ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร.?”  (อ่าน 114 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



๓. นิพพานสุขสูตร
ว่าด้วยนิพพานเป็นสุข
(๑-)


[๓๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน(๒-) เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า
    “ผู้มีอายุทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข นิพพานนี้เป็นสุข”
เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า
    “ท่านสารีบุตร ก็นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ผู้มีอายุ นิพพานที่ไม่มีเวทนานั่นแลเป็นสุข 

กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล
ผู้มีอายุ สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ ๕ ประการเกิดขึ้น เรียกว่า กามสุข


@@@@@@@

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดัน(๓-) แก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยกามเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-มนสิการที่ประกอบด้วยปีติยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุข เพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยปีติเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขายังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร




ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาสหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดันแม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยรูปเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้นยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้นทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดัน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานยังฟุ้งขึ้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่คนผู้มีสุขเพียงเพื่อความกดดัน แม้ฉันใด สัญญามนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมฟุ้งขึ้นแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นความกดดันแก่ภิกษุนั้น ความกดดันพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าทุกข์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร

@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ และอาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญาโดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร”

                                     นิพพานสุขสูตรที่ ๓ จบ






เชิงอรรถ
(๑-) ดูข้อ ๔๒ (สัมพาธสูตร) หน้า ๕๓๓ ในเล่มนี้
(๒-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๖ (สิลายูปสูตร) หน้า ๔๘๔ ในเล่มนี้
(๓-) ความกดดัน (อาพาธ) หมายถึง ความบีบคั้น (ปีฬนะ) (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๔/๓๐๘)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๐-๕๐๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๔. มหาวรรค , ๓. นิพพานสุขสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=197
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2024, 09:44:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ
(๑-)

[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพีครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า

    “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า
     ‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่ ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’           
     ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างไร”

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
   ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
   ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
   ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
   ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
   ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
             
ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ


@@@@@@@

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย(๒-) หนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้นวิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้

ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌานนั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้นชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้

ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในตติยฌานนี้

ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้





ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้

ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่งด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้


@@@@@@@

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุพระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย(๓-)แล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

                            สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ







เชิงอรรถ
(๑-) ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕
(๒-) ปริยาย ในที่นี้หมายถึง เหตุหนึ่งๆ หรือวิธีหนึ่งๆ กล่าวคือ ทรงแสดงว่า วิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น“ช่องว่าง”ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌานเป็นช่องว่างในที่คับแคบ คือ กามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ , ทุติยฌานเป็นช่องว่างในที่คับแคบคือ วิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)
(๓-) นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่างสิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕)

ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๓-๕๓๕
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์] , ๕. สามัญญวรรค ๑. สัมพาธสูตร
URL : https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=14936
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



นิพพาน
โดย นิรนาม | สิ่งที่ควรรู้ | 01 สิงหาคม 2561



ปริยัติธรรม : พระไตรปิฎก

นิพพาน หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ

คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุกข์

พระพุทธศาสนาถ้าปราศจากนิพพานแล้วก็ไม่เกิดเป็นศาสนา เพราะในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น ๑๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา พระองค์ก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม โดยทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ ๔ แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ญาณ ๓ คือ

ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย

ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยามสุดท้ายที่พระองค์ทรงบรรลุนี่แหละ คือนิพพาน ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับ "อาสวักขญาณ"


@@@@@@@

ในขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ธาตุสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนิพพานธาตุ ๒ ประเภท คือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานโดยที่อินทรีย์ ๕ ยังคงอยู่ จึงยังเสวยสุขและทุกข์อยู่เมื่อประสบกับประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์

๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ หมายถึง นิพพานทั้งดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิงแล้ว

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ ๔ ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ ๓ ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม ๓๑ ระบุว่าอริยสัจ ๔ ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส นิโรธฏฺโฐ อนตฺตฏฺโฐ. (ขุ.ปฏิ. ๓๑/๕๔๖/๔๕๐) แปลว่า: "สัจจะทั้ง ๔ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) มีการตรัสรู้ด้วยกันเป็นอันเดียว ( คือด้วยมรรค ญาณเดียวกัน ) โดยความหมายว่าเป็นอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายว่าดับ ( ทุกข์ ) ก็มีความหมายว่า เป็นอนัตตา

ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรคระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" และในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตมีระบุว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ซึ่ง "ธรรม" ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายต่อว่า "หมายรวมถึงนิพพานด้วย" นอกจากนี้ ยังมีข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกหลายแห่งทั้งที่ระบุโดยตรงและโดยอ้อมที่มีนัยบอกว่า "นิพพานเป็นอนัตตา"

พระพุทธเจ้าไม่เคยทรงอธิบายว่า พระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานเมื่อดับขันธ์แล้วจะอยู่ในสภาพเช่นใด การอธิบายทำได้ในลักษณะเพียงว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก สำหรับพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้วนั้น พระพุทธองค์ไม่ตรัสยืนยันถึงความมีอยู่หรือความดับสูญ พระองค์ตรัสแต่เพียงว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว ทั้งเทวดาและมนุษย์จะไม่สามารถเห็นพระองค์อีกต่อไป "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต" ( ที.สี.๑๔/๙๐ )

ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา ยังมีข้อความแสดงสภาวะของนิพพานอีกหลายแห่ง เช่นในปฏิสัมภิทามรรค มีอธิบายว่า นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ "ธรรมคือนิพพาน ว่างจากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา" (ขุ.ป.อ.๒/๒๘๗) นอกจากนี้ในวิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสะ พยายามอธิบายให้เห็นถึงความไม่มีตัวตนของผู้ได้ชื่อว่าบรรลุนิพพาน ซึ่งเท่ากับว่าไม่มีอัตตา และนิพพานก็มิใช่สิ่งที่จะต้องมีอัตตาถึงจะมีอยู่ได้ ดังที่พระพุทธโฆสะกล่าวว่า "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" ( วิสุทฺธิ.๓/๑๐๑ ) ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนบุคคลใด ๆ ที่ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด แล้วบรรลุนิพพาน เมื่อปราศจาก "ตัวตน" ของผู้เข้าถึงนิพพาน นิพพานก็ย่อมไม่ใช่อัตตาไปด้วย

นิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากโลก ในพาหิยสูตร ความว่า "ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ ( สัจจะ ๔ ) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." ( ขุ.ขุ.อ.๒๕/๕๐ )

    "นิพพานเป็นปรมัตถ์ ว่าโดยความแตกต่างแห่งอาการ มี ๓ อย่าง คือ สุญญตะ ๑ อนิมิตตะ ๑ อัปปณิหิตะ ๑ อาการที่ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาพสูญจากสังขารทั้งปวง อาการที่ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิต คือ สังขารทั้งปวง อาการที่ชื่อว่า อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้ง คือ สังขารทั้งปวง"




อุทาน ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

นิพพานสูตรที่ ๑

[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

นิพพานสูตรที่ ๒

[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตต์ด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ

... ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้วได้ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
... ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ ฯ

นิพพานสูตรที่ ๓

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงสดับธรรม ลำดับนั้นแลพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ

นิพพานสูตรที่ ๔

[๑๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้ให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

นิพพาน หมายถึง การดับหรือการหมดสิ้นไปของสังสารทุกข์ อันเป็นวนเวียนของกิเลส (กิเลสวัฏ) เป็นวนเวียนของกรรม (กรรมวัฏ) และวนเวียนของวิบาก (วิปากวัฏ)




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พาหิยสูตร

ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี

ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้ว ด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์ ฯ





พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

ภาวะแห่งนิพพาน - บรรลุนิพพาน

เมื่อสังสารวัฏฐ์หายไปก็กลายเป็นวิวัฏฏ ขึ้นเองทันที เป็นของเสร็จพร้อมอยู่ในตัว ไม่ต้องเดินทาง ออกจากสังสารวัฏฏที่แห่งหนึ่ง ไปสู่วิวัฏฏอีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการพูดในเชิงภาพพจน์ หรืออุปมา เมื่อ อวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฎแทนที่พร้อมกัน จะพูดให้มันเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละ คือนิพพาน

ตามปกติของปุถุชน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมคอยครอบงําเคลือบแฝงจิตใจ กําบังปัญญา และเป็น ตัวชักใยนําเอากิเลสต่างๆ ให้ไหลเข้ามาสู่จิตใจ ทําใจให้ไหว ให้วุ่น ให้ขุ่น ให้มัว ให้ฝ้าหมอง ทําให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดบ้าง ให้บิดเบือนไปเสียบ้าง ตลอดจนถ่วงดึงเหนี่ยวรั้งไว้ให้วนเวียนติดตั้งข้องขัดและคับแคบอยู่กับ เครื่องผูกมัดหน่วงเหนี่ยวชนิดต่างๆ

เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานนั้น ดับหายไปแล้ว ก็เกิดปัญญา เป็นวิชชาสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือโลกและชีวิต ถูกต้องชัดเจน ตามที่มันเป็นของมันไม่ใช่ตามที่อยากให้มันเป็น หรือตามอิทธิพลของสิ่ง เคลือบแฝงกําบัง การมองเห็น การรับรู้ต่อโลกและชีวิต ก็จะเปลี่ยนไป ความรู้สึกและท่าทีต่อสิ่งต่างๆ ก็จะ เปลี่ยนไป ยังผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปด้วย

สิ่งที่ปรากฏอยู่ แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือแม้แต่นึกถึง เพราะถูกปิดกั้นคลุมบังเงาไว้ หรือเพราะมัว สาละวนเพลินอยู่กับสิ่งอื่น ก็ได้รู้ได้เห็นขึ้น เกิดเป็นความรู้เห็นใหม่ๆ จิตใจเปิดเผย กว้างขวาง ไม่มีประมาณ โปร่งโล่ง เป็นอิสระ เป็นภาวะที่แจ่มใส สะอาด สว่าง สงบ ละเอียดอ่อน ประณีต ลึกซึ้ง ซึ่งผู้ยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงําใจอยู่ อย่างที่เรียกกันว่าปุถุชน นึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ แต่เข้าถึงเมื่อใด ก็รู้เห็นประจักษ์แจ้งเอง เมื่อนั้น ดังคุณบท คือ คําแสดงคุณลักษณะของนิพพานว่า

“นิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล เรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเอาเข้ามาไว้ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน"

การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อ ยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากําหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากําหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้ เลยอาจจะกําหนดไปตามอาการกิริยาเป็นต้นของผู้พูดแล้ว อาจจะนึกว่าผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะ นึกไปว่าผู้พูดกล่าวคําภาษาต่างประเทศคําหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่าผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคําไร้ความหมายออกมาหรือนึกคิดอะไรต่างๆ ไปได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์

@@@@@@@

แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้น จะมีความเข้าใจขึ้นหน่อยหนึ่งว่า ช้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่ เห็นได้ด้วยตา ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจเพิ่มขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จํากัดชนิดและขนาด ตั้งแต่มดถึงไดโนเสาร์ ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุง ถึงนกอินทรีย์ เมื่อผู้พูดกล่าวต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ครั้นบอกว่า “ช้าง เป็น สัตว์ตัวโตมาก” เขาก็เห็นภาพจํากัดชัดเข้าอีก

จากนั้น ผู้พูดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก มีงาสองข้าง มีจมูกยาวเป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจําเพาะที่ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้ของจริงก็ได้ หรือห่างไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้นออกมาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาด เพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง สําหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ มักใช้สัญญาต่างๆ สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ ภาพในใจของเขาจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความแม่นยําของสัญญาเกี่ยวกับ ลักษณะอาการต่างๆ ที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญาที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็นองค์ประกอบสร้างสัญญา ใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง

จะเห็นว่า คําว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” “ตัวโต” เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมีอยู่แล้ว ทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่สิ่งที่นํามาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมีสัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้เลย ผู้ฟังจะไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น

เมื่อมีการสอบถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนําเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้ใหม่ ก็จะทําได้อย่าง เดียว คือปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขึ้นพยายามจะชี้แจงด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอจะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อการที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่งที่นํามาเล่านั้น ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีก ข้างหนึ่ง คือปฏิเสธคําบอกของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นํามาเล่านั้นไม่มีจริง

แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธ โดยกล่าวว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ไม่ เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จักและตนเองไม่อาจนึกเห็นหรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

@@@@@@@

นิพพานเป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออกไปจากการรับรู้ที่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงํา เป็นภาวะที่เข้าถึงทันที พร้อมกับการละกิเลสที่เคลือบคลุมใจ หรือพ้นจากภาวลักษณะต่างๆ ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออก ก็มองเห็นท้องฟ้า นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใด ที่ปุถุชนเคย รู้เคยเห็น ปุถุชนจึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มี ก็ไม่ถูก มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสํานึกได้ว่า สิ่งที่ตนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จําเป็นต้องไม่มี

ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อของนิทานว่า ปลากับเต่าเป็นเพื่อน สนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ํา รู้จักแต่เรื่องราวความเป็นไปในน้ํา เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ําสะเทินบก รู้จักทั้งบกทั้งน้ํา

วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ําพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยวบนผืนดิน แห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลมพัดฉิว ปลาฟังไปได้สักหน่อย ไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน อะไรกันพื้นดินแห้งอะไร กันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดผิว แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้น ปลาก็ไม่รู้จัก ความสุขโดยปราศจากน้ํา จะเป็นไปได้ อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ

ปลาทนไม่ได้ จึงขัดขึ้น และซักถามหาความเข้าใจ เต่าเล่าและอธิบายด้วยศัพท์บก ปลาซักถามด้วยศัพท์ น้ํา เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ํา เต่าก็อธิบายไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเทียบ ในที่สุด ปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัวแล้วสดชื่น ก็ไม่มี

ตามเรื่องนี้ ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่า มีอยู่จริง แต่พ้นวิสัยแห่งความรู้ของปลา เพราะปลา ยังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้

@@@@@@@

ข้อเทียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน ธรรมดาว่า ความรู้ทางอายตนะคนละอย่าง ย่อม มีลักษณะอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูปกับเสียงไม่มีอะไรเทียบกันได้ เสียงกับกลิ่นไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้เป็นต้น

สมมติว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กําเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยวกับรูป ย่อมไม่มีใครสามารถไปอธิบายสี เขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู หรือลักษณะอาการต่างๆ ของรูป ให้เขาเข้าใจได้ด้วยความรู้จากสัญญาที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่า รูปนั้นดัง เบา หุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว หวาน อย่างไร หรือถ้าใครไม่มี ประสาทจมูกมาแต่เกิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้าใจ เหม็น หอม กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร เพราะคง จะต้องปฏิเสธ เขียว เหลือง แดง น้ําเงิน หนัก เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้งหมด

ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสําหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก ที่เรียกว่าอารมณ์ เพียง ๕ อย่าง ถ้ามีแง่ของความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ห้าอย่างที่รู้ ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆ เท่านั้น การไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จึงยัง มิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี

@@@@@@@

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดําริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกหยั่งไม่ถึง (ไม่อยู่ในวิสัยของตรรก) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงทราบ”

และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า

“ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ, ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะโทสะ ครอบงํา จะรู้เข้าใจได้ง่าย, สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืด (อวิชชา) ห่อหุ้ม จักไม่ เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก”

    "คําว่า “ธรรม” ในที่นี้ หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน (จะว่าอริยสัจ ๔ ก็ได้ใจความเท่ากัน) แต่ ถึงแม้จะยากอย่างนี้ ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยายามสั่งสอนชี้แจงอธิบายอย่างมากมาย ดังนั้น คําว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ จึงควรมุ่งให้เป็นคําเตือนเสียมากกว่า คือ เตือนว่าไม่ควรเอาแต่คิด สร้างภาพและถกเถียงชักเหตุผลมาแสดงกันอยู่ จะเป็นเหตุให้สร้างสัญญาผิดๆ ขึ้นมาเสียเปล่า ทางที่ดีหรือทางที่ถูก ควรจะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึง เพื่อรู้เห็นประจักษ์ชัดกับตนเอง เพราะถึงแม้ว่านิพพานนั้น เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็น ก็ นึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ เข้าถึงได้ เพียงแต่ว่ายากเท่านั้น"

ยังมีต่อ...
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค - มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ

นิพพาน โดยอาการที่เข้าถึง

นิพพาน กล่าวโดยอาการที่เข้าถึง หรือกล่าวโดยสภาพที่บรรลุ หรือโดยอาการ ที่เป็นไปแล้ว มี ๓ คือ

ก. อนิมิตนิพพาน หมายถึงนิพพานนั้นไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีรูปร่าง การสงัดจากนิมิตอารมณ์ ที่ยังให้เกิดกิเลส หรือ ชรามรณธรรม เป็นต้น นั้น เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง เห็นความไม่เที่ยง อันปราศจากนิมิตเครื่องหมายเช่นนี้แล้ว และเพ่งอนิจจังต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นอนิจจังนั้นมี ชื่อว่า อนิมิตตนิพพาน ผู้มีอนิมิตตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรง ด้วย สีล
       
ข. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้น ไม่มีอารมณ์เป็นที่น่าปรารถนา การสงัดจากความดิ้นรนอันเป็นเหตุให้เกิดสรรพทุกข์นั้น เรียกว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ ทุกข์ เห็นความทนอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปรไป อันหาเป็น ปณิธิ ที่ตั้งไม่ได้เช่นนี้แล้ว และเพ่งทุกข์ต่อไปจน บรรลุมัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้ที่เห็นทุกข์นั้นมี ชื่อว่า อัปปณิหิตนิพพาน ผู้มีอัปปณิหิตนิพพานเป็นอารมณ์ บุญญาธิการแต่ปางก่อน แรงด้วย สมาธิ
       
ค. สุญญตนิพพาน หมายถึง นิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและอุปาทาน และ ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรเหลืออยู่
ผู้เจริญวิปัสสนาภาวนา จนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนัตตา เห็นความไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นความว่างเปล่า เช่นนี้แล้ว และเพ่งอนัตตาต่อไปจนบรรลุ มัคคผล มีนิพพานเป็นอารมณ์ นิพพานที่เป็นอารมณ์แก่ผู้เห็นอนัตตานั้น มีชื่อว่า สุญญตนิพพาน ผู้ที่มีสุญญตนิพพานเป็นอารมณ์นี้ บุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา

ผู้ที่เห็นสามัญญลักษณ์ หรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจังกับอนัตตาแล้วก้าวขึ้นสู่ มัคคผลนั้น มีจำนวนมากกว่าผู้ที่เห็น ทุกขัง

            จบปริจเฉทที่ ๖ ชื่อว่า รูปสังคหวิภาค




คำสอนพระอริยเจ้า

หนังสือ ชีวิตนี้สำคัญนัก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่

(ยมกสูตร) มีผู้หลงว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าจึงตอบว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ ดังนั้น พระอรหันต์ตายแล้วไม่สูญ แต่ไม่ควรถามว่าตายแล้วไปไหน เหมือนกับไฟดับแล้ว ก็ไม่ควรบอกว่าไฟสูญหรือถามว่าไฟดับแล้วไปไหน

@@@@@@@

หนังสือ ๔๕ พรรษา ของพระพุทธเจ้า หน้า 125-126 พิมพ์ครั้งที่ 1 ปี 2532 ครั้งที่ 1 ปี 2510

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วไม่ได้หายไปไหน พระพุทธบารมียังปกปักษ์รักษาโลกอยู่ คนในโลกยังรับพระพุทธบารมีได้ มิได้แตกต่างไปจากเมื่อยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงแต่ว่าจำเป็นต้องเปิดใจออกรับ มิฉะนั้นก็จะรับไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่ทรงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป แต่พระพุทธบารมียังพรั่งพร้อม พระอาจารย์สำคัญองค์หนึ่งท่านเล่าไว้ว่าเมื่อท่านปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นอยู่ในป่าดงพงพีนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงสอนท่านด้วยพระพุทธบารมีเสมอ แล้วท่านพระอาจารย์องค์นั้น ต่อมาก็เป็นที่ศรัทธาเคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ที่เชื่อมั่นว่าท่านปฏิบัติถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ด้วยพระพุทธบารมีได้ เสด็จไปทรงแสดงธรรมโปรดพระอาจารย์องค์สำคัญให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ ไม่มีอะไรให้สงสัยว่าเป็นสิ่งสุดวิสัย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรื่องของท่านพระโมคคัลลาน์เป็นเครื่องให้ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มชัดว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตเจ้าก็ดี แม้ดับขันธปรินิพพานแล้ว ท่านก็เพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น บารมีและคุณธรรมทั้งปวงของท่านยังพรั่งพร้อมเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

@@@@@@@

หนังสือ ประวัติสังเขป พระโพธิสัตว์ สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด) พระเถระสมัยกรุงศรีอยุธยา

พุทธะ อยู่ในกายมนุษย์

อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือไม่สนใจค้นในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า พุทธะ นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า พลัง ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า ทำไมเราจึงถามว่าเหตุใดองค์สมณะโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิาสานุสติกญาณ มีอนาคตญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราไม่ต้องไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

คำว่า กรรมฐาน นั้นหมายถึงการกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง เมื่อรวมพลังจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง รวมจนได้อารมณ์แห่งปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคา อนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราถึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตาได้

@@@@@@@

หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ สมเด็จโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น

(คัดจากหน้า 41-43)

ขุนราชฤทธิ์บริรักษ์ (ถาม) : อันว่านิพพาน ปรมัง สุญญัง เป็นอันว่านิพพานเป็นสูญอย่างยิ่ง คือหมายความว่าสูญเลย คำว่าสูญเลยเป็นที่สงสัยอย่างเกล้ากระผมซึ่งมีกิเลสหนา คำว่าสูญเลยตามตำราบอกว่าขันธ์นั่นสูญ รูปขันธ์ก็หายไป วิญญาณขันธ์ก็หายไป แล้วสังขารขันธ์ก็หายหมด ทีนี้เกล้ากระผมไม่ทราบว่าอะไรเหลือ เมื่ออะไรมันหายหมด เพราะนิพพาน ปรมัง สุญญัง นี่ เพราะฉะนั้นในฐานะพระเดชพระคุณสมเดจเป็นนักปราชญ์ผู้มีความเปรื่องในธรรม โปรดได้อธิบายให้เกล้ากระผมเพื่อเป็นแนวทางซักหน่อย ก็จะเป็นพระคุณและได้บุญกับสาธุชนผู้ที่นั่งฟังอีกด้วยเป็นอย่างมาก

สมเด็จ (ตอบ) : คำว่า นิพพาน นี้ต้องเข้าใจว่ามีหลักแห่งความจริงของคำว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง ถ้าในหลักแห่งความจริงของพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว คำว่า นิพพาน ในโลกมนุษย์นี้ ก็คือว่า มนุษย์ผู้ใดปฏิบัติตนให้อยู่ในจิตแห่งความว่าง ให้อยู่ในจิตแห่งความนิ่ง ให้อยู่ในจิตแห่งความสิ้นจากสรรพกิเลสที่รอบล้อมอยู่ในตัว เขาเรียกว่า ....

ใจกลางแห่งนิพพานตั้งอยู่เมือง
รอบล้อมต่อเนื่องกำแพงอันแสนหนา
ผู้ใดหาทางทะลุอยู่ในเมือง
มนุษย์ผู้นั้นย่อมถึงนิพพาน

นิพพานในโลกมนุษย์นี้เขาเรียกว่าปฏิบัติจิตให้ว่างที่สุด นานเท่านาน ผู้นั้นถึงนิพพานแห่งการเป็นมนุษย์ คือ สุญญัง นี้แหละเขาเรียกว่าสูญจากอาสวกิเลส สูญจากการป็นทาสอารมณ์แห่งการเป็นมนุษย์ จิตวิญญาณนี้พุ่งสู่แดนอรหันต์ ไม่ใช่สูญทั้งจิตและวิญญาณ ถ้าสูญทั้งจิตและวิญญาณ จะเอาอะไรไปเสวยกรรม สภาพการณ์วิญญาณที่สูญนั้นเขาเรียกว่า วิญญาณธาตุในเบญจขันธ์ วิญญาธาตุนี้เป็นอุปาทาน รูปนี้ประกอบขึ้นด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุจึงอยู่เป็นกาย แต่วิญญาณอีกอันหนึ่งเขาเรียกว่าวิญญาณซึ่งวนเวียนอยู่ในกฏแห่งวิฏสงสารนั้นแหล่

(คัดจากหน้า 61-62)

เรื่องวิญญาณนี้เป็นเรื่องละเอียด ในหลักการแห่งวิญญาณของเทพพรหมชั้นสูงนั้น เปรียบเสมือนหนึ่งในหลักทั่วไปของมนุษย์ ก็คือว่าเป็นอากาศ สภาวการณ์ท่านรู้ว่ามีอากาศ แต่ท่านไม่สามารถจับอากาศขึ้นมาเป็นตัวตนได้ นั่นคือสภาวะของวิญญาณเทพพรหมชั้นสูง

ทีนี้วิญญาณเหล่าวิสุทธิเทพ วิญญาณเหล่าพรหมสุทธาวาส วิญญาณเหล่าอรหันต์ จะเปรียบให้เข้าใจในโลกมนุษย์นี้จะเปรียบเป็นอะไรเล่า อันนี้อาตมาภาพขอแถลงไขเปรียบเสมือนหนึ่งว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นวิญญาณละเอียด สภาวการ์แห่งการเป็นวิญญาณละเอียดเหล่านี้ไซร้ ท่านจะต้องฝึกสมาธิใช้จิตสัมผัสเหสมือนหนี่งเปรียบคือ ลม ท่านลองโบกมือดูสิ ว่ามีลมไหม เมื่อท่านโบกมือย่อมเกิดลม นักวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าเป็นชั้นด็อกเตอร์ก็ยังไม่สามารถเอาหน้าลมออกมาตีแผ่ให้มนุษย์ดูได้ ทั้งๆ ที่มนุษย์ทุกคนยอมรับว่ามีลม

เพราะฉะนั้นวิญญาณแห่งวิสุทธิเทพ วิญญาณแห่งเทพพรหมชั้นสูง วิญญาณแห่งอรหันต์ จึงเปรียบง่ายๆ เป็นภาษามนุษย์ว่า ลม ทีนี้วิญญาณเหล่าอมรมนุษย์ วิญญาณเหล่าผีเปรต อสรุกาย วิญญาณเหล่าเจ้าที่เจ้าทงเหล่านี้ วิญญาณจำพวกนี้ยังมีกายหยาบ ฉะนั้นต้องเข้าใว่า เมื่อท่านสิ้นจากโลกมนุษย์นี้แล้วไซร้ ท่านจะต้องไปเกิดในปรภพแห่งการเสวยกรรมวิบากที่ไม่เหมือนกัน เพราะต่างกรรมต่างวาระ ต่างคนต่างสร้างมาไม่เหมือนกัน

ทีนี้สภาวการณ์แห่งการสร้างกรรมไม่เหมือนกันก็คือว่าท่านที่สิ้นจากโลกมนุษย์ก็ยังเป็นวิญญาณปุตุนั้นก็จะเป็นกายหยาบหลุดออกจากกายเนื้อ ทีนี้ถ้าท่านบำเพ็ญในหลักแห่งวิสุทธิมรรค แห่งการเป็นพระอรหันต์ แห่งการเป็นพระพรหมสุทธาวาสแล้วไซร็ ท่านต้องละลายกายทิพย์เหลือแต่วิญญาณ ทีนี้วิญญาณแห่งกายที่มีกายหยาบเหล่านี้แหล่ ที่บางครั้งสามารถปรับในการรวมกระแสแห่งอำนาจที่ตนมีเป็นกายเป็นรูปร่างให้มนุษย์เห็นได้เป็นบางครั้งบางคราว

ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ท่านจะถึงหลักแห่งการถึงโลกอีกโลกหึ่ง แห่งโลกทิพยอำนาจนี้ ท่านจะไปได้อย่างไรเล่า ภาวการณ์แห่งการที่จะท่านจะไปโลกเหล่านี้ได้แล้วไซร้ ท่านจะต้องบำเพ็ญในด้านจิตวิญญาณ ตามที่องค์สัมมาสัมพุทธโคดมวางในหลักการให้เราเหล่านุษย์ทั้งหลายเจริญรอยตามท่าน ก็คือว่ามี ศีล สมาธิ ปัญญา

@@@@@@@

พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์( สิริจนฺโท จันทร์ )

บุคคลผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพานไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น ถ้าขึ้นสั่งสอนก็จะพาหลงทาง เป็นบาปกรรมแก่ตน

อันตัวที่ไม่ตายนั้นท่านให้ชื่อว่าโพธิสัตว์ พึงสันนิษฐานได้ว่าสัตว์นั้นแลคือตัวเรา เป็นผู้ไม่ตายเหมือนอย่างพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เมื่อได้สำเร็จพระอรหัตตผลแล้ว ก็เป็นอันได้สำเร็จพระนิพพาน เมื่อท่านสำเร็จพระนิพพานแล้ว สัตว์ที่ตรัสรู้ที่ไม่เคยตายนั้น ก็ยังอยู่ไม่สูญไปข้างไหน สูญแต่กิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติเท่านั้นเอง จึงพอสันนิษฐานเห็นได้ว่า พระนิพพานไม่สูญอย่างเอก แต่การที่จักทำให้สำเร็จ ต้องฝ่าฝืนอำนาจของพระยามาร
แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ 8 เรื่องมงคลกถา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2470 ในหนังสือพระธรรมเทศนา





มงคลกถา 38 ธรรมวิจยานุศาสน์ คิริมานนทสูตร พร้อมด้วยอธาตุ ชุดพิเศษ เล่มที่ 5 หน้า 96-97

บุคคลผู้มิได้พ้นจากิเลส ราคะ ตัณหา นั้นจะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษย์โลกแลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะได้เสวยความสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้เลย ถ้าจะประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ให้โกนเกล้าเข้าบวชในพระศาสนา ในว่าบุรุษหญิงชายถ้าทำได้อย่างนี้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองพระนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมืองสวรรค์เป็นที่ซึ่งทรงไว้กิเลสตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน

นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีทีสุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย หรือกำลังพาหนะมียานช้างม้าได้ อย่าเข้าใจว่านิพพานตั้งอยู่ในทีสุดโลกเหล่านั้น อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ที่ใดเลย แต้ว่าพระนิพพานนั้นหากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็นของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลกรู้โลกเสียให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็หากตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั่นเอง

หนังสือ คิริมานนทสูตร และ อัตตปวัตติ หน้า ๑๐-๑๒ ISBN974-8239-69-1 สนพ.ดวงแก้ว

@@@@@@@

หนังสือ มุตโตทัย พระเดชพระคุณพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ

๑๓. วิสุทธิเทวาเท่านั้นเป็นสันตบุคคลแท้

อกุปฺปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต บุคคลผู้มีจิตไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวง รู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทธาธรรม ทั้งที่เป็น อัชฌัตติกาธรรม สนฺโต จึงเป็นผู้สงบระงับ สันตบุคคลเช่นนี้แลที่จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ มีธรรมบริสุทธิ์สะอาด มีใจมั่นคงเป็นสัตบุรุษผู้ทรงเทวธรรมตามความในพระคาถาว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา สุกฺกธมฺมสมาหิตา สนฺโต สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา ผู้พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส เหตุไฉนจึงจะเป็นสันตบุคคลได้ ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึง วิสุทธิเทวา คือพระอรหันต์แน่นอน ท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้ สมควรจะเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และ สุกฺกธรรม คือ ความบริสุทธิ์แท้

๑๔. อกิริยาเป็นที่สุดในโลก - สุดสมมติบัญญัติ

สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำคือ ทุกข์-ต้องกำหนดรู้ สมุทัย-ต้องละ นิโรธ-ต้องทำให้แจ้ง มรรค-ต้องเจริญให้มาก ดังนี้ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยาเพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้าหรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พักจึงจะเสร็จกิจ

ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมา ดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ แล้วลบ ๑ ถึง ๙ ทิ้งเสีย เหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่ เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี่แหละ คือปัญญารอบรู้ เพราะลายกิริยา คือ ความสมมติ หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่าลบ คือทำลายกิริยา กล่าวคือ ความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน? แก้ว่า ไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยา นั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นการอธิบายตามอาการของความจริง ซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่

ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเองนั่นแลจึงจะเข้าใจได้ ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวเจ้าทั้งหลายดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่ คือทำการพิจารณาบำเพ็ยเพียรเป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลายทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้จนเป็นอกิริยาก็ย่อมดับโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น ท่านขีณาสวเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปนกามโลก รูปโลก อรูปโลกเลยทีเดียว คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียวกัน เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต ทิ่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลกสาม พึงดับที่จิตของตนๆ จึงทำลายกิริยา คือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต

ยังเหลือแต่อกิริยา เป็นฐีติจิต ฐีติธรรมอันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

๑๕. สัตตาวาส ๙

เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลก จัดเป็นกามโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔ อรูปโลก ที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้น ๙ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙ กล่าวคือ พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙ แห่งนี้ และปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า ทสหงฺ เคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙ ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙ เป็นจำนวนที่นับได้ อ่านได้ บวกลบคูณหารกันได้ ส่วน ๑๐ ก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์) ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์) นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร

แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่ ความเปรียบนี้ฉันใด จิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติ มีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์) เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑ เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจเรานี้ก็เหมือนกัน เมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลายก็เป็นของวิจิตรพิสดารมากมายขึ้นทันที แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยฺยธรรมแล้วย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่างโปร่งพ้นจากการนับการอ่านแล้ว มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติคือ สภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยาดังกล่าวในข้อ ๑๔ นั่นเอง

หนังสือ มุตโตทัย

@@@@@@@

หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๓ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วีระ ถาวโร ปธ.๔) วัดท่าซุง อุทัยธานี

ความหมายตามบาลี(ยมกสูตร) คนที่เห็นว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นความเห็นผิด แล้วท่านบรรดานักเขียนนักแต่งทั้งหลายท่านเอามาจากไหนว่า นิพพานสูญ อันนี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดอะไรกันสักอย่าง เพราะมีพระบาลีบทหนึ่งว่า นิพพานนัง ปรมังสูญญัง แปลว่านิพพานเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง ท่านอาจจะไปคว้าเอา ปรมังสูญญัง โดยเข้าใจว่า สูญโญเข้าให้

ดูเพิ่มเติมที่ หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน อุปสมานุสสติกรรมฐาน

ผู้ถาม : เกิดมาแล้วทำไมจึงต้องตายครับ…?
หลวงพ่อ : เพราะอยากตาย ไอ้คนอยากเกิดก็อยากตายด้วยใช่ไหม…เกิดแล้วมันก็ต้องตาย เพราะธรรมดาเราฝืนมันไม่ได้ ทีนี้ถ้าเราไม่ต้องการตาย เราก็ไม่ต้องเกิด
ผู้ถาม : ที่นิพพานไม่มีการเกิดใช่ไหมครับ จึงไม่มีการตาย…?
หลวงพ่อ : อันนี้เคยมีพระหรือพราหมณ์ถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานจะไม่มีการเกิดก็ไม่ใช่ จะเรียกว่าเกิดก็ต้องเกิด ถ้าจะว่าไม่เกิด แต่สภาวะมันมีอยู่ ตอนแรกฉันอ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็เลยย่องไปถามท่าน

ฉะนั้นนิพพานควรเรียกว่าอะไร ท่านบอกว่าควรจะเรียก "ทิพย์พิเศษ" ที่ไม่มีการเคลื่อน เทวดาหรือพรหมยังมีการเคลื่อน ที่เรียกว่า "จุติ" จุติ แปลว่า เคลื่อน ไอ้ศัพท์ที่ว่าตายนี่ พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียก ท่านเรียก กาลัง กัตวา ถึงวาระแล้ว ถึงกาลเวลาแล้ว ท่านไม่เรียกว่าตาย ตาย นี่ มรณะ ตามศัพท์ของบาลีไม่มีคำว่ามรณะ ท่านเรียกว่า กาลัง กัตวา แปลว่าถึงวาระที่จะต้องไปจากร่างกายนี้ ร่างกายนี้มันพังมันไม่ยอมทำงาน

ผู้ถาม : ขอหลวงพ่อโปรดอธิบายเรื่องนิพพาน ให้ผมเข้าใจด้วยครับ
หลวงพ่อ : คำว่า นิพพาน เหรอ…คุณต้องการรู้เรื่องนิพพานไปทำไม…?
ผู้ถาม : (หัวเราะ) เอาไว้ประดับความรู้ครับ
หลวงพ่อ : เอาไว้ประดับความรู้….ดี คำว่า นิพพานเป็นของง่ายเป็นของไม่ยาก นิพพานนี่เขาแปลว่า ดับ นะคุณนะ ถ้าจะถามว่าดับอะไร ก็ขอตอบว่า ดับความชั่ว คนที่จะถึงนิพพานได้ต้องไม่มีความชั่ว ๓ อย่าง คือ
   1. ไม่ชั่วทางกาย
   2. ไม่ชั่วทางวาจา
   3. ไม่ชั่วทางใจ

ถ้าทุกคนดับความชั่วได้หมด บุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

ผู้ถาม : แต่ผมเคยได้ยินมาว่า นิพพาน แปลว่า ดับไปเลย ไม่เหลืออะไรเลยนี่ครับ
หลวงพ่อ : ความจริงคุณจะต้องรู้ว่าอะไรดับ คำว่านิพพานแปลว่าดับ ดับทีแรกคือดับกิเลส ดับที่สองคือดับขันธ์ ๕ แต่ว่าตามพระบาลีไม่ได้บอกว่า จิตดับ ปัญหาของคุณที่ถามนี่ เหมือนกับปัญหาของพระที่ถามพระพุทธเจ้าเคยถามมาแล้ว คือ ท่านผู้นี้มีนามว่า พระโมกขราช ท่านถามพระพุทธเจ้าว่า"นิพพานมีสภาพสูญ ใช่ไหม…พระพุทธเจ้าข้า" หมายความว่า เมื่อถึงนิพพานแล้วก็ดับสูญ มีสภาพคล้ายกับควันไฟที่ลอยไปในอากาศ ไม่มีที่เกาะ ไม่มีที่อยู่ อย่างนั้นองค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า "โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ"พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับทีนี้ถ้าหากว่าคุณจะศึกษาเรื่องนิพพาน ถ้าเราจะพูดกันไปกี่ร้อยปี มันก็ไม่จบ

ฉะนั้น ถ้าต้องการจะรู้เรื่องพระนิพพานจริงๆ คุณจะต้อง
   1. เป็นคนมีศีลบริสุทธิ์ เป็นอันดับแรก
   2. เป็นผู้ทรงฌานสมาบัติ
   3. ในขณะที่ทรงฌานสมาบัติได้แล้ว คุณจะต้องทำจิตของตนให้เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ที่เรียกกันว่าสังขารุเปกขาญาณ

เมื่อจิตเข้าถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว ก็ต้องชำระกิเลสด้วยการตัดสังโยชน์ ๓ เบื้องต้น คือ
   1. ทำลายสักกายทิฏฐิ
   2. ทำลายวิจิกิจฉา คือ ความสงสัยให้หมดไป
   3. สีลัพพตปรามาส ทรงศีลให้บริสุทธิ์
   4. มีอารมณ์จิตรักพระนิพพานเป็นอารมณ์ ที่เราเรียกกันว่า โครตภูญาณ

ถ้ากำลังใจของคุณทำได้อย่างนี้ เมื่อจิตเข้าถึงโครตภูญาณ คุณจะทราบว่า คำว่าดับของนิพพานนั้น
   1. ดับกิเลส ในขณะที่มีชีวิตอยู่
   2. ดับขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ ดับ
   3. อารมณ์จิตที่บริสุทธิ์ไม่ได้ดับไปด้วย

คำว่าพระนิพพาน ยังมีจุดที่เป็นอยู่อันหนึ่ง ที่เขาเรียกว่าเป็นทิพย์พิเศษ พ้นจากอำนาจของวัฏฏะ

หนังสือหลวงพ่อตอบปัญหา เล่ม ๓

ยังมีต่อ...
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



หนังสือ ทิพยอำนาจ อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

ในปกรณ์ของฝ่ายเถรวาท ท่านโบราณาจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาค ดังนี้คือ

   1. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดจากพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔

   2. พระนามกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดชั้นใน นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วน พระนามกายของพระพุทธเจ้า ท่านดีวิเศษกว่าสามัณมนุษย์ ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป

   3. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวดาและมนุษย์หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิดแก่เจ็บตาย เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลาย แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัญฐานเช่นไรหรือไม่

อนึ่ง ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ ไม่สูญ ตัวอย่างเช่น พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตผลได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญได้ถูก พระสารีบุตร สอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงเห็นตามความจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเป็นไปตามปัจจัย คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่า ไม่ตาย”

ความเป็นพระอรหันต์นี้ ท่านก็จัดว่าเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อัญญินทรีย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายถึงเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า “วิสุทธิเทพ” เป็นสภาพที่คล้ายคลึง “วิสุทธาพรหม” ในสุทธาวาสชั้นสูง (พรหมอนาคามี ชั้น ๑๒ - ๑๖ ) เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า “อินทรีย์แก้ว” คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้ว มณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็น “พระแก้ว” คือพระอรหันต์ที่ นิพพานแล้วได้...

ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไปถ้ายังรู้ไม่ถึงอย่าพึ่งค้าน อย่าพึงโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ษึกษาค้นคว้าแล้ว ได้ความรู้ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้ว ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ยิ่งจะซึ้าร้ายใหญ่ ดังนี้

หนังสือ ทิพยอำนาจ อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

@@@@@@@

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

นิพพานมีอยู่จริงในปัจจุบัน ถ้าใครออกจากปัจจุบันไม่เห็นเลย ทุกเขญาณัง มันเกิดขึ้นกับจิตนี่เอง ให้พิจารณากายในมากๆ นิพพานไม่อยู่ตามต้นไม้ อยู่ที่จิตใจหมดอาสวะทั้งหลายนั่นเอง

ศิษย์: หลวงปู่ครับ นิพพานโลกุตระ เป็นอย่างไร
หลวงปู่: มันก็หมดอาสวะซิ อวิชชาไม่เหลือ
ศิษย์: จิตยังอยู่ไหมครับ
หลวงปู่: จิตปรมัตถ์ไป เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์จิตยังอยู่ มันเกิด-ดับ มันเป็นสังคตะไป ไม่ใช่สัตว์คนเป็นสังคตธรรม สังคตธรรมมีอยู่ อสังคตะธรรมมีอยู่ วิราคะธรรมมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่คนเท่านั้น

ศิษย์: หมดสมมุติ หมดความยึดถือไช่ไหมครับ
หลวงปู่: ฮื้อ! มันไม่มีอาสวะ ไม่มีอวิชชาสวะ ไม่มีอวิชชาสังโยชน์ ไม่มีอวิชชานุสัย ล่ะก็ กิเลส กรรม วิบาก มันก็ไม่มี จิตไม่มีนาม-รูปของขันธ์แล้ว มันเหนือนาม-รูปของขันธ์แล้ว สังคตะมันเหนือขันธ์ ๕ วิราคะธรรมมันเหนือขันธ์ ๕ (เหนือ คือ ไม่ถูกครอบงำ ไม่มีอุปาทานขันธ์ ย่อมไม่กลับกำเริบอีก)ขันธ์ ๕ ยังมีนามรูปติดต่อกันทางอายตนะธาตุนี่ ส่วนนิพพาน ปรมัตถ์นี้ไม่เกิดไม่ดับเป็นอสังคตะธรรม แต่ จิต เจตสิก รูป ปรมัตถ์นี้ยังเกิดดับเป็นสังคตะธรรม วิราคะธรรม ไม่มีราคะ หมดราคะถึงโลกุตระแล้วนั่น ไม่มีราคะโทสะ โมหะ เผาลนแล้ว

ศิษย์: เมื่อดับจิต แล้ว นิพพาน สูญ ไม่เหลืออะไรเลยหรือปล่าวครับ
หลวงปู่: นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย บารมี ๓๐ ทัศน์ที่พระพุทธเจ้าสร้างเป็นของไม่ตาย แต่ว่าตัวบุญต้องเปลี่ยนแปลงไปจนกว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้ เพราะถ้าเป็นตัวบุญอยู่กับพระเวสสันดรก็ไม่ตรัสรู้ซิ ก็ได้เป็นกษัตริย์ไม่ตรัสรู้ซิ แต่เพราะสละหมดอย่างพระเวสสันดร เที่ยวออกค้นคว้าถึง ๖ ปี(ซึ่งก็ต้องอาศัยบารมี อันเป็นนิสัยที่สั่งสมมา) จึงตรัสรู้ พระพุทธเจ้าบางองค์ก็อายุไม่เท่ากันมาองค์ปัจจุบันอายุ ๘๐ ปี (แล้วแต่บารมี)

ศิษย์: ที่เขาว่าไปเที่ยวเมืองนิพพาน น่ะเขาไปกันได้จริงหรือป่าวครับ
หลวงปู่: เที่ยวได้แต่ปริยัติน่ะซิ พูดเอาภาคปริยัติก็เที่ยวได้ ภาคปฏิเวธเที่ยวได้ที่ไหนล่ะ มันมีบอกเมื่อไหร่ล่ะ
ศิษย์: แล้วอย่างมโนมยิทธิล่ะครับ
หลวงปู่: นั่นมันเรื่อง พุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ก็ตามใจซิ ก็นิมิตมันมีอยู่ หลับตาลืมตาก็มี มีของพระอริยะเจ้า พระพุทธเจ้าก็แสดงพุทธนิมิต ธรรมนิมิต สังฆนิมิต ได้ ให้เห็นกันทั่ว กามโลก รูปโลก อรูปโลก ให้เขาได้เห็นกันเมื่อครั้งเสด็จลงจากดาวดึงส์นี่ ก็จิตนี่ล่ะมันรับธรรมะ นอกจากกายกับจิตแล้วจะเอาอะไรไปรับล่ะ กายกับจิตนี่ล่ะมันรองรับพระไตรปิฎก

พระพุทธเจ้ารู้นรก ๒ ชั้น นรกชั้นนอก นรกชั้นใน สวรรค์ชั้นนอก สวรรค์ชั้นใน นิพพานชั้นนอก นิพพานชั้นใน มันต้องมีภายนอกภายในพิสูจน์กันดู ดูนิพพานกันอย่างนี้ อ่านพระไตรปิฎกกันอย่างนี้ซิ

นิพพานไม่ใช่รูปขันธ์ ไม่ใช่นามขันธ์ มันเหนือรูปขันธ์ นามขันธ์ สร้างบารมีมาก็เอาเป็นเครื่องมือ สร้างบารมีต่างหากล่ะ นามรูปนี่ตรัสรู้แล้วเอาไปเมื่อไหร่ล่ะ บารมี ๓๐ ทัศน์ ไม่ใช่ตัวขันธ์ ๕ มันเหนือขันธ์ ๕

พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็เหลือขันธ์ ๕ พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายตรัสรู้ ละสังโยชน์ แล้วก็เหลือยังขันธ์ ๕ เขายังเขียนรูปโลกไว้ให้ดู แต่อยู่เหนือขันธ์ ๕

@@@@@@@

หลวงพ่อเกษม เขมโก

พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน

นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของคุณปู่ก็กจึง ที่กรุณาเล่าให้ผมฟัง ข้อนี้....คุณปู่เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่า เหตุการณ์เมือนานมามากแล้วเช่นกัน จู่ๆ วันหนึ่ง เมื่อคุณปู่ไปนมัสการหลวงพ่อ ท่านได้ถามว่า

"สามก็ก...รู้ไหม ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? "
(หลวงพ่อเรียกคุณปู่ก๊กว่า สามก๊ก มานานแล้ว)

คุณปู่ก๊กจึง สมัยนั้นประณมมือไหว้หลวงพ่อพลางตอบว่า
"ผมไม่ทราบครับ หลวงพ่อ"

ทันใดนั้นหลวงพ่อได้ชี้นิ้วเฉียงไปบนฟ้า พลางกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก

จาก อนุสรณ์ ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หน้า 146

@@@@@@@

พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตโล)

การปฏิบัติ ให้มุ่งเน้นปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

ดูเพิ่มเติมที่หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ รวบรวมโดย พระโพธินันทมุนี หน้า 82

พระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้เข้าสู่นิพพานในฌานสมาบัติอะไรที่ไหนหรอก เมื่อพระองค์ออกจากจตุตถฌานแล้ว จิตขันธ์หรือนามขันธ์ ก็ดับพร้อม ไม่มีอะไรเหลือ นั่งคือพระองค์ดับเวทนาขันธ์ ในภาวะจิตตื่น หรือวิถีจิตอันปกติของมนุษย์ ครอบพร้อมทั้งสติ และสัมปชัญญะ ไม่ถูกภาวะอื่นใดมาครอบงำอำพรางให้หลงใหลใดๆ ทั้งสิ้น เป้นภาวะแห่งตนเองอย่างสมบูรณ์ ภาวะนันเรียกว่า มหาสุญญตา หรือจักรวาลเดิม หรือเรียกกว่า นิพพาน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

@@@@@@@

หลวงปู่ขาว อนาลโย

ให้มีสติคุมดวงจิต สัตว์นรกก็แม่นจิต สัตว์อเวจีก้แม่นจิต พระอินทร์ พระพรหมก็แม่นจิต ที่เข้าพระนิพพานก็แม่นจิต ไม่ใช่ใคร จิตไม่มีตัวมีตน จิตเหมือนลิงนี่แหละ แล้วแต่มันจะไป บังคับบัญชามมันไม่ได้ แล้วแต่มันจะปรุงแต่ง บอกไม่ได้ไหว้ไม่ฟัง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าให้วางมันเสีย อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน

พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น มันไม่อยู่ที่อื่น นรกมันก็อยู่นี่ พระนิพพานก็อยู่นี่ อย่าไปค้นที่อื่น อย่าไปพิจารณาที่อื่นให้ค้นที่สกนธ์กายของตน ให้มันเห็นอสุภะ อสุภังให้เห็นเป็นของปฏิกูล ให้เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายมันนั่นแหละ แต่กี้มันห็นว่าเป้นของสวยของงามก็ดี ดวงจิตนั้นมีมีสติควบคุม มีสัมปชัญญะค้นหาเหตุผล ใครครวญอยู่มันเลยรู้เห็นว่า อัตภาพร่างกายนี้เป็นของปฏิกูลของเน่าเปือยผุพัง แล้วมันจะเกิดนิพพทาความเบื่อหน่าย จิตนั้นแหละเบื่อหน่าย จิตเบื่อหน่าย จิตไม่ยึดมั่นแล้วเรียนว่าจิตหลุดพ้น ถึงวิมุติ วิมุตติคือความหลุดพ้นจากความยึดถือ หลุดพ้นจาอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น พ้นจากภพจากชาติ ตั้งใจทำเอา

@@@@@@@

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

เมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินโลกุตตรมนุษย์ ได้เป็นพระอรหันต์เข้าพระนิพพานแล้ว พระนิพพานก็ยังมีอยู่ ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพาน นั้นแล

พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระอนุรุทธ พระอานนท์ เข้านิพพาน ก็มีอยู่พระนิพพานนั้นแล นางภิกษุณีทั้งหลายได้บวชกาย วาจา ใจ ใจก็เป็นพระนิพพาน แล้วเข้าพระนิพพานได้ด้วย เหมือนพระจันทร์ พระจันทร์ไม่มีวันแก่ พระจันทร์ไม่มีวันเจ็บ พระจันทร์ไม่มีวันร้อนวันหนาว ดาวไม่มีเกิดไม่มีตาย

คนเรานี้มันเป็นบ้าเป็นบอ คอยาว ตาขาว ลิ้นยาว ใช้ไม่ได้ ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนเกิดจากหัวใจของพระพุทธเจ้า เกิดากหัวใจของพระอรหันต์ทั้งหลาย ทำไมพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายจึงไม่รู้ เราจึงไม่เห็น ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระโสดาบัน เป็นพระอนาคาเมื่อใด ก็เมื่อนั้นแหละ จึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย

อาจารีธัมโมทยาน พศ.๒๕๓๖ หน้า 127 หอรัตนชัยการพิพม์

@@@@@@@

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน ผู้ที่ดับขันธ์ในระหว่างทรงรูปฌานย่อมได้เป็นรูปพรหมซึ่งยังไม่วิมุติหลุดพ้น ผู้ที่ดับขันธ์ในขณะทางอรูปฌาน ย่อมได้เป็นอรูปพรหม ซึ่งก็ยังเป็นสมมติอยู่เช่นกัน

ส่วนพระพุทธเจ้าท่านดับขันธ์ระหว่างช่วงทั้งสอง เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง ไม่ติดอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน ซึ่งเป็นวิปัสนูกิเลสทั้งสองอย่าง พระอรหันต์บางประเภที่ไม่สามารถเจิรญอรูปสมาบัติ ท่านก็ดับขันธ์ไปด้วยความบริสุทธิ์เช่นกัน แม้อยู่ก็อยู่ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ ไม่ติดในสมมติใดๆ เพราะความชำนาญในด้านสมาธิของพระอรหันต์แต่ละประเภทไม่เท่ากัน

หนังสือไตรรัตน์ หน้า 51




หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่น ท่านเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ พร้อมด้วยพระสาวก เสด็จมาเยี่ยมท่าน

นรกมี สวรรค์มี พรหมโลก นิพพานมี พระพุทธเจ้าของเราทรงยืนยันจิตวิญญาณคือใจของคนของสัตว์นี้มีมาดั้งเดิม ตั้งแต่กาลไหนๆ ไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตดวงที่ไม่ตายนี้แล ไม่เคยฉิบหาย ไม่เคยสูญ

ดูเพิ่มเติมที่ ตายแล้วย้อนกลับมาบ้านเรือน

จากนั้นบุญกุศลทั้งหลายที่เราสร้างอยู่ไม่หยุดไม่ถอย เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับลำดาเลยสวรรค์ไป เลยพรหมโลกไป จนกระทั่งถึงนิพพาน ดับทุกข์โดยประการทั้งปวงโดยสิ้นเชิงตลอดไป ไม่มีคำว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเข้าไปเกี่ยวข้องในเมืองนิพพานนั้นได้เลย เรียกว่าเมืองนิพพานก็ได้ มหาวิมุตติ มหานิพพาน หรือธรรมธาตุก็ได้ นี่เรียกว่าสถานที่ดับทุกข์โดยประการทั้งปวง จากความดีของเราที่ได้สร้างมามากน้อย ท่านจึงได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าท่านทรงนิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่างทรงผ่านไปหมดแล้ว การขึ้นลงสวรรค์ชั้นพรหมไม่มีใครเกินโพธิสัตว์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นๆ ควรแก่กาลเวลาแล้วก็ลงมาสร้างบารมี

กฎอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปอย่างโลกทั่วๆ ไปอย่างนี้ ไม่มีในนิพพาน นิพพานสิ้นสุดยุติตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ปึ๋งขึ้นมา พระอรหันต์ก็บรรลุธรรมปึ๋งขึ้นมา ทราบทันทีเลยว่าพ้นแล้วจากแดนแปรปรวน แดน ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ถึงแล้วซึ่งพระนิพพาน เรียกว่าเมืองเที่ยงตรง เที่ยงไปตลอดอนันตกาล ไม่มีคำที่ว่าจะโยกย้ายผันแปรไปไหนอีกเลย แม้ขณะหนึ่งก็ไม่มีในแดนนิพพาน จึงเรียกว่าเป็นแดนแห่งความเลิศเลอของท่านผู้บรรลุธรรมอันเลิศเลอแล้วสถิตอยู่ในสถานที่นั้น ผู้อื่นผู้ใดไม่สามารถจะไปอยู่ในสถานที่นั้นได้ นอกจากผู้สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วเท่านั้น นี่ก็คือการสร้างบุญสร้างกุศล

สำหรับเราพอทุกอย่าง เอาอะไรมาให้ก็ไม่เอา ปล่อยวางหมด เช่นทองคำทั้งแท่งกับอิฐก้อนหนึ่ง ราคาทองคำทั้งแท่งสูง อิฐก้อนหนึ่งราคาต่ำแต่มันมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อมีน้ำหนักเท่ากัน น้ำหนักนั้นแหละจะเป็นกองทุกข์แก่ผู้แบกหาม ปล่อยเสียทั้งหมด ทองคำก็ไม่เอา อิฐ-ปูนก็ไม่เอา ปล่อยแล้วไม่หนัก นี้ละธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้เข้าในหัวใจดวงใดแล้วปล่อยหมดโดยสิ้นเชิง มีแต่ความพอแล้วด้วยความเลิศเลอ ไม่ใช่พอธรรมดาอย่างโลกทั้งหลายพอกัน พอในธรรมทั้งหลายนี้พอด้วยความเลิศความเลอ ถ้าว่าสุขก็ไม่มีสุขใดเสมอเหมือน ว่าเลิศเลอก็หาอะไรไปเทียบไม่ได้ เพราะนั้นเป็นแดนวิมุตติ ไม่ใช่สมมุติพอจะมาเทียบมาเคียงตามสัดตามส่วนได้ นี่ละท่านว่าแดนแห่งความเลิศเลอ

เทศน์อบรมพระสงฆ์และฆราวาส ณ ศาลาใหญ่วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ [บ่าย]

ดูเพิ่มเติมที่ เอาธรรมจักรเข้าไปผันหัวกิเลส

ใจนี้ไม่เคยตาย ตั้งกัปตั้งกัลป์ก็เป็นมาอย่างนี้ แม้จะไปตกนรกตั้งกี่กัปกี่กัลป์ก็ตาม การที่ว่าได้รับความทุกข์ในแดนนรกแต่ละหลุม ๆ นั้นยอมรับ ส่วนที่จะให้ใจนี้ฉิบหายไม่มี ทุกข์ขนาดไหนก็ยอมรับว่าทุกข์ แต่ไม่เคยฉิบหายคือใจดวงนี้ เวลาชำระสะสางแล้วด้วยอำนาจแห่งคุณงามความดีของเรา ก็ค่อยสงบผ่องใสได้บริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นความบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ทั้งหลาย ท่านถึงนิพพานเลย นั่น ถึงนิพพานก็ไม่สิ้นสูญ

ใจดวงนี้ไม่มีคำว่าสูญ ตกนรกก็ไม่สูญใจดวงนี้ จนกระทั่งบริสุทธิ์เต็มที่แล้วไปถึงนิพพานก็ไม่สูญ นี่แหละท่านว่านิพพานเที่ยง ก็คือจิตดวงที่ไม่สูญนี้แหละเป็นผู้บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว เรียกว่าธรรมธาตุ อยู่ในแดนแห่งนิพพาน นี่แหละเป็นผู้เสวยความบรมสุขตลอดไป ท่านจึงเรียกว่านิพพานเที่ยง ๆ ก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ตาย มีความเที่ยงตรงอยู่ด้วยบรมสุขตลอดไป นี่คือการสร้างความดีให้ผลแก่เราอย่างนี้ ให้พากันอุตส่าห์พยายามสร้างคุณงามความดี

เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดเขาน้อยสามผาน จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ (บ่าย) ดูเพิ่มเติมที่ ความสุขอันแท้จริง

นี่ละตัวพาให้เกิด ก็รู้ได้ชัดละซิ ทีนี้จะเอาอะไรไปเกิด เอ้า เห็นกันอยู่รู้กันอยู่ ตัวนี้จะไปเกิดที่ไหนที่นี่ เอ้า เกิดที่ไหนล่ะ อะไรพาให้เกิด ก็สิ่งที่ดับไปตะกี้นี้พาให้เกิด นั่นมันรู้ชัดขนาดนั้นนะ ทีนี้ไม่เกิดแล้วจะดับไหมจิตดวงนี้ จะเอาอะไรมาดับ นั่น ไม่เกิดด้วยไม่ดับด้วย ไม่มีคำว่าว่ามีอยู่แบบโลกด้วย ไม่สูญแบบโลกด้วย มีอยู่แบบความบริสุทธิ์ ถ้าว่าสูญก็สูญแบบความบริสุทธิ์ เหมือนอย่างที่ว่านิพพาน มีอยู่แบบนิพพาน สูญแบบนิพพาน ไม่ได้สูญแบบโลกสงสาร

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ ดูเพิ่มเติมที่ ความมุ่งมั่นของนักรบ

ก็กิเลสมันไม่เคยเห็นมรรคผลนิพพาน เกิดมาเต็มอยู่ในหัวใจของสัตว์นับแต่โคตรแต่แซ่ของมันลงมา มันจะเอามรรคผลนิพพานมาอวดสัตว์โลกอย่างไร เพราะคำว่ามรรคผลนิพพานก็คือแดนสุดวิสัยของมันแล้ว มันเอื้อมไม่ถึง จิตดวงใดถ้าได้เข้าสู่แดนนิพพานแล้ว กิเลสประเภทต่าง ๆ เรียกว่ากิเลสมารสุดเอื้อมหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากแล้ว มันจะอุตริไปสอนจิตดวงใดโลกใดสัตว์ตัวใดให้ไปสู่สวรรค์นิพพานเล่า นอกจากมันจะกว้านเข้ามาเพื่อผลรายได้ของมันโดยอุบายต่าง ๆ เท่านั้น เช่น บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี นี่เป็นอุบายที่จะให้เกิดผลรายได้แก่มันโดยถ่ายเดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้นหลักความจริงแล้วจึงไม่มีคำว่า พระพุทธเจ้านิพพานไปนานแสนนาน เป็นการตัดขาดจากมรรคผลนิพพาน ที่ทรงแสดงไว้แล้วโดยถูกต้องตามหลักสวากขาตธรรม การนิพพานเป็นเรื่องของพระองค์เท่านั้น และการนิพพานไปก็ไม่ใช่เป็นการขาดทุนสูญดอก สำหรับพระพุทธเจ้าเป็นการเปลี่ยนสภาพในทางธาตุทางขันธ์อันเป็นสมมุติเข้าสู่ตามสมมุติเดิมของตน โดยหมดความเยื่อใยตายอยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้วเท่านั้น จิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ

แล้วอะไรไปเป็นข้าศึกไปทำลายให้พินาศฉิบหายได้ แม้แต่กิเลสก็ไม่สามารถ ไม่มีอำนาจวาสนาที่จะไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าให้สูญให้อันตรธานไปได้ แล้วนิพพานจะสูญไปไหน จิตผู้บริสุทธิ์จะสูญไปได้อย่างไร เพราะธรรมชาตินี้นอกเหนือไปจากสมมุติทั้งมวลแล้ว จึงไม่มีอะไรที่จะเข้าไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์แล้วให้สูญไปได้ ให้ฉิบหายไปได้

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ เพิ่มเติมที่ ความหวังของชาวพุทธ

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น

หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่…

แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยนั้นต่างกันนั้นพอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่นนั้นบรรดาพระสาวกจำวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้น ที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นนั้น

ส่วนใหญ่มีว่า เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนาที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร

สิ่งตายตัวก็คือ โรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือ ธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใดไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม

พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่อกิลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม

โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่นสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลดเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้… จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กันโดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อยอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่นที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?… พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล

ที่พระตถาคตมาในร่างนี้มาในร่างแห่งสมมติต่างหากเพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เพียงเป็นเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร ?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติตซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่… ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก

ฉะนั้นการมาในร่างสมมตินี้จึงเพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต… คือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไร เป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทาสมมติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้

ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณาดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบไดว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน ถ้าเป็นวิมุตติล้วน เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกันก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้

เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมติเข้ามาชวยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้นพอมีทางทราบกันได้ว่าวิมมุตมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวดมีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่ว ๆ ไห้ ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติเสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมขอบงวิมุตติ ไม่แสดงอาการ ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน

ท่านกราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มิความสงสัยทั้งสมมติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มิใช่ธรรมชาติอื่น ใดจาดที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียวส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้นแม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส

เพิ่มเติมประวัติพระอาจารย์มั่น หน้า 127

@@@@@@@

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง

หนังสือชีวประวัติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2535 หน้า 129-130

@@@@@@@

หลวงปู่ลี ธมมฺโร

โลกมนุษย์มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย โลกของเทวดานันมีเกิดกับตาย ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย

กายเป็นของสูญ เปื่อยเน่า จิต เป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน ไม่มีรูปร่างลักษณะให้ตาเนื้อของเราแลเห็น แต่ไฟนั้นก็มิได้สูญหายไปจากโลก

ธัมมธโรวาท ใน หนังสือ ธรรมโอวาท ๙ หลวงปู่อริยสงฆ์ โดย ธรรมสภา ชมรมนักเรียนเก่าแอล เอส อี 2535

ยังมีต่อ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 10, 2024, 10:56:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ความสุขใด เสมอจิตสงบไม่มี

จุติแปลว่าความเคลื่อน ภาษาเราว่าตาย แท้ที่จริงนั้นจิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย

ผู้รู้ ไม่ใช่ของแตก ของทำลาย ของตาย ของดับ

เมื่อเราพิจารณาเห็นควมจริง แจ้งประจักษ์ อย่างนี้แล้วจิตมันก็เลยละได้ เมื่อจิตละได้แล้ว มันก็วางจากรูป วางจากรูปมันก็ถึงอรูปภพ อรูปภพคือเป็นอย่างไร คือจิตว่างหมดไม่มีอะไร แต่เหลือผู้รู้ ความรู้นี้แหละ เป็นของสำคัญที่เรียกว่า "พุทธ" คือผู้รู้

พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย ไม่มีอะไรทั้งนี้เราไม่เที่ยง เราถึงเป็นยังงี้ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ ตัวตน ท่านจึงสอนให้ทำจิตให้มันเที่ยง

อาจารโรวาท ใน หนังสือ ธรรมโอวาท ๙ หลวงปู่อริยสงฆ์ โดย ธรรมสภา ชมรมนักเรียนเก่าแอล เอส อี 2535

@@@@@@@

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

พระนิพพานมิใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย พระนิพพานเหนือผู้รู้ไป จนไม่มีที่หมาย ถ้าหมายอยู่ก็พอเหมือนๆ นี่เอง ก็พอหมุนๆ นี่เอง มีปัญหาว่าถ้าอย่างนั้นก็สูญสิ แต่สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ ใครเป็นผู้ดื่มรสพระนิพพาน ก็พระนิพพานเท่านั้น จะได้รับรสพระนิพพาน ไม่เป็นหน้าที่ของสังขารจะไปก้าวก่าย พระนิพพานเป็นอนัตตาหรือไม่

พระนิพพานไม่ได้อยู่ในวงแขนของท่านผู้ใดโดยถ่ายเดียว เป็นของกลางอยู่อย่างนั้น ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม ที่ไม่เกิดไม่ดับไปไหน ไม่มีใครใส่ชื่อล้อนามให้ก็ตาม ก็เป็นจริงทางไม่เกิด ไม่ดับอยู่อย่างนั้น เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก เช่นผู้รู้ดังนี้ จะเอาผู้รู้พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทียบกับพระปัจเจกๆ มาเที่ยบกับสาวก สาวิกา อรหันต์ก็เรียนกว่ายกตนเทียมท่าน สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ ชาวพุทธจะรู้เท่านั้น

@@@@@@@

พระนาคเสน มหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา

ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน

พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ด้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

นิพพานมีอยู่จริง แต่ว่าไม่มีใครอาจแสดงให้เห็นได้ว่า นิพพานมีสี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น อย่างไร เปรียบเหมือน ลม ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่มีใครสามารถ แสดงลมให้เห็นด้วย สี สัณฐาน เล็ก ใหญ่ ยาว สั้น ได้

นิพพานเป็นของไม่ควรกล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิด จักต้องเกิด ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ไม่ควรกล่าวว่า เป็นของต้องเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู รู้ด้วยจมูก ลิ้นกาย อย่างใดเลย

นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส

นิพพานไม่มีของเปรียบ ไม่อาจชี้รูป หรือสัณฐาน วัย ประมาณ แห่งนิพพานได้ด้วยอุปมา หรือด้วยเหตุ หรือด้วยปัจจัย หรือด้วยนัย

นิพพานธาตุ อันสงบ อันเป็นสุข อันประณีตนั้นมีอยู่ ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อพิจารณาสังขารตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็กระทำให้แจ้งนิพพานธาตุด้วยปัญญา

ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดังเช่น ไฟมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่งไฟไม่มี เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกันเข้าก็ได้ไฟฉันใด

หนังสือ มิลินทปัญหา





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
บทความ : https://www.nirvanattain.com/สิ่งที่ควรรู้/นิพพาน.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



บทที่ ๖ : ความจริงสูงสุด

แนวคิดสำคัญ

นิพพานเป็นความจริงสูงสุด เป็นความดีสูงสุด (summum bonum) เป็นสภาวะที่สมบูรณ์ ปราศจากเครื่องร้อยรัดเสียดแทง เป็นนิรันดร์

จุดประสงค์การเรียนรู้

    จุดประสงค์นําทาง
    มีความรู้ความเข้าใจถึงภาวะความมีอยู่ของนิพพาน

    จุดประสงค์น่าทาง
    ๑. อธิบายความหมายของคำว่านิพพานได้
    ๒. อธิบายถึงระดับของนิพพานได้




 :25: :25: :25:

๑. ความหมายของนิพพาน

นิพพาน เป็นภาษาบาลี ในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “นิรวาน” แปลว่า ความดับตัณหา หรือความดับกิเลส และดับทุกข์ หรือ สภาวะที่ปราศจากเครื่องร้อยรัดเสียบแทง หรือสภาวะที่ออกไปจากตัณหาที่ได้ นิพพานจึงเป็นความดับเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์และนิพพานนั้นเป็นชื่อหนึ่งของนิโรธ ดังนั้นนิพพานกับนิโรธจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จัดได้ว่าเป็นความจริงสูงสุด เป็นสภาวะที่สมบูรณ์ เป็นความดีขั้นสูงสุด เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ เป็นสุขนิรันดร์ 

พระอนุรุทอาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ได้พรรณนาคุณของนิพพานไว้ด้วยภาษามคธว่า "ปทมัจจุต  มัจจันตัง อสังขตมนุตตรัง นิพพานมีติ ภาสันติ วานมุตตามเหสโย”

อาจารย์ ทวี ผลสมภพ แปลความว่า “พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ทรงตรัสถึงสภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ เป็นธรรมชาติไม่มีจุติ พันจากขันธ์ ๕ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยอะไรๆเลย หาสภาวธรรมอื่นเปรียบเทียบไม่ได้ ว่าสภาวธรรมนั้นคือ พระนิพพาน”

๒. ลักษณะสำคัญของนิพพาน

การศึกษาเกี่ยวกับนิพพานมีสาระที่ควรให้ความสนใจ ๓ ประการคือ
    ๑. ธรรมชาติที่ไม่มีจุติ
    ๒. พ้นจากขันธ์ ๕
    ๓. ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยอะไร

นิพพานเป็นธรรมชาติไม่มีที่จุติ หมายถึง นิพพาน ไม่มีการเกิด ไม่มีความตาย เพราะความตายจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีการเกิด ดังนั้นเมื่อไม่มีเกิดจึงไม่มีตาย การที่นิพพานไม่มีการเกิด ก็เพราะว่า นิพพานทำลายตัณหาซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดภพต่างๆ อย่างหมดสิ้น

นิพพานพ้นจากขันธ์ ๕ หมายถึง เมื่อไม่มีการเกิด ขันธ์ ๕ ก็ไม่ปรากฏ เพราะความเกิดคือการปรากฏของขันธ์ ๕ ซึ่งธรรมดาสัตว์โลกทุกชนิดเมื่อเกิดแล้วจะต้องมีขันธ์ ๕  อาจจะครบทั้ง ๕ ขันธ์หรือไม่ครบบ้าง เช่น เมื่อมนุษย์เกิดมามีรูปร่าง มีความรู้สึกสุขทุกข์(เวทนา) มีความจำ(สัญญา) มีความคิดปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์(สังขาร) และมีจิต(วิญญาณ) แต่ถ้าเกิดเป็นอรูปพรหมก็มีเพียง ๔ ขันธ์ ขาดรูปขันธ์ เป็นต้น ฉะนั้นการที่ไม่มีการเกิดจึงเท่ากับว่าไม่มีขันธ์

นิพพานไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยอะไรๆ หมายถึง ธรรมดาสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดเพราะมีปัจจัยปรุงแต่ง คำว่าปรุงแต่งในที่นี้คือสิ่งทั้งหมายมารวมตัวกันเป็นกอง เป็นหมู่ เช่น บ้านรวมตัวขึ้นเพระการรวมตัวของวัตถุต่างๆ มีทั้งไม้ ปูน เหล็ก กระเบื้อง เป็นต้น 

มนุษย์ก็เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ ๔ การรวมตัวของวัตถุเป็นบ้าน หรือการรวมตัวของธาตุ ๔ เป็นมนุษย์และสัตว์นี้ เรียกว่าถูกปรุงแต่ง เมื่อนิพพานไม่มีการเกิดจึงเท่ากับว่าไม่มีการรวมตัวกันของธาตุ ๔ เมื่อไม่มีปัจจัยใดๆ รวมตัวกัน จึงไม่มีอะไรเกิด เพราะฉะนั้น นิพพานจึงได้ชื่อว่า อสังขตะ แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัยต่างๆ

นิพพานจำแนกได้  ๓  คือ
    ๑). นิพพาน ๑  โดยสภาวะลักษณะ
    ๒). นิพพาน  ๒ โดยการกล่าวถึงเหตุ
    ๓). นิพพาน  ๓  โดยการเข้าถึง
_______________________________________
ข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง : หนังสือพุทธปรัชญาเถรวาท (ผศ.วิโรจน์ นาคชาตรี)

@@@@@@@

๓. นิพพาน ๑

นิพพาน ๑ โดยสภาวะลักษณะ คือ สันติลักษณะ หมายถึง นิพพานเป็นสภาวะที่สงบจากกิเลสสงบจากขันธ์  ๕  ซึ่งพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานแล้วย่อมเข้าถึงสันติสุข 

คำว่า สันติสุขในความหมายนี้ มิได้หมายความว่านิพพานเป็นสุขเวทนา แต่หมายถึง นิพพานเป็นสภาวะที่ปลอดจากเวทนา คือ ไม่มีสุขเวทนา ไม่ทุกขเวทนา และไม่มีความเป็นกลางระหว่างสุขเวทนาและทุกขเวทนา

๔. นิพพาน ๒

นิพพาน ๒ โดยการกล่าวถึงเหตุ ๒ ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ ๑ มีกล่าวในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ หน้า ๒๓๑ แบ่งออกเป็น ๒ ประการ  คือ
    ๑.  สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสทั้งหมดแล้ว แต่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ได้แก่ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน แปลว่า นิพพานที่เห็นได้ในปัจจุบัน
    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสหมดแล้ว พร้อมทั้งดับขันธ์ด้วย ได้แก่ พระอรหันต์ที่ไม่มีชีวิต เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สัมปรายิกนิพพาน แปลว่า นิพพานหลังจากสิ้นชีวิต

ลักษณะที่ ๒ มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ หน้า ๒๑๖ แบ่งออกเป็น ๒ ประการ คือ
    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสได้แล้วเป็นบางส่วน ยังเหลือบางส่วน เช่น นิพพานของพระโสดาบัน  พระอนาคามี
    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือดับกิเลสได้หมด คือ นิพพานของพระอรหันต์

๕. นิพพาน ๓

นิพพาน ๓ โดยการเข้าถึง ๓ ลักษณะ คือ
    ๑. สุญญตนิพพาน
    ๒. อนิมิตตนิพพาน
    ๓. อัปปณิหิตนิพพาน

สุญญตนิพพาน คือ นิพพานที่เข้าถึงได้ด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นของว่างเปล่า หมายถึง ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานเห็นขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ในความหมายว่าสูญเปล่า คือ ขันธ์ ๕ ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันได้สูญสิ้นไปแล้ว  ปัจจุบันก็กำลังสูญไปและในอนาคตขันธ์ ๕ ก็จะสูญหายไปด้วย ญาณทัสสนะที่เกิดขึ้นโดยมีอนัตตาเป็นอารมณ์เด่นชัดนี้ เรียกว่า สุญญตนิพพาน หรือเรียกว่า นิพพานเพราะเห็นอนัตตา

อนิมิตตนิพพาน คือ นิพพานที่เข้าถึงได้ด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่มีเครื่องหมาย หมายถึง ผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง จนเกิดญาณทัสสนะเห็นขันธ์ ๕ เกิดแล้วดับติดต่อกัน โดยมิได้มีนิมิตหมายอันใดเหลืออยู่ เห็นแต่รูปนาม มีอนิจจลัษณะปรากฏเด่นชัดจึงหันหน้าไปสู่ความดับไม่กลับหลัง เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน หรือ เรียกว่า นิพพานเพราะเห็นอนิจจัง

อัปปณิหิตนิพพาน คือ นิพพานที่เข้าถึงได้ด้วยการพิจารณาขันธ์ ๕ ว่าไม่มีอารมณ์ ที่น่าปรารถนา หมายถึง ผู้ที่เจริญวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คือ ไม่มีสิ่งใดคงทน ไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่ ทุกสิ่งปรากฏขึ้นแล้วก็เปลี่ยนแปลงไป มิได้ตั้งอยู่คงเดิม ญาณทัสสนะที่เกิดขึ้นโดยมีทุกขลักษณะปรากฏเด่นชัดนี้เรียกว่า อัปปณิหิตนิพพาน หรือเรียกว่า นิพพานเพราะเห็นทุกขัง





อย่างไรก็ตาม นิพพานเป็นสิ่งที่ยากแก่การอธิบายให้เข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ดังบันทึกในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๗๖ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

     “ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่า นิพพานไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้  ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็น”

ดังนั้น การที่จะรู้ได้ก็ด้วยเพียงการเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีที่จะได้รับรู้ถึงนิพพาน ซึ่งมีคำใช้เรียกอยู่มาก เช่น
    วิมุตติ  ความหลุดพ้น เป็นอิสระ   
    วิสุทธิ  ความบริสุทธิ์หมดจด
    สันตะ  ความสงบระงับ                     
    สุทธิ  ความบริสุทธิ์สะอาด
    เขมะ  ความปลอดภัย
    อนุตตระ  ยอดเยี่ยมไม่มีอะไรยิ่งกว่า
    อกิญจนะ  ไม่มีอะไรค้างคาใจ 
    นิปุณะ  ละเอียดอ่อน
    ปณีตะ  ประณีต                     
    ปรมัตถะ  ประโยชน์สูงสุด
    ปรมสุข  สุขอย่างยิ่ง
    ปัสสัทธิ  สงบเยือกเย็น
    สิวะ  แสนเกษมสำราญ
    อรูปะ  ไร้รูป
    เกวละ  สมบูรณ์ในตัว
    วูปสมะ  ความเข้าไปสงบ
    ปณีตะ  สิ่งประณีต
    อนิทัสสนะ  ที่มองไม่เห็นด้วยตา
    อสังขตะ  สิ่งไม่ถูกปรุงแต่ง
    อนาสวะ  สิ่งไม่มีอาสวะ
    อมตะ  สิ่งไม่ตาย
    สัจจะ  ของจริง
    ธุวะ  ยั่งยืน
    อัชชระ  ไม่คร่ำคร่า
    ตัณหักขยะ  ที่สิ้นตัณหา
    วิราคะ  คลายกำหนด
    มุตติ  ความพ้น
    อปโลกิตะ  ตามที่ปรากฏโดยไม่เสื่อม ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายนิพพานในเชิงปฏิเสธอีก
    น ปฐวี  จะว่าดินก็ไม่ใช่
    น อาโป  จะว่าน้ำก็ไม่ใช่
    น เต  จะว่าไฟก็ไม่ใช่
    น วาโย  จะว่าลมก็ไม่ใช่
    นาย ลโก  ไม่ใช่โลกนี้
    น ปร โลโก  ไม่ใช่โลกอื่น
    น อุโภ จนทิมสุริยา  จะว่าพระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่ใช่
    อตถิ ภิกขเว ตทายตน  แต่ว่าสิ่งนั้นมีจริง

เป็นการยากในอธิบายให้เห็นถึงความสงบอย่างที่สุด นักปราชญ์ท่านได้เปรียบเทียบไว้เป็นเรื่องเป็นราวว่า สิ่งเหล่านี้มีอยู่ แต่ขีดความสามารถในการรับรู้ของบุคคลนั้นต่างกัน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรปฏิเสธสิ่งที่ตนเองไม่เคยพบเห็น เรื่องมีอยู่ว่า

ปลากับเต่าเป็นเพื่อนสนิทสนมกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำ รู้จักเรื่องราวความเป็นไปของทุกสิ่งที่อยู่ในน้ำ เต่าเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบนบกและกลับมาในน้ำ เมื่อพบปลาก็เล่าให้ปลาฟังถึงความสดชื่นที่ได้เดินไปบนทุ่งโล่งบ้าง บนพื้นดินที่แห้งบ้าง มีลมพัดเย็นตลอดเวลา ปลาได้ฟังก็ไม่เข้าใจว่าอะไรคือดิน อะไรคือทุ่งโล่งและลมพัดก็ยิ่งไม่เข้าใจ ปลาคิดต่อไปว่าเป็นไปได้อย่างไรที่จะมีความสุขโดยปราศจากน้ำ ถ้าไม่มีน้ำก็คงจะมีแต่ตายอย่างเดียวเท่านั้น

ปลาก็ซักถามเต่าเพื่อจะได้เข้าใจ เต่าก็เล่าถึงสิ่งที่อยู่บนบกต่างๆ เช่น นก หนู แมว ต้นไม้ ปลาก็ฟัง และให้เต่ายกตัวอย่างว่าอะไรที่อยู่ในน้ำบ้าง สิ่งใดที่คล้ายคลึงกันบ้าง เต่าก็อธิบายไม่ได้เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบ ในที่สุดปลาก็สรุปว่าเต่าโกหก เรื่องเล่ามานั้นไม่เป็นจริงแน่เพราะแม้แต่เริ่มต้นฟังที่เต่าพูด คือ เดินบนทุ่งโล่ง ดินแห้ง ลมพัดเย็น ฉันไม่เคยเห็นสิ่งเหล่านี้เลย ไม่น่าที่จะมีสิ่งเหล่านี้อยู่

@@@@@@@

ปัญหาเรื่องนิพพาน เป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากอย่างยิ่ง แต่ก็มีภิกษุรูปหนึ่งที่ท่านได้ตอบคํา ถามเกี่ยวกับนิพพานไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือมิลินทปัญหา อันเป็นบท สนทนาระหว่างพระนาคเสน กับพระยามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเตอร์ (Menander) กษัตริย์ชาวกรีก* ตัวอย่างเช่น

พระยามิลินท์ : คนที่ไม่ได้นิพพานรู้หรือไม่ว่านิพพานเป็นสุข
พระนาคเสน : รู้ได้เหมือนคนที่มีอวัยวะสมบูรณ์ มือ เท้า ไม่ขาด ได้เห็นคนมือเท้าขาด รู้ว่าคนนั้นเป็นทุกข์
พระยามีสินห์ : ท่านนาคเสน.! ท่านก็ดี อาจารย์ของท่านก็ดีไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า แต่ท่านเชื่อว่ามีจริง ทําไมถึงเชื่อเช่นนั้น
พระนาคเสน : ถวายพระพร.! เหมือนแม่น้ำบางสายที่พระองค์ไม่เคยเห็นแต่ได้ยินชื่อ ทรงเชื่อหรือไม่ว่ามีจริง
พระยามีสินห์ : พระพุทธเจ้ามีอยู่หรือ
พระนาคเสน : มีอยู่
พระยามิลินท์ : รู้ได้หรือไม่ว่าอยู่ที่ไหน
พระนาคเสน : นิพพานแล้ว ข้าจนใจ
พระยามิลินท์ : นิมนต์ท่านช่วยอุปมา
________________________
*หลังจากการสนทนาครั้งนั้นพระยามิลินท์เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ประกาศตนเป็นผู้อุปถัมภ์ทานุบํารุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ต่อมาได้มอบราชสมบัติให้แก่ราชบุตรและพระองค์ทรงออกบวชในพุทธศาสนา จากนั้นได้มีการนําศิลปการสร้างเทวรูปของกรีกเข้ามาในอินเดียและมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็น ครั้งแรกเรียกว่า “พระพุทธรูปแบบคันธารราฐ”

พระนาคเสน : เปรียบดุจเปลวอัคติ รุ่งโรจน์โชตนาการ เปลวเพลิงคับยังอยู่แต่ถ่าน บพิตร.! พระราชสมภารยังจะชี้แปลวอัคคีได้หรือว่า อยู่ในที่นั้นๆ จะได้หรือไม่เล่า
พระยามิลินท์ : เปลวไฟดับ จะจับเอาที่ไหนมา
พระนาคเสน : ฉันใดก็ดี ข้อความที่ตรัสถามนี้ก็เหมือนกัน...พระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่นิพพานไป สูญแล้ว เหมือนเปลวไฟที่ดับ อาตมาจนอกจนใจ ไม่รู้ที่จะชี้ให้พระองค์ได้โดยแท้

@@@@@@@

นิพพานเป็นสิ่งที่มนุษย์เห็นได้ด้วยตนเอง(สันทิฏฐิกะ) ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาที่จะแสดงให้ผู้อื่นเห็น บุคคลเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ผู้ที่เข้าถึงนิพพานแล้วจะมีความสุขตลอดไป ดังข้อความในพระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ หน้า ๑๗๗ ว่า

    “ความไม่หวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่มีแก่ผู้ที่ตัณหาทิฏฐิไม่ได้อาศัย เมื่อไม่มีความหวั่นไหวย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิก็ย่อมไม่มีความยินดีเมื่อไม่มีความยินดีก็ย่อมไม่มีการไปการมาเมื่อไม่มีการไปการมาย่อมก็ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มีระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์”





๖. ผู้เข้าถึงนิพพาน

บุคคลผู้บรรลุธรรมชั้นสูงหรือนิพพาน เรียกว่า พระอริยบุคคล มี ๔ จำพวก คือ

    ๑) พระโสดาบัน ละสังโยชน์* ได้ ๓ อย่าง คือ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน ความลังเลสงสัย และความยึดมั่นในศีลพรต
    ๒) พระสกทาคามี ละสังโยชน์ได้เหมือนพระโสดาบันและสามารถทำให้ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง
    ๓) พระอานาคามี ละสังโยชน์ได้เพิ่มอีก ๒ ประการ คือ ความติดใจในกามคุณ และความหงุดหงิดรำคาญใจ หรือการกระทบกระทั่งในใจ
    ๔) พระอรหันต์ ละสังโยชน์ได้ทั้งหมด
_____________________________________________
*สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดมนุษย์ไว้กับความทุกข์ มี ๑๐ ประการดังนี้
    ๑. สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวตน
    ๒. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย
    ๓. สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดมั่นในศีลพรต
    ๔. กามราคะ คือ ความติดใจในกามคุณ
    ๕. ปฏิฆะ คือ ความกระทบกระทั่งในใจ
    ๖. รูปราคะ คือ ความติดใจในรูปธรรมอันปราณีต
    ๗. อรูปราคะ คือ ความติดใจในอรูปธรรม
    ๘. มานะ คือ ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
    ๙. อุทธัจจะ คือ ฟุ้งซ่าน
  ๑๐. อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง


@@@@@@@

๗. ปัญหาเรื่องนิพพาน

เนื่องจากนิพพาน เป็นเรื่องที่มีความละเอียดลึกซึ้งมาก บุคคลไม่สามารถรู้แจ้งได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ไม่สามารถรู้ได้ด้วยกรคิดตามหลักเหตุผล(อตักกาวจระ) และสิ่งบัญญัติรวมทั้งสัญลักษณ์ต่างๆ ก็ไม่สามารถเข้าถึง(อนีรวจะนียะ) เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่อยู่เหนือโลก(โลกุตตระ) เป็นสิ่งที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง(อสังขตะ) ไม่มีการเกิดดับ อยู่เหนือเหตุผลทั้งปวง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้นักปราชญ์ นักการศาสนาและนักศึกษา ประสบปัญหาในการที่จะเข้าใจนิพพาน โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับนิพพาน ๔ ประการ คือ

    ๑. นิพพานเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่
    ๒. นิพพานเป็นสิ่งเที่ยงแท้หรือขาดสูญ
    ๓. ภาวะหรืออนาคตผู้บรรลุนิพพานหลังจากจากโลกไปแล้ว
    ๔. ปัจจุบัน บุคคลจะรู้แจ้งบรรลุนิพพานได้หรือไม่

ปัญหาเรื่องนิพพานเป็นสิ่งที่มีอยู่หรือไม่ ปัญหานี้ผู้ที่บรรลุหรือรู้แจ้งนิพพานแล้ว สงสัยใดๆก็หมดสิ้นไป แต่ผู้ที่ศึกษาก็พอที่จะเข้าใจได้บ้าง ก็ด้วยการอาศัยหลักฐานจากคัมภีร์ต่างๆ ที่สำคัญคือ คัมภีร์พระไตรปิฎก รวมทั้งคัมภีร์ที่แต่งขึ้นภายหลัง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ มีการอธิบายและกล่าวถึงนิพพานในการตอบข้อกล่าวหาของลัทธิอื่นๆ ที่ว่านิพพานเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่หรือเป็นสิ่งที่ขาดสูญ(อุจเฉทะ) โดยพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวว่า

    “นิพพานไม่ใช่ไม่มี เหมือนเขากระต่ายไม่มี ถ้านิพพานไม่มี มรรค(สมาธิและปัญญา) ก็จะไร้ความหมาย การที่คนโง่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสไม่ได้ มิได้หมายความว่า สิ่งนี้ไม่มี”

อย่างไรก็ตาม นักศึกษาควรตระหนักถึงศัพท์บัญญัติที่ว่า “มีอยู่” เพราะคำว่า “นิพพานมีอยู่” มีความหมายที่เทียบเคียงได้ในระดับโลกียบัญญัติ เป็นการชี้ให้เห็นเพียงว่า นิพพานไม่ใช่สิ่งมายาการหรือความฝัน หรือสิ่งที่ไม่มีอยู่เลย เช่น หนวดเฒ่า เขากระต่าย เป็นต้น

ปัญหาเรื่องนิพพานเป็นสิ่งเที่ยงแท้หรือขาดสูญ เป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกับปัญหาแรก แต่ประเด็นนี้จะบ่งชี้ในแง่ที่มีผู้แปลความหมายผิด ทำให้เกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะนักปราชญ์ชาวตะวันตกส่วนมาก เช่น โอลเดนเบอร์ก(Oldenberg) พอล ดาห์ลห์(Poul Dahlke) ที่เชื่อว่านิพพานเป็นความสูญเด็ดขาด(Complete Nihilism)  รวมทั้งนักปราชญ์สายวัตถุนิยม จักรกลนิยม วิวัฒนาการนิยม คอมมิวนิสต์(วัตถุนิยมวิภาษวิธี) ที่เข้าใจว่า

    นิพพาน คือ การทำลายตนเอง (Self-extinction)
    นิพพาน คือ อัตวินิบาตกรรม (Suicide)
    นิพพาน คือ สูญเด็ดขาด (Absolute zero)

แนวคิดเกี่ยวกับนิพพานดังกล่าวนี้ถ้าจะตีความตามสภาวธรรม อาจจะอธิบายได้ใหม่ เช่น การทำลายตนเอง หมายถึง ทำลายความสำคัญผิดว่ามีตัวตน อัตตาที่เที่ยงแท้ หรือสูญเด็ดขาด หมายถึง ความเห็นแก่ตัวด้วยความโลภ  ความโกรธ ความหลง สูญสิ้นไปเด็ดขาด ไม่ปรากฏในจิตแต่ตามหลักพุทธปรัชญานั้นถือว่า นิพพานไม่ใช่ความขาดสูญหรือดับสูญ ดังไวพจน์ที่ใช้แทนคำว่าสูงสุด(ปรมัตถสัจจะ) ความสุขอย่างยิ่ง(บรมสุข) สิ่งที่อยู่เหนือวิสัยโลก(โลกุตตระ) เป็นต้น

@@@@@@@

ปัญหาภาวะหรืออนาคตผู้บรรลุนิพพานแล้ว และถ้าสิ้นชีวิตลงจะเป็นอย่างไร จะมีชีวิตเป็นอมตะหรือจะสูญเด็ดขาด ซึ่งในเรื่องนี้ในพระไตรปิฎก สังยุตตนิกาย ได้บันทึกคำสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอนุรุทธะไว้ ดังนี้

พระพุทธเจ้า : เธอคิดไหมว่า ตถาคตมีอยู่ต่างหากจากเบญจขันธ์
พระอนุรุทธะ : ไม่ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : เธอคิดไหมว่า ตถาคตมีอยู่หลังปรินิพพาน
พระอนุรุทธะ : ไม่ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้า : เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นการเหมาะสม ถูกต้องไหมที่จะกล่าวว่า ตถาคตมีอยู่หลังปรินิพพานแล้ว ตถาคตไม่มีอยู่หลังปรินิพพาน ตถาคตมีอยู่ในรูปอื่น ตถาคตมีอยู่และไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่
พระอนุรุทธะ : ไม่ถูกต้องพระเจ้าข้า

หรือในบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับวัจฉโคตรตะ ที่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ ดังนี้

พระพุทธเจ้า : ไฟที่อยู่ตรงหน้าเธอเมื่อดับแล้วไปไหน ไปทิศตะวันตกหรือทิศตะวันออก ไปทิศเหนือหรือไปทิศใต้
วัจฉโคตรตะ : ไฟเกิดขึ้นก็เพราะเชื้อ เช่น ฟางและไม้ เป็นต้น เมื่อดับก็เพราะหมดเชื้อ จะพูดว่าไฟดับแล้ว ไปทิศใดย่อมไม่ถูกต้อง
พระพุทธเจ้า : เช่นเดียวกัน วัจฉโคตรตะ.! เบญจขันธ์(บุคคล)มีอยู่หรือดับไป ก็เพราะเชื้อ

ปัญหาเรื่องว่าในปัจจุบัน บุคคลจะรู้แจ้งบรรลุนิพพานได้หรือไม่ ในปัญหานี้พุทธปรัชญาถือว่า ภาวะจิตของผู้บรรลุรู้แจ้งนิพพาน เป็นสิ่งที่บุคคลอื่น แม้พรหมหรือพระเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะหยั่งรู้ได้ นอกจากพระอรหันต์ด้วยกันเท่านั้น






 st12 st12 st12

กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักศึกษา กลุ่มประมาณ ๕-๖ คน อภิปรายถึงผลดีผลเสีย ของความเชื่อที่ว่านิพพานมีอยู่จริง

คำถามท้ายบท
    ๑. นิพพาน คืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ๒. จงวิเคราะห์ข้อความที่ว่า “นิพพานเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะบุคคลไม่สามารถจะ ละตัณหาได้เค็ดขาด"
    ๓. ค่าสอนเรื่องนิพพาน มีลักษณะเป็นสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิใช่หรือไม่ จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง


หมายเหตุ : บทความนี้เนื้อหาหลักเอามาจากเว็บ https://www.gotoknow.org/posts/215466 โพสต์โดย ปราชญ์ขยะ แล้วนำมาแก้ไขเพิ่มเติม เนื้อหาที่เพิ่มมานั้น นำมาจากเว็บของมหาวิทยาลัยรามคำแหง http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PY313(50)/PY313-6.pdf (pdf file นี้เป็นแบบเรียนเล่มหนึ่ง ขออภัยที่ไม่ทราบชื่อหนังสือเล่มนี้)




ขอขอบคุณ
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/215466
pdf file : http://old-book.ru.ac.th/e-book/p/PY313(50)/PY313-6.pdf

เขียนใน GotoKnow โดย ปราชญ์ขยะ | ในนิพพาน
เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2008 11:27 น. (15 ปีที่แล้ว)
แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:36 น. (11 ปีที่แล้ว)
อ่านทั้งหมด ที่เว็บ http://khunsamatha.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2024, 10:13:20 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



"นิพพาน" ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
Nibbàna in Theravàda Buddhism


พระมหาดวงรัตน์ ฐิตรตโน1
สมบูรณ์ ตาสนธิ1, เทวัญ เอกจันทร์1, สุนทรี สุริยรังสี1, ปรุตม์ บุญศรีตัน2,
Phramaha Duangrat Tฺhitaratano1
Somboon tasonthi1, Tewan Eakjan1,
Soontree Suriyarangsee1, Parud Boonsriton2
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่1, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่2
Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus1, Chiang Mai University2
Corresponding Author, E-mail : phramahaduangrat@gmail.com




บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
    1) เพื่อศึกษานิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ
    2) เพื่อศึกษาการตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลการวิจัยพบว่า ชื่อหรือไวพจน์ของนิพพานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะในอนาสาวทิสูตร และคัมภีร์อภิธาน มีจำนวน 46 บท ที่ปรากฏในอรรถกถาและฎีกายังมีจำนาวนมากกว่านี้ ที่ปรากฎในพระไตรปิฎกจำนวนมาก ได้แก่ นิโรธ นิพพาน อสังขตะ โดยสภาวะ 2 ประเภท คือ
    - สอุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตยังไม่ตาย และ
    - อนุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายชีวิตตาย

การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท สรุปมี 3 ประเภท คือ
    1) ตีความโดยพยัญชนะ
    2) ตีความโดยสภาวะ
    3) ตีความโดยอุปมา กล่าวเปรียบเทียบสภาพแห่งนิพพาน

แท้จริงนิพพานเป็นโลกุตตระไม่สามารถอธิบายด้วยภาษาโลกได้ พระพุทธเจ้าจึงพยายามอธิบายได้ด้วยภาษาแห่งโลกิยะ อันเป็นกุศโลบายให้สรรพสัตว์เข้าไปสู่โลกุตตระคือ นิพพาน

คำสำคัญ : นิพพาน ; คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ; การตีความ


@@@@@@@

Research Articles

Received : 2019-02-27
Revised : 2019-06-13
Accepted : 2019-06-29

วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 | มกราคม - มิถุนายน 2562




Abstract

The thematic paper entitled “Nibbàna in TheravàdaBuddhism” consists of 2 objectives ; 1) To study the concept of Theravàda (the Unconditioned) in Theravada Buddhism and 2) To interpret the concept ofNibbàna in Theravàda Buddhism.

From the study, it found that : Names and synonyms of Nibbàna appeared in Tipiţaka, especially in Anàsàvadi-sutta as well as in Abhithànappadip ţkà, were consisted of 46 chapters. In addition, there are many of Nibbàna words in Commentaries and Sub-commentaries. Nirodha, Nibbàna, and Asa ñgata are frequently used in the Tipiţaka. Nibbàna is, by conditions, divided into two categories : Saupàdisesa - Nibbàna and Anupàdisesa- Nibbàna.

The interpretation of Nibbàna in Theravàda Buddhism can be classified into 3 aspects :
    1) By letters interpretation,
    2) By phenomena interpretation,
    3) By metaphors interpretation, all of which indicate a state of Nibbàna in various aspects interestingly.

As a matter of fact, Nibbàna which is transcendental cannot be explained by mundane languages. However, the Buddha has tried to explain for the sake of human beings to reach the Nibbàna deliberately.

Keywords : Nibbàna ; Theravàda Buddhism ; Interpretation



บทนำ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตทั้งสิ้น 20 อสงไขยแสนกัป โดยใช้เวลาคิดอยู่ในใจ 7 อสงไขย เปล่งวาจาว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า 9 อสงไขย และทรงเปล่งวาจาพร้อมกับทำทางกาย 4 อสงไขย รวม 20 อสงไขยและอีกแสนกัป (พระคันถรจนาจาริยเถระ, 2552: 4) ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ที่ใช้ระยะเวลานานนับไม่ถ้วนเพื่อเป้าหมายสูงสุดอะไรบางอย่าง ขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น ทรงมีจิตใจที่แน่วแน่ต่อมรรค ผล นิพพาน

สุดท้ายพระองค์ก็ได้ตรัสรู้ความจริงตามธรรมชาติ 4 ประการ เรียกว่าอริยสัจ 4 แปลอีกนัยว่า ความจริงที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องตรัสรู้ หมายถึง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องตรัสรู้ในเรื่องเดียวกัน ดังตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลได้ตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาลจักตรัสรู้ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเหล่านั้นจักตรัสรู้อริยสัจ 4ประการตามความเป็นจริง แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมตรัสรู้ตามความเป็นจริง
     พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการตามความเป็นจริง อริยสัจ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) ทุกขอริยสัจ (2) ทุกขสมุทยอริยสัจ (3) ทุกขนิโรธอริยสัจ (4) ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ” (พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย เล่ม 19 ข้อ 1094: 607-608)

    ในบรรดาอริยสัจ 4 นี้ ธรรมขั้นสูงสุด คือ นิโรธสัจ ได้แก่ นิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
    “อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณ กรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ” (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 4 ข้อ 13: 13)
     แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว อันเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 4 ข้อ 14 : 20)

     จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วทรงมีวัตถุประสงค์หลักคือชี้แนะ พาหมู่สรรพสัตว์ข้ามพ้นจากวัฏฏสงสารเข้าถึงเป้าหมายสูงสุด คือนิพพาน นิพพานจึงเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา (พระพรหมคุณาภรณ์, 2554: 166)

สังคมปัจจุบันรวมถึงนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายรูป หลายท่านให้ความหมายนิพพานไว้หลายนัย เช่น สุข เย็น สงบ สันติ อาจผิดบ้าง ถูกบ้าง ซึ่งก็อันตรายเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา เพราะนิพพานเป็นหลักธรรมหรือเป้าหมายสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ใช้เวลาแสวงหามาถึง 20 อสงไขย

แม้พระพรหมคุณาภรณ์ก็ได้กล่าวประเด็นนี้ไว้ว่า
    “นิพพานซึ่งเป็นจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกหรือผู้ปฏิบัติยังไม่อาจจะรู้ไม่อาจจะเข้าใจหลักการนี้ด้วยประสบการณ์ตนเอง พระศาสดาจึงต้องแสดงหลักการนี้ไว้ให้ชัด เท่าที่จะใช้ภาษาสื่อสารให้สติปัญญาของผู้ปฏิบัติรู้เข้าใจได้ ถ้ามิฉะนั้นผู้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไปแทนที่จะบรรลุนิพพานของพระพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นนิพพานของฮินดูไป หรืออาจจะเข้าถึงฌานสมาบัติแล้วเข้าใจว่านี่เป็นนิพพาน หรือปฏิบัติไปรู้สึกว่าจิตไปเข้ารวมกับสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็นึกว่านั้นคือนิพพาน” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต),2542: 17)

แนวคิดเช่นนี้ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด แนวคิดเรื่องนิพพานเป็นภูมิที่อยู่ของพระอรหันต์บ้าง แนวคิดเรื่องนิพพานเป็นอัตตาบ้าง อนัตตาบ้าง มีมาตั้งแต่สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรงพระชนมายุอยู่การตีความนิพพานต้องตีความจากภาษาบาลีก่อน เพราะภาษาพระบาลี แปลว่า รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า (พุทฺธวจนํ ปาเลตีติ ปาลิ) (หลวงเทพดรุณานุศิษย์, 2550 : 238)

แล้วค่อยมาดูคำอธิบายขยายความจากคัมภีร์อรรถกถา ฎีกาตามลำดับมา พระเถระโบราณจารย์ก่อนจะรจนาคัมภีร์ภาษาบาลีได้เขียนสูตรอันดับที่ 1 ก่อนว่า “อตฺโถ อกฺขรสญฺญาโตแปลว่า เนื้อความ(สภาวะ) จะรู้ได้ด้วยอักขระ” (กัจจายนเถระ, 2536 : 1)

อายุพระพุทธศาสนาผ่านไป ประมาณ 2,500 กว่าปี การตีความนิพพานในยุคปัจจุบันจำนวนมากเป็นการตีความเข้าทิฏฐิของตนเอง การตีความทางพระพุทธศาสนาระดับปฐมภูมิคือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี และคัมภีร์อรรถกถาตามกฎเกณฑ์แห่งไวยากรณ์บาลี เป็นต้น ตามลำดับ

เมื่อนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเป็นประเด็นปัญหาตั้งแต่ในยุคพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน หากมีการตีความนิพพานผิดกระบวนการหรือผิดวิธี เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาก็ผิดไปด้วย เมื่อเป้าหมายผิด กระบวนการหรือวิธีหรือแนวทางการปฎิบัติเพื่อถึงเป้าหมายก็ผิดด้วย

เมื่อเป้าหมายและกระบวนการสู่นิพพาน(สันติบท)ผิด ก็จะนำไปสู่อันตรานแห่งพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า ปัญหาเชิงปฏิจจสมุบปาท บทความวิจัยนี้จึงเป็นหลักฐานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกวิธีเป้าหมายสอุดมธรรมที่ถูกต้อง และเป็นหลักฐานอ้างอิง ศึกษา และวิจัยกันต่อไป




วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษานิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
2. เพื่อศึกษาการตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้
    1. ศึกษารวบรวมข้อมูลหลักฐานจากเอกสารระดับปฐมภูมิ (Primary Source)ได้แก่พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2500 และภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2539
    2. ศึกษารวบรวมข้อมูลหลักฐานเรื่องนิพพานจากเอกสารระดับทุติยภูมิ(Secondary Source) ได้แก่ คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีและภาษาไทย พจนานุกรมคัมภีร์บาลีและฉบับภาษาไทย และตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนาพร้อมทั้งหนังสือ บทความเอกสารงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
    3. การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อให้ได้ข้อมูล เรียบเรียง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบปัญหาที่ต้องการทราบ แล้วนำมาตีความ
    4. เสนอวิธีการตีความตามแนวคิดของผู้วิจัย ออกเป็น 3 ประเภท คือ โดยพยัญชนะ สภาวะและอุปมา
    5. เรียบเรียงเนื้อหาของแต่ละบทๆ ให้สอดคล้องกัน
    6. สรุปผลการศึกษาโดยเขียนรายงานในรูปแบบพรรณนา (Description) นำเสนอผลการศึกษา

ผลการวิจัย

ผู้วิจัยได้สรุปผลการำวิจัยตามวัตถุประสงค์ ออกเป็น 2 ประการคือ
    (1) นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
    (2) การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผลวิจัยมีดังนี้

(ยังมีต่อ...)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



1. นิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

นิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2555 : 74) ปุถุชนไม่สามารถจะรู้อธิบายได้ เพราะเป็น โลกุตตรธรรม คือ ธรรมที่พ้นจากโลก ปุถุชนไม่สามารถจะเข้าถึงได้อธิบายได้ด้วยแนวคิดหรือ ตรรกของตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามสามารถศึกษาได้จากคัมภีร์ คือ พระไตรปิฎกและอรรถกาได้ แต่ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพแห่งนิพพานจากชื่อหรือไวพจน์ ความหมายของนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้นมีจำนวนมากที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยเฉพาะปรากฏในอนาสวาทิสูตร (พระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่ม 18 ข้อ 409: 328)

พระพุทธองค์ตรัสชื่อหรือไวพจน์แห่งนิพพานไว้ดังนี้

     อสงฺขตํ อนตํ อนาสวํ   สจฺจญฺจ ปารํ นิปุณํ สุทุทฺทสํ
     อชชฺชรนตํ ธุวํ อปโลกินํ   อนิทสฺสนํ นิปฺปปญฺจสนฺตํ
     ปณีตญฺจ สิวญฺจ เขมํ   ตณฺหกฺขโย อจฺฉริยญฺจ อพฺภุตํ
     อนีติกํ อนีติกธมฺมํ   นิพฺพานเมตํ สุคเตน เทสิตํ
     อพฺยาปชฺโฌ วิราโค จ   สุทฺธิ มุตฺติ อนาลโย
     ทีปํ เลณญฺจ ตาณญฺจ   สรณญฺจ ปรายนํ

นอกจากยังมีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ฎีกา ยังมีไวพจน์อีกจำนวนมาก ในคัมภีร์อภิธาน และธรรมบท ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมสรุปดังนี้

   (1) ปรมตฺถสารํ สาระประโยชน์สูงสุดคือนิพพาน
   (2) วิปลฺลํ ความสุขอันไพบูลย์ หมายถึงนิพพาน
   (3) วิวฏํ /วิวฏฺฏํ นิพพาน คือธรรมที่ออกไปจากวัฏฏะมาสู่วิวัฏฏะ ธมฺมมุตฺตมํ นิพพานคือธรรมอันสูงสุด
   (4) สปฺปุริสธมฺมํ นิพพานคือธรรมของสัตบุรุษ
   (5) เนกฺขมฺมาภิรติ นิพพานคือความยินดีในเนกขัมมะ
   (6)อคตํ ทิสํ นิพพานคือทิศที่ไม่เคยไป
   (7) สารํ นิพพานชื่อว่าสาระ
   (8) ปรมตฺถํ ประโยชน์อย่างยิ่งคือนิพพาน
   (9) อโรคํ นิพพานคือความไม่มีโรค
 (10) ราควิราโค นิพพานเป็นธรรมเพื่อสำรอกราคะ
 (11) มทนิมฺมทฺทโน นิพพานเป็นธรรมที่ย่ำยีความมัวเมา
 (12) ปิปาสวินโย นิพพานเป็นธรรมที่บรรเทาเสียซึ่งความกระหายในกามคุณอารมณ์
 (13) อาลยสมุคฺฆาโต นิพพานเป็นธรรมที่ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์
 (14) วฎฺฎปจฺเฉโท นิพพานเป็นธรรมที่ตัดเสียซึ่งการเวียนไปในวัฏฏะทั้ง 3 (กิเลส กรรม วิบาก) ให้ขาด
 (15) เสฎฺฐํ นิพพานเป็นธรรมที่ควรสรรเสริญโดยพิเศษ เป็นต้น

พระบาลีที่ปรากฎในพระไตรปิฎกใช้จำนวนมาก ได้แก่ นิโรธ นิพพาน อสังขตะ ทั้ง ๓ คำนี้ มีปรากฏตามกาลที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นตามลำดับ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 4 ข้อ 13 : 11) และ อสังขตะ ใช้หลังจากสอนปัญจวรรคีย์ต่อๆมา





2. การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้วิจัยได้สังเคราะห์การตีความในคัมภีร์พระพุทธศาสนาออก เป็น 3 ประเภทคือ

(1) การตีความโดยพยัญชนะ
(2) การตีความโดยสภาวะ คือ ระดับความเป็นจริงที่มีอยู่โดยธรรมชาติ มี 2 คือ
     (2.1) สอุปาทิเสสนิพพาน
     (2.2) อนุปาทิเสสนิพพาน
(3) อุปมา เปรียบเทียบ

ดังมีความสังเขปดังนี้




    2.1 การตีความนิพพานโดยพยัญชนะ

    ในพระไตรปิฎกนิพพานที่เป็นชื่อหรือไวพจน์มีปรากฏในอนาสวาทิสูตร ถือว่ามากที่สุด ดังกล่าวแล้วว่า นิพพานเป็นเป้าหมายอุดมสูงสุดของพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังตรัสรู้และได้ใช้ระยะเวลา 45 พรรษาในการใช้ภาษามนุษย์หรือภาษาบาลีเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าสู่อุดมธรรม ดังนั้น ภาวะแห่งการดับกิเลสอย่างหมดจดมีอยู่ มีภาวะเดียวก็ตามแต่ภาษาที่ทำให้เข้าใจได้นั้นมีจำนวนมาก เช่นเดียวกัน นิพพาน ยังมีการตั้งชื่อไวพจน์ไว้เป็นจำนวนมาก
     ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ตีความแห่งนิพพานโดยใช้รูปวิเคราะห์ด้วยภาษาบาลีการตีความนิพพานลักษณะนี้เรียกอีกอย่างว่า “วิจยหาระ” (พระมหากัจจายนเถระ, 2550 : 93) ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการตีความอีกประเภทหนึ่งในบรรดา 16 หาระ ผู้วิจัยจึงได้แสดงวิจยหาระแห่งนิพพานดังนี้

     อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีรูปวิเคราะห์บท อสังขตะ ว่า “น สงฺขตํ สงฺขตลกฺขณรหิตนฺติ อสงฺขตํ นิพพาน ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง และเว้นจากลักษณะที่ถูกปรุงแต่ง จึงชื่อว่า อสังขตะ” (โมคคัลลานเถระ, 2550: 23) อสังขตธรรม ไม่ได้เกิดจากปัจจัย 4 คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน (และบัญญัติ) พระพุทธองค์ทรงอธิบายอสังขตะว่า ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 366 : 448) อสังขตะธรรมจึงไร้สิ่งที่ปราศจากเหตุปัจจัยในโลกิยะ ได้แก่ โลกุตระนั่นเอง

     อนนฺตํ ธรรมที่ไม่พินาศ มีรูปวิเคราะห์บท อนนฺตํ ว่า น กทาจิปิ ยสฺส อนฺโต วินาโส อตฺถิ ตํ อนนฺตํ นิพพานไม่มีความเสื่อมสลายไปตลอดกาล จึงชื่อว่า อนันตะ และ ปริยนฺตปริจฺเฉทภาวรหิตตฺตา อนนฺตํ วุจฺจติ นิพฺพานํ แปลว่า นิพพาน เรียกว่า อนันตะ เพราะไม่มีที่สุดและไม่มีกำหนดขอบเขต (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 27) อนันตะ เมื่อเข้าถีงอนันตธรรมจึงไม่เสื่อมถอยกลับมาส่ธรรมอันเลว คือ โลกิยะอีกต่อไป

     อนาสวํ แปลว่า อนาสวธรรม มีรูปวิเคราะห์บท อนาสวํ ว่า จตุนฺนํ อาสวานํ อภา เวน อนาสวํ นิพพาน ชื่อว่า อนาสวะ เพราะไม่มีอาสาวะ 4 (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 27) คำว่า อนาสวะ เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ อาสวะ 4 อย่าง คือ
           (1) กามาสวะ
           (2) ภวาสวะ อาสวะ คือภพ
           (3) ทิฏฐาสวะ
           (4) อวิชชาสวะ
อาสวะเหล่านี้ นรชนเหล่าใด ละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ นรชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า เป็นผู้หมดอาสวะ ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 30 ข้อ 51 : 211) พระพุทธองค์ตรัสอธิบายนิพพานคือ อนาสวะว่า บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่น ยินดีในนิพพานเป็นที่สละ ความถือมั่นบัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้วมีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 24 ข้อ 117 : 270) พระบาลีนี้จึงหมายถึง จิตของพระอรหันต์ที่ไม่มีอาสวะ

     สจฺจํ แปลว่า สัจจธรรม มีรูปวิเคราะห์บท สจฺจํ ว่า ราคกฺขยเหตุภาเวน สจฺจํ นิพพาน ชื่อว่า สัจจะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งราคะ จึงชื่อว่า สัจจะ และ อวิปรีตตฺตา สจฺจํ นิพพาน ชื่อว่า สัจจะ เพราะไม่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 27) นิพพานจึง เป็นสัจจ ธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดมีบารมีธรรม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงสัจจธรรมนั้น

     ปารํ แปลว่า ธรรมที่สามารถสงบความเร่าร้อนเพราะทุกข์ในสงสาร มีรูปวิเคราะห์บท ปารํ ว่า ปาเรติ สกฺโกติ สํสารทุกฺขสนฺตาปํ สเมตุนฺติ ปารํ แปลว่า นิพพาน สามารถดับความเร่าร้อนคือทุกข์ในสงสาร จึงชื่อว่า ปาระ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 27) ดังพุทธวจนะตรัสไว้ว่า ปารญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ปารคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลีข้อ 18 เล่ม 378 : 325) แปลว่า ภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงฝั่งนิพพานและทางดำเนินไปสู่ฝั่งนิพพานแก่พวกเธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 378 : 460) ปาระ ที่หมายถึงนิพพานนี้ มีความหมายคือตรงกันข้ามกับโลกทั้ง 3 ได้แก่ กามโลก รูปโลก อรูปโลก เป็นฝั่งทำลายวัฏฏะเสียได้

    นิปุณํ แปลว่า ธรรมอันละเอียด มีรูปวิเคราะห์ว่า เยน จตฺตาโร มคฺคา โอธิโส กิเลเส นิสฺเสสโต ปุนนฺติ โสเธนฺติ ตํ นิปุณํ แปลว่า นิพพานเป็นเครื่องชำระกิเลสของมรรค 4(โสดาบัน สกทาคามี อนาคมี อรหันต์) ให้หมดจด จึงชื่อว่า นิปุณะ (โมคคัลลานเถระ, 2550: 28) ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า นิปุณญฺ จ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ นิปุณคามิญฺ จ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 325) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ละเอียดอ่อนและทางดำเนินไปสู่ธรรมที่ละเอียดแก่พวกเธอ (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408:461) คำว่า นิปุณะ จึงเป็นนิพพานที่ลึกซึ้งยากที่ปุถุชนจะเข้าถึงได้ และเป็นมรรคจิตมีสภาพชำระกิเลสออก

     สุทุทฺทสํ แปลว่า เป็นธรรมที่ปุถุชนมองเห็นได้ยากยิ่ง มีรูปวิเคราะห์บท สุทุทฺทสํ ปสฺสิตุํ สุทุกฺกรตาย สุทุทฺทสํ แปลว่า นิพพานชื่อว่าสุทุททสะ เพราะเป็นธรรมที่มองเห็นได้ยากยิ่ง (โมคคัลลานเถระ, 2550: 24) ดังมีพระบาลีว่า สุทุทฺทสญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ สุทุทฺทส คามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 325) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งและทางที่ให้ถึงธรรมที่เห็นได้ยากยิ่งแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 461) คำว่า สุทุทฺทสํ จึงเป็นนิพพานที่ปุถุชนไม่สามารถจะไปหยั่งรู้ได้ จึงมีสภาพที่เห็นได้ยากยิ่ง

     อชชฺชรํ แปลว่า ธรรมที่ไม่คร่ำครึ ในคัมภีร์ไวยากรณ์ไม่ได้ให้รูปวิเคราะห์ไว้ ผู้วิจัย เข้าใจว่า ชร ธาตุ ในความมีโรคไข้ พระอัคควังสเถระ กล่าวว่า ยตฺถ ตุ อยํ วโย หานิวาจโก ตตฺถ ปโยเค ชีรติ ชราติ จสฺส

     รูปานิ ภวนฺติ แปลว่า ก็ประโยคใด ชร ธาตุนี้มีอรรถว่า วโยหานิ (ความเสื่อมแห่งวัย) ในประโยคนั้น ชร ธาตุนั้นจะมีรูปว่า ชีรติ แปลว่า ย่อมแก่ ย่อมชรา (2546 : 406)

    อชชฺชร (อ+ชชฺชรํ) แปลว่า ธรรมที่ไม่แก่ ไม่คร่ำครึ ธรรมที่ไม่มีโรค ได้แก่นิพพาน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า อชชฺชรญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ อชชฺชรคามิญํจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 325) ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่คร่ำครึและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่คร่ำครึแก่เธอทั้งหลาย (สํ.สฬา. (ไทย). 18/408/461) พระบาลีนี้แสดงว่าพระนิพพานเป็นสิ่งที่ชาวโลกปรารถนาอยู่ทุกกาลสมัย ไม่ล้าสมัย ผู้ใดเห็นภัยในวัฏฏะสมัยใด สมัยนั้นนิพพานจึงเป็นที่ปราถนาของคนในสมัยนั้นๆด้วย จึงชื่อว่า อชชฺชรํ

     อนตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่มีน้อมไป (ในวัฏฏะ) บทนี้ไม่ได้วิเคราะห์ในคัมภีร์ไวยากรณ์ไว้ ประกอบด้วย - อ แปลว่า ไม่ + นมุ ธาตุในความน้อมไป + ต ปัจจัย เพราะ ต ปัจจัย ลบที่สุดธาตุ คือ มุ = สำเร็จรูปเป็น อนตํ (พระอัคควังสเถระ, 2546 : 360) แปลว่า ธรรมที่ไม่มีความน้อมไป ดังมีพุทธวจนะว่า อนตญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ อนตคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 378 : 325) ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่น้อมไป (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 3 ข้อ 377-409 : 174) และทางที่ให้ถึงความไม่น้อมไปแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 378: 461) คำว่า ไม่น้อมไป คือ ไม่น้อมไปเกิดในวัฏฏสงสารอีกต่อไป คือ นิพพาน





     ธุวํ แปลว่า ธรรมที่มั่นคง มีรูปวิเคราะห์ว่า ธวติ มคฺคานมารมฺมณภาวํ คจฺฉตีติ ธุวํ แปลว่า ธรรมที่ไปสู่ความเป็นอารมณ์ของมรรคจิต จึงชื่อว่า ธุวะ (โมคคัลลานเถระ, 2550, น. 29) ดังเช่นพระบาลีว่า ธุวํ จ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ธุวคามินิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่ม 18 ข้อ 378 : 326) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ยั่งยืนและทางที่ให้ถึงธรรมที่ยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง (พระไตรปิฏกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 461) พระบาลีว่า “ธุวํ ” เป็นการแสดงถึงจิตของผู้เข้าถึงนิพพาน และสภาพแห่งนิพพาน มั่นคงคือ ไม่กลับวนเวียนไปในวัฏฏะอีก

     อปโลกิตํ (อปโลกิตํ น + ป +สช นสฺสเน + อิ อาคม + ต ปัจจัย, บางแห่งเป็น อปโลกินํ ลง ยุ ปัจจัย) แปลว่า ธรรมที่ไม่เลือนหาย พระโมคคัลลานเถระได้แสดงรูปวิเคราะห์บท อปโลกิตํ ว่า สทา วิชฺชมานตฺตา อปลุชฺชนสภาวํ คจฺฉตีติ อปโลกิตํ แปลว่า นิพพานถึงความเป็นธรรมไม่เลือนหายเพราะมีอยู่ตลอดกาลใน (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 30) บทนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระไตรปิฎกว่า อปโลกิตํ จ โว ภิกฺขเว เทสสิสฺสามิ อปโลกิตคามิญฺ จ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 378 : 326) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เสื่อมสลายแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม18 ข้อ 408: 461) พระบาลีว่า อปโลกิตํ มี 2 ประเด็น คือ
     (1) ไม่เลือนหลายไปไหน เพราะเป็นสัจจธรรมสากล
     (2) เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่ในโลกนี้ อะไรที่โลกนี้มี แต่นิพพานไม่มี ปราศจากสภาพที่อยู่บนโลกนี้

     อนิทสฺสนํ แปลว่า ธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตา มีรูปวิเคราะห์ว่า นตฺถิ จกฺขุนา ทสฺสนเมตฺถาติ อนิทสฺสนํ นิพพานเป็นธรรมที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา จึงชื่อว่า อนิทัสสนะ(โมคคัลลานเถระ, 2550 : 26) ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า อนิทสฺสนญฺ จ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ อนิทสฺสนคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษบาลี เล่ม 18 ข้อ 378 : 326) แปลว่า ภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงธรรมที่ใครๆ ไม่พึงเห็น (ด้วยจักขุวิญญาณ) และทางที่ให้ถึงธรรมที่ใคร ๆ ไม่พึงเห็นแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 461) พระบาลีว่า อนิทสฺสนํ เป็นการปฏิเสธการเข้าถึงนิพพานโดยการประจักษ์นิยมทางประสาทสัมผัสทางกาย แต่มีสภาพเข้าถึงโดยการน้อมใจเข้าไปรู้ได้เท่านั้น

     นิปฺปปญฺจา (นิ + ป ทฺเวภาวธาตุ ปจิ ธาตุ + อ ปัจจัย) แปลว่า ธรรมที่ไม่ทำให้สงสารของสัตว์ให้เนิ่นช้า มีรูปวิเคราะห์ว่า เอตา อตฺตนิสฺสิตานํ สตฺตานํ สํสารํ ปปญฺเจนฺติ วิตฺถินฺนํ กโรนฺตีติ ปปญฺจา แปลว่า ที่ชื่อว่า ปปญฺจา เพราะทำสงสารของเหล่าสัตว์ที่อาศัยตนเนิ่นช้า คือ ยืดยาว เอตฺถ ปปญฺจาติ ตณฺหามานทิฏฺฐิโย แปลว่า ในบทว่า ปปญฺจา ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ (พระอัคควังสเถระ, 2546 : 748) ส่วน คำว่า นิปฺปปญฺจา ใส่ นิ อุปสรรค ซึ่งมีความหมายว่า ไม่ , จึงแปลว่า "ไม่มีธรรมที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า" , หรือ "ไม่ทำให้กระแสจิตยืดยาวในสังสารวัฏเข้าไปสู่วิวัฏฏะ" พระบาลีว่า นิปฺปปญฺจา เป็นการสื่อถึงจิตของพระอรหันต์ ไม่มีกิเลสที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ จึงทำให้พ้นจากชาติ คือ การเกิดในชาติต่อไป

     สนฺตํ (ในรูปวิเคราะห์นี้ประกอบด้วย สมุ ธาตุในความเข้าไปสงบ + ต ปัจจัย ( ลบสระที่สุดธาตุ คือ อุ ที่ มฺ เสีย อาเทศ ที่สุดธาตุ คือ ม เป็น นฺ + ต ) สำเร็จรูปเป็น สนฺตํ ) ธรรมเครื่องสงบจาก (จากราคะเป็นต้น) พระโมคคัลลานะได้แสดงรูปวิเคราะห์ สนฺตํ ว่า ราคาทีนํ สนฺตกรณตฺตา สนฺตํ แปลว่า นิพพานชื่อว่า สันตะ เพราะกระทำให้ราคะเป็นต้น สงบลงได้ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 21) พระบาลีว่า สนฺตํ จึงหมายถึง สอุปาทิเสสนิพพาน ที่กระทำให้อกุศลธรรมทั้งหลายดับลง

     ปณีตํ แปลว่า ธรรมที่ถึงความเป็นประธาน คือ ประเสริฐสุด มีรูปวิเคราะห์ ปณีตํ ว่า ปธานภาวํ นีตํ = ปณีตํ (ในรูปวิเคราะห์นี้ ประกอบด้วย ป อุปสรรค บทหน้า + นี ธาตุ ในความเข้าถึง + ต ปัจจัย ลงในอรรถ อดีตกาล) แปลว่า นิพพานถึงความเป็นประธาน จึงชื่อว่า ปณีตะ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 29) พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีต นฺติ นิพพานํ ทสฺเสนฺโต อาห แปลว่าพระพุทธเจ้าตรัสแสดงนิพพานว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ อุตฺตมฏฺเฐน ปณีตํ” (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 15 ข้อ 263 : 113) นิพพาน ชื่อว่า ประณีตเพราะมีอรรถว่าประเสริฐสุด (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 13 ข้อ 377 : 174) พระบาลีว่า ปณีตํ เป็นสภาพแห่งนิพพาน ที่ประณีต ที่ปุถุชนใลกนี้สัมผัสไม่ได้

     สิวํ แปลว่า ธรรมอันเกษมหรือผู้กลัวภัยในวัฏฏสงสารพึงเสพ มีรูปวิเคราะห์บท สิวํ ว่า สํสารภีรุเกหิ เสวิตพฺพตฺตา สิวํ (สิ ธาตุ เสวายํ ในความเสพ + ว ปัจจัย = สิวะ) แปลว่า นิพพานเป็นธรรมที่ผู้กลัวภัยในสงสารพึงเสพ จึงชื่อว่า สิวะ (โมคคัลลานเถระ, 2550: 23) พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ปตฺโต สนฺติสุขํ สิวํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 32 ข้อ 393: 497) แปลว่า บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข พระบาลีนี้จึงหมายถึงพระอรหันต์ที่หมดกิเลส ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขที่เรียกว่า สิวํ

     เขมํ (ขี ธาตุ ในความสิ้นไป+ ม ปัจจัย) แปลว่า เครื่องสิ้นจากโยคะ 4 ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา มีรูปวิเคราะห์ว่า ขยนฺติ เอเตนาติ เขมํ แปลว่า นิพพานเป็นเครื่องสิ้นจากโยคะ ที่ชื่อว่า เขมะ เพราะหมดภัย (นิพฺภยฏฺเฐน เขมํ ) และที่ชื่อว่า เขมะ เป็นเครื่องทำลาย โลภะ โทสะ โมหะ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 30) พระบาลีว่า เขมํ เครื่องทำลายกิเลส การทำลายกิเลสให้หมดสิ้นย่อมมีแก่พระอรหันต์เท่านั้น

     ตณฺหกฺขโย แปลว่า ธรรมที่สิ้นไปแห่งตัณหา มีรูปวิเคราะห์ว่า ตณฺหาณํ ขยเหตุตฺ ตา ตณฺหกฺขโย(ตณฺหา รัสสะ อา เป็น อะ+ ขี ธาตุ ในความสิ้นไป แปลง อี เป็น เอ อาเทศ เอ เป็น อย, ซ้อน ก หน้า ข สำเร็จรูปเป็น ตณฺหกฺขโย) แปลว่า ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งตัณหา (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 21) พระบาลีว่า ตณฺหกฺขโย การทำลายตัณหาให้หมดสิ้นย่อมบังเกิดแก่พระอรหันต์เท่านั้น ดังนั้น ตัณหักขยะ จึงเป็นชื่อของสอุปาทิเสสนิพพานเท่านั้น

    อจฺฉริยํ แปลว่า ธรรมที่ต้องประพฤติให้ยิ่ง มีรูปวิเคราะห์ว่า อาภุโส จริตพฺโพติ อจฺฉริโ (อา + จร + อ ปัจจัย) ธรรมที่บุคคลควรประพฤติให้ยิ่ง ชื่อว่า อัจจริยะ ประกอบด้วย อา บทหน้า แปลว่า ยิ่ง รัสสะ อา เป็น อ + จร ธาตุ ในความ ประพฤติ เปลี่ยน จร เป็น จฺฉริย = อจฺฉริยะ แปลว่า ธรรมที่ต้องประพฤติให้มากยิ่ง (โมคคัลลานเถระ, 2550: 888) เพราะนิพพานจะปรากฏแก่บุคคลที่ประพฤติโพธิปักขิยธรรมให้มากเท่านั้น ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “อจฺฉริยญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ อจฺฉริยคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม18 ข้อ 408 : 326) ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่น่าอัศจรรย์และทางที่ให้ถึงธรรมที่น่าอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย” (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408: 462) พระนิพพาน หากย่อหย่อน จึงไม่สามารถเข้าถึงได้ จึงมีไว้สำหรับผู้ที่ประพฤติอย่างแรงกล้า ต่อเนื่องเท่านั้น จึงชื่อว่า อัจฉริยะ





     อพฺภุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่เคยมี ปรากฏมาก่อน มีรูปวิเคราะห์บท ว่า ปุพฺเพ น ภ วิตฺถาติ อพฺภุตํ (น แปลง น เป็น อ+ ภู ธาตุ ในความ มี รัสสะ อู เป็น อุ ซ้อนพยัญชนะที่มีรูปไม่เสมอกัน คือ พฺ + ต ปัจจัย สำเร็จรูปเป็น อพฺภุตํ) แปลว่า สิ่งที่ไม่เคยมี ไม่เคยปรากฏมาก่อน ชื่อว่า อัพภุตะ (ประกอบด้วยเครื่องปรุงไวยากรณ์ดังนี้ เพราะพยัญชนะ (คือ ภู) อยู่หลัง แปลง น เป็น อะ แปลว่า ไม่ +ภู ธาตุ ในความมี รัสสะ อู เป็น อุ เป็น ภุ แล้วซ้อนพยัญชนะที่มีรูป ไม่เสมอกัน สำเร็จรูป อพฺภุ + ต ปัจจัย = อพฺภุตํ) ดังมีพระพุทธวจนะว่า อพฺภุตญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ อพฺภุตคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 326) ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ไม่เคยปรากฏและทางที่ให้ถึงธรรมที่ไม่เคยปรากฏแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 463) พระบาลีว่า อพฺภุตํ เป็นธรรมที่ไม่ปรากฏมาก่อน คือ ศาสนาทั้งหลายในโลกไม่ได้ค้นพบมาก่อน พระองค์ค้นพบนิพพานด้วยพระองค์เดียว จึงชื่อว่า อพฺภุตํ

     อนีติกํ แปลว่า ปราศจากทุกข์ อันตราย บ่วง มีรูปวิเคราะห์บท อนีติกํ ว่า สตฺเต สํสารํ เนตีติ นีตีติ ลทฺธนามาย ตณฺหาย อภาโว อนีติกํ (น เปลี่ยน น เป็น อะ + นีติ + ก ปัจจัย) นิพพานชื่อว่า อนีติกะ เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อนีติ ที่นำสัตว์ไปสู่สงสาร ดังมีพุทธวจนะตรัสว่า ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ อนีติกํ นิพพานํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 31 ข้อ 735 : 631) แปลว่า ความดับแห่งขันธ์ 5 ชื่อว่า อนีติกะ ได้แก่ นิพพาน แสดงว่า ตัวนำไปสู่ภพคือการเกิดคือ ตัณหา เมื่อหมดตัวนำไปสู่ภพ คือ ตัณหา ที่เรียกว่า อนีติกธรรม ก็เข้าถึงนิพพาน

    นิพฺพานํ สภาวธรรมที่พ้นจากตัณหา มีรูปวิเคราะห์ว่า
     (1) วานสงฺขาตาย ตณฺหาย นิกฺขนฺตตฺตา นิพฺพาติ นิพฺพานํ แปลว่า สภาพที่ดับสนิทเพราะหลุดพ้นจากตัณหาที่เรียกว่า วานะ
     (2) เอเตน ราคคฺคิอาทิโกติ นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมเครื่องดับไฟคือราคะเป็นต้น (โทสะ โมหะ) (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 20)
     พระบาลีว่า นิพฺพานํ เป็นชื่อของนิพพานโดยตรง หมายถึง สภาพที่ไม่มีจิตที่ประกอบด้วยตัณหา ที่ชื่อว่า วานะ อันเป็นเครื่องผูกมัด แท้ที่จริง นิพพานคือ สภาวะที่ปราศจากตัณหา เมื่อหมดตัณหา 3 คือ กาม ภวะ วิภวะ ย่อมเข้าถึงพระนิพพานได้ทันที

     อพฺยาปชฺโฌ แปลว่า ธรรมที่ทุกข์เบียดเบียนไม่ได้ ธรรมที่ไม่มีความพินาศ มีรูปวิเคราะห์บท อพฺยาปชฺโฌ ว่า ตสฺส ภาโว พฺยาพชฺฌํ , ทุกฺขสฺส ปีฬนาทฺยตฺโถ, ตํ ยตฺถ นตฺถิ, ตํ อพฺยาพชฺฌํ แปลว่า ความเป็นธรรมที่บีบคั้น ชื่อว่า พยาพัชฌะหมายความว่า ทุกขสัจมีความบีบคั้นเป็นต้น, นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีทุกขสัจนั้น จึงชื่อว่า อัพยาพัชฌะ (โมคคัลลานเถระ,2550 : 28) พระบาลีว่า อพฺยาพชฺฌํ เป็นสภาพแห่งนิพพานที่หมดจากการบีบคั้นกดดันจากกิเลสและภพชาติ เพราะชาติเป็นทุกขสัจจะ

     วิราโค แปลว่า ธรรมที่ปราศจากราคะ มีรูปวิเคราะห์บท วิราโค ว่า สพฺพสงฺขารส มโถ สพฺพูปธิปฏิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ แปลว่า ธรรมที่สงบระงับสังขารทั้งปวงสลัดออกซึ่งอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา คลายกำหนัด ดับสนิท ปราศจากตัณหา (นิพพาน) (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 29) พระบาลีนี้จึงหมายถึงพระอรหันต์ที่หมดจากราคะแล้ว เมื่อหมดราคะก็ถึงนิพพาน

     สุทฺธิ และวิสุทฺธิ (ในรูปวิเคราะห์ วิสุทฺธิ นี้ประกอบด้วย วิ อุปสรรค บทหน้า+สุธ ธาตุ ในความบริสุทธิ์, หมดจด + ติ ปัจจัย + อาเทศ(เปลี่ยน) ตฺ (ที่ ติ ปัจจัย) กับที่สุดธาตุ คือ ธ เป็น ทฺธ (เพราะเป็นวรรคเดียวกัน) = สำเร็จรูป เป็น วิสุทฺธิ ในกรณีที่เป็น สุทฺธิ ขณะที่ตั้งรูปวิเคราะห์ก็ตัด วิ ออกเสีย ว่า สุชฉนฺติ สตฺตา เอตาย ราคาทิมเลหีติ สุทฺธิ) แปลว่า ธรรมหมดจดจากมลทินคือกิเลส พระโมคคัลลานเถระ ได้แสดงรูปวิเคราะห์บท สุทฺธิ และ วิสุทฺธิว่า วิสุชฉนฺติ สตฺตา เอตาย ราคาทิมเลหีติ วิสุทฺธิ แปลว่า นิพพานยังสัตว์ให้หมดจดจากมลทิน มีราคะเป็นต้น จึงชื่อว่า วิสุทธิ (โมคคัลลานเถระ, 2550: 30) มีปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ (สุทฺธิ) ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมองจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 13 ข้อ 233 : 275) พระบาลีทั้งสองหมายถึงพระอรหันต์ที่มีจิตบริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวง ย่อมเข้าถึงนิพพาน

     วิมุตติ และมุตฺติ แปลว่า พ้นจากสังขาร (โลก) พระโมคคัลลานะได้แสดงรูป วิเคราะห์บท วิมุตฺติ ว่า สพฺพสงฺขารา วิโมจนโต = วิมุตฺติ แปลว่า เพราะพ้นจากสังขารทั้งปวง นิพพาน จึงชื่อว่า วิมุตติ ส่วน มุตฺติ นั้น แปลว่า ธรรมอันหลุดพ้นจากกิเลส มีรูปวิเคราะห์ ว่า ตีหิ ภเวหิ มุตฺตาย มุตฺติ นิพพาน ชื่อว่า มุตติ เพราะพ้นจากภพทั้ง 3 (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 30) พระบาลีว่า มุตฺติ และ วิมุตฺติ การหลุดพ้นจากอัตตา อินทรีย์ (อินทรีย์ 22) พระบาลีทั้งสองหมายถึงพระอรหันต์ที่ละสังขารไปแล้ว เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน

     อนาลโย แปลว่า ธรรมที่ปราศจากตัณหา มีรูปวิเคราะห์บท อนาลโย ว่า นตฺถิ อาลโย ตณฺหา เอตฺถาติ อนาลยํ แปลว่า นิพพานไม่มีตัณหา จึงชื่อว่า อนาลยะ (โมคคัลลานเถระ, 2550, น. 23) ดังมีพระพุทธดำรัสว่า อิทํ โข ปน ภิกฺขเว ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ โย ตสฺสา เยว ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย (พระไตรปิฎกภาษาบาลีเล่ม 4 ข้อ 14 : 14.) ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับตัณหาไม่เหลือด้วย วิราคะ ความสละ ความสละทิ้ง ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา (พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่ม 4 ข้อ 14 : 22) ผู้ที่ปราศจากตัณหาคือพระอรหัดำนต์ที่รงชีวิตอยู่ เมื่อปราศจากตัณหา ย่อมสัมผัสพระนิพพาน

     ทีปํ แปลว่า เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์ มีรูปวิเคราะห์บทว่า ยถา ปกติทีโป นทีโสเตน วุยฺหมานานํ ปติฏฺฐา โหติ เอวมิทมฺปิ นิพฺพานํ สํสารมโหเฆน วุยฺหมานานํ ปติฏฺฐาติ ทีโป วิยาติ ทีโป แปลว่า นิพพานเป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์ผู้ถูกห้วงน้ำในสงสารพัดไป ดุจเกาะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ ผู้ถูกกระแสคลื่นพัดพาไป จึงชื่อว่า ทีปะ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 20) ดังมีพระบาลีตรัสว่า ทีปญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ทีปคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 326)แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นเกาะและทางที่ให้ถึงธรรมที่เป็นเกาะแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 464) พระบาลีว่า ทีปะ เป็นที่พึ่งสำหรับภัยวัฏฏสงสารที่น่ากลัว พระนิพพานจึงชื่อว่าเกาะที่พึ่งที่ปลอดภัยในวัฏฏะสงสาร

     เลณํ แปลว่า ธรรมที่หลบซ่อนหรือหลีกจากภัยในสงสาร มีรูปวิเคราะห์บท เลณํ ว่า นิลียนฺติ เอตฺถ สํสารภยภีรุกาติ เลณํ แปลว่า นิพพานเป็นที่หลีกเร้นจากความกลัวคือภัยจากสังสาร จึงชื่อว่า เลณะ (โมคคัลลานเถระ, 2550: 20) ดังมีพุทธองค์ตรัสไว้ในอนาสวาทิสูตรว่า เลณญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ เลณคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 326) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่เร้นและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408 : 464) พระบาลีนี้จึงหมายถึงพระนิพพานที่เป็นที่หลีกเร้นภัยแห่งวัฏฏสงสารที่น่ากลัว

     ตาณํ แปลว่า ธรรมเครื่องรักษา หรือ ธรรมเป็นเครื่องต้านทาน มีรูปวิเคราะห์บท ตาณํ ว่า ตายติ รกฺขติ อปายาทิโตติ ตาณํ นิพพานปกป้องบุคคลให้พ้นจากอบายเป็นต้นจึงชื่อว่า ตาณะ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 21) ดังมีพระบาลีว่า ตาณญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ตาณคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 408 : 326) แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ต้านทานและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย”(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 408: 464) พระบาลีว่า ตาณํ ต้านทานอกุศลและไม่ให้ตกไปในอบาย

     สรณํ แปลว่า ธรรม(นิพพาน) เป็นที่พึ่งของพระอริยะ มีรูปวิเคราะห์บท สรณํ ว่าเยน จตฺตาโร มคฺคา โอธิโส กิเลเส สรนฺติ หึสนฺติ ตํ ธมฺมํ สรณํ แปลว่า นิพพานเป็นเครื่องกำจัดกิเลสแต่ละระดับของมรรค 4 หรือ มรรคธรรม 4 เป็นเครื่องกำจัดกิเลสโดยเฉพาะฉะนั้น ธรรมนั้น (นิพพาน) จึงชื่อว่า สรณะ (โมคคัลลานเถระ, 2550 : 25) พระบาลีว่า สรณํ คือ พระนิพพานจึงเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ได้แก่มรรคจิต 4 คือ พระโสดาปัตติมรรค สกทาคา มิมรรค อนาคามิมรรค อรหันตมรรค แสดงว่า จิตที่เข้าถึงพระนิพพานนั้นย่อมสัมผัสแต่พระโสดาบันขึ้นไป

    ปรายนํ ธรรมที่พระอริยะเข้าถึง มีรูปดังนี้ ปเรหิ อุตฺตเมหิ อริยปุคฺคเลหิ อยิตพฺพํ คนฺตพฺพนฺติ ปรายนํ แปลว่า นิพพานอันพระอริยะเจ้าผู้ประเสริฐพึงเข้าถึง ชื่อว่า ปรายนะ (โมคคัลลานเถระ, 2550: 24) พระบาลีว่า ปรายนญฺจ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ปรายนคามิญฺจ มคฺคํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 18 ข้อ 409 : 328) แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าและทางที่ให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 18 ข้อ 409 : 464) พระบาลีว่า ปรายนํ นี้ ที่มีความหมายว่า พระอริยะเจ้าพึงเข้าถึง ปุถุชนเข้าถึงไม่ได้

(ยังมีต่อ...)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2024, 10:02:34 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.
 :25: :25: :25:

รูปวิเคราะห์ชื่อแห่งนิพพานที่เขียนพรรณนามาทั้งหมดมีปรากฏในอนาสาวาทิสูตรและคัมภีร์อภิธานทั้งสอง ชื่อแห่งนิพพานดังต่อนี้ไปมีปรากฏเฉพาะในคัมภีร์อภิธานเท่านั้น ซึ่งพระโมคคัลลานะเถระกล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาว่า มี 46 บท โดยเพิ่มหรือมากกว่าในอนาสาวาทิสูตร 12 บท ( 2536 : 4) ดังต่อไปนี้

    (1) โมกฺโข แปลว่า ธรรมเป็นที่หลีกเร้น ธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสมีราคะ เป็นต้น
    (2) นิโรโธ แปลว่า ความดับ พระบาลีว่า นิโรโธ มีใช้จำนวนมากในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ที่สำคัญที่สุดพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เป็นจุดสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนาว่า นิโรธ สจฺจํ ซึ่งหมายถึงนิพพานนั่นเอง พระบาลีว่า นิโรธ ซึ่งหมายถึงสิ้นจากกิเลส ราคะ
    (3) อรูปํ(น + รูป) แปลว่า ธรรมที่ไม่มีรูปลักษณ์, อรูปธรรม
    (4) อมตํ (น + มร ธาตุ ปราศจากชีวิต + ต ปัจจัย = อมตะ) แปลว่า สภาพที่พ้นจากความตาย พระบาลีว่า อมตํ เป็นภาวะแห่งนิพพาน ที่ปฏิเสธความตาย เหตุคือการปฏิเสธการเกิดนั่นเอง

    (5) อกตํ แปลว่า อกตธรรม พระพุทธองค์ตรัสว่า อชาตํ อภูตํ อกตํ อสงฺขต (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 25 ข้อ 73 : 213) แปลว่า นิพพานเป็นธรรมชาติไม่เกิด ไม่เป็น ไม่ถูกปัจจัยกระทำ ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 25 ข้อ 73 : 323) พระบาลีว่า อกตํ เป็นภาวะที่ปฏิเสธการสร้างขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ในโลกนี้ จึงเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน
    (6) เกวลํ (เกว ธาตุ เป็นไปในความไม่ประกอบ หมายถึงนิพพาน, นอกจากนี้ยังมีความหมายว่า โดยมาก มั่นคง พอประมาณ ทั้งหมดทั้งสิ้น) ธรรมที่ไม่มีสังขารปรุงแต่ง พระบาลีว่า เกวลํ เป็นสภาพแห่งนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้

    (7) อปวคฺโค ธรรมเว้นจากสังขารปรุงแต่ง พระบาลีว่า อปวคฺโค เป็นสภาพแห่งสังขารโลกทั้งปวง
    (8) อจฺจุตํ ธรรมที่ไม่มีจุติของพระอรหันต์ ดังมีพระบาลีว่า อจฺจุตํ อมตํ ปทํ ตํ ญาณํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 32 ข้อ 12 : 225) แปลว่า พระองค์ทรงบรรลุอมตบทที่ไม่จุติด้วยพระญาณ พระบาลีว่า อจฺจุตํ เป็นสภาพแห่งนิพพานที่ไม่มีการจุติคือตายอีก ก็คือ อนุปาทิเสสนิพพานเท่านั้น เพราะไม่เกิดและตายอีกต่อไป
    (9) ปทํ แปลว่า ธรรมที่พระอริยะเข้าถึง ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า สนฺตํ ปทํ อชฺฌคมา (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 15 ข้อ 732 : 275)แปลว่า บรรลุนิพพานอันสงบ พระพุทธองค์อธิบายไวพจน์แห่งนิพพานว่า สนฺตํ ปทํ นิพฺพานํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 11 ข้อ 210 : 257) แปลว่า พระบาลีว่า ปทํ นิพพานที่พระอริยเข้าถึงได้

   (10) โยคกฺเขโม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องสิ้นโยคะทั้ง 4 คำว่า โยคกฺเขโม มีปรากฏใพระไตรปิฎกว่า อนุตฺตโร โยคกฺเขโม (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 19 ข้อ 528 : 205) แปลว่า ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม พระบาลีว่า โยคกฺเขโม
   (11) สนฺติ (สมุ ธาตุ ในความสงบ + ติ ปัจจัย) แปลว่า ธรรมที่สงบจากกิเลส พระพุทธองค์ตรัสว่า ผุฏฐสฺส ปรมา สนฺตินิพฺพานํ อกุโตภยํ (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 21 ข้อ 23 : 31) แปลว่า สัมผัสความสงบอย่างยิ่ง คือ นิพพานอันไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ
   (12) นิพฺพุติ (อิตฺถี) แปลว่า ธรรมที่ออกจากตัณหา หรือธรรมที่ปราศจากตัณหาเครื่องกั้นให้ติดอยู่ในสงสาร ดังพุทธวจนะว่า ตถาคเตน สา นิพฺพุติ อธิคตา (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 29 ข้อ 709 : 423) นิพพานนั้นพระตถาคตทรงบรรลุแล้ว

ไวพจน์หรือชื่อแห่งนิพพานตามรูปศัพท์แห่งนิพพานที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีจำนวนมาก นอกจากอนาสวาทิสูตร และคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ก็มีอีกจำนวนมาก เช่น คำว่า อจลํ เป็นต้น (พระไตรปิฎกภาษาบาลี เล่ม 32 ข้อ 293 : 40) ซึ่งก็เป็น ศัพท์ไวพจน์ของนิพพานเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่า น่าจะมีประมาณเกือบ 100 บท แต่ที่มีใช้มากรองจากนิพพาน ได้แก่ อสังขตะ และนิโรธ





2.2 การตีความนิพพานโดยสภาวะ

การตีความโดยสภาวะนั้นยึดพยัญชนะทั้งหมดนั่นแหละ แล้วนำมาตีความโดยความเป็นจริง ที่มีอยู่โดยธรรมชาติ หรือ โดยสภาวะธรรม มีอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับที่ยังมีชีวิตอยู่หรือพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน และระดับชีวิตดับสิ้นหรือพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน ดังนี้

    2.2.1. สอุปาทิเสสนิพพาน
พระนววิมลเถระ กล่าวว่า “กิเลสปรินิพฺพานเหตุโต สห อุปาทิสงฺขาเตน เสเสน ขนฺเธนาติ สอุปาทิเสสา นิพพานธาตุ” (2542: 120) แปลว่า เพราะกิเลสปรินิพพาน แต่ยังเหลือขันธ์ 5 ที่เป็นเศษกรรมแห่งอุปาทานยึดไว้ จึงชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน

การที่พระพุทธองค์จะอธิบายภาวะทางจิตแห่งการสัมผัสนิพพาน อันเป็นโลกุตตระ มาบอกแก่ชาวโลก ซึ่งเป็นฝ่ายตรงกันข้ามกันอย่างไร จึงตรัสอุบายวิธีว่าบรมสุข ดังมีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า “นิพฺพานํ  ปรมํ สุขํ” แปลความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 25 ข้อ 203-204 : 95)

คำว่า นิพพานเป็นบรมสุข คือสุขที่เกิดจากการพ้นจากกิเลส ไม่มีกิเลสเกิด อันเป็นนิโรธสัจ ได้แก่ ความสุขที่เป็นความพ้นทุกข์ นิพพานไม่ใช่ความสุขที่เกิดจากการเสวยปัญจารมณ์ หรือไม่ใช่สุขที่เกิดจากการดื่มด่ำในปัญจารมณ์แต่เป็นสุขที่พ้นจากกิเลส พ้นจากความเป็นขันธ์ (ขันธวิมุตติ) เรียกว่าสันติสุข สันติสุของค์ธรรมคือนิพพาน และเป็นอสังขตธรรม ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง

ดังนั้น จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาดังกล่าวมาจึงตีความได้ว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ สภาวะทางจิตใจภายในของบุคคลที่กำจัดกิเลส ความชั่ว อกุศลธรรมได้ทั้งหมดที่เรียกว่า กิเลสตาย หรือ กิเลสปรินิพพาน แต่ยังมีชีวิตดำรงอยู่เหมือนคนทั่วไปตามปกติ บุคคลนั้นเรียกว่า อรหันต์ แปลว่า ผู้กำจัดวงล้อแห่งกิเลสได้ สภาพแห่งจิตที่หมดจากกิเลสขณะมีชีวิตอยู่นี้พระพุทธองค์สื่อให้คนทั่วไปรู้ว่า บรมสุข (ปรมํ สุขํ)

     2.2.2. อนุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานที่เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน ชื่อว่าเป็นคติสุดท้ายแห่งพระอรหันต์พระนววิมลเถระ กล่าวถึงอนุปาทิเสสนิพพานว่า “ขนฺธปรินิพฺพานเหตุตาย ขนฺธสงฺขาต อุปาทิ เสเสน วิรหิตตฺตา อนุปาทิเสสา, ทฺวิธา นิพฺพานธาตุภาวโต” (2542, น.120) แปลว่า ชื่อว่า อนุปาทิเสส นิพพาน เพราะไม่มีเศษแห่งอุปาทานยึดได้ กล่าวคือ ขันธ์ 5 เพราะเหตุแห่งขันธ์ 5 ปรินิพพาน โดยที่นิพพานโดย 2 ส่วน คือ กิเลสและขันธ์ 5 หมายถึง กิเลสดับและขันธ์ 5 ดับ

การตีความนิพพานที่สุญสิ้น ดับสิ้นจากสังขารโลกทั้งปวง ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ การที่บุคคลทำลายกิเลสทั้งหมดให้สิ้นไปจากจิตสันดานจนจิตบริสุทธิ์ (สุทฺธิ) ที่เรียกว่า อรหันต์ และพระอรหันต์นั้นนั่นเอง ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับพร้อมกัน แล้วไม่เกิดอีกต่อไป เป็นการนิพพาน 2 ประการ คือ กิเลสปรินิพพานและขันธปรินิพพาน พร้อมกันทีเดียว เป็นคติสุดท้ายของพระอรหันต์หลังสิ้นชีวิตแล้ว





2.3 การตีความนิพพานโดยอุปมา

นิพพานเป็นโลกุตตระ แปลว่า พ้นจากโลก นิพพานจึงไม่สามารถอธิบายด้วยสิ่งใดๆ ในโลกนี้ได้ พระบรมศาสดาจึงพยายามสื่อให้มนุษย์ได้ทราบด้วยวิธีการต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือการอุปมานิพพาน การอุปมาที่ชัดเจนที่สุดมี 3 เรื่อง คือ
    (1) จิตผู้สัมผัสนิพพานเปรียบ ดังหยาดน้ำบนใบบัว
    (2) เมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดปลายเหล็กแหลม
    (3) เปลวประทีปดับ หมดทั้งเปลวประทีป ไข และไส้

    2.3.1. จิตผู้สัมผัสนิพพานเปรียบดังหยาดน้ำบนใบบัว
บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์นั้นไม่ติด คือ ไม่ติดแน่น ไม่ติดพันได้แก่ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้วไม่เกี่ยวข้องแล้วกับกิเลสเหล่านั้น มีใจเป็นอิสระอยู่ เหมือนหยาดนไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามุนีไม่ติดพันในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินและอารมณ์ที่รับรู้เหมือนหยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 29 ข้อ 46-47 : 164)

    2.3.2. เมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดปลายเหล็กแหลม
ขันธ์ทั้งหลายถึงการทรงตัวอยู่ไม่ได้แตกไปแล้วกองขันธ์ในอนาคตก็ไม่มีส่วนขันธ์ที่เกิดแล้วในปัจจุบันก็ดำรงอยู่เหมือนเมล็ดผักกาดบนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 29 ข้อ 10 : 52) จิตของพระอรหันต์เปรียบดังเหล็กแหลม ส่วนอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ประดุจดังเมล็ดผักกาด เมื่อเอาเมล็ดผักกาดวางบนปลายเหล็กแหลม เมล็ดผักกาดได้โอกาสเพียงสัมผัสปลายยอดเหล็กแหลมเท่านั้น ย่อมกลิ้งตกทันที ฉันใด จิตอรหันต์ก็ฉันนั้น

    2.3.3. เปลวประทีปดับ
พระพุทธองค์ตรัสอุปมาอนุปาทิเสสนิพพาน ประดุจดังเปลวประทีปดับลงว่า พระขีณาสพเหล่าใดสิ้นภพเก่าแล้ว ไม่มีการเกิดใหม่ทั้งมีจิตเบื่อหน่ายในภพที่จะเกิดต่อไป ท่านเหล่านั้นชื่อว่า มีพืชสิ้นแล้ว ไม่มีฉันทะงอกขึ้น เป็นปราชญ์ย่อมดับสนิทเหมือนประทีปดวงนี้ดับไป นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 25 ข้อ 13 : 15)หมายความว่า เมื่อเปลวประทีปดับลง ย่อมหมดทั้งไขและไส้เทียน เมื่อพระอรหันต์เสียชีวิต จิตและรูปกายย่อมดับลง ไม่มีเกิดในภพภูมิ อีกต่อไป

การอุปมาทั้ง 3 ประการนี้ เป็นการตีความสภาวะแห่งนิพพานได้ด้วยเช่นกัน การอุปมาน้ำบนใบบัวและเมล็ดพันธุ์ผักกาดปลายเหล็กแหลม คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ส่วนเปลว แห่งประทีบที่ดับ คือ อนุปาทิเสสนิพพาน จากการอุปมาทั้ง 3 ประการนี้ ทำให้มนุษย์ปุถุชนตีความสภาพแห่งนิพพานได้ใกล้เคียงที่สุดแม้ภาวะจิตไม่สามารถถึงหรือสัมผัสนิพพานได้

@@@@@@@

อภิปรายผล

สภาพแห่งนิพพานอันเป็นโลกุตตระนั้น แท้ที่จริงแล้วไม่สามารถอธิบายด้วยสภาวะใดๆ ทั้งสิ้นที่มีอยู่ในโลกนี้ พระองค์จึงตรัสหลังจากตรัสรู้ครั้งสมัยก่อนจะโปรดสอนสรรพสัตว์ว่า ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสลัดอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ คือ การดับไปแห่งกิเลส ตัณหาอย่างยั่งยืน ไม่เกิดอีกต่อไป ขณะตรัสรู้พระองค์เรียกว่า นิโรธ ต่อมาเรียกว่า นิพพาน อสังขตะ และคำอื่นๆอีกจำนวนมาก ที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า ต้องการสื่อสารกับผู้ฟังในท้องถิ่นนั้นๆ ให้เข้าใจและปฏิบัติตามเพื่อให้เข้าถึงภาวะพ้นทุกข์อย่างยั่งยืน คือ สอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน

กระบวนการที่เข้าถึงนิพพาน เรียกว่า สันติบท เป็นไปเพื่อบรรลุความสงบระงับกิเลส ความแจ่มแจ้งของจิต สันติบทนั้นได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสหมวดธรรมเหล่านี้ว่า โพธิปักขิยธรรม ธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งการตรัสรู้พระนิพพาน หมวดใดหมวดหนึ่ง ที่จะเหมาะสมแก่จริตของผู้ปฏิบัติ

เมื่อบรรลุถึงสันติบทแล้ว มรรค ผล นิพพานก็เป็นเรื่องเดียวกัน ภาษาบาลีว่า อาโลโก ญาณํ จกฺขุํ นิพพานํ อังกฤษว่า Enlightenment นิพพานพอมีสภาพให้ปุถุชนรู้ได้ด้วยบทพยัญนะ อักขระ ชื่อ ไวพจน์ต่าง ๆ อันประกอบด้วยกาล เวลา สถานที่ บุคคล อุปมา มาเกี่ยวข้องเพื่อให้ปุถุชนหาแนวทางที่เหมาะสมกับจริตอันจะนำไปสู่ความเข้าใจหลักแห่งบรมธรรม คือ การไม่เกิดแห่งทุกข์อีกต่อไป

แต่พอถึงกาลเวลาผ่านไป 2,500 กว่าปี นิพพานอันเป็นอุดมธรรมอาจผิดเพี้ยนไปจากพุทธประสงค์ จึงต้องอาศัยการตีความจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิมาช่วยในการไขรหัสเข้าไปสู่ความจริงที่พระพุทธเจ้าประสงค์จะให้ถึงเป้าหมายนั้นอย่างถูกต้องที่สุด

@@@@@@@

สรุป

ชื่อหรือไวพจน์ของนิพพานที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรววาทนั้นมีจำนวนมาก บท แต่ที่ใช้ในพระไตรปิฎกจำนวนมากได้แก่ นิโรธ แปลว่า ดับทุกข์ , นิพพาน แปลว่า ไม่มีเครื่องผูกมัด อสังขตะ มีปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานเมื่อว่าโดยสภาวะ 2 ประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายแต่ชีวิตยังไม่ตาย และ อนุปาทิเสสนิพพาน กิเลสตายและชีวิตตาย

สมัยปัจจุบันการจะเข้าถึงนิพพานตามพุทธประสงค์ต้องอาศัยศาสตร์แห่งการตีความมาช่วย การตีความนิพพานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท สรุปโดยย่อแล้วมี 3 ประการ คือ
    (1) โดยพยัญชนะ
    (2) โดยสภาวะ
    (3) โดยอุปมา กล่าวเปรียบเทียบสภาพแห่งนิพพาน

แท้จริง นิพพานเป็นโลกุตตระไม่สามารถอธิบายด้วยภาษาโลกได้ พระพุทธเจ้าจึงพยายามอธิบายได้ด้วยภาษาแห่งโลกิยะ อันเป็นกุศโลบายให้สรรพสัตว์เข้าไปสู่โลกุตตระ คือ นิพพาน







ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บทความจาก : วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 | มกราคม - มิถุนายน 2562

บรรณานุกรม :-
กัจจายนเถระ. (2536). คัมภีร์ปทรูปสิทธิแปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์.
คันถรจนาจาริยเถระ. (2552). สัมภารวิบาก. กรุงเทพมหานคร: ส.ธรรมภักดี.
นววิมลเถโร. (2542). อภิธมฺมตฺถสงฺคหฎีกา. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2541). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
________. 2542. กรณีธรรมกาย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสารจำกัด.
________.(2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
________. (2555). พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร. กรุงเทพมหานคร : คิงออฟแอนด์เวอร์ไทซิ่ง.
พระมหากัจจายนเถระ. (2550). เนตติปกรณ์. พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร : ไทยรายวันการพิมพ์.
พุทธโฆสมหาเถระ. (2539). วิสุทฺธิมคฺคปกรณํ (ปฐโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พุทธทาส อินทปญฺโญ. (2553). เทศนาชุดสุดท้ายของพุทธทาส : หัวใจนิพพาน กรุงเทพมหานคร : ฐานการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2545), พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โมคคัลลานเถระ.(2550). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโต แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา
โมคคัลลานเถระ.(2536). พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
หลวงเทพดรุณานุศิษย์. (2550). ธาตุปฺปทีปกา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อัคควังสเถระ. (2546). ธาตุมาลา. กรุงเทพมหานสิริมงฺคลาจาริโย (2535). มงฺคลตฺถทีปนี(ทุติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). ฮินดู-พุทธ จุดยืนที่แตกต่าง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิพม์ศยาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 16, 2024, 06:29:31 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ