปรานี ความสุข ความปลอดภัยส่งให้ มอบให้ อุทิศให้ แผ่ให้ เพื่อนร่วมโลกร่วมแผ่นดินทั้งมิตรและศัตรู ไม่เลือกชนชั้นวรรณะภาษา ขอให้อยู่ดีมีสุข

    • การสวดมนต์เป็นการทำสมาธิ
      ขณะสวดมนต์ จิตย่อมจดจ่อในบทสวด หรือที่จำไม่ได้ก็ใช้สายตาเพ่งมองตัวหนังสืออ่านบทสวดแต่ละอักขระ แต่ละวรรค แต่ละบท แต่ละตอน จิตในขณะนั้นย่อมรวมตัว ดับความฟุ้งซ่านลง เกิดเป็นสมาธิได้

    • เพื่อฝึกความอดทน
      เวลาที่สวดมนต์ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ผู้สวดจึงต้องมีความอดทนอดกลั้นสูง ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะสวดไปจนจบ ไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดา การฝืนกาย ฝืนใจ บังคับกาย บังคับใจในขณะนั้น ย่อมทำให้ขันติธรรม

    • เพื่อรักษาพระธรรม
      บทสวดมนต์บางบท เป็นพระพุทธพจน์ที่สำคัญ เช่น บทพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นต้น เป็นหลักธรรมสำคัญ ที่จะต้องจดจำให้ได้ เพื่อรักษาไว้ โดยปกติแล้ว บทสวดมนต์แต่ละบท ที่จะนำมาสวดนั้นผู้สวดจะต้องท่องจำให้ได้ขึ้นใจ แล้วนำมาสวดสาธยาย เพื่อเป็นการทบทวนอยู่เป็นประจำ เพื่อกันลืม

    • เพื่อกำจัดบาปอกุศล
      ในการสวดมนต์แต่ละครั้ง ต้องข่มซึ่งนิวรณ์ธรรม มีกามฉันทะ ความติดในสุข พยาบาทความหงุดหงิดไม่พอใจ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความง่วงซึม หดหู่ ความลังเลสงสัย และกำจัดอกุศลธรรมต่างๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นผิด ความถือตัวถือตน ความเกียจคร้านให้เบาบางจางหายหมดไปได้

    • เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต
      ขณะสวดมนต์ จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ตั้งใจสวด สวดด้วยความสงบ เรียกว่า สมาธิ ขณะสวดจิตน้อมนึกพิจารณาไปตาม เห็นความเป็นจริงของชีวิต

    • สวดมนต์ช่วยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ
      ตามหลักวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ มีข้อควรสังเกตว่า คนที่ชอบสวดมนต์อยู่เป็นประจำ เวลามีทุกข์ ประสบปัญหาชีวิต มักทุกข์ไม่นานนัก แก้ไข หาทางออกได้รวดเร็ว ต่างจากคนที่ไม่ชอบสวดมนต์ ทุกข์ก็จะทุกข์อยู่นานหาทางออกไม่ได้.






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.watphramahajanaka.org/
website : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/985468
By ป้อมยาม | จุดประกาย | 30 ม.ค. 2022 เวลา 16:00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 09:34:50 am »
0
.



สวดมนต์ก่อนนอน อานิสงส์ 9 ประการช่วยให้จิตใจสงบชีวิตดี พร้อมบทสวดมนต์

สวดมนต์ก่อนนอน บทสวดมนต์ก่อนนอน สร้างอานิสงส์ 9 ประการแก่ผู้กระทำ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี จิตใจสงบนอนหลับสบาย สวดมนต์ก่อนนอนถือเป็นกิจวัตรที่ถ้าหากใครได้ทำแล้วนั้นย่อมส่งผลดีต่อตัวผู้กระทำเอง เป็นการสร้างกุศลด้วยการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายแด่พระพุทธเจ้า ช่วยให้จิตใจมีความสุข ร่างกายจึงหลั่งสารความสุขให้ชีวิตสดใส

นอกจากนี้ การสวดมนต์ก่อนนอน ยังช่วยปัดเป่าภัยอันตรายทั้งหลาย แถมช่วยให้คนคนนั้นเป็นผู้มีสมาธิ สติปัญญาที่ดี เป็นที่รักที่โปรดปรานของเหล่าเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ช่วยให้มีจิตใจสงบ ช่วยให้นอนหลับง่าย ตื่นมาพร้อมความสดใส

@@@@@@@

9 อานิสงส์ของการสวดมนต์

    1. มีจิตใจสงบช่วยให้นอนหลับง่ายตื่นมาพร้อมความสดใส
    2. เป็นที่รักที่โปรดปรานของเทวดาทั้งหลายทั้งปวง
    3. เป็นผู้มีสมาธิ สติบัญญาที่ดี
    4. ปัดเป่าภัยอันตรายทั้งหลาย
    5. จิตใจมีความสุข ส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารความสุขให้ชีวิตสดใส
    6. ได้กุศลจากการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายแด่พระพุทธเจ้า
    7. เกิดสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย
    8. ได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากกรรมดีและการแผ่เมตตา
    9. ขจัดความขี้เกียจในจิตใจ การสวดมนต์ก่อนนอน หากทำทุกวันจนเป็นกิจวัตรสำเร็จในทุกวันจะช่วยให้ มีความอดทน สามารถทำสิ่งอื่นสำเร็จด้วยได้

 



สวดมนต์ก่อนนอน

กราบบูชาพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
กราบครั้งที่ 1 กราบพระพุทธ
กราบครั้งที่ 2 กราบพระธรรม
กราบครั้งที่ 3 กราบพระสงฆ์

คำบูชาพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทสวดมนต์ นะโม สรรเสริญพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


 st12 st12 st12

บทสวดมนต์ อาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

บทสวดมนต์ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดมนต์ สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทสวดมนต์ อธิษฐานรักษาศีล 5
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม

บทสวดมนต์ก่อนนอน ศีล 5
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (กล่าว 3 จบ)


 st12 st12 st12

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง
กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดาของข้าพเจ้า ขอให้บิดามารดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของรข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.




Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/192881
23 ต.ค. 66

.



บทสวดมนต์ก่อนนอน อานิสงส์ของการสวดมนต์

บทสวดมนต์ก่อนนอน นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขขึ้นได้ โดยที่ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องที่ทำให้ชีวิตเป็นสุข ไปจนถึงเรื่องราวแย่ๆ ที่ทำให้ชีวิตวุ่นวาย เมื่อกลับถึงบ้านเราต่างก็ต้องการเวลาพักผ่อน อยากนอนหลับสบายเพื่อลืมเรื่องราวแย่ๆ

การท่องบทสวดมนต์ก่อนนอนจะช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส อีกทั้งยังเป็นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันให้กับเพื่อนมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ บนโลก เมื่อเรามีสมาธิ จิตใจเย็นลง จะทำให้เรานอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดใส พร้อมที่จะสู้ไปกับงาน หรือการเรียนได้อย่างมีความสุข

ซึ่งในบทสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตามล้วนแล้วแต่มีอานุภาในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น

ฉะนั้น การสวดมนต์ก่อนนอนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งปฏิบัติทุกวันก็จะส่งผลที่ดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ทำให้ใจของเราสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด รอบคอบ และใจเย็นมากขึ้น

การสวดมนต์นั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับทุกคนในยุคนี้ สะดวกมากในทุกเพศ ทุกวัยและไม่ใช่เรื่องของคนแก่ อีกต่อไปเหมือนที่เคยเป็นและเราเข้าใจผิดกันอย่างนั้น บทสวดมนต์ต่างๆ มีการเผยแพร่ออกมามากมายในรูปแบบต่างๆ ที่เห็นกันและได้ยินกันจนเคยชินมากมาย

จนกระทั่งในปัจจุบัน การสวดมนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มเด็กหรือวันรุ่น ก็หันมาสนใจการสวดมนต์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสวด สวดมนต์ก่อนนอนด้วยบทสวดตามปกติ จนไปถึง คาถาชินบัญชร บทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก และบทสวดอื่นๆ อีกมากมาย

แต่สำหรับบางคนที่กำลังเริ่มจะสวดมนต์ ยังไม่เคยทราบว่านอกการได้สติ ได้จิตใจที่สงบสุขมาแล้ว สิ่งทีเราสวดมนต์นอกเหนือจากนั้นคือ "อานิสงค์จากการสวดมนต์" หรือผลที่ได้รับจากการสวดมนต์ว่ามีอะไร





อานิสงค์จากการสวดมนต์

    1. สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ บทสวดพุทธมนต์นั้น มาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าที่ได้ทรงสอนสั่งสาวกและมีการจำและท่องสืบกันมา จนถึงมีการจดบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ผู้ที่ได้มีโอกาสสวดมนต์ในชีวิต เป็นการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายเป็นพุทธเจ้า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและย่อมได้บุญกุศล

    2. เกิดผลดีต่อร่างกาย คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้น ทางการแพทย์สมัยใหม่รับรองแล้วว่า การสวดมนต์ทำให้เกิดความสุขได้จริงในจิตใจ ส่งผลต่อร่างกายให้หลั่งสารความสุขออกมา ร่างกายก็จะแข็งแรง ใบหน้าสดใส ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณถึงปัจจุบันทราบถึงเคล็ดลับลับสำคัญ ให้สังเกตว่าท่านจะมีอายุยืนมาก และบรรพบุรุษของเรานั้น ท่านสวดมนต์เป็นประจำอายุท่านจึงยืนยาว ไม่เหมือนคนในปัจจุบันที่ห่างเหินการสวดมนต์มาก อายุจึงสั้น

   3. เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้มีสมาธิจิตใจ แจ่มใส การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิวิธีการหนึ่ง เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมแจ่มใส มีกำลัง คิดอ่านแก้ไขปัญหาอะไรก็จะทำได้ง่ายเพราะมีสติกำกับอยู่

    4. เป็นที่โปรดโปรนของเหล่าเทพเทวดาและดวงจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นพรหมเทพเทวดา สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย เมื่อได้ยินบทสวดนั้นจะพบกับความเย็นสบาย คลายทุกข์ ทำให้นิยมชมชอบคนที่สวดด้วย และเมื่อยินก็จะช่วยปกป้องรักษาคนที่สวด

    5. เกิดบุญจากการแผ่เมตตา เมื่อสวดมนต์เสร็จสิ้น มีการแผ่เมตตาแก่ตนเองและเหล่าสรรพสัตว์ย่อมเกิดอานิสงส์บุญเกิดขึ้น

    6. ได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้นย่อมได้รับการอวยพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ เพราะเป็นผู้สร้างกรรมดีจากการสวดมนต์และแผ่เมตตา

    7. สร้างสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัว ปัดเป่าภัยพิภัย โรคร้ายได้จริง ทุกบทสวดมนต์นั้นมาจากอักขระที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจดลบันดาลให้สิ่งอัปมงคลนั้นออกไปจากชีวิต และสร้างสิริมงคลให้กับคนที่สวด ยิ่งสวดมากก็จะมีสิริมงคลมากขึ้น ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย

    8. สามารถแผ่บุญไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ บทสวดมนต์ทุกบทนั้น สมารถแผ่บุญกุศลไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ทุกเรื่อง ยิ่งเป็นสายเลือดเดียวกันจะยิ่งเร็วขึ้น เพราะมีทั้งบุญและกรรมผูกพันกันมา อานิสงส์ที่ดังที่กล่าวมาข้างต้นคงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้วอย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้นความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อมทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น "ปัจจัตตัง" หรือรู้ได้เฉพาะตัวของแต่ละคนไป โปรดจำไว้เสมอว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นต้องปฏิบัติเองถึงจะได้

    9. เป็นพื้นฐานไปสู่การก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูงต่อไป เมื่อทุกท่านทราบถึงการที่จะต้องทำอย่างไรก่อนถึงจะเริ่มต้นการสวดมนต์ ที่ครบถ้วนทุกประการแล้ว ต่อไปนี้จะขอนำทุกท่านพบกับวิธีการสวดให้ชีวิตดี สวดให้สุข สวดให้รวย กันในลำดับต่อไป


@@@@@@@

บทสวดมนต์ก่อนนอนเป็นบทสวดที่ก่อให้เกิดอานิสงค์กับผู้ที่สวด ทำให้จิตใจสงบ นอนหลับง่าย ตื่นมาสดชื่นเบิกบาน ดังนั้นการสวดมนต์ก่อนนอนทุกๆ คืนเป็นประจำ เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนควรยึดถือปฏิบัติ




Thank to : https://www.sila5.com/blog/blog/detail/var/44u25413
13 มีนาคม 2561
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 29, 2024, 09:36:49 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 10:04:06 am »
0
.



ประโยชน์ของการสวดมนต์

สวดมนต์ ๑ ครั้ง เกิดผลดีแก่ชีวิต ๑๓ ประการ

    ๑. ได้สะสมคุณงามความดี คือบุญกุศลให้เกิดมีในจิตใจมากขึ้น
    ๒. ได้พักกายพักใจจากเรื่องวุ่นวาย ให้รู้สึกผ่อนคลาย นิ่งสงบ
    ๓. ได้ใกล้ชิดกับพระรัตนตรัยดลให้กล้าหาญในการละชั่วทําดีมากขึ้น
    ๔. ได้ขัดเกลากิเลสคือโลภ โกรธ หลง ในใจให้เบาบางเจือจางลง

    ๕. ได้เรียนรู้ เข้าใจในหลักธรรม ฉลาดสามารถแก้ทุกข์ให้กับตนได้
    ๖. จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา ให้อภัยได้ง่าย สุขง่าย ทุกข์ยาก
    ๗. มีสติยับยั้งในบาปอกุศล คิด พูด ทํา ในสิ่งที่เป็นกุศลได้ง่าย
    ๘. เมื่อทําดีแล้วก็เกิดความภูมิใจ ชื่นใจ และนับถือตนเองยิ่งขึ้น
    ๙.  เวลาท่าสมาธิ จิตจะสงบตั้งมั่นได้เร็ว

  ๑๐. ทําให้มารดาบิดา บุตรธิดา ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลไปกับตนด้วย
  ๑๑. ช่วยรักษาพระธรรมในรูปแบบของพุทธภาษา (ภาษาบาลี)
  ๑๒. หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ทําสิ่งใดสําเร็จผลได้ง่าย
  ๑๓. เป็นทางนําไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้น ดังปรากฏในวิมุตตายตนสูตร (1-) ว่า ทางแห่งวิมุตติมี ๕ อย่าง คือ หลุดพ้นด้วย
       (๑) การฟังธรรม
       (๒) การแสดงธรรม
       (๓) การสาธยายธรรม (สวดมนต์)
       (๔) การคิดพิจารณา ธรรม
       (๕) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

____________________________________________
(1-) พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๐๔ ข้อที่ ๓๐๒ : ๒๕๓๘


ที่มา : หนังสือ บทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล
จัดพิมพ์โดย มหาเถรสมาคม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งขาติ


.



อานิสงส์การสวดมนต์ 13 ประการ

ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือ ผลความดีมากมาย ดังต่อไปนี้

    1. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง

    2. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    3. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย

    4. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น

    5. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง

    6. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ

    7. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข

    8. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น

    9. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู

  10. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่

  11. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

  12. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียดยิ้ม เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้

  13. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย

   จากหนังสือสวดมนต์พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย



ขอบคุณที่มา : เฟซบุ้ค เห็นทุกข์เห็นธรรม | 25 มีนาคม 2022
https://www.facebook.com/DharmaBuddhismEnlighten/posts/1773391076189049


.


                                             
อานิสงส์ของการสวดมนต์ ๑๔ ประการ

    ๑. ทำให้มีสุขภาพดี การสวดมนต์ด้วยการออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

    ๒. คลายความเครียด ในขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะปลอดโปร่ง ไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    ๓. เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เมื่อสวดมนต์ไปก็เท่ากับว่าได้เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคงยิ่งขึ้น

    ๔. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูงเพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจทำให้เกิดความเกียจคร้าน ดังนั้น ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ๕. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์จิตจะจดจ่ออยู่กับบทสวดไม่วอกแวกวุ่นวายไปในที่อื่น จึงมีความสงบเกิดสมาธิมั่นคง สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส งดงาม แม้เพียงระยะเวลาน้อยนิด ก็เป็นบุญกุศลประมาณค่าไม่ได้

    ๖. เพิ่มพูนบุญบารมี ขณะที่สวดมนต์จิตใจจะสะอาด ปราศจากกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงเป็นบ่อเกิดแห่งบุญบารมี เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่ต้องการได้

    ๗. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาเป็นการมอบความรักความปรารถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธให้เบาบางลงไป พบแต่ความสุขสงบ

    ๘. เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การสวดมนต์เป็นการทำความดีทั้งทางกายคือการสละเวลามาทำ ทางวาจาคือการกล่าวคำสวดที่ถูกต้อง และทางใจคือการตั้งใจทำด้วยความมั่นคง ย่อมเกิดสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

    ๙. เทวดาคุ้มครองรักษา ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำย่อมเป็นที่รักของเทวดา จะทำอะไรก็ตามหรือแม้แต่จะเดินทางไปที่ไหนๆ ก็ปลอดภัยจากอันตราย ประสบความสำเร็จเหมือนมีเทวดาให้พร

  ๑๐. สติมาปัญญาเกิด การสวดมนต์เป็นการสั่งสมคุณความดี ทำให้มีสติและมีจิตสำนึกที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะถ้าสวดพร้อมกับคำแปลก็จะเกิดสติปัญญานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

  ๑๑. มีผิวพรรณผ่องใสจิตใจชื่นบาน การสวดมนต์ด้วยการเปล่งเสียงเป็นการกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง จะทำให้มีผิวพรรณผ่องใสใจเป็นสุข เพราะขณะที่สวดมนต์จิตจะตั้งมั่นในบุญกุศล ไม่คิดไปในเรื่องอื่นที่ทำให้ใจเศร้าหมอง

  ๑๒. พิชิตใจผู้คนให้รักใคร่ การสวดมนต์เป็นประจำจะทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้ที่เป็นมิตรอยู่แล้วก็รักใคร่กลมเกลียวกันมากยิ่งขึ้น แม้คนที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันก็จะหันกลับมาคืนดีในที่สุด

  ๑๓. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย การสวดมนต์เป็นประจำ จะทำให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ในยามมีภัย ประสบวิบากกรรมร้ายจะมีมาถึงตัว เพราะจะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา

  ๑๔. ครอบครัวเป็นสุขสดใส การสวดมนต์เป็นการสร้างความสุข และเกิดความสามัคคีในครอบครัว หากครอบครัวใดที่พ่อบ้านแม่เรือนสวดมนต์และสอนลูกหลานให้สวดมนต์เป็นประจำ จะมีความสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง ส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข



Thank to : https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=577
4 ก.ค. 60 | โดย น.ส.นริสรา น้อยแสง | Bitly แก้ไข






อานิสงส์การสวดมนต์ 15 ประการ

ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือผลความดี มากมายดังต่อไปนี้

    1. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง

    2. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    3. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย

    4. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น

    5. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง

    6. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ

    7. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข

    8. เกิดความเป็นสิริมงคล การสวดมนต์เป็นการทำความดีไปพร้อมกันทั้งทางกาย วาจา ใจ การทำดี พูดดี คิดดี ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

    9. เทวดารักษา ผู้ที่ประกอบกรรมดี ทางกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา และการที่เราได้แผ่เมตตาให้แก่เทวดานั้น ก็ยิ่งจะเป็นที่รักของเทวดามากขึ้น

  10. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น

  11. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู

  12. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่

  13. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

  14. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียดจัญไร เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้

  15. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย

   จากหนังสือ “พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย" เลี่ยงเชียง




ขอบคุณที่มา : เฟซบุ้ค อมตะธรรม ประเทศไทย | 9 สิงหาคม 2022
https://www.facebook.com/amatatum/photos/a.416051701814506/5663040090448948/?paipv=0&eav=AfaP3sDDepEfdXm_dryaVDmDWB2Elw7o7xUelT0X5SSWSn7NF2QBAAcRMrLpTy6XG_4&_rdr
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 10:29:24 am »
0
.



อานิสงส์ของการสวดมนต์
โดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี

เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี

ซึ่งในขณะนั้น มีอุบาสกอุบาสิกานั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา เจ้าประคุณสมเด็จโตได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์”

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่า ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลา
มากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการ
กล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์ อรหันต์ อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร

การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสาเร็จเป็นพระอรหันต์

@@@@@@@

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกัน คือ
    • เมื่อฟังธรรม
    • เมื่อแสดงธรรม
    • เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
    • เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    • เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม

การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไป เพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อม ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ
    • กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
    • ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
    • วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้งสาม พร้อมเป็นการขอขมาในการผิดพลาด(หากมี) และกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว


@@@@@@@

อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดังพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิด
ความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอยได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย

เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่างๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดาทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตรายได้อย่างดีเยี่ยม

    "ดูก่อน ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใดๆก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล.."

    “…กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง…”
        {คำสอนของสมเด็จพระพุฒจารย์(โต พรหมรังสี)}





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : จากหนังสือ บทสวดมนต์ | https://www.dra.go.th/
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/109212359705607817/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2024, 01:23:58 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 01, 2024, 05:34:21 am »
0
.



ประชากรสามกลุ่มวัยได้อะไร.? จากการสวดมนต์

โดย เจตพล แสงกล้า นักวิจัยโครงการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
และ ภาณี วงษ์เอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล




บทคัดย่อ

บทความนี้นนำเสนอมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์
การอธิษฐานขอพร และการนำประโยชน์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรสามกลุ่มวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี (2557) และเป็นผู้ที่สวดมนต์ทุกวันหรือเกือบทุกวันในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 29 ราย (วัยรุ่น 8 ราย วัยแรงงาน 13 ราย และผู้สูงอายุ 8 ราย) ผลการศึกษาพบว่า

บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ของประชากรทั้งสามวัยคล้ายคลึงกันใน 3 มิติ คือ
    - การได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัว
    - เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่ทำให้สนใจการสวดมนต์ และ
    - การเรียนรู้หลักธรรมที่เริ่มจากความสนใจและตั้งใจศึกษาหลักธรรมด้วยตนเอง

    ทุกกลุ่มวัยเห็นว่า การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดีต้องสวดด้วยความศรัทธา และเชื่อว่ามีคุณค่าทางด้านจิตใจที่จะเกิดผลดีต่อตนเอง ผู้สวดมนต์ส่วนใหญ่ขอพรให้ครอบครัวเป็นลำดับแรก ให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนนาน
    วัยรุ่นและวัยแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนมุมมองในเรื่องการเรียนและการทำงานว่า การขอพรเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้สำเร็จได้ หากต้องลงมือกระทำด้วย
    ผู้สวดมนต์ทั้งสามวัยเห็นว่า ประโยชน์สำคัญที่ได้รับจากการสวดมนต์ คือ การมีสติในขณะสวดมนต์ ทำให้จิตใจสงบและเป็นสุข และผู้สวดมนต์ทุกกลุ่มวัยนำประโยชน์จากการสวดมนต์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

    การสวดมนต์จึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับทุกคนและทุกวัย

@@@@@@@

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นประเพณีเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับในประเทศไทย การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเริ่มในสมัยสุโขทัย (สุภาพรรณ, 2529) เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ชาวสุโขทัยพึงปฏิบัติกันทุกๆ วันพระ วันสำคัญทางศาสนา รวมถึงงานมงคลเฉลิมฉลองต่างๆ (ทัศนา, 2552)

ในสมัยอยุธยา การสวดมนต์มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย โดยมีการผสมผสานคติความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์กับพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน โดยศาสนาพราหมณ์จะมีพิธีสวดที่ส่งเสริมอำนาจบารมีของกษัตริย์ให้ดูน่าเกรงขาม ควรเคารพยกย่อง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ส่วนพระพุทธศาสนา มีการนำเอาพุทธมนต์ในพระไตรปิฎกมาสวด เพื่อปลุกใจและสร้างความกล้าหาญในการสู้รบศึกสงครามแก่ประชาชน บางครั้งปรากฏในรูปของการปลุกเสกมนต์คาถา

มาถึงพิธีสวดมนต์ในสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์พบว่า มีความสอดคล้องกับคติความเชื่อกับพิธีสวดเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในรัชกาลที่ 2 มีการสังคายนาบทสวดมนต์ แปลพระปริตรทั้งหลายออกเป็นภาษาไทย ผลจากการแปลบทสวดเป็นภาษาไทย ทำให้ประชาชนรู้ความหมาย บทสวดที่มีสาระและถูกต้องตามหลักพุทธธรรม การสังคายนานี้ก่อให้เกิดประเพณีสวดมนต์แปลขึ้นเป็นครั้งแรก สวดทั้งคำบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งต่อมาเป็นธรรมเนียมนิยมและปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน(ทัศนา, 2552)

งานวิจัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับการสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556 – 2557 กรณีศึกษา 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น พะเยา และสงขลา ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์โดยทั่วไป และการเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,741 ราย ในภาพรวม พบว่า

ผู้เข้าร่วมสวดมนต์เกือบทุกคน(ร้อยละ 99.2) คิดว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเมื่อถามว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ
    • การสวดมนต์ช่วยให้มีสติปัญญามากที่สุดถึงร้อยละ 72.9
    • ช่วยให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ร้อยละ 69.4
    • มีความเป็นสิริมงคล ร้อยละ 54.9
    • จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา ร้อยละ 48.7 และ
    • เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ร้อยละ 44 (รศรินทร์ ภาณี ณัฐจีรา และเจตพล, 2557)

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้สะท้อนได้เพียงภาพรวมกว้างๆ ไม่สามารถตอบคำถามในเชิงลึก หรืออธิบายเหตุผลและนัยความหมายของการสวดมนต์ได้

งานวิจัยข้างต้น จึงได้ศึกษาเชิงคุณภาพเพิ่มเติมในประเด็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์ การอธิษฐานขอพร ตลอดจนการนำประโยชน์และอานิสงส์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นเปรียบเทียบประชากรสามกลุ่มวัย (วัยรุ่น วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ) เฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ทำการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับการสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556 – 2557


@@@@@@@

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

อาศัยข้อมูลจากโครงการวิจัยข้างต้น บทความนี้ต้องการนำเสนอมุมมองบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์ การอธิษฐานขอพร ตลอดจนการนำประโยชน์และอานิสงส์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ของประชากรสามกลุ่มวัย คือ วัยรุ่น วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ





ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการสวดมนต์

การสวดมนต์เป็นการนำพระธรรมคำสอน สาระ หรือแก่น หรือหลักของพระพุทธศาสนามาสวดเพื่อก่อให้เกิดสติปัญญา สู่การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังผลอันสูงสุดคือการดับทุกข์ตามคติความเชื่อ (พินิจ, 2548) ดังนั้น การที่ผู้สวดมนต์จะได้รับประโยชน์หรืออานิสงส์จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของเนื้อหาคำสอนที่อยู่ในบทสวดหรือข้อธรรมนั้นๆเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม อัครเดช ญาณเตโช (ม.ป.ป.) มีความเห็นว่า การสวดภาษาบาลีโดยไม่รู้ความหมาย ไม่ได้หมายความว่าจะไร้ผลแต่ช่วยให้ผู้สวดมนต์มีจิตใจที่สงบเย็นขึ้นมาได้ และหากสวดโดยรู้ความหมายและสาระสำคัญของบทที่สวดจะยิ่งทำให้ผู้สวดมนต์เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในบทสวดมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ได้รับอานิสงส์จากการสวดมนต์ 2 ด้านพร้อมๆ กัน คือ ความสงบของจิตใจ และแสงสว่างทางปัญญา สามารถนำหลักธรรมในบทสวดมนต์ไปปฏิบัติตามได้จากการทบทวนวรรณกรรม

ประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์ แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
    1) การปรับใช้การสวดมนต์ตามความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา
    2) การปรับใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
โดยสวดมนต์เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ดังนี้


@@@@@@@

การปรับใช้การสวดมนต์ตามความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา

ประโยชน์หรืออานิสงส์ที่เกิดจากการสวดมนต์ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี,ม.ป.ป.)
    ประการแรก คือ ประโยชน์ที่เกิดกับจิตของผู้สวดมนต์เอง
    ประการที่สอง คือ ประโยชน์ที่เกิดในจิตของผู้อื่นที่ได้ยินเสียงสวดมนต์

    1) ประโยชน์ที่เกิดกับจิตของผู้สวดมนต์เอง เสียงในการสวดมนต์ของผู้สวดจะกลบเสียงภายนอกไม่ให้
เข้ามารบกวนจิต ซึ่งจะทำให้ผู้สวดเกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ โดยผู้สวดต้องสวดเสียงดังให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่นใจอยู่กับเสียงสวดมนต์ จะทำให้เกิดสมาธิ เพราะขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจ ทำให้เกิดความเกียจคร้าน ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น (สุภาพ, 2554)

เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้นและเกิดปัญญาเข้ามาในจิตใจของผู้สวด ถ้าผู้สวดมนต์รู้คำแปลและความหมายจะทำให้มีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงามจิตใจจะบริสุทธิ์ขึ้นอ่อนโยนมีเมตตา เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด และย่อมทำให้ผู้สวดได้ความรู้และปัญญา (จุฑาทิพย์, 2552)

    2) ประโยชน์ในจิตของผู้อื่นที่ได้ยินเสียงสวดมนต์ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอยได้ความรู้
เกิดปัญญามีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยการให้ทาน (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี, 2557)

ยิ่งกว่านั้น การสวดมนต์ยังเป็นการสร้างความสุข และเกิดความสามัคคีในครอบครัว หากครอบครัวใดที่สวดมนต์เป็นประจำจะมีความสงบสุข เกิดสิริมงคลกับครอบครัว (สุภาพ, 2554)

@@@@@@@

การปรับใช้การสวดมนต์ในการสร้างเสริมสุขภาพ

นอกจากประโยชน์หรืออานิสงส์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวกับประโยชน์ของการสวดมนต์ โดยใช้การสวดมนต์บำบัดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ เพราะการสวดมนต์ทำให้มีสุขภาพจิตดีอันส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีของผู้สวดมนต์ (พินิจ, 2548)

นอกจากนี้ จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์ พบว่า มีการนำ
ประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์มาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังรายละเอียดผลการศึกษาต่อไปนี้

ผลการวิจัยกึ่งทดลองการสวดมนต์เพื่อบำบัดความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็ง
เต้านม โดยการติดตามผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะรับการรักษา จำนวน 10 ราย พบว่า

    - คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนสวดมนต์เท่ากับ 61.3 คะแนน (SD = 2.79) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังสวดมนต์ซึ่งเท่ากับ 53 คะแนน(SD = 3.43) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การสวดมนต์มีผลในการช่วยลดความวิตกกังวล ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

    - ส่วนคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังสวดมนต์เท่ากับ 53.4 คะแนน(SD = 0.84) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนสวดมนต์ ซึ่งเท่ากับ 51.3 คะแนน (SD = 2.58) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทำให้รู้สึกเป็นสุขสงบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ (พรทิพย์ และทิตยา, 2555)

จากผลการวิจัยกึ่งทดลองโปรแกรมการจัดการอาการ ที่เน้นการสวดมนต์ช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้ายจำนวน 60 ราย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง (ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์) และกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ) พบว่า

      ค่าเฉลี่ยอาการปวดภายหลังการทดลองของทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยอาการปวดภายหลังการทดลอง 4 วันและ 7 วัน ของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
      ยิ่งกว่านั้น อาการปวดของกลุ่มทดลองภายหลัง 4 วันและ 7 วัน พบว่า ลดลงจากก่อน

การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ (เบญมาศ และสุรีพร, 2555)


(ยังมีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2024, 05:41:43 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 01, 2024, 06:53:46 am »
0
.



ระเบียบวิธีวิจัย

การศึกษานี้ ใช้ข้อมูลจากโครงการ “การศึกษาสถานการณ์การสวดมนต์ในประเทศไทย: กรณีศึกษากิจกรรมการสวดมนต์ข้ามปี” ในส่วนของการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth interview) กลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งจากบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี 2556–2557 จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

1) เป็นผู้ที่สวดมนต์ทุกวันหรือเกือบทุกวันในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา (นับย้อนหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2556)
เพื่อให้ได้ข้อมูลและรูปแบบเกี่ยวกับการสวดมนต์ที่ชัดเจนกว่าผู้ที่สวดมนต์นานๆ ครั้ง หรือสวดมนต์เฉพาะวันสำคัญทางศาสนา/วันพระ

2) มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556–2557 ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
จำนวน 29 ราย โดยกระจายตามเพศ (ชาย 12 ราย และหญิง 17 ราย) และช่วงวัย ได้แก่
    (1) กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี จำนวน 8 ราย
    (2) กลุ่มวัยแรงงานอายุ 25 – 59 ปี จำนวน 13 ราย และ
    (3) กลุ่มวัยสูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 8 ราย

เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือแนวคำถามเจาะลึก ซึ่งทีมวิจัยได้นำข้อเสนอแนะ ที่ได้จาก
ผู้เชี่ยวชาญในการเสวนาให้คำปรึกษา “ความหมาย คุณค่า และวิธีการสื่อสารของการสวดมนต์ เพื่อเชื่อมโยงสู่การพัฒนาจิต” (Consultative meeting) มาพัฒนาเป็นแนวคำถามเฉพาะประเด็นที่ต้องการเจาะลึก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลุ่มลึก ซึ่งสามารถอธิบายเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความสนใจ ประโยชน์และอานิสงส์ของการสวดมนต์ได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์

@@@@@@@

การเก็บข้อมูลภาคสนามเชิงคุณภาพ

การศึกษาครั้งนี้มีการเก็บข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง ในระหว่างช่วงเดือนเมษายน ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่ง
การนัดหมายเก็บข้อมูลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการในวันหยุดสุดสัปดาห์และนอกเวลาราชการโดยติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ก่อนเพื่อนัดหมายวัน เวลา และสถานที่ที่สะดวกให้สัมภาษณ์ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีภารกิจในการประกอบอาชีพ เช่น เป็นข้าราชการ พนักงานเอกชน และบางส่วนเป็นนักเรียน/นักศึกษา

นักวิจัยหลักและนักวิจัยร่วมเป็นผู้เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยตนเอง โดยมีผู้ช่วยนักวิจัยร่วมในกระบวนการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอน และนักวิจัยได้ใช้การสังเกตบริบทของครอบครัวและชุมชนในขณะสัมภาษณ์ด้วย และสามารถถามซัก (Probe) ในประเด็นที่สนใจที่ถูกหยิบยกมากล่าวโดยผู้ให้ข้อมูลได้

อนึ่ง ชื่อที่ปรากฏอยู่ในบทความนี้เป็นเพียงนามสมมุติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการจริยธรรมในการทำวิจัยในคน ที่ทีมวิจัยจะไม่เปิดเผย ชื่อ–นามสกุลจริงของผู้ให้ข้อมูล

ผลการศึกษา

จากผลการศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้ พบว่า มุมมองของผู้สวดมนต์ทั้งสามกลุ่มวัยในเรื่องบริบททางสังคมและวัฒนธรรมและรูปแบบการสวดมนต์มีความคล้ายคลึงกัน ส่วนการอธิษฐานขอพร รวมถึงการนำประโยชน์และอานิสงส์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตของประชากรสามกลุ่มวัย พบว่ามีความแตกต่างระหว่างสามช่วงวัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

@@@@@@@

ลักษณะบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นจุดเริ่มต้นสู่การสวดมนต์

มิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ของประชากรทั้งสามกลุ่มวัยมีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ การสวดมนต์ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก และได้ปฏิบัติมากขึ้นตามประสบการณ์ชีวิต จำแนกได้เป็น 3 มิติ คือ
     1) การได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัว
     2) เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิต และ
     3) การเรียนรู้หลักธรรมโดยเริ่มจากความสนใจ และตั้งใจศึกษาหลักธรรมด้วยตนเอง

1) การได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัว ทั้งสามช่วงวัยมีพื้นฐานการสวดมนต์ โดยได้รับปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก ผ่านกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อและความศรัทธาจากคนในครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยเป็นหลัก และจากการมีพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องพาเข้าวัดทำบุญ ตักบาตร สวดมนต์อยู่เป็นประจำ

    “สวดค่ะ ก่อนนอน แต่ก่อนนอนกับยาย ยายจะพาสวดก่อนนอน…ยายก็สวดยาว เค้าก็ให้อยู่กับเค้า นั่งสวดด้วยกัน…และก็นั่งพนมมืออยู่ข้างๆ อันไหนได้เราก็พูดตาม…ยายสอนบอกว่า ให้แผ่เมตตาด้วย เวลาสวดมนต์”
     (น้องดี เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)
    “ที่บ้านก็จะเคร่งเรื่องการสวดมนต์ ทำวัตร…เค้าจะให้สวดมนต์ตลอด พอถึงวันพระเค้าจะให้สวดมนต์”…
    “สวดก่อนนอนทุกวัน ทำมาตั้งแต่เด็ก คล้ายๆ กับว่าพ่อแม่สอนมาแบบนี้”
     (น้องบอย เพศชาย อายุ 20 ปี, ทำงานแล้ว)

2) เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิต ซึ่งทำให้หันมาสนใจในเรื่องการสวดมนต์ พบว่า วัยแรงงานและวัยสูงอายุจะสะท้อนภาพดังกล่าวได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยแรงงานเป็นวัยที่มีการก่อร่างสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเริ่มเข้าสู่การทำงาน หรือการเริ่มสร้างครอบครัว ซึ่งต้องมีการปรับตัว กระบวนการต่างๆ เหล่านี้ทำให้มีโอกาสพบเจอเหตุการณ์สำคัญ หรือปัญหาที่เป็นวิกฤติของชีวิต เช่น ปัญหาในการทำงาน ความทุกข์จากชีวิตครอบครัว การสูญเสียบุคคลที่รัก เป็นต้น ทำให้คนเหล่านี้หันมาใช้วิธีการสวดมนต์เป็นที่พึ่งทางใจเพื่อคลายความทุกข์

    “ตอนที่สวดมนต์น่าจะเป็นช่วงเสียน้องชาย ประมาณ 10 ปีที่แล้ว คิดทำสิ่งที่ดีๆ ให้เกิดกับเค้าโดยการนั่งปฏิบัติธรรม ทำบุญใส่บาตร นึกถึงเค้าทุกครั้งที่เราใส่บาตร แล้วการสวดมนต์เป็นการทำดี โดยที่ไม่ต้องลงทุนสูง นั่งอยู่ในห้องก็ได้ไม่จำเป็นต้องมาที่วัด สวดมนต์ที่บ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นวันพระใหญ่”
     (พี่แอ๋ว เพศหญิง อายุ 49 ปี, ข้าราชการ)

    “ตั้งแต่พ่อแม่แยกทางกัน คือหนูก็เริ่มแบบว่าความทุกข์เริ่มเข้ามาเยอะ ต้องทำให้หนูรับผิดชอบอะไรเยอะขึ้น ต้องเป็นตัวแทนของน้อง และเป็นลูกคนโตด้วย จะทำอย่างไรให้เรารู้สึกดีขึ้น ไม่อยากให้เราเครียด หนูต้องดำเนินชีวิตต่อไป …ก็เลยเลือกใช้วิธีการสวดมนต์”
     (น้องฟาง เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

นอกจากนี้ การหมดภาระจากหน้าที่การงาน หรือหมดความกังวลเกี่ยวกับลูก เพราะลูกมีอาชีพการงานที่มั่นคง หรือมีครอบครัว ยังเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของกลุ่มวัยสูงอายุที่ทำให้เริ่มสวดมนต์ หรือเลือกไปทำบุญและถือศีลที่วัดอย่างสม่ำเสมอในวันพระมากขึ้น

    “รู้สึกว่าสวดมนต์จริงจัง ตั้งแต่เราออกจากข้าราชการครูมา …อายุมากขึ้น เราก็มาเอาทางพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ช่วย”
     (ป้าแดง เพศหญิง อายุ 70 ปี, ข้าราชการบำนาญ)

3) การเรียนรู้หลักธรรมจากความสนใจและตั้งใจศึกษาหลักธรรมด้วยตนเอง เห็นความสำคัญของการสวดมนต์ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

  “โดยส่วนตัวผมศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องของหลักธรรม เราไม่ได้รู้ทั้งหมดหรอก เรารู้แต่ส่วนที่จำเป็นที่เป็นแก่นจริงๆ การสวดมนต์จะเป็นสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น เพราะว่าเหมือนกับเป็นกิจกรรมหรือว่าเป็นจารีตประเพณีที่เรามีความศรัทธามีความเคารพ แล้วเราก็ต้องมีการเคารพบูชาประมาณนี้มากกว่า”
    (พี่บอล เพศชาย อายุ 27 ปี, พนักงานของรัฐ)

    “ตั้งใจสวด คือ สวดก็คิดว่าทำแล้วก็ดี ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าชีวิต สวดก่อนนอนทุกคืน น่าจะเป็นผลดี...ไปทำบุญที่วัดเห็นพระเค้าพูดว่าให้สวดมนต์ก่อนนอน ตอนทำใหม่ๆ ไม่ได้คิดอะไร สวดบ้างเว้นบ้าง ถ้าสวดได้ก็สวดไป มันก็ดี เป็นอะไรที่เราคิดของเราเอง”
     (พี่อ้น เพศหญิง อายุ 52 ปี, ธุรกิจส่วนตัว)

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า มิติเรื่องการเรียนรู้หลักธรรมด้วยตนเอง พบเฉพาะในวัยแรงงานเท่านั้นที่ได้สะท้อนข้อมูลดังกล่าวนี้ แต่นับว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญที่ควรนำมากล่าวถึง เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลนี้ ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเด็กเช่นกัน แต่เมื่อเติบโตขึ้นสนใจศึกษาจากพระอาจารย์ หรือศึกษาเพิ่มเติมด้วยการอ่านหนังสือ เพื่อศึกษาหลักธรรมด้วยตัวเอง ทำให้มีความศรัทธาในหลักธรรมของศาสนา ถือว่าเป็นการต่อยอดจากการที่ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงวัยใดก็ย่อมได้ หากคนๆ นั้นสนใจศึกษาด้วยตนเอง




การสวดมนต์ต้องเริ่มต้นด้วยความศรัทธา

รูปแบบการสวดมนต์ของทั้งสามกลุ่มวัยมีความคล้ายคลึงกัน คือ เห็นว่าการสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดี ต้องสวดด้วยความศรัทธาและเชื่อว่ามีคุณค่าทางด้านจิตใจจึงจะเกิดผลดีต่อตนเอง

     “การสวดมนต์ ต้องมีจิตใจที่ตั้งมั่น คือ น้อมจิตระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ต้องมีสมาธิในทุกขั้นตอนในการปฏิบัติ การมีสมาธิในการปฏิบัติหรือทุกขั้นตอนของการสวดจะช่วยให้เรามีสมาธิขึ้น”
      (พี่จี เพศชาย อายุ 43 ปี, ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว)

    “การสวดมนต์มันเหมือนว่าถ้าหากว่าเราไม่ศรัทธา เราสวดไปก็ไม่สบายใจ…เราต้องศรัทธาตลอดการสวดมนต์ คือเราจะต้องเชื่อว่าที่เราสวดไปเราต้องได้…เชื่อว่าที่เราทำต้องเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ดีเพราะว่าถ้าเราไม่เชื่อ เราสวดไปก็ไม่มีประโยชน์”
    (น้องเก้า เพศชาย อายุ 16 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

การสวดมนต์ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ จนเกิดความเคยชิน ส่วนใหญ่จะสวดช่วงก่อนนอนในเวลากลางคืน เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เงียบ ถ้าหากไม่ได้สวดมนต์จะเกิดความรู้สึกกังวลในจิตใจหรือบางคนทำให้นอนไม่หลับ

    “เรานึกในใจว่าวันนี้เมื่อยตัวเหลือเกิน จะนอนแต่วัน พอปูที่นอนเสร็จล้มหัวถึงหมอน คือไม่สวดมนต์ไม่ได้แล้ว เหมือนว่าเราเคยทำแล้วจะไม่ทำไม่ได้ ก็เหมือนเป็นกิจวัตร”…
    “ถ้าหากว่าวันไหนเราไม่สวดก็เหมือนจะนอนไม่หลับ แต่ถ้าเกิดว่าวันไหนที่เราสวดมนต์จะนอนหลับ”
    (ป้าแดง เพศหญิง อายุ 70 ปี, ข้าราชการบำนาญ)

ส่วนใหญ่จะสวดเสียงดังในระดับที่ตนเองได้ยิน เพื่อให้จิตใจไม่วอกแวก อยู่กับบทสวดมนต์ที่กำลังสวดตลอดเวลา

    “สวดมนต์ออกเสียงทุกครั้ง จะไม่พยายามพูดในใจเลย ถ้าเกิดพูดในใจปั๊ป มันทำให้หนูไม่มีสติ ถ้าหนูพูดในใจมีสิทธิ์คิดเรื่องอื่น แต่ถ้าหนูพูดออกมาเลย คือสติจะอยู่กับเสียง สติจะอยู่กับปาก”…
    “คือบทสวดมนต์เค้าบอกว่าถ้าเรายิ่งจดจ่อ แล้วก็ท่องบทนั้น ก็ยิ่งเพิ่มยกระดับ เพิ่มความศรัทธาความเลื่อมใส ก็เหมือนข้อสอบ ถ้าเรายิ่งท่อง ยิ่งจำหลายๆ รอบก็ยิ่งทำให้เราจำได้”
     (น้องฟาง เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

ผู้สูงอายุที่อ่านหนังสือไม่ออกจะใช้วิธีสวดแบบท่องจำ และสวดตามผู้นำสวดมนต์หากสวดตามไม่ทันหรือจำบทสวดไม่ได้

    “อันไหนสวดไม่ได้ก็จะนั่งเงียบ แต่จะไม่หลับ คือเราตั้งใจฟัง พระพูดอะไรใจเราก็ไปกับเค้า…เราสวดไม่ได้ก็ตามเค้าในใจ…ก็จะจำได้เป็นบางที หัวท้ายจะได้เลย…แต่ก็เออหัวท้ายก็ช่างมันเถอะ”
     (ป้าสาม เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

ภาษาที่สวดเป็นภาษาบาลีอย่างเดียวไม่มีบทแปล และทั้งสามช่วงวัยเห็นว่า การสวดมนต์จำเป็นต้องรู้และเข้าใจความหมายของแต่ละบทที่สวด เพราะบทสวดแต่ละบทมีคำสอนและหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

    “ถ้าพูดถึงรู้คำแปลก็ดีนะ เพราะคำแปลทำให้เรารู้หมดเลยว่าพระพุทธเจ้าทำอะไร ทำเหมือนเปี๊ยบ…ก็ยังบอกกับแฟนว่าพระพุทธเจ้าสวดมนต์กับคำแปลเหมือนกันเลยในชีวิตของคนเรา ท่านสอนดีมาก”
     (ป้าน้อย เพศหญิง อายุ 69 ปี, ค้าขาย)

    “โดยส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าเราเข้าใจความหมายอยู่แล้วในขณะที่เราสวด บางครั้งเราไม่ต้องแปลก็ได้แต่เราจะระลึก เรารู้อยู่ในใจอยู่แล้วว่า โอเคเราสวดอะไรอยู่ ความหมายคืออะไร เราสวดเพื่ออะไร”
     (พี่บอล เพศชาย อายุ 27 ปี, พนักงานของรัฐ)

    “หนูว่าคำแปลมีส่วนสำคัญ สวดไปรู้แต่ว่า อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภควา แต่ไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรแล้วสวดไปเหมือนกับนกแก้ว นกขุนทอง โดยที่ไม่รู้เลยว่าสวดไปได้อะไร…ถ้าเราได้รู้ความหมาย และทำให้เราสามารถ focus ได้ว่าเราอยากได้อะไร เราก็ focus บทสวดนั้น”
     (พี่แอ๋ว เพศหญิง อายุ 49 ปี, ข้าราชการ)

ส่วนระยะเวลาของการสวดมนต์ พบว่า แต่ละคนใช้เวลาไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบทสวดมนต์ เป็นบทสวดแบบสั้นหรือยาว และความเหนื่อยล้าหลังจากการทำกิจกรรมในแต่ละวัน

    “วันไหนเราทำงานล้าๆ ก็บอกว่าวันนี้จะไม่สวดมนต์ พอหัวถึงหมอน ไม่ได้ต้องลุกขึ้นมาสวดก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ว่าคือเราก็สวดแบบง่ายๆ ไม่ต้องยาวมาก”
     (ป้าแดง เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สวดมนต์ทั้งสามช่วงวัย ในบางรายมีการแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง ครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร และญาติที่ล่วงลับหลังสวดมนต์เสร็จ

    “เวลาก่อนที่จะสวดจบ พระก็พาแผ่เมตตาให้คนโน้น คนนี้ แค่นี้ก็สบายใจแล้ว…ชอบๆๆ กลัวว่าคนที่ตายไปแล้ว กลัวจะไม่ได้ ก็จะชอบตรงนี้”
     (ป้าสาม เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

    ”ถ้าหากว่าสวดมนต์เสร็จ ถ้าหนูนั่งสมาธิเสร็จก็คือจะอโหสิกรรม ต่อด้วยแผ่เมตตาให้ญาติ พ่อแม่…ยายบอกว่าแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรเราด้วย คนที่คิดไม่ดีกับเรา ก็จะเลิกร้ายต่อกันไป”
     (น้องดี เพศหญิง อายุ 17 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

    “หนูว่าคำแปลมีส่วนสำคัญ สวดไปรู้แต่ว่า อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภควา แต่ไม่รู้เลยว่ามันคืออะไรแล้วสวดไปเหมือนกับนกแก้ว นกขุนทอง โดยที่ไม่รู้เลยว่าสวดไปได้อะไร…ถ้าเราได้รู้ความหมาย และทำให้เราสามารถ focus ได้ว่าเราอยากได้อะไร เราก็ focus บทสวดนั้น”
     (พี่แอ๋ว เพศหญิง อายุ 49 ปี, ข้าราชการ)

ส่วนระยะเวลาของการสวดมนต์ พบว่า แต่ละคนใช้เวลาไม่เท่ากัน ซึ่งขึ้นอยู่กับบทสวดมนต์ เป็นบทสวดแบบสั้นหรือยาว และความเหนื่อยล้าหลังจากการทำกิจกรรมในแต่ละวัน

    “วันไหนเราทำงานล้าๆ ก็บอกว่าวันนี้จะไม่สวดมนต์ พอหัวถึงหมอน ไม่ได้ต้องลุกขึ้นมาสวดก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ว่าคือเราก็สวดแบบง่ายๆ ไม่ต้องยาวมาก”
     (ป้าแดง เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สวดมนต์ทั้งสามช่วงวัย ในบางรายมีการแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง ครอบครัว เจ้ากรรมนายเวร และญาติที่ล่วงลับหลังสวดมนต์เสร็จ

    “เวลาก่อนที่จะสวดจบ พระก็พาแผ่เมตตาให้คนโน้น คนนี้ แค่นี้ก็สบายใจแล้ว…ชอบๆๆ กลัวว่าคนที่ตายไปแล้ว กลัวจะไม่ได้ ก็จะชอบตรงนี้”
     (ป้าสาม เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

    ”ถ้าหากว่าสวดมนต์เสร็จ ถ้าหนูนั่งสมาธิเสร็จก็คือจะอโหสิกรรม ต่อด้วยแผ่เมตตาให้ญาติ พ่อแม่…ยายบอกว่าแผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรเราด้วย คนที่คิดไม่ดีกับเรา ก็จะเลิกร้ายต่อกันไป”
     (น้องดี เพศหญิง อายุ 17 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)





การอธิษฐานขอพรหลังการสวดมนต์

การอธิษฐานขอพรหลังจากการสวดมนต์ พบว่า ส่วนใหญ่ทุกกลุ่มวัยจะอธิษฐานขอพร โดยให้ความสำคัญกับครอบครัว หรือบุคคลในครอบครัวเป็นลำดับแรก จากข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า สถาบันครอบครัวนั้น มีความสำคัญสำหรับคนในทุกช่วงวัย เป็นสถาบันที่สร้างความผูกพันระหว่างคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกัน
    ส่วนใหญ่เป็นการอธิษฐานขอให้คนในครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรง อายุยืนนาน
    ส่วนการขอพรให้ตนเอง จะขอให้มีสุขภาพแข็งแรงการเรียนและการทำงานราบรื่น มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ

    “เวลาที่สวดเสร็จได้มีการอธิษฐานทุกวัน …ก็จะอธิษฐานให้คุณพ่อคุณแม่ก่อน ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย แล้วก็จะอธิษฐานให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี”
     (น้องเจ เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

    “ก็ใจนึกอยากสวด อยากให้ลูกสบาย…ตัวเองด้วย และครอบครัว…ยังไงก็ต้องให้ลูกก่อน…ก็อยากให้ลูกดี ขอให้ลูกดีอย่างเดียว”
     (ป้าน้อย เพศหญิง อายุ 69 ปี, ค้าขาย)

การขอพรของกลุ่มวัยรุ่นและวัยแรงงานในเรื่องการเรียนและทำงานนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มนี้ตระหนักดีว่าต้องไม่ขอพรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องลงมือกระทำด้วยจึงจะประสบผลสำเร็จได้จริง รวมถึงการขอพรให้ตนเองอยู่รอดปลอดภัย ไม่มีอันตราย ก็เห็นว่าต้องอยู่ที่การกระทำของตนเองด้วย

    “เรื่องการเรียนขอให้เราเรียนให้ดีขึ้น แต่ก็ต้องปฏิบัติตัวให้ดีขึ้นกว่าเดิม …เราก็อ่านด้วย ไม่ใช่ว่าอาศัยแต่เรื่องอย่างนี้อย่างเดียว ถ้าเราไม่อ่านหนังสือก็สอบไม่ได้”
     (น้องเจ เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

    “ขอให้พระคุ้มครอง ใช่พระคุ้มครอง แต่ท่านจะคุ้มครองตอนที่เราประพฤติตนเป็นคนดี ถ้าเราประพฤติไม่ดี ท่านไม่คุ้มครอง เพราะพุทธศาสนาของเรา คือ อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนต้องช่วยเหลือตนเองด้วย”
     (พี่จี เพศชาย อายุ 43 ปี, ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว)

นอกจากนี้ยังพบว่า วัยสูงอายุบางคนไม่ได้อธิษฐานหรือขอพร เพราะได้ศึกษาหลักธรรม และมีความเชื่อมั่นว่า ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง เห็นว่าศาสนาพุทธไม่ได้เป็นศาสนาแห่งการร้องขอ

    “ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นศาสนาแห่งการร้องขอ ไม่ใช่สวดมนต์แล้วขอให้ได้โน่นได้นี่…เมื่อเราคิดดี พูดดี ทำดี ผมว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้น และถ้าอยากให้ชีวิตมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นควรจะเริ่มจากการสวดมนต์”…
    “การอธิษฐานถ้าตามศาสนาพุทธจริงๆ เค้าก็บอกว่าไม่ได้เท่าไหร่ แต่ก็ไม่รู้ว่าเราไปแอนตี้หรือเปล่าอย่างหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ บอกว่าในศาสนาพุทธไม่มีจงดลบันดาล ขออำนาจบารมีที่หลวงพ่อโสธร หรือว่าใครๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านเคารพนับถือจงดลบันดาลให้..ไม่มีในศาสนา”
     (ลุงสี่ เป็นผู้สูงอายุ เพศชาย, ข้าราชการบำนาญ)

อย่างไรก็ตาม พบว่า คนที่ไม่ได้ขอพรหรืออธิษฐานดังข้างต้น แต่กลับมีมุมมองน่าสนใจ เช่น ในการสวดมนต์หรือทำกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ ในแต่ละครั้ง จะคำนึงถึงหลักความเป็นจริงว่าทำไปเพื่ออะไร มีประโยชน์อย่างไรทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่น นึกถึงว่าการสวดมนต์ เป็นการสวดเพื่อเผยแพร่และสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งมุมมองนี้สะท้อนให้เห็นว่า คุณค่าของการสวดมนต์หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ทางศาสนา ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงเรื่องของการขอพร หรืออธิษฐานให้เป็นไปตามที่ใจมุ่งหวังเท่านั้น

    “ไม่ได้ขอเหมือนอย่างที่คนอื่นเค้าขอ ...เพราะเราจะนึกถึง อย่างเวลาที่เราสวดมนต์ ใส่บาตร ทำบุญเราทำเพื่ออะไร เช่น ผมนึกว่าใส่บาตร เราก็ใส่ให้พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาได้ดำรงชีพอยู่ เพื่อปฏิบัติธรรม เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา และพุทธศาสนาที่ท่านรักษาไว้ก็เป็นพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า”
     (พี่บอล เพศชาย อายุ 27 ปี, พนักงานของรัฐ)

@@@@@@@

ประโยชน์หรืออานิสงส์จากการสวดมนต์

ทุกกลุ่มวัยได้สะท้อนให้เห็นว่า การสวดมนต์ทำให้ได้รับประโยชน์หรืออานิสงส์สำคัญที่เหมือนกัน คือการมีสติในขณะที่สวด

    “การสวดมนต์ ทำให้เรามีสติ มีความระลึกรู้ทัน คือเราทุกคนผมเข้าใจว่าก็ต้องมีจิตคิดชั่วกันบ้างทุกคน วันหนึ่งอาจจะกี่ครั้ง หรือว่านับไม่ถ้วนก็มีบ้าง แต่ว่าก็ทำให้เรามีสติ…ถ้าเราทำกรรมไม่ดีกรรมที่ไม่ดีก็จะส่งผลให้กับเรา”
     (พี่บอล เพศชาย อายุ 27 ปี, พนักงานของรัฐ)

ภายหลังจากการสวดมนต์จะทำให้เกิดความสบายใจ มีจิตใจสงบ และเกิดความสุข

    “สวดแล้วมีความรู้สึกว่าสบายใจ รู้สึกว่าเราทำทุกวันก็ดีกับตัวเอง จิตใจผ่องใส”
     (น้องเก้า เพศชาย อายุ 16 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

นอกจากนี้ การสวดมนต์ยังเป็นการพัฒนาจิต ทำให้มีสมาธิ และเกิดปัญญา

    “การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิแล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นตามมาเอง”
     (พี่จี เพศชาย อายุ 43 ปี, ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว)

ผู้ให้ข้อมูลแต่ละกลุ่มวัยได้นำอานิสงส์จากการสวดมนต์ดังกล่าว มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมภายใต้บริบทที่มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย กล่าวคือ กลุ่มวัยรุ่นได้นำประโยชน์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในการเรียน เช่น การทำสมาธิก่อนสอบ เพื่อช่วยให้มีสติและใจจดจ่อในขณะที่สอบ

    “สามารถทำให้เราคิดถึงการมีสติ มีสมาธิ และมีใจจดจ่ออยู่ที่ข้อสอบนั้น และสามารถนึกถึงบทเรียนหรือที่อาจารย์สอนมาได้แน่วแน่ ใจจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น”
     (น้องแอล เพศหญิง อายุ 22 ปี, กำลังเรียนหนังสือ)

ส่วนวัยแรงงานได้นำประโยชน์จากการสวดมนต์มาปรับใช้ในการทำงาน และการใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเห็นได้ชัด เช่น การใช้สติพิจารณาใคร่ครวญ สิ่งที่ได้กระทำมาอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความมั่นใจในงานที่ตนเองได้ทำ

   “มันต้องสัมผัสและทำด้วยตัวเอง ถึงผมบอกไปก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ความรู้สึกเป็นยังไง เพราะการสวดมนต์ช่วยในเรื่องที่ทำให้เรามีสติมากขึ้น เวลาทำงานเราก็เอาประสบการณ์จากการสวดมนต์มาใช้ในการทำงาน คือ รู้ว่าเราทำอะไรอยู่ เหมือนกับเป็นการเชื่อมโยงกัน อย่างเช่นเราสวดมนต์เราก็ต้องจดจ่อกับคำสวด มันก็เริ่มมาจากตรงนี้ เหมือนกับการทำงาน เราก็รู้ว่าเราทำตรงนี้อยู่นะ ไม่ใช่เราดูตรงนี้อยู่แต่ใจลอยไปที่อื่น”
    (น้องเอ เพศชาย อายุ 23 ปี, ทำงานแล้ว)

รวมถึงการใช้สติในการควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

    “การสวดมนต์ช่วยในการทำงานได้ค่ะ ช่วยได้เยอะเลย…ด้วยนิสัยของตัวเองเป็นคนใจร้อนเป็นคนพูดจาไม่ได้คิด แต่พอสวดมนต์ก็ทำให้เราใจเย็นลง ทำอะไรก็มีสติ ทำให้คิดก่อนทำ”
     (พี่หนึ่ง เพศหญิง อายุ 26 ปี, พนักงานบริษัทเอกชน)

ผู้สูงอายุจะให้ความสำคัญกับการสวดมนต์ในฐานะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว และมีคุณค่าทางด้านจิตใจ เพื่อให้เกิดความสบายใจและความสุขในช่วงบั้นปลายของชีวิต เนื่องจากผู้สูงอายุได้ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตทั้งทางด้านบวกและด้านลบมาตลอดช่วงชีวิต

จากข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์หรืออานิสงส์ทีได้กล่าวมาข้างต้น มีความสอดคล้องกับอานิสงส์ของการสวดมนต์ตามความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา ซึ่งเกิดกับจิตของผู้สวดมนต์เอง (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี, ม.ป.ป.) เพราะขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะปลอดโปร่งไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย (สุภาพ, 2554) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุทำให้มองโลกในแง่ดีและปล่อยวาง

    “คือเราก็ปลงไปเอง แล้วก็จากประสบการณ์ของตัวเองด้วย คือเมื่อก่อนลำบากมาก แต่เราก็ไม่ได้มองคนอื่นว่า ทำไมเค้าถึงรวย ทำอย่างไรเค้าถึงรวย มันก็บุญวาสนาของเรา ถ้าไม่มีวาสนาก็ลำบากอยู่อย่างนั้น ทำจนตายก็ไม่รวย”
     (ป้าสาม เพศหญิง อายุ 60 ปี, รับจ้างทั่วไป)

    “สวดแล้วสบายใจ …ก็ทำงานไป ดีไป ไม่เหนื่อยไม่ล้า …มันมีกำลังใจ อะไรที่เราทำไว้มันก็ดี ไม่เห็นมันก็ดี อะไรๆ ก็ทำดีไว้ ก็บอกให้ทำดี ทำชั่วก็ได้ชั่ว ทำดีก็ได้ดี”
     (ลุงยิ้ม เพศชาย อายุ 68 ปี, ธุรกิจส่วนตัว)

และเป็นข้อน่าสังเกตว่า ผู้สูงอายุได้สะท้อนให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการสวดมนต์ทางด้านจิตใจช่วยยึดเหนี่ยวเพื่อให้เกิดความสุข ความสบายใจในช่วงบั้นปลายของชีวิต มากกว่าการนำไปปรับใช้ในเรื่องของการทำงานหรือเรื่องอื่นๆ อาจเป็นเพราะผู้สูงอายุผ่านประสบการณ์ในแต่ละช่วงวัย ทั้งทางด้านบวกและด้านลบมาแล้วมากมาย จนถึงช่วงชีวิตในปัจจุบันถึงแม้การสวดมนต์จะมีประโยชน์และอานิสงส์ดังได้กล่าวข้างต้น แต่การสวดมนต์ควรกระทำอยู่เสมอ จึงจะได้รับประโยชน์ที่เป็นมงคลแก่ตนเองอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ไม่ใช่สวดมนต์เพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้น

    “ไม่ใช่สวดมนต์แค่วันนี้ แต่ในชีวิตประจำวันไม่ได้ทำ หรือว่ายังประพฤติตนที่ไม่ดีอยู่ ถึงทำไปก็ไม่มีประโยชน์ในความคิดของผม มงคลอาจจะเกิดกับตัว แต่จะเกิดบางครั้งบางคราวเท่านั้น แต่ถ้าอยากจะให้มงคลเกิดกับตัวเองต่อเนื่อง ต้องทำบ่อยๆ”
     (พี่จี เพศชาย อายุ 43 ปี, ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว)

(ยังมีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2024, 07:09:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 01, 2024, 07:39:58 am »
0
.



บทสรุปและอภิปรายผล

บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ของประชากรทั้งสามวัย เปรียบเสมือนการก้าวเดินตามบันไดแห่งชีวิต เริ่มตั้งแต่การได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดการสวดมนต์จากครอบครัวตั้งแต่วัยเด็กเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ ความศรัทธาจากคนในครอบครัวที่อาศัยอยู่เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละช่วงวัย ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ชีวิตที่เพิ่มขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าวัยแรงงานจะสะท้อนภาพดังกล่าวได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นวัยที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง มีการก่อร่างสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเริ่มเข้าสู่การทำงาน การเริ่มสร้างครอบครัว ซึ่งต้องมีการปรับตัว ทำให้มีโอกาสพบเจอเหตุการณ์สำคัญ หรือปัญหาที่เป็นวิกฤติของชีวิต ทำให้คนเหล่านี้หันมาใช้เลือกวิธีการสวดมนต์ เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ

อย่างไรก็ตาม ยังมีวัยแรงงานส่วนหนึ่งที่สนใจในเรื่องการสวดมนต์ เพราะเห็นความสำคัญของการสวดมนต์ที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ในขณะที่วัยสูงอายุเป็นวัยที่ผ่านประสบการณ์ในการใช้ชีวิตและได้ซึมซับเรื่องราวทางสังคมและวัฒนธรรมมากมาย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยทำงาน จนถึงช่วงบั้นปลายชีวิต หมดภาระครอบครัว ต้องการปล่อยวางจากเรื่องต่างๆการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา โดยเฉพาะการสวดมนต์ จึงเป็นกิจกรรมที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้เป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

ประชากรทั้งสามกลุ่มวัยมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดี ต้องสวดด้วยความศรัทธาและเชื่อว่ามีคุณค่าทางด้านจิตใจจึงจะเกิดประโยชน์ การสวดมนต์ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ ถ้าหากไม่ได้สวดมนต์จะเกิดความรู้สึกกังวลในจิตใจ หรือบางคนทำให้นอนไม่หลับ ส่วนใหญ่จะสวดช่วงก่อนนอนเพราะเป็นช่วงเวลาที่เงียบ และจะสวดเสียงดังในระดับที่ตนเองได้ยิน เพื่อให้จิตใจจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์

@@@@@@@

ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสุภาพ หอมจิตร (2554) ที่กล่าวว่าการสวดมนต์จะเกิดประโยชน์แก่จิตของผู้สวดมนต์เอง เสียงในการสวดมนต์ของผู้สวดจะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ซึ่งจะทำให้ผู้สวดเกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ และผู้สวดต้องสวดเสียงดังให้ได้ยินในหูของตนเอง เพื่อให้จิตจดจ่ออยู่กับเสียงสวดมนต์ จึงทำให้เกิดสมาธิ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี, ม.ป.ป.)

ทั้งสามช่วงวัยเห็นว่า การสวดมนต์จำเป็นต้องรู้และเข้าใจความหมายของแต่ละบทที่สวด เพราะบทสวดแต่ละบทมีคำสอนและหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งหากรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

สอดคล้องกับข้อมูลจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาที่ชี้ว่า หากผู้สวดรู้คำแปลจะยิ่งทำให้ผู้สวดมนต์เกิดศรัทธาเชื่อมั่นในบทสวดมากขึ้น ส่งผลให้ได้รับความสงบในจิตใจและแสงสว่างทางปัญญา สามารถนำหลักธรรมในบทสวดมนต์ไปปฏิบัติตามได้ (อัครเดช, ม.ป.ป.)

การอธิษฐานขอพรหลังจากการสวดมนต์ เป็นที่น่าสนใจว่า ผู้สวดมนต์ในกลุ่มวัยรุ่น และวัยแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนมุมมองในเรื่องการเรียนและทำงานให้เห็นว่า การขอพรเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้สำเร็จได้ หากแต่ต้องลงมือกระทำด้วยจึงจะประสบผลสำเร็จได้จริง ผู้สวดมนต์ทั้งสามกลุ่มวัยส่วนใหญ่จะอธิษฐานขอพรให้กับครอบครัวหรือบุคคลในครอบครัวเป็นลำดับแรก โดยส่วนใหญ่ขอให้คนในครอบครัวมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรงและมีอายุยืนนาน ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมไทย สถาบันครอบครัวยังมีความสำคัญสำหรับคนในทุกช่วงวัย นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน




ผู้สวดมนต์ทั้งสามวัยมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า ประโยชน์หรืออานิสงส์สำคัญที่ได้รับจากการสวดมนต์คือ การมีสติในขณะที่สวดมนต์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จิตใจจะสงบและเกิดความสุข สอดคล้องกับแนวคิดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี (ม.ป.ป.) ที่กล่าวว่า ผู้สวดมนต์จะซึมซับการสวดมนต์จากการฟังเสียง ทำให้มีสติและเกิดความรู้สึกสบายใจ ได้ความรู้ เกิดปัญญามีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย

นอกจากนี้ ผู้สวดมนต์แต่ละกลุ่มวัยได้สะท้อนข้อมูลสำคัญในการนำประโยชน์จากการสวดมนต์ดังกล่าว มาปรับใช้ในวิถีชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม ภายใต้บริบทที่มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย โดยกลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน ได้นำประโยชน์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในการทำสมาธิก่อนสอบ และมีสติขณะสอบ

สอดคล้องกับผลการศึกษาของฐิตวี แก้วพรสวรรค์ และคณะ(2555) เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นผู้มีสติของวัยรุ่นไทย เพื่อวัดลักษณะความเป็นผู้มีสติในกลุ่มนักเรียนหญิงและชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 658 ราย ซึ่งพบว่า ส่วนใหญ่นักเรียนที่สวดมนต์ที่บ้านทุกวันหรือเกือบทุกวัน จะเห็นประโยชน์ของการมีสติ สูงถึงร้อยละ 90.8 และมีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกสติถึงร้อยละ 60.1

@@@@@@@

จากข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นชัดว่า การสวดมนต์มีส่วนในการสร้างสติและสมาธิได้เป็นอย่างดี ส่วนวัยแรงงานได้นำประโยชน์จากการมีสติมาปรับใช้ในการควบคุมอารมณ์ในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และผู้สูงอายุจะให้ความสำคัญกับการสวดมนต์ ในฐานะเป็นสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวและมีคุณค่าทางจิตใจ เพื่อให้เกิดความสบายใจและความสุข ในช่วงบั้นปลายของชีวิต

สอดคล้องกับผลการศึกษาของวรรณวิสาข์ ไชยโย(2555) ที่ศึกษาทรรศนะ เรื่องความสุขในผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์ พบว่า ก่อนนอนผู้สูงอายุมักจะสวดมนต์ ไหว้พระทุกคืน เพราะเมื่อปฏิบัติแล้วทำให้เกิดความสุขและความสงบภายในจิตใจ

จากข้อค้นพบดังกล่าว การสวดมนต์อาจถือเป็นกิจกรรมทางเลือกที่สามารถทำได้ที่บ้าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เหมาะสำหรับทุกกลุ่มวัย และเหมาะสำหรับทั้งผู้มีปัญหา และไม่มีปัญหาในการดำรงชีวิต ซึ่งผู้ที่สนใจอาจทดลองนำการสวดมนต์ไปใช้ในวิถีประจำวัน อาจเกิดประโยชน์หรืออานิสงส์เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะผู้สวดมนต์ที่สวดเป็นประจำหรือบ่อยครั้งเท่านั้น ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปจึงควรศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคในการสวดมนต์ โดยศึกษาทั้งกลุ่มคนที่สวดและไม่ได้สวดมนต์ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบปัญหาและอุปสรรคของการสวดมนต์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการวางแผนเผยแพร่กิจกรรมการสวดมนต์ต่อไป

@@@@@@@

กิตติกรรมประกาศ

บทความนี้ใช้ข้อมูลจากโครงการ “การศึกษาสถานการณ์การสวดมนต์ในประเทศไทย : กรณีศึกษากิจกรรมการสวดมนต์ข้ามปี” ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)









ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
ข้อมูลจาก : เอกสาร ความหลากหลายทางประชากรและสังคม ในประเทศไทย ณ ปี 2558 ,หน้าที่ 269-284 ,ที่มา https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/03/447-IPSR-Conference-A17-fulltext.pdf 
อ่านหนังสือ "ประชากรสามกลุ่มวัยได้อะไร จากการสวดมนต์" (ฉบับสมบูรณ์) ได้ที่ https://ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/FileUpload/PDF/Report-File-512.pdf

เอกสารอ้างอิง :-
   1. จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. (2552). ตำนานบทสวดมนต์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสาร.
   2. ฐิตวี แก้วพรสวรรค์, กมรพร แก้วสวรรค์, และถิรพร ตั้งจิตติพร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นผู้มีสติของวัยรุ่นไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(4) : 403 – 412.
   3. ณรงค์ ฤทธิวาจา. (2555). สาระความรู้ใกล้ตัว : ผู้สูงวัย. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2557, จาก http://vgi – intra.vgi.co.th/vgi – intra/LinkWebpage/มุมนี้ดีมีสาระ/Information/020512/K77 – HB.pdf
   4. ทัศนา จิรสิริธรรม. (2552). ศึกษาการสวดมนต์แปลเพื่อการบรรเทาทุกข์ทางใจ : กรณีศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการอยู่เย็นเป็นสุขพ้นทุกข์ร่วมกัน ณ เสถียรธรรมสถาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
   5. เบญมาศ ตระกูลงามเด่น และสุรีพร ธนศิลป์. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก. 5(2) : 30 – 42.
   6. พรทิพย์ ปุกหุต และทิตยา พุฒิคามิน. (2555). ผลของการสวดมนต์บำบัดต่อความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะรับการรักษา. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 30(2) : 122 – 130.
   7. พินิจ รัตนกุล. (2548). สวดมนต์ สมาธิ วิปัสสนา รักษาโรคได้. นครปฐม : มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์.
   8. รศรินทร์ เกรย์, ภาณี วงษ์เอก, ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์ และเจตพล แสงกล้า. (2557). รายงานผลการศึกษาเชิงปริมาณ
   9. การสวดมนต์ข้ามปี 2556 – 2557: กรณีศึกษา 4 ภาค. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
 10. วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2555). ทรรศนะเรื่องความสุขในผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์. มนุษยศาสตร์สาร. 13(1) : 16 – 30.
 11. สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี. (ม.ป.ป.). อมตะธรรม : ประวัติการสวดมนต์. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2557, จาก http://www.kanlayantam.com/sara/sara/64.htm
 12. สุภาพ หอมจิตร. (2554). สวดมนต์อานิสงค์ครอบจักรวาล. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเซียง.
 13. สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2529). วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดารสาส์น ประกาศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
 14. อัครเดช ญาณเตโช. (ม.ป.ป.). ประโยชน์ของการสวดมนต์. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2557, จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1 – 56(500)/page1 – 1 – 56(500).html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 01, 2024, 09:42:53 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ